สวนจีน
การจัดสวนไม้ประดับแบบจีน ซึ่งได้รับความคิดมาจากธรรมชาติ พยายามดึงธรรมชาติให้เข้ามาอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด มีเอกลักษณ์ การจัดเป็นของตนเองโดยมีความคิดในการจัดคือ
- การจัดรูปแบบเป็นเนินดินสูง - ต่ำ (Slope) และปลูกหญ้า
- การจัดแบบพื้นราบ มีสระน้ำ บ่อน้ำ ธารน้ำและก้อนหิน
- จัดปลูกต้นไม้แบบยืนต้น เช่น ต้นสน หลิว ไผ่ ต้นหลิวจะปลูกไว้ตามขอบสระน้ำ กิ่งใบจะย้อยลงสู่พื้นน้ำอย่างสวยงาม ส่วนต้นสนก็จะตัดแต่งกิ่งก้านและลำต้นให้คดโค้งไปมา
- จัดประดับสวนด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน เช่น เก๋งจีน หรือเจดีย์แบบหกเหลี่ยมซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น
- จัดสวนด้วยสะพานทอดโค้งข้ามลำธาร ข้ามเกาะ พื้นสนามที่ปลูกหญ้า จะมีทางเดินคดโค้งไปม าด้วยเส้นที่อ่อนหวานกลมกลืนกับธรรมชาติ
การใช้ต้นไม้ เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก วัสดุพืชพันธุ์หลากหลาย มี ความชำนาญเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีการสะสมมานาน เป็นพันปี เช่น – ต้นเบญจมาศ หรือ เก๊กฮวย – ต้นพีช – ต้นส้ม – อะซีเลีย ,lilly, liac, rodorendon
ค.ศ. 1600 มีนักสะสมพันธุ์ไม้ชาวอังกฤษและดัทช์ทำให้พันธุ์ไม้จากจีน แพร่กระจายไปยังตะวันตก
ต้นไม้ที่เป็นสัญญลักษณ์ในสวนจีน
- บัวหลวง ในภาษาจีน เมื่อออกเสียงจะพ้อง กับคำว่า ความกลมกลืน ใช้เป็นตัวแทนของมิตรภาพ สันติภาพ และการรวมกันอยู่อย่างสันติสุข บัวในลัทธิเต๋า หมายถึง อมตะ ในพุทธศาสนา บัวเป็นฐานรองนั่งของ พระพุทธเจ้า และสัญญลักษณ์ของการหลุดพ้น
- ดอกเบญจมาศ หรือเก็กฮวย
- ต้นสน ไม้ยืนต้นสี่ฃเขียวตลอดปี อายุยาว
- ต้นไฝ่ สุภาพบุรุษที่โอนอ่อนผ่อนตาม
- ต้นกล้วย ความทะเยอทะยานไผ่รู้ ความอุดมสมบูรณ์
- หลิว ใช้ใบในการพรมน้ำศักดิ์สิทธิ กิ่งก้านและใบที่โอนเอนเหมือนความงามผู้หญิง
- ต้นพลับ (Persimmon) มีผลสุกสีทองเป็นสีแห่งความสุข
- ต้นพีช (Peach) หรือท้อ ฤดูใบไม้ผลิ การแต่งงาน และความเป็น อมตะ
- ต้นแพร์(Pear) ความยืนยาวและการปกครองที่ดี
- ต้นพลัม (Plum) ปลูกเพื่อดอกมากกว่าผล เป็นเพื่อนในฤดูหนาว
- ต้นทับทิม (Pomegranate) ความอุดมสมบูรณ์
การใช้ต้นไม้ในสวนจีน
- ในสวนจีนมีการใช้ต้นไม้เพื่อสีของดอก (color) กลิ่นหอม (scent) รับประทาน (taste) ฟังเสียง (sound)
- เพื่อความรื่นรมย์ ไม้ดัด (miniature landscape)
- สัญญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล
องค์ประกอบของสวนจีน
- ทางเดินมีหลังคา (covered walkway) ระเบียงทางเดิน (corridor) ป้องกันแดดฝนเวลาเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคาร หรือชม สวน เป็นการบังคับมุมมองอยู่ในแนวระดับชายคา
- รั้ว กำแพง สวนมักปิดล้อมด้วยกำแพง ทาสีขาวมีหลังคาด้านบน และยัง มีกำแพงภายในอีกชั้นเพื่อแบ่งสวนออกเป็ส่วนต่างๆ มีการเจาะช่องบน กำแพงเป็นประตู หน้าต่าง เช่น รูปผลไม้ น้ำเต้า ดอกไม้ พระจันทร์ (moon gate) และมีการเจาะช่องหน้าต่างที่กำแพงใส่ลวดลาย (tracery window) เรขาคณิตคล้ายลายพื้น เพื่อระบายอากาศ แล้วยังเป็นกรอบของภาพเวลามองจากภายในออกไปยังภายนอก
- ลวดลายพื้น (pavement) กระเบื้อง อิฐ กรวด หิน เป็นลวดลาย ละเอียด รูปร่างเรขาคณิต สีค่อนข้างเรียบ
- ศาลา (pavilion) เป็นจุดชมวิว นั่งเล่น พักผ่อน มีการจัดวาง ตำแหน่งในบรรยากาศที่เปลี่ยนไป มีการตั้งชื่อของศาลาให้ทราบถึง ความพิเศษ เช่น ศาลาชมจันทร์ ศาลาบนเกาะกลางน้ำ ศาลาในสายฝน ศาลามักจะโปร่งโล่ง มีขนาดรูปร่าง และผังที่หลากหลาย เช่น กลม หลายเหลี่ยม บางครั้งเป็นอาคารมากกว่าหนึ่งชั้น มีโต๊ะ เก้าอี้ที่เคลื่อนที่ ได้ ในสวนหนึ่งมักมีศาลามากกว่าหนึ่งหลัง โดยไม่รบกวนสายตากัน เป็นทั้งจุดเด่นและหยุดสายตาในสวน
- บ่อน้ำ และสระน้ำ เลียนแบบธรรมชาติ สะท้อนเงาสาลา เงาต้นไม้ลงใน น้ำ ปลูกไม้น้ำ เลี้ยงปลา
- หิน สัญลักษณ์ของภูเขาตัวแทนธรรมชาติที่ขาดไม่ได้ในสวนจีน
- เนินดิน (landform) การเปลี่ยนระดับ การพยายามสร้างภูมิ ประเทศที่เป็นภูเขา เป็นธรรมชาติ ประกอบกับการขุดบ่อน้ำทำให้มีดิน มาปรับพื้นที่
- สะพาน มักอยู่ส่วนที่แคบ วางตำแหน่งโดยคำนึงถึงการมองเห็นเมื่อเดิน ข้าม มีวัสดุทั้งไม้ หิน อาจเดินเป็นเส้นตรงหรือเดินซิกแซก เพื่อให้เดิน ช้าๆสามารถชมสวนไปด้วย ทิศทางการเดินที่เปลี่ยนไปจะนำสายตาไป ยังจุดที่เปลี่ยนไปด้วย
วิธีจัดองค์ประกอบ
- ลำดับการเดิน และการมองเห็นในสวน (Sequence) คำนึงถึงมุมมองจาก จุดที่หยุดนิ่ง เช่น ศาลา และจากจุดต่างๆ ที่เคลื่อนไหว ในสวน มีจุดสนใจข้างหน้า ในระยะใกล้ (Foreground) จุดสนใจในช่วงกลาง (Middle Ground) และ ฉากหลัง(Background)
- เป็นแบบสวนที่เรียกว่า Picturesque มุมหรือจุดต่างๆ ในสวน จะหมืนกับภาพเขียน หรืิอ ภาพวาด
- การสร้างกรอบ (Framing) การมองผ่านกรอบประตู หน้าต่าง
- การสร้างมุมมอง ภายในพื้นที่ที่มีจุดเด่น (Focal Point) เช่น ศาลา สะพาน บ่อน้ำ หรือ เป็นการนำจุดเด่นภายนอก (Borrowed Scenery) มาเป็นมุมมองภายในสวน