คิดแนวขนาน Parallel Thinking
หนังสือ : คิดแนวขนาน (Parallel Thinking) โดย Edward de Bono แปลโดย ยุดา รักไทย เรียบเรียง โดย รศ.น.พ.รณชัย คงสกนธ์
คิดแนวขนาน (Parallel Thinking) เป็นวิธีการวางความคิดต่างๆ ลงไปข้างๆกัน โดยไม่มีการปะทะกัน ไม่มีการโต้แย้ง และไม่มีการด่วนตัดสินว่าถูกหรือผิดตั้งแต่เริ่มต้น เป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการค้นหา ค้นคว้า และสำรวจเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆอย่างจริงจัง
เหตุผลที่ต้องมีการคิดแบบใหม่
วิธีการคิดแบบเดิมที่สอนกันอยู่ในสถาบันการศึกษานั้น เป็นวิธีการคิดด้วยเหตุผล หรือวิธีการคิด ด้วยหลักตรรกวิทยา ซึ่งใช้กันมากว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว ซึ่งเมื่อเวลาผ่านมาถึงปัจจุบัน ความเหมาะสมก็เริ่มลดลงและไม่เหมาะกับปัจจุบันเนื่องจาก เป็นวิธีการคิดที่มีขอบเขตจำกัดไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็ว และเป็นการคิดที่ยึดถือกันมานาน จนทำให้ไม่ค้นหาวิธีการคิดใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้นกว่า เดิมมาใช้ในการแก้ปัญหาที่ต่างไปจากเดิม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์แบบใหม่
ทักษะการคิดที่เน้นการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ค์นั้น เป็นวิธีการคิดที่ได้รับความนิยม แพร่หลายทั่วโลก เพราะสามารให้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตังแต่ระดับครอบครัว จนถึงระดับชาติ ได้เป็นเป็นอย่างดี โดยศาสตราจารย์เดอ โบโน ได้พัฒนาทักะการคิดสร้างสรรค์ที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับคือ ความคิดคู่ขนาน (Paralell Thinking) พร้อมวิธีปฏิบัติจริงที่เรียกว่า หมวกความคิดหกใบ (Six Thinking Hats) และความคิดแนวข้าง (Lateral Thinking) ซึ่งเป็นแนวการคิดแบบใหม่ที่มีลักษณะสร้างสรรค์และใช้งานได้จริง ในทุกขั้นตอนของชีวิตทั้งสิ้น
ความคิดคู่ขนาน
การคิดคู่ขนานเป็นแนวการคิดแบบใหม่ควบคู่ไปกับแนวการคิดแบบเดิม มีลักษณะยืดหยุ่น ประนีประนอม ไม่มีลักษณะคงที่แต่จะแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งมีลักษณะสังเขปคือ
- เน้นการออกแบบความคิด ไม่ใช่การค้นหาความจริง
- ไม่ตัดสินเด็ดขาดว่ายอมรับหรือปฏิเสธ แต่จะพิจารณาควบคู่กันไป
- ไม่มีการโต้แย้ง แต่เน้นการร่วมมือคิดเคียงคู่กันไป
- เน้นการยอมรับความเป็นไปได้ทั้งหมด
- ประนีประนอมความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งหมด
- เน้นการสร้างความคิดใหม่ๆ
- เน้นการช่วยการคิดแทนที่จะเป็นการตัดสิน
- เน้นการกระทำจริงมากกว่าการพรรณนาหรือบรรยาย
ความคิดคู่ขนาน | ความคิดแบบเดิม |
---|---|
สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ | สิ่งที่เป็นอยู่ |
การออกแบบ | การแสงหา |
การสร้าง | การค้นพบ |
การริเริ่มสร้างสรรค์ | การเลียนแบบทำซ้ำ |
เชิงสร้างสรรค์ | เชิงทำลาย |
การกระทำ | การพรรณาบรรยาย |
ความเป็นไปได้ | ความแน่นอน |
การยอมรับ | การปฏิเสธ |
คุณค่า | ความถูกต้อง |
แถบสีต่างๆที่ไล่เลียงกันลงไป | การแบ่งเป็นสีขาวและสีดำ |
การคาบเกี่ยวกันในบางแง่ | การแยกความแตกต่างอย่างชัดเจน |
เส้นแบ่งอย่างเจือจาง | เส้นแบ่งอย่างชัดเจน |
การปรานีปรานอม | การปฏิเสธว่าเป็นสิ่งตรงกันข้าม |
ขนานกัน | ตรงข้ามกัน |
มองควบคู่กัน | มองแยกแยะกัน |
สำรวจค้นคว้า | ปะทะกัน |
มุมมองการรับรู้แบบใหม่ | กระบวนการคิดแบบเดิม |
ความจริงขึ้นอยู่กับใจเปลี่ยนแปลงได้ | ความจริงขึ้นอยู่กับวัตถุเปลี่ยนแปลงไม่ได้ |
จัดระเบียบตัวเองไปเรื่อยๆ | เป็นระเบียบอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา |
ไหลเวียนไปเรื่อย | เป็นสิ่งนั้นอยู่ตลอดไป |
การคิดสร้างสรรค์ | การคิดนิรนัย |
ส่วนรวม | ส่วนย่อย |
หลากหลาย | หนึ่งเดียว |
หมวกความคิดหกใบ
การคิดแบบหมวกหกใบมีวิธีการคิด 2 แบบคือ การคิดแบบรับมือหรือตั้งรับ(Coping Thinking) การคิดแบบตั้งใจจงใจคิด(Deliberate Thinking)
- การคิดแบบรับมือหรือตั้งรับ เป็นการเสนอความคิดเห็นพร้อมทั้งอ้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนความคิดของเรา ถึงแม้ว่าเราจะฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แต่ก็พยามยามที่จะตอบโต้ หาจุดบกพร่องใความเห็นนั้นทุกขณะ
- การคิดแบบตั้งใจจงใจคิด เป็นการคิดแบบสร้างสรรค์ ไม่ใช่การตอบโต้เพราะวิธีการคิดแบบนี้เป็นการสำรวจตรวจสอบประเด็นเรื่องนั้นๆ แล้วก็ลงมือตัดสินใจด้วยใจที่เป็นกลางและเปิดกว้าง
ส่วนใหญ่แล้วนักเรียน นักศึกษาจะมีวิธีการคิดแบบรับมือหรือตอบโต้ เช่นการตอบโต้กับความคิดของอาจารย์และความคิดของเพื่อนๆ แต่เมื่อสำเร็จการสึกษา ออกมาทำงานแล้ว วิธีการคิดแบเดิมๆก็ไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะในการทำงานจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการวางแผนปฏิบัติงาน สร้างผลงานใหม่ๆขึ้นมา การคิดแบบตั้งรับเพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้
เดอ โบโน จึงได้นำเสนอวิธีการคิดแบบหมวกหกใบขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขความสับสนในการคิด เพราะผู้คิดจะสามารถคิดได้ทีละด้านทีละครั้ง สามารถควบคุมการคิดด้านต่างๆได้ง่ายขึ้น เปลี่ยนจากการถกเถียงมาเป็นการตรวจสอบข้อมูล วิธีการหมวกหกใบนั้น เริ่มต้นด้วยการสมมติหมวกสีต่างๆทั้งหกใบ สีแต่ละสีแทนความคิดในแต่ละด้าน ผู้คิดจะใช้หมวกทีละใบทีละหนและดำเนินไปตามแบบความคิดที่หมวกสีนั้น เป็นตัวแทนอยู่ ผู้คิดอาจเลือกหมวกสีใดสีหนึ่งขึ้นมาใส่ และอาจถูกขอร้องให้ถอดหมวกออกเพื่อเปลี่ยนสีก็ได้ หมวกแต่ละสีจะแทนความคิดคือ
- หมวกขาว จะแทนการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างเป็นกลาง โดยไม่ใช้อารมณ์
- หมวกแดง ให้เสรีภาพในการแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาอย่างเต็มที่ รวมทั้งลางสังหรณ์ สัญชาติญาณ การหยั่งรู้ รสนิยม
- หมวกดำ จะเป็นการประเมินข้อเสีย ด้านลบและเหตุผล ซึ่งเป็นหมวกที่ใช้กันมากที่สุด
- หมวกเหลืองเป็นคิดในแง่บวก มองโลกในแง่ดี แสดงถึงควมเป็นไปได้ ความหวัง คิดไปในแนวของประโยชน์และคุณค่า การคิดแบบหมวกเหลือง จะทำยากกว่าหมวกดำ เพราะธรรมชาติของมนุษย์ย่อมจะหาข้อเสียและอุปสรรคได้มา ง่ายกว่าการมองเห็น คุณค่าและประโยชน์ของสรรพสิ่ง
- หมวกเขียว จะแทนการคิดอย่างสร้างสรรค์ การแสวงหาแนวทางและทางเลือกใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นไปได้ของสิ่งต่างๆ
- หมวกฟ้า จะแทนการมองภาพรวมของสิ่งต่างๆ ควบคุมจัดระเบียบของกระบวนการคิดและขั้นตอนการใช้หมวกสีต่างๆ การกำหนดกรอบประเด็นการหาข้อสรุปและข้อยุติ ตามธรรมเนียมแล้วผู้ใช้หมวกสีฟ้ามักจะเป็นประธานหรือผู้ช่วย
การคิดแบบหมวกหกใบจะมีข้อดีคือ เป็นการคิดแบบคู่ขนาน ไม่มีการเมืองและเกมอำนาจ เป็นการคิดแบบสร้างสรรค์ ทำให้ระมัดระวังในการคิด สามารถใช้ความรู้สึกและลางสังหรณ์ได้ เป็นการคิดแบบแสวงหาคุณค่าและประโยชน์ มีการกำหนดกลไกของการคิด ขจัดความเป็นตัวเราตัวเขาออกไปจากการคิด ทำให้สามารถใช้ภูมิปัญญาได้อย่างเต็มที่ ทำให้สามารถคิดได้ทีละอย่างทีละด้านไม่ทำให้สับสนในการคิด ช่วยย่นระยะเวลาในการคิดให้สั้นและกระชับขึ้น เปิดโอกาสให้แสดงความคิดได้หลายแง่มุม และเกิดเสรีภาพในการคิด
วิธีการใช้การคิดแบบหมวกหกใบ สามารถใช้ความคิดคู่ขนานใน 3 วิธีคือ
- ผู้ที่สวมหมวกสีเดียวกัน จะต้องคิดคู่ขนานไปในทิศทางเดียวกัน และมองไปที่เรื่องไม่ใช่มองไปที่ความคิดของคนอื่น
- ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก็สามารถนำมาคิดไปพร้อมๆกันได้ แล้วค่อยมีการพิจารณาภายหลัง
- สีของหมวกให้ทิศทางคู่ขนานสำหรับการมองเรื่องๆเดียวกัน และสีของหมวกที่ต่างกันก็ไม่ได้เป็นปรปักษ์ต่อกัน
การคิดแบบหมวกหกใบเป็นที่นิยมกันมาก เพราะปฏิบัติได้ง่ายและได้ผลจริง เปลี่ยนวิธีการวิพากษ์วิจารณ์มาเป็นการคิดร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ โดยมีกฏเกณฑ์เป็นเงื่อนไข
ความคิดแนวข้าง
ความคิดแนวข้างเป็นทักษะการคิดสร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง ความคิดแนวข้างจะเน้นการปรับเปลี่ยนมุมมองของข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ ในการแก้ปัญหาและในการปฏิบัติจริงได้มากขึ้น ซึ่งเดอโบโนได้บอกไว้ว่า การปฏิบัติหรือการลงมือใช้จริงนั้น มีความสำคัญมากกว่าการเข้าใจตัว กระบวนการคิดเองยิ่งนัก คนทั่วไปเข้าใจว่าการคิดแบบเดิมๆหรือการคิดแนวตั้งนั้นเป็นวิธีการคิดที่มีประสิทธิภาพ แต่ในปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งการคิดแบบแนวตั้งเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้
ความแตกต่างระหว่างความคิดแนวตั้งกับความคิดแนวข้าง
คนทั่วไปคิดว่าความคิดแนวตั้งนั้นเป็นวิธีการที่มีประโยชน์และมีคุณค่าเพียงวิธีการเดียวที่มีอยู่ ดังนั้นจึงต้องมีการแสดงให้เห็นธรรมชาติของความคิด แนวข้างที่ต่างจากความคิดแนวตั้ง เพื่อทำให้เห็นถึงลักษณะและประโยชน์ของการคิดแนวข้าง
- ความคิดแนวตั้งมีลักษณะเลือกสรร แต่ความคิดแนวข้างจะมีลักษณะสร้างสรรค์
- ความคิดแนวตั้งมีลักษณะของการวิเคราะห์ แต่ความคิดแนวข้างมีลักษณะของการกระตุ้นให้เกิดความคิด
- ความคิดแนวตั้งต้องเป็นไปตามขั้นตอน แต่ความคิดแนวข้างสามารถกระโดดข้ามขั้นตอนได้
- ความคิดแนวตั้งจะต้องถูกต้องทุกขั้นตอน แต่ในความคิดแนวข้างไม่จำเป็นจะต้องเป็นเช่นนั้น
- ความคิดแนวตั้งจะใช้การปฏิเสธ แต่ความคิดแนวข้างจะไม่มีการปฏิเสธ
- ความคิดแนวตั้งจะทำการตัดสิ่งนอกประเด็นออกไป แต่ความคิดแนวข้างจะยอมรับการก้าวล้ำเส้นเข้ามา
- ความคิดแนวตั้งจะมีการจัดประเภทหมวดหมู่อย่างแน่นอนตายตัว แต่ความคิดแนวข้างสามารถยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้
- ความคิดแนวตั้งจะเดินตามทางที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด แต่ความคิดแนวข้างจะทำการสำรวจไปรอบๆถึงสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้น้อยที่สุด
- ความคิดแนวตั้งเป็นกระบวนการที่มีขอบเขตชัดเจน ความคิดแนวข้างจะเป็นกระบวนการของความเป็นไปได้ต่างๆ
ลักษณะพื้นฐานของความคิดแนวข้าง
- ความคิดแนวข้างเรื่องของการเปลี่ยนรูปแบบ
- การปรับเปลี่ยนมุมมองในแง่มุมต่างๆ
- ความคิดแนวข้างเป็นทัศนคติและเป็นวิธีการใช้ข้อมูล
- ความคิดแนวข้างสัมพันธ์โดยตรงกับพฤติกรรมของจิตใจในการจัดการเกี่ยวกับข้อมูล
- ความคิดแนวข้างจะมีเครื่องมือทางภาษาที่ใช้สำหรับปฏิบัติการโดยเฉพาะ