การวางแผนการใช้จ่ายเงิน

ความสำคัญการวางแผนการใช้จ่ายเงิน

ตามหลักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ทรัพยากร (Resources) มีอยู่อย่างจำกัดขณะเดียวกันความต้องการ (Want) ของมนุษย์มีอยู่อย่างไม่สิ้นสุด “เงิน” ถือได้ว่าเป็นทรัพยากร (Resources)

ประเภทหนึ่งที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องวางแผนการใช้จ่ายให้ดี จะเกิดปัญหาทางการเงินซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อ การดำรงชีวิตของบุคคลหลายด้านดังนี้

  1. ผลกระทบต่อตนเอง โดยทั่วไปบุคคลจะเกิดความเครียด จากปัญหาทางการเงินกาเป็นหนี้สินค้าร้อยละ 58 สูงเป็นอันดับหนึ่งจึงมีผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจของบุคคลนั้น ๆ
  2. ผลกระทบต่อครอบครัว ในครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงินย่อมเกิดความขัดแย้งใครอบครัวเกิดการทะเลาวิวาท ครอบครัวแตกแยกและขาดความสงบสุขในที่สุด
  3. ผลกระทบต่อการทำงานของบุคคล เมื่อบุคคลมีปัญหาทางการเงินจะขาดสมาธิในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอาจจะเป็นเพราะบุคคลนั้นกังวลใจ จนไม่เป็นอันทำงานขณะเดียวกันยังมีผลต่อความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานด้วย

จากผลกระทบที่เกิดจากปัญหาทางการเงินอันเกิดจากการใช้จ่ายเงินอย่างไร้ประสิทธิภาพบุคคลจึงจำเป็นต้องวางแผนใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพที่สุด

 

วิธีการใช้จ่ายเงินให้เกิดประสิทธิภาพ (Effective Expenditure)

การใช้จ่ายเงินให้มี่ประสิทธิภาพสูงสุดนั้นควรใช้จ่ายเพื่อสนองต่อความจำเป็นในการดำรงชีวิตเป็นหลักก่อน แต่ถ้าหากการใช้จ่ายทำอย่างไม่รอบครอบ ขาดการยับยั้งชั่งใจจะก่อให้เกิดนิสัยฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายและสิ้นเปลืองได้ ดังนั้นบุคคลจึงเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้วีการใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้

1 จดบันทึกรายรับ – รายจ่าย ให้จดบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างละเอียดทุกวันหรือทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน ตามความเหมาะสมและสะดวกของแต่ละบุคคล ผลที่เกิดจากการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย จะทำให้เห็นรายจ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็นได้ จึงจะทำให้เราสามารถตัดทอนรายการที่ไม่จำเป็นได้

2 ดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ให้ตามแนวกระแสพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9) โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

3 อย่าใช้อารมณ์ตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ การใช้เงินที่ทำให้เกิดนิสัยการใช้จ่ายทีสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย มักเกิดจากการตัดสินใจซื้อด้วย อารมณ์ชั่ววูบไม่ได้ใช้เวลาไตร่ตรองดังนั้นก่อนซื้อสินค้าหรือบริการ ต้องไตร่ตรองเปรียบเทียบแยกแยะว่า สินค้าหรือบริการที่เราต้องการนั้น มีความจำเป็นมากน้อยเพียงไร ถ้ามีความจำเป็นน้อย เลื่อนการซื้อออกไปจะได้หรือไม่จะทำให้การตัดสินใจซื้อมีเหตุผลมากกว่าซื้อทันทีตามอารมณ์

4 อย่าเลียนแบบหรือเอาแบบอย่างจากคนอื่น เป็นพฤติกรรมที่เห็นใครมีอะไรก็อยากมีบ้างและไม่ควรมีค่านิยมทีผิด ๆ กับแนวคิดที่ว่า “รายได้ต่ำ รสนิยมสูง” เพราะจะทำให้เราดิ้นรนหาสินค้ามาเสริมรสนิยมตนเอง ทำให้เราเป็นทาสของวัตถุหรือวัตถุนิยมนับเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้น และเดือดร้อนทางการเงินในที่สุด

5 ให้ซื้อสินค้าด้วยเงินสด ไม่ควรซื้อสินค้าด้วยเงินเชื่อหรือใช้บัตรเครดิตเพราะการซื้อด้วยเงินสดทำให้เราเห็นเงินสดในกระเป๋าว่ามีพอหรือไม่พอ และเงินสดลดลงเหลือเท่าไรจะทำให้เรามีความรอบครอบในการใช้จ่ายมากขึ้น

6 ให้วิธีการลดละเลิกรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ได้แก่ การแยกแยะรายจ่ายที่ไม่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของบุคคล ด้วยการบันทึกรายรับ-รายจ่ายแล้วนำรายการมาพิจารณาว่ารายการใดควรลดหรือเลิก ดังนี้

- ให้ยกเลิก (ตัด) รายการจ่ายรายการที่ฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็นออกไป เช่น ค่าเหล้า ค่าบุหรี่ ค่าเครื่องสำอาง ค่าซื้อหวย

- ให้ลดรายการจ่ายที่สามารถลดได้บางส่วนเช่นค่าอาหารที่รับประทานนอกบ้านทุกวัน อาจลดลงเป็นการรับประทานอาหารกลางวัน นอกบ้านสัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง หรือจากการซื้อกับข้าวมารับประทานในบ้านเปลี่ยนเป็นการทำกับข้าวรับประทานเอง จะทำให้ประหยัดกว่า

7 กำหนดเป้าหมายในการดำเนินชีวิตไว้ล่วงหน้า ให้บุคคลประเมินความต้องการของตนก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้งเพื่อนำสิ่งที่มีความจำเป็นต้องมีเพื่อนำมากำหนดเป้าหมายชีวิต ดังวิธีต่อไปนี้

7.1 ประเมินสถานการณ์ทางการเงินของตนในปัจจุบันก่อนทุกครั้งที่จะใช้จ่ายเงิน

7.2 ทำการแยกรายการระหว่าง “สิ่งที่อยากได้ (want) และสิ่งที่จำเป็นต้องมี (need)

7.3 ให้คาดการณ์ถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตว่าดีขึ้นหรือลดลง ถ้าซื้อหรือไม่ซื้อสินค้า ในครั้งนี้

8 ให้เลือกสินค้าที่มีคุณภาพดี คงทน และคุ้มค่าต่อเงินที่จะจ่ายไป ตลอดจนผลประโยชน์ที่เราจะได้รับกลับคืนมาหรือสามารถใช้สอย ก่อให้เกิดประโยชน์ได้หลาย ๆ ทาง

9 ต้องรู้จักต่อรองราคา เพื่อที่จะได้สินค้าที่มีราคาถูกเพียงอย่างเดียวแต่ควรเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนัก และมีคุณภาพ

10 ศึกษาวิธีการใช้ การบำรุงรักษา ทรัพย์สินต่าง ๆที่ซื้อมา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และมีอายุการใช้งานนานมากขึ้น หรืออาจนำสิ่งของที่มีเดิมอยู่แล้วนำกลับมาใช้อีกครั้ง ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด

11 อย่าซื้อสินค้าเพราะการโฆษณา ส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม ของผู้ขายที่หวังกระตุ้นยอดขายของกิจการ จูงใจ ดึงดูดให้ผู้ซื้อ ซื้อสินค้าอย่างไร้เหตุผล

นอกจากวิธีการใช้จ่ายเงินข้างต้นที่กล่าวมาเป็นเพียงข้อแนะนำที่ให้เป็นแนวทางในการคิดและกระทำให้การใช้จ่ายเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามบุคคลแต่ละคนอาจมีวิธีการใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ก็ได้ และการเลือกวิธีการใช้จ่างเงินของแต่ละบุคคล จะปฏิบัติอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ที่จะทำให้ตนมีเป้าหมายทางการเงินที่ดีที่จะทำให้ตนและครอบครัวไม่ประสบปัญหาทางการเงินในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

ประเภทของรายจ่ายทางการเงิน

แบ่งประเภทรายจ่ายตามความต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1 รายจ่ายที่เกิดจากความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (Need) ได้แก่ ความต้องการในบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีสิ้นสุดมักเป็นความต้องการที่นอกเหนือจากความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่เคยพอเพียงเป็นรายจ่ายที่ทำให้เกิดความฟุ่มเฟือย เช่น การเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นแพง ๆ ถ่ายรูป ดูหนัง ฟังเพลงได้ รูปทรงสวยงาม แบะมีฟังก์ชั่นอื่น ๆ ซื้อโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ใช้สอยของโทรศัพท์จริง ๆ จะมีราคาถูกกว่าประหยัดกว่าหรือไม่

2 แบ่งรายจ่ายตามประเภทความสามาร3.2 แบ่งรายจ่ายตามประเภทความสามารถในการคาดคะเนข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

2.1 รายจ่ายประจำหรือ ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Expenditure) เป็นค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนเงิน จ่ายคงที่สม่ำเสมอในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งคาดคะเนได้ง่าย เช่น ค่าผ่อนชำระค่าบ้าน ค่าผ่อนชำระงวดรถยนต์ ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น

2.2 รายจ่ายผันแปร (Variable Expenditure) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาคาดคะเนได้ยาก เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมันรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ และรวมทั้งรายจ่ายเบ็ดเตล็ด ที่เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นไม่แน่นอน ค่าภาษีสังคม (งานบุญ งานแต่งงาน ค่าของขวัญ ฯลฯ) และค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนหรือความบันเทิงต่าง ๆ

หลักการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

1 นิสัยการซื้อสินค้าของบุคคล การซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันของบุคคล มักซื้อด้วยความเคยชิน ตามนิสัยของการซื้อของแต่ละบุคคล ดังนี้

1.1 นิยมซื้อสินค้าเงินผ่อนมากกว่าเงินสด

1.2 ชอบซื้อปลีกเป็นหน่วย ๆ ทีละชิ้น แทนการซื้อคราวละมาก ๆ หรือซื้อรวมกันเป็นชุด ๆ

1.3 บุคคลจำนวนมากเมื่อซื้อสินค้าที่ต้องการและมักจะเดินดูสินค้าในห้างสรรพสินค้าต่อไปอีก ซึ่งมักจะได้ซื้อสินค้าเพิ่มกว่าที่ตั้งใจไว้เสมอ

1.4 บุคคลมักซื้อสินค้าด้วยความเคยชิน ทำให้ละเลยดูรายละเอียดของสินค้า เช่น วัน เดือน ปีหมดอายุ ปริมาณบรรจุ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายหรือไม่

การซื้อสินค้าด้วยความเคยชินดังกล่าวข้างต้นจะทำให้บุคคลพบปัญหากับการใช้จ่ายเงิน เพราะขาดความรอบคอบในการใช้จ่างเงิน ขาดการวางแผนการซื้ออย่างรอบคอบ บุคคลจึงควรต้องเป็น “ผู้ซื้อที่ดี” หรือ “ผู้บริโภคที่ฉลาด” คือ ต้องรู้ว่าต้องการซื้ออะไรมากที่สุดและวิธีที่ดีที่สุดในการซื้อสินค้าควรเป็นอย่างไร

2 การวางแผนการซื้อ การซื้อสินค้าเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลต้องใช้จ่ายเงินออกไปถ้าซื้อไม่ระมัดระวังอาจได้สินค้าที่คุณภาพไม่ดี ไม่ตรงกับความต้องการ และราคาแพงเกินไปไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป จึงเรียกว่า “ซื้อไม่เป็น” การซื้อควรวางแผนล่วงหน้า

2.1 ควรซื้ออะไร ให้พิจารณายี่ห้อ และความจำเป็นที่ต้องมีต้องใช้

2.2 ควรซื้ออย่างไร ซื้อเงินสดหรือเงินผ่อน

2.3 ควรซื้อเมื่อไร

- ซื้อนอกฤดูกาล หรือ

- ซื้อในฤดูกาล หรือ

- ซื้อเมื่อลดราคา หรือ

- กำหนดวัน เวลา เดือน ปี ที่จะซื้อ

1.1 ควรซื้อที่ไหน ได้แก่ การเลือกแหล่งซื้อ เช่น ร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด หรือซื้อสินค้าผ่านระบบ Internet

3 หลักการเลือกซื้อสินค้า

เมื่อวางแผนการซื้อและตกลงใจที่จะซื้อสินค้านั้นบุคคลควรพิจารณาก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า เพื่อให้เป็นผู้ “ฉลาดซื้อฉลาดใช้” ด้วยหลักการเลือกซื้อสินค้าดังนี้

3.1 เปรียบเทียบคุณสมบัติของสินค้าและราคาของสินค้าชนิดนั้น ๆ หลาย ๆ ยี่ห้ออย่างรอบคอบเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าแต่ละยี่ห้อมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ราคาถูกหรือแพงกว่ากันเท่าไร อยู่ในวงเงินที่เราสามารถจ่ายได้หรือไม่ วิธีการที่จะได้ข้อมูลสินค้าเมื่อนำมาเปรียบเทียบสามารถรกระทำได้ดังนี้

- สอบถามกับผู้ที่เคยใช้ เช่น เพื่อน ผู้ปกครอง ครู หรือคนอื่น ๆ ที่เคยใช้สินค้าที่เราจะซื้อว่ามีคุณภาพดีหรือไม่ มีปัญหาหากการใช้งานอะไรบ้าง

- ตรวจสอบการใช้งานกับอุปกรณ์อื่น ๆ

- ถ้าซื้อสินค้าที่ร้านค้าควรทดลองสินค้าให้แน่ใจว่าสินค้าใช้งานได้จริงก่อนนำกลับมาที่บ้านทุกครั้ง

3.2 ประเมินทางเลือกในการซื้อ ได้แก่ การประเมินความพร้อมในการชำระเงินของตนว่าสามารถซื้อด้วยเงินสดหรือใช้วิธีการเช่าซื้อผ่อนชำระ ถ้าผ่อนชำระสามารถผ่อนได้งวดละเท่าไรที่จะทำไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนจากภาระการผ่อนชำระนั้น

3.3 เปรียบเทียบราคาสินค้าและเงื่อนไขในการขายสินค้าของผู้ขายหลาย ๆ ร้านเพราะสินค้าบางร้านติดป้ายลดราคา หรืออาจจะแพงกว่าสินค้าอย่างเดียวกันกับในอีกร้านหนึ่งก็ได้

3.4 ควรเลือกซื้อสินค้าจากผู้จำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิตให้เป็นผู้จำหน่ายอย่างถูกกฎหมายมีใบรับรองคุณภาพและมีใบรับประกันคุณภาพ เพราะเราสามารถมั่นใจได้ว่ามีผุรับผิดชอบแน่นอน ตบอดจนมีบริการหลังการขายที่มีมาตรฐานกว่า

3.5 ผู้ซื้อต้องตรวจสอบใบเสร็จกับใบรับประกันให้ถูกต้องครบถ้วนพร้อมทั้งสอบถามเงื่อนไข เกี่ยวกับการประกันคุณภาพสินค้าให้ชัดเจนก่อนทุกครั้ง

3.6 ควรเปรียบเทียบราคาและระยะเวลาที่ใช้สินค้า ตลอดจน ค่าขนส่ง ค่าติดตั้ง ค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในระหว่างการใช้ เช่น การซื้อรถยนต์ที่ราคาถูก รถยนต์มือสองกับรถยนต์คันใหม่ป้ายแดง อาจจะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมแพงกว่าผ่อนชำระค่างวดรถยนต์คันใหม่ก็ได้

ข้อแนะนำในการใช้จ่ายอย่างฉลาด

  1. ควรซื้อสินค้าและบริการในราคาไม่แพงเกินไป
  2. ควรเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดีและมีมาตรฐาน
  3. รู้ทันการโฆษณาสินค้าเพราะการโฆษณามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคที่จะกระตุ้นเร่งเร้าการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการให้เร็วขึ้น การโฆษณามี่จำนวนไม่น้อยที่กล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริงเพื่อหลอกให้คนมาซื้อสินค้า บ้างก็กล่าวกำกวมให้ข้อมูลไม่ชัด บ้างก็โฆษณาเกินจริงอิทธิพลของการโฆษณาอาจจะทำให้ผู้หลงเชื่อเสียเงินโดยได้รับประโยชน์ไม่คุ้มค่า หรืออาจจะไม่ได้รับประโยชน์เลยก็ได้ นอกจากนี้อาจจะได้รับอันตรายจากการใช้สินค้านั้น ๆ ก็ได้ เช่น การโฆษณาที่ใช้คำพูดกำกวม คือ “ลดความอ้วนภายใน 7 วันโดยไม่ต้องกินยาไม่ต้องออกกำลังกายหากไม่ได้ผลยินดีคือเงินให้!!”
  4. รู้ทันการส่งเสริมการขาย (Promotion) เป็นวิธีการที่ผู้ผลิตหรือขายนำมาใช้เพื่อกระตุ้นยอดขายด้วยวิธีการ ลด แลก แจก แถม ซึ่งผู้ผู้บริโภคควรรู้ เทคนิคการจัดรายการส่งเสริมการขายแต่ละรูปแบบ ให้รู้ทันกลยุทธ์การส่งเสริมการขายและจุดประสงค์ของกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย เพื่อนำมาพิจารณาก่อนการตัดสินใจซื้อด้วยการจูงในซื้อด้วยการจูงใจวิธี ลด แลก แจก แถม ซึ่งจุดประสงค์ของกานส่งเสริมการขาย คือ กระตุ้นยอดขาย แนะนำสินค้าใหม่ กำจัดสินค้าที่ขายไม่ค่อยดี

จะเป็นจุดประสงค์ใดก็ตามควรระมัดระวัง เรื่องคุณภาพของสินค้าหลัก และสินค้าแถม ให้ดูอ่ายุของผลิตภัณฑ์ ปริมาณ คุณภาพของแถมได้มาตรฐานหรือไม่

ลักษณะการใช้จ่ายเงินที่ทำให้เป็นหนี้สินตลอดไป

เป็นลักษณะนิสัยที่ทำลายตนเองที่ไม่ควรทำและหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเป็นอยู่แล้วควรหยุดพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบนี้เสีย นิสัยการใช้จ่ายเงินที่ทำให้เป็นหนี้ตลอดชีวิตได้แก่

  1. นิสัยการใช้เงินล่วงหน้าโดยไม่มีเงินสดไว้ในมือ
  2. ไม่คิดก่อนการซื้ออยากได้อะไรก็ตัดสินใจซื้อเลย
  3. ขาดความรับผิดชอบทางการเงิน เมื่อเกิดปัญหาทางการเงินจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระและสร้างปัญหาซ้ำอีก เช่น มีนิสัยชอบหยิบยืมเงินจากคนสนิท หรือยืมจากคนไม่สนิทก็กล้ายืมแต่ไม่เคยใช้หนี้
  4. นิสัยประมาทกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การคิดล่วงหน้าจะได้รับเงินก้อนนี้ภายในอนาคต และใช้จ่ายไว้ก่อนแล้ว แต่เมื่อถึงเวลากลับไม่เป็นไปตามคาดหมาย ทำให้เดือดร้อนที่ต้องหาเงินมาใช้จ่ายทำให้เป็นหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก
  5. ต้องการมีหน้ามีตาทัดเทียมกับคนอื่น เป็นนิสัยก่อให้เกิดหนี้สินกับความต้องการมีหน้ามีตาในสังคม เช่น มักจะพูดโอ้อวดเสมอว่าที่บ้านตน มีตู้เย็นไว้ใช้ 3 ตู้ เครื่องปรับอากาศทุกห้อง และมีเครื่องออกกำลังกายราคาหลายหมื่นทั้ง ๆ ไม่มีความจำเป็นต้องมีหรือมีแล้วไม่ได้ใช้คุ้มค่าเลย
  6. มีนิสัยการกู้หนี้ยืมสินจนกลายเป็นนิสัย บุคคลเหล่านี้มักมีปรัชญาการดำเนินชีวิตว่า” ติดหนี้ไม่เป็นไรให้รีบซื้อซะเพราะเดี๋ยวราคาสินแพงขึ้น จะไม่มีของมาใช้”

ได้เงินมาก็ซื้อความสะดวกสบายก่อน ไม่คิดถึงอนาคตว่าจะมีเงินใช้หรือไม่