สิ่งที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับมนุษย์
สิ่งที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับมนุษย์ น.พ.สมชัย ตั้งพร้อมพันธ์
1. โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of Personality)
ตามหลักจิตวิเคราะห์(Psychoanalysis)บุคลิกภาพประกอบ ด้วย 3 ระบบ คือ Id, Ego และSuperego
Id เป็นแรงผลักดันทางสัญชาติญาณโดยมองไม่เห็น ความแตกต่างระหว่างความจริง (Reality)และความ คิดฝัน (Fantasy) เป็นความคิดแบบเด็กทารก ไม่มีคำพูด เพ้อฝัน ขัดกับเหตุผล ไม่เลือกเวลา เป็นส่วนที่อยู่ จิตไร้สำนึก
Ego เป็นส่วนของบุคลิกภาพ ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหาร อยู่ใน จิตรู้สำนึก ทำหน้าที่ตามหลักแห่งความ เป็นจริง (Reality Principle) เป็นส่วนตอบสนอง หรือ ยับยั้ง Id ขึ้นกับความเหมาะสมของสภาวะโดยใช้คำพูด เป็นไปตาม เหตุผล และถูกจำกัดด้วยเวลา เป็นความคิดของคนที่มี วุฒิภาวะ แล้วการทำงานของ Ego
โดยการประสานงาน อยู่ระหว่าง Id และ Superego
Superego เป็นบุคลิกภาพเกี่ยวกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (Wright or Wrong) ศีลธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา ส่วนนี้จะเริ่มเกิดกับเด็กในช่วงอายุประมาณ 5-6 ขวบไปสมบูรณ์เมื่ออายุ์ 9-10 ขวบ ถัดจากนั้นไป Superego จะฝังอยู่ในระดับจิตไร้สำนึกประกอบด้วย
1. มโนธรรม (Conscience) เกิดจากการอบรมสั่งสอนในสิ่งที่ควร ไม่ควรหากการกระทำไดที่ขัดกับ มโนธรรม จะก่อให้เกิด ความสำนึกผิด (Guilty feeling)
2. อุดมคติแห่งตน (Ego-Ideal) เกิดจากการอบรมสั่งสอนในสิ่งที่ควร ไม่ควร หากทำในสิ่งที่ดี ตาม อุดมคติ แห่งตนจะเกิด ความภาคภูมิใจ (Pride) นักบริหารหรือผู้นำที่ดี Ego ของเขาสามารถดึงพลัง Id ไป เสริมสร้าง Superego ได คนเหล่านี้มักมีภูมิหลังในครอบครัวที่ดี และถูกปลูกฝังอบรมในทิศทางที่ดี จนเกิดมโนธรรม (Conscience) และ อุดมคติ แห่งตน (Ego Ideal) รู้ควรไม่ควร รู้ถึงความถูกผิด สำนึกผิด ได้ (Guilty Feeling) และภูมิใจตนเอง (Pride) ได้ รู้จักเคารพตนเอง และเคารพผู้อื่น ไม่คิดเบียดบังตนเอง และเอาเปรียบผู้อื่น
2. ครรลอง ความคิด ความเชื่อ ของบุคคล (Mental Model)
การเรียนรู้ของมนุษย์เริ่มจาก การเห็น สังเกต ค้นหาความหมาย รับรู้ จดจำไว้เป็นประสพการณ์ เมื่อเกิดซ้ำๆ จะกลายเป็นความเชื่อ และเมื่อมีการ พิสูจน์ความเชื่อได้ผลลัพธ์เป็นจริงตามความเชื่อบ่อยๆ จะกลายเป็นทฤษฎี แต่สิ่งที่เป็นเป็นความเชื่อ(Believe) ของคน จะก่อให้เกิด ความคิดน่าจะเป็น (Paradigm) กับสิ่งที่เห็น และไม่พยายาม คิดนอกกรอบความเชื่อ (Paradigm shift) และมักด่วนสรุป (Jump conclusion) เกิดการยึดติด(Fixation) ในความเชื่อตนเองจนกลายเป็นความหลง(Delusion) ได้ในบางรายนักบริหาร หรือ ผู้นำที่ดี ต้องรู้จัก ใช้ความเชื่อของตนในการจัดกา รให้ถูกตาม สภาวะการณ์ บนพื้นฐานแห่ง ความรู้ การวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนบน ตรรกะแห่งความเป็นไปได้ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์
3. ความคับข้องใจ และพฤติกรรมตอบโต้ของบุคคล(Reactive-Behavior)
จิตไร้สำนึกของมนุษย์มีความต้องการการตอบสนองอย่างไร้ขีดจำกัดและเงื่อนไข และถูกควบคุมไว้ด้วย มโนธรรมให้แสดงพฤติกรรมออกมาอย่างสมดุล ในแต่ละสภาวะการณ์ อย่างไรก็ตาม มนุษย์ชอบที่จะ เป็น ผู้ควบคุมฝ่ายเดียว(Unilateral Control) ดังนั้น ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นไปตามความต้องการ จะเกิดภาวะคับข้องใจ (Frustration) และหาทางระบายออกมาในรูปแบบพฤติกรรมต่างๆ(Reactive Behavior) ความรุนแรงและรูปแบบ ของพฤติกรรมขึ้น อยู่กับภูมิหลัง มโนธรรม และอุดมคติแห่งตน ที่จะควบคุมพลัง Id ของเขาได้มากน้อยแค่ไหน
พฤติกรรมการแสดงออกตอบโต้ความคับข้องใจ หลายแบบ
1. โกรธ หยาบคาย โผงผาง ไร้เหตุผล ไม่ฟังคนอื่น ตอบโต้รุนแรง แบบสะใจ ไม่สนใจผลตามมา
2. เก็บกด ซ่อนเร้น ซึมเศร้า เคล้าน้ำตา ทำร้ายตนเอง
3. หัวเราะ เยาะเย้ย เหน็บแนม เสียดสี ถากถาง ให้สาสมใจ พร้อมจะทำลายผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
4. ไม่รู้สึกไดๆ ไม่สะทกสะท้าน ไม่สนใจว่าจะเกิดอะไร ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หลอกผู้อื่นแต่แท้ที่จริง กำลังหลอกตนเอง
5. สงบนิ่ง ฟังความ เปิดใจ วิเคราะห์ ยอมรับ แก้ไข กล้าได้กล้าเสีย ยึดมั่นในผลสำเร็จระยะยาว ผู้บริหาร หรือผู้นำที่ดี ควรมี EQสูง ใจเปิดกว้าง (Openness) และยอมรับความจริง (Commitment to thetruth)รู้จักวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งความคับข้องใจและมีไหวพริบในการตอบโต้ โดยคำนึงได้ถึงผลที่จะตามมา (Consequence)
4. ความมีวินัย และ ความรับผิดชอบ(Discipline & Responsiveness)
วินัย (Discipline) คือกรอบข้อกำหนดในการปฏิบัติ การมีวินัยคือการยึดถือในข้อกำหนดดังกล่าว โดยปฏิบัติตนอยู่ในกรอบแนวทางที่บัญญัติไว้ อย่างเคร่งครัด ด้วยความมุ่งมั่น เชื่อถือและเคารพ ต่อสิ่งที่เป็นกฎ ระเบียบ เช่น การมีวินัยในการใช้ชีวิต ครอบครัว ทำงาน
ความรับผิดชอบ(Responsibility) คือความสำนึกในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือโดยอนุมานในสิ่งที่ ควรเป็นโดยไม่จำเป็นต้องมีคนมาบังคับนักบริหาร หรือ ผู้นำที่ดี จำเป็นต้องมีวินัยในการดำรงชีวิต และการงาน อีกทั้งความรับผิดชอบ และรับผิดรับชอบในผลการกระทำของตน(Accountability)
5. การปกครองคนตามทฤษฎี "X" "Y" "Z" "W"
ทฤษฎีว่าด้วยการบริหารโดยมีข้อสมมติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความต้องการ แรงจูงใจ ที่ผู้บริหารต้องตัดสินใจใช้วิธีการบริหารตามแนวความเชื่อมา กระตุ้นคน เพื่อผลงาน
ทฤษฎี X สมมติว่า บุคคลขี้เกียจ ไม่ชอบทำงาน ไม่ต้องการรับผิดชอบ และชอบวิธีสั่งการอย่างใกล้ชิด คนเหล่านี้ต้องใช้การให้คุณให้โทษ เพื่อกระตุ้นการทำงาน
ทฤษฎี Y สมมติว่าบุคคลมีความรับผิดชอบในการทำงาน พอใจทำงานที่ดี ถ้าได้ผลตอบแทนที่ดี คนเหล่านี้ผู้บริหารเพียงใช้วิธีสร้างสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจที่เหมาะสมก็สามารถทำให้เขาทำงานอย่างตั้งใจ รับผิดชอบได้
ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีที่ญี่ปุ่นนำมาใช้โดย ให้ความไว้วางใจ และทำให้เขารู้สึกสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เพื่อสร้างความรับผิดชอบ จึงเน้นความสำคัญด้านสวัสดิการ ความร่วมกัน ศรัทธา ความไว้วางใจ
ทฤษฎี W เป็นแนวคิดใหม่ที่เชื่อว่ามนุษย์จะพอใจ และตั้งใจทำงาน เมื่อมองเห็นความสำเร็จที่สัมผัสได้ และจะ เกิดความมุ่งมั่นพยายามทำให้เกิดผลสำเร็จ ผู้บริหารต้องสร้าง Short term goal ให้เป็นตัวกระตุ้นการทำงาน
6. การนับถือตนเอง (Self esteem & respect)และการนับถือผู้อื่น
การนับถือตนเอง (Self esteem) ในบุคคล คือความรู้สึกที่ดีต่อการกระทำไดๆของตนเองที่เกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจ ให้เกียรติ นับถือตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะสร้างความมั่นคงให้กับจิตใจ ความเชื่อมั่น ในการที่จะกระทำการไดๆออกไป การนับถือตนเองของบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้ใน วัยเด็กประถมโดยเหตุการณ์จริง หรือสร้างขึ้นโดยพ่อแม่ โดย กระตุ้น (Booster)ให้ลูกเกิดความภาคภูมิใจในการสร้างคุณงามความดี ความสำเร็จ ด้วยการชื่นชมและการชมเชย อย่างมีเหตุผลและไม่พร่ำเพรื่อจนเด็กไม่เห็นคุณค่า ขณะเดียวกัน เด็กควรได้รับการชื่นชมในการกระทำใดๆที่ เป็นการให้เกียรติ หรือเมื่อแสดงการห่วงใยความรู้สึกผู้อื่น พฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้เด็กซึมซับความภูมิใจใน การทำดี มุ่งมั่น เพื่อความสำเร็จ และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะเป็นผู้ที่รู้ค่าแห่งตน และเคารพคนอื่นเป็น เกิดความ เชื่อมั่นที่จะมุ่งทำดี สร้างความสำเร็จ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และเคารพกติกา สังคม นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีต้อง มีความมั่นใจ(Self confidence) เชื่อมั่นในตนเองต่อการตัดสินใจกระทำการไดๆ ในสิ่งที่ถูกต้องและ พร้อมจะ เผชิญกับผลลัพธ์ อย่างกล้าหาญ (Accountability) สามารถสร้างความสุขในการทำงาน ให้กับตนเองและให้เกียรติ
มองเห็น ความสำคัญของผู้อื่นได้
7. การแก้ไข (Correction) และการแก้ตัว (Excuse)
พฤติกรรมบุคคลโดยสัญชาติญาณ มักมุ่งแก้ตัว(Excuse) หาเหตุผลมาอธิบายพฤติกรรมที่ผิดพลาดของตนก่อนเสมอ โดยการพยายามปกปิด เบี่ยงเบน มองข้ามความจริงที่มีผลกระทบกับตนที่เป็นต้นเหตุ ซึ่งมักทำให้การแก้ปัญหา ไม่ตรงเป้า และล้มเหลว นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ควรที่จะทำใจเป็นกลาง มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา (Objective Evidence) ปราศจากการใส่ความรู้สึกของตนลงไป (Bias) วิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อมุ่งแก้ไข ให้ถูกต้อง และป้องกันมิให้เกิดซ้ำอีก หากเรามุ่งแก้ตัวเพราะกลัวเสียหน้า สาเหตุของปัญหาก็ไม่อาจถูกแก้ไขและยังคงอยู่ ต่อไปพร้อมที่จะเกิดขึ้น ได้ใหม่ทุกเมื่อ
8. การรู้จักให้ (Give) และรู้จักได้ (Take)
ในการทำธุรกิจทุกประเภท ลูกค้าคือผู้ที่ทำให้เจ้าของหรือผู้ให้บริการในธุรกิจอยู่ได้ กฎข้อนี้บางครั้งบางครั้ง ถูกมองข้ามไปอย่างลืมตัว โดยเฉพาะในลูกค้า บางกลุ่มที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมการพึ่งพาอาศัยมาแต่ดั้งเดิม เช่น ผู้ป่วยที่ต้องเข้ามารับการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาล ส่วนมากจะรูสึกว่าต้องมาพึ่งพา อาศัยมากกว่ามาซื้อบริการ และจะมีความศรัทธา เคารพให้เกียรติแพทย์ พยาบาลตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกระดับเมื่อมีปัญหาไดๆจากการ ให้บริการส่วนมาก มักไม่กล้าแสดงออกด้วยเกรงใจ กลัวจะได้รับการบริการไม่ดีหากร้องเรียน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น จนบางครั้งทำให้ผู้ให้บริการบางคนเข้าใจผิดหลงตนอาจมองว่า เราเป็นผู้ให้ (Give)เพราะเขามาพึ่งพาเราแต่ แท้จริงเราเองต่างหากเป็นรับ(Take)ผลประโยชน์จากลูกค้าที่หยิบยื่นให้เรา และทำให้ธุรกิจเราอยู่ได้ ความรู้สึก เช่นนี้มักพบได้บ่อยๆในหลายอาชีพ เช่น ครู พระ แพทย์ ข้าราชการ อย่างไรก็ดี เหตุการณ์เช่นนี้เชื่อว่าจะค่อยๆ หมดไปด้วยสำนึกที่เปลี่ยนไปของ ทั้งสองฝ่าย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เสมอภาคกันมากขึ้น ผู้ไดที่ยังคง ไว้ซึ่งความเป็นศักดินา จะถูกต่อต้านในที่สุด
นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ต้องแยกแยะอย่างเข้าใจใหม่ว่า ในสังคมแห่งการพึ่งพาอยู่ร่วมกัน บางครั้งเราไม่อาจสรุป ได้ว่า ขณะที่เราคิดว่าให้ผู้อื่น แท้จริงเรากำลังเอาจากผู้อื่นเช่นกัน ขึ้นกับมุมมองของใคร โดยเฉพาะการใช้อำนาจ ในการบริหารลูกน้อง จำเป็นที่ผู้นำต้องเป็นทั้งผู้ให้ (ความรัก เมตตา สอนสั่ง ความดีความชอบ ช่วยเหลือ )และเป็น ผู้รับ(ผลงาน การปฏิบัติตามคำสั่ง การรักษากฎระเบียบ การมีวินัย การเสียสละ การช่วยเหลือเจ้านายในทางที่ควร) เพราะสถานะของผู้นำ เกิดขึ้น และดำรงอยู่ได้จากการยอมรับของลูกน้องเท่านั้น
9. ความแข็งแกร่ง(Strong ness) และความแข็งกร้าว(Rigidity)
ความแข็งแกร่ง หมายถึงความเข้มแข็ง อดทน ไม่ย่อท้อพร้อมยืนหยัดต่อสู้ในหนทางที่ตั้งไว้เพื่อความสำเร็จแห่ง เป้าหมาย คนที่แข็งแกร่ง ยังหมายรวมไปถึงบุคคลที่มีความอดกลั้นต่อเหตุการณ์ได้ดี กล้าหาญที่จะยอมรับผิด และรับชอบในสิ่งที่ตนทำ รู้แพ้รู้ชนะ รู้จักยอมเสียเพื่อได้ ไม่คิดเพียงได้แล้วเสียภายหลัง
ความแข็งกร้าว หมายถึงความแข็งที่พร้อมแตกหัก ขาดความยืดหยุ่น มุ่งแต่ชนะอย่างเดียวโดยไม่คำนึงผลเสีย ที่ตามมา คนเหล่านี้ทำอะไรเพียงเพื่อความสะใจ ตอบสนองความรู้สึกเบื้องต่ำในสัญชาติญาณดิบ(Id)เท่านั้นยอมขี่ ช้างเพื่อจับตั๊กแตน ยอมเสียมากมายเพื่อแลกกับ "อัตตา" หรือ "หน้าตา" แค่นั้นเอง เหมือนเช่น นักเลงปัญญา
อ่อนนักพนันเกทับคนอื่น แพ้ไม่เป็น คนเหล่านี้ไม่นานก็จะ "ดับไปเอง" หรือ "มีพวกนิสัยประเภทเดียวกันมา ดับให้"นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ต้องมีความเข้มแข็ง อดทน รู้แพ้รู้ชนะ กล้าเสียเพื่อได้ มีความยืดหยุ่น กล้าตัดสินใจ อันเป็นองค์ประกอบของความแข็งแกร่งในการที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้
10. ความอ่อนโยน(Gentle)และความอ่อนแอ(Feeble)
คงไม่มีใครในโลกที่อยากคบหา หรืออยู่ใกล้กับคน นิสัยหยาบกระด้าง พูดจาวางกล้าม ไม่ให้เกียรติผู้อื่น เป็นแน่นอน ขณะเดียวกัน บุคคลที่มีพฤติกรรมตรงกันข้ามดังกล่าวข้างต้น คือเปี่ยมไปด้วยความสุภาพ นอบน้อม ปิยวาจา น่าจะมีผู้เคารพนับถือมากกว่า อย่างไรก็ตาม ในภาพของความแข็งกร้าว ไม่อาจสรุปได้เสมอไปว่าผู้นั้น
ไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นกับสถานการณ์ขณะนั้นมีเหตุผลและความหมาย ความจริงใจ ความมุ่งหวัง รองรับในการแสดงออก เช่นนั้นหรือไม่ และขณะเดียวกัน ในความอ่อนโยนที่เห็น อาจแฝงด้วยความเจ้าเล่ห์ ผลประโยชน์ มุงร้าย แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ก็เป็นได้ การแยกแยะต้องอาศัยความจริงจากการสังเกต วิเคราะห์สถานการณ์ ซึ่งบางครั้ง
อาจต้องใช้เวลาพอสมควร ดังคำกล่าวที่ว่า "รู้หน้า ไม่รู้ใจ สิ่งที่เห็นอาจเป็นเพียงหลุมพลาง"เพราะโดย สัญชาติญาณ ของมนุษย์ มักถนัดที่จะแสดงออกในด้านความรุนแรงของ Id มากกว่าความอ่อนแอ หมายถึงความ ขี้ขลาด ไม่กล้า ต่อสู้ ไม่กล้าเผชิญความจริง ห่วงแต่ตนเอง โทษแต่ผู้อื่น(Projection) ให้ความสำคัญกับผู้อื่น
หรือส่วนรวมน้อยมาก มุ่งเอาตัวรอด เมื่อได้ดีถือเป็นของตนเอง พอผลลัพธ์เสียหายจะโทษผู้อื่นลูกน้อง หรือ แม้แต่โชคชะตา ยอมบูชายัน(Sacrifice)คนอื่นเพื่อรักษาตัวรอด หากได้มาเป็นผู้นำหรือผู้บริหาร ก็จะเอาองค์กร ไม่รอด ลูกน้อง จะอยู่อย่างลำบาก นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ควรมี พรหมวิหาญ 4 ได้แก่ "เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา" ใจที่ประกอบด้วยพรหมวิหาญ 4 ย่อมสะท้อนออกมาทางพฤติกรรมที่อ่อนโยน มีความนอบน้อม เคารพผู้อื่น เสมอตนเอง มองโลกในแง่ดี (Optimist) ปารถนาและยินดีช่วยเหลือให้ผู้อื่นเป็นสุข หากสุดวิสัย ก็นิ่งเฉย(ในข้อนี้สมัยนี้ต้องเลือกใช้ได้กับบางสถานการณ์เท่านั้น)
11. Win-Win, Win-Lose, Lose-Win, Lose-Lose
กฎของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในโลกนี้ข้อหนึ่งคือ "การแบ่งผลประโยชน์ที่ลงตัว" การทะเละเบาะแว้ง ไม่ว่าระดับโลกจนถึงระดับบุคคล ล้วนมีส่วนมาจากความไม่พอดี เป็นที่ยอมรับในผลประโยชน์ที่ต่างฝ่ายที่ได้รับ จนเกิด "ความรู้สึกไม่ยุติธรรมกับฝ่ายตน" บางครั้งความหมายของผลประโยชน์ ไม่จำเป็นเสมอไปต้องเป็นสิ่งเดียวกัน หากแต่อาจเป็นคนละสิ่งก็ได้ แต่ตรงกับความต้องการของตนเอง เช่นฝ่ายหนึ่งได้เงิน แต่ฝ่ายหนึ่งได้เกียรติ ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายทั้งคู่
(Win-Win) Win-Win นี้เป็นพื้นฐานของหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย(Democratic) ที่ให้ความสำคัญ และเคารพซึ่งกันและกัน ยังเป็นหลักการที่สำคัญและจำเป็นในการใช้ "ต่อรอง (Negotiation)เพื่อให้ได้มา ในสิ่งที่ต้องการโดยยอมเสียบางอย่างออกไป" ผลประโยชน์จากความสำเร็จในการใช้หลัก Win-Win ที่วัด
ได้เน้นไปที่ความรู้สึก (Feeling) ของทั้งสองฝ่ายมากกว่า สิ่งของวัตถุ (Wealth)ที่ได้รับถือเป็น"กฎของการแลก เปลี่ยนซึ่งกันและกันบน ความยอมรับทั้งสองฝ่าย"
Win-Lose, Lose-win เป็นหลักการที่ไม่มีดุลยภาพแห่งความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย เป็นพื้นฐานของการปกครอง แบบเผด็จการ(Autocratic)และทาสผู้ภักดี การอยู่ร่วมกันได้ก็ไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงและยั่งยืน ดังจะ เห็นได้จากแต่ละยุคสมัยของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในระบบการปกครองแบบเผด็จการ การใช้หลักการนี้มา บริหารองค์กร หรือบริการลูกค้า ย่อมจะพบกับความล้มเหลวในที่สุด
Lose-lose เป็นหลักการของพวกยอมตายเพื่อศักดิ์ศรี หากไม่ได้ที่ต้องการให้มันพังพินาศไปทั้งคู่เลย การใช้หลักการนี้มาบริหารองค์กร หรือ บริการลูกค้า ย่อมจะพินาศเสียหายทันที นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ต้องยึดหลักการบริหารแบบ Win-Win เพื่อความสำเร็จในระยะยาว ซึ่งต้องอาศัยภาวะผู้นำที่มี ความอดทนสูง
มองเป้าหมายระยะยาว(Long term goal) วิเคราะห์เหตุการณ์ไปสู่ผลลัพธ์ตามมา(Consequence) ได้ ยอมเสียเพื่อได้ ยอมแพ้เพื่อชัยชนะ ยอมลดละเพื่อซื้อใจผุ้คน
12. ความยืนหยุ่น (Flexible) และความโลเล (Waver)
หากความสำเร็จคือเป้าหมาย ทิศทางคือการวางแผน ลงมือทำคือกระบวนการ ความมุ่งมั่นและอุดมการณ์คือพลัง อุปสรรคคือแหล่งความรู้ ความไม่แน่นอนคือสัจธรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง(CQI)ไปตามสภาวะการณ์ "ยึดมั่นในการมุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้" นั่นคือ ความยืดหยุ่น(Flexibility) เพราะ "ทุกหนทางใช่ว่าปูด้วยดอกกุหลาบ"ตรงกันข้าม หากบุคคลปารถนาในความสำเร็จ แต่ขาดความมุ่งมั่น และอุดมการณ์ ไม่มีความรู้ในการปฏิบัติ มองอุปสรรคเป็นความหายนะ"เปลี่ยนแปลงเป้าหมายทุกครั้ง ที่พบอุปสรรค" บริหารแบบไร้ทิศทาง ยากที่จะบรรลุความสำเร็จได้ เรียกว่า "โลเล" นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ต้องยึดมั่นในเป้าหมายอย่างมั่นคง (Fixed Goal) และมีแนวทางที่ยืดหยุ่น (Flexible route) ปรับปรุงกระบวนการ เพื่อเป้าหมาย ไม่ใช่ปรับเปลี่ยนเป้าหมายเพื่อกระบวนการ
13. ความเห็นใจ(Empathy) และความสงสาร(Sympathy)
ความเห็นใจ(Empathy) คือการรับรู้และเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา สังเวชใน ชะตากรรมที่เขาต้องเผชิญ เห็นอกเห็นใจ และพร้อมช่วยเหลือในสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ไม่เกินตัวหรือทำให้ตน ผู้อื่น หรือองค์กรส่วนรวมเสียหาย รู้จักพิจารณาใช้หลักคุณธรรม "พรหมวิหาญ 4 เมตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา" มาใช้ หากช่วยเหลืออะไรเขาไม่ได้ก็ต้อง อุเบกขา คือวางเฉย ถือว่า "ทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกรรมแห่งตน" ความสงสาร (Sympathy) คือการเอาความรู้สึกของเขาที่ประสพทุกขเวทนามาครอบงำความรู้สึกตนเอง จนเสมือนหนึ่งเรากำลังเผชิญชะตากรรมกับเขาไปด้วย เช่นดูหนังเศร้าแล้ร้องไห้ บุคคลที่มีความรู้สึก เช่นนี้มากๆ จะมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน ไม่เป็นตัวของตัวเอง ช่วยคนอื่นไม่ได้แม้กระทั่งตัวเอง ทางพุทธ ถือว่า หลงอยู่ในเวทนา ขาดสติ ไร้ปัญญาที่จะมาวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งทุกข์ มองไม่เห็นหนทาง และวิธีปฏิบัติ แก้ไขความทุกข์ ให้กับผู้อื่นแม้กับตนเอง
นักบริหาร หรือ ผู้นำที่ดี ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจผู้อื่นที่ประสพชะตากรรม วิเคราะห์เหตุการณ์ในแนวทาง "อริยสัจ 4" ได้ถ่องแท้ ยึดหลักการ "พรหมวิหาร 4" ในการบริหารชีวิตตนเอง ครอบครัว ลูกน้อง เพื่อสร้าง ความศรัทธา ในองค์กร
14. การยอมรับ(Acceptance) และการยอมจำนน (Surrender)
การยอมรับ ในความหมายนี้ เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่ต้องอาศัย "การเปิดใจ"(Openness) และ "เคารพใน ความจริง" (Commitment to the truth) เป็นพื้นฐาน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกิดผลกระทบตามมาอย่างไรก็ตาม เป็นความกล้าหาญทีจะเผชิญกับความจริงที่เกิดขึ้นทุกเรื่องอย่างจริงใจ เพื่อนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงให้ดีขึ้น เป็นการยอมรับอย่างรู้แจ้งและเต็มใจปราศจากอคติ เพื่อนำไปเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีกว่าเดิม และไม่ถือว่า ผู้ที่นำเรื่องมาบอกกล่าว ตำหนิ คือศัตรูการยอมจำนน เป็นสภาวะที่ยอมแพ้ หมดรูป พร้อมทำตามทุกอย่าง ไม่คิดแม้แต่เหตุผล ที่ไปที่มาของการยอมแพ้ เช่นการแพ้สงคราม แพ้ต่ออุปสรรค ท้อแท้ไม่คิดจะแก้ไขอะไร ปล่อยให้เป็นไปตามชะตากรรม มักเกิดกับคน 3 ประเภท คือ พวกขี้ขลาด พวกหมดปัญญา และพวกหมดแรง นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ต้องเป็นผู้ที่ยอมรับความจริง ไม่บิดเบือน อะไรที่เกิดขึ้นแล้วล้วนเป็นประวัติศาสตร์ ที่เปลี่ยนไม่ได้ แต่ถือเป็นประสพการณ์เรียนรู้ ที่นำมาปรับปรุงการบริหารงานไม่ให้เกิดผิดซ้ำซากการยอม จำนนในปัญหาของผู้บริหารย่อมทำให้องค์กรระส่ำระสาย ไร้ทิศทางไปสู่เป้าหมาย
15. การระวัง(Careful) และการระแวง(Mistrust)
การระวัง เป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร เพราะมันสะท้อนถึงความห่วงใยในกระบวนการต่างๆที่มอบหมายให้ คนปฏิบัติไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้ที่ระวังย่อมจะตื่นตัวในสร้างกระบวนการวางแผนงานและการป้องกันความ เสียหายที่อาจเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ให้ความสำคัญในการควบคุมตรวจสอบ กระบวนการ มุ่งสร้างทั้งคน และ ระบบ เพื่อความสำเร็จที่หวังการระแวง เป็นสภาวะความไม่มั่นคงของจิตใจ ความไม่ไว้ใจในคน กระบวนการ ผลลัพธ์ ทำให้บุคคลที่มีความระแวงไม่เป็นสุข เรียกว่า กลัวจนเกินเหตุ มักเกิดกับคน 2 ประเภท คือเป็นผู้ที่ไม่มีความ รู้จริงในสิ่งที่ทำ และ พวกกลัวสูญเสีย ในผลประโยชน์ของตนมากเกินไปจนเกิดอาการหวาดระแวงนักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ต้องมีความตระหนัก (Realization) ในสิ่งที่ทำ และตื่นตัว(Alert) ที่จะป้องกัน ควบคุมกระบวนการไม่ ให้เกิดความผิดพลาด แต่ไม่ใช่ตระหนก (Panic)จนรนราน ไม่ไว้ใจผู้คน
16. การไว้ใจ (Trust ) และการวางใจ (Reliance)
การเป็นผู้บริหารหรือผู้นำย่อมต้องอาศัยลูกน้องในการทำงาน ตามแผนงานที่วางไว้ คนที่รับมอบหมายงาน ไปย่อมพอใจที่จะได้รับความไว้วางใจ ในการทำงาน ด้วยความภูมิใจ แต่ในฐานะผู้มอบหมายงาน การไว้ใจ ให้ลูกน้องทำงานเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี หากไม่ไว้ใจก็ไม่ควรมอบหมายงานให้ อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารไม่ควรวางใจในทุกเรื่องที่มอบหมาย เพราะวางใจมักจะทำให้ผู้มอบหมายขาดความสนใจ ในการติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และตายใจ บางครั้งอาจเกิดผลเสียหายที่ร้ายแรงเมื่อรับรู้ภายหลัง และแก้ไขไม่ทันการ ผู้นำที่ชอบ วางใจลูกน้องให้ทำงานมักเป็นพวกไม่มีความรู้ในงาน และอ่อนแอมักจะหงุดหงิดและโทษลูกน้องเมื่อผลงานล้มเหลว
นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีควรตัดสินใจคัดเลือกคนที่มีประสิทธิภาพอย่างรอบคอบให้ตรงกับความสามารถและ มอบหมายงานให้ โดยต้องแสดงความไว้ใจ เชื่อมั่นในตัวเขาเพื่อให้เกิดกำลังใจในการทำงาน แต่ก็ควรอย่า วางใจในว่าจะไม่เกิดปัญหาไดๆ ควรที่จะติดตาม รับทราบรายงาน ประเมินผลเป็นระยะ หากไม่เป็นไปตามแผน จำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขอย่างทันการ จนกระทั่งถึงจุดเป้าหมายที่ต้องการ
17. ความเข้าใจไว(Sensible) และ ความอ่อนไหว(Sensitive)
บางคนเมื่อเผชิญเหตุการณ์ จะสัมผัสรับรู้รวดเร็ว และรับฟังอย่างตั้งใจ ใช้ไหวพริบปัญญาวิเคราะห์ เหตุการจากข้อมูล หาเหตุผลด้วยใจที่เปิดกว้าง พร้อมที่จะรบฟังผู้อื่น และค้นหาซักถามข้อมูลก่อน ไม่ด่วนสรุปโดยปราศจากข้อเท็จจริง เรียกว่า "Sensible" ส่วนบางคนที่เมื่อเผชิญเหตุการณ์ จะมุงแต่แสดงความคิดเห็น และด่วนสรุป(Jump Conclusion)บนสมมตติฐาน ความเชื่อ ของตนปราศจากการรับฟัง หรือศึกษาข้อเท็จจริงก่อน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "Sensitive" พฤติกรรมเช่นนี้มักเป็นเหตุของการถกเถียง อย่างกว้างไกลบนสมมติฐานแห่งความเชื่อที่ไม่มีข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ ทำให้ ในการประชุมสิ้นเปลืองเวลามาก และไม่อาจหาข้อสรุปได้ อีกทั้งเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในองค์กรตามมา อย่างไรก็ตามพฤติกรรม กลุ่มเช่นนี้ก็มีข้อดีในการใช้มาวิเคราะห์เรื่องยังไม่เกิดขึ้นจริงเป็นการใช้สมมตติฐานของแต่ละคนมาค้นหา แนวทาง(Brain storm by dialog &discussion) อย่างไรก็ดี ผู้แสดงความคิดเห็น และทุกสมมตติฐานที่เสนอ ควรอิงอยู่บนข้อเท็จจริงและความรู้ที่พิสูจน์ได้ มิเช่นนั้นจะเป็นเพียง "การขายฝัน"นักบริหาร หรือผู้นำ ที่ดี ต้องเป็นผู้รู้จักรับฟังผู้อื่น และเข้าใจเรื่องราวได้รวดเร็ว โดยอิงข้อเท็จจริง และเข้าใจถึง"ประเด็น" ของเหตุการณ์ได้ถูกต้อง วิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโยงไปสู่หลักการได้ แล้วใช้หลักการนั้นมาสังเคราะห์ สร้างแนวทางหรือเหตุการณ์ที่อยากให้เป็น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
18. ปฏิกิริยา(Reaction)และวิธีแก้ไข (Solution)
ในการประชุม หารือ หรือแสดงความคิดเห็น(Brainstorm) ไดๆ เหตุการณ์ที่เราพบเห็นได้บ่อยคือการแสดง ปฏิกิริยาของผู้เข้าร่วมประชุมเมื่อมีผู้คัดค้าน เห็นตรงข้าม จะเกิดปฏิกิริยาตอบโต้และมุ่งหักล้างเพื่อเอาชนะ ให้ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่ใจยังปิดและสติยังไม่เกิด ปัญญายังมืดทึบ ทำให้เกิดโทสะ
ในตรงกันข้าม หากมีผู้เห็นด้วยสนับสนุนความคิดตน ก็จะเกิดความยินดี ชื่นชมความคิดเขาว่าดีที่เหมือนตน เป็นภาวะที่เรียกว่าโมหะ คือหลงไหลได้ปลื้มกับสิ่งเหล่านั้น ปฏิกิริยาตอบสนองทั้งไม่ว่าทางลบ หรือทางบวก เหล่านี้มักจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ยังหาจุดจบไม่ได้ ไม่ว่าการแสดงความคิดเห็นจะเป็นอย่างไรก็ตาม
จำเป็นต้องมีคำตอบ (Solution )ร่วมของกลุ่มออกมา เพื่อยึดเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันในสงครามย่อมต้อง มีฝ่ายแพ้และชนะ ในสงครามความคิดก็ย่อมต้องมีฝ่ายแพ้(กลุ่มไม่เห็นด้วย)และฝ่ายชนะ(กลุ่มเห็นด้วย) เช่นกัน นั่นหมายถึงคำตอบของที่ประชุม การประชุมไหนที่มีแต่การถกเถียงที่รุนแรงแล้วจบด้วยหาข้อสรุป
ไม่ได้ มิหนำซ้ำยังพกเอาความแค้นออกไปแสดงนอกที่ประชุมอีกถือว่า เป็นการประชุมที่ล้มเหลว ขณะเดียวกัน หากการประชุมไหนที่มีแต่คนเห็นด้วย ไม่มีการหยิบยกมุมมองที่แตกต่างมาอภิปราย การประชุมจบลง ด้วยความรวดเร็วและเงียบเชียบ ก็ไม่อาจถือว่าคำตอบที่ออกมาถูกต้องเสมอไป การอภิปรายและปฏิกิริยา
ในที่ประชุมที่พอดี จะทำให้ผลของการประชุมออกมามีความน่าเชื่อถือ เพราะได้มีการกลั่นกรองออกมาแล้ว นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ในฐานะที่เป็นผู้นำในการประชุม ต้องแสดงบทบาทผู้นำที่เข้มแข็ง รักษาวินัยใน ที่ประชุมได้ มีสติที่มั่นคงไม่คล้อยตาม หรือ ต้อต้านจนเสียศูนย์ แสดงความจริงใจที่จะให้เกิดผลสรุป
โดยความเห็นของกลุ่ม มีความยุติธรรม และกล้าตัดสินใจบนพื้นฐานของความน่าจะเป็น และรู้จักวิธี ระงับปฏิกิริยาของสมาชิกไม่ให้ลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ได้ ขณะเดียวกัน ก็สามารถกระตุ้นให้สมาชิก ออกความคิดเห็นเพื่อความหลากหลายในแนวทาง รวมทั้งการรักษาเวลา และเหลือเวลาที่เหมาะสม ในการยุติการประชุม
19. การเป็นครู ผู้แนะนำ และแบบอย่าง (Role model) ที่ดี
ในทุกองค์กรย่อมต้องมีผู้นำ ขวัญ กำลังใจ ความรัก และศรัทธาของลูกน้องที่มีต่อผู้นำเป็นสิ่งที่มีความหมาย และสำคัญต่อองค์กรอย่างยิ่ง ไม่ต่างจากครอบครัวหนึ่งที่ต้องมี พ่อ แม่ ลูกที่ต้องเชื่อฟัง เคารพ อำนาจใน การบริหารจัดการของผู้นำย่อมมีอยู่ในตัวผู้นำอยู่แล้ว บทบาท พฤติกรรม และความรู้ของผู้นำ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอำนาจของผู้นำที่แท้จริงอย่างยั่งยืน หาใช่อำนาจจากการแต่งตั้ง(Authority Power)ไม่
นักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ และความสามารถ มีความเป็นครู(Teacher)ถ่ายทอดความรู้ เป็นพี่เลี้ยง (Coach) คอยแนะนำ และเป็นแบบอย่าง(Role model) ที่ดีให้กับลูกน้องได้ นอกจากนั้นยังต้อง สามารถสร้างขวัญ และกำลังใจ เรียนรู้อุปนิสัยจุดแข็งจุดอ่อนของลูกน้อง และสามารถใช้คนให้เหมาะสมกับงาน ควบคุมและสร้างวินัยให้กับองค์กรได้ รวมทั้งการตัดสินใจที่รอบคอบและรวดเร็ว
20. ความเชี่ยวชาญ(Expertise) กับการใช้สัญชาตญาณ(Instinct)
นักบริหารที่เชี่ยวชาญ ผ่านประสพการณ์มามากมาย รับรู้ข้อมูลที่ประสพมาในอดีตสั่งสมเป็นความรู้ในความ เป็นมืออาชีพ มักจะมีสัญชาตญาณในการ ตัดสินใจ ได้รวดเร็ว แบบอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจอะไรที่รวดเร็ว และเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ของนักบริหาร ก็เป็นหลุมพลางอันหนึ่งที่บ่อยครั้งผู้บริหารประสพความผิดพลาด และต้องมาแก้ปัญหาภายหลัง ดังจะเห็นได้บ่อยครั้งที่เกิดขึ้นใน ธุรกิจ ทัศนคติ(Attitude) ของผูนำจึงเป็นสิ่งที่ต้องนำมาประเมินทุกครั้งก่อนตัดสินใจในโครงการไดๆ เพราะหาก ไม่ประเมินและเกิดความผิดพลาดไดๆที่เกิดจากผู้นำ ความผิดพลาดนั้นมักถูกกลบเกลื่อนด้วยการหาเหตุผลมาอธิบายผ่านทางอำนาจของผู้นำนักบริหาร หรือผู้นำที่ดี ย่อมต้องรู้จักประเมินความคิดตนเอง ให้รอบคอบ ก่อนสั่งการ เพราะความมีอำนาจ และประสพการณ์ที่มากกว่าคนอื่นอาจเป็นหลุมพลางในการตัดสินใจ ก่อให้ เกิดความล้มเหลว ตามมาอย่างน่าเสียดาย
21. บุคคล(Person) เหตุการณ์(Event) หลักการ (Principle)
ในการประชุม บ่อยครั้งจบลงด้วยความขัดแย้ง หาคำตอบไม่ได้ เพราะสมาชิกไปมุ่งแต่ประเด็นใครถูก ใครผิดหรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใครเป็นต้นเหตุ ความเสียหายรุนแรงแค่ไหนแล้วเกิดการโต้แย้งไม่ยอมรับ ซึ่งกันและกันแม้ว่าการค้นหาและรับรู้ข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ดี แต่หัวใจของการแก้ปัญหาอยู่ที่เอา สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ในอดีตมาวิเคราะห์หาหลักการหรือต้นเหตุ แล้วนำหลักการนั้นมาวางแผนสร้างแนวทางหรือเหตุการณ์ใหม่เพื่อ แก้ไขป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ซ้ำอีก นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีควรมองเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตอย่างถี่ถ้วน แล้ววิเคราะห์หามูลเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นให้ได้ เพื่อนำไปสร้าง กระบวนการป้องกันแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำในอนาคต และต้องจูงการประชุมให้มีข้อยุติในทิศทางดังกล่าวให้ได้ อย่าปล่อยให้การขัดแย้งบานปลาย หรือ ผู้นำลงไปเล่น กับเขาด้วยยิ่งไปกันใหญ่ เป็นพฤติกรรมที่ทุกคนชอบใช้เพื่อให้ได้ผลรวดเร็ว แต่หากอยู่บนความไม่รอบคอบ ผลเสียหาย ก็จะตามมาใหญ่หลวง จะเห็นได้ตั้งแต่การคิด การพูด การกระทำ การวางแผนกลยุทธ์ การสร้างยุทธ์วิธี ในการบริหารธุรกิจหรือแสดงออกของบุคคลทั่วไป โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา(Consequences) พฤติกรรมเช่นนี้มักเกิดกับนักบริหารที่ฉาบฉวย ขาดวิสัยทัศน์ ขาดความรู้ปฏิบัติชอบเสี่ยงพนัน มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตน ไม่ค่อยมีคุณธรรม จึงมองแต่เป้าหมายระยะสั้น(Short term goal) ไม่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายระยะยาว(Long term goal)นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีควรเรียนรู้ที่จะเอา ประโยชน์ของการตัดตอนมาใช้ในกรณีที่จำเป็น เช่น การสรุปสาระในที่ประชุมไม่ให้ยืดเยื้อ หรือสร้างเป้าหมายระยะสั้น ให้ลูกน้องมองเห็นผลงานได้เร็วเพื่อกระตุ้นขวัญและกำลังใจ อย่างไรก็ตาม ต้องมองผลกระทบตามมา และวางแนวทางป้องกัน เอาไว้ล่วงหน้าด้วย
การเผชิญกับคำนินทากาเลของผู้นำ(Gossip & Blame)
การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าคน ย่อมกลายเป็นบุคคลสาธารณะมากขึ้น ทุกเรื่องที่ตัดสินใจจะ กระทบต่อผู้คนรอบข้างไม่มากก็น้อย ไม่ว่าในเรื่องความคิดที่ไม่ตรงกัน ผลประโยชน์ ศักดิ์ศรี ทำ ให้หนีไม่พ้นในการที่จะถูกนินทาว่าร้ายในเรื่องงาน หรือแม้กระทั่งเรื่องส่วนตัวด้วยนาๆทัศนะที่มี ต่อผู้นำ เหตุการณ์เหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดความมั่นคงในอารมณ์ของผู้นำเป็นอย่างดี ผู้นำที่ Sensitive ก็จะเต้นไปตามเหตุการณ์เข้าทางผู้นินทา กล่าวร้ายไปเลย
นักบริหาร หรือผู้นำที่ดีย่อมต้องมองเรื่องการนินทา ของผู้อื่นอย่างมีสติ เยือกเย็น เพราะส่วน ใหญ่การนินทามักเกิดจากผู้ที่เสียผลประโยชน์ และมักไม่ค่อยเปิดเผย หากเรารับฟังมาอย่างใจเย็น บางครั้งเรื่องเหล่านั้นอาจสะท้อนให้เราเห็นในหลักการหรือความจริงบางอย่างที่แฝงอยู่ซึ่งสามารถ นำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก็เป็นได้ ให้ถือเสียว่าเป็นกระบวนการสะท้อนกลับ(Feed Back)ชนิด หนึ่ง เพียงแต่มันมาแบบไต้ดินเท่านั้นเอง
สัปปุริสธรรม 7 ธรรมมะของผู้บริหาร
ธรรมะหมวดนี้ของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยการประพฤติดีของสัตบุรุษ(คนดี) ซึ่งสามารถนำมา
เป็นหลักใช้กับการดำเนินชีวิต และใช้บริหารได้เป็นอย่างดีโดยไม่มีวันล้าสมัย ธรรมะ 7 ข้อได้แก่
1. ความเป็นผู้รู้จักเหตุ(ธัมมัญญุตา) ค้นหาสาเหตุที่ไปที่มา ใช่ว่าแค่เห็นก็เป็นพอ
2. ความเป็นผู้รู้จักผล(อัตถัญญุตา) เมื่อรู้เหตุก็รู้ผลได้ เมื่อเจอผลก็ค้นหาสาเหตุได้
3. ความเป็นผู้รู้จักตน(อัตตัญญุตา) รู้กำลัง ความสามารถ พึ่งตนเอง เตือนตัวเองได้
4. ความเป็นผู้รู้จักประมาณ(มัตตัญญุตา) รู้จักประเมินสถานการณ์ เหตุการณ์ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งให้น้ำหนักกับเหตุการณ์ได้อย่างเที่ยงตรง สามารถเตรียมการ รับมือแก้ไขได้ล่วงหน้า
5. ความเป็นผู้รู้จักกาล(กาลัญญุตา)รู้จักกาละเทศะ เวลาที่เหมาะที่ควรในการทำกิจการไดๆ
6. ความเป็นผู้รู้จักชุมชน(ปริสัญญุตา) เข้าใจในวัฒนธรรมของชุมชนสังคมที่เราอยู่อาศัยและ สามารถปรับตัว ให้อยู่ได้โดยราบรื่น
7. ความเป็นผู้รู้จักบุคคล(ปุคคลัญญุตา) เรียนรู้เข้าใจในบุคคลที่เราคบหาอย่างถ่องแท้เพื่อที่เราจะสามารถ ปรับตัว หรือตอบสนอง สั่งการได้โดยการยอมรับ และลดการขัดแย้ง
ข้อคิดท้ายบท
"ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ผิดถูกล้วนเกิดจากสมมติเปรียบเทียบและจากการตัดสินของคน หมู่มากเป็นผู้กำหนด ความถูกผิดจึงไม่มีความแน่นอน ตราบที่ความคิดของคน ไม่คงที่ เวลา เปลี่ยนไป ที่ผิดอาจกลายเป็นถูก ที่ถูกอาจกลายเป็นผิด ทั้งนี้ สิ่งที่ชี้ผิด ถูก คือใจของคนและ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่แน่นอน ความเหมาะสมจึงเป็นเรื่องยากที่จะสรุปเป็นกฎ ได้แน่นอน ดังนั้น สิ่งที่แน่นอนจีรังที่สุดก็คือ "ความไม่แน่นอน" มนุษย์จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ตนเองตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความพอดี คนที่ยึดติดไม่ว่าจะเกิดจากกิเลสตัณหา หรือความไม่รู้ ยากที่ จะอยู่รอดอย่างสบายใจได้ในโลกนี้
ผู้บริหารที่มาเป็นผู้นำขององค์กร ไม่ว่าจะมาได้วิธีไหน อย่างไร พึงสังวรว่าเมื่อ เวลาเปลี่ยนไป
• ความสำเร็จหรือล้มเหลวหนึ่งครั้งมิได้หมายถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวทุกครั้งเสมอไป
• คนทำถูกหรือทำผิดหนึ่งครั้ง มิได้หมายถึงการทำถูกหรือทำผิดทุกครั้งเสมอไป
• ความรอบรู้ในวันนี้ มิได้หมายความว่ายังคงใช้ได้ในวันหน้าเสมอไป
• ตำแหน่ง ชื่อเสียง เกียรติยศ ที่มีในวันนี้ หาใช่สิงแน่นอนในวันหน้าเสมอไป
• ความร่ำรวย ยากจน ใช่คงที่เสมอไป
• แต่ การเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และมีคุณธรรม เป็นสิ่งที่ จีรัง ในการนำพาสู่ความสำเร็จที่ยังยืนตลอดไป