การบำรุงรักษาสนามหญ้า
หญ้า - ลักษณะทางพฤษศาสตร์
การบำรุงรักษาสนามหญ้า
สนามหญ้าในบ้านที่มีการใช้สอยในกิจกรรมต่าง ๆ ติดต่อกัน 4-5 ปี แม้จะมีการให้น้ำให้ปุ๋ยและตัดแต่งอย่างสม่ำเสมอ แต่จะสังเกตว่าหญ้าจะ
ไม่เขียวขจีดังใจ สภาพของหญ้าสนามอาจชะงักการเจริญเติบโตบางบริเวณหญ้าแตกกอน้อย หญ้าห่าง มีวัชพืชขึ้นแซม สภาพดินในสนามแน่น ปัญหา
เหล่านี้เป็นปัญหากับทุกสนามหญ้า
สนามหญ้าที่อายุการใช้สอย 4-5 ปี พอจะนับว่าเป็นสนามหญ้าเก่าได้ แต่อาจจะน้อยหรือมากกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับการวางพื้นฐานการทำสนามหญ้าใน
ครั้งแรกด้วย หากมีการวางพื้นฐานดี เช่น การเตรียมดิน การกำจัดวัชพืช การระบายน้ำ การเลือกใช้พันธุ์หญ้า สนามหญ้าก็จะยืดความเก่าออกไปอีกได้
เมื่อสนามเริ่มเก่า ความโทรมของหญ้าสนามจะปรากฏให้เห็น ถ้าไม่รีบแก้ไข ไม่ปรับปรุง สนามหญ้าในบ้านเราจะเสียหายมากขึ้น จนถึงขั้นต้อง
รื้อทำใหม่ได้ครับ
ปัญหาที่มักเกิดกับสนามหญ้าเก่าและข้อควรแก้ไข
1. หญ้าสนามตาย หรือหญ้าห่างในบริเวณร่มเงาต้นไม้ในสวน เพราะตอนที่ทำสนามหญ้าในสวนใหม่ ๆ ปัญหานี้ยังไม่เกิด เนื่องจากต้นไม้ยังไม่
โตเต็มที่ แต่ต่อมาร่มเงาของต้นไม้ก็ยิ่งมาก ทำให้หญ้าบริเวณนั้นตายหรืออ่อนแอ ไม่แน่น ควรแก้ไขดังนี้
1.1 กำหนดทรงพุ่มไม้ให้ร่มเงาให้พอเหมาะและแน่นอน ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง
1.2 เมื่อกำหนดแนวร่มเงาได้ ให้พิจารณาว่ามีแสงสว่างลอดลงมาพอที่จะปลุกหญ้าได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ขุดพื้นดิน ใส่ปุ๋ย แล้วใช้พืชคลุมดิน
ปลูกแทน เช่น กาบหอยแครง เฟิร์น ก้ามปูหลุด เศรษฐีเรือนนอก หนวดปลาดุก เป็นต้น
1.3 เปลี่ยนเป็นหญ้าที่ทนร่มในบริเวณร่มเงาไม้ใหญ่ เช่น หญ้ามาเลเซีย แต่ถ้าร่มมาก หญ้ามาเลเซียก็อยู่ไม่ได้
1.4 ใช้กรวดหรือหิน โรยคลุมโคนต้นหรือบริเวณที่ร่มเงา หรือจะดัดแปลงเป็นลายแข็งทำเป็นที่นั่งพักผ่อน
1.5 หมั่นเก็บกวาดใบไม้ที่ร่วงหล่นออกจากสนามหญ้า จะช่วยให้หญ้ารับแสงแดดมากยิ่งขึ้น
2. การเกิดชั้นเศษหญ้า ชั้นเศษหญ้าในสนามหญ้าจะเกิดจากการทับถมของราก ใบ ลำต้น และหน่อของหญ้าสนาม อันเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
2.1 ไม่ค่อยเก็บเศษหญ้าหลังตัดแล้วออกจากสนาม หรือเก็บกวาดไม่หมด นาน ๆ เข้าก็ทับถมหนาขึ้น
2.2 ตัดหญ้าไม่สม่ำเสมอ ไม่ตรงเวลา
2.3 ไม่ได้คราดชั้นเศษหญ้าออกจากสนามเลย การเกิดชั้นหญ้าสะสมในสนามหญ้าเก่าจะมีผลเสียหลายประการ เช่น เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคเป็น
ที่หลบซ่อนของแมลงศัตรูหญ้า ขัดขวางการไหลซึมของน้ำและปุ๋ย การถ่ายเทอากาศในดินไม่สะดวก สนามหญ้าไม่เรียบ เวลาตัดหญ้าด้วยรถตัดหญ้า
จะถูกตัดสั้น-ยาวไม่เท่ากัน
เพื่อป้องกันการเกิดชั้นเศษหญ้า ควรวางแผนป้องกันและแก้ไขดังนี้
1. การตัดห้า ต้องกำหนดความสูงในการตัดที่แน่นอน ตัดตามเวลาที่กำหนด ไม่ปล่อยให้หญ้ายาวมาก ๆ แล้วจึงตัด และเมื่อตัดเสร็จแล้วต้อง
เก็บกวาดเศษหญ้าออกจากสนามให้หมด
2. ต้องมีการคราดชั้นเศษหญ้าออกจากสนาม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยกดคราดให้ลึกเพื่อดึงเอาชั้นเศษหญ้า เศษใบไม้ บางครั้งก็จะติดต้น
หญ้า ไหลหญ้า และไข่แมลงขึ้นมาด้วย นำเศษหญ้าที่คราดขึ้นมาเอาไปหมักทำปุ๋ย หรือคลุมโคนต้นไม้ในสวนก็เป็นประโยชน์
การคราดชั้นเศษหญ้าออก ทำให้สนามหญ้าโปร่ง ระบายอากาศดี การคราดชั้นเศษหญ้านั้นควรทำก่อนฤดูฝนหรือต้นฤดูฝน พอเข้าหน้าฝนก็จะ
ได้รับน้ำเต็มที่ หญ้าเติบโตแตกกอได้ดี
3. ดินในสนามหญ้าแน่นทึบ การที่ดินในสนามหญ้ามีลักษณะแน่นทึบ เกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ เช่น จากการเข้าไปใช้สอยในกิจกรรมต่าง
ๆ ตลอดจนการเข้าไปเหยียบย่ำจากการเข้าไปตัดหญ้า การให้น้ำ ให้ปุ๋ย เกิดจากการรดน้ำสนามหญ้าคราวละมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือเกิด
จากสนามหญ้ามีน้ำขังติดต่อกันนานหลาย ๆ วัน เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ดินในสนามหญ้าแน่นโดยเฉพาะชั้นผิวหน้าดิน
การที่ดินในสนามหญ้าแน่น ทำให้โครงสร้างที่เหมาะสมของดินเสียไป อันจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าหลายประการ คือ
1. การถ่ายเทอากาศในดิน และระหว่างอากาศกับดินน้อยลง ทำให้อากาศในดินลดลง อากาศในที่นี้หมายถึง ก๊าซออกซิเจน ซึ่งมีความสำคัญต่อ
รากพืชทุกนิด ถ้าดินขาดก๊าซออกซิเจน รากพืชหายใจได้น้อยหรือไม่ได้ รากไม่มีพลังงานในการดูดน้ำดูดอาหาร นอกจากนี้ ก๊าซนี้ยังจำเป็นสำหรับ
จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ได้ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อพืช
2. เมื่อโครงสร้างที่เหมาะสมของดินเสียไปแม้จะให้น้ำ ให้ปุ๋ย ตามกำหนดเวลา แต่จะเป็นประโยชน์กับหญ้าสนามได้น้อยมาก เพราะรากดูด
ไปใช้ไม่ได้ตาม ข้อ 1 นอกจากนี้ การไหลซึมของน้ำและปุ๋ยก็เป็นไปได้ยาก
การแก้ไขดินแน่น ทำได้โดยการพรวนดิน แต่สนามหญ้านั้นเราพรวนด้วยวิธีทั่วไปไม่ได้ แต่จะใช้วิธีการเจาะดินสนามหญ้าให้เป็นรูลงไป โดย
จะทำหลังจากที่เราคราดเอาชั้นเศษหญ้าออกจากสนามแล้ว การเจาะสนามแบบนี้ทำได้ 2 วิธี คือ
1. เจาะเอาดินออกด้วยเหล็กกลวง เหล็กนั้นสามารถทำขึ้นใช้เอง ด้วยเหล็กแป๊ปหรือเหล็ก กลวงที่มีความแข็งแรงทั่วไป มีรูกลวงประมาณ 6 หุน
ทำปลายเหล็กให้เฉียงเป็นปากฉลาม แล้วเจาะลงพื้นให้ลึกประมาณ 3-4 นิ้ว และให้แต่ละรูห่างกันประมาณ 4-6 นิ้ว ในการเจาะแบบนี้ต้องเจาะใน
ขณะที่พื้นสนามมีความชื้นพอสมควร เพราะถ้าดินแห้งหรือแฉะเกินไป จะทำให้การเจาะและเอาเศษดินออกยาก
2. เจาะรูด้วยส้อมโดยไม่เอาดินออก ส้อมเจาะจะใช้เหล็กตันปลายแหลมขนาด 3 หุน กดเจาะลงบนพื้นสนาม ให้ความลึกและความห่างของรอย
เจาะเท่ากันกับการเจาะด้วยเหล็กกลวง แล้วโยกเหล็กเจาะซ้าย-ขวา หน้า-หลังเบา ๆ จึงดึงเหล็กขึ้น ทำได้ทั้งในขณะดินอ่อนและดินแข็ง
การเจาะดินทั้งสองวิธีนี้ เหมาะกับสนามหญ้าในสวน บริเวณบ้านที่มีพื้นที่ไม่มากนัก เพราะทำได้ไม่ยาก ถือเป็นการพรวนดิน เพิ่มอากาศให้กับ
สนามหญ้า
การแต่งผิวสนามหญ้า
เป็นขันตอนที่ต่อจากการเจาะดิน เพื่อให้สนามหญ้าราบเรียบ สม่ำเสมอ ช่วยให้หญ้าเจริญเติบโตดี แตกกอแน่น การแต่งผิวสนามหญ้ายังเพิ่ม
ความชุ่มชื้นแก่สนามหญ้า เพิ่มความสมบูรณ์แก่ดิน ทำให้หน้าดินร่วมซุยและมีโครงสร้างที่เหมาะสมขึ้น
การแต่งผิวสนามหญ้านั้น เราจะทำอยู่ 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะแรก เป็นการแต่งผิวสนามหญ้าหลังปลูกไปแล้วในช่วงปีแรก ซึ่งเป็นการปรับแต่งให้พื้นสนามหญ้ามีความสม่ำเสมอ และทำได้เรื่อย ๆ ทุกปี
การแต่งผิวสนามหญ้าลักษณะนี้ไม่ต้องมีการเจาะดินก่อน
ลักษณะที่ 2 เป็นการแต่งผิวสนามเพื่อแก้ไขปรับปรุงสนามหญ้าเก่า ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อเนื่องตามลำดับดังนี้ คือ ตัดหญ้า คราดชั้นเศษหญ้า เจาะดิน
และแต่งผิวสนามหญ้า
ขั้นตอนการแต่งผิวสนามหญ้า
1. หลังจากเจาะดินแล้ว ถ้าเป็นการเจาะที่เอาเศษดินขึ้นมา ทิ้งให้เศษดินแห้งพอสมควร กะว่าเมื่อใช้สันคราดย่อจะแตกทั่วสนาม
2. ใช้ดินผสมสำหรับแต่งผิวหว่านให้ทั่วสนามในอัตรา 2-4 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความราบเรียบหรือขรุขระเป็นหลุม
เป็นบ่อของสนาม ดินผสมที่ใช้หว่านมีส่วนผสมดังนี้
ดินร่วน 3 ส่วน
ทราย 6 ส่วน
ปุ๋ยอินทรีย์ กทม. ชนิดละเอียด 2 ส่วน หรือจะใช้ทรายหยาบ 1 ส่วน ผสมปุ๋ยอินทรีย์ กทม. ละเอียด 1 ส่วน ใช้หว่านก็ได้
3. หลังจากหว่านแล้วใช้สันคราดหรือคราดไม้หน้ากว้าง 1.50 เมตร คราดไปมา เกลี่ยแต่งผิวหน้าให้ราบเรียบ เพื่อให้ดินผสมและดินที่เจาะขึ้น
มาแทรกลงไปในรูที่เจาะไว้
4. ให้น้ำแก่สนามหญ้าทันทีด้วยการพ่นฝอยให้ชุ่ม
5. ควรหยุดการใช้สนามหญ้าชั่วครา ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วใช้ปุ๋ยยูเรียละลายน้ำ อัตรา 3-4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่ว งดใช้
สนามหญ้าในกิจกรรมหนัก ๆ ต่ออีก 2-3 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็เข้าสู่โปรแกรมการดูแลรักษาสนามหญ้าตามปกติ
หัวใจของการบำรุงรักษาสนามหญ้าเก่าเป็นการแก้ไขปัญหาองชั้นหญ้าและการอัดแน่นของพื้นสนาม ทั้งนี้ เพื่อปับปรุงให้ดินมีโครงสร้างที่เหมาะ
สม แล้วจึงให้น้ำให้ปุ๋ยตามปกติ เนื่องจากการทำสนามหญ้าทั้งใช้ประกอบสวนและรอบ ๆ บริเวณบ้านนับเป็นการลงทุนค่อนข้างมาก หากเจ้าของไม่
ดูแลรักษา แก้ไขปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ดีก็เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า เมื่อมีสนามหญ้าไว้ใช้สอยแล้ว ก็ควรจะได้ดูแลรักษาเอาไว้ให้ยาวนาน
การดูแลรักษาสนามหญ้าในสวน (1)
พื้นที่ภายในสวนที่เราจัดขึ้นจะมีส่วนที่เป็นสนามหญ้ามากน้อยแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่เท่าที่พบเห็นมักมีสนามหญ้าที่ค่อนข้างกว้างไม่ต่ำกว่า
1 ใน 3 ของพื้นที่สวนทั้งหมด ว่าไปแล้วความสวยงามของสวนโดยภาพรวมนั้น “สนามหญ้า” เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
การดูแลรักษาสนามหญ้าในสวนให้สวยงาม จึงนับเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนรับสวน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สภาพของสนามหญ้าในสวนหลาย
แห่งไม่สวยงามสมบูรณ์เท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ไม่มีเวลาดูแลรักษาให้สม่ำเสมอ ไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการดูแลรักษา ไม่
มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษา และอีกหลายคนที่คิดเพียงว่ามันก็เป็นแค่หญ้า ไม่จำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาอะไรมากนัก และเมื่อสนามหญ้าหมด
ความสวยงามก็ย่อมมีผลต่อความสวยงาม ต่อรูปแบบของสนโดยตรง
หากแต่การดูแลรักษาสนามหญ้าในสวนที่กล่าวในตอนนี้ จะเป็นการดูแลรักษาสนามหญ้าที่ตั้งตัวได้แล้ว ก็จะอยู่ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3 และ 4
หลังจากการปลูกหญ้า เพราะในช่วงนี้เราถือว่าหญ้าสนามสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้ว ระบบรากมีความสมบูรณ์พอที่จะดูดน้ำได้อย่าง
เต็มที่ ดังนั้น เมื่อหญ้าสนามที่เราปลูกที่อายุได้ 1 เดือน เราสามารถที่จะกำหนดการดูแลรักษาสนามหญ้าได้อย่างแน่นอนเลย
การดูแลรักษาสนามหญ้าในสวน มีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติอยู่ 2 ลักษณะ คือ
กิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น การให้น้ำ การตัดหญ้า การตัดแนวขอบสนามหญ้า
กิจกรรมที่ไม่ต้องทำเป็นประจำ แต่จะทำเมื่อถึงเวลาอันควร หรือเมื่อเกิดปัญหากับสนามหญ้าในสวน เช่น การปรับแต่งผิวหน้าสนามให้ราบเรียบ
การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การป้องกันโรคแมลง การแก้ไขการอัดแน่นของดิน
กิจกรรมการดูแลรักษาที่นำเสนอคราวนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำ ประการแรกคือ การให้น้ำสนามหญ้า
การให้น้ำสนามหญ้า
น้ำ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับหญ้าสนามมากเพียงแต่มีน้ำ หญ้าก็พออยู่ได้โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย จะเห็นว่า หากห้าขาดน้ำเพียง 3-4 วัน (หลังจากเริ่ม
แสดงอาการเที่ยว) หญ้าอาจตายได้ การให้น้ำจึงต้องให้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อนและแห้ง มีอุณหภูมิสูง ยิ่งต้องให้น้ำมาก
แต่การให้น้ำแก่สนามหญ้ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย เท่าที่เราทำกันมักจะอาศัยการประมาณจากความชำนาญของแต่ละคน แต่เราไม่เคย
รู้ว่า เราต้องให้น้ำในปริมาณเท่าใดกันแน่จึงจะพอดี ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและแรงงาน
ปัจจัยในการพิจารณาในการให้น้ำ
เพื่อให้เกิดการประหยัดน้ำในการดูแลสนามหญ้า ควรพิจารณาดังนี้
1. สภาพฟ้าอากาศ อันหมายถึงสภาพของความชื้นในอากาศ (หน้าหนาวความชื้นน้อย หน้าฝนความชื้นมาก) อุณหภูมิ แสงแดด ลม เพราะสิ่ง
เหล่านี้มีผลต่อการคายน้ำของหญ้าสนาม มีผลต่อการระเหยของน้ำจากผิวดิน เราจึงให้น้ำมากน้อยแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นช่วงที่มีแสงแดดจัด
อุณหภูมิย่อมสูง หรือช่วงที่มีลมพัดตลอดเวลา จะทำให้หญ้าคายน้ำมาก ต้องให้น้ำแก่สนามหญ้ามากตามไปด้วย
2. สภาพของดิน หมายถึงความสามารถในการอุ้มน้ำ (ดูดซับความชื้น) ของดิน การอุ้มน้ำนี้เป็นผลโดยตรงจากความหยาบละเอียดของเนื้อดิน
ลักษณะทางโครงสร้าง อินทรียวัตถุในดิน โดยทั่วไปแล้วจะมีเนื้อดินอยู่ 3 ชนิด คือ ดินเนื้อละเอียด จะเป็นดินที่อุ้มน้ำได้ดีแต่ระบายน้ำช้า มีผลให้
รากพืชขาดอากาศหายใจได้ ดินเนื้อปานกลาง มักเป็นดินที่ใช้ปลูกหญ้า เพราะมีลักษณะที่เหมาะสมหลายประการ และดินเนื้อหยาบ จะเป็นดินที่ดูด
ซับน้ำไว้ได้น้อยกว่าเนื้อดินประเภท อื่น ๆ ที่กล่าวมา
การให้น้ำแก่สนามหญ้าที่มีเนื้อดินต่างกันก็ต้องให้มากน้อยต่างกันด้วย เพราะความสามารถในการอุ้มน้ำแตกต่างกัน นักวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้
เสนอไว้ว่า
เนื้อดินหยาบ (ดินทราย,ร่วนปนทราย) สามารถอุ้มน้ำในเขตรากพืช 1.0 มิลลิเมตร ต่อดินลึก 1 เซนติเมตร
เนื้อดินปานกลาง (ดินร่วน) สามารถอุ้มน้ำในเขตรากพืช 1.3 มิลลิเมตร ต่อดินลึก 1 เซนติเมตร
เนื้อดินละเอียด (ดินเหนียว) สามารถอุ้มน้ำในเขตรากพืช 1.6 มิลลิเมตร ต่อดินลึก 1 เซนติเมตร และดินที่เราปลูกหญ้านั้นส่วนใหญ่จะเตรียม
ให้มีหน้าดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ทั้งนี้เพราะรากหญ้าจะอยู่ในช่วงประมาณ 30 เซนติเมตร โดยเฉพาะหญ้านวลน้อยและหญ้าญี่ปุ่น ดังนั้น
เราสามารถรู้ได้ว่า การอุ้มน้ำขอดินในสวนของเราเป็นเท่าใด เช่น ถ้าเป็นดินเนื้อปานกลางและมีหน้าดินลึก 30 เซนติเมตร ดินชนิดนี้สามารถอุ้มน้ำไว้
ประมาณ 39.0 มิลลิเมตร (1.3x30) ถ้าสนามหญ้ามีพื้นที่ 100 ตารางเมตร (39.0x100) ดินจะสามารถอุ้มน้ำไว้ได้ 3,900 ลิตรต่อพื้นที่ 100
ตารางเมตร (3.90 ลูกบาศก์ลิตร) ถ้าเราให้น้ำมากกว่านี้ ดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ กลายเป็นน้ำไหลทิ้งไป
แต่ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ว่าเราต้องให้น้ำเท่านี้ การจะให้เท่าใดนั้น เราต้องทราบว่าหญ้าใช้น้ำวันละเท่าใด ซึ่งเรื่องนี้ออกจะยืดยาวอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ยากถ้า
เราเข้าใจ
เราพบว่าหญ้าจะใช้น้ำประมาณ 5-7 มิลลิเมตรต่อวัน หรือ 5-7 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรต่อวัน ดังนั้น ถ้าสนามหญ้ามีพื้นที่ 100 ตาราง
เมตร ก็จะใช้น้ำประมาณวันละ 500-700 ลิตร (0.5-0.7 ลูกบาศก์ลิตร) เราจะรดน้ำให้สนามหญ้าทุกวัน วันละ 500-700 ลิตรก็ได้ แต่ถ้าเราให้น้ำ
สนามหญ้าเต็มที่คือ 3,900 ลิตร หญ้าก็จะใช้ไปได้ 5-7 วัน
อย่างไรก็ตาม ยังมีเงื่อนไขอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการให้น้ำแก่หญ้า ได้แก่
- ประสิทธิภาพในการให้น้ำ ว่าเราสามารถให้น้ำได้ทั่วถึงและเต็มที่พอดีกับการอุ้มน้ำของดินได้หรือไม่
- โดยส่วนใหญ่แล้ว เราจะไม่ปล่อยให้หญ้าใช้น้ำในดินจนหมดตามความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน แต่จะคิดเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น เช่น ถ้าดิน
อุ้มไว้ได้ 3,900 ลิตร ก็ปล่อยให้หญ้าใช้น้ำเพียง 1,950 ลิตร ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ต้องให้น้ำ 2-4 วันต่อครั้ง ครั้งละประมาณ 1,950 ลิตร (1.95
ลูกบาศก์ลิตร) ต่อพื้นที่ 100 ตารางเมตร
3. ชนิดของหญ้าสนาม หญ้าสนามที่มีใบใหญ่ ลำต้นอวบอ้วน อย่างหญ้ามาเลเซีย จะต้องการน้ำมากกว่าหญ้าที่มีใบเล็ก รากลึก อย่างหญ้า
นวลน้อย
เวลาในการรดน้ำ
ที่จริงแล้วเราสามารถรดน้ำให้สนามหญ้าได้ทั้งกลางวันและกลางคืน หากว่าสภาพของสนามหญ้าสามารถดูดซับและระบายน้ำในส่วนที่เหลือทิ้งได้
แต่เวลาที่เหมาะสมนั้นควรต้องพิจารณาดังนี้
1. ควรเป็นช่วงที่แดดไม่ร้อนจัด แต่สำหรับหญ้าที่ปลูกใหม่ เราสามารถให้น้ำได้ในช่วงที่แดดร้อน เพื่อช่วยลดอุณหภูมิแก่พื้นดินและใบหญ้าจะ
ช่วยให้หญ้าปรุงอาหารได้ดีขึ้น รากแผ่ขยายมากขึ้น
2. ถ้ารดน้ำโดยการใช้ระบบหัวสปริงเกลอร์ ไม่ควรรดตอนลมแรง เพราะน้ำจะปลิวไปในทิศทางที่ไม่ต้องการ
3. ควรรดน้ำสนามหญ้าก่อนจะใช้สนามเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ หรือก่อนตัดหญ้าอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
4. ควรรดน้ำสนามหญ้าก่อนที่จะฉีดพ่นยา เพื่อกำจัดศัตรูพืชประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพราะถ้ารดน้ำหลังจากฉีดพ่นยา น้ำจะชะล้างยาไปด้วย
5. เวลาเช้าตรู่ถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการรดน้ำมากที่สุด เพราะในช่วงเช้าถึงก่อนเที่ยงนั้น เป็นช่วงที่หญ้าปรุงอาหารได้ดีที่สุด และแสงในช่วง
ของวันจะทำให้ผิวสนามหญ้าแห้งก่อนค่ำ ไม่ทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดโรค
6. การให้น้ำในตอนเย็นก็เป็นช่วงที่เหมาะสมอีกช่วงหนึ่ง เพราะเป็นช่วงหลังจากที่ราใช้สนามหญ้ามาทั้งวัน และเมื่อให้น้ำในตอนเย็น หญ้าจะไม่
ถูกเหยียบย่ำอีกในตอนกลางคืน แต่ทั้งนี้เราต้องคำนึงว่า ถ้าดินของสนามหญ้าแน่นทึบ ระบายน้ำยาก อับลม ก็อาจทำให้เกิดโรคระบาดในสนามหญ้าเรา
ได้ โดยทั่วไป เราจะกะว่าเมื่อให้น้ำสนามหญ้าไปแล้ว สนามหญ้าควรจะแห้งก่อนมืด ดังนั้น ในเวลา 3 โมงเย็นก็เริ่มรดน้ำแก่สนามหญ้าได้แล้ว
วิธีการรดน้ำในสนามหญ้า
ในสวนหย่อม วิธีที่ดีและนิยมคือ การรดน้ำแบบพ่นฝอยโดยใช้สายยาง หรือจะต่อท่อถาวรติดหัวสปริงเกลอร์ตามจุดที่กำหนด สำหรับผมแล้วเห็น
ว่าถ้าเป็นสวนหย่อมในบ้านที่มีพื้นที่ไม่มากนักควรใช้สายยางฉีดพ่นด้วยแรงคนจะดีกว่า เพราะสามารถรดน้ำได้ทุกจุดที่เราต้องการ
แต่ถ้าใช้สายยางแล้วติดหัวสปริงเกลอร์ควรเลือกใช้สายยางที่มีสี เช่น สีเขียว สีแดง สีดำ จะดีกว่าสายยางที่ไม่มีสี (สีใส) เพราะสายยางที่ใสนั้น
แสงจะผ่านได้ ทำให้เกิดตะไคร่น้ำภายในสายยาง หัวสปริงเกลอร์จะอุดตันได้ง่าย
สายยางนั้นเมื่อเลิกใช้แล้วควรเก็บให้ดี อย่าทิ้งตากแดดไว้ในสนาม เพราะเมื่อสายยางร้อนจะทำให้หญ้าสนามเป็นรอยด่างไปด้วย ในปัจจุบันมีผู้
ผลิตสายยางการให้น้ำสนามหญ้าที่ติดกับล้อเลื่อนสะดวกในการใช้และการเก็บ อีกประการหนึ่ง ก่อนจะใช้สายยางให้น้ำ ถ้าน้ำที่เหลือในสายยางร้อนก็ให้
ถ่ายน้ำทิ้งไปก่อน จนน้ำเย็นปกติจึงรดให้แก่สนามหญ้า
หลักการรดน้ำสนามหญ้า
การรดน้ำสนามหญ้าในแต่ละครั้ง มีแนวทางที่ควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรรดน้ำแต่ละครั้งให้มากพอ อย่างน้อยต้องมั่นใจว่า น้ำที่รดซึมลงไปในดินได้ไม่ต่ำกว่า 1-2 นิ้ว อย่ารดน้ำน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง แต่จะมาก
ขาดไหนก็ให้พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพฟ้าอากาศ ลักษณะของดิน ชนิดของหญ้าสนาม เป็นต้น
2. อย่ารดน้ำให้บ่อยเกินไป เพราะนอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองแล้ว ยังเป็นการชะล้างธาตุอาหารในดิน ทำให้ดินแน่นเร็วขึ้น และยังเกิดโรคระบาด
ได้ง่ายอีกด้วย
3. ไม่ควรให้น้ำครั้งละน้อย ๆ และซึมเพียงผิวดินตื้น ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้รากหญ้าเจริญอยู่ในระดับตื้น ทำให้หญ้าอ่อนแอ
หาอาหารได้น้อย และมักขาดน้ำได้ง่าย
4. ในแต่ละจุดหรือแต่ละบริเวณควรรดน้ำอย่างช้า ๆ เพื่อให้น้ำซึมลงไปได้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในที่ลาดชนและบริเวณขอบสนาม ซึ่งมักพบ
ว่าเป็นบริเวณที่ขาดน้ำบ่อย ๆ
5. ควรรดน้ำสนามหญ้าทันทีเมื่อพบอาการของหญ้าดังนี้
5.1 เมื่อเหยียบลงบนหญ้าแล้ว หญ้าฟื้นตัวหรือดีดกลับช้า
5.2 เมื่อพบว่าพื้นผิวดินและผิวสนามหญ้าแห้งติดต่อกันนาน
5.3 เมื่อหญ้าเริ่มมีสีหม่น ไม่เขียวสดใส ขอบใบเริ่มม้วนเข้าหากัน แต่เราจะไม่ปล่อยให้หญ้าแสดงอาการขาดน้ำเกิดขึ้นบ่อย ๆ หญ้าจะอ่อนแอ
ดังนั้น คำถามที่ว่า กี่วันจึงรดน้ำสนามหญ้าเป็นคำถามที่ตอบไม่ยากเลย หากเราสังเกต รู้หลักการและปัจจัยในการพิจารณาให้น้ำ การได้
พิจารณาให้น้ำตามหลักแล้ว ทำให้เราสามารถประหยัดน้ำได้มาก
คุณภาพของน้ำที่ใช้รดสนามหญ้า
ปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ อาจมีเฉพาะบางพื้นที่ ส่วนใหญ่ปัญหาเรื่องน้ำที่พบคือ
1. ปัญหาเรื่องความขุ่น อันเนื่องมาจากมีอนุภาคของดินปนมา เมื่อให้น้ำสนามหญ้าแล้วขุ่นก็จะติดอยู่ที่ผิวใบของหญ้า ทำให้หญ้าไม่สวยงาม
และขัดขวางการปรุงอาหารของหญ้าด้วย หากใช้หัวสปริงเกลอร์ก็เกิดการอุดตันได้ง่าย
2. ปัญหาเรื่องความเค็มของน้ำอันเนื่องมาจากมีเกลือผสมอยู่ ซึ่งจะเป็นเกลือโซเดียม ปัญหานี้จะพบมากในภาคอีสานและจังหวัดที่มีดินเค็ม การ
ใช้น้ำที่มีความเค็มแม้จะเค็มเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีผลให้รากพืชดูดน้ำดูดอาหารได้น้อยลง ทำให้การสลายตัวของธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่
เกิดประโยชน์ต่อพืช
ส่วนใหญ่จะสามารถใช้กับน้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล หรือจากแหล่งธรรมชาติอื่น ๆ ได้ถ้าไม่มีปัญหา 2 ประการที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม
หากใช้น้ำจากแหล่งใดแล้วหญ้าสนามมีอาการผิดปกติ เช่น เหลืองซีด ใบไหม้ ก็ควรหยุดใช้และเปลี่ยนไปใช้น้ำจากแหล่งอื่นทันที
การดูแลรักษาสนามหญ้าในสวน (2)
งานประจำอีกงานหนึ่งในการดูแลรักษาสนามหญ้าในสวนคือ การตัดหญ้า นับเป็นการปฏิบัติบำรุงรักษาที่สำคัญมาก สนามหญ้าที่ตัดไม่ถูกวิธี
หรือตัดไม่ตรงเวลา นอกจากขาดความสมบูรณ์สวยงามแล้ว ยังทำให้สนามหญ้าโทรมเร็ว
การตัดหญ้าที่ถูกวิธี ทำให้สนามหญ้ามีความสม่ำเสมอ เป็นระเบียบสวยงาม แตกกอแน่นแข็งแรง มีผลให้รากหญ้าไปทางด้านข้างและทางลึก
ได้มากแม้ว่าเป็นการตัดหญ้าที่ถูกวิธี ก็ยังเป็นการทำอันตรายแก่หญ้าเช่นเดียวกัน ดังนั้น จะเกิดอันตรายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นหากตัดห้าไม่ถูกวิธี เพราะ
การตัดหญ้าเป็นการตัดส่วนที่เจริญเติบโต ส่วนที่สร้างอาหารออกไป การตัดหญ้าจึงทำให้หญ้าชะงักการเจริญเติบโต การสร้างอาหารในช่วงแรกก็ลดลง
แต่ขณะเดียวกัน รอยแผลที่ตัดทำให้หญ้ามีการคายน้ำมากขึ้น ในช่วงการตัดหญ้าใหม่ ๆ หญ้าจึงอ่อนแอ พร้อมที่จะถูกจู่โจมจากโรค แมลง และวัชพืช
แต่ถ้ามีการตัดหญ้าด้วยความระมัดระวังถูกวิธี จะทำให้สนามหญ้าสวยงามยืนยาว เบาแรง และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในอนาคต
ความสูงและความถี่ในการตัดหญ้า
ทั้งสองประการนี้ เป็นตัวกำหนดคุณภาพของการตัดหญ้าสนาม และว่าไปแล้ว เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของหญ้า วัตถุ
ประสงค์ในการใช้สนามหญ้า สำหรับรายละเอียดในเรื่องนี้ผมจะกล่าวเฉพาะสนามหญ้าในสวนบริเวณบ้านพักอาศัย ซึ่งทั่วไปแล้ว สนามหญ้าในบ้านจะ
ใช้หญ้าสนามอยู่เพียง 3 ชนิดเท่านั้น คือ หญ้านวลน้อย หญ้าญี่ปุ่น และหญ้ามาเลเซีย นอกจากนี้ก็อาจมีหญ้าแพรกลูกผสม หญ้านวลจันทร์ แต่ไม่นับ
ว่าแพร่หลาย
หญ้าทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมา สำหรับประเทศเขตร้อนอย่างไทย มีการเจริญเติบโตเร็ว ไม่มีช่วงฤดูที่พักตัวอย่างชัดเจน แม้จะมีฤดูหนาวบ้างแต่ก็ไม่
มีผลอะไรมากนัก ความสูงของหญ้าสำหรับสนามในบริเวณบ้าน ควรตัดให้สูงจากพื้นดินตั้งแต่ ½ ถึง 1 ½ นิ้ว แต่การพิจารณาว่าจะตัดให้สูงจากพื้น
จริง ๆ เท่าใดนั้น ให้พิจารณาดังนี้
การตัดให้เหลือความสูง ½ นิ้ว เหมาะกับสนามหญ้าที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ อยู่ในช่วงฤดูฝน เป็นสนามหญ้าที่ไม่ค่อยได้รับการเหยียบย่ำ ใช้กับ
หญ้าสนามที่ใบเล็ก ข้อสั้น เช่น หญ้านวลน้อย หญ้าญี่ปุ่น หญ้ากำมะหยี่ เราเรียกการตัดหญ้าแบบนี้ว่าเป็นการตัดต่ำ
การตัดหญ้าให้เหลือความสูง 1 ½ นิ้ว เป็นการตัดหญ้าค่อนข้างสูง เหมาะกับหญ้าใบใหญ่ข้อยาว เช่น หญ้ามาเลเซีย แต่ก็ใช้กับหญ้านวลน้อย
และหญ้าญี่ปุ่นได้ โดยเฉพาะการตัดใบช่วงฤดูหนาว เป็นการตัดที่เหมาะกับสนามหญ้าที่มีการใช้สอยบ่อย เหยียบย่ำมาก เพราะการตัดหญ้าให้สูงอย่างนี้
ทำให้ระบบรากหญ้าแข็งแรง หญ้าทนทานมากกว่าตัดแบบแรก
การตัดหญ้าให้เหลือความสูง 1 นิ้ว เป็นการตัดที่ความสูงมาตรฐานทั่วไป สำหรับสนามหญ้าในบ้านเหมาะกับหญ้าทั้ง 3 ชนิดในทุกฤดูกาลอีก
ด้วย ว่าไปแล้วเรื่องฤดูกาลนั้นไม่ค่อยมีผลอะไรมากนักหากเรามีการให้น้ำ ให้ปุ๋ย และดูแลรักษาสม่ำเสมอประการสำคัญ ในเรื่องความสูงของหญ้านั้น
ควรกำหนดไว้ตายตัวตลอดไป ไม่ควรเปลี่ยนบ่อย ๆ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ประกอบด้วย คือ
1. การดูแลรักษาด้านอื่น ๆ ต้องสม่ำเสมอ เช่น การให้น้ำ ให้ปุ๋ย
2. ความถี่ในการตัดหญ้า นับเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก การที่เราตัดหญ้าให้เหลือความสูง ½ ถึง 1 ½ นิ้ว นั้น ไม่ใช่ว่าจะปล่อยให้หญ้าสนามยาว
มาก ๆ หรือปล่อยไว้เดือนสองเดือนแล้วค่อยตัดเสียครั้งหนึ่ง หากแต่ว่าถ้าจะตัดให้เหลือเพียง 1 นิ้ว ก็ควรต้องตัดทุก ๆ สัปดาห์หรือไม่ควรเกิน 10
วันต่อครั้ง การตัดในระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้จะเป็นการตัดเฉพาะส่วนองใบยอดทิ้งไปเล็กน้อยเท่านั้น ใบของหญ้าส่วนใหญ่ยังติดอยู่กับต้น ทำให้หญ้า
สนามเขียวขจีอยู่ตลอดเวลา การใช้แรงงาน งบประมาณ และความเสื่อมของรถตัดหญ้าก็น้อยลง แต่ถ้าปล่อยให้นานกว่านี้ หญ้าจะยาวมากหากจะตัดให้
เหลือเพียง 1 นิ้วท้นที จะทำให้ส่วนของหญ้าที่ถูกตัดทิ้งไปมาก หญ้าจะเหลือแต่ลำต้นอ่อนแอ สนามหญ้าดูเป็นสีน้ำตาล เพราะใบไม่มีปรุงอาหารได้
น้อย โรคและวัชพืชแทรกได้ง่าย หญ้าเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ
การตัดหญ้านาน ๆ ครั้ง ต้องใช้แรงงานมากเครื่องตัดเสื่อมเร็ว เศษห้าทับถมมาก ทำให้การระบาน้ำ ระบายอากาศเสียไป
ทิศทางการตัดหญ้า
เรื่องทิศทางการตัดหญ้าสนามในบ้านนั้น มีความสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1. ทิศทางที่ตัดในกรณีที่เครื่องตัดหญ้าไม่มีถุงเก็บเศษหญ้า ต้องให้เศษหญ้าพุ่งออกจากเครื่องตัดไปยังบริเวณที่ตัดหญ้าแล้วอย่าให้พุ่งไปทับกับ
บริเวณหญ้าสนามที่ยังไม่ได้ตัด จะทำให้กินแรงเครื่องตัดหญ้า และคุณภาพการตัดไม่ดี
โดยธรรมดาเศษหญ้าจะพุ่งออกทางด้านขวาของเครื่องตัด ดังนั้น การตัดหญ้าจึงเวียนขวาหรือวนตามเข็มนาฬิกา โดยเริ่มตัดจากตรงกลางของ
สนาม (ดังรูป) เศษหญ้าจะพุ่งไปยังบริเวณที่ตัดแล้วการตัดหญ้าสนามจะง่ายและรวดเร็วขึ้น
2. การตัดหญ้าในทิศทางเดียวกันติดต่อกนในระยะเวลานาน ๆ ทำให้หญ้าเอนลู่ไปทางเดียว ซึ่งนอกจากดูไม่สวยงามแล้วยังมีผลทำให้หญ้าสนาม
เจริญเติบโตไม่ดีอีกด้วย จึงต้องมีการสลับทิศทางการตัดหญ้าสนามบ้าง เช่น จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก จากทิศเหนือไปทิศใต้ สลับกันไปทุก ๆ
1-2 เดือน เป็นต้น
เครื่องตัดหญ้า
เครื่องตัดหญ้ามีมากมายหลายแบบ และสำหรับสนามหญ้าภายในบ้านก็มีให้เลือกอยู่หลายแบบหลายราคา เจ้าของควรจะได้พิจารณาให้เหมาะสม
กับขนาดของสนามหญ้าของตน เครื่องตัดหญ้าที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ประเภท ซึ่งแบ่งตามลักษณะของใบมีด คือ
1. เครื่องตัดหญ้าแบบใบมีดม้วน ใบมีดจะเป็นโครงการวงกลม (รูปทรงกระบอก) ใบมีดจะหมุนไปข้างหน้า มีใบมีดอยู่หลายใบ เช่น 3 ใบ 5 ใบ
หรือ 7 ใบ ยิ่งมากใบก็มีประสิทธิภาพในการตัดมากยิ่งขึ้น เครื่องตัดหญ้าประเภทนี้ตัดหญ้าได้สั้นมาก เหมาะกับหญ้าสนามที่มีใบละเอียด ไม่ยาวเกิน
ไป เป็นสนามหญ้าที่มีโปรแกรมการตัดที่สม่ำเสมอ เครื่องตัดนี้มีทั้งที่ใช้เครื่องยนต์ ใช้ไฟฟ้า และใช้แรงคน
2. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัด ใบมีดจะหมุนรอบตัวขนานกับพื้นสนาม คล้ายกับใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ เป็นเครื่องที่มีใบมีดแข็งแรง ถอดลับได้
สะดวก ปรับให้ต่ำสุดได้ไม่เกิน 1 นิ้ว จึงเหมาะกับหญ้าสนามที่ตัดสั้นไม่เกิน 1 นิ้ว เป็นเครื่องที่นิยมใช้กับสนามหญ้าทั่วไปทั้งที่ยาวและแข็ง จึงได้
รับความนิยมกันทั่วไป แต่เครื่องนี้มีข้อระวังในการใช้คือ ต้องลับใบมีดให้คมอยู่เสมอ จะทำให้แผลของหญ้าไม่ขาดวิ่น และต้องระวังใบมีดจะหมุนดีด
เอาเศษหิน อิฐ ไม้ กระเด็นออกมาทำอันตรายคนข้างเคียง เครื่องประเภทนี้มีทั้งที่ใช้เครื่องยนต์และใช้ไฟฟ้า
ในความเห็นส่วนตัวแล้ว ผู้ที่จัดสวนหรือมีสนามหญ้าไว้ในบ้าน ตั้งแต่ 50 ตารางวาขึ้นไป ควรจัดหารถตัดหญ้าไว้ประจำบ้านด้วย ยกเว้นใน
กรณีที่มีการว่าจ้างผู้ให้บริการด้านนี้ แต่ถ้าไม่ได้จ้างใคร อย่างน้อยก็ควรมีรถตัดหญ้าแบบใช้แรงคนก็ยังดี แต่ถ้ามีสนามที่ค่อนข้างกว้างและต้องการซื้อ
รถตัดหญ้าที่ทนทาน ใช้งานคุ้ม ราคาไม่แพงนักควรเลือกเครื่องตัดชนิดใบพัด และใช้เครื่องยนต์ขนาดใบมีดกว้างสัก 12-14 นิ้ว ตั้งแต่กำลังของ
เครื่อง 3.5 แรงม้าขึ้นไป จะดีกว่าใช้ไฟฟ้า เพราะไม่ค่อยทนทานนัก
หากหมั่นดูแลตรวจเครื่องยนต์ตามคู่มือการใช้เครื่อง รับรองว่า 10 ปียังใช้ได้
หลักการตัดหญ้า
การตัดหญ้าที่ว่ามาทั้งหมดนั้น เป็นหลักทั่วไปที่คนมีสวนควรทราบไว้เป็นหลักในการปฏิบัติดูแลรักษาสวน แต่หลักการตัดหญ้าที่จะกล่าวนี้เป็น
หลักที่ควรคำนึงในการตัดหญ้าในทุก ๆ ครั้ง
1. หญ้าสนามตัดได้ครั้งแรกหลังจากปลูก (เต็มแผ่น) ไปแล้วภายใน 2-3 สัปดาห์ เพื่อสร้างความสม่ำเสมอให้เกิดขึ้นกับสนามหญ้า โดยตัดให้สูง
จากพื้นประมาณ 1 ½ ถึง 2 นิ้ว เมื่อผ่านเดือนแรกก็ค่อยลดความสูงลงให้เหลือ 1 นิ้ว แล้วจึงกำหนดระยะเวลาในการตัดที่สม่ำเสมอต่อไป
2. ต้องตัดหญ้าในขณะที่พื้นสนามหญ้าแห้งไม่เปียกแฉะ หากเป็นไปได้ควรรดน้ำแก่หญ้าสนามก่อนตัดล่วงหน้า 1 วัน หญ้าจะอวบ ตัดง่าย
3. หลังตัดหญ้าเสร็จ ต้องคราดเศษหญ้าออกจากสนามหญ้าทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเกิดปัญหากับสนามหญ้าภาหลังมาก เช่น ทำให้เกิดการสะสม
ของชั้นหญ้า เกิดการเน่าและชักนำการเกิดโรค เป็นที่หลบซ่อนของแมลง ขัดขวางการปรุงอาหารของหญ้าสนาม
4. ตรวจเครื่องตัดหญ้าให้อยู่ในสภาพดีทุกครั้งก่อนตัด ทั้งความคมของใบมีด และการตั้งระยะความสูง
5. เก็บเศษวัสดุต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายในขณะตัดหญ้า เช่น หิน อิฐ ไม้ เศษพลาสติก
6. เดินเครื่องตัดหญ้าด้วยความเร็วคงที่สม่ำเสมอ จะเร็วหรือช้าขนาดไหน สังเกตดูจากการขาดของหญ้า ถ้าหญ้าขาดไม่สม่ำเสมอแสดงว่าเดินตัด
เร็วไป ในขณะที่รอบเครื่องหมุนช้า จะต้องปรับให้พอดีกัน
7. เดินรถตัดหญ้าในแต่ละแถตัดให้เหลื่อมกันเล็กน้อย จะทำให้ตัดหญ้าได้หมดและสม่ำเสมอ
8. ต้องกำหนดเวลาตัดหญ้าให้ตรงเวลาเสมอ เช่น ตัดทุกวันที่ 10 วันที่ 20 และวันที่ 30 ของทุกเดือน จะได้ไม่หลงลืม การตัดหญ้าที่ตรง
เวลาจะทำให้หญ้าไม่อ่อนแอหลังตัด
9. หากได้ปล่อยให้หญ้าสนามยาวมาก ๆ ก็ไม่ควรตัดให้สั้นตามความสูงที่กำหนดในคราวเดียว ควรค่อย ๆ ตัดให้สั้นลงตามส่วนไปเรื่อย ๆ จนได้
ความสูงที่ต้องการ โดยทั่วไปถือหลักการว่าควรตัดหญ้าออกไม่เกิน 1 ใน 3 ของความยาวหญ้าทั้งหมด เช่น ถ้าหญ้าสนามถูกปล่อยไว้จนยาว 4 นิ้ว
ครั้งแรกต้องตัดออกไปประมาณ 1 ½ นิ้ว ให้เหลือความยาไว้ 2 ½ นิ้ว ตัดคราวต่อไปก็ให้สั้นลงไปอีก 1 ใน 3 ส่วน จนได้ระยะตามที่ต้องการ
การให้ปุ๋ยสนามหญ้า
คงมีหลายคนที่คิดไม่ถึงหรืออาจไม่เคยคิดว่าหญ้าจะต้องการปุ๋ย และมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยให้กับสนามหญ้า มักคิดว่าต้นหญ้าเล็ก ๆ เหล่า
นั้นคงได้รับธาตุอาหารต่าง ๆ จากดินอย่างเพียงพอแล้ว
ความจริงแล้วหญ้าสนามก็ต้องการปุ๋ยเช่นเดียวกับพืชพรรณอื่น ๆ โดยเฉพาะสนามหญ้าที่ได้รับการตัดให้สั้นอยู่เสมอ ทั้งนี้ เพราะการตัดหญ้าก็
เป็นการทำลายหญ้า ทำลายอาหารที่หญ้าสร้างขึ้นโดยตรงด้วยเช่นกัน
ปุ๋ยที่นิยมใช้กับสนามหญ้า จะเป็นปุ๋ยเคมีมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ เพราะสามารถใช้ได้สะดวกรวดเร็ว ปุ๋ยเคมีในปัจจุบันผู้ผลิตได้ผลิตออกมามากมาย
หลายเกรดด้วยกัน เช่น 10-6-4 , 6-12-12 , 15-15-15 , 20-5-5 บางทีเราเรียกตัวเลขของเกรดปุ๋ยว่า สูตรปุ๋ย ซึ่งผู้ผลิตจะต้องแจ้งไว้
ข้างกระสอบปุ๋ย โดยจะเขียนเรียงลำดับของธาตุอาหารพืชคือ ธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K)
สำหรับสนามหญ้าในบ้าน ควรเลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ตัวดังกล่าว ซึ่งถือเป็นธาตุอาหารหลัก และในธาตุอาหาร 3 ตัวที่ว่านี้ ธาตุ
ไนโตรเจนจะมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของหญ้ามากที่สุด เพราะหญ้าจะนำไปบำรุงใบให้เขียวขจีอยู่ตลอดไป หญ้าที่ขาดธาตุไนโตรเจนจะแสดง
อาการเหลือง ซีด บอบบาง โตช้า ส่วนธาตุฟอสฟอรัสก็มีความสำคัญต่อหญ้าเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ยังอ่อนอยู่ เพราะธาตุฟอสฟอรัสจะส่ง
เสริมการเจริญเติบโตของราก สร้างความแข็งแรงแก่รากหญ้า หญ้าที่ขาดฟอสฟอรัสใบจะออกสีชมพู สีแดง ลักษณะใบม้วน มักเกิดกับหญ้าต้นอ่อน
มากกว่าต้นแก่
ธาตุโพแทสเซียม เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อหญ้ารองจากธาตุไนโตรเจน เป็นธาตุที่ช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์แสง สร้างความต้านทานโรค ทำ
ให้หญ้าทนทานต่ออากาศหนาว หญ้าที่ขาดธาตุโพแทสเซียม ใบจะมีสีออกน้ำตาล แคระแกร็น
ใน 3 ธาตุอาหารหลักที่กล่าวมา หญ้าต้องการธาตุไนโตรเจนมากที่สุด รองลงมาคือโพแทสเซียม และฟอสฟอรัส ตามลำดับ ดังนั้น เมื่อจะให้ปุ๋ย
แก่สนามหญ้า จึงต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความต้องการของหญ้าด้วย
แต่ในความเป็นจริง หญ้าสนามยังต้องการธาตุอาหารอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งเราเรียกธาตุอาหารพวกนั้นว่า ธาตุอาหารรอง และ ธาตุอาหารเสริม แต่
ส่วนใหญ่ธาตุอาหารเหล่านี้จะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ในดินและหญ้าก็ต้องการเพียงส่วนน้อย จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใส่เพิ่ม
จากที่กล่าวมา เมื่อเราจะเลือกซื้อปุ๋ย จึงควรเลือกซื้อปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ธาตุ เพื่อที่เราจะได้ใช้กับต้นไม้อื่น ๆ ในสวนของเราด้วย อีก
ประการหนึ่ง ถ้าให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนเพียงอย่างเดียวแก่หญ้าสนาม จะทำให้หญ้ามีความต้านทานโรคต่ำลงได้ ปุ๋ยที่ผมขอแนะนำสำหรับผู้มีสวน
ประดับบ้าน คือปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตร 12-6-6 หรือสูตร 20-5-5 สูตรใดสูตรหนึ่ง (หรือปุ๋ยสูตรสมบูรณ์อื่น ๆ ที่มีธาตุครบทั้ง 3 ธาตุก็ได้)
และปุ๋ยยูเรีย ซึ่งเป็นปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนอย่างเดียงถึงร้อยละ 45 เพราะปุ๋ยยูเรียก็มีความจำเป็นสำหรับหญ้าสนามมากเช่นกัน โดยเฉพาะหญ้าสนามที่
ปลูกใหม่ ควรใช้ปุ๋ยยูเรียเร่งการเจริญเติบโตด้วยการละลายน้ำรดจาง ๆ ทุก ๆ 15-30 วัน จนหญ้าตั้งตัวแตกกอดีแล้ว ประมาณ 3-4 เดือน ก็จะเริ่ม
ให้ปุ๋ยสูตรสมบูรณ์ต่อไป นอกจากนี้ ปุ๋ยยูเรียยังสามารถใช้เร่งการฟื้นตัวของหญ้าจากการใช้สอยสนามหญ้าที่มากเกินไปได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากหญ้าสนามต้องการธาตุไนโตรเจนสูงกว่าธาตุอื่น ๆ ดังนั้น เมื่อต้องการหาปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้สนามหญ้าแต่ละครั้ง เราจะพิจารณาจาก
ปริมาณของธาตุไนโตรเจนเป็นสำคัญ อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ตอนก่อน ๆ ว่าหญ้าสนามที่นิยมใช้กนมากในการจัดสวนบ้านเรามี 3 ชนิด คือ หญ้า
นวลน้อย หญ้าญี่ปุ่น และหญ้ามาเลเซีย ซึ่งความต้องการปุ๋ยของหญ้าทั้ง 3 ชนิดนี้ใกล้เคียงกันมากคือ ในพื้นที่ 100 ตารางเมตร จะต้องการธาตุ
ไนโตรเจน 0.25 กิโลกรัมต่อเดือน หากเราคิดง่าย ๆ ว่าสนามหญ้า 100 ตารางเมตร เราจะใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครั้งละครึ่งกิโลกรัมทุก ๆ 2 เดือน
แต่ปุ๋ยที่เราเลือกซื้อได้ในท้องตลาด จะมีสูตรปุ๋ยที่ต่างกันมากมาย และปุ๋ยแต่ละสูตรนั้นทำอย่างไรเราจึงจะรู้ได้ว่ามีธาตุไนโตรเจนอยู่จริง ๆ เท่าใด
และจะต้อใส่ให้หญ้าในปริมาณเท่าไรจึงจะเพียงพอกับความต้องการของหญ้า เพราะถ้าเราใส่มากเกินไป นอกจากจะทำให้สิ้นเปลืองแล้ว ยังเป็นผลเสีย
ที่กระทบต่อดินและต่อการเจริญเติบโตของหญ้าด้วย
การคิดหาปริมาณปุ๋ยสำหรับสนามหญ้าในเรื่องเหล่านี้นั้น เราต้องเข้าใจในตัวเลขของสูตรปุ๋ยที่เขียนไว้ข้างกระสอบก่อน ตัวเลขที่เขียนบอกไว้จะ
เป็นตัวบอกค่าร้อยละของธาตุอาหารโดยน้ำหนัก เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หมายความว่า ในจำนวนปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม จะมีธาตุไนโตรเจนอยู่ 15
กิโลกรัม มีธาตุฟอสฟอรัส 15 กิโลกรัม และมีธาตุโพแทสเซียม 15 กิโลกรัมเช่นกัน ดังนั้นในปุ๋ยที่หนัก 100 กิโลกรัม จะมีธาตุอาหารที่เป็น
ประโยชน์ต่อพืชแท้จริงเพียง 45 กิโลกรัมเท่านั้น แต่เนื่องจากน้ำหนักปุ๋ยที่วางจำหน่ายทั่วไปในบ้านเราจะหนักกระสอบละ 50 กิโลกรม ทำให้น้ำหนัก
ของธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชลดลงตามไปด้วย กล่าวคือ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หนึ่งกระสอบ หนัก 50 กิโลกรัม จะมีธาตุไนโตรเจน 7.5
กิโลกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 7.5 กิโลกรัม และธาตุโพแทสเซียม 7.5 กิโลกรัม รวมธาตุอาหาร 22.5 กิโลกรัม ที่เหลือเป็นน้ำหนักของสารตัวเดิมอื่น ๆ
ที่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
คราวนี้เมื่อเราทราบความหมายของตัวเลขสูตรปุ๋ย ทราบความต้องการธาตุไนโตรเจนองหญ้าสนามว่า ในพื้นที่ 100 ตารางเมตรนั้นหญ้าต้องการ
0.5 กิโลกรัม เราก็สามารถคิดหาปริมาณปุ๋ยที่ใส่ให้กับหญ้าได้ โดยการเอาน้ำหนักธาตุไนโตรเจนที่พืชต้องการเป็นตัวตั้ง หารด้วยตัวเลขแสดงจำนวน
ของธาตุไนโตรเจนที่ระบุไว้ตามสูตรปุ๋ยแล้วคูณด้วย 100
เช่น ในตลาดใกล้บ้านมีปุ๋ยสูตร 10-6-6 จำหน่ายอยู่สูตรเดียว ต้องการไปซื้อมาใส่สนามหญ้าเป็นคราว ๆ ไป จะต้องซื้อมาคราวละกี่กิโลกรัม มี
วิธีคิดดังนี้
0.5 คูณ 100 หาร 10 เท่ากับ 5 กิโลกรัม
ดังนั้น จะต้องซื้อมาใส่คราวละ 5 กิโลกรัม ต่อพื้นที่สนามหญ้า 100 ตารางเมตร ทุก ๆ 2 เดือน หญ้าสนามจะได้รับธาตุไนโตรเจนตามที่ต้อง
การคือ 0.5 กิโลกรัม
ดังนั้น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้องใส่ครั้งละ 3.33 กิโลกรัม
ปุ๋ยสูตร 6-12-12 ต้องใส่ครั้งละ 8.33 กิโลกรัม เป็นต้น
นอกจากจะให้ปุ๋ยเคมีแก่สนามหญ้าแล้วควรจะให้ปุ๋ยอินทรีย์แก่สนามหญ้าด้วย เพราะปุ๋ยอินทรีย์มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สภาพของดินมีโครงสร้าง
เหมาะสม ไม่แน่นทึบ อุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ยดี รักษาสภาพคามเป็นกลางของดินได้ดี ปุ๋ยอินทรีย์ที่นิยมใส่ส่วนใหญ่จะเป็นปุ๋ยหมักเทศบาลที่เรียกว่า ปุ๋ยอินทรีย์
กทม. มีทั้งชนิดที่หยาบและละเอียด ถ้าชนิดหยาบควรร่อนด้วยตาข่ายก่อน ส่วนที่เป็นกากหยาบเก็บไว้โรยใส่โคนต้นไม้ในสวน ส่วนที่ละเอียดก็หว่าน
ให้ทั่วสนาม หรืออาจจะนำมาผสมกับทรายน้ำจืดหว่านก็ได้ โดยผสมในอัตรา 1 ต่อ 1 ใช้หว่านในอัตราปุ๋ย 5 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 4 ตารางเมตร ทุก ๆ
3 เดือน สลับกับการให้ปุ๋ยเคมี
หลักที่ควรคำนึงในการให้ปุ๋ยสนามหญ้า
1. กำหนดระยะเวลาในการให้ปุ๋ยสนามหญ้า และต้นไม้ในสวนให้พร้อมกัน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
2. วิธีหว่าน สำหรับพื้นที่สวนในบ้าน ให้ใช้มือหว่าน จะกำหนดได้ทั่วถึงกัน และหากปุ๋ยจับกันเป็นก้อนก็ใช้มือบี้ให้แตกเป็นเม็ดเล็ก ๆ ก่อน
3. หลังหว่านปุ๋ยทุกครั้งต้องรดน้ำตามให้ชุ่มระวังอย่าให้เม็ดปุ๋ยตกค้างบนใบไม้ใบหญ้า ดังนั้นการให้ปุ๋ยต้องสัมพันธ์กับการให้น้ำ คือ ควรให้ปุ๋ย
ในช่วงเช้าเพื่อจะได้รดน้ำตามในช่วงเช้านั้นด้วย
4. การใส่ปุ๋ยที่มากเกินกำหนดจะสิ้นเปลืองเนื่องจากพืชนำไปใช้ไม่ได้ ถูกชะล้าง และมีผลเสียต่อคุณภาพของดิน และกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่มี
ประโยชน์
5. หากหญ้าสนามเกิดโรคระบาด ควรงดการให้ปุ๋ยทันที หาทางแก้ไขโรคให้หายก่อน แล้วจึงให้ปุ๋ยทีหลัง
6. หากจะให้เหมาะสม ควรหว่านปุ๋ยแก่สนามหญ้าหลังตัดหญ้า 1 น
7. ปุ๋ยที่ซื้อมาใช้ต้องเก็บรักษาให้ถูกวิธี และไม่ควรซื้อมาเก็บไว้มากเกินไป วิธีเก็บปุ๋ยเคมีง่าย ๆ คือ เก็บในภาชนะที่แห้ง สะอาด วางกระสอบปุ๋ย
ให้สูงจากพื้นดินหรือพื้นซีเมนต์ เก็บในที่แห้งและเย็น ภาชนะที่ตวงปุ๋ยก็ต้องแห้งและสะอาด ตวงปุ๋ยมาใช้ตามที่ต้องการ ปิดปากถุงหรือภาชนะให้
แน่นหลังใช้ทุกครั้ง
การให้ปุ๋ยสนามหญ้า ควรจะคำนึงถึงราคาปุ๋ยและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย เพื่อความประหยัด และที่สำคัญในการให้ปุ๋ยเคมีแก่สนามหญ้าคือ อาจจะ
ให้น้อยไปบ้าง ไม่ให้บ้าง ยังดีกว่าให้ปุ๋ยในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นครับ
หลักการตัดหญ้า
การตัดหญ้าที่ว่ามาทั้งหมดนั้น เป็นหลักทั่วไปที่คนมีสวนควรทราบไว้เป็นหลักในการปฏิบัติดูแลรักษาสวน แต่หลักการตัดหญ้าที่จะกล่าวนี้เป็น
หลักที่ควรคำนึงในการตัดหญ้าในทุก ๆ ครั้ง
1. หญ้าสนามตัดได้ครั้งแรกหลังจากปลูก (เต็มแผ่น) ไปแล้วภายใน 2-3 สัปดาห์ เพื่อสร้างความสม่ำเสมอให้เกิดขึ้นกับสนามหญ้า โดยตัดให้สูง
จากพื้นประมาณ 1 ½ ถึง 2 นิ้ว เมื่อผ่านเดือนแรกก็ค่อยลดความสูงลงให้เหลือ 1 นิ้ว แล้วจึงกำหนดระยะเวลาในการตัดที่สม่ำเสมอต่อไป
2. ต้องตัดหญ้าในขณะที่พื้นสนามหญ้าแห้งไม่เปียกแฉะ หากเป็นไปได้ควรรดน้ำแก่หญ้าสนามก่อนตัดล่วงหน้า 1 วัน หญ้าจะอวบ ตัดง่าย
3. หลังตัดหญ้าเสร็จ ต้องคราดเศษหญ้าออกจากสนามทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเกิดปัญหากับสนามหญ้าภายหลังมาก เช่น ทำให้เกิดการสะสมของ
ชั้นหญ้า เกิดการเน่าและชักนำการเกิดโรค เป็นที่หลบซ่อนของแมลง ขัดขวางการปรุงอาหารของหญ้าสนาม
4. ตรวจเครื่องตัดหญ้าให้อยู่ในสภาพดีทุกครั้งก่อนตัด ทั้งความคมของใบมีด และการตั้งระยะความสูง