การออกแบบแปลนสวน
ขั้นตอนการออกแบบแปลนสวน
การออกแบบ (design process) จัดสวนมีขั้นตอนของการออกแบบเพื่อให้ผู้ออกแบบได้เข้าใจถึงสถานที่และ จุดประสงค์ของเจ้าของ การออกแบบ จะเป็นเรื่องไม่ยากสําหรับผู้ที่คุ้นเคย กับงานทางด้านการออกแบบ แต่สําหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้และ ไม่ค่อยได้จับดินสอ วาดรูปก็จะเป็นการยาก ซึ่งการปฏิบัติเพื่อออกแบบจะยากกว่า การเรียนรู้ในเรื่องทฤษฎีอย่างมาก ในการออกแบบครั้งแรกอาจจะยุ่งยาก ติดขัด แต่ในครั้งต่อ ๆ ไป ก็จะเริ่มง่ายขึ้นเป็นลําดับ โดยทั่วไป หลักการในการออกแบบสวน มีขั้นตอนดังนี้
1. สํารวจสถานที่ (site analysis)
เป็นการสํารวจหาข้อมูลของสถานที่ให้มากที่สุด ผู้ออกแบบจะต้องศึกษาสภาพภูมิประเทศของสถานที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ควรทราบ คือ
1.1 สภาพภูมิอากาศ บริเวณนั้นมีอากาศร้อนหนาว แห้งแล้ง ชื้น มากน้อยเพียงใด ข้อมูลที่ได้จะทําให้สามารถเลือกใช้พรรณไม้ได้ถูกต้อง นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวส่วนไหนจะได้รับแสงสว่างมากน้อยอย่างไร ฝนตกชุกหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลในเรื่องการระบายนํ้าจากพื้นที่ ทิศทางลมเป็นอย่างไร ลมพัดแรงจนทําให้พรรณไม้เสียหายหรือไม่
1.2 บริเวณพื้นที่ สภาพดินเป็นอย่างไร เป็นกรด ด่าง ดินเหนียว ดินร่วน หรือดินปนทราย ลักษณะพื้นที่สูงตํ่ามากน้อย จะต้องถมดินตรงไหน ขนาดของพื้นที่กว้างยาวเท่าไร อยู่บริเวณไหนของบ้าน
1.3 ทิศ ทิศเหนืออยู่ทางไหน การรู้ทิศจะช่วยให้ทราบเรื่องแสงสว่างและทิศทางลม ซึ่งส่งผลในการกําหนดพรรณไม้และสิ่งอื่น ๆ
1.4 สิ่งก่อสร้าง ลักษณะอาคาร รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ในบริเวณนั้นเป็นลักษณะใด เพราะการออกแบบจัดสวนจะต้องให้กลมกลืน และเสริมให้อาคารสถานที่นั้นสวยงามเด่นสง่า รวมทั้งเกิดประโยชน์ใช้สอยอย่างเต็มที่
1.5 พรรณไม้เดิม มีมากน้อยอยู่ในตําแหน่งใด รวมทั้งชนิดของพรรณไม้นั้น ๆ ในการสํารวจสถานที่ ผู้ออกแบบอาจจะเขียนแปลนคร่าว ๆ โดยรวมว่าตัวอาคาร บ้านและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตั้งอยู่อย่างไรในบริเวณที่จะจัดสวน เพราะการจัดจะต้องมีความกลมกลืน
ระหว่างสวนกับบ้าน อาคารและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย ข้อมูลที่ได้จากการ สํารวจสถานที่จะนํามา หาความสัมพันธ์จากภายนอกสู่ภายใน และจากภายในอาคารสู่ภายนอก หาจุดเด่นในสวน ที่ภายในจะมองออกมาได้ชื่นชมความงามของสวน
2. สัมภาษณ์เจ้าของสถานที่ (client analysis)
เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับความชอบ รสนิยม รวมทั้งงานอดิเรกต่าง ๆ ของสมาชิกในครอบครัว หรือสถานที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ได้จะโดยการสอบถาม สังเกต รวมทั้งการพิจารณาจากสภาพทั่ว ๆ ไป เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ
- ลักษณะของสวน ชอบสวนแบบใด เป็นสวนธรรมชาติ สวนญี่ปุ่น หรือสวนนํ้า เป็นต้น
- เวลาที่จะใช้ในการดูแลรักษาสวน มีมากน้อยเพียงใด เจ้าของบ้านชอบการทําสวนหรือไม่
- สมาชิกในครอบครัวมีจํานวนเท่าใด เพศหญิง/ชาย เด็ก/ผู้ใหญ่ ต้องการทําที่เล่น สําหรับเด็กหรือไม่ สมาชิกในครอบครัวชอบเล่นกีฬา ทําสวน ทําอาหารนอกบ้านฯลฯ
- ต้องการมุมสงบ เพื่อใช้พักผ่อนหรือไม่
- แนวโน้มในอนาคตต้องการจะเปลี่ยนแปลงสถานที่เหล่านี้อย่างไร
- รสนิยมเรื่องสี และวัสดุอื่น ๆ เป็นอย่างไร
- ความชอบเรื่องพรรณไม้ ในเรื่องของดอก สีดอกเป็นอย่างไร
- งบประมาณที่จะใช้จัดสวนประมาณเท่าใด ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์จะทําให้รู้ถึงความต้องการของเจ้าของ
3. วิเคราะห์ข้อมูล (data analysis)
จากการสํารวจสถานที่และสัมภาษณ์ข้อมูลต่าง ๆ จากเจ้าของแล้ว นําข้อมูลทั้งหมดมาแยกเป็นส่วน ๆ จัดเรียงลําดับความสําคัญ จากมากไปหาน้อย ข้อมูลความต้องการของเจ้าของอาจจะมีมากกว่างบประมาณ หรือไม่สัมพันธ์กับ แบบของสวน ก็อาจจะต้องเลือก สิ่งที่จําเป็นก่อน สิ่งใดที่มี ความจําเป็นน้อย หรือใช้สิ่งอื่นที่จําเป็นกว่าทดแทนได้ก็ตัดทิ้งไป ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จะช่วยให้การจัดสวน ตอบสนองความต้องการประโยชน์ใช้สอยของเจ้าของ แต่ในเรื่องความสวยงามจะเป็นหน้าที่ที่ ผู้ออกแบบ จะต้องเลือก ชนิดของพรรณไม้และองค์ประกอบอื่น ๆ ให้สัมพันธ์กันเช่น ในครอบครัว มีคนชราซึ่งต้องการที่พักผ่อนเดินเล่น ก็จะต้องจัดสวน ให้มีทางเดินเท้าไปสู่จุดพักผ่อน มีสนามหญ้าให้ความสดชื่น หากมีเด็กเล็กก็ต้องการพื้นที่เล่นภายนอก ก็อาจจะต้องมีบ่อทราย ชิงช้า ไว้บริเวณ ใกล้บ้านและหากต้องการแปลงไม้ดอก แปลงพืชผักสวนครัว ก็จะต้องหาจุดที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ ในเรื่องงบประมาณหากวิเคราะห์ข้อมูลคร่าว ๆ แล้วจะเกินงบประมาณ ที่วางไว้ ก็อาจจะต้องหาสิ่งอื่นทดแทน ตามความเหมาะสม
4.. ใช้วงกลมในการออกแบบ (balloon diagram)
เมื่อทําการวิเคราะห์ข้อมูลเรียงลําดับความสําคัญจากมากไปหาน้อยแล้ว เลือกเอาส่วนที่จําเป็นต้องมีภายในสวน ให้แต่ละส่วน เป็นวงกลม 1 วง นําเอาวงกลมเหล่านั้นวางลงในแปลน เพื่อหา ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ของวงกลม แต่ละวง ระหว่างวงกลมกับตัวบ้าน ดูความ เหมาะสมและประโยชน์ใช้สอยในแบบแปลนนั้น ๆ
5. เขียนแปลน (plan)
แปลน หมายถึง ลักษณะรูปร่างของสถานที่หรือสิ่งของนั้น ๆ โดยมองจากเบื้องบนลงมา (top view) แปลนสามารถบอก รายละเอียด เกี่ยวกับที่ตั้ง ทิศทางและขนาดของสิ่งต่าง ๆ ภายในแปลนทั้งหมด โดยทั่วไปแล้ว แปลนจะแบ่งออกได้หลายชนิด ตามความเหมาะสม คือ
5.1 มาสเตอร์แปลน (master plan) เป็นแปลนที่สมบูรณ์ แสดงส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด ในพื้นที่กว้างใหญ่ อาจจะมีเนื้อที่เป็นร้อย ๆ ไร่ก็ได้ มาตราส่วนที่ใช้ในมาสเตอร์แปลนใช้ 1:2000
5.2 ไซท์แปลน (site plan) อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมาสเตอร์แปลนเนื่องจาก มาสเตอร์แพลนมีขนาดใหญ่มาก ทําให้ขาดรายละเอียดต่าง ๆ ที่เล็กเกินกว่าจะเขียนลงในมาสเตอร์แปลน ดังนั้นการเขียนไซท์แปลน จะเป็น การขยายบางส่วนของมาสเตอร์แปลนนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นมาสเตอร์แปลนเองก็ได้ หากขนาดพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก
5.3 ดีเทลแปลน (detail paln) จะใช้ขยายบางส่วนจากไซท์แปลน เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น การเขียนแบบจะใช้มาตราส่วน 1:20, 1:50, 1:75 หรือ 1:100 และถ้าพื้นที่มีขนาดเล็กดีเทลแปลน ก็อาจจะเป็น มาสเตอร์แปลน ในพื้นที่นั้นเลยก็ได้ เช่น สนามเด็กเล็กในมุมหนึ่งของสวนสาธารณะ สวนบริเวณสามแยกเหล่านี้ เป็นต้น
5.4 สกีมาติคแปลน (schematic plan) เป็นแผนผังแสดงทิศทางการสัญจรและทาง เดิน หรือ ความสัมพันธ์ ระหว่าง จุดต่าง ๆ ในแปลน
5.5 คอนสตรัคชั่นแปลน (construction plan) แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องวัสดุต่าง ๆ ขนาดโครงสร้าง และ สิ่งอื่น ๆ ที่จําเป็น
5.6 แพล้นทิ่งแปลน (planting plan) เป็นแปลนที่แสดงรายละเอียดชนิดและตําแหน่งของพรรณไม้ รวมทั้ง ขนาดและจํานวนของพรรณไม้นั้น ๆ การเขียนแปลนเกี่ยวกับพรรณไม้ จะต้องทราบ ขนาดของทรงพุ่ม เมื่อโตเต็มที่ เพื่อจะได้วางระยะระหว่างต้นไม้ได้ถูกต้อง การใช้สัญลักษณ์แทนพรรณไม้ อาจเลือกใช้สัญลักษณ์ หนึ่งแบบ ต่อพรรณไม้หนึ่งชนิด หรือใช้สัญลักษณ์เดียวกันแต่ใช้ตัวเลขกํากับแทนชื่อพรรณไม้นั้น การใช้พรรณไม้หลาย ๆ ชนิด ควรใช้ตัวเลขบอกถึงชนิดของพรรณไม้โดยอธิบายชนิดของพรรณไม้ตามตัวเลขนั้น ๆ ข้างล่างแบบแปลน ซึ่งจะทําให้อ่านแบบได้ง่ายขึ้น การเขียนแบบแปลนที่ดี และสวยงาม ไม่สมควร มีอะไร ที่ยุ่งยาก มากเกินไป ตําแหน่งของสิ่งสําคัญต่าง ๆ ควรทําให้เด่นชัด โดยใช้หมึกที่มี เส้นหนัก และใช้หมึกเส้นเบา กับสิ่งทั่ว ๆ ไปส่วนของสนามหญ้าใช้เส้นเบาลงสีให้สวยงามเหมือนจริง เพื่อให้มองเห็นแล้ว สามารถคิดคล้อย ตามภาพนั้น ๆ ได้
5.7 เสตคจิ้งแปลน (staging plan) เป็นแปลนที่แสดงขั้นตอน ในการก่อสร้างของ มาสเตอร์แปลนโดยเรียงความสําคัญ หรือความจําเป็นจาก มากไปน้อยตามลําดับ เนื่องจากงบประมาณจะจ่ายเป็นงวด ๆ ของงานนั้น ๆ การเขียนแปลนจะช่วยให้ผู้ดูเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการออกแบบ รู้ถึงจุดต่าง ๆ ตลอดความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งในการเขียนแปลนนี้ หากจะทําให้ผู้ดูเข้าใจแจ่มชัดขึ้น ก็ควรจะ
เขียนทัศนียภาพ (perspective) ด้วย เพราะภาพ perspective จะมีลักษณะเหมือนภาพถ่าย ซึ่งภาพนี้อาจจะเขียนด้วย ลายเส้นขาวดํา หรือจะลงสีให้มีสีสรรเหมือนจริงก็ได้
1. หลักศิลปะในการออกแบบสวน
2. เครื่องมือ และการใช้เครื่องมือ สัญลักษณ์ ในการออกแบบแปลนสวน
2.1 เครื่องมือเขียนแบบ
2.2 หลักการเขียนแบบแปลนสวน
3. ขั้นตอนการออกแบบแปลนสวน
3.1 สำรวจสภาพพื้นที่
3.2 สัมภาษณ์ข้อมูลจากเจ้าของสวน
3.3 การเขียนแบบแปลนสวน รูปด้านบน - รูปด้านข้างหรือรูปทัศนียภาพ
3.4 องค์ประกอบต่างๆในการออกแบบแปลนสวน