กฎทอง 17 ประการของการเป็นทีมเวิร์คที่ดี

กฎทอง 17 ประการของการเป็นทีมเวิร์คที่ดี The 17 Indisputable Laws of Teamwork by John C. Maxwell

 หนังสือเล่มนี้ มุ่งนำเสนอของการทำงานเป็นทีมเวิร์คที่มีประสิทธิภาพ เพราะผู้เขียนมีความเชื่อว่า ไม่มีใครที่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ด้วยตัวเอง เพียงคนเดียว ชีวิตเราล้วนต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าเรื่องที่เราทำนั้น ดูเหมือนว่าเราจะทำด้วยตัวของเราเองเพียงคนเดียว แต่ถ้าหากลองมอง และพิจารณาดี ๆ แล้ว จะพบว่า ยังมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในหลาย ๆ ขั้นตอน
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ได้แบ่งออกเป็น 17 บท ตามกฎทองทั้ง 17 ข้อ ดังนี้
1. กฎว่าด้วยเรื่องความสำคัญ
2. กฎว่าด้วยเรื่องของภาพใหญ่
3. กฎว่าด้วยเรื่องของตำแหน่งที่เหมาะสม
4. กฎว่าด้วยเรื่องของภูเขาเอเวอเรสต์
5. กฎว่าด้วยเรื่องของห่วงโซ่
6 .กฎว่าด้วยเรื่องของตัวเร่งปฏิกิริยา
7. กฎว่าด้วยเรื่องของเข็มทิศ
8 .กฎว่าด้วยเรื่องของแอปเปิ้ลเน่า
9 .กฎว่าด้วยเรื่องของความเชื่อถือ
10. กฎว่าด้วยเรื่องของป้ายราคา
11 .กฎว่าด้วยเรื่องของสกอร์บอร์ด
12. กฎว่าด้วยเรื่องของผู้เล่นสำรอง
13. กฎว่าด้วยเรื่องของเอกลักษณ์
14. กฎว่าด้วยเรื่องของการสื่อสาร
15 .กฎว่าด้วยเรื่องของความได้เปรียบ
16 .กฎว่าด้วยเรื่องของการมีขวัญกำลังใจสูง
17. กฏว่าด้วยเรื่องของการปันผล

1. กฏว่าด้วยเรื่องความสำคัญ “คน ๆ เดียวไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่”
บุคคลที่มีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จ เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เช่น บิลล์ เกตส์ ไมเคิล จอร์แดน พาโบล ปิกัสโซ่ วูล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต เอลวิส เพลสลีย์ อเล็กซานเดอร์มหาราช หรืออัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ดูเหมือนว่า บุคคลที่เอ่ยมาข้างต้น จะประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าพิจารณาให้ดี จะเห็นว่ายังมีบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอีกหลายคน ดังคำกล่าวของสุภาษิตจีนที่กล่าวว่า “เบื้องหลังบุรุษผู้สามารถมักจะมีบุรุษผู้สามารถอีกคนอยู่เสมอ” ความจริงก็คือ ทีมเวิร์กคือหัวใจสำคัญของความสำเร็จ เพราะคน ๆ เดียวไม่สามารถทำสิ่ง
ที่ยิ่งใหญ่ได้เพียงลำพัง คุณไม่สามารถทำสิ่งที่มีคุณค่าอย่างแท้จริงเพียงคนเดียวได้ และความเชื่อเรื่องการทำงานเป็นทีมนี้ มีมาตั้งแต่สมัยพระคริสต์เลยทีเดียว โดยในหนังสือของ ซี จีน วิลคิส เรื่อง Jesus on Leadership ได้กล่าวไว้ว่า
* ทีมย่อมประกอบด้วยคนที่มากกว่า จึงส่งผลให้มีทรัพยากร ความคิด และพลังมากกว่าบุคคลเพียงคนเดียว
* ทีมสามารถดึงศักยภาพความเป็นผู้นำสูงสุด และขจัดจุดอ่อนของเขาให้เหลือน้อยที่สุด แต่จุดแข็งและจุดอ่อนจะถูกเผยให้เห็นมากที่สุดในปัจเจกบุคคล
* ทีมช่วยให้มีมุมมองต่อวิธีสนองความต้องการหรือบรรลุเป้าหมายได้หลายแง่มุม ดังนั้นจึงควรกำหนดทางเลือกที่หลากหลายสำหรับสถานการณ์หนึ่ง ๆ เพราะเวลาที่มีปัญหาขึ้นมา ความรู้ของปัจเจกไม่กว้างขวางและลึกซึ้งเหมือนกับของคนทั้งกลุ่ม
* ยามชนะ ทีมก็ร่วมแบ่งปันชื่อเสียงที่ได้ ยามพ่ายพวกเขาก็ร่วมรับคำตำหนิด้วยกัน สิ่งนี้ช่วยหล่อเลี้ยงชุมชนที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างแท้จริง แต่บุคคลจะได้รับคำชมและตำหนิเพียงลำพัง และนี่คือสิ่งที่ช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจและสำนึกของความล้มเหลว
* ทีมทำให้ผู้นำมีความรับผิดชอบต่อเป้าหมาย แต่บุคคลที่ไม่มีความข้องเกี่ยวกับใครเลยอาจทำการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายโดยไม่มีความรับผิดชอบ
ข้อคิดเกี่ยวกับทีมเวิร์ก
“คุณอาจเป็นคนเก่ง แต่ไม่ได้เก่งขนาดนั้น” ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคนอื่น และคุณเองก็ต้องทำหน้าที่สองบทบาทด้วยกัน ได้แก่ การเป็นสมาชิกทีม และการเป็นผู้นำทีม ทำได้โดย
ทำตัวเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
เป้าหมายสำคัญที่คุณต้องการบรรลุในขณะนี้คืออะไร? โปรดระบุเป้าหมายของคุณตรงนี้
1...................................................................................................
2...................................................................................................
3...................................................................................................
ในแต่ละข้อ ให้คุณอธิบายวิธีการทำงานเพื่อไปสู่เป้าหมายดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร ใช้วิธีการอะไรบ้าง จะทำเพียงลำพังหรือว่าจะสร้างทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว?
ถ้าคุณไม่ได้พยายามทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของทีม ช่วยอธิบายด้วยว่า เพราะเหตุใด จากนั้นให้รีบแก้ไขในเรื่องดังกล่าวทันที ยิ่งคุณเป็นสมาชิกทีมเร็วเท่าใด คุณก็จะสามารถบรรลุความฝันของคุณได้เร็วขึ้นเท่านั้น
ทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
ลองนึกถึงความฝันยิ่งใหญ่ในชีวิตของคุณ แล้วถามตัวเองว่า
Ÿ มันยิ่งใหญ่กว่าฉันไหม?
Ÿ มันทำให้คนอื่นได้ประโยชน์เหมือนกับฉันไหม?
Ÿ มันคุ้มค่าพอกับการอุทิศชีวิตของฉันไหม?
ถ้าคำตอบของคุณคือ “ใช่” ทั้งหมด ให้ลองคิดดูว่าควรดึงคนแบบไหนเข้าร่วมทีมเพื่อบรรลุความฝันที่ว่านี้ ให้ทำรายการบุคคลที่มีความคิดเหมือนคุณ และเป็นคนที่ยินดีเข้าร่วมในกระบวนการของคุณ หลังจากนั้นจึงเชิญชวนพวกเขาให้ร่วมการเดินทางกับคุณ และคอยมองหาคนที่จะได้ประโยชน์จากการเป็นส่วนหนึ่งของทีมอยู่ตลอดเวลา

2. กฎว่าด้วยเรื่องของภาพใหญ่ “เป้าหมายสำคัญกว่าบทบาท”
ทีมไม่ได้เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ถูกใช้ในฐานะเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนของใครคนใดคนหนึ่ง แต่สมาชิกทีมต้องมีเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน มีแรงจูงใจที่จะทำงานร่วมกัน ไม่ได้ถูกจัดการโดยใครบางคนเพื่อสนองความต้องการของคนเพียงคนเดียว
ทีมที่ประสบชัยชนะคือ ทีมที่ผู้เล่นนึกถึงประโยชน์ของทีมก่อนตัวเอง พวกเขาต้องการเล่นในจุดที่ตัวเองทำได้ดีที่สุด และยินดีทำทุกอย่างเพื่อทีมของตน ยอมสละบทบาทของตนเพื่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่า นี่คือกฎว่าด้วยเรื่องของภาพใหญ่นั่นเอง
การมองเห็นภาพใหญ่
คนผู้สร้างทีมที่ประสบผลสำเร็จไม่เคยลืมว่าทุก ๆ คนในทีมมีบทบาทที่ต้องแสดง และทุกบทบาทต่างก็มีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายหรือภาพที่ใหญ่กว่าทั้งสิ้น หากปราศจากทัศนคติที่ว่านี้แล้ว ทีมจะไม่มีวันบรรลุเป้าหมายเลย ไม่ว่าเกมของทีมจะเป็นกีฬา ธุรกิจ ครอบครัว หน่วยราชการหรือรัฐบาลก็ตาม ต่อไปนี้คือขั้นตอนกระบวนการของการมองเห็นภาพใหญ่
1.มองภาพรวม
ทุกสิ่งเริ่มต้นจากการมีวิสัยทัศน์ หรือคุณต้องมีเป้าหมายก่อนนั่นเอง เพราะถ้าไม่มีคุณก็ไม่สามารถสร้างทีมที่แท้จริงได้เลย “ถ้าคุณไม่รู้ว่าคุณกำลังจะไปที่ไหน สุดท้ายก็ต้องจบลงที่ไหนสักแห่ง” (ซึ่งต้องไม่ใช่ที่ ๆ น่าพอใจแน่ ๆ ) ถ้าคุณเป็นผู้นำทีม บทบาทของคุณคือต้องทำสิ่งที่คุณสามารถทำได้เท่านั้น นั่นคือ การวาดภาพฝันอันบรรเจิดแก่คนของคุณ เพราะถ้าไม่มีวิสัยทัศน์ พวกเขาก็จะไม่มีวันค้นพบความปรารถนาที่จะบรรลุเป้าหมายแน่นอน
2.ประเมินสถานการณ์
คุณค่าของการเห็นภาพใหญ่ประการหนึ่งก็คือ มันช่วยให้คุณตระหนักว่าคุณยังอยู่ห่างจากจุดหมายเท่าไหร่ และการมองเห็นขนาดของภารกิจเบื้องหน้าไม่ได้ทำให้พวกเขากังวลแต่อย่างใด พวกเขาไม่เคยหดหัวจากปัญหา พวกเขาชอบลิ้มลองโอกาสใหม่ ๆ และแทบจะรอให้สร้างทีมและวางแผนเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ ไม่ไหว
3.จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น
ไม่สำคัญเลยว่าคุณจะอยู่ในทีมแบบไหน ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนด้วยอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก เงินทุนและอื่น ๆ คุณไม่มีวันคืบหน้าไปได้ ไม่ว่าเป้าหมายของคุณจะเป็นการปีนเขา การครองตลาดหรือสร้างคณะรัฐมนตรี ยิ่งทีมมีทรัพยากรดีขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่สมาชิกในทีมจะเบี่ยงเบนจากความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายของทีมก็น้อยลงเท่านั้น
4.เลือกเฟ้นตัวผู้เล่นที่เหมาะสม
คุณอาจมีวิสัยทัศน์ที่เฉียบคม มีแผนการที่เฉียบขาด มีทรัพยากรมากมาย และมีความเป็นผู้นำที่แสนมหัศจรรย์ แต่ถ้าคุณขาดคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม คุณก็ไม่มีวันเดินหน้าไปไหนแน่นอน “คุณอาจสูญเสีย ผู้เล่นที่ดี แต่คุณไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยผู้เล่นสุดห่วย”
5.โยนวาระส่วนตัวทิ้งไป
ทีมที่ชนะคือ ทีมที่มีผู้เล่นถามตัวเองอยู่เสมอว่า “อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนอื่น ๆ” พวกเขาจะต้องโยนวาระหรือความต้องการส่วนตัวทิ้งไป เพื่อแลกกับประโยชน์ของทีม “ในหมู่เรานี้ไม่มีใครสักคนที่มีความสำคัญไปกว่าคนอื่น ๆ”
6.ก้าวสู่ระดับสูงขึ้น
ทีมจะก้าวสู่ระดับสูงขึ้นไปได้ก็ต่อเมื่อ ผู้เล่นร่วมแรงและยอมสละความต้องการส่วนตัวซึ่งมีความจำเป็นสำหรับทีมเวิร์ค คนที่คิดถึงแต่ตัวเองนั้นเท่ากับพลาดหรือมองไม่เห็นภาพใหญ่ ด้วยเหตุนี้ศักยภาพพวกเขาจึงไม่ได้ถูกดึงมาใช้อย่างเต็มที่ และคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยคนแบบนี้ก็รังแต่จะตกต่ำไปเรื่อย ๆ

ข้อคิดเกี่ยวกับทีมเวิร์ก
“ถ้าคุณสามารถมองภาพใหญ่อย่างชัดเจนถูกต้องแล้ว คุณก็สามารถทำงานสนองทีมได้เร็วขึ้น”
การทำตัวให้เป็นสมาชิกทีมที่ดี
ขอให้คุณแบ่งเวลานั่งคิดพิจารณาเกี่ยวกับเป้าหมายและสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตคุณตามลำพัง ถามว่าคุณมีเป้าหมายอะไรในชีวิต และเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวคุณยินดีทำอะไรบ้าง คุณยินดีที่จะแสดงบทบาทรองในกรณีจำเป็นเพื่อเป็นผลดีแก่ทีมไหม? ถ้าไม่ คุณก็อาจเป็นตัวรั้งความสำเร็จของทีมได้
การทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดี
เริ่มต้นปลูกฝังความคิดของการทำงานเป็นทีม ด้วยการทำตัวเป็นแบบอย่างของความตั้งใจที่จะสนองเป้าหมายหรือภาพใหญ่แทนที่จะเป็นผลประโยชน์เฉพาะตน แล้วจึงค่อยคิดหาวิธีที่คุณสามารถช่วยให้สมาชิกทีมยอมรับกฎว่าด้วยภาพใหญ่ จูงใจคนด้วยการวาดภาพใหญ่ให้พวกเขาเห็น ทำการยกย่องการทำงานเป็นทีมต่อสาธารณชน และให้รางวัลแก่คนที่ยอมสละเพื่อผลประโยชน์ของทีม

 3. กฎว่าด้วยเรื่องของตำแหน่งที่เหมาะสม “ผู้เล่นทุกคนต่างก็มีที่ทางที่ตนสามารถเพิ่มคุณค่าได้มากที่สุด”
การวางคนที่เหมาะสมในตำแหน่งที่เหมาะสม ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการสร้างทีม ถ้าเราวางคนในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เช่น เอากองหน้ามาเล่นกองกลาง เอามือกีตาร์มาเล่นคีย์บอร์ด คู่สมรสซึ่งเกลียดงานครัว แต่ต้องสมบทบาทเป็นพ่อครัว เป็นต้น สิ่งที่จะตามมาคือ ขวัญและกำลังใจจะถดถอยเพราะทีมไม่สามารถเล่นได้เต็มความสามารถ สมาชิกจะเริ่มไม่พอใจ ไม่เต็มใจทำงาน ความมั่นใจเริ่มหดหาย เพราะไม่มีโอกาสเอาจุดแข็ง หรือความสามารถของตนออกมาใช้ ผลก็คือ ทีมดังกล่าวไม่เคยบรรลุศักยภาพที่แท้จริงของตน เมื่อสมาชิกไม่ได้ทำสิ่งที่ตนสามารถทำได้อย่างดี ผลที่ออกมาจึงไม่ดี นี่คือกฎของตำแหน่งที่เหมาะสม พลวัตหรือความเคลื่อนไหวของทีมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการวางตำแหน่งคน ดังนี้

 

 Ÿ คนที่ไม่เหมาะสมในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม = ความถดถอย
Ÿ คนที่ไม่เหมาะสมในตำแหน่งที่เหมาะสม = ความสิ้นหวัง
Ÿ คนที่เหมาะสมในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม = ความสับสน
Ÿ คนที่เหมาะสมในตำแหน่งที่เหมาะสม = ความก้าวหน้าแบบทวีคูณ (หลาย ๆ ตำแหน่ง)
ถ้าต้องการวางคนในตำแหน่งที่สามารถดึงเอาความสามารถของเขาและดึงศักยภาพสูงสุดของทีมออกมาใช้อย่างเต็มกำลังแล้ว คุณจำเป็นต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
คุณต้องรู้จักทีมของคุณ
คุณต้องรู้จักวิสัยทัศน์ จุดประสงค์ วัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์ ทีมกำลังจะไปไหน และทำไมต้องไปที่นั่น คุณต้องเริ่มต้นจากจุดที่ทีมตั้งอยู่จริง ๆ หลังจากนั้นจึงจะสามารถพามันไปยังจุดอื่น
คุณต้องรู้จักสถานการณ์
วิสัยทัศน์หรือจุดประสงค์ขององค์กรเป็นสิ่งที่ค่อนข้างแน่นอน แต่สถานการณ์รอบข้างไม่เป็นเช่นนั้น นักสร้างทีมที่ดีจะต้องรู้ว่าทีมกำลังอยู่ตรงจุดไหน และเงื่อนไขของสถานการณ์เป็นอย่างไรบ้าง ต้องสามารถปรับและจัดคนให้เหมาะสมกับตำแหน่งต่าง ๆ ได้
คุณต้องรู้จักผู้เล่น
ต้องประเมินประสบการณ์ ทักษะ อารมณ์ ทัศนคติ ความปรารถนา ทักษะเกี่ยวกับคน วินัย ความแข็งแกร่งทางด้านอารมณ์ และศักยภาพของคนแต่ละคน เพียงแค่นี้คุณก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือสมาชิกทีมในการหาตำแหน่งที่เหมาะสมแก่ตัวเอง
เริ่มต้นด้วยการหาตำแหน่งที่เหมาะสำหรับคุณก่อน ทำได้โดย......
Ÿ ต้องมั่นคง ไม่ลังเลที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าคุณอยากเติบโตคุณต้องยอมเปลี่ยนแปลง
Ÿ ค้นหาจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง ค้นหาพรสวรรค์ของตัวเอง ให้คนอื่นช่วยแสดงความคิดเห็น พยายามกำจัดจุดอ่อนที่มี
Ÿ ไว้ใจผู้นำของคุณ
Ÿ มองภาพใหญ่ไว้ก่อน
Ÿ พึ่งประสบการณ์ของคุณ คือหาตำแหน่งที่เหมาะสมให้กับตัวเอง โดยลองทำสิ่งที่ดูท่าว่าน่าจะเหมาะกับคุณแบบลองผิดลองถูก แล้วคุณจะค้นพบว่าคุณเกิดมาเพื่ออะไร
แง่คิดเกี่ยวกับทีมเวิร์ก
“คุณจะมีค่ามากที่สุดในจุดที่คุณสามารถเสริมคุณค่ามากที่สุดเช่นกัน”
การเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
Ÿ ค้นหาที่ทางของคุณให้พบ
Ÿ เมื่อค้นพบแล้ว แต่คุณยังไม่ได้อยู่ในจุดนั้น ขอให้คุณวางแผนเปลี่ยนแปลงเพื่อไปให้ถึงจุดนั้น
Ÿ ถ้าคุณยังหาที่ทางของตัวเองไม่เจอ คุณต้องมองหาจุดแข็ง จุดอ่อนของคุณเอง โดยให้เพื่อน ๆ ช่วยประเมินคุณ นึกถึงจุดประสงค์ในชีวิตของคุณว่าคืออะไร หาคำตอบให้ได้ว่าคุณอยากจะไปอยู่ในจุดไหน
การเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
คือ การจัดวางคนในตำแหน่งที่เหมาะสม ได้แก่ การทำความรู้จักทีม สถานการณ์ และผู้เล่นของคุณ และจำสิ่งเหล่านี้ไว้ “การจะช่วยคนให้บรรลุศักยภาพและสามารถใช้ประสิทธิผลของพวกเขาอย่างสูงสุดนั้น คุณต้องดึงพวกเขาออกจากจุดที่เขาคุ้นเคยหรือสะดวกสบาย แต่ต้องไม่เกินพรสวรรค์หรือความสามารถของพวกเขา เพราะการทำเช่นนั้นจะนำไปสู่ความหดหู่สิ้นหวัง หมดกำลังใจ แต่การจูงใจคนให้ยอมเดินออกจากความคุ้นเคยจะนำไปสู่ความสำเร็จ”
4. กฎว่าด้วยเรื่องของภูเขาเอเวอเรสต์ “เมื่อความท้าทายเริ่มมีมากขึ้น ทีมเวิร์กก็เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งขึ้นเช่นกัน”
ยอดเขาเอเวอเรสต์ก็เปรียบเสมือนความฝันของคนเรา ทุกคนต่างก็มีความฝันและอยากจะไปให้ถึงฝันนั้นกันทุกคน และคุณจำเป็นจะต้องมีทีมเพื่อช่วยให้บรรลุสิ่งฝันไว้ คุณต้องทำอย่างไร? วิธีที่ดีที่สุดคือ เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง 3 ข้อ ดังนี้
1) ความฝันของฉันคืออะไร?
-สิ่งที่อยู่ในในคุณคืออะไร สิ่งที่คุณมองว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในชีวิตของคุณคืออะไร สิ่งที่คุณต้องการทำให้เสร็จสิ้นในช่วงเวลาที่คุณมีชีวิตอยู่บนโลกนี้คืออะไร
-ถ้าคุณต้องการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ คุณต้องมีความฝัน แต่ฝันอย่างเดียวยังไม่พอ คุณจะบรรลุฝันได้ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของทีมเท่านั้น
2) มีใครอยู่ในทีมของฉันบ้าง?
-คำถามนี้เพื่อประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของคุณ ศักยภาพของคุณจะมีมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับทีมปัจจุบันของคุณ การมีฝันที่ยิ่งใหญ่แต่มีทีมที่ไม่ได้เรื่อง ก็ไม่ต่างอะไรกับฝันร้าย
3) ทีมในฝันของฉันควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร?
-ทีมของคุณต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับความฝันคุณ เพราะถ้าไม่เช่นนั้น คุณก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ เช่น ถ้าคุณต้องการปีนเขาเอเวอเรสต์ คุณก็ต้องมีทีมงานที่เหมาะสม “การมีทีมที่ยิ่งใหญ่ แต่มีความฝันที่ไม่เข้าท่า ย่อมดีกว่าการมีฝันอันยิ่งใหญ่แต่มีทีมงานที่ไม่เข้าท่า”
-ให้ความสำคัญกับทีม ไม่ใช่ความฝัน
-ความฝันล้วนมีความท้าทายอยู่ในตัวมันเอง เป็นความท้าทายที่จะบอกให้รู้ว่าคุณควรจะสร้างทีมแบบไหน ลองดูแบบจำลองต่อไปนี้


ความท้าทาย

ทีมที่จำเป็นต้องมี

ความท้าทายใหม่ ๆ

ทีมสร้างสรรค์

ความท้าทายซึ่งยังไม่มีข้อยุติ

ทีมเอกภาพ

ความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ทีมที่มีความคล่องตัวและยืดหยุ่น

ความท้าทายที่ไม่พึงปรารถนา

ทีมที่มีแรงจูงใจสูง

ความท้าทายที่หลากหลาย

ทีมที่มีสมาชิกหลากหลาย

ความท้าทายระยะยาว

ทีมที่มีความมุ่งมั่น

ความท้าทายยิ่งใหญ่ขนาดเขาเอเวอเรสต์

ทีมที่มากด้วยประสบการณ์

 
-ความปรารถนาที่จะสร้างทีมของคุณนั้น จะต้องไม่เป็นการตอบสนองของคุณแต่คนเดียว แต่ต้องเป็นความต้องการที่จะสร้างคุณค่าแก่คนในทีมทุกคน
สร้างการเติบโตแก่ทีมได้อย่างไร?
1) พัฒนาสมาชิกทีม
คือการช่วยให้สมาชิกแต่ละคนได้มีโอกาสเติบโตขึ้น โดยการมองหาศักยภาพในตัวลูกทีมโดยที่เจ้าตัวไม่เคยรู้ว่าตัวเองมี และดึงมันออกมา และประเมินความต้องการของลูกทีมตามเกณฑ์ดังนี้
Ÿ ผู้เริ่มต้นที่มีความกระตือรือร้น -ต้องการทิศทาง
Ÿ ผู้เรียนรู้ที่ตาสว่างแล้ว -ต้องการการฝึกฝนชี้แนะ
Ÿ ผู้บรรลุเป้าหมายด้วยความรอบคอบ -ต้องการการสนับสนุน
Ÿ ผู้บรรลุเป้าหมายได้ด้วยตนเอง -ต้องการการมอบหมายหน้าที่
รับผิดชอบ
-“จงเปิดโอกาสให้คนในทีมของคุณได้มีโอกาสเติบโตและเบ่งบานเสมอ”
2) เพิ่มสมาชิกทีมคนสำคัญ
ถึงแม้ว่าคุณจะเปิดโอกาสให้คนในทีมเรียนรู้และเติบโตอย่างเต็มที่แล้ว แต่คุณก็ยังพบว่ายังขาดความรู้ ความสามารถที่จะเป็นต่อการบรรลุความฝันของคุณอยู่ดี แสดงว่าถึงเวลาที่คุณต้องเลือกสรรสมาชิกใหม่ที่มีความสามารถในสาขาที่ช่วยสร้างความสำเร็จให้คุณได้
3) เปลี่ยนเป็นผู้นำ 
ถ้าทีมของคุณกำลังเผชิญกับการท้าทายครั้งใหญ่ และดูเหมือนว่าไม่สามารถ “ไต่ขึ้นเขา” แต่อย่างใด แสดงว่าคงถึงเวลาต้องเปลี่ยนผู้นำแล้ว อาจให้ใครบางคนในทีมที่มีความสามารถเป็นผู้นำในช่วงเวลานี้มากกว่าคุณ อาจเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ หรือถาวรเลยก็ได้
4) ถอนสมาชิกที่ไร้ประสิทธิผลออกไป
-บางครั้งสมาชิกทีมคนใดคนหนึ่งสามารถเปลี่ยนทีมผู้ชนะให้เป็นผู้แพ้ได้ อาจด้วยทักษะหรือทัศนคติที่ไม่ดีก็ได้ คุณต้องให้ความสำคัญกับทีมเป็นอันดับแรก และทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดผลดีต่อทีม
-การสร้างความเติบโตแก่ทีมเป็นงานที่มีความสำคัญและต้องใช้เวลา แต่ถ้าคุณต้องการทำให้ฝันเป็นจริง คุณก็ไม่มีทางเลือกอื่น ยิ่งฝันใหญ่เท่าไหร่ทีมก็ต้องยิ่งใหญ่ขึ้นเท่านั้น เมื่อความท้าทายเริ่มมีมากขึ้น ทีมเวิร์กก็เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งขึ้นเช่นกัน นี่คือกฎว่าด้วยเรื่องของภูเขาเอเวอเรสต์
แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ก
“ขนาดของความฝันของคุณควรเป็นตัวกำหนดขนาดของทีมของคุณ”
การเป็นสมาชิกทีมที่ดี
เมื่อความท้าทายเริ่มซับซ้อนมากยิ่งขึ้น คุณต้องสอนให้ตัวเองรู้จักการระดมพลร่วมกับสมาชิกทีมของคุณ เพราะคุณไม่มีทางเอาชนะปัญหาท้าทายโดยลำพังได้ “บนขุนเขาที่ยิ่งใหญ่ คุณต้องไม่ทิ้งเพื่อนร่วมทางและขึ้นสู่ยอดเขาโดยลำพัง”
การเป็นผู้นำทีมที่ดี
คุณควรปรับตัวแบบใดบ้างเพื่อสร้างทีมในฝันขึ้นมา เป็นทีมที่สามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายล่วงหน้า คุณจำเป็นต้องใช้เวลาพัฒนาคนของคุณมากขึ้นไหม? จำเป็นต้องเพิ่มสมาชิกคนสำคัญ ๆ ไหม? หรือควรเปลี่ยนแปลงผู้นำหรือไม่? และต้องไม่ลืมว่าคุณเองก็ต้องเติบโตต่อไปเช่นกัน หลักเกณฑ์ที่ใช้ได้ผลกับสมาชิกทีม ก็ใช้ได้ดีกับผู้นำเช่นกัน

5. กฎว่าด้วยเรื่องของห่วงโซ่

  “จุดแข็งของทีมได้รับผลกระทบจากจุดอ่อนที่สุดของทีม”
Ÿ โดยปกติแล้วทีมส่วนใหญ่มักจะวัดตัวเองด้วยการประเมินจากคนดีมีฝีมือที่สุดของตน แค่ความจริงคือ จุดแข็งของทีมได้รับผลกระทบจากจุดอ่อนที่สุดของทีมเสมอ ต่อให้ใครต่อใครช่วยกันหาเหตุผลมาสนับสนุนพยายามชดเชยหรือปกปิดมันอย่างไร จุดอ่อนหรือลูกโซ่ที่อ่อนแอก็ต้องเผยโฉมให้เห็นจนได้ และนี่คือกฎว่าด้วยเรื่องของห่วงโซ่
Ÿ จุดอ่อนของทีมนั้น สามารถทราบได้ว่าใครอยู่ในกลุ่มนี้บ้าง โดยการหาคนในทีมว่ามีลักษณะเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่
-พวกเขาไม่สามารถก้าวทันเพื่อนสมาชิกคนอื่น ๆ
-พวกเขาไม่เติบโตในส่วนงานที่ตนรับผิดชอบ
-พวกเขามองไม่เห็นภาพใหญ่
-พวกเขาไม่ยอมแก้จุดอ่อนส่วนตัว
-พวกเขาไม่ยอมให้ความร่วมมือกับทีม
-พวกเขาไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่คาดหวังในส่วนงานที่ตนรับผิดชอบ
ถ้าหากมีคนลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังกล่าวในทีมแล้ว แสดงว่าคน ๆ นั้นคือ จุดอ่อนของทีม และคุณจะจัดการกับจุดอ่อนของทีมอย่างไร? คุณมีทางเลือกสองทาง อันดับแรกคือพยายามฝึกฝนให้เขาได้พัฒนาตัวเองได้จริง ๆ และถ้าหากว่าเขาได้รับการฝึกฝนแล้ว แต่ทีมยังคงล้มเหลวอีก ก็ควรให้โอกาสพวกเขาได้ค้นพบจุดที่เหมาะสมของตนในที่อื่น
ผลกระทบของจุดอ่อน
1) สมาชิกที่แข็งแกร่ง (เป็นจุดแข็ง) จะเป็นคนระบุจุดอ่อน คนที่เป็นจุดแข็งหรือคนเก่งในทีม จะรู้ได้ทันทีว่าสมาชิกคนไหนปฏิบัติหน้าที่ด้วยกว่าคนอื่น
2) สมาชิกที่แข็งแกร่ง(เป็นจุดแข็ง) ต้องช่วยคนที่เป็นจุดอ่อน คนที่แข็งแกร่งในทีมนั้นมีทางเลือกสองทาง หนึ่งคือไม่สนใจใยดีคนที่เป็นจุดอ่อน ปล่อยให้ทีมได้รับความเสียหาย หรือพวกเขาจะให้ความช่วยเหลือคน ๆ นั้น และทำให้ทีมประสบความสำเร็จมากขึ้น
3) สมาชิกที่แข็งแกร่ง(เป็นจุดแข็ง) รู้สึกไม่พอใจคนที่เป็นจุดอ่อน ไม่ว่าคนที่เป็นจุดแข็งจะช่วยหรือไม่ช่วยก็ตาม สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ความไม่พอใจ เพราะไม่มีใครอยากแพ้เพราะคน ๆ เดียวหรอก
4) สมาชิกที่แข็งแกร่ง(เป็นจุดแข็ง) เริ่มด้วยประสิทธิผล การต้องแบกภาระของคนอื่นนอกเหนือจากความรับผิดชอบของคุณเอง จะส่งผลเสียต่อผลงานคุณอย่างยิ่ง ยิ่งปล่อยเป็นเวลานาน ทีมคุณต้องเดือดร้อนแน่ ๆ
5) สมาชิกที่แข็งแกร่ง(เป็นจุดแข็ง) เริ่มสงสัยความสามารถของผู้นำ เมื่อใดที่ผู้นำปล่อยให้ทีมมีจุดอ่อนต่อไป สมาชิกที่ถูกบีบให้ยอมจำทนกับคนที่เป็นจุดอ่อนจะเริ่มความสงสัยความกล้าหาญและความเป็นผู้นำของคุณ คุณต้องสูญเสียความนับถือจากคนดีมีฝีมือที่สุดแน่นอน หากคุณไม่จัดการกับจุดอ่อนที่สุดของทีมอย่างถูกต้องเหมาะสม
แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ก
“ทีมไม่สามารถปกปิดจุดอ่อนของทีมได้ตลอดไป”
ทำตัวเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
คนส่วนใหญ่มักตัดสินคนอื่นโดยดูจากคุณสมบัติที่แย่สุดของคน ๆ นั้น แต่ความจริงคือ คนทุกคนต่างก็ต้องรับผิดชอบต่อการเติบโตของตนเองก่อนเป็นอย่างแรก
ลองใช้หลักเกณฑ์ต่อไปนี้ในการประเมินว่าคุณฉุดรั้งทีมในจุดไหนบ้าง โดยทำกากบาทใต้คำว่า “ตัวเอง” สำหรับเกณฑ์ที่ใช้วัดตัวคุณ แล้วลองให้เพื่อนประเมินคุณ โดยกากบาทใต้คำว่า “เพื่อน” ถ้าคุณหรือเพื่อนที่ประเมินคุณ กากบาทมากกว่าหนึ่งข้อ แสดงว่าคุณจำเป็นต้องจัดแผนพัฒนาตัวเอง เพื่อจะได้ไม่ฉุดรั้งความก้าวหน้าของทีมอีกต่อไป และลองพูดคุยกับผู้นำทีมว่าจะมีวิธีแก้ไขจุดอ่อนของคุณต่อไปอย่างไร

 ประเมินโดย
ตัวเอง เพื่อน ประเด็นที่น่าจะมีปัญหา

¢ ¢ มีปัญหาในการตามไม่ทันเพื่อนสมาชิกคนอื่นเสมอ
¢ ¢ ยังไม่มีความรู้ ความสามารถในงานที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่
¢ ¢ ไม่เข้าใจภาพรวม
¢ ¢ มองไม่เห็นจุดอ่อนของตัวเอง
¢ ¢ มีปัญหาในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมทีม
¢ ¢ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามความคาดหวังในส่วนงานที่รับผิดชอบ 

 

ทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
วิธีการแก้ไขปัญหานั้นจะแตกต่างออกไปแล้วแต่ประเภทของทีม เช่น ถ้าเป็นครอบครัว คุณจะใช้วิธีการสับเปลี่ยนไม่ได้ แต่ต้องใช้วิธีดูแลและพยายามช่วยเหลือสมาชิกให้เติบโตขึ้นมา ถ้าทีมคุณคือธุรกิจ คุณมีความรับผิดชอบต่อเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น ถ้าคุณเสนอการฝึกอบรมแต่ไม่เคยได้รับความสำเร็จสักครั้ง คุณก็อาจสับเปลี่ยนคนที่เป็นจุดอ่อนออกไป หรือถ้าทีมคือคณะรัฐมนตรีและการฝึกอบรมไม่ได้ผลอันใดเลย คุณอาจต้องขอให้คนที่เป็นจุดอ่อนออกไปนั่งข้างนอกสนามสักครู่ หรืออาจต้องหยุดพักและใช้เวลาแก้ปัญหาด้านอารมณ์และสปิริตของพวกเขาสักพัก

6. กฎว่าด้วยเรื่องของตัวเร่งปฏิกิริยา

  
“ทีมที่ประสบชัยชนะต้องมีผู้เล่นที่สามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น”
ทีมที่ประสบผลสำเร็จส่วนใหญ่มักจะมีผู้เล่นที่เหมือนสารเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นคนที่ทำให้งานเสร็จลุล่วงแล้วคนอื่นก็จะทำตามเอง ผู้เล่นที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ย่อมนำความฮึกเหิมมาสู่ทีม ทำทุกอย่างเพื่อผลักดันทีมให้ขึ้นสู่อีกระดับหนึ่งเสมอ และเมื่อมีคนประเภทนี้ทำการกระตุ้นทีมอย่างสม่ำเสมอแล้ว ทีม ๆ นั้นก็จะเป็นทีมที่มีความหวัง มั่นใจ เป็นทีมที่มีระดับสูงขึ้น และสุดท้ายเป็นทีมมหัศจรรย์ นี่คือกฎว่าด้วยเรื่องของผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลง ทีมที่ประสบชัยชนะต้องมีผู้เล่นที่สามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น
ทีมทุกทีมจำเป็นต้องมีผู้เล่นที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อความหวังว่าทีมจะคว้าชัยชนะอยู่เสมอ แต่ถ้าไม่มี ต่อให้เป็นทีมที่มี่ผู้เล่นเก่ง ๆ ก็ไม่สามารถก้าวสู่ระดับสูงสุดได้

ลักษณะนิสัยของผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลง
1) เป็นคนที่มีสัญชาตญาน ผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงมักจะรู้สึกได้ถึงสิ่งที่คนอื่น ๆ ไม่รู้ เช่น มองเห็นจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้าม สามารถตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญานซึ่งพลิกผันตามสถานการณ์ จากที่เสียเปรียบเป็นความได้เปรียบ สามารถใช้อะไรก็แล้วแต่ที่พวกเขารู้สึกว่าได้ผลช่วยทีมให้ประสบความสำเร็จได้
2) มีความสามารถในการสื่อสารเป็นพิเศษ ผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงมักพูดสิ่งที่สมาชิกคนอื่น ๆ ของทีมไม่พูด เพื่อทำให้ทีมเคลื่อนไปข้างหน้า จุดประสงค์เพื่อจุดประกายหรือกระตุ้นสมาชิกในทีม
3) มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างที่คนอื่นไม่รู้สึก พวกเขาปรารถนาในสิ่งที่ตัวเองทำอย่างล้ำลึกและต้องการแบ่งปันแก่เพื่อนร่วมทีมไม่ว่าจะแสดงออกมาในรูปใด ทั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้น จุดประกายแก่ทีมสู่ความสำเร็จทั้งนั้น
4) เป็นผู้มีความสามารถอย่างแท้จริง ผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงสามารถทำสิ่งที่คนอื่น ๆ ทำไม่ได้ เพราะความสามารถของพวกเขามีมากพอ ๆ กับความปรารถนาของพวกเขา เป็นการแบ่งปันพรสวรรค์ของคุณกับคนอื่นเพื่อช่วยให้พวกเขามีความสามารถมากขึ้น 
5) มีความสร้างสรรค์ สิ่งที่เห็นได้บ่อยในผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงก็คือ ความสร้างสรรค์ โดยมักจะคิดถึงสิ่งที่คนส่วนใหญ่เขาไม่คิดกัน ในขณะที่คนอื่น ๆ ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยการท่องจำหรือความเคยชิน แต่ผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงมักจะคิดหาวิธีทำสิ่งต่าง ๆ ในแบบที่แปลกใหม่เสมอ
6) การริเริ่ม ผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงนอกจากจะมีความคิดสร้างสรรค์แล้ว พวกนี้ยังต้องมีวินัยในการกระทำของตนเอง คือยินดีที่ได้ทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นและอาจเกิดขึ้นในรูปแบบใดก็ได้
7) ความรับผิดชอบ ผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงแบกรับภาระที่คนอื่นไม่ยอมทำ “ถ้ามีกิจอันใด ขอให้เป็นหน้าที่ของผม”
8) ใจคอกว้างขวาง ผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงให้ในสิ่งที่คนอื่น ๆ ให้ไม่ได้ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความรับผิดชอบคือ ความตั้งใจที่จะอุทิศตนเพื่อทำให้สิ่งต่าง ๆ ผ่านพ้นหรือสำเร็จลงด้วยดี พร้อมที่จะใช้ทรัพยากรของตนเพื่อช่วยให้ทีมปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการอุทิศเวลา เงินทองหรือสละผลประโยชน์บางอย่างก็ตาม
9) มีอิทธิพล ผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงสามารถนำเพื่อนร่วมทีมด้วยวิธีที่คนอื่นทำไม่ได้

แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“เกมชนะได้ด้วยคนประเภทที่ทำให้คนอื่นเห็นเป็นตัวอย่างแล้วพวกเขาจะทำตามเอง”
เป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
ถ้าในเวลาที่ทีมคุณตกอยู่ในภาวะคับขันแล้ว และมีผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสามารถและประสิทธิผลมากมาอยู่ในทีมของคุณ คุณก็ไม่จำเป็นต้องเหนื่อยเอง สิ่งที่คุณทำได้ก็คือการช่วยให้คนเหล่านั้นอยู่ในฐานะที่เป็นประโยชน์ต่อทีม คุณสามารถเริ่มต้นพัฒนาตนเองด้วยการทำสิ่งต่อไปนี้
1) หาพี่เลี้ยงสักคน ด้วยการหาคนที่มีความสามารถมากกว่า ที่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้เพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จเช่นกัน
2) เริ่มวางแผนการเติบโต กำหนดโปรแกรมซึ่งจะช่วยให้คุณได้พัฒนาทักษะและความสามารถของคุณ
3) ก้าวออกมาจากความสะดวกสบายเดิม ๆ คุณจะไม่รู้เลยว่าคุณมีความสามารถจนกว่าคุณจะได้ลองก้าวออกจากความจำเจหรือสิ่งที่คุณเคยทำมาก่อน
เป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
จงใช้คุณสมบัติทั้ง 9 ประการที่กล่าวไว้และใส่รายชื่อบุคคลซึ่งสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ให้ลุล่วงจนเป็นแบบอย่างของคนอื่น ๆ และกระตุ้นเขาให้ริเริ่ม และทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเชิงบวกของทีม ถ้าหากว่าคนในทีมไม่สามารถหรือไม่ยอมก้าวสู่ระดับที่สูงขึ้น ขอให้เริ่มเลือกสรรคนจากนอกทีมเข้ามา เพราะไม่มีทีมใดที่สามารถก้าวสู่ระดับสูงสุดได้โดยปราศจากผู้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น

7. กฎว่าด้วยเรื่องของเข็มทิศ

  



“วิสัยทัศน์ทำให้สมาชิกทีมมีทิศทางและความมั่นใจ”
วิสัยทัศน์ต้องมาก่อนการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นทีมทุกคนจึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจเพื่อเป็นทิศทางของทีม การไม่มีวิสัยทัศน์ก็คือการไม่มีวัตถุประสงค์นั่นเอง “ทหารทุกคนต้องทราบก่อนที่ตนจะออกสู่สมรภูมิว่า สงครามที่ตนต้องไปรบนั้นจะสอดคล้องกับภาพใหญ่อย่างไร ความสำเร็จของการสู้รบจะส่งผลต่อสงครามอย่างไร” ดังนั้นคนในทีมจึงจำเป็นต้องรู้ว่า ทำไมพวกเขาต้องสู้รบ มิฉะนั้นแล้วเห็นทีว่าทีมต้องมีปัญหาแน่นอน
ผู้นำทีมต้องระบุวิสัยทัศน์ที่มีคุณค่าและน่าประทับใจ และรวบรวมวิสัยทัศน์ดังกล่าวเพื่อเผยแพร่แก่สมาชิกทีม ถ้าคุณไม่รู้ว่าวิสัยทัศน์ของทีมคืออะไร คุณก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมั่นใจ คุณไม่อาจแน่ใจได้เลยว่าคุณและทีมของคุณเดินไปถูกทางหรือไม่ รวมทั้งไม่รู้ด้วยว่าทีมที่คุณอยู่นี้เหมาะกับคุณหรือไม่
ตรวจสอบเข็มทิศของคุณ
วิสัยทัศน์ของทีมต้องสอดคล้องกับ
1) เข็มทิศด้านศีลธรรมจรรยา (มองเบื้องสูง) จะช่วยให้ทุกคนในทีมได้ตรวจสอบแรงจูงใจของตนและทำให้แน่ใจว่าตนกำลังอุทิศแรงกายและใจเพื่อความถูกต้องเหมาะสม และยังสร้างความน่าเชื่อถือแก่ตัวผู้นำซึ่งเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ ทั้งนี้ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างค่านิยมที่ต้องการให้ทีมยอมรับด้วย เป็นการช่วยเติมพลังแก่วิสัยทัศน์และทำให้มันเดินหน้าได้ต่อไป
2) เข็มทิศด้านสัญชาตญาน (มองภายใน) วิสัยทัศน์กำเนิดจากสัญชาตญานภายในของเรา ต้องก้องกังวานลึกอยู่ภายในใจผู้นำทีมแล้วจึงสะท้อนลึกอยู่ในใจของสมาชิก
3) เข็มทิศด้านประวัติศาสตร์ (มองเบื้องหลัง) วิสัยทัศน์ที่จับใจควรสร้างขึ้นโดยมีพื้นฐานจากอดีต ห้ามละเลยเด็ดขาด สิ่งที่ทีมก่อนทำไว้และได้ผลดีก็ควรดึงเอามาใช้ประโยชน์ ต้องสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบันและอนาคตด้วยเสมอ คนเราไม่มีวันไปถึงอนาคตได้ หากพวกเขาไม่เคยได้สัมผัสกับอดีต
4) เข็มทิศบอกทิศทาง (มองเบื้องหน้า) วิสัยทัศน์กำหนดทิศทางสำหรับทีม และทิศทางที่ว่านี้ส่วนหนึ่งมาจากสำนึกเกี่ยวกับจุดประสงค์ ส่วนอื่น ๆ มาจากการมีเป้าหมาย ซึ่งจะพาเป้าหมายไปสู่วิสัยทัศน์ เป้าหมายคือสิ่งที่จูงใจทีม
5) เข็มทิศกลยุทธ์ (มองรอบตัว) เป้าหมายไม่ได้ช่วยอะไรหากทีมปราศจากขั้นตอนในการบรรลุเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ที่ปราศจากกลยุทธ์ก็ไม่ต่างอะไรกับฝันกลางวัน กลยุทธ์จะช่วยกำหนดทรัพยากรและระดมสมาชิกของทีม เพราะคนเราไม่ได้ต้องการแค่ข้อมูลและแรงบันดาลใจเท่านั้น แต่ยังต้องการคำแนะนำว่าต้องทำอะไรบ้างจึงจะทำให้วิสัยทัศน์กลายเป็นความจริง ตลอดจนหนทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งกลยุทธ์สามารถช่วยได้
6) เข็มทิศแห่งวิสัยทัศน์ (มองไกลตัวออกไป) วิสัยทัศน์ของทีมต้องมองไปไกลกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน และมองข้ามข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสมาชิกทีมเพื่อค้นหาศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในทีม วิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ต้องเป็นการพูดถึงสิ่งที่สมาชิกทีมสามารถทำหรือเป็นได้หากพวกเขาดำเนินชีวิตตามค่านิยมทำงานตามมาตรฐานสูงสุดของพวกเขาอย่างแท้จริง และต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ “คุณต้องมีวิสัยทัศน์ระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้คุณถอดใจอันเนื่องจากความล้มเหลวในระยะสั้น”

แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“เมื่อคุณเห็นมันแล้ว คุณก็สามารถคว้ามันไว้ได้”
เป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
คุณต้องเข้าในวิสัยทัศน์ของทีมอย่างแจ่มใสแจ้งเสียก่อน หากว่าทีมยังไม่มีเลยก็ต้องช่วยกันคิดขึ้นมา แต่ถ้าทีมคุณมีเข็มทิศและวิถีของตนแล้ว คุณต้องพิจารณาตัวเองว่ามันเข้ากับตัวคุณหรือเปล่า ถ้าคำตอบคือไม่ คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
เป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
คุณต้องมีหน้าที่ในการสื่อสารวิสัยทัศน์ของทีมและคอยย้ำเตือนพวกเขาตลอดเวลา และต่อเนื่อง ซึ่งเป็นงานไม่ง่ายเลย แต่คุณอาจใช้ลิสต์ต่อไปนี้ในการสื่อสารวิสัยทัศน์ประกอบด้วย
ความชัดเจน: สร้างความเข้าใจในวิสัยทัศน์ (สิ่งที่คนจำเป็นต้องรู้และสิ่งที่พวกเขาต้องทำ)
ความเชื่อมโย: ผูกอดีต ปัจจุบันและอนาคตเข้าด้วยกัน
จุดประสงค์: กำหนดทิศทางของวิสัยทัศน์
เป้าหมาย: กำหนดเป้าหมายของวิสัยทัศน์
ความซื่อสัตย์: สร้างบูรณภาพแก่วิสัยทัศน์และความน่าเชื่อถือแก่ตัวผู้กำหนดวิสัยทัศน์
ต้องมีเรื่องราว: เป็นการนำความสัมพันธ์มาสู่วิสัยทัศน์
ความท้าทาย: เป็นการยืดขยายวิสัยทัศน์อย่างเต็มที่
ความปรารถนา: เพิ่มพลังแก่วิสัยทัศน์
เป็นตัวแบบ: เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อวิสัยทัศน์

8. กฎว่าด้วยแอปเปิ้ลเน่า

  กลยุทธ์: ทำให้วิสัยทัศน์เป็นกระบวนการ
“ทัศนคติที่ไม่ดีทำลายทีม”
ทัศนคติ......
-คือ “คนก้าวหน้า” แห่งตัวตนแท้จริงของเรา
-รากฐานของมันอยู่ข้างใน แต่ผลของมันปรากฏอยู่ภายนอก
-คือเพื่อนที่ดีที่สุด หรือศัตรูที่ดีที่สุดของเรา
-คือสิ่งที่ซื่อตรงและสม่ำเสมอยิ่งกว่าคำพูด
-คือการมองโลกภายนอกโดยอิงอยู่บนประสบการณ์ที่ผ่านมา
-คือสิ่งที่ดึงคนเข้ามาหาเราหรือผลักไสพวกเขาออกไป
-ไม่เคยมีความพอใจจนกว่าจะได้รับการแสดงออกมา
-คือห้องสมุดเก็บอดีตที่ผ่านมาของเรา
-คือโฆษกแห่งปัจจุบันของเรา
-คือผู้ทำนายอนาคตของเรา
“ทัศนคติที่ดีในหมู่ผู้เล่นไม่ใช่สิ่งที่ประกันความสำเร็จของทีม แต่ทัศนคติที่ไม่ดีประกันความล้มเหลวแน่นอน” และมันส่งผลต่อการทำงาน ดังนี้
1. ทัศนคติมีพลังที่จะยกทีมขึ้นหรือฉุดทีมต่ำลงได้ ความมีฝีมือบวกกับประสบการณ์ไม่มากพอที่จะทำให้ทีมบรรลุความสำเร็จได้ แต่ต้องบวกทัศนคติที่ดีของทีมด้วย ดังนี้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความสามารถ + ทัศนคติ = ผลลัพธ์

ฝีมือดีเยี่ยม + ทัศนคติแย่มาก ๆ = ทีมที่แย่มาก
ฝีมือดีเยี่ยม + ทัศนคติไม่ดี = ทีมฝีมือปานกลาง
ฝีมือดีเยี่ยม + ทัศนคติกลาง ๆ = ทีมที่ดี
ฝีมือดีเยี่ยม + ทัศนคติดี = ทีมที่ดีเยี่ยม
ถ้าคุณต้องการสร้างผลลัพธ์ที่โดดเด่น คุณก็จำเป็นต้องมีผู้เล่นที่ดีฝีมือดีเยี่ยม และทัศนคติที่ดีสุดยอด ถ้าทัศนคติขยับสูงขึ้น ศักยภาพของทีมก็สูงขึ้นเช่นกัน ถ้าทัศนคติตกต่ำลง ศักยภาพของทีมก็ต่ำลงเช่นกัน
2. ทัศนคติจะขยายตัวเมื่อมันแพร่หลายสู่ผู้อื่น บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นในทีมไม่ใช่สิ่งที่แพร่ถึงกันได้ เช่นฝีมือ ประสบการณ์ แต่สิ่งที่จะแพร่ถึงกันแน่คือ ทัศนคติ ถ้าผู้นำมีกำลังใจในยามที่เผชิญกับสถานการณ์ที่สิ้นหวัง คนอื่น ๆ ก็จะรู้สึกชื่นชมคุณสมบัติดังกล่าว และอยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง ถ้าสมาชิกทีมแสดงจริยธรรมที่เข้มแข็งและเริ่มส่งผลในทางบวก คนอื่น ๆ ก็จะเลียนแบบ เพราะคนเราโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะได้รับแรงบันดาลใจจากคนในระดับเดียวกัน และมีแนวโน้มจะยอมรับทัศนคติของคนที่ตนใช้เวลาด้วยไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด ความเชื่อและวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ
3. ทัศนคติไม่ดีขยายตัวได้เร็วกว่าทัศนคติที่ดี ด้วยเหตุผลบางอย่างหลายคนคิดว่าการทำตัวไม่ดีเป็นสิ่งที่ดูเท่ทันสมัย แต่ความจริงคือ ทัศนคติเชิงลบมีแต่ทำลายทั้งตัวเองและคนรอบข้างด้วย
4. ทัศนคติเป็นเรื่องของอัตวิสัย ดังนั้นถ้าระบุผิดอัน ก็อาจเป็นอันตรายได้ คนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีอาจไม่ได้ทำสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือไร้จรรยา แต่ทัศนคติของเขาก็ทำลายทีมได้เช่นกัน เช่น การไม่ยอมรับว่าตัวเองทำผิด ไม่เคยให้อภัย การเคียดแค้นพยาบาท การริษยา การต้องการเครดิตเพียงคนเดียว เป็นต้น
5. ทัศนคติที่ไม่ดีถ้าปล่อยไว้จะบ่อนทำลายทุกอย่างแน่นอน แน่ใจได้เลยว่าทัศนคติที่ไม่ดีต้องก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความไม่พอใจ การต่อสู้และการแตกแยกของทีมแน่นอน และมันไม่มีวันหายไปถ้าไม่ได้รับการแก้ไข มีแต่จะเน่าเฟะและทำลายทีม รวมทั้งทำลายโอกาสบรรลุศักยภาพสูงสุดของทีมด้วย ถ้าหากคุณปล่อยให้แอปเปิ้ลเน่าปนอยู่กับแอปเปิ้ลดี ๆ สุดท้ายก็จะทำให้แอปเปิ้ลดีเน่าไปด้วย

 แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“ทัศนคติของคุณทำลายทัศนคติของทีม”
ทำตัวเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
คุณต้องพิจารณาตัวคุณเอง ว่าคุณเป็นอย่างไรบ้างในสิ่งต่อไปนี้.....
-คิดว่าทีมไม่สามารถอยู่ได้ถ้าปราศจากคุณ
-เชื่ออย่างลับ ๆ หรือไม่ลับว่า ความสำเร็จของทีมที่ผ่านมาจริง ๆ เป็นผลมาจากความพยายามของคุณ ไม่ใช่ผลงานของทีมทั้งหมด
-คอยรับคำชื่นชมด้วยตัวเอง แต่สิ่งไม่ดีโยนให้คนอื่น
-มีปัญหาในการยอมรับว่าเวลาที่ตัวเองทำผิด (ถ้าคุณเชื่อว่าคุณไม่ได้ทำผิด คุณก็จำเป็นต้องตรวจสอบเรื่องนี้แล้ว)
-ฟื้นฝอยความผิดพลาดในอดีตของเพื่อนร่วมทีม
-เชื่อว่าคุณได้รับผลตอบแทนที่ต่ำเกินไป
ถ้าคุณกาเครื่องหมายถูกเป็นส่วนใหญ่ แสดงว่าคุณควรตรวจสอบทัศนคติของตัวเองได้แล้ว โดยคุยกับเพื่อนร่วมทีม ผู้นำทีม ว่าทัศนคติของคุณกำลังทำลายทีมหรือเปล่า ต้องหาคำตอบให้ได้ว่าคุณอยู่ตรงจุดไหนกันแน่
ทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น

9. กฎว่าด้วยเรื่องของความเชื่อถือ

  ถ้าคุณคิดว่ามีแอปเปิ้ลเน่าอยู่ในทีม คุณก็ต้องเอาคนนั้นออกไปซะ แต่ต้องใช้วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม ต้องมีการพูดคุยหารือ และบอกสิ่งที่คุณสังเกตเห็นมา เปิดโอกาสให้เขาได้ทราบเหตุผลด้วย และต้องอธิบายให้กระจ่าง เปิดโอกาสให้เขาได้เปลี่ยนแปลง บอกให้เขาแสดงความรับผิดชอบ ถ้าเขาเปลี่ยนได้ก็เป็นผลดีต่อทีม แต่ถ้าไม่ ก็กำจัดเขาออกไป จะปล่อยเขาทิ้งไว้ไม่ได้ เพราะทัศนคติที่ไม่ดีทำลายทีม
“เพื่อนร่วมทีมต้องทำตัวให้เป็นที่เชื่อถือได้ของสมาชิกคนอื่น ๆ ในยามจำเป็น”
“เราไม่ได้ทำงานเพื่อกันและกัน แต่เราทำงานด้วยกันและกัน” นี่คือสาระของความเชื่อถือไว้วางใจ ซึ่งเป็นความสามารถและความปรารถนาสำหรับสมาชิกทีมในการทำงานด้วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน แต่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้เอง หรือเป็นสิ่งที่หยิบยื่นให้แก่กัน แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ได้มาต่างหาก สมาชิกทีมที่พึ่งพาอาศัยกันได้เฉพาะยามปกติอย่างเดียวนั้น ไม่มีวันพัฒนาความรู้สึกเชื่อถือไว้วางใจได้เลย.....
สูตรสร้างความเชื่อถือ
Ÿ ลักษณะนิสัย + ความสามารถ + ความผูกพัน + ความสอดคล้อง +ความกลมเกลียว = ความเชื่อถือ
Ÿ เมื่อสมาชิกทีมนำเอาหลักการทั้งห้าประการมาใช้ทั้งกับตัวเองและผู้อื่น ทีมจะสามารถบรรลุความเชื่อถือที่จำเป็นต่อความสำเร็จได้
1. ลักษณะนิสัย ลักษณะนิสัยทำให้เกิดความไว้วางใจกันได้ ความเชื่อถือเริ่มต้นจากลักษณะนิสัยเพราะมันมีพื้นฐานอยู่บนความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ถ้าคุณไม่สามารถไว้ใจใครบางคน คุณก็จะไม่พึ่งคน ๆ นั้น “ไม่มีอะไรทดแทนลักษณะนิสัยได้ คุณอาจซื้อสมองได้ แต่คุณไม่สามารถซื้อลักษณะนิสัยจากใครได้เลย”
2. ความสามารถ คุณต้องการทั้งคนที่มีความสามารถ และมีนิสัยดีมาอยู่ในทีมแน่นอน
3.ภาระผูกพัน ในยามวิกฤติคุณคงอยากให้แน่ใจว่าคุณสามารถพึ่งพาเพื่อนร่วมทีมได้ นั่นคือความผูกพันของสมาชิกที่มีต่อทีม โดยมีตารางเพื่อแสดงความผูกพันของสมาชิกทีม ดังนี้

 

ระดับ

ประเภทของเพื่อนร่วมทีม

นิยาม

1. Green Beret Colonel

ทีมผู้นำที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ

ทุ่มเทเพื่อเป้าหมายให้ความสนใจต่อภาพใหญ่ มีทัศนคติแบบหนักเอาเบาสู้ทุกอย่าง

2. First Lieutenant

ทีมผู้บรรลุเป้าหมาย

ยอมรับสปิริตและวัฒนธรรมขององค์กร เป็นผู้ที่สามารถสร้างแรงจูงใจแก่ตัวเองและมีผลิตภาพ

3. OCS Graduates

ผู้เล่นเป็นทีมตัวจริง

ยอมรับสปิริตและวัฒนธรรมขององค์กร เป็นผู้ที่สามารถสร้างแรงจูงใจแก่ตัวเองและมีผลิตภาพ

4. Private

สมาชิกทีมอย่างเป็นทางการ

พอใจกับการได้อยู่ในทีมและต้องการอยู่ต่อไป ให้บริการตามหน้าที่ ยังไม่ใช่ผู้บรรลุหรือผู้สร้างผลงานระดับสูง

5. Boot Camp Recruit

ผู้ตามขี้อิจฉา

ยินดีทำงานให้แต่ต้องคอยกระตุ้นเสมอ

6. Deserter

ไม่ใช่ผู้ตามที่ดี

ไม่ยอมทำอะไรต้องลากขึ้นศาลทหาร

7. Sniper

ผู้ตามตัวอันตราย

ทำงานก็จริง แต่มักสร้างปัญหาแก่ทีมเสมอ และสามารถยิงเพื่อนร่วมทีมได้ทุกเมื่อหากมีโอกาส

 è ทีมเวิร์คที่แท้จริง ต้องอาศัยความรู้สึกผูกพันหรือผูกมัดแบบนี้ ถ้าเพื่อนร่วมทีมทำไม่ไหวก็ต้องลากพวกเขาไปด้วยเพื่อบรรลุเป้าหมายของทีมให้ได้
4. ความเสมอต้นเสมอปลาย
5. ความปรองดอง เพื่อนร่วมทีมจำเป็นต้องสร้างความปรองดองขึ้นมา เพราะนั่นคือความสามารถที่จะดึงพวกเขาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าสถานการณ์ลำบากยากเข็ญเพียงใด “ถ้าเราไม่ถูกดึงเข้าด้วยกันและต้องถูกดึงออกจากกัน และถ้าปราศจากความปรองดองกันแล้วคงจะไม่มีวันเป็นทีมอย่างแท้จริง เพราะพวกเขาไม่ได้ถูกดึงไว้ด้วยกัน อย่างดีก็เป็นแค่กลุ่มของคนที่ทำงานในองค์กรเดียวกันเท่านั้น” เพื่อนร่วมทีมต้องทำตัวเป็นที่พึงของคนอื่น ๆ ได้ในยามจำเป็นเสมอ
แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“อภินันทนาการยิ่งใหญ่ที่สุดที่คุณจะรับได้ก็คือการทำตัวให้เป็นที่ไว้วางใจได้”
เป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
รางวัลสูงสุดของการทำงานทีมเวิร์คคือ ความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมทีมของคุณในยามที่มันจำเป็นหรือเป็นเงื่อนไขสำคัญจริง ๆ ลองดูเกณฑ์เหล่านี้ว่าคุณเป็นอย่างไรบ้าง
Ÿ บูรณาภาพของคุณมีอะไรที่ไม่น่าสงสัยไหม (ลักษณะนิสัย)
Ÿ คุณปฏิบัติงานของคุณด้วยความเป็นเลิศไหม (ความสามารถ)
Ÿ คุณทุ่มเทต่อความสำเร็จของทีมไหม (ภาระผูกพัน)
Ÿ พฤติกรรมของคุณผนึกทีมเข้าด้วยกันไหม (ความสมานฉันท์)
ถ้าคะแนนที่คุณได้ค่อนข้างต่ำ ลองหารือกับที่ปรึกษาหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับว่า คุณจะสามารถเสริมคุณสมบัติเหล่านั้นหรือไม่

 การเป็นผู้นำทีมที่ดี
1) สร้างความภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกภาพของกลุ่ม
2) ตอกย้ำแก่กลุ่มของคุณว่าพวกเขาดีที่สุด
3) แสดงการยอมรับหรือสำนึกในความดีของเพื่อนสมาชิกทุกครั้งที่ทำได้
4) จัดทำป้ายคำขวัญ ชื่อ สัญลักษณ์และสโลแกนขององค์กร
5) กำหนดคุณค่าของทีมของคุณด้วยการศึกษาและส่งเสริมประวัติความเป็นมาและค่านิยม 
ของทีม
6) ให้ความสนใจต่อวัตถุประสงค์ร่วมกัน
7) กระตุ้นคนของคุณให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนอกเหนือจากงานประจำ

10. กฎว่าด้วยเรื่องป้ายราคา

 “ยิ่งคุณทำกิจกรรมเหล่านี้มากเท่าไหร่ ความเชื่อถือไว้ใจต่อกันก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย”
“ทีมไม่สามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน เพราะไม่ยอมจ่ายในสิ่งที่ควร
จ่าย”
Ÿ สัจธรรมสี่ประการว่าด้วยเรื่องของป้ายราคา
1) ราคาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องจ่าย คนซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ของการเป็นทีมผู้ชนะย่อมไม่เคยตระหนักว่าสมาชิกทีมทุกคนต้องจ่าย บางคนอาจคิดว่าคนอื่นทำงานหนัก ดังนั้นพวกเขาก็ใกล้บรรลุศักยภาพของตนแล้ว แต่มันไม่จริงเลย ถ้าทุกคนไม่ยอมจ่าย (ทุ่มเท) เพื่อแลกกับชัยชนะ สุดท้ายก็ต้องเสีย (จ่าย) เพราะแพ้ในที่สุด
2) ราคาเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายตลอดเวลา บางคนเชื่อว่าถ้าตนสามารถบรรลุเป้าหมายบางอย่างแล้วจะไม่มีการเติบโตอีกต่อไป แต่ผู้นำที่มีประสิทธิผลจะคิดแบบนี้ไม่ได้ เพราะวันใดที่พวกเขาหยุดเติบโต คือวันที่พวกเขาสูญเสียศักยภาพของตนรวมทั้งศักยภาพขององค์กรของตนด้วย “ตราบใดที่คุณยังเขียวขจีอยู่ แสดงว่าคุณกำลังเติบโต แต่ถ้าคุณสุกปลั่งเมื่อใด แสดงว่าคุณเริ่มจะเน่าแล้ว”
3) ราคาอาจเพิ่มขึ้นหากทีมต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือชนะอยู่เสมอ การจะเป็นแชมเปี้ยนนั้นต้องยอมจ่ายในราคาที่แพงมาก (ทุ่มเท) แต่การรักษาตำแหน่งที่หนึ่งให้ได้นั้นต้องจ่ายแพงขึ้นไปอีก เช่น ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนวิชาชีพของคุณ คุณก็ต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม หาประสบการณ์การทำงานเพิ่ม ถ้าคุณต้องการวิ่งแข่งให้เร็วขึ้นกว่าเดิม คุณต้องยอมจ่ายด้วยการฝึกหนักและวิ่งด้วยวิธีการที่ฉลาดขึ้น เป็นต้น หลักเกณฑ์นี้ใช้ได้กับทุกทีม ถ้าต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือชนะอยู่เสมอ ทั้งทีมและบุคคลต้องยอมจ่ายหรือทุ่มเทเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ประสงค์
4) ราคาไม่เคยลดลง คนที่ยอมแพ้ส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมแพ้ตั้งแต่ต้น แต่มักจะเลิกล้มกลางครัน เพราะไม่เคยมีใครที่เริ่มต้นด้วยจุดประสงค์ที่จะยอมแพ้แน่นอน แต่ที่ยอมแพ้เพราะเห็นว่าราคาที่ต้องจ่ายสูงเกินไป จึงหยุดและรอว่าสักวันจะสำเร็จได้ด้วยราคาที่ต่ำกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ราคาที่ต้องจ่ายไม่เคยลดลงเลย มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ ถ้าไม่ทำในวันนี้คุณอาจต้องจ่ายแพงกว่าที่ต้องจ่ายในวันนี้

 

 Ÿ ราคาของทีมเวิร์ค 
ต่อไปนี้เป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนของการเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ชนะ การจะเป็นผู้เล่นของทีมนั้น ทั้งคุณและเพื่อนร่วมทีมจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
- เสียสละ ไม่มีความสำเร็จใดได้มาด้วยการปราศจากการเสียสละ “คนซึ่งบรรลุเป้าหมายได้น้อยนิดเป็นเพราะยอมสละเพียงน้อยนิด ส่วนคนซึ่งสำเร็จมากกว่าแสดงว่าเสียสละมากกว่า”
- ความผูกพันเรื่องเวลา ทีมเวิร์คไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่าย ๆ ต้องอาศัยเวลา ซึ่งคุณต้องจ่ายด้วยชีวิตคุณ เช่น คุณต้องใช้เวลาในการรู้จักผู้คน สร้างความสัมพันธ์ เรียนรู้วิธีการทำงานด้วยกัน ทีมเวิร์คไม่สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วได้ ต้องใช้เวลา
- การพัฒนาส่วนบุคคล ทีมของคุณจะบรรลุศักยภาพของมันได้ก็ต่อเมื่อคุณบรรลุศักยภาพของคุณแล้ว เพราะเราไม่สามารถเป็นอย่างที่เราต้องการได้ด้วยการทำตัวเหมือนเดิม แต่การดิ้นรนทำให้ดีขึ้นคือกุญแจไขสู่ความสามารถของคุณ และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำให้ทีมดีขึ้น
- ความไม่เห็นแก่ตัว ถ้าคุณให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่โลก โลกก็จะให้สิ่งที่ดีที่สุดดเป็นการตอบแทนเช่นกัน และเช่นเดียวกัน ถ้าคุณให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ทีม ทีมก็จะตอบแทนต่อคุณมากขึ้นเช่นกัน และถ้าคุณช่วยกัน คุณก็จะได้สิ่งตอบแทนมากกว่าเช่นกัน
แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“คุณแทบจะไม่เคยได้รับมากกว่าที่จ่ายไปเลย”
ทำตัวเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
Ÿ ให้คุณลองเขียนถึงสิ่งที่คุณต้องการจะบรรลุในอีกหนึ่งถึงห้าปีข้างหน้า
1..................................................................................................................................
2..................................................................................................................................
3..................................................................................................................................
4..................................................................................................................................
5..................................................................................................................................
Ÿ มีความปรารถนาใดที่คุณอยากจะโยนทิ้งบ้าง คุณจำเป็นต้องพร้อมที่จะถามคำถามนี้กับตัวเองเสมอเมื่อคุณเป็นส่วนหนึ่งของทีม ถ้าเป้าหมายส่วนตัวของคุณขัดแย้งกับเป้าหมายที่ใหญ่กว่าของทีม คุณมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ
1) เก็บเป้าหมายไว้ (เพราะทีมสำคัญกว่า)
2) เลื่อนเป้าหมายไปก่อน (เพราะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม)
3) เป็นส่วนหนึ่งของทีม (เพราะเป็นการดีกว่าสำหรับทุกคน)
Ÿ สิ่งที่คุณไม่มีสิทธิทำคือ การคาดหวังให้ทีมยอมสละเป้าหมายส่วนรวมเพื่อเป้าหมายส่วนตัวของคุณ
ทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
Ÿ คุณต้องทำให้สมาชิกทีมเห็นว่าการเสียสละเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทีม ถ้าคุณมีสมาชิกที่มากด้วยความสามารถ การที่จะโน้มน้าวพวกเขาให้เห็นความสำคัญของทีมก่อนก็เป็นเรื่องยากขึ้นเท่านั้น ขอให้เริ่มต้นด้วยการเป็นแบบอย่างการเสียสละก่อน แสดงให้ทีมเห็นว่า.....
-ยินดีที่จะสละเพื่อทีม
-ยินดีที่จะเติบโตต่อไปเพื่อทีม
-ยินดีที่จะให้อำนาจแก่คนอื่น ๆ เพื่อทีม
-ยินดีที่จะทำการตัดสินในที่ยากลำบากเพื่อทีม

11. กฎว่าด้วยเรื่องสกอร์บอร์ด

  Ÿ เมื่อคุณเป็นตัวแบบของความยินดีที่จะยอมสละเพื่อให้ได้มาซึ่งศักยภาพของทีม คุณก็มีความน่าเชื่อถือพอที่จะขอให้คนอื่น ๆ ทำตาม และเมื่อคุณรู้แล้วว่าสมาชิกควรจะเสียสละเพื่อทีมอย่างไรแล้ว คุณต้องอธิบายให้พวกเขารู้ว่าเหตุผลคืออะไร และจะเสียสละได้อย่างไร หลังจากนั้นจึงแสดงการยกย่องต่อความเสียสละของพวกเขา
“ทีมสามารถปรับตัวได้ก็ต่อเมื่อรู้ว่าตนกำลังยืนอยู่ตรงจุดไหน”
สกอร์บอร์ดจะทำให้คุณเห็นว่า ขณะนี้ทีมของคุณกำลังอยู่ตรงจุดไหน และเป็นตัวกำหนดว่าทีมของคุณจะทำอีกมากแค่ไหน หรือไปในทิศทางใดเพื่อให้ได้สกอร์ที่เพิ่มขึ้น เหตุผลที่สกอร์บอร์ดมีความจำเป็น เพราะ.....
1) จำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจ เพราะมันจะแสดงผลล่าสุดอยู่เสมอ และจะทำให้คุณประเมินสถานการณ์ได้ เพื่อเดินต่อไป
2) จำเป็นสำหรับการประเมิน ถ้าคุณต้องการเติบโต การเปลี่ยนแปลงอย่างเดียวไม่พอ ถ้าต้องการปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น คุณต้องเปลี่ยนไปในทิศทางที่ถูกต้องด้วย แต่คุณจะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณสามารถประเมินตัวเองและเพื่อนร่วมทีมได้ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมสกอร์บอร์ดถึงสำคัญ เพราะคุณจะได้รับฟีดแบ็คอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
3) จำเป็นต่อการตัดสินใจ เมื่อคุณได้ประเมินสถานการณ์ของตัวเองแล้ว คุณก็พร้อมที่จะตัดสินใจว่าควรจะเล่นเกมแบบใด โดยใคร และควรขอเวลานอกเมื่อใด
4) จำเป็นสำหรับการปรับตัว ถ้าคุณและทีมอยู่ในการแข่งขันที่มีระดับสูงมากเท่าไหร่ การปรับตัวเพื่อบรรลุศักยภาพสูงสุดของคุณก็ทำได้น้อยลง แต่การปรับตัวในจุดสำคัญ ๆ ต่างหากที่เป็นเคล็ดลับแห่งชัยชนะ และสกอร์บอร์ดก็ช่วยให้คุณได้มองเห็นว่าควรมีการปรับตัวตรงจุดไหนบ้าง
5) จำเป็นสำหรับชัยชนะ ไม่มีใครชนะได้โดยปราศจากสกอร์บอร์ด เพราะคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเกมเป็นอย่างไร เวลาเดินไปถึงไหนแล้ว สถานการณ์ของทีมคุณอยู่ในภาวะคับขับหรือสบาย ๆ หากไม่มีสกอร์บอร์ดเป็นตัววัด คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณจะทำอีกมากขนาดไหนจึงจะได้รับชัยชนะ
แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“ถ้าคุณรู้ว่าต้องทำอะไรแล้ว คุณก็สามารถทำสิ่งที่คุณรู้ได้”
เป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
Ÿ ลองใช้เวลาระบุว่าทีมของคุณทำคะแนนได้อย่างไร โดยเขียนหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
.................
Ÿ คราวนี้ลองนึกว่าคุณควรประเมินตัวเองอย่างไร คุณควรติดตามข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณทำดีที่สุดแล้ว เขียนเกณฑ์การพิจารณาไว้ข้างล่างนี้
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..................
เป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น

12. กฎว่าด้วยเรื่องของผู้เล่นสำรอง

  คุณมีหน้าที่หลัก ๆ คือตรวจเช็คสกอร์บอร์ดและรายงานสถานการณ์ของทีมแก่สมาชิก คุณไม่จำเป็นต้องทำด้วยตนเอง แต่ให้ทำสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกทีมยังคงประเมินผล ปรับตัว และทำการตัดสินใจเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างต่อเนื่อง
“ทีมยิ่งใหญ่ต้องมีผู้เล่นฝีมือดีจำนวนมาก”
Ÿ ทีมใดก็ตามที่ต้องการเป็นทีมที่มีความเป็นเลิศ ต้องมีผู้เล่นสำรองที่เล่นได้ดีไม่เช่นเดียวกับผู้เล่นตัวจริง ผู้เล่นสำรองเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพราะผู้เล่นของทีมทุกคนต่างก็ช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ทีมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ยังมีเหตุผลอีกหลายข้อที่ทำให้เราต้องพิจารณาเรื่องผู้เล่นสำรอง
1) ผู้เล่นตัวสำรองในวันนี้อาจกลายเป็นดาวเด่นในวันหน้า สมาชิกบางคนที่มากด้วยความสามารถได้รับการยอมรับตั้งแต่ต้น ในขณะที่อีกบางคนต้องใช้เวลาเรียนรู้ เติบโต และสะสมประสบการณ์หลายปี และหลังจากทำงานหนักมานับทศวรรษ พวกเขาก็ประสบความสำเร็จในชั่วคืน เราต้องจำไว้ว่าอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าคนนี้ไม่เก่ง ไม่ดี จงให้กำลังใจ การฝึกอบรม และโอกาสแก่พวกเขา แล้ววันหนึ่งคุณจะเห็นพวกเขาเติบโตเป็นผู้เล่นที่มีประสิทธิภาพ
2) ความสำเร็จของผู้เล่นสำรองช่วยเสริมความสำเร็จของผู้เล่นตัวจริงหลายเท่า ถ้าสมาชิกทีมทุกคนสามารถแสดงบทบาทที่เหมาะสมกับความสามารถ พรสวรรค์และประสบการณ์ และมีความเป็นเลิศในบทบาทนั้น ๆ แล้ว จะส่งผลดีต่อทีม และความสำเร็จของทีมทั้งหมดทำให้ผู้เล่นตัวจริงก้าวหน้า ทำให้ทีมเจริญรุ่งเรือง “ส่วนประกอบที่สำคัญของการเป็นดาวเด่นคือทีมที่เหลือทั้งหมด”
3) ผู้เล่นสำรองมีมากกว่าผู้เล่นตัวจริง ในหลาย ๆ วงการผู้เล่นของทีมที่ประสบความสำเร็จมักจะมีผู้เล่นตัวจริงน้อยกว่าผู้เล่นสำรองเสมอ นั่นคือเบื้องหลังที่ทำให้ทีมประสบความสำเร็จต้องอาศัยตัวสำรองเหล่านี้ และไม่สามารถมองข้ามความสำคัญของคนกลุ่มนี้ไปได้เลย
4) การวางตัวผู้เล่นสำรองอย่างถูกต้องเหมาะสม บางครั้งให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าผู้เล่นตัวจริงเสียอีก
5) ผู้เล่นสำรองที่เข้มแข็งทำให้ผู้นำมีทางเลือกมากขึ้น การมีผู้เล่นสำรองตัวฉกาจจะทำให้มีทางเลือกเพื่อประสบชัยชนะได้
6) ผู้เล่นสำรองมักจะถูกเรียกใช้ในยามที่ทีมเผชิญวิกฤตเสมอ และความมีประสิทธิผลของผู้เล่นคนนี้มักจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของทีมเสมอ
พฤติกรรมในวันนี้มีผลต่อทีมในวันข้างหน้า
อนาคตของทีมขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้
1.การสรรหาบุคลากร: ใครจะเข้ามาร่วมทีมบ้าง? แนะนำว่าให้เลือกคนดี เพราะคนดีสำคัญที่สุด คุณไม่สามารถสร้างทีมผู้ชนะโดยปราศจากคนดีได้เลย
2.การฝึกฝน: คุณกำลังพัฒนาทีมอยู่หรือเปล่า? คุณต้องเตรียมตัวให้พร้อม โดยช่วยให้ผู้เล่นตัวจริงให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่และฝึกผู้เล่นสำรองให้เป็นผู้เล่นตัวจริงเมื่อถึงเวลา
3. การสูญเสีย: ใครกำลังจะลาจากทีม? ต้องหาคนดีมีความสามารถมาทดแทนให้ได้มากกว่าคนดีที่เราเสียไปเสมอ เช่น ถ้าคุณเสียคนที่มีประสิทธิผลเท่ากับคะแนน 4 ไป คุณต้องหาคนที่สามารถให้ประสิทธิผลเท่ากับคะแนน 8 แบบนี้อนาคตทีมคุณสดใสแน่นอน
แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“ผู้เล่นที่ดีกว่าย่อมทำให้คุณเล่นได้ดีกว่าเช่นกัน”
ทำตัวเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
Ÿ ถ้าคุณเป็นผู้เล่นสำรอง งานของคุณก็คือ ช่วยให้ผู้เล่นตัวจริงโชติช่วงและเตรียมตัวเองสำหรับการเป็นตัวจริงในอนาคต
Ÿ ถ้าคุณเป็นตัวจริง คุณควรทำหน้าที่ของคุณให้ดีที่สุดเพื่อทีม และควรให้เกียรติผู้เล่นสำรองโดยการรับรู้คุณค่าของพวกเขา และช่วยเตรียมพวกเขาเพื่อการเป็นตัวจริงในอนาคต
ทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
Ÿ มองหาผู้เล่นที่เป็นแกนสำคัญในกลุ่มผู้เล่นตัวจริงว่าคือใคร คนเหล่านี้เรียกว่า “สมาชิกวงใน”
Ÿ พัฒนาทั้งสามกลุ่มนี้อยู่เสมอ (ตัวสำรอง ตัวจริง และสมาชิกวงใน) เพื่อให้ตัวสำรองก้าวสู่ตัวจริง และตัวจริงก้าวสู่สมาชิกวงใน
Ÿ การค้นหาสมาชิกวงใน ทำได้โดยการลองเขียนชื่อพวกตัวจริง แล้วพิจารณาว่าใครที่แม้จะไม่ได้อยู่ในทีมแต่ยังสามารถทำงานได้สะดวกมากที่สุด และใครที่น่าจะทำให้ทีมสูญเสียมากที่สุดหากเขาลาจากไป แล้วคุณก็จะได้รายชื่อสมาชิกวงใน
Ÿ คุณต้องปฏิบัติต่อคนพวกนี้ให้เหมาะสมกับคุณค่าของพวกเขา เพราะถ้าไม่ คุณก็เสี่ยงที่จะเสียตัวพวกเขาไป

13. กฎว่าด้วยเรื่องของเอกลักษณ์

  “ทีมหมายถึงการมีค่านิยมร่วมกัน”
ค่านิยมสามารถช่วยให้ทีมีความสัมพันธ์และมีประสิทธิผลมากขึ้นได้ ดังนั้นค่านิยมจึงเป็นเหมือนกับ.....
Ÿ กาวประสาน ในยามคับขัน ค่านิยมเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวคนไว้ด้วยกัน
Ÿ พื้นฐาน ค่านิยมคือพื้นฐานที่มั่นคงช่วยทำให้สิ่งต่าง ๆ เป็นไปได้
Ÿ ไม้บรรทัด ค่านิยมช่วยกำหนดมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานของทีม
Ÿ เข็มทิศ ค่านิยมเปรียบเหมือนเข็มทิศที่ทำให้คนในทีมกำลังเดินไปในทิศทางใด
Ÿ แม่เหล็ก ค่านิยมของทีมดึงดูดคนที่มีค่านิยมเหมือนกันเข้ามา
Ÿ เอกลักษณ์ ค่านิยมทำให้ทีมมีเอกลัษณ์เฉพาะตัวแก่สมาชิกทีม
ค่านิยมหลัก 6 ประการ
1) การเติบโตส่วนบุคคลของสมาชิกทีมแต่ละคน คุณต้องทำงานเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ และกระตุ้นคนอื่น ๆ ให้ทำตามด้วย การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในทีมเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก
2) การจัดลำดับความสำคัญของการเพิ่มคุณค่าแก่คนอื่น ๆ
3) พลังของการเป็นหุ้นส่วน “คุณสามารถทำสิ่งที่ฉันไม่สามารถทำได้ และฉันก็สามารถทำสิ่งที่คุณไม่สามารถทำได้เช่นกัน แต่เราสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกันได้”
4) ฝึกฝนเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาผู้นำ โดยการดูแลให้สมาชิกทีมได้เติบโตเป็นผู้นำและพัฒนาเขาอย่างต่อเนื่อง
5) ดูแลองค์กรอย่างถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ การจัดการทรัพยากรให้ดีที่สุด เช่น บริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และวางคนในตำแหน่งที่เหมาะสม กำหนดเป้าหมายที่มีคุณค่า
6) จุดประสงค์ของพระเจ้าผู้ทรงประเสริฐ เชื่อว่าทำทุกสิ่งเพื่อเชิดชูเกียรติพระผู้เป็นเจ้า
ค่านิยมช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ทีมของคุณ
คุณสามารถเพิ่มคุณค่าแก่ทีมของคุณด้วยการกำหนดค่านิยม ทำได้โดย
Ÿ ระบุค่านิยมร่วมกับสมาชิกทีม
Ÿ เปรียบเทียบค่านิยมกับการปฏิบัติ ว่าสอดคล้องกับการปฏิบัติหรือการใช้ชีวิตของทีมหรือไม่
Ÿ ถ่ายทอดค่านิยมแก่ทีมอย่างชัดเจน สร้างสรรค์และต่อเนื่อง
Ÿ นำค่านิยมมาฝึกปฏิบัติให้ชำนาญ
Ÿ ทำให้ค่านิยมเป็นสถาบัน
Ÿ ยกย่องค่านิยมอย่างเปิดเผย โดยการยกย่องและให้เกียรติคนที่ปฏิบัติตนตามค่านิยมของทีมอย่างสม่ำเสมอ
แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“ถ้าค่านิยมของคุณเป็นแบบเดียวกับของทีม คุณก็จะมีคุณค่าต่อทีมมากขึ้น”
ทำตัวเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
คุณต้องร่วมรับค่านิยมของทีมด้วย โดยคุณต้องรู้ว่ามันคืออะไร และพิจารณาว่าคุณสามารถยอมรับค่านิยมของทีมได้ ก็จงผูกพันตัวเองเพื่อปรับตัวให้สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว แต่ถ้าคุณดูแล้วว่าไม่สามารถจะไปได้กับค่านิยมของคุณ ๆ อาจจำเป็นต้องมองหาทีมใหม่ได้แล้ว
ทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
Ÿ คุณควรปฏิบัติตัวดังนี้
- รู้ว่าค่านิยมที่ทีมควรยึดมั่นคืออะไร
- ประพฤติปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับค่านิยมดังกล่าว
- สื่อสารค่านิยมแก่ทีม
- ทำให้สมาชิกยอมรับค่านิยมด้วยการปรับให้พฤติกรรมของสมาชิกสอดคล้องไปในแนวเดียวกัน
Ÿ จำไว้ว่า กระบวนการนี้อาจต้องใช้เวลาบ้าง การทำให้คนยอมรับไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าคุณเป็นผู้นำที่ดีขึ้น โอกาสที่พวกเขาจะยอมรับคุณเร็วขึ้นก็มีมาก ยิ่งพวกเขายอมรับได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสที่เขาจะยอมรับค่านิยมที่คุณสื่อสารออกไปก็มีมากขึ้น

14. กฎว่าด้วยเรื่องของการสื่อสาร

  



“ปฏิสัมพันธ์กระตุ้นพฤติกรรม”
ต้องมีการสื่อสารที่ดีเท่านั้นทีมจึงจะประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าทีม ๆ นั้นจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ทีมที่มีประสิทธิผลต้องมีสมาชิกซึ่งพูดคุยกันอยู่เสมอด้วย การสื่อสารช่วยเพิ่มความผูกพันและสายสัมพันธ์ ช่วยกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม ถ้าคุณต้องการให้ทีมของคุณมีผลงานในระดับสูงสุด คนในทีมก็ต้องสามารถพูดคุยและรับฟังกันและกันอย่างเต็มที่
การสื่อสารภายในทีมของคุณ
คำแนะนำเพื่อช่วยให้ทีมของคุณพัฒนาการสื่อสารที่ดี ได้แก่
1) จากผู้นำสู่เพื่อนร่วมทีม โดยขอให้นำมาตรฐานเหล่านี้ไปใช้ในการสื่อสาร
- ต้องอยู่กับร่องกับรอย ผู้นำต้องสื่อสารให้อยู่กับร่องกับรอย กล้าตัดสินใจ
- ต้องมีความชัดเจน ตรงไปตรงมาว่าคุณต้องการอะไร
- ต้องมีมารยาท คนทุกคนสมควรได้รับความเคารพ คือการแสดงความสุภาพ อ่อนโยนต่อคนของคุณ
- การสื่อสารที่ดีต้องเป็นการสื่อสารสองทาง
2) จากเพื่อนร่วมทีมสู่ผู้นำ โดยการกระตุ้นในคนในทีมได้พูดแบบตรงไปตรงมา จริงใจ และต้องเคารพกันและกันด้วย
3) การสื่อสารในหมู่เพื่อนร่วมทีม ได้แก่
- ทำตัวสนับสนุน เป็นการให้มากกว่ารับ
- อยู่กับปัจจุบัน อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ
- ต้องมีความอ่อนไหว จริงใจ
4) การสื่อสารระหว่างทีมและสาธารณชน ต้องยึดหลัก 3 R ได้แก่ เปิดรับ (Receptive) ตอบสนอง (Responsive) และเป็นจริง (Realistic) และต้องมีความเป็นเอกภาพของทีม

 แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“การสื่อสารช่วยเพิ่มความสัมพันธ์”
ทำตัวเป็นสมาชิกที่ดีขึ้น
หากมีอุปสรรคใดมาขวางกั้นการสื่อสารที่ดีระหว่างคุณและสมาชิกคนอื่น คุณต้องกำจัดมันออกไปเพราะมันเป็นหน้าที่ของคุณ
ทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
คุณต้องกำหนดเงื่อนไขสำหรับการสื่อสารของคุณ ว่าต้องอยู่กับร่องกับรอย ชัดเจน มีมารยาท แต่ผู้นำก็ต้องเป็นผู้รับฟังที่ดีเช่นกัน เพราะถ้าผู้นำไม่ฟัง.....
-จะไม่ได้รับความรู้ใหม่ ๆ
-ไม่ได้ “ยิน” สิ่งที่ไม่มีการพูดออกมา
-สมาชิกทีมยุติการสื่อสาร
-ความไม่ใยดีจะแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่น ๆ
-การไม่รับฟังจะนำไปสู่ความเป็นปฏิปักษ์ การสื่อสารที่ผิดพลาด และการแตกความสามัคคี

15. กฎว่าด้วยเรื่องของความได้เปรียบ

  



“ความแตกต่างระหว่างทีมที่มีความสามารถเท่ากันคือ ความเป็น
ผู้นำ”
Ÿ ความเป็นต่อก็คือ ความเป็นผู้นำ กล่าวคือ......
-บุคลากร เป็นตัวกำหนดศักยภาพของทีม
-วิสัยทัศน์ กำหนดทิศทางของทีม
-จริยธรรมการทำงาน กำหนดการเตรียมพร้อมของทีม
-ความเป็นผู้นำ กำหนดความสำเร็จของทีม
Ÿ เมื่อมีผู้นำที่ดี ทุกอย่างก็ดีขึ้นด้วย เพราะผู้นำเปรียบเหมือนกับลิฟต์ยกของ ผลักดันความคิดของเพื่อนร่วมทีมให้สร้างสรรค์ ยกระดับการทำงานให้ทำได้ดีกว่าที่เคย กุญแจสำคัญคือต้องทำงานกับคนและดึงสิ่งที่ดีที่สุดดของเขาออกมาให้ได้ เพราะ.....
- ผู้นำแปลงความเป็นเจ้าของงานสู่คนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงาน
- ผู้นำสร้างสถาพแวดล้อมที่สมาชิกทีมแต่ละคนต้องการเข้าไปรับผิดชอบ
- ผู้นำฝึกการพัฒนาขีดความสามารถส่วนบุคคล
- ผู้นำเรียนรู้อย่างรวดเร็วและต้องกระตุ้นคนอื่นให้เรียนรู้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
- ต้องไม่คิดว่าผู้นำต้องตกกับใครคนใดคนหนึ่งเสมอไป แต่ควรจะเป็นของทีมที่ต้องมีร่วมกัน
Ÿ ผู้นำเป็นเหมือนการทำให้ทีมก้าวล้ำหน้ก่อนผู้อื่น เพราะผู้นำมีสายตาที่ยาวไกล สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงนำทีมไปในทิศทางที่ถูกต้องก่อนเวลาเสมอ
Ÿ ถ้าทีมสามารถพัฒนาผู้นำได้มากเท่าใด ทีมก็จะมีความเป็นต่อมากเท่านั้น ถ้าคุณอยากจะชนะและรักษาชัยชนะไว้ได้เป็นเวลานาน ๆ คุณต้องฝึกผู้เล่นในทีมให้เป็นผู้นำที่ดีขึ้นด้วย
แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“ความเป็นผู้นำทำให้ทีมขยับสูงขึ้นหรือตกต่ำลงได้ทั้งสิ้น”
ทำตัวเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
คุณต้องเริ่มต้นกระบวนการพัฒนาทักษะผู้นำ โดยทำสิ่งต่อไปนี้.........
Ÿ รับรู้ในคุณค่าของความเป็นผู้นำ
Ÿ แสดงความรับผิดชอบต่อความเติบโตของความเป็นผู้นำของคุณเป็นการส่วนตัว
Ÿ พาตัวเองเข้าร่วมโครงการพัฒนาความเป็นผู้นำ
Ÿ หาที่ปรึกษาเกี่ยวกับความเป็นผู้นำ
Ÿ เมื่อคุณได้เพิ่มคุณค่าแก่ตัวเองแล้ว คุณก็จะสามารถเพิ่มคุณค่าและมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น
เพื่อช่วยเหลือทีมของคุณต่อไป
ทำตัวเป็นผู้นำที่ดีขึ้น

16. กฎว่าด้วยเรื่องของการมีขวัญกำลังใจสูง

  โดยการเพิ่มจำนวนผู้นำให้มากขึ้น โดย หนึ่ง ดึงผู้นำที่ดีที่สุดที่คุณจะหาได้เข้ามา (ต้องเป็นคนที่มีความสามารถและศักยภาพมากกว่าคุณ) สอง พัฒนาคนที่อยู่ในทีมอยู่แล้วให้เป็นผู้นำ
“ถ้าคุณชนะ ก็ไม่มีอะไรทำให้คุณเจ็บปวดได้”
Ÿ ขวัญและกำลังใจในระดับสูง สามารถช่วยให้ทีมเล่นได้ดีที่สุด สามารถสร้างผลงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าทีมมีขวัญและกำลังใจสูงก็ไม่จำเป็นต้องจัดการกับสถานการณ์เฉพาะหน้าแต่อย่างใด เพราะทีมจะสร้างสถานการณ์ทั้งหมดขึ้นมาเอง
Ÿ ขวัญและกำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อการสร้างสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับทีม ใด ๆ ก็ตามเพื่อปฏิบัติการในระดับสูงสุด
Ÿ ถ้าทีมชนะ ขวัญกำลังใจของทีมก็สูงขึ้น และถ้าขวัญกำลังใจสูงขึ้น ทีมก็อยู่ในตำแหน่งที่พร้อมคว้าชัยชนะ แล้วอะไรควรมาก่อนกัน....
1) ขวัญกำลังใจช่วยให้ทุกสิ่งขยายเกินจริงได้อย่างวิเศษ เมื่อทีมมีทัศนคติเชิงบวกและผู้เล่นทุกคนรู้สึกดีเกี่ยวกับตัวเอง ทุกอย่างจึงดูดีไปหมด
2) ขวัญกำลังใจคือสิ่งที่ช่วยยกระดับได้เป็นอย่างดี ถ้าทีมมีขวัญกำลังใจสูง ผลงานก็จะมีระดับสูงขึ้น สมาชิกจะรู้สึกผูกพันมากขึ้น และทุกคนพบว่าถ้าไม่เห็นแก่ตัวแล้วอะไรต่อมิอะไรมันก็ง่ายขึ้น สมาชิกทีมมีความมั่นใจ และความมั่นใจนี้จะช่วยให้พวกเขามีผลงานในระดับสูงขึ้นได้
3) ขวัญกำลังใจคือตัวเพิ่มพลังได้เป็นอย่างดี ขวัญกำลังใจทำให้ทีมมีพลัง ความกระตือรือร้นของพวกเขามาพร้อมกับพลัง ที่ไม่มีสิ่งใดมาหยุดยั้งได้
4) ขวัญกำลังใจคือสิ่งที่ช่วยกำจัดปัดเป่าอุปสรรคได้อย่างวิเศษ ขวัญกำลังใจสร้างพลัง ดังนั้นมันจึงเป็นตัวขจัดปัดเป่าอุปสรรคต่าง ๆ ได้
5) ขวัญกำลังใจคือ การปลดแอกให้เป็นไท สามารถทำให้ทีมเป็นอิสระ ได้ลอทำในสิ่งใหม่ ๆ คิดใหม่ ๆ ทำให้ทีมช่วยปลดปล่อยทีมให้บรรลุศักยภาพของตน
ขวัญกำลังใจมีอยู่สี่ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขวัญกำลังใจอยู่ในภาวะล่อแหลม ผู้นำต้องทำทุกอย่าง
Ÿ ไม่มีอะไรน่ารำคาญใจเท่ากับการอยู่ในทีมที่ไม่มีใครอยากอยู่ ทีมจะมีทัศคติเชิงลบ รู้สึกเฉื่อยชา หรือไม่มีหวังเลย เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์นี้ ขอให้ทำดังนี้
1) ตรวจสอบสถานการณ์ สิ่งไหนที่ทีมยังทำไม่ถูกต้อง ต้องแก้ปัญหานั้นก่อน เพื่อเป็นการยุติสิ่งที่บั่นทอนขวัญกำลังใจของทีม
2) แสดงให้คนอื่นเห็นความเชื่อมั่นในตัวเองของคุณและพวกเขาด้วย
3) สร้างพลังที่ต้องการเปลี่ยนแปลง โดยคุณต้องทำตัวเป็นคนเปี่ยมพลังก่อน
4) สื่อสารความหวัง โดยทำให้พวกเขาเห็นศักยภาพของทีม
Ÿ คุณต้องเริ่มต้นผลักดันตัวคุณเองก่อน คุณจะรอคนอื่นทำไม่ได้
ขั้นที่ 2 ขวัญกำลังใจต่ำ-ผู้นำต้องทำสิ่งที่มีผลิตภาพ
Ÿ ถ้าต้องการสร้างขวัญกำลังใจเชิงบวก คุณจำเป็นต้องเร่งจังหวะบ้าง ต้องทำตัวมีผลิตภาพ โดย.....
-สร้างแบบพฤติกรรมที่ทำให้ได้ผลตอบแทนสูง ทำเป็นตัวอย่าง
-พัฒนาความสัมพันธ์กับคนที่มีศักยภาพ คุณต้องมีผู้เล่นที่สามารถสร้าง
ผลงาน และสร้างความสัมพันธ์กับพวกเขา แล้วค่อยขอความร่วมมือ
-สร้างชัยชนะเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ทีม
-สื่อสารวิสัยทัศน์กับทีมคุณอยู่เสมอ
ขั้นที่ 3 ขวัญกำลังใจปานกลาง-ผู้นำต้องทำสิ่งที่ยาก
Ÿ การทำให้ทีมรวมตัวกันและเคลื่อนไหวไปข้างหน้าช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ แต่คุณจะไปทางไหนนี่สิสำคัญ ทำได้โดย....
- ทำการเปลี่ยนแปลง โดยเอาจุดอ่อนออกไป และเพิ่มประสิทธิผลของสมาชิกโดยการวางในตำแหน่งที่เหมาะสม
- สมาชิกทีมต้องยอมรับคุณในฐานะผู้นำ ยอมรับค่านิยมและพันธกิจของทีม และทำตัวให้สอดคล้องกับความคาดหวังของคุณ 
- แสดงให้เห็นถึงความผูกพันของคุณ คุณต้องแสดงความสามารถสูงอย่างต่อเนื่อง มีคาแรคเตอร์ที่ดี และมีความผูกพันอย่างเหนียวแน่น
- พัฒนาและจัดหาเครื่องมือเพื่อความสำเร็จสำหรับสมาชิก
ขั้นที่ 4 ขวัญกำลังใจสูง-ผู้นำไม่ต้องทำอะไรมาก
Ÿ ช่วยให้ทีมมีขวัญกำลังใจสูงและมีกำลังเคลื่อนไหวเสมอ
- ทำให้ทีมมีความมุ่งมั่นและไม่ออกนอกลู่นอกทาง ขวัญกำลังใจสูงนำไปสู่ชัยชนะ และชัยชนะช่วยรักษาขวัญกำลังไว้ได้
- สื่อสารความสำเร็จแก่ทีม
- กำจัดสิ่งบ่อนทำลายขวัญกำลังใจ
- อนุญาตให้คนอื่น ๆ ได้นำบ้างเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นผู้นำ
แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“ถ้าคุณทำดี คุณก็รู้สึกดี และถ้าคุณรู้สึกดี คุณก็ย่อมทำดีด้วย”
ทำตัวเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น
คุณต้องเริ่มทำงานด้วยความเป็นเลิศที่เหมาะสำหรับคนที่กำลังสัมผัสประสบการณ์ของการชนะการแข่งขัน การทุ่มเทและความกระตือรือร้นของคุณจะช่วยให้ผลงานของคุณดีขึ้น และจะไปจุดประกายเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ๆ ของคุณด้วย
ทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
§ คุณต้องหาคำตอบให้ได้ว่าตอนนี้ทีมของคุณกำลังมีขวัญกำลังใจแบบใด
Ÿ ขวัญกำลังใจย่ำแย่ ทีมอยู่กับที่และมีความรู้สึกแง่ลบ
Ÿ ขวัญกำลังใจต่ำ ทีมเริ่มมีความคืบหน้าบ้างแล้ว แต่ยังไม่มีความสมานฉันท์และมั่นใจเท่าไหร่
Ÿ ขวัญกำลังใจปานกลาง ทีมเริ่มมีชัยชนะบ้าง และเริ่มเชื่อมั่นในตนเอง แต่ยังต้องมีการตัดสินใจสำคัญ ๆ เพื่อก้าวสู่ระดับถัดไป
Ÿ ขวัญกำลังใจสูง ทีมปฏิบัติงานได้ใกล้เคียงกับศักยภาพสูงสุด ทีมกำลังชนะ และเพียงแต่ต้องรักษาทิศทางของตนให้ดีเท่านั้น
§ ถ้าคุณสามารถระบุขั้นของขวัญกำลังใจของทีมคุณได้แล้ว ต่อจากนั้นให้ประยุกต์คำแนะนำในบทนี้เพื่อที่คุณจะได้สามารถนำพาทีมก้าวสู่ขั้นต่อไป

 

17. กฎว่าด้วยเรื่องของการปันผล

  “การลงทุนกับทีมส่งผลทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ”

 § การอุทิศตนก็คือการลงทุน ซึ่งสิ่งที่ได้รับตอบกลับมาคือ ผลตอบแทน ก่อนจะได้รับผลตอบแทน คุณจะต้องมีการลงทุน คุณสามารถเริ่มต้นการลงทุนของคุณได้ดังนี้......
1. ทำการตัดสินใจเพื่อสร้างทีม....นี่คือการเริ่มต้นการลงทุนในทีม ได้แก่การตัดสินใจว่าคนในทีมของคุณควรแก่การพัฒนาหรือไม่ นี่จึงเป็นก้าวแรกในการสร้างทีมที่ดีขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นจึงต้องมี ความตั้งใจก่อน
2. เลือกคนฝีมือดีที่สุดเท่าที่จะทำได้.......เพราะจะช่วยเสริมศักยภาพของทีม
3. ต้องยอมจ่ายเพื่อแลกกับการพัฒนาทีม........เพื่อประกันการเติบโตของทีม ได้แก่การเสียสละ พลังงาน เงินตรา และเวลา
4. ทำสิ่งต่าง ๆ ร่วมกันในฐานะทีม ๆ หนึ่ง........เพราะนี่คือ การสร้างชุมชนสำหรับทีม ให้พวกเขามีประสบการณ์ร่วมกัน มีการสัมพันธ์กัน
5. เสริมอำนาจสมาชิกทีมด้วยอำนาจและความรับผิดชอบ........เพราะช่วยเพิ่มผู้นำในทีมของคุณ เป็นการให้อำนาจและความรับผิดชอบแก่สมาชิกของคุณบ้าง เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะเสริมอำนาจแก่ทีมคุณได้
6. ให้เครดิตความสำเร็จแก่ทีม.......เพราะมันช่วยยกระดับขวัญกำลังใจของลูกทีม ควรยกย่องสรรเสริญทีมของคุณ พูดถึงความสำเร็จของพวกเขา
7. จับตาดูว่าการลงทุนในทีมกำลังให้ผลตอบแทน....เพราะวิธีนี้ทำให้ทีมรู้สึกได้ถึงความรับผิดชอบ คุณจำเป็นต้องจับตาดูว่าคุณกำลังได้รับผลตอบแทนจากการสละเวลา เงินตราและทรัพยากรของคุณแก่พวกเขาหรือไม่ ผลลัพธ์ที่คุณต้องการก็คือ ความคืบหน้า
8. เลิกการลงทุนกับผู้เล่นที่ไม่มีการพัฒนา.......ช่วยป้องกันการสูญเสียสำหรับทีม คุณจำเป็นต้องยุติการใช้เวลาไปกับการพยายามลงทุนกับคนบางคนที่ไม่มีวันหรือไม่สามารถทำให้ทีมดีขึ้น
9. สร้างโอกาสใหม่แก่ทีม.....ทำให้ทีมต้องพยายามมากขึ้น ไม่มีการลงทุนใดที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าการให้โอกาสใหม่ ๆ แก่ทีม
10. ให้โอกาสทีมได้ประสบความสำเร็จอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้.....ช่วยประกันผลตอบแทนระดับสูงแก่ทีม ภารกิจที่สำคัญที่สุดที่คุณจะทำได้ ก็คือการกำจัดอุปสรรคเพื่อให้ทีมมีโอกาสทำงานเพื่อความสำเร็จมากที่สุด คุณต้องยอมเสียสละหรือช่วยให้คนอื่นทำงานด้วยกันได้ดีขึ้น หรือสร้างบรรยากาศที่เปี่ยมไปด้วยพลังแก่ทีมและให้สิ่งที่แต่ละคนต้องการในเวลาที่เหมาะสมเพื่อประกันความสำเร็จของทีม
§ ถ้าประสบการณ์เกี่ยวกับทีมของคุณในปัจจุบันไม่น่าพิสมัยเหมือนที่คุณต้องการ แสดงว่าถึงเวลาที่คุณจะต้องเพิ่มระดับการลงทุนของคุณ แง่คิดสำหรับทีมเวิร์ค
“การลงทุนในทีมของคุณให้ผลตอบแทนไหม?”
การทำตัวเป็นสมาชิกทีมที่ดีขึ้น

 

 คุณกำลังให้ผลตอบแทนที่ดีต่อสิ่งที่เพื่อนร่วมทีมของคุณกำลังลงทุนกับคุณไหม? คุณได้ไขว่คว้าโอกาสด้วยความกระตือรือร้นไหม หรือคุณปล่อยให้มันลอยไป? คุณต้องสร้างการเติบโตทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ และตั้งใจที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีต่อการลงทุนของทีมกับตัวคุณด้วยทำตัวเป็นผู้นำทีมที่ดีขึ้น
คุณต้องกำหนดสภาพแวดล้อมขององค์กรและดูว่าคนของคุณกำลังลงทุนกับคนอื่น ๆ ไหม เริ่มด้วยการทำให้การลงทุนเป็นสิ่งที่ถาวรมั่นคง และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร กระตุ้นให้เกิดการเติบโต แบ่งเวลา เงินทองสำหรับการลงทุนกับทีมของคุณ ถ้าทีมของคุณมีผู้นำมากเท่าไหร่และคุณพัฒนาพวกเขามากเท่าไหร่ เงินปันผลหรือผลตอบแทนก็มากขึ้นเท่านั้น.......
----------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ/เอกสาร
ชื่อหนังสือ “กฎทอง 17 ประการของการเป็นทีมเวิร์คที่ดี”
แปลและเรียบเรียงจาก The 17 Indisputable Laws of Teamwork by John C. Maxwell
โดย ธัญ วรัตม์


สรุปเนื้อหา โดย นายวิทยา ลือชา นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน