เงินนอกระบบ

เงินกู้นอกระบบ คืออะไร

เงินกู้นอกระบบคือ การกู้เงินจากแหล่งที่ไม่ใช้สถาบันการเงินที่ถูกกฏหมายเช่นการกู้เงินจากเพื่อน, การกู้เงินจากญาติ หรือจากนายทุนปล่อยกู้ เงินกู้นอกระบบจะมีทั้งถูกกฎหมาย และผิดกฏหมาย

รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ

ในระยะที่ผ่านมา ลักษณะของธุรกิจการเงินนอกระบบ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและนำความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. แชร์ลูกโซ่

ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เป็นการระดมทุนจากประชาชนรูปแบบหนึ่งที่แพร่หลายและขยายตัวออกไปรวดเร็วมาก เนื่องจากจ่ายผลประโยชน์ ตอบแทนสูงในระยะแรก ตรงต่อเวลา และผู้ประกอบการมักอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้ผลตอบแทนสูงในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ซื้อขายน้ำมัน ( แชร์ชม้อย ) ซื้อขายที่ดินราคาถูก ( แชร์เสมาฟ้าคราม ) แชร์นากหญ้า เป็นต้น

ลักษณะของผู้ประกอบการ มีทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยอาจตั้งมาในรูปบริษัทจำกัดมีหนังสือจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ โดยจะเริ่มจากการโฆษณาชักชวนประชาชน ให้มาร่วมลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ลงทุนซื้อขายน้ำมัน ที่ดิน เป็นต้น และอ้างว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ในอัตราที่สูง และจ่ายในเวลาอันรวดเร็ว เป็นเครื่องมือในการดึงดูดลูกค้า

ผู้สนใจจะร่วมลงทุนต้องจ่ายเงินลงทุนสูง ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป โดยจะมีอัตราผลประโยชน์เป็นสัดส่วน และจะได้ผลประโยชน์ตอบแทน เมื่อหาสมาชิกมาร่วมลงทุนต่อกันไป จึงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนได้

2. ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่

ธุรกิจประเภทนี้มีวิวัฒนาการมาจากแชร์ลูกโซ่ เพียงแต่ได้เปลี่ยนวิธีการและรูปแบบในการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยการนำเอาสินค้าและบริการมาใช้บังหน้า ธุรกิจนี้จะมีการโฆษณาชวนเชื่อแอบอ้างบุคคลสำคัญ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และอวดอ้างสรรพคุณสินค้าจนเกินจริงเพื่อดึงดูดความสนใจและทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่จะเน้นการหาสมาชิกเข้าร่วมเครือข่ายเป็นหลัก ไม่เน้นการขายสินค้า สินค้าส่วนใหญ่ที่นำมาขายตรงได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สมุนไพร อัญมณี และคอร์สการเรียนหลักสูตรต่างๆ

กลุ่มเป้าหมายที่ตกเป็นเหยื่อของธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่มักเป็นผู้มีรายได้ปานกลาง หรือนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางานทำ ผู้ประกอบการจะใช้วิธีการลงประกาศทางหนังสือพิมพ์รับสมัครงานในตำแหน่งต่างๆ แต่แท้จริงแล้วเมื่อมีใครหลงเข้าไปผู้ประกอบการจะให้สมัครสมาชิกเพื่อทำธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ตามเงื่อนไขที่กำหนด

ข้อสังเกตพฤติกรรมของธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่มีดังนี้

1. ขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่เป็นธุรกิจแอบแฝงจากธุรกิจขายตรง (MLM) มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยการชักชวนประชาชนให้สมัครเป็นสมาชิก โดยมีสินค้าบังหน้าเท่านั้น สมาชิกที่เข้าร่วมธุรกิจจะได้รับผลตอบแทนในอัตราสูงตามเงื่อนไขที่กำหนด

2.ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่มีความแตกต่างจากธุรกิจขายตรง เนื่องจากธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่จะมีการเก็บค่าสมัครสมาชิกและบังคับให้ซื้อสินค้าคุณภาพต่ำ ราคาสูง ไม่มุ่งเน้นการขายสินค้า แต่เน้นให้หาสมาชิกใหม่เพื่อรับผลตอบแทนจากการหาสมาชิกเพิ่ม แต่ธุรกิจขายตรงเน้นการขายสินค้าและสร้างองค์กร เพื่อให้เกิดการขายมากขึ้น รายได้เกิดจากยอดขายสินค้า

3. ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ มีการดำเนินงานอย่างเป็นขบวนการ มีแม่ทีม มีสายงานการออกหาสมาชิกเพิ่ม หากสามารถหาสมาชิกได้มากจะได้รับผลตอบแทนสูง ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับนั้นมาจากเงินของสมาชิกใหม่ ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้า

นอกจากนี้ยังมีธุกิจอีกประเภทที่เข้าข่ายเป็นธุรกิจขายตรงแบบแชร์ลูกโซ่ คือการจัดสรรวันหยุดพักผ่อนแบบ Time Sharing เป็นการประกอบธุรกิจบริการ เช่น บริการสถานที่พักตากอากาศ สถานที่ออกกำลัง กาย โรง แรม รีสอร์ท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะให้บริการแก่สมาชิกเท่านั้น หากผู้ใดสนใจต้องสมัครเป็นสมาชิก โดยเสียค่าสมาชิกตามอัตราที่กำหนด เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการท่องเที่ยว และสิทธิประโยชน์ที่สำคัญที่ทำให้คนหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของธุรกิจนี้คือ ผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับเมื่อสามารถหาสมาชิกใหม่ได้

กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจจัดสรรวันหยุดพักผ่อนแบบ Time Sharing อาจเป็นในหมู่ญาติพี่น้องที่มักถูกชักชวนจากคนใกล้ตัวให้สมัครเป็นสมาชิกและที่ร้ายไปกว่านั้นสมาชิกของธุรกิจนี้มากกว่า 80 % เป็นคนต่างจังหวัดที่มีฐานะยากจน แต่เพียงต้องการที่จะได้รับผลตอบแทนสูง ๆ จึงมาสมัครเป็นสมาชิก บางคนต้องจำนองที่ดิน จำนำทรัพย์สิน เพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นค่าสมัครสมาชิก

แท้จริงแล้วผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับนั้นเกิดจากเงินที่มีคนมาสมัครเป็นสมาชิกใหม่ หากไม่สามารถหาคนมาสมัครสมาชิกใหม่ได้ก็จะไม่สามารถจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ได้ และเมื่อถึงเวลานั้นธุรกิจจะปิดตัวลงทำให้คนที่เป็นสมาชิกได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนมากและไม่สามารถใช้สิทธิในการท่องเที่ยวได้อีกด้วย

3. การชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจรูปแบบต่างๆ

3.1 การเก็งกำไรจากการขึ้นลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Forex)

บริษัทค้าเงินเถื่อนจะลงทุนจัดตั้งบริษัทให้ดูสวยงามน่าเชื่อ เพื่อลวงลูกค้าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นบริษัทซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยแสดงใบอนุญาตอื่น เช่น แสดงใบอนุญาตจดทะเบียนบริษัทจากกระทรวงพาณิชย์ แต่โดยข้อเท็จจริงบริษัทค้าเงินเถื่อนเหล่านี้ไม่เคยได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศจากกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย

วิธีการที่บริษัทจะเข้าถึงบุคคลกลุ่มเป้าหมายเพื่อหลอกลวงให้เป็นลูกค้าและเข้าลงทุน โดยจะใช้วิธีการโทรศัพท์ติดต่อชักชวนจนลูกค้าเข้าร่วมลงทุนด้วย กลุ่มเป้าหมายบริษัทส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ทำงานในอาชีพที่มีรายได้สูง ได้แก่ แพทย์ วิศวกร อาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นต้น หลังจากนั้นลูกค้าต้องเปิดบัญชีกับบริษัทในวงเงินขั้นต่ำ 200,000 บาท วางเงินมัดจำซึ่งบริษัทอ้างว่าเพื่อเป็นหลักประกันการสั่งซื้อสั่งขายกับบริษัท โดยสามารถซื้อหรือขายเพื่อเก็งกำไรในเงินตราต่างประเทศ 4 สกุลหลัก ได้แก่ ปอนด์อังกฤษ ยูโร ฟรังก์สวิส และเยนญี่ปุ่น ซื้อขายครั้งละไม่เกิน 5 หน่วย (Unit ) และต้องเสียค่านายหน้า1,250 บาทต่อหน่วยเงินตราต่างประเทศ 1 หน่วย สำหรับค่าเงินสกุลต่างๆ จะแตกต่างกันคือ 1 หน่วยจะเท่ากับ 62 , 500 ปอนด์อังกฤษ หรือ 125 , 000 ฟรังก์สวิส หรือ12,500,000 เยนญี่ปุ่น และอัตรากำหนดซื้อขายด้วยสกุลดอลลาร์สหรัฐนั้น บริษัทจะซื้อขายโดยอ้างตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เช่น ตลาด ฮ่องกง สิงค์โปร์ ลอนดอน และนิวยอร์ค เป็นต้น โดยผ่านเครื่องรับข่าวของสำนักข่าว BISNEWS ,TELERATE ฯลฯ ซึ่งตามข้อเท็จจริงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ปรากฎบนจอเครื่องรับข่าวที่แสดงไว้ ลูกค้ามาสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นของจริงที่ซื้อขายในต่างประเทศหรือไม่ เมื่อบริษัทได้แจ้งว่าได้ซื้อหรือได้ขายให้ลูกค้าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเท่าใด ลูกค้าก็ต้องเชื่อตามนั้น นอกจากนี้หนังสือสัญญาลูกค้าส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษจำนวนหลายหน้ากระดาษ ซึ่งลูกค้าไม่ค่อยเข้าใจเพราะเป็นศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการค้าเงินตราต่างประเทศ แต่ก็ไว้วางใจเชื่อถือพนักงานของบริษัท ลูกค้าทุกรายมิได้เซ็นสัญญากับบริษัทโดยตรง มีเพียงลายเซ็นพนักงานการตลาดของบริษัทในฐานะคู่สัญญา อาจมีการประทับตราบริษัท ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่เสมอ ดังนั้น เมื่อมีปัญหาถูกหลอกลวงให้เสียเงิน ลูกค้าจึงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับบริษัทได้

อีกข้อคือ บริษัทจะโฆษณาทางหนังสือพิมพ์รับสมัครพนักงานจำนวนมากในตำแหน่งต่างๆ โดยระบุพื้นฐานความรู้ระดับปริญญาตรีทุกสาขา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลังการอบรม บริษัทจะคัดเลือกพนักงานให้ทดลองงานโดยให้ชักชวนคนให้มาร่วมลงทุนกับบริษัทและส่วนมากจะเริ่มจากบุคคลที่ใกล้ชิดก่อน เช่น บิดา มารดา พี่น้อง เพื่อนฝูง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะยอมเป็นลูกค้าของบริษัท เพราะต้องการให้บุตรหลานหรือญาติพี่น้องมีงานทำ หรือมีรายได้สูงๆ เมื่อลูกค้าขาดทุนถึงจุดที่บริษัทต้องเรียกเงินมัดจำเพิ่ม พนักงานบริษัทจะโทรให้ลูกค้าวางเงินมัดจำเพิ่ม จนกระทั่งขาดทุนในที่สุด

3.2 การเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาสินค้าเกษตร (Commodity)

ลักษณะของธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ Commodity เป็นการชักชวนประชาชนให้เข้ามาร่วมลงทุน Commodity ส่วนใหญ่เป็นการอ้างว่าซื้อสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพื่อเก็งกำไรกับตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในต่างประเทศ เช่น โตเกียว ชิคาโก (ไม่ใช่การซื้อขายในตลาดประเทศไทย) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการซื้อขายกันเพียงตัวเลข เพราะผู้ซื้อไม่ต้องการที่จะรับมอบสินค้า เพราะจะทำให้ผู้ซื้อเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าระวาง เป็นต้น โดยผู้ลงทุนแต่ละรายต้องมาเปิดบัญชีกับบริษัท ในวงเงินขั้นต่ำ จำนวน 3 ยูนิต ในอัตรายูนิตละ 12,000 บาท ซึ่งเรียกว่าเงินมัดจำสำรอง ( Margin Recelpt ) ในอัตราร้อยละ 5-10 ของราคาสินค้าต่อหน่วย จึงสามารถกระทำการเทรดสินค้าตามชนิดแต่ละประเภทของสินค้า ซึ่งสินค้าที่สั่งซื้อสั่งขายนั้น จะประกอบด้วย ถั่วเหลือง น้ำตาล ยางพารา กาแฟ เนื้อมะพร้าว

สำหรับราคาสินค้านั้นจะอาศัยราคาจากสำนักงานตลาดกลางธุรกิจประเภทนี้ คือ ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น สำนักงานตลาดกลางดังกล่าว จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆ โดยผ่านสำนักข่าวรอยเตอร์ กรณีนักลงทุนมีกำไรจากการเทรดสินค้าก็จะได้รับผลกำไรคืนไป หากขาดทุน หมายความถึง ราคาสินค้าลดลงนักลงทุนจะขาดทุนลอยตัว เมื่อนักลงทุนประสงค์ที่จะถือสิทธิ์การสั่งซื้อสั่งขายสินค้าต่อไป นักลงทุนต้องนำเงินมัดจำมาวางให้ครบตามเกณฑ์ของบริษัท กรณีหากผู้ลงทุนมาเปิดบัญชีและวางเงินมัดจำสำรองไว้แล้วไม่ได้กระทำการเทรดสินค้า ก็สามารถถอนเงินมัดจำไปจากบริษัทได้ครบตามจำนวนเต็ม

แต่จากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ แล้วพบว่าบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ทำธุรกรรมตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่ได้อาศัยเล่ห์เหลี่ยม กลโกงที่พนักงานบริษัทคิดค้น หรือลอกเลียนแบบมาจากกลุ่มมิจฉาชีพต่างชาติหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ ต้มตุ๋น หลอกเอาเงินไปเป็นจำนวนมาก ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์พฤติการณ์ที่กล่าวข้างต้น เข้าข่ายกระทำความผิดกฎหมายการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

ต้องรับผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 1,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ ทั้งยังต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานฉ้อโกงประชาชนอีกกระทงหนึ่งด้วย

3.3 ธุรกิจซื้อขายดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศในลักษณะเก็งกำไรจากการขึ้นลงของดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศ (Set Index)

บริษัทจะใช้วิธีให้พนักงานของบริษัทติดต่อถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของบริษัทโดยตรง ได้แก่ บุคคลที่มีรายชื่อเป็นสมาชิกของสมาคมหรือองค์กรต่างๆ ผู้มีอาชีพที่มีรายได้ดี เช่น แพทย์ วิศวกร อาจารย์มหาวิทยาลัย และเจ้าของกิจการต่างๆ แล้วจะให้พนักงานของบริษัทโทรไปชักชวน หว่านล้อมต่างๆ จนลูกค้าหลงเชื่อเข้าร่วมลงทุน โดยจะให้ลูกค้าเปิดบัญชีไว้กับบริษัทเป็นเงินขั้นต่ำประมาณ 100,000-200,000 บาท และวางเงินมัดจำ (Margin) เพื่อเป็นหลักประกันการสั่งซื้อ - สั่งขายกับบริษัท โดยบริษัทอ้างว่าจะส่งคำสั่งซื้อ - คำสั่งขายไปยังตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ(ดัชนีดาวน์โจนส์ ) ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง(ดัชนีฮั่งเส็ง) หรือหลักทรัพย์ญี่ปุ่น (ดัชนีนิเคอิ) เป็นต้น

แต่แท้จริงแล้วไม่ได้มีการซื้อ - ขาย เกิดขึ้น เมื่อลูกค้าขาดทุนถึงจุดที่บริษัทต้องเรียกเงินมัดจำเพิ่ม พนักงานบริษัทจะหว่านล้อมต่างๆ ให้ลูกค้านำเงินมาลงทุนเพิ่ม หากลูกค้าไม่ยอมลงทุนเพิ่มแต่ต้องการถอนเงินคืน ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับเงินคืน โดยบริษัทจะอ้างว่าไม่มีเงินมัดจำเหลืออยู่ในบัญชีเพราะลูกค้าขาดทุนหมดแล้ว พนักงานบางคนจะหลอกให้ลูกค้ากำไรในช่วงแรกๆ แต่จะไม่ให้ถอนกำไรที่ได้โดยจะชักจูงให้ลงทุนเพิ่มเติม และเพิ่มทุนไปเรื่อยๆ หากลูกค้าต้องการถอนเงินคืนออกมาพนักงานจะถ่วงเวลาจนเงินในบัญชีไม่มีเหลือ และลูกค้าไม่อาจเรียกคืนได้

4. การเล่นแชร์

การเล่นแชร์ มีลักษณะของการให้สมาชิกนำเงินมารวมกันเพื่อจัดสรรให้กับสมาชิกผู้เสนอดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูงสุด ( เปีย ) ได้รับเงินทุนกองกลางไปใช้ได้ โดยเริ่มต้นจากท้าวแชร์หรือนายวงแชร์ จะเป็นผู้ได้รับเงินทุนกองกลางก่อนโดยไม่ต้องเสนอดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ( เปีย )

การเล่นแชร์นั้นเป็นลักษณะของการออมเงินอย่างหนึ่งเพื่อเก็บเป็นเงินก้อนไว้ใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น โดยมีผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนในระบบสถาบันการเงิน หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการระดมเงินทุน จากกลุ่มบุคคลที่รู้จักคุ้นเคยกันและมีอาชีพเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม การเล่นแชร์สามารถกระทำได้ในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ .ศ . 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุม กำกับ ดูแล การเล่นแชร์ ได้กำหนดห้ามมิให้ บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ที่มีลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

• จัดให้มีการเล่นแชร์รวมกันเกินกว่า 3 วง

• มีจำนวนสมาชิกในวงแชร์รวมกันเกินกว่า 30 คน

• มีทุนกองกลางต่อ 1 งวด รวมกันทุกวงไม่เกิน 300,000 บาท

• ผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ (ท้าวแชร์ ) ได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกลาง ในการเข้าร่วมเล่นแชร์ งวดใดงวดหนึ่งโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย

ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับไม่เกินวันละ 500 บาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

5. การปล่อยเงินกู้นอกระบบ

การปล่อยเงินกู้นอกระบบ เป็นการเงินนอกระบบรูปแบบหนึ่ง ที่มีรูปแบบของการจัดการหลากหลาย อาทิเช่น การปล่อยเงินกู้เป็นจำนวนมากให้กับประชาชนทั่วไป โดยไม่มีการทำสัญญากู้ยืมเป็นหนังสือแต่ผู้ให้กู้ยึดโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นประกัน พร้อมกับให้ผู้กู้เซ็นใบมอบฉันทะ ไว้ โดยผู้ให้กู้จะเรียกเก็บดอกเบี้ยทุกเดือน หากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ ผู้ให้กู้จะนำใบมอบฉันทะดังกล่าวไปดำเนินการโอนที่ดินนั้นมาเป็นของผู้ให้กู้ หรือในกรณีที่ผู้กู้เป็นผู้มีการงานทำมั่นคง และมีเงินเดือนประจำ โดยมีทั้งการให้กู้ยืมเงินแบบทั้งมีสัญญากู้ยืมและไม่มีสัญญากู้ยืม ผู้ให้กู้จะยึดบัตรเอทีเอ็ม ของผู้กู้ไว้ และจะนำมาเบิกเงินสดเพื่อผ่อนชำระหนี้เงินกู้ผ่านธนาคาร และผู้ให้กู้จะเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง ตั้งแต่ร้อยละ 5-30 ต่อเดือน โดยในขณะนี้มีทั้งเงินกู้รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน

การปล่อยเงินกู้นอกระบบนี้ โดยส่วนมากจะเป็นนายทุนผู้มีอิทธิพลในท้องที่เป็นผู้ให้กู้หรือเป็นผู้รับจ้างในการเรียกเก็บหนี้จากผู้กู้ โดยจะมีการข่มขู่หรือ กรรโชก หรือแม้แต่กระทั่งทำร้ายร่างกายผู้กู้ เพื่อให้ผู้กู้ชำระหนี้ ซึ่งจะเกิดปัญหาสังคมขึ้นตามมา เนื่องจากผู้กู้เกิดความหวาดกลัว จึงต้องไปกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้อื่นๆที่เรียกดอกเบี้ยแพงกว่าเพื่อมาชำระหนี้ให้กับผู้ให้กู้ ทำให้เกิดเป็นหนี้สินขึ้นไม่รู้จบ หรืออาจกระทั่งทำให้หมดเนื้อหมดตัวทำให้ที่ดินซึ่งใช้ทำมาหากินถูกยึดไปโดยไม่ชอบ

การดำเนินการทางกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม .653 กำหนดให้การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม หากไม่มีจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมาย และในส่วนของดอกเบี้ยถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้ จึงไม่สามารถฟ้องร้องได้

ส่วนประเด็นการนำโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ มาให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ ไม่ถือเป็นการจำนองหรือจำนำในทางกฎหมายแต่ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดไว้ได้ จนกว่าผู้กู้จะชำระเงินและหากผู้ให้กู้นำใบมอบฉันทะไปจดทะเบียนโอนที่ดินไปเป็นของตน ถือเป็นการที่ผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงิน ดังนั้นต้องคิดราคาที่ดินเท่ากับราคาที่ดินตามท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ถ้าไม่ตกลงตามนี้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ในประเด็นที่มีการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น ถึงแม้ว่ามีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันถูกต้องตามกฎหมาย หากดอกเบี้ยที่นายทุนเรียกเก็บเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ถือเป็นโมฆะตามกฎหมาย ซึ่งผู้กู้ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ทั้งยังโทษทางอาญาคือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ .ศ .2475

ที่มา : ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

  • การกู้เงินระหว่างคนรู้จักที่สนิท กันเท่านั้น การทำการกู้เงิน ควรจะมีการทำหนังสือสัญญาเงินกู้ไว้เป็นหลักฐานด้วย โดยห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ15ต่อปี
    • เล่นแชร์ หรือตั้งวงแชร์
    • การเล่นแชร์ มีลักษณะของการให้สมาชิกนำเงินมารวมกันเพื่อจัดสรรให้กับสมาชิกผู้เสนอดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูงสุด ( เปีย ) ได้รับเงินทุนกองกลางไปใช้ได้ โดยเริ่มต้นจากท้าวแชร์หรือนายวงแชร์ จะเป็นผู้ได้รับเงินทุนกองกลางก่อนโดยไม่ต้องเสนอดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ( เปีย )
    • การเล่นแชร์นั้นเป็นลักษณะของการออมเงินอย่างหนึ่งเพื่อเก็บเป็นเงินก้อนไว้ใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น โดยมีผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนในระบบสถาบันการเงิน หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการระดมเงินทุน จากกลุ่มบุคคลที่รู้จักคุ้นเคยกันและมีอาชีพเดียวกัน
    • อย่างไรก็ตาม การเล่นแชร์สามารถกระทำได้ในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ .ศ . 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุม กำกับ ดูแล การเล่นแชร์ ได้กำหนดห้ามมิให้ บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ที่มีลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
    • • จัดให้มีการเล่นแชร์รวมกันเกินกว่า 3 วง
    • • มีจำนวนสมาชิกในวงแชร์รวมกันเกินกว่า 30 คน
    • • มีทุนกองกลางต่อ 1 งวด รวมกันทุกวงไม่เกิน 300,000 บาท
    • • ผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ (ท้าวแชร์ ) ได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกลาง ในการเข้าร่วมเล่นแชร์ งวดใดงวดหนึ่งโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
    • ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับไม่เกินวันละ 500 บาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่
  • การขายลดเช็ค จะเป็นการนำเช็คที่ยังไม่ถึงกำหนดจ่ายไปขายต่อให้กับผู้ที่มีเงินเย็นในราคาที่ถูกกว่าจำนวนที่รับจริง
  • แชร์ลูกโซ่ ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เป็นการระดมเงินทุนจากประชาชน จะมีการจูงใจโดยให้ผลตอบแทนสูงมาก โดยเจ้าของแชร์จะอ้างว่าจะเอาเงินทุนไปทำธรุกิจอย่างใดอย่างหนึ่งที่ให้ผล ตอบแทนสูง และจะมีการจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนเป็นจำนวนมากทำให้คนหลงเชื่อ โดยในระยะแรกๆจะมีการจ่ายเงินให้กับคนมาลงทุนตามที่อ้างไว้เมื่อมีคนเข้ามา ลงทุนเพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดหนึ่งเมื่องินทุนเริ่มจะหมุนเวียนไม่ทันเจ้าของก็ จะหนีหายไป แชร์ลูกโซ่ที่ดังๆในอดีต เช่น แชร์แม่ชม้อย,แชร์เสมาฟ้าคราม
  • แหล่งเงินกู้จากนายทุนที่ปล่อยดอกเกินกว่าร้อยละ15ต่อปี เช่นปล่อยดอกละละ10ต่อเดือน โดยนายทุนปล่อยกู้มักจะเป็นผู้มีอิธิพลประจำท้องถิ่น
    • เงินกู้นอกระบบที่ผิดกฏหมายแบบอื่นๆ ยกตัวอย่าง เงินด่วนนอกระบบตาม โฆษณา นายทุนจะให้ลูกหนี้ใช้บัตรเงินผ่อน เช่นบัตรอิออนไปซื้อสินค้า และทำการผ่อนแต่ไม่ให้รับสินค้า เช่นผ่อนTVราคา25,000บาท 10เดือน ต่องจ่ายเงินกับสถานบันการเงินตามบัตรที่เราใช้เดือนละ2,500บาทซึ่งเราจะไม่ ได้รับTV ไปแต่จะได้รับเงินสดไปแทน อาจจะได้เงินสดแค่20,000บาท แต่เรายังคงต้องผ่อนชำระค่าTVเป็นรายเดือน

แหล่งเงินกู้นอกระบบที่ผิดกฏหมาย

การปล่อยเงินกู้นอกระบบ เป็นการเงินนอกระบบรูปแบบหนึ่ง ที่มีรูปแบบของการจัดการหลากหลาย อาทิเช่น การปล่อยเงินกู้เป็นจำนวนมาก ให้กับประชาชนทั่วไป โดยไม่มีการทำสัญญากู้ยืมเป็นหนังสือแต่ผู้ให้กู้ยึดโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นประกัน พร้อมกับให้ผู้กู้เซ็นใบมอบฉันทะ ไว้ โดยผู้ให้กู้จะเรียกเก็บดอกเบี้ยทุกเดือน หากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ ผู้ให้กู้จะนำใบมอบฉันทะ ดังกล่าวไปดำเนินการโอนที่ดินนั้นมาเป็นของผู้ให้กู้ หรือในกรณีที่ผู้กู้เป็นผู้มีการงานทำมั่นคง และมีเงินเดือนประจำ โดยมีทั้งการให้กู้ยืมเงินแบบทั้งมีสัญญากู้ยืมและไม่มีสัญญากู้ยืม ผู้ให้กู้จะยึดบัตรเอทีเอ็ม ของผู้กู้ไว้ และจะนำมาเบิกเงินสดเพื่อผ่อนชำระหนี้เงินกู้ผ่านธนาคาร และผู้ให้กู้จะเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง ตั้งแต่ร้อยละ 5-30 ต่อเดือน โดยในขณะนี้มีทั้งเงินกู้รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน

การปล่อยเงินกู้นอกระบบนี้ โดยส่วนมากจะเป็นนายทุนผู้มีอิทธิพลในท้องที่เป็นผู้ให้กู้หรือเป็นผู้รับจ้างในการเรียกเก็บหนี้จากผู้กู้ โดยจะมีการข่มขู่หรือ กรรโชก หรือแม้แต่กระทั่งทำร้ายร่างกายผู้กู้ เพื่อให้ผู้กู้ชำระหนี้ ซึ่งจะเกิดปัญหาสังคมขึ้นตามมา เนื่องจากผู้กู้เกิดความหวาดกลัว จึงต้องไปกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้อื่นๆที่เรียก ดอกเบี้ยแพงกว่าเพื่อมาชำระหนี้ให้กับผู้ให้กู้ ทำให้เกิดเป็นหนี้สินขึ้นไม่รู้จบ หรืออาจกระทั่งทำให้หมดเนื้อหมดตัว ทำให้ที่ดินซึ่งใช้ทำมาหากินถูกยึดไปโดยไม่ชอบ

การดำเนินการทางกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม .653 กำหนดให้การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม หากไม่มีจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมาย และในส่วนของดอกเบี้ยถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้ จึงไม่สามารถฟ้องร้องได้

ส่วนประเด็นการนำโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ มาให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ ไม่ถือเป็นการจำนองหรือจำนำในทางกฎหมาย แต่ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดไว้ได้ จนกว่าผู้กู้จะชำระเงินและหากผู้ให้กู้นำใบมอบฉันทะไปจดทะเบียนโอนที่ดินไปเป็นของตน ถือเป็นการที่ผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงิน ดังนั้นต้องคิดราคาที่ดินเท่ากับราคาที่ดินตามท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ถ้าไม่ตกลงตามนี้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ในประเด็นที่มีการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น ถึงแม้ว่ามีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันถูกต้องตามกฎหมาย หากดอกเบี้ยที่นายทุนเรียกเก็บเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ถือเป็นโมฆะตามกฎหมาย ซึ่งผู้กู้ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ทั้งยังโทษทางอาญาคือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ .ศ .2475

 

เงินนอกระบบ คือ เงินที่มีการใช้นอกระบบตลาดเงินที่มีความถูกต้อง หรือ นอกสถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย

เงินนอกระบบมีความเกี่ยวข้องกับ


*ตลาดการเงิน(Financial Market)
- ตลาดเงิน
- ตลาดทุน
*สถาบันการเงินในระบบ
*แหล่งเงินนอกระบบ

ตลาดการเงิน (Financial Market)

หมายถึงตลาดที่อำนวยความสะดวก และสร้างสมดุลในการเคลื่อนย้ายเงินทุน จากผู้ออม หรือผู้มีเงินเหลือใช้ไปยัง ผู้ประกอบการที่ต้องการ ใช้เงินไปลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะมีตัวกลาง (Intermediary) ที่เป็นสถาบันการเงิน(คือธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนฯ)
โดยมีการออกตราสารทางการเงิน(Financial Instrument) เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับเป็นข้อตกลง และเงื่อนไขในการแลกเปลี่ยนเงินทุน
นอกจากนี้ตลาดการเงินจะเป็นตัวกำหนดดอกเบี้ย เพื่อใช้เป็นผลประโยชน์ตอบแทนให้กับผู้ออมในการให้กู้ยืมเงินทุนเหล่านั้น
ประเภทของตลาดการเงิน
จำแนกได้ตามอายุของตราสารที่เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเงินทุนได้คือ
- ตลาดเงิน(Money Market)
- ตลาดทุน(Capital Market)
- ตลาดอนุพันธ์(Derivative Market)โดยมีจุดประสงค์หลักในการบริหารความเสี่ยง

ตลาดเงิน (Money Market)

- เป็นศูนย์กลางการกู้ยืมเงินระยะสั้น
- มีระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 1 ปี
- ใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ
- การกู้ยืมอาจเป็นการกู้ยืมกันโดยตรง
- ไม่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือเอกสิทธิ์ทางการเงิน เช่น - สินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน (Revolving / Working Capital Loan)
เงินเบิกเกินบัญชี(Overdraft)
- ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note- P/N)
- การกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร(Interbank Market) การให้กู้ยืมของธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านสัญญาซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Agreement)
ส่วนธุรกรรมในตลาดเงินที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือเอกสิทธิ ทางการเงิน โดยซื้อขายในรูปของส่วนลด เช่น ตั๋วเงินคลัง(Tresury Bill)
เอกสารทางการค้า(Commercial Paper) ตั๋วแลกเงิน(Bill of Exchange- B/E) บัตรเงินฝากธนาคาร (Negotiable Certificate of Deposits- NCDs) ตั๋วสัญญาใช้เงินอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Note- FRN)

ตลาดทุน(Capital Market)

- เป็นศูนย์กลางการกู้ยืมเงินที่มีอายุการชำระคืน เกินกว่า 1 ปีขึ้นไป
- ใช้เป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวเพื่อนำมาลงทุน ในสินทรัพย์ถาวร เช่น - การสร้างหรือขยายกิจการ เนื่องจากเป็นการกู้ยืมระยะยาว
การออกหลักฐานหรือตราสารทางการเงินส่วนมาก มักจะสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ถือตราสารในตลาดทุน
ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เงินกู้ยืม การเช่าซื้อระยะยาวเป็นต้น

ตลาดทุนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีสภาพคล่อง ซึ่งหมายถึง - การที่ผู้ประกอบการสามารถหาเงินทุนได้ตลอดเวลาเมื่อมีโครงการที่น่าลงทุน
- ผู้ออมสามารถนำเงินมาลงทุนได้ทันทีที่ต้องการ และสามารถไถ่ถอนเงินทุนได้ทันทีในราคายุติธรรม
โดยปกติการลงทุน ในตลาดทุนจะมีความเสี่ยงมากกว่าในตลาดเงินเนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีระยะยาวกว่า ทำให้ต้องเผชิญกับความผันผวนมากกว่า ซึ่งความเสี่ยงที่สูงกว่าจะถูกชดเชย
โดยผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจะสูงกว่าในตลาดเงินผลตอบแทนในตลาดทุนสามารถอยู่ในรูปของเงินปันผล ดอกเบี้ย และกำไรหรือขาดทุนจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของ ราคาหลักทรัพย์ ปกติเมื่อพูดถึงตลาดทุน มักจะนึกถึงแค่ตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหุ้น
ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นแค่ส่วนหนึ่งในตลาดทุนและมีความสำคัญ คือช่วยให้ผู้ที่ถือครองตราสารหุ้น สามารถมีตลาดรองรับการซื้อขาย ช่วยสร้างสภาพคล่องให้ผู้ถือตราสารหุ้น

ตลาดอนุพันธ์

เป็นตลาดที่มีการซื้อขายตราสาร
ที่มีมูลค่าผูกพันกับตราสารทางการเงินหรือสินทรัพย์อื่น
เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาหุ้น
และราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ตลาดอนุพันธ์ไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อระดมเงินเช่นตลาดเงิน และตลาดทุน
แต่มีไว้เพื่อป้องกันหรือบริหารความเสี่ยงอันเนื่องจากความผันผวนของระดับราคาสินทรัพย์ต่างๆในอนาคต
ดังนั้นจึงมีการพัฒนาตราสารขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว
เช่น
สัญญาการแลกเปลี่ยน(SWOP)
ออพชั่น (Option)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Forward/Future) โดยประเภทของตราสารในตลาดอนุพันธ์

สามารถแบ่งตามสินทรัพย์ที่อ้างอิงได้ดังนี้
1.ตราสารอนุพันธ์ตลาดเงิน
เป็นตราสารอนุพันธ์ที่มีมูลค่าผูกติดกับ
สินทรัพย์ทางการเงินเช่นอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน

2.ตราสารอนุพันธ์หุ้นทุน เป็นตราสารอนุพันธ์ที่มีมูลค่าผูกติดกับตราสารในตลาดทุนเช่นหุ้นสามัญ ดัชนีราคาหุ้น

3.ตราสารอนุพันธ์โภคภัณฑ์
เป็นตราสารอนุพันธ์ที่มีมูลค่าผูกติดกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์
เช่น น้ำมันดิบ ทองแดง อะลูมิเนียม
รวมทั้งธัญพืชต่างๆเช่นข้าว ถั่วเหลือง น้ำตาลเป็นต้น

สถาบันการเงิน

ความหมายของสถาบันการเงิน
-สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันที่ทำธุรกิจในรูปของการกู้ยืมและให้กู้ยืม
-หรือเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ให้กู้และผู้ขอกู้
-โดยอาศัยเครื่องมือหรือตราสารทางการเงินและรับภาระการเสี่ยงจากการให้กู้ยืมแทน
-ส่วนรายได้จากสถาบันการเงินมาจากความแตกต่างระหว่าง
-อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากผู้ขอกู้ และอัตราดอกเบี้ยซึ่งต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้

สถาบันการเงินสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
-สถาบันการเงินในระบบ เป็นสถาบันการเงินที่ถูกตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการเงินในแต่ละประเภท
-สถาบันการเงินนอกระบบ เป็นสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ไม่มีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับควบคุมการดำเนินงาน
เช่น การกู้ยืมกันโดยตรง

การเล่นแชร์
สินเชื่อทางการค้า
การซื้อขายลดเช็ค เป็นต้น
สถาบันการเงินนอกระบบมีลักษณะที่แตกต่างกันไปหลายรูปแบบ
และยากต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งในทางข้อเท็จจริงแล้วอาจไม่เรียกว่าเป็นสถาบันการเงินก็ได้เพราะกฎหมายมิได้รับรอง

ประเภทของสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
ประเภทของสถาบันการเงินที่พิจารณาตามอายุของหลักทรัพย์
ที่สถาบันการเงินนั้นได้ออกหรือทำการซื้อขาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
คือ
สถาบันการเงินในตลาดเงิน
เป็นสถาบันการเงินที่ออกหลักทรัพย์และซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมเงินในระยะสั้น
ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และบริษัทเงินทุนบางบริษัทที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี
หรือบริษัทเงินทุนบางบริษัทที่รับซื้อลดตราสารพาณิชย์หรือตราสารทางการเงินอื่นๆ ที่มีอายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี
เช่น ตราสารพาณิชย์และตราสารของบริษัทเงินทุน
การกู้เงินโดยการเบิกบัญชี บัตรเงินฝาก และตั๋วเงินคลัง
สถาบันการเงินในตลาดหุ้น
เป็นสถาบันที่ออกหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุกำหนดมากกว่า 1 ปี
ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมในระยะยาว โดยใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ
เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุครบกำหนดเกิน 1 ปี เป็นต้น

 

ประเภทของสถาบันการเงินที่พิจารณาตามหน้าที่และลักษณะการดำเนินกิจกรรมหลักของสถาบันการเงินภายใต้กรอบของกฎหมาย
แบ่งเป็น 4 ประเภท
สถาบันการเงินเกี่ยวกับการรับฝากเงิน
เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่หลักในการระดมทุนส่วนใหญ่โดยวิธีการรับฝากเงินจากประชาชนประเภทต่างๆได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสินธนาคารอาคารสงเคราะห์
สหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สถาบันการเงินที่มีสัญญาผูกพันกับแหล่งเงินทุน
เป็นสถาบันที่สร้างเครื่องมือทางเครดิตที่มีลักษณะเป็นสัญญาผูกพันกับเจ้าของเงินทุนหรือผู้ออม
สถาบันการเงินที่มีสัญญาผูกพันกับแหล่งเงินทุน
เป็นสถาบันที่สร้างเครื่องมือทางเครดิตที่มีลักษณะเป็นสัญญาผูกพันกับเจ้าของเงินทุนหรือผู้ออม เช่น บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัยอื่นๆ
กองทุนบำนาญ กองทุนสะสม
เงินทุนที่ระดมได้จะนำไปให้กู้หรือนำไปลงทุนในโครงการต่างๆ ที่มีระยะเวลายาวเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงขึ้น
สถาบันการเงินที่ระดมทุนโดยการออกเครื่องมือทางการเงิน
-เช่น การออกหุ้นกู้ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารที่มีลักษณะเดียวกัน
-เพื่อให้ประชาชนได้นำเงินมาซื้อเครื่องมือดังกล่าวเพื่อการออมทรัพย์
-ได้แก่ บริษัทเงินทุนต่างๆ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ กองทุนรวม
โดยสถาบันการเงินเหล่านี้จะนำเงินไปให้กู้ยืมเพื่อการบริโภค การผลิต และนำไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
สถาบันการเงินที่มีหน้าที่หลักในการให้กู้
-เป็นสถาบันที่ให้กู้ยืมโดยใช้เงินทุนส่วนใหญ่มาจากการเงินทุนของเจ้าของ จากการขายหุ้น
และจากการกู้ยืมทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ
-ได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โรงรับจำนำ
.สถาบัน
.ธนาคารพาณิชย์
.บริษัทเงินทุน
.บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
.ธนาคารออมสิน
.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
.ธนาคารอาคารสงเคราะห์
.บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
.บรรษัทธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม
.สหกรณ์การเกษตร
.สหกรณ์ออมทรัพย์
.บริษัทประกันภัย
.โรงรับจำนำ

ธนาคารพาณิชย์
-ธนาคารพาณิชย์ทำหน้าที่หลักในการรับฝากเงินจากประชาชน
เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้แก่ธุรกิจ และนำเงินฝากบางส่วนไปลงทุน
ในลักษณะอื่นเพื่อให้เกิดผลประโยชน์
-และเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญ
ต่อเศรษฐกิจของประเทศมาก เพราะสถาบันการเงิน
ที่สามารถระดมเงินฝากและให้สินเชื่อมากกว่า
สถาบันการเงินอื่นๆ
ธนาคารออมสิน
เป็นสถาบันการเงินที่หาเงินทุนให้รัฐบาลโดยตรง
ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันเพื่อการออมทรัพย์
ที่ส่งเสริมให้มีการประหยัดการใช้จ่ายในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
ให้มีการออมทรัพย์แล้วนำเงินที่ออมนั้นไปฝากธนาคาร
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เป็นสถาบันการเงินเฉพระกิจที่มีจุดประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการดำเนินงานของเกษตรและสหกรณ์การเกษตรซึ่งมีฐานะการเงินไม่ดี
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้บริการการช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชน เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยของตนเอง และให้ความช่วยเหลือแก่นิติบุคคลทำการจัดสรรที่ดิน
และบ้านจำหน่ายให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง
บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์
-บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ทำหน้าที่ในการระดมเงินออมจากประชาชน
-แล้วนำเงินออมไปหาผลประโยชน์ต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
-นอกจากนั้นก็ยังทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยธุรกิจบางแห่งก็จัดตั้งเป็นบริษัทเงินทุนอย่างเดียว โดยทำหน้าที่ในการระดมเงินออมจากประชาชน
แล้วนำเงินไปลงทุนเพื่อพัฒนากิจการ เพื่อการบริโภคและการเคหะ
เป็นต้น
-และบางแห่งก็ตั้งเป็นบริษัทหลักทรัพย์อย่างเดียวเพื่อประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
กิจการเครดิตฟองซิเอร์เป็นกิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์
หรือการรับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝากทำให้ประชาชนมีแหล่งเงินกู้ระยะยาวอีกแหล่งหนึ่งที่นำไปซื้อบ้านผ่อนส่งได้
โรงรับจำนำ
โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเอกชน
อาจอยู่ในรูปธุรกิจแบบเอกชนคนเดียวเป็นเจ้าของหรือรูปของห้างหุ้นส่วน
โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยรัฐบาล
สถานธนานุเคราะห์ ดำเนินการโดยกรมประชาสงเคราะห์
ได้รับเงินทุนจากงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้
สถานธนานุบาล ดำเนินการโดยเทศบาล มีฐานะเป็นเทศพาณิชย์ และสามารถดำเนินงานในต่างจังหวัดได้ด้วย
สหกรณ์ออมทรัพย์
ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์รับเงินฝากจากสมาชิกและสมาชิกกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกำไร
ประเภทของสหกรณ์
สหกรณ์ออมทรัพย์
สหกรณ์การเกษตร
สหกรณ์ประมง
สหกรณ์นิคม
สหกรณ์ร้านค้า
สหกรณ์บริการ
สหกรณ์การเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
มีลักษณะเป็นธนาคารเพื่อพัฒนาและให้การช่วยเหลืออุตสาหกรรมภายในประเทศให้ขยายตัวและดำเนินการอย่างทันสมัย
-ให้การสนับสนุนเงินกู้แก่อุตสาหกรรมขนาดต่างๆ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
บริษัทประกันชีวิต
เป็นวิธีการออมทรัพย์อย่างหนึ่ง คือเป็นการประกันในด้านการเงินสำหรับผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ โดยบริษัทประกันมีหน้าที่เก็บเบี้ยประกัน และรับผิดชอบการจ่ายเงินผลประโยชน์ตามที่กรมธรรม์ระบุไว้
บรรษัทธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ให้กู้เงินเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมได้กู้เงินไปลงทุนเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงงานขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงขยายกิจการให้ทันสมัย และเพิ่มผลผลิตในระยะยาวด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ
เงินนอกระบบ เป็นเงินที่เกิดขึ้นนอกระบบตลาดเงินที่มีความถูกต้อง เป็นแหล่งเงินกู้ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ระเบียบกฎเกณฑ์ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ให้กู้และผู้กู้ ไม่อยู่ในบังคับของ
กฎหมาย ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนตายตัว มีอัตราดอกเบี้ยสูงสามารถกู้ยืมเมื่อไรก็ได้

เงินนอกระบบที่กฎหมายยอมรับบังคับให้ เช่น
* การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคล (ถ้ากู้ยืมมากกว่า 50 บาท ขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อ)
*การเล่นแชร์เปียหวย เป็นการระดมเงิน
*กฎหมายถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง

เงินนอกระบบที่กฎหมายไม่ยอมรับบังคับให้ เช่น
- แชร์ลูกโซ่ การเล่นแชร์จำนวนมาก แชร์น้ำมัน หรือ แชร์ปิรามิด นำเงินจากผู้ให้กู้ยืมรายใหม่ มาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้กู้ยืมรายก่อนจากนั้นมีการหาสมาชิกใหม่เพิ่ม

เงินนอกระบบที่ขัดต่อพ.ร.ก.กู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เช่น ธุรกิจไทม์ – แชริ่ง

แหล่งเงินนอกระบบอื่น ๆ เช่น
- วงแชร์
- สินเชื่อการค้า
- การซื้อขายลดเช็ค
- นายทุนเงินกู้ ญาติ พี่น้อง
- ลิสซิ่ง
- การเช่าซื้อ

เงินนอกระบบ หรือ ระบบเงินนอกระบบสถาบันการเงินจัดเป็นอาชญากรรมทางธุรกิจที่สำคัญ เนื่องจาก
- ผู้กู้เงิน ต้องกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่แพง ซึ่งเป็น การเอารัดเอาเปรียบ
- รัฐบาลขาดรายได้ที่สำคัญที่นำมาพัฒนาประเทศจากตลาดเงิน และตลาดทุน
- ผู้ใช้เงินนอกระบบ ขาดหลักประกันที่มั่นคงในการใช้เงินนอกระบบ
- เป็นช่องทางในการหลอกลวง ผู้ต้องการใช้ระบบเงินนอกระบบโดยการใช้กำไร หรือเงินตอบแทนเป็นเครื่องมือใน การหลอกลวงเช่น แชร์
- ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเพราะไม่มีการควบคุมที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น แชร์แม่ชม้อย

แชร์

- เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนใช้สอยยามเดือดร้อน
- การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
- แชร์ ยืมมาจาก ภาษาอังกฤษ เรียกแทนคำว่า "หวย" ในภาษาจีน หมายถึง การพบปะสังสรรค์
- เปียแชร์ หมายถึง การแข่งขันประมูลดอกเบี้ย ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดจะได้รับเงินก่อนเวียนไปจนครบจำนวน
- ผู้เล่น เรียกว่า เล่นแชร์
- นิยมเล่นทุกวงการ
- คนจีนแต้จิ๋วที่อพยพเข้ามาในไทย นำเข้ามา
- เกิด"แชร์มิตรภาพ" คือ
- การตั้งวงแชร์เพื่อช่วยเหลือเพื่อนยามเดือดร้อน
- "แชร์การค้า"เป็นการเล่นแชร์ของคนที่ต้องการลงทุนประกอบธุรกิจหลังจากเปียแชร์ได้
- "โต๊ะแชร์" เกิดขึ้น โดยคนที่เปียร์แชร์ได้ นอกจากจะจ่ายค่าดอกเบี้ยแล้วยังต้องจ่ายค่าอาหารที่กินร่วมกัน
- บรรพบุรุษจีน ใช้วิธีเล่นแชร์เพื่อระดมทุน เช่น" โชควัฒนา" ให้ทุกครอบครัวมาเล่นแชร์สังสรรค์ เจ้าภาพหมุนเวียน เดือนละครั้ง
- "วัธนเวคิน" มีการรวมกลุ่มสมาชิก ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นวาระ คล้ายกินโต๊ะแชร์
- ข้าราชการไทย ถูกห้ามเล่นแชร์มาตั้งแต่พ.ศ.2498 มิให้มีการหมกหมุ่น จนเป็นเหตุให้เสียราชการ แตกความสามัคคี มีหนี้สิน
- พ.ศ.2546 มติค.ร.ม. เห็นสมควรให้ยึด พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534
- การเล่นแชร์ของประชาชนทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจสามารถกระทำได้ตามที่กฎหมายกำหนด
- แชร์ เป็นเงินนอกระบบที่คนไทยนิยมเล่นกันมากเล่นง่าย ไม่ต้องใช้คน หรือ หลักทรัพย์ค้ำประกัน

แชร์ลูกโซ่คืออะไร…?

แชร์ลูกโซ่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินธุรกรรมที่มุ่งประสงค์เพื่อหารายได้ จากการระดมทุนเป็นหลัก โดยมีการสัญญาในการเข้าร่วมธุรกิจ ที่จะตอบแทนผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สูงกว่าเงินลงทุน ซึ่งผู้ประกอบการมักจะอ้างถึงการนำเงินไปลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไป เพื่อปันรายได้แจกจ่ายผู้เข้าร่วมธุรกิจอย่างทั่วถึง แต่ผลของมัน คือ การที่ตอบแทนผลประโยชน์ในช่วงต้น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิด การร่วมธุรกิจต่อเนื่อง จนเมื่อถึงจุดที่ผู้ประกอบการ หวังผลในการระดมทุน สำเร็จแล้ว ก็จะหาทางปิดตัวไป เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายผล ประโยชน์ต่อ ๆ ไป

ระบบพีระมิด (Pyramid System)
- ระบบนี้เน้นการหาสมาชิกรายหัว ซึ่งรายได้ของคนที่มาก่อนมาจากการหาสมาชิกของคนใหม่ที่เกิดขึ้นในขั้นฐาน
- หากเกิดการหาสมาชิกขาดช่วงลง สมาชิกที่มาก่อนจะเกิดผลกระทบในด้านรายได้ทันที
- ซึ่งแตกต่างจากระบบ MLM ที่ถึงแม้สมาชิกจะเข้ามาไม่มากก็จ่ายผลประโยชน์ตามระบบได้ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนฐานแต่อย่างใด เพราะรายได้จะมาจากการขายสินค้าตัวเดิมให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

ระบบลูกโซ่แบบรู้จบ (Enless Chain System)
ระบบนี้เป็นระบบแชร์ลูกโซ่แต่มีการจบของระบบ คือการที่สมาชิกเข้ามาก่อนสามารถรับผลประโยชน์จากสมาชิกที่เข้ามาใหม่แต่จำกัดลำดับขั้น ถ้าสิ้นสุดขั้นที่กำหนดก็ไม่มีสิทธิ์รับผลประโยชน์อีก

ระบบลูกบอลหิมะ (Snow Ball System)
ระบบนี้คล้ายกับการ Trading ระบบเงิน คือ การลงหุ้นในด้านการเงินแล้วแต่สัดส่วนที่จะลงทุน ลงน้อยได้ผลตอบแทนน้อย ลงทุนมากได้ผลตอบแทนมากตามสัดส่วน การจ่ายผลประโยชน์มีเป็นงวด ๆ
ดังนั้น จะใช้เงินของนักลงทุน มาจ่ายให้กับคนที่ลงทุนก่อน หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ จนกว่ารอบที่สัญญาจะหมดไป

ระบบลูกโซ่ (Chain System)
ระบบแชร์ลูกโซ่จะแตกต่างกับระบบข้างต้นก็คือ จะไม่มีการจำกัดระยะเวลาตอบแทน และส่วนใหญ่จะให้ข้อตอบแทน ที่สูงมากเกิน จากการลงทุนเป็นจำนวน 2 - 5 เท่าขึ้นไป

ระบบเกมการเงิน (Money Game System) คือ การใช้เงินต่อเงิน แต่มีเงื่อนไขในการแลกเปลี่ยน เช่น การสมัครเข้ามาต้องจ่ายเงินให้ ผู้แนะนำและหาสมาชิกให้ได้เท่าไหร่ จึงจะมีค่าตอบแทน และการแตกตัวของสมาชิกในเครือข่าย ก็จะส่งผลประโยชน์ให้กับ สมาชิกระดับสูงตลอดไป ซึ่งระบบนี้จะมีลักษณะการตอบแทนใกล้เคียงกับระบบ MLM มากแต่ไม่มีสินค้าเท่านั้นเอง ใช้เงินต่อเงินเลย หรือบางครั้งอาจใช้สินค้าชิ้นเล็ก ๆ บังหน้า หรืออาจเป็นบัตรส่วนลด บัตรอภิสิทธิ์ต่าง

ระบบแชร์ลูกโซ่แบบไบนารี่ คือ หาสมาชิกแล้วแบ่งซ้าย ขวา เพื่อให้เท่า ๆ กัน ซึ่งเมื่อแปลงระบบการจ่ายเงินโดยมีสินค้าบังหน้าเล็กน้อย ก็สามารถใช้เป็นระบบแชร์ลูกโซ่ได้อย่างแนบเนียนทีเดียว

คดีดังแชร์ ชม้อย ทิพย์โส

นางชม้อย ทิพย์โส หรือ ประเสริฐศรี กับพวก 10 คน เป็นผู้ต้องหาในการฉ้อโกงประชาชน และฝ่าฝืนพรก.การกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
- เหตุเกิดระหว่ง เดือน พ.ย.2517 - 8 มิถุนายน 2528 ที่กรุงเทพ โดยนางชม้อยรับกู้ยืมเงินจากประชาชนไม่จำกัดจำนวน
- อ้างว่านำไปลงทุนค้าน้ำมัน
- โดยตกลงจะให้ประโยชน์ตอบแทน ในรูปของเงินปันผล อัตราร้อยละ ต่อเดือน สูงกว่าสถาบันการเงินตามกฎหมาย
ประชาชนหลงเชื่อเพราะได้รับค่าตอบแทนสม่ำเสมอ
- นางชม้อยยังคงทำงานในบริษัทปิโตรเลียม มีผู้ถูกหลอกกว่า 16,000 ราย รวมเป็นเงินกว่า 4,000 ล้านบาท โดยได้ออกหลักฐานสัญญากู้ยืมเงิน หรือเช็คธนาคารสั่งจ่ายลงวันที่ล่วงหน้ามอบให้แก่ผู้กู้เป็นหลักฐาน นางชม้อย ไม่ได้นำเงินที่กู้ไปประกอบธุรกิจค้าน้ำมัน แต่นำเงินจาก ผู้ให้กู้ยืมรายใหม่ มาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้กู้ยืมรายก่อน แล้วนำเงินไปใช้ประโยชน์ของตนพร้อมหลบหนี วันที่ 13 พฤศจิกายน 2527 พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชนมีผลบังคับใช้ จึงถูกจับกุม ถูกศาลตัดสินให้จำคุก คนละ 117,595 ปี และให้คืนเงินที่ฉ้อโกง
ถูกจำคุกในเรือนจำ 7 ปี 11 เดือน 5 วัน

เงินนอกระบบที่กฎหมายไม่ยอมรับบังคับให้
เช่น
-แชร์ลูกโซ่ การเล่นแชร์จำนวนมาก
แชร์น้ำมัน หรือ แชร์ปิรามิด
นำเงินจากผู้ให้กู้ยืมรายใหม่ มาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้กู้ยืมรายก่อนจากนั้นมีการหาสมาชิกใหม่เพิ่ม

เงินนอกระบบที่ขัดต่อพ.ร.ก.กู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
เช่น ธุรกิจไทม์ – แชริ่ง

แหล่งเงินนอกระบบอื่น ๆ เช่น
-วงแชร์
-สินเชื่อการค้า
-การซื้อขายลดเช็ค
-นายทุนเงินกู้ ญาติ พี่น้อง
-ลิสซิ่ง
-การเช่าซื้อ

เงินนอกระบบ หรือ ระบบเงินนอกระบบสถาบันการเงินจัดเป็นอาชญากรรมทางธุรกิจที่สำคัญ เนื่องจาก
-ผู้กู้เงิน ต้องกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่แพง ซึ่งเป็น
การเอารัดเอาเปรียบ
-รัฐบาลขาดรายได้ที่สำคัญที่นำมาพัฒนาประเทศจากตลาดเงิน
และตลาดทุน
-ผู้ใช้เงินนอกระบบ ขาดหลักประกันที่มั่นคงในการใช้เงินนอกระบบ
-เป็นช่องทางในการหลอกลวง ผู้ต้องการใช้ระบบเงินนอกระบบโดยการใช้กำไร หรือเงินตอบแทนเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงเช่น แชร์
-ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเพราะไม่มีการควบคุมที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น แชร์แม่ชม้อย

แชร์

-เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนใช้สอยยามเดือดร้อน
-การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
-แชร์ ยืมมาจาก ภาษาอังกฤษ เรียกแทนคำว่า “หวย” ในภาษาจีน
หมายถึง การพบปะสังสรรค์
-เปียแชร์ หมายถึง การแข่งขันประมูลดอกเบี้ย ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดจะได้รับเงินก่อนเวียนไปจนครบจำนวน
-ผู้เล่น เรียกว่า เล่นแชร์
-นิยมเล่นทุกวงการ
-คนจีนแต้จิ๋วที่อพยพเข้ามาในไทย นำเข้ามา
-เกิด”แชร์มิตรภาพ” คือ
-การตั้งวงแชร์เพื่อช่วยเหลือเพื่อนยามเดือดร้อน
-“แชร์การค้า”เป็นการเล่นแชร์ของคนที่ต้องการลงทุนประกอบธุรกิจหลังจากเปียแชร์ได้
-“โต๊ะแชร์” เกิดขึ้น โดยคนที่เปียร์แชร์ได้ นอกจากจะจ่ายค่าดอกเบี้ยแล้วยังต้องจ่ายค่าอาหารที่กินร่วมกัน
-บรรพบุรุษจีน ใช้วิธีเล่นแชร์เพื่อระดมทุน
เช่น” โชควัฒนา” ให้ทุกครอบครัวมาเล่นแชร์สังสรรค์ เจ้าภาพหมุนเวียน เดือนละครั้ง
-“วัธนเวคิน” มีการรวมกลุ่มสมาชิก ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นวาระ คล้ายกินโต๊ะแชร์
-ข้าราชการไทย ถูกห้ามเล่นแชร์มาตั้งแต่พ.ศ.2498
มิให้มีการหมกหมุ่น จนเป็นเหตุให้เสียราชการ แตกความสามัคคี มีหนี้สิน
-พ.ศ.2546 มติค.ร.ม. เห็นสมควรให้ยึด พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534
-การเล่นแชร์ของประชาชนทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจสามารถกระทำได้ตามที่กฎหมายกำหนด
-แชร์ เป็นเงินนอกระบบที่คนไทยนิยมเล่นกันมากเล่นง่าย ไม่ต้องใช้คน หรือ หลักทรัพย์ค้ำประกัน

แชร์ลูกโซ่คืออะไร…?

แชร์ลูกโซ่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินธุรกรรมที่มุ่งประสงค์เพื่อหารายได้
จากการระดมทุนเป็นหลัก โดยมีการสัญญาในการเข้าร่วมธุรกิจที่จะตอบแทนผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สูงกว่าเงินลงทุน ซึ่งผู้ประกอบการมักจะอ้างถึงการนำเงินไปลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไป เพื่อปันรายได้แจกจ่ายผู้เข้าร่วมธุรกิจอย่างทั่วถึง แต่ผลของมัน
คือ การที่ตอบแทนผลประโยชน์ในช่วงต้น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการร่วมธุรกิจต่อเนื่องจนเมื่อถึงจุดที่ผู้ประกอบการหวังผลในการระดมทุนสำเร็จแล้ว ก็จะหาทางปิดตัวไปเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายผลประโยชน์ต่อ ๆ ไป
ระบบพีระมิด (Pyramid System)
-ระบบนี้เน้นการหาสมาชิกรายหัว ซึ่งรายได้ของคนที่มาก่อนมาจากการหาสมาชิกของคนใหม่ที่เกิดขึ้นในขั้นฐาน
-หากเกิดการหาสมาชิกขาดช่วงลง สมาชิกที่มาก่อนจะเกิดผลกระทบในด้านรายได้ทันที
-ซึ่งแตกต่างจากระบบ MLM ที่ถึงแม้สมาชิกจะเข้ามาไม่มากก็จ่ายผลประโยชน์ตามระบบได้ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนฐานแต่อย่างใด เพราะรายได้จะมาจากการขายสินค้าตัวเดิมให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

ระบบลูกโซ่แบบรู้จบ (Enless Chain System)
ระบบนี้เป็นระบบแชร์ลูกโซ่แต่มีการจบของระบบ คือการที่สมาชิกเข้ามาก่อนสามารถรับผลประโยชน์จากสมาชิกที่เข้ามาใหม่แต่จำกัดลำดับขั้น ถ้าสิ้นสุดขั้นที่กำหนดก็ไม่มีสิทธิ์รับผลประโยชน์อีก

ระบบลูกบอลหิมะ (Snow Ball System)
ระบบนี้คล้ายกับการ Trading ระบบเงิน คือ การลงหุ้นในด้านการเงินแล้วแต่สัดส่วนที่จะลงทุน ลงน้อยได้ผลตอบแทนน้อย ลงทุนมากได้ผลตอบแทนมากตามสัดส่วน การจ่ายผลประโยชน์มีเป็นงวด ๆ
ดังนั้น จะใช้เงินของนักลงทุน มาจ่ายให้กับคนที่ลงทุนก่อน หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ จนกว่ารอบที่สัญญาจะหมดไป

ระบบลูกโซ่ (Chain System)
ระบบแชร์ลูกโซ่จะแตกต่างกับระบบข้างต้นก็คือ จะไม่มีการจำกัดระยะเวลาตอบแทน
และส่วนใหญ่จะให้ข้อตอบแทนที่สูงมากเกินจากการลงทุนเป็นจำนวน 2 - 5 เท่าขึ้นไป
ระบบเกมการเงิน (Money Game System)
คือ การใช้เงินต่อเงิน แต่มีเงื่อนไขในการแลกเปลี่ยน
เช่น การสมัครเข้ามาต้องจ่ายเงินให้ผู้แนะนำและหาสมาชิกให้ได้เท่าไหร่
จึงจะมีค่าตอบแทน และการแตกตัวของสมาชิกในเครือข่ายก็จะส่งผลประโยชน์ให้กับสมาชิกระดับสูงตลอดไป ซึ่งระบบนี้จะมีลักษณะการตอบแทนใกล้เคียงกับระบบ MLM มากแต่ไม่มีสินค้าเท่านั้นเอง ใช้เงินต่อเงินเลย หรือบางครั้งอาจใช้สินค้าชิ้นเล็ก ๆ บังหน้า หรืออาจเป็นบัตรส่วนลด บัตรอภิสิทธิ์ต่าง
ระบบแชร์ลูกโซ่แบบไบนารี่
คือ หาสมาชิกแล้วแบ่งซ้าย ขวา เพื่อให้เท่า ๆ กัน ซึ่งเมื่อแปลงระบบการจ่ายเงินโดยมีสินค้าบังหน้าเล็กน้อยก็สามารถใช้เป็นระบบแชร์ลูกโซ่ได้อย่างแนบเนียนทีเดียว

คดีดังแชร์ ชม้อย ทิพย์โส

นางชม้อย ทิพย์โส หรือ ประเสริฐศรี กับพวก 10 คน เป็นผู้ต้องหาในการฉ้อโกงประชาชน และฝ่าฝืนพรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
-เหตุเกิดระหว่ง เดือน พ.ย.2517 - 8 มิถุนายน 2528 ที่กรุงเทพ
โดยนางชม้อยรับกู้ยืมเงินจากประชาชนไม่จำกัดจำนวน
-อ้างว่านำไปลงทุนค้าน้ำมัน
-โดยตกลงจะให้ประโยชน์ตอบแทน ในรูปของเงินปันผล อัตราร้อยละ
ต่อเดือน สูงกว่าสถาบันการเงินตามกฎหมาย
ประชาชนหลงเชื่อเพราะได้รับค่าตอบแทนสม่ำเสมอ
-นางชม้อยยังคงทำงานในบริษัทปิโตรเลียม
มีผู้ถูกหลอกกว่า 16,000 ราย รวมเป็นเงินกว่า 4,000 ล้านบาท
โดยได้ออกหลักฐานสัญญากู้ยืมเงิน หรือเช็คธนาคารสั่งจ่ายลงวันที่ล่วงหน้ามอบให้แก่ผู้กู้เป็นหลักฐาน
นางชม้อย ไม่ได้นำเงินที่กู้ไปประกอบธุรกิจค้าน้ำมัน
แต่นำเงินจากผู้ให้กู้ยืมรายใหม่ มาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้กู้ยืมรายก่อน
แล้วนำเงินไปใช้ประโยชน์ของตนพร้อมหลบหนี
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2527 พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชนมีผลบังคับใช้ จึงถูกจับกุม
ถูกศาลตัดสินให้จำคุก คนละ 117,595 ปี และให้คืนเงินที่ฉ้อโกง
ถูกจำคุกในเรือนจำ 7 ปี 11 เดือน 5 วัน

ธุรกิจขายตรงหลายชั้น (MLM)
(Multi - Level Marketing)

ลักษณะการหาสมาชิกของธุรกิจ MLM
-การหาสมาชิกจะเริ่มจากการแนะนำสินค้า
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
โดยจะแนะนำให้ผู้มุ่งหวังได้ทดลองใช้สินค้าหรือซื้อสินค้าไปใช้ก่อน
เช่น อาจจะซื้อสินค้าจากผู้แนะนำหรือสมัครเป็นสมาชิกเพื่อซื้อสินค้าในรหัสของตัวเองเลยก็ได้
-หลังจากซื้อสินค้ามาใช้เองแล้ว ถ้าเกิดใช้แล้วชอบประทับใจในตัวสินค้า
ก็จะซื้ออีกเป็นครั้งที่สอง หรือถ้าไปแนะนำให้คนอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นญาติ, เพื่อน หรือคนรู้จักได้ใช้สินค้าเหมือนกันกับที่ตัวเองใช้อยู่
ก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทางบริษัท เรียกว่า "ค่าคอมมิสชั่น"

หลักการพิจารณาธุรกิจขายตรง MLM ที่ดี
แผนการตลาด ต้องให้คอมมิสชั่นสมาชิกได้มาก ในขณะที่คุณภาพและราคาสู้คู่แข่งได้ แผนการตลาดต้องเรียบง่าย เช่น ค่าสมัครไม่แพง ขึ้นตำแหน่ง (ระดับคอมมิสชั่น)
ได้ไม่ยากจนเกินไป
ธุรกิจการเฉลี่ยเวลาในการจัดสรรวันพักผ่อน (การเฉลี่ยใช้อสังหาริมทรัพย์ ไทม์-แชริ่ง)
คือ การทำสัญญาแบ่งเฉลี่ยการใช้อสังหาริมทรัพย์ การเข้ามาทดแทนแก่ผู้ที่มีรายได้สูงไม่มากนัก ให้สามารถมีส่วนในการเป็นเจ้าของที่พัก โดยเฉพาะสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
การทอนความเป็นเจ้าของ และการครอบครองทรัพย์ลง
เป็นอาชญากรรมทางธุรกิจ เนื่องจากหากไม่ปฏิบัตตามข้อตกลร่วมกันจะเป็นการฉ้อโกงประชาชน

นายทุนเงินกู้ ญาติ พี่น้อง
เป็นแหล่งเงินนอกระบบที่มีการใช้มากโดยมีเงื่อนไขแลกกับอัตราดอกเบี้ยที่สูง
หากไม่ชำระตามกำหนด อาจมีระบบการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย

-การซื้อขายลดเช็ค
เป็นแหล่งเงินนอกระบบ โดยการนำเช็คมาขายลด เพื่อต้องการนำเงินมาใช้ประโยชน์ก่อน
กำหนด

-ลิสซิ่ง –การเช่าซื้อ

เรื่องการเช่าซื้อ ถูกบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 572-574 ดังนี้
มาตรา 572 เจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว
สัญญาเช่าซื้อ นั้นถือว่าเป็นสัญญาเช่าอย่างหนึ่ง ซึ่งมีเงื่อนไขเป็นพิเศษนอกเหนือจากการเช่าธรรมดา คือ ถ้าผู้เช่าได้จ่ายเงินจนครบจำนวนงวดที่ตกลงกันไว้ก็ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นไป

สินเชื่อลิสซิ่ง หมายถึง สินเชื่อที่ให้บริการทางการเงินที่เกิดจากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งผู้ให้เช่าได้ให้สิทธิแก่ผู้เช่าที่จะซื้อทรัพย์สินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ได้หลังจากที่สัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว ในราคาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันก่อน
ระบบเช่าซื้อ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่ทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นไปอีก
*ไม่ว่าจะเป็นระบบดอกเบี้ยแบบมหาโหด
*ค่าเบี้ยปรับ
*ค่าติดตาม ที่ราคาแพง
*นอกจากนี้การเขียนสัญญาเช่าซื้อ
มักมีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
ปัญหาที่สำคัญของเงินนอกระบบ

-เป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจ
- ถ้าเศรษฐกิจดี ปัญหาเงินนอกระบบจะน้อยเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่ปัญหาทางเศรษฐกิจ ไม่มีทางเลือก
-เป็นความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายในการใช้เงินนอกระบบ
* ผู้กู้ พอใจในจำนวนเงินที่กู้ ระยะเวลา
* ผู้ให้กู้ พอใจในดอกเบี้ย
-ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปได้ยากในการป้องกันปัญหา
-หากสถาบันการเงินในระบบ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเทศอย่างแท้จริง การแก้ปัญหาเงินนอกระบบ ยากที่จะประสบความสำเร็จ
-เป็นต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรมอื่น ๆ
-ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และความน่าเชื่อถือในการลงทุน

 

ที่มา www.polsci.chula.ac.th/sumonthip/buss-crimoney.doc‎

หลักกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 653 วรรคหนึ่ง " การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ "

มาตรา 654 " ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี "

พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2575

มาตรา ๓ บุคคลใด
(ก) ให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
(ข) เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราท่านบัญญัติไว้ในกฎหมาย บังอาจกำหนดข้อความอันไม่จริงในเรื่องจำนวนเงินกู้หรืออื่นๆ ไว้ในหนังสือสัญญา หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ หรือ
(ค) นอกจากดอกเบี้ย ยังบังอาจกำหนดจะเอา หรือรับเอาซึ่งกำไรอื่นเป็นเงินหรือสิ่งของ หรือโดยวิธีเพิกถอนหนี้ หรืออื่นๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืม

ท่านว่าบุคคลนั้นมีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๔ บุคคลใดโดยรู้อยู่แล้ว ได้มา แม้จะได้เปล่าซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องจากบุคคลอื่นอันผิดบัญญัติที่กล่าวไว้ในมาตราก่อน และใช้สิทธินั้นหรือพยายามถือเอาประโยชน์แห่งสิทธินั้น ท่านว่าบุคคลนั้นมีความผิดต้องระวางโทษดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตราก่อนนั้น

................

ข้อสังเกตุ

ดังนั้น หากได้ความว่าผู้นั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ย่อมมีอำนาจร้องทุกข์ได้ แต่อย่าลืมว่าการตกลงยินยอมให้เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราได้ จะถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่ได้

.....................

การกู้ยืมนั้นโดยปกติผู้กู้ต้องการทุน

เมื่อได้ทุนแล้วไปประกอบกิจการอันใดอันหนึ่งมีผลงอกงามขึ้น ก็แบ่งผลนั้นใช้เป็นดอกเบี้ยบ้าง เหลือรวบรวมไว้เพื่อใช้หนี้ทุนต่อไป ดังนี้ฝ่ายเจ้าหนี้ก็ได้ดอกเบี้ยเป็นค่าป่วยการ และมีโอกาสที่จะได้รับใช้ทุนคืนในภายหลัง แต่ถ้าดอกเบี้ยเรียกแรงเกินไปแล้ว ลูกหนี้ได้ผลไม่พอที่จะใช้ดอกเบี้ยได้ ย่อมต้องย่อยยับไปด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ด้วยเหตุนี้ประเทศทั้งหลายและประเทศของเราเองจึงมีกฎหมายมาแต่โบราณกาลกำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงไว้ กล่าวคือ ชั่งละ ๑ บาทต่อเดือน (หรือร้อยละ ๑๕ ต่อปี) อันที่จริงอัตรานี้เป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว แต่แม้กระนั้นยังปรากฏว่าทุกวันนี้มีการให้กู้ยืมกันโดยอัตราสูงกว่านั้น และเจ้าหนี้กับลูกหนี้ต่างร่วมใจร่วมมือกันหลีกเลี่ยงกฎหมาย เพราะฝ่ายหนึ่งอยากได้ อีกฝ่ายหนึ่งกฎความจำเป็นบังคับ ในที่สุดก็ได้ผลอันไม่พึงปรารถนาดังกล่าวแล้ว

ก่อนที่จะร่างกฎหมายนี้ขึ้น รัฐบาลได้คิดแล้วถึงอัตราดอกเบี้ย เห็นว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว แต่ข้างฝ่ายลูกหนี้ได้ทุนมาประกอบการด้วยตนเองได้โอกาสดำเนินอาชีพและมีโอกาสพอควรที่จะหากำไรมาใช้ดอกเบี้ย เหลือบ้างก็รวบรวมไว้ใช้ทุน เพราะฉะนั้นถ้าทั้ง ๒ ฝ่ายต่างคิดไปในทางที่ควรของการค้า ก็ไม่มีทางจะได้รับความขัดข้องเพราะกฎหมายฉบับนี้ แต่ถ้าจะดำเนินความคิดไปในทางไม่ดูทางไกลแล้ว ก็อาจจะหาเรื่องบ่นได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 4372/2545
การที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยจำนวน 60,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่คิดในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 ไปรวมเข้ากับต้นเงิน 300,000 บาท ที่กู้ยืมนั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาที่จะแบ่งแยกการกู้เงินออกเป็นสองส่วน คือจำนวน 300,000 บาท และ 60,000 บาท เฉพาะนิติกรรมกู้ยืมส่วนที่เป็นดอกเบี้ย 60,000 บาท เท่านั้นที่ตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมการกู้ยืมในส่วนจำนวน 300,000 บาท ยังคงสมบูรณ์อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 หนี้กู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ในวงเงิน 360,000 บาท สัญญาจำนองดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ตามจำนวนหนี้ประธานที่สมบูรณ์คือจำนวน 300,000 บาท เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้วโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองในหนี้ส่วนนี้ได้

ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

คอลัมน์ คลื่นความคิด สกล หาญสุทธิวารินทร์ มติชนรายวัน วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10124

ในการกู้ยืมเงิน ไม่ว่าจะกู้กับบุคคลธรรมดาหรือสถาบันการเงิน จะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ คำว่าดอกเบี้ยไม่มีคำนิยามตามกฎหมายให้ความหมายไว้โดยชัดแจ้ง แต่เมื่อไปดูพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของดอกเบี้ยไว้ คือ "ค่าตอบแทนที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้อง" ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจกันอยู่ทั่วไป

"ดอกเบี้ย" ถ้ามีอัตราสูงเกินไปก็จะเป็นภาระและเป็นความเดือดร้อนของผู้กู้ ซึ่งคงจะมีปัญหาทำนองนี้มานานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแถลงการณ์คณะกรรมการราษฎรเกี่ยวกับพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 ที่ออกใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ.2475

"เหตุผลที่จูงใจให้รัฐบาลออกกฎหมายฉบับนี้ คือ หวังจะบำรุงการกู้ยืมให้เป็นในทางที่ควร การกู้ยืมนั้นโดยปกติผู้กู้ต้องการทุน เมื่อได้ทุนแล้วไปประกอบกิจการอันใดอันหนึ่งมีผลงอกงามขึ้นก็แบ่งผลนั้นใช้เป็นดอกเบี้ยบ้าง เหลือรวบรวมไว้เพื่อใช้หนี้ทุนต่อไป ดังนี้ฝ่ายเจ้าหนี้ก็ได้ดอกเบี้ยเป็นค่าป่วยการ และมีโอกาสที่จะได้รับใช้ทุนคืนในภายหลัง แต่ถ้าดอกเบี้ยเรียกแรงเกินไปแล้ว ลูกหนี้ได้ผลไม่พอที่จะใช้ดอกเบี้ยได้ ย่อมต้องย่อยยับไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ด้วยเหตุนี้ประเทศทั้งหลายและประเทศของเราเองจึงมีกฎหมายมาแต่โบราณกาลกำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงไว้ กล่าวคือ ชั่งละ 1 บาทต่อเดือน (หรือร้อยละ 15 ต่อปี) อันที่จริงอัตรานี้เป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว แต่แม้กระนั้นยังปรากฏว่าทุกวันนี้มีการให้กู้ยืมกันโดยอัตราสูงกว่านั้น และเจ้าหนี้กับลูกหนี้ต่างร่วมใจร่วมมือกันหลีกเลี่ยงกฎหมาย เพราะฝ่ายหนึ่งอยากได้อีกฝ่ายหนึ่งกฎความจำเป็นบังคับ ในที่สุดก็ได้ผลอันไม่พึงปรารถนาดังกล่าวแล้ว"

ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญของกฎหมายได้ว่า ใครให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือระบุอัตราดอกเบี้ยเป็นเท็จในหนังสือสัญญากู้ คือ ต่ำกว่าที่เรียกเก็บจริง หรือเรียกรับเอากำไรซึ่งเป็นเงิน หรือสิ่งของ หรือโดยวิธีการอื่นๆ จนเห็นได้ชัดว่าได้ประโยชน์เกินกว่าส่วนที่ควรได้รับ มีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ติดคุกหนึ่งปี ปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดในปัจจุบันมี 2 กรณีคือ กรณีเป็นการกู้จากบุคคลหรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี แต่ถ้าเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินคือธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจสูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้

สำหรับบริษัทที่ให้สินเชื่อต่างๆ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินนั้น ไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่เกี่ยวกับการธนาคารพาณิชย์และเงินทุนหลักทรัพย์ แต่กระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2515 กำหนดเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนดอกเบี้ย ค่าบริการ ค่าปรับ ค่าธรรมเนียมใดๆ รวมแล้วต้องไม่เกินอัตราตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และเฉพาะดอกเบี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 15 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การไม่เป็นหนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่การเป็นหนี้ก็ถือว่ามีเครดิตดี แต่เครดิตดีที่ต้องเสียดอกเบี้ยมากเกินไปก็จะกลายเป็นเครดิตเสียก็ได้

พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475

วันนี้เรามาพูดเรื่องการกู้ยืมเงินกันอีกซักเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่เรารู้เห็นกันมานมนาน ทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นแบบนี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะมีมาตรการออกกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราออกมาบังคับใช้ แต่ก็ดูไม่ค่อยจะสัมฤทธิ์ผลซักเท่าไหร่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 บัญญัติ ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากู้เงินกำหนดไว้เกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี อันนี้เป็นหลักเกณฑ์ของการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งจะเห็นว่า ดอกเบี้ยเกิดจากสัญญากู้ยืมเงินจะคิดดอกเบี้ยกันได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปีเท่านั้น ถ้ากำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินเกินกว่าร้อยละสิบห้า
กฎหมายก็ให้บังคับได้แค่ร้อยละสิบห้าเท่านั้น ดอกเบี้ยที่เกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี ตามสัญญาเงินกู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งหมด เพียงแต่ให้ลดมาเพียงร้อยละสิบห้าต่อปีครับ
ต่อมาได้มี พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 ออกมาใช้บังคับ อันมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันเกินกว่าที่กำหนดไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 ตกเป็นโมฆะ ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้ยืมเงินเป็นโมฆะแล้ว สัญญากู้เงินจะตกเป็นโมฆะด้วยหรือไม่ หรือจะมีผลเป็นประการใด มาดูตัวอย่างเรื่องนี้กันครับ
นายร่วม มาขอกู้ยืมเงินนายสุดเขตเป็นเงิน 200,000 บาท โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน โดยทำสัญญากู้ยืมเงินไว้กำหนดคืนเงินต้นและดอกเบี้ยภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ทำสัญญากู้ยืมเงิน
หลังจากนั้นต่อมาเมื่อครบกำหนดเวลาชำระเงินคืน นายร่วมไม่นำเงินมาชำระคืนให้แก่นายสุดเขต จึงถูกนายสุดเขตฟ้องร้องบังคับให้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญากู้ดังกล่าว คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนของต้นเงิน 200,000 บาท คิดเป็นดอกเบี้ย 120,000 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 320,000 บาท กรณีนี้นายสุดเขตจะฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ย ตามจำนวนดังกล่าวให้นายร่วมชำระหนี้ได้หรือไม่เพียงใด
มาดูหลักกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 บัญญัติไว้ว่า “ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่าคู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้น แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้”
จากหลักกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น เพราะเหตุที่ว่า ข้อตกลงต่างๆ ในนิติกรรมที่ทำขึ้นทั้งหมดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากส่วนใดของนิติกรรมใช้บังคับไม่ได้เพราะเป็นโมฆะ ก็ต้องถือว่านิติกรรมทั้งหมดตกเป็นโมฆะด้วย แต่ก็มีข้อยกเว้นที่ว่า ไม่เป็นโมฆะทั้งหมดถ้าสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่าคู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะ แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ ก็ให้เป็นไปตามนั้น
กรณีของนายร่วมกับนายสุดเขต ทำนิติกรรมตามสัญญากู้ยืมเงินกันโดยคิดดอกเบี้ยนั้น ต้องแยกนิติกรรมตามสัญญากู้ยืมเงินออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นต้นเงิน กับส่วนที่เป็นดอกเบี้ย จะเห็นว่า ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการอันต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ดังนั้นดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
ส่วนที่เป็นต้นเงินและเห็นได้ว่า ถ้าดูตามพฤติการณ์ของคู่กรณีจะเห็นว่า มีเจตนาที่จะใช้เงินในส่วนนี้คืนทั้งหมด แยกออกจากส่วนที่เป็นดอกเบี้ย ดังนั้น ส่วนที่เป็นต้นเงินจำนวน 200,000 บาทนี้ จึงไม่ตกเป็นโมฆะไปด้วยเหมือนกับส่วนที่เป็นดอกเบี้ยดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 วรรคท้าย ดังนั้น นายสุดเขตจึงฟ้องบังคับให้นายร่วมชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้เฉพาะส่วนที่เป็นต้นเงิน 200,000 บาท จะฟ้องบังคับให้นายร่วมชำระส่วนที่เป็นดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะนั้นไม่ได้
ข้อสังเกต หลักกฎหมายในข้อนี้ใช้บังคับได้เฉพาะคู่กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้นนะครับ ถ้าหากว่าเจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินจะไม่เอาไปใช้บังคับ เพราะสถาบันการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 ได้ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ให้อำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยได้เกินกว่า ป.พ.พ.มาตรา 654 แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้เกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลด

อ้างอิง ชินโรจน์ ศรัณย์สมบัติ (ทนายความ)

การขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะกรณีการทำสัญญา กู้เงินนอกระบบ ซึ่งถูกเอาเปรียบตั้งแต่ขั้นตอนของการทำสัญญาจนถึงขั้นฟ้องคดี

สวัสดีครับ...... ท่านผู้อ่านทุกท่าน

หลังจากในเดือนเมษายนได้หยุดยาวกันไปแล้ว ตอนนี้ทุกคนก็ต้องกลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่การงานกันอีกครั้ง จริงอยู่ที่ทุกคนอยากเข้ามาทำงานอย่างมีความสุข แต่มีสิ่งหนึ่งที่หนีไม่พ้นในเรื่องการทำงานก็คือ ความเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีปัจจัย รวมถึงเหตุแห่งความเครียดแตกต่างออกไป จึงมีคำถามเกิดขึ้นตามมาว่า มนุษย์ต้องการอะไร เราต้องการมีชีวิตที่ดี มีความสุขทั้งกายและใจ แต่ทำไมมนุษย์ส่วนใหญ่กลับไม่พบมัน ทั้ง ๆ ที่ทุกคนต่างก็เกิดมาพร้อมความสามารถในการหาความสุขอย่างไม่ยากเย็นด้วยกันทุกคน

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิต น่าจะเป็นในวัยเด็ก เพราะเราจะไม่ติดอดีต ไม่ต้องกังวลต่ออนาคต แต่มีความสุขอยู่กับปัจจุบันเท่านั้น พอเราเริ่มที่จะโตขึ้นมาโจทย์ของชีวิตก็เริ่มยากขึ้นเรื่อย ๆ เราเริ่มรู้ความ มองเห็นความต่าง เริ่มเปรียบเทียบอยากมีอยากได้ จึงเกิดการแข่งขัน เพื่อให้ตัวเองมีความสุข เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่หวังจึงเกิดความเครียด และมีโรครุมเร้าตามมา

ยาซ่อมกาย ปัญญาซ่อมใจ เมื่อเราเกิดเจ็บป่วยก็ควรจะต้องรักษาตามนวัตกรรมในทางการแพทย์ แต่ทางด้านจิตใจเราก็จำเป็นจะต้องซ่อมแซมเช่นกัน ควรทำความเข้าใจกับทุกอย่าง พยายามตั้งเข็มทิศแห่งความดีเอาไว้เพื่อนำทาง เห็นประโยชน์ในสิ่งที่เกิดขึ้นกับทั้งตัวของเราเองและผู้อื่น คิดปล่อยวางและให้อภัย ไปให้ไกลจากกิเลศและความเครียด ชีวิตของทุก ๆ ท่านก็จะสุขกายและสุขใจอย่างแท้จริง

กลับเข้ามาเปิดประเด็นความรู้ในเรื่องของกฎหมาย ในเรื่องเด่นประจำสัปดาห์ กันต่อครับ ซึ่งวันนี้จะเสนอเรื่อง หนี้นอกระบบ ตอนที่ 1

จากสภาพปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะกรณีการทำสัญญา กู้เงินนอกระบบ ซึ่งถูกเอาเปรียบตั้งแต่ขั้นตอนของการทำสัญญาจนถึงขั้นฟ้องคดี โดยที่ลูกหนี้มักมีความหวาดกลัวไม่ยอมไปศาลเพื่อต่อสู้ จนทำให้แพ้คดีในที่สุด

หนี้นอกระบบ คือ หนี้เงินกู้ที่คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด (เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน โดยที่เจ้าหนี้ไม่ใช่สถาบันการเงิน เจ้าหนี้นอกระบบบางรายอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการติดตามทวงหนี้ เพื่อกดดันลูกหนี้หรือให้ได้รับความอับอาย เกิดความกลัว ข่มขู่ อาจถึงขั้นประทุษร้ายต่อร่างกายและทรัพย์สิน

ข้อแนะนำสำหรับลูกหนี้

ดำเนินคดีทางอาญา โดยการไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุ หรือกองปราบปราม ซึ่งลูกหนี้ต้องมีความกล้าที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม ส่วนความผิดของเจ้าหนี้อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก
ดำเนินทางคดีแพ่ง เพื่อฟ้องร้องให้เจ้าหนี้หรือผู้กระทำความผิดชดเชยค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิด
ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ ได้ทั้งตำรวจ ฝ่ายปกครอง โดยใช้มาตรการทางภาษี โดยทั่วไปเจ้าหนี้นอกระบบจะหลีกเลี่ยงไม่นำเงินได้ที่ได้รับจากการกู้ยืมเงินไปเสียภาษีเงินได้หรือภาษีธุรกิจ ดังนั้นลูกหนี้ของหน่วยงานของรัฐควรแจ้งข้อมูลให้กรมสรรพกรดำเนินการในทางภาษี

โดยปกติเจ้าหนี้นอกระบบจะเป็นผู้ที่เป็นมีฐานะทางการเงินและทางสังคมสูงกว่าลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงอาศัยความได้

เปรียบและมีอิทธิพลที่มากกว่าเอาเปรียบลูกหนี้ที่มีความเดือดร้อน ต้องการกู้ยืมเงินด้วยวิธีต่าง ๆ ให้อยู่ในภาวะจำยอม เช่น

เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงิน โดยระบุว่าจำนวนเงินในสัญญากู้สูงกว่าจำนวนเงินที่ได้รับจริง ตัวอย่าง ให้กู้เงิน

10,000 บาทแต่ระบุในสัญญากู้ว่ากู้เงิน 20,000 บาท โดยบอกว่าป้องกันไว้เมื่อต้องฟ้องคดีจะต้องมีค่าใช้จ่าย หรือ

เจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญากันโดยถูกต้อง แต่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ให้สูงขึ้นในภายหลัง กรณีเช่นนี้หากพิสูจน์ได้ว่าหนี้ที่แก้ไขไม่มีมูลหนี้ที่แท้จริง ลูกหนี้จะต้องชำระผิดเพียงเท่าจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น ก กู้เงิน ข จำนวนเงิน 50,000 บาท ทำสัญญาถูกต้อง ต่อมา นาย ข เติมเลข 1 ลงไปข้างหน้า กลายเป็น 150,000 บาท กรรีนี้ต้องรับผิดเพียง 50,000 บาท

ลูกหนี้ได้รับเงินกู้น้อยกว่าที่ตกลงกู้กัน โดยที่เจ้าหนี้หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า เช่น นาย ก กู้ยืมเงินนาย ข

20,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน กำหนดใช้หนี้ 1 ปี รวมดอกเบี้ย 12,000 บาท เจ้าหนี้หักดอกเบี้ยไปแล้ว มอบเงินกู้ให้ลูกหนี้ 8,000 บาท สัญญากู้สมบูรณ์เพียง 8,000 บาท เท่าที่ลูกหนี้ได้รับจริง

คราวต่อไปเราจะมาพูดถึงขั้นตอนที่สำคัญที่ลูกหนี้ควรที่จะต้องทราบไว้ เพราะเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวกับการขึ้นศาล ซึ่งมีชื่อเรื่องว่า ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องคดี อย่าลืมติดตามอ่านกันให้ได้นะครับ

 

consumerthai.org

เงินกู้นอกระบบ...แก้อย่างไรให้ตรงจุด

บทนำ

การดำรงชีวิตของคนในสังคมให้มีความสุข จะต้องรู้จักแบ่งปันความสุขโดยการพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านแรงกายหรือทุนทรัพย์ การแบ่งปันในที่นี่อาจจะเป็นการให้ป่าว เป็นการให้แบบมีค่าตอบแทน หรือ การให้ยืมใช้ ซึ่งเป็นปกติทั่วไปของการดำรงชีวิตของคนในสังคม ด้วยเหตุที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ความต้องการของคนในสังคมก็เพิ่มตามเป็นเงาตามตัว ความจำเป็นในการพึ่งพาอาศัยกันก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทำให้การพึ่งพาอาศัยกันในสังคมระดับประถมภูมิกลายเป็นการพึ่งภากันในระดับทุติยภูมิ อันเป็นการเปิดกว่างทางทุระกิจของกลุ่มคนที่ต้องการหาประโยชน์จากสิ่งที่เคยเป็นเรื่องของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงเรื่องของการ “กู้ยืม” ซึ่งเป็นการกู้ยืมในกรณีที่สังคมตีตราว่าเป็นการ “กู้ยืมนอกระบบ” โดยมองเพียงผลที่เกิดเป็นตัวตัดสิน แล้ววางกฎเกณฑ์ต่างๆ ออกมาเป็นตัวแบ่งแยกออกเป็นสองระบบ ที่คิดว่าเป็นการแก้ปัญหา ทั้งที่ไม่เกิดความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในโลกของความเป็นจริง

นิยาม

จากรูปแบบที่สังคมมองสภาพความนอกระบบของ “เงินกู้นอกระบบ” อาจให้คำนิยามได้ว่า หมายถึง การกู้เงินที่ผู้ให้กู้ไม่ใช่บุคคลที่มีการรับรองโดยกฎหมาย ที่เรียกว่า “สถาบันการเงิน” ซึ่งไม่มีองค์กรของรัฐดูแลควบคุมโดยเฉพาะ...

ปัญหา

๑. การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
๒. การใช้กลยุทธ์ทางเทคนิค
๓. การใช้อำนาจนอกรูปเป็นหลักประกันเงินกู้
๔. การใช้อำนาจในรูปแบบที่เกินกว่าเหตุ

คำตอบ

การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้วการกู้ยืมจะเป็นนิติสัมพันธ์ของที่มีความใกล้ชิดทางสังคม การกู้ยืมของคนกลุ่มนี้จึงเป็นการพึ่งพาอาศัยกันตามปกติประเพณีของคนในท้องถิ่น ส่วนมากแล้วจะไม่ได้กู้ยืมกันในวงเงินจำนวนมากและมีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายแพ่งกำหนด ผมเคยคุยกับประชาชนที่เคยปล่อยเงินกู้ให้เพื่อนบ้านว่า “ทำไม่คิดดอกเบี้ยในอันตราที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด” ขอบอกว่า “เรากู้เงินกันในวงเงินไม่มากและเวลาสั้นๆ ถ้าไปคิดดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี คงไม่ได้อะไรตอบแทน” ในกรณีนี้ผมมองว่า “กฎหมายอาจไม่เหมาะกับสังคม ณ เวลาหนึ่ง” ผมจึงไม่ได้บอกกับลูกหนี้ เพราะการที่เราไปบอกกับลูกหนี้ว่าเป็นกระทำที่ผิดกฎหมาย ถ้าลูกหนี้คิดจะเบี้ยวหนี้อาจเป็นเหตุให้มีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น คนที่เคยอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขอาจจะมองหน้ากันไม่ติด ทำให้เกิดความแตกแยกของคนในสังคมก็เป็นได้ เช่นนี้คงไม่ใช่เจตนารมณ์ของกฎหมาย

ส่วนกรณีที่ลูกหนี้รู้ว่าเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา (ร้อยละ ๓๐ ต่อเดือน ก็เคยเจอ) แต่กลับยอมที่จะเข้าไปมีนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้รายนั้น โดยปกติแล้วเจ้าหนี้ประเภทนี้จะเป็นบุคคลที่ผู้กู้ไม่มีความสัมพันธ์ทางสังคมใกล้ชิดและมักเป็นการทำเป็นไปเพื่อความประสงค์ทางธุรกิจ เหตุผมทางสังคม คือ การกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินต้องอาศัยความน่าเชื่อถือสูงกว่าการกู้ยืมนอกระบบ และผู้กู้ไม่สามารถหาแหล่งทุนจากบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดได้ หลักการพึ่งพาอาศัยกันกลับกลายเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจในที่สุด จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “อะไรคือสาเหตุให้การดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันหายไปจากสังคม” คำถามที่ตามมาคือ “ทำไม” (*)

การใช้กลยุทธ์ทางเทคนิค

๑) การคิดดอกเบี้ยล่วงหน้า
๒) การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้สั้นๆ
๓) การทำหลักฐานเป็นหนังสือ (ระบุเงินกู้เกินจริง)

การคิดดอกเบี้ยล่วงหน้า กล่าวคือ ในกรณีนี้เจ้าหนี้มักจะเป็นบริษัทปล่อยสินเชื่อโดยตรง เงินกู้ที่อนุมัติจะอนุมัติในวงเงินที่ไม่สูงมาก และไม่ใช้หลักประกันอะไรมากมาย ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงของกลุ่มคนรากหญ้าที่ไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือทางการเงินในระดับที่สถาบันการเงินต้องการ โดยเจ้าหนี้ประเภทนี้จะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่จะหักดอกเบี้ย ณ ที่จ่ายเงินต้น แล้วเขียนสัญญากู้ยืมให้ชำระเฉพาะเงินต้นตามจำนวนที่ขอกู้ เช่น กู้ยืม ๑๐๐,๐๐๐ บาท เวลา ๑ ปี ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี (๑๕,๐๐๐ บาท) กำหนดชำระภายใน ๑ ปี จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ที่จ่ายจริงในวันทำสัญญาเพียง ๘๕,๐๐๐ บาท โดยได้หักดอกเบี้ยล่วงหน้า ณ ที่จ่ายเงินต้น

กรณีนี้ประชาชนบางคนบอกว่า “เงินจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท เป็นดอกเบี้ยที่เราจะต้องชำระแก่เจ้าหนี้อยู่แล้ว การที่เราชำระล่วงหน้าก็ไม่ใช่เรื่องแปลก” บางคนบอกว่า “ก็ดีนะ เวลาชำระคืนก็ชำระแค่เงินต้น” เหล่านี้เป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะการคิดดอกเบี้ยเป็นการคำนวณจากเงินต้นทั้งหมด หมายความว่า ผู้กู้จะต้องได้รับประโยชน์จากการนำเงินต้นไปใช้ทุกบาททุกสตางค์ การที่เจ้าหนี้คำนวณดอกเบี้ยแล้วหัก ณ ที่จ่ายเงินต้นนั้นเป็นการทำให้ผู้กู้ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ ส่วนที่เจ้าหนี้หักล่วงหน้าไปลูกหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากส่วนนั้น แต่กลับนำส่วนนั้นมาคำนวณดอกเบี้ยแล้วหักล่วงหน้าไป คือ เงินจำนวน ๒,๒๕๐ ซึ่งเป็นดอกเบี้ยของเงินต้นจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท ที่หักไปจากจำนวนของเงินต้น ซึ่งเป็นความเสียหายต่อที่หนึ่งของผู้กู้ เมื่อถึงเวลาชำระหนี้ที่ระบุในสัญญาเงินกู้ให้ชำระเฉพาะเงินต้นนั้นก็เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กู้ได้รับความเสียหายอีกครั้ง กล่าวคือ การที่เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยล่วงหน้า ณ ที่จ่ายเงินต้น ก็เท่ากับว่าผู้กู้ได้รับเงินต้นไม่ครบตามจำนวนที่ทำสัญญากัน แต่เมื่อถึงเวลาชำระกลับต้องชำระตามจำนวนที่ระบุในสัญญากู้ยืม คือ เงินยืมตามสัญญาระบุเป็นเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ได้รับจริง ๘๕,๐๐๐ บาท หากชำระตามจำนวนเงินยืมที่ระบุในสัญญาก็เท่ากับว่าต้องเสียเงินไปฟรีๆ ให้กับบริษัทผู้ให้กู้อีก ๑๕,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นความเสียหายต่อที่สองของผู้กู้ รวมความเสียหายที่ผู้กู้ได้รับเป็นเงินจำนวน ๑๗,๒๕๐ บาท

กรณีนี้เป็นการใช้เทคนิคทางหลักตรรกะที่ทำให้คนที่ไม่มีความแม่นยำในตรรกะเกิดความเข้าใจผิดในการการกระทำนั้นว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นที่นิยมมากของบริษัทปล่อยสินเชื่อที่มิใช่สถาบันการเงิน

การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้สั้นๆ กล่าวคือ เจ้าหนี้จะทำสัญญาให้กู้กับผู้กู้ตามรูปแบบที่กฎหมายวางหลักการไว้ทุกประการ เพียงแต่กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้สั้นที่คิกว่าผู้กู้จะไม่สามารถนำเงินมาชำระทันเวลา เช่น ๑ เดือน, ๓ เดือน เป็นต้น อัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายแพ่งกำหนดเพดานไว้ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ทันเวลา เจ้าหนี้ก็จะคิดเป็นเบี้ยปรับในอัตราที่สูงมาก ซึ่งเป็นการหากำไรทางอ้อมที่กฎหมายไม่ได้ห้ามเอาไว้

กรณีนี้เป็นการใช้เทคนิคทางเวลามาทำเพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นที่นิยมมากของบริษัทปล่อยสินเชื่อที่มิใช่สถาบันการเงิน

การทำหลักฐานเป็นหนังสือ (ระบุเงินกู้เกินจริง) กล่าวคือ กรณีนี้เจ้าหนี้จะอาศัยความได้เปรียบทางเศรษฐกิจของตน และมีการเอาเปรียบผู้กู้แบบซึ่งๆ หน้า แต่ผู้กู้ไม่มีทางเลือกก็ต้องยอมที่จะเข้าทำสัญญาด้วย โดยการที่ผู้ให้กู้ให้กู้เงินจำนวนหนึ่ง แล้วทำหลักฐานเป็นหนังสือให้ชำระตามวันเวลาที่กำหนดโดยไม่ระบุดอกเบี้ยเอาไว้ แต่จำนวนเงินที่กำหนดให้ชำระจะมีจำนวนสูงมาก ซึ่งหากคำนวลอัตราดอกเบี้ยจะเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เช่น ยืมเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท แล้วทำหลักฐานเป็นหนังสือระบุจำนวนที่ต้องชำระ ๒๕๐,๐๐๐ บาท ชำระคืนภายใน ๑ ปี ซึ่งหากคำนวณอัตราสูงสุดร้อยละ ๑๕ ต่อปีของเงินต้น จะได้เป็นเงินจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท รวมเงินต้น ๒๓๐,๐๐๐ บาท หากดูตามหลักฐานกู้ยืมที่ระบุเงินที่ต้องชำระก็เท่ากับว่าเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๕ ต่อปี หากมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลแล้วเจ้าหนี้ให้การว่า “ลูกหนี้กูยืมไป ๒๒๐,๐๐๐ บาท” ก็ทำให้เข้าใจได้ว่าเจ้าหนี้คิดอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ ๑๓.๖๓ ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าเพดานที่กฎหมายแพ่งกำหนด เมื่อกฎหมายแพ่งวางหลักเพียงว่า “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค ๑) ก็เป็นการเปิดโอการให้ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงอื่นๆ ซึ่งเป็นการยากที่ผู้กู้จะสามารถหารเหตุผลหรือพยานหลักฐานอื่นๆ มาหักล้างหลักฐานเป็นหนังสือที่ปรากฏอยู่ได้ แต่ส่วนมากแล้วผู้กู้ก็ไม่ชอบขึ้นโรงขึ้นศาลจึงมีความพยายามทำยังไงก็ได้ให้เรื่องมันจบๆ แม้ตนจะเสียเปรียบ อีกทั้งบางคนยังหวังที่จะพึ่งพาแหล่งทุนเดิมในภายภาคหน้า จึงไม่อยากจะมีปัญหากับผู้ให้กู้ยืม

กรณีนี้เป็นใช้เทคนิคหาช่องว่างทางกฎหมายเพื่อเอาเปรียบคนที่อยู่ในสถานะทางสังคมที่ด้อยกว่า ซึ่งมักจะใช้ในกรณีที่เจ้าหนี้เป็นบุคคลที่มีอำนาจทางสังคมในท้องถิ่น แต่บริษัทปล่อยสินเชื่อไม่นิยมใช้กัน เพราะจะทำให้เสียลูกค้า

จากกลยุทธ์ต่างๆ ที่ทางผู้ให้กู้ใช้อยู่นั้น บางคนก็รู้ว่าตนเสียเปรียบ แต่ก็ยินยอมที่จะเข้าเป็นลูกหนี้ของบุคคลเช่นนี้อยู่ จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “ทำไม” (**)

การใช้อำนาจนอกรูปเป็นหลักประกันเงินกู้ กล่าวคือ เจ้าหนี้ที่ปล่อยเงินกู้และเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ได้อาศัยหลักประกันหรือ ความน่าเชื่อถือของผู้กู้หรืออาศัยความน่าเชื่อถือในระดับต่ำ มักจะเป็นบุคคลที่มีอำนาจในท้องถิ่น หากมีการผิดสัญญาก็จะใช้กำลังเข้ากระทำการเพื่อให้ได้เงินตามที่ต้องการ แต่ถึงแม้ไม่ใช้กำลังก็มีการข่มขู่จนทำให้ผู้กู้ต้องปฏิบัติตามอย่างรวดเร็ว และส่วนมากแล้วหากมีการกระทำเช่นนี้เกิดขึ้น ลูกหนี้ก็มักจะเงียบ เพราะเกรงกลัวอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนและบริวาร

การกระทำเช่นนี้เป็นอันตรายต่อสังคมเป็นอย่างมาก แต่ทำไมยังคงมีการใช้บริการเจ้าหนี้แบบนี้อยู่ จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “ทำไม” (***)

การใช้อำนาจในรูปแบบที่เกินกว่าเหตุ กล่าวคือ ส่วนมากแล้วเป็นพฤติการณ์ของบริษัทปล่อยสินเชื่อ โดยปกติแล้วเมื่อใกล้ถึงกำหนดชำระหนี้เจ้าหนี้จะมี “หนังสือเตือน” หรือ “หนังสือทวงถาม” มายังลูกหนี้ และตามหลักการของกฎหมายแล้วเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะกระทำการดังกล่าวได้ด้วยตนเอง แต่เจ้าหนี้มักจะให้นักกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการแทน โดยการจ่าหน้าซองผู้ส่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย เช่น ชื่อบุคคลที่นำหน้าชื่อว่า “ทนาย”, ชื่อสำนักงานทนายหรือสำนักงานให้คำปรึกษากฎหมาย (บางกรณีเป็นการแอบอ้างชื่อขึ้นมาเฉยๆ ทั้งที่ทนาย นักกฎหมายหรือสำนักงานกฎหมายนั้นๆ ไม่มีอยู่จริง) เป็นต้น หากมองในแง่กฎหมายการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นคนทวงถามแทนเจ้าหนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ กรณีแบบนี้หากเกิดกับคนที่มีความรู้ทางกฎหมายหรือคนที่มีความคล่องตัวทางการเงิน ก็คงไม่เกิดผลกระทบมากเท่าไหร่ แต่ถ้าลูกหนี้เป็นบุคคลที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายและไม่คล่องตัวด้านการเงินย่อมเกิดความกลัวอย่างแน่นอน ชาวบ้านทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายหากเห็นจดหมายที่จ่าหน้าซองจากนักกฎหมายหรือสำนักงานกฎหมายแล้ว เขาจะเกิดความกังวนทางจิตใจเป็นอย่างมาก ทั้งที่จดหมายดังกล่าวเป็นเพียง “หนังสือเตือน” หรือ “หนังสือทวงถาม” เท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นเหตุที่ทำให้ลูกหนี้ต้องดิ้นรนไปหาเงินมาชำระแม้จะต้องไปกู้ยืมนอกระบบกับอีกคนหนึ่งเพื่อมาชำระหนี้เดิม การหมุนเวียนอยู่ในวังวนของเงินกู่นอกระบบก็จะยังคงมีอยู่ไปเรื่อยๆ

กรณีนี้เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายประกอบกับอำนาจทางจิตวิทยาของความเป็นนักกฎหมายมาเป็นวิธีการในการดำเนินการของเจ้าหนี้ ที่อาจเรียกว่าเป็นการยืมมือนักกฎหมายมาข่มขู่ลูกหนี้ทางอ้อม และทั้งๆ ที่คนทั่วไปก็รู้ถึงพฤติกรรมของบริษัทปล่อยสินเชื่อที่กระทำอยู่ประจำ แต่ก็ยังมีการใช้บริการตลาดทุนแบบนี้อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย จึงเกิดคำถามในตัวของมันเองว่า “ทำไม” (****)