เบต้าแคโรทีน
- Tab 1
- Tab 2
- Tab 3
เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene)
เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มแคโรทีนอย (Carotenoid) ซึ่งเป็นรงควัตถุ ที่มีสีเหลืองถึงแดง เป็นสารต้นตอของวิตามินเอ (สารที่เมื่อเข้าสู่ ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอ) ในธรรมชาติมีแคโรทีนอยู่มากกว่า 400 ชนิด ซึ่งมีอยู่ 50 ชนิดที่เป็นสารต้นตอของวิตามินเอ (Pro-Vitamin A) เช่น อัลฟา แคโรทีน, เบต้าแคโรทีน, แกมมา แคโรทีน, คริปโต แซนทิน (Crypto-xanthin)
เบต้าแคโรทีน คือสารสำคัญในผักผลไม้ที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง มันไม่เพียงช่วยป้องกันมะเร็งเท่านั้น แต่ยังช่วยกระตุ้นร่างกาย ให้สู้กับเนื้อร้าย คำว่า แคโรทีน ได้ชื่อจากแครอท เพราะแคโรทีน เป็นสารสีเหลืองส้มที่มากในแครอท ตำราบางเล่มเรียก แคโรทีน ว่า “Carrot Factor” พืชผักผลไม้มากมายมีสารแคโรทีน และสารแคโรทีนก็มีกว่าห้าร้อยชนิด รวมกันเรียกว่า แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)
แคโรทีน คือสารสำคัญที่ร่างกายนำไปสร้างวิตามินเอ มนุษย์ได้รับวิตามินเอจากแหล่งใหญ่ 2 แหล่ง คือ จากสัตว์ เช่น ตับและน้ำนม และจากพืชสีเหลืองและเขียวเข้ม โดยสารแคโรทีน (Carotene) ในพืชถูกเปลี่ยนเป็น วิตามินเอในร่างกายมนุษย์
ในปี ค.ศ.1967 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แห่งสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบว่า เรตินอล (Retinol) ซึ่งเป็นวิตามินเอที่ได้จากสัตว์ สามารถระงับมะเร็งในทางเดินหายใจในหนูทดลอง นักวิทยาศาสตร์พากันตื่นเต้น หนทางป้องกันรักษามะเร็งเริ่มเป็นจริง การวิจัยมากมายแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งกับระดับวิตามินเอในเลือดต่ำ
ตลอด ช่วงปี ค.ศ. 1970 มีรายงานการวิจัยจากอิสราเอล นอรเวย์ ญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศส ฯลฯ ที่บ่งชี้ตรงกันว่า คนที่รับประทานสารอาหารที่มีวิตามินเอสูง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งบางชนิดน้อยลง เช่น มะเร็งในกระเพาะลำไส้ คอหอย ปอด และกระเพาะปัสสาวะ
ในปี ค.ศ. 1981 ริชาร์ด ปีโต และคณะค้นพบว่าจริง ๆ แล้ววิตามินเอมิได้ทำหน้าที่ยับยั้งการเกิดมะเร็ง แต่เป็นฤทธิ์ของสารชนิดหนึ่ง ชื่อเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีมากในพืชสีเหลืองส้ม หรือเขียวเข้ม
ในปี ค.ศ.1981 นิตยสารชื่อดังทางการแพทย์ The Lancet ได้ตีพิมพ์ผลงานของ ดร.ริชาร์ด เชเคลล์ นักระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยเท็กซัส ซึ่งค้นพบว่า สารป้องกันมะเร็งที่แท้จริงคือ เบต้าแคโรทีนในพืชนั่นเอง เบต้าแคโรทีนสามารถ ลดอุบัติการโรคมะเร็งในปอดได้ แม้แต่ในผู้ที่สูบบุหรี่หลายปีแล้วก็ตาม ยิ่งกว่านั้นพวกเขาพบว่า คนที่ทานพืชผักที่มีแคโรทีนน้อยที่สุด จะเสี่ยงต่อมะเร็งในปอดเป็นเจ็ดเท่าของคน ที่ทานมากที่สุดในกลุ่ม
มีการ ศึกษาพบว่า เบต้าแคโรทีนสามารถทำลายมะเร็งด้วยขบวนการหลายอย่าง เช่น ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ทำให้ขนาดก้อนมะเร็งลดลงถึง 7 เท่าของขนาดธรรมดาในหนูทดลอง และจากการทดลองของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พิสูจน์ได้ว่า เบต้าแคโรทีน มีพิษโดยตรงต่อเซลล์มะเร็งชนิด Squamous Carcinoma Cells ที่ตัดจากก้อนเนื้อ แคโรทีนลดการขยายตัวของ ก้อนมะเร็งในปอดและกระตุ้นการทำงานของ เอนไซม์ในการต้านมะเร็ง แต่งานวิจัยที่น่าสนใจที่สุด เห็นจะเป็นของ มหาวิทยาลัยทัฟท์ส ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นว่า เบต้าแคโรทีน จะเปลี่ยนแปลงในกระแสเลือด หลังรับประทานเข้าไป กลายเป็นกรดเรติโนอิคซึ่งใช้เป็นสารต้านมะเร็งในอเมริกาขณะนี้ และยังพบว่า เบต้าแคโรทีนที่รับ ประทานเข้าไปจะถูกสะสมไว้ในปอด ตับ ไต และชิ้นไขมัน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นกรดเรติโนอิคทันที ที่ร่างกายต้องการ
ศาสตราจารย์ ดร.อีไล ซีฟเทอร์ นักชีวเคมีวิทยาลัยการแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในนิวยอร์ก ทดลองฉีดสารก่อมะเร็งใส่หนูทดลอง แล้วจึงให้เบต้าแคโรทีนขนาดสูง สองถึงเก้าสัปดาห์หลังจากนั้นเขาพบว่า เบต้าแคโรทีนสามารถป้องกันและยับยั้ง มะเร็งในระยะต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากให้กินเบต้าแคโรทีนขนาดสูง พร้อมกับฉายรังสี
ดร.โดโรธี แมคเคอราส แห่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท็กซัส ได้ทำการวิจัยในผู้ที่เลิกบุหรี่ พบว่า หลังจากเลิกบุหรี่ 2-9 ปี ผู้ที่ได้รับสารแคโรทีนปริมาณต่ำ มีโอกาสเป็นมะเร็งที่กล่องเสียงห้าเท่าครึ่งของผู้ที่ทานผักผลไม้ที่มีแคโรทีนสูง และวิตามินเอจากน้ำมันตับปลา ไม่ช่วยป้องกันมะเร็งได้ นอกจากนี้ดร.โดโรธียัง พบว่า เบ ต้า แคโรทีนไม่มี อำนาจต้านมะเร็งในคนที่สูบบุหรี่ต่อเนื่อง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัสอเมริกาทดลองให้หนูกินเบต้าแคโรทีนในขนาดสูง แล้วฉายแสงอัลต้าไวโอเลต ต่อเนื่องกัน เป็นเวลานาน ไม่พบการเกิดมะเร็งที่ผิวหนัง
ส่วนงานวิจัยที่ทุ่มเวลานานที่สุด เห็นจะเป็นของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกิ้นส์ ที่มีชื่อเสียงในวงการแพทย์ ตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine พบว่า ปริมาณเบต้าแคโรทีนสามารถพยากรณ์ความเสี่ยงต่อมะเร็งในปอดได้
กลุ่มคนที่มีเบต้าแคโรทีนต่ำสุด มีโอกาสเป็นมะเร็งเป็น 2.2 เท่าของกลุ่มคนที่มีเบต้าแคโรทีนสูงสุด และปริมาณเบต้าแคโรทีนมีความ สัมพันธ์กับการเกิด Squamous cell carcinoma (มะเร็งที่ผิวของเนื้อเยื่อในปอดซึ่งถูกกระตุ้นจากการสูบบุหรี่) แม้แต่ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ต้องสัมผัสกับควันบุหรี่สม่ำเสมอ เช่น ในครอบครัวที่มีสามีสูบบุหรี่ คนในครอบครัวก็อาจเป็นมะเร็งได้ ทางออกที่ดีคือ กระตุ้นให้งดบุหรี่ และแม่บ้านที่ทันสมัยควรเตรียมอาหารที่มีแคโรทีนสูงไว้เป็นอาหารหลัก
ประโยชน์ของเบต้าแคโรทีน ( Usefulness of Beta-carotene )
จากที่หลายท่านได้รู้จักพิษร้ายของสารชนิดหนึ่งที่เราเรียกกันว่า อนุมูลอิสระ (Free Radicals)
ที่มีอยู่อย่างมากมาย ในร่างกายของเรา และมีทั้งชนิดที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นเอง ได้แก่ สารของเสียจากขบวนการสันดาป ( Metabolism ) ต่างๆ ในตับ และอวัยวะต่างๆและชนิดที่ร่างกายได้รับจากภายนอก เช่น ก๊าซอ๊อกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป และเหลือเกินความจำเป็น สารจากมลภาวะ โลหะหนัก สีผสมอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเราก็ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว สารอนุมูลอิสระเหล่านี้ พบว่านอกจากจะทำให้เกิด ความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่ ความเหี่ยวย่นของผิวพรรณ ไปจนกระทั่งถึงความเสื่อมของอวัยวะสำคัญภายใน อย่างเช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือดแล้ว เรายังพบว่า สารอนุมูลอิสระ เหล่านี้ ยังสามารถส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาในการกระตุ้น ให้เซลล์ปกติของเราเจริญเติบโตอย่างผิดปกติได้ หรือที่เราเรียกว่า เซลล์มะเร็งเนื้อร้าย ( Cancers ) นั่นเอง
เบต้าแคโรทีน ( Beta-carotene ) เป็น สารอาหารชนิดหนึ่งที่ถูกค้นพบว่ามีคุณสมบัติในการทำลายอนุมูลอิสระ ได้อย่างดีเลิศ โดยพบว่าเบต้าแคโรทีน จะทำปฏิกิริยาต้านการเกิดอ๊อกซิเดชั่นระหว่างอนุมูลอิสระกับสารสำคัญในเซลล์ ที่มีชีวิต โดยแย่งทำ ปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระเสียก่อน แล้วขับถ่ายออกไปตามระบบขับถ่ายต่างๆ ของร่างกาย เซลล์ของเราก็รอดชีวิตจาก ขบวนการใน การทำลาย โดยอนุมูลอิสระดังกล่าว เราเรียกขบวนการในการแย่ง ทำปฏิกิริยาของเบต้าแคโรทีน กับอนุมูลอิสระว่า การต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น หรือเอนตี้อ๊อกซิแด้น ( Antioxidants ) นั่นเอง
ผู้ที่ควรรับประทานเบต้าแคโรทีน ( Who should take Beta-carotene? )
1. ผู้ที่ต้องการดูแลผิวพรรณ ( Healthy skin concious )
เราพบว่าผิวพรรณของเราจะเป็น ส่วนของร่างกายที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เราทราบว่าอนุมูลอิสระมีผลต่อเราแล้วหรือยัง ? ผิว พรรณที่เริ่มเหี่ยวย่น ไม่ผ่องใส ขาดความชุ่มชื่น หรือไม่มีน้ำมีนวล สิ่งเหล่านี้บอกได้แล้วว่าความเสื่อมได้เริ่มมาเยือนท่านแล้ว และถ้าปล่อยปละละเลยต่อไป ก็จะทำให้ยากต่อการเยียวยารักษา และอาจจะแสดงผลต่อเนื่องกับอวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ เส้นผม และ เล็บ ตามมาด้วยเช่นกันในกลุ่มสตรีที่นิยมรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พวกกรดไขมันจำเป็น กลุ่มโอเมก้า 3 หรือ โอเมก้า 6 อยู่ เป็นประจำ เป็นระยะเวลานานๆ นั้น เราพบว่าอาจส่งผลให้เกิดขบวนการย่อยสลาย กรดไขมันในปริมาณสูง และพบว่าขบวนการดังกล่าว อาจส่งผลต่อเนื่องในเรื่องของกระแก่ จากปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นของเซลล์ แต่พบว่าหากรับประทานสารต้านการเกิด ปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น ร่วมกัน ผลต่อเนื่องดังกล่าวก็จะไม่ปรากฏขึ้น นอกจากนี้ เรายังพบว่าเบต้าแคโรทีน ยังส่งผลให้เซลล์ผิวพรรณ ที่สร้างขึ้นใหม่มีสุขภาพ ดีขึ้นด้วย
2. ผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง ( Cancer concious )
อย่างที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า อนุมูลอิสระมีผลเกี่ยวข้องกับมะเร็งเนื้อร้าย ( Cancers ) การลดปริมาณอนุมูลอิสระ ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของมะเร็งนั่นเอง
นอกจากนี้เรายังพบว่า เบต้าแคโรทีน สามารถให้ผลกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกาย ที่ชื่อ ทีเฮลเปอร์เซลล์ ( T-helper Cell ) ให้มีประสิทธิภาพการทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น จึงให้ผลดีกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งดังกล่าว
3. ผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพของดวงตา ( Healthy Eye Concious )
อย่างที่ทราบแล้วว่า เบต้าแคโรทีน เมื่อโดนย่อยสลายที่ตับแล้ว จะได้วิตามิน เอ ซึ่ง>ร่างกายนำไปใช้สร้างสารโรดอฟซิน ( Rhodopsin ) ในดวงตา ส่วนเรตินา ( Retina ) ทำให้เรามีความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนได้ และนอกจากนั้น เบต้าแคโรทีน ยังลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ( Eye ) และลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก ( Cataracts ) ด้วย
4. ผู้ที่ต้องการชลอความแก่ ( Anti-aging )
เบต้าแคโรทีน จะให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์ จากอนุมุลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดขบวนการแก่ ดังนั้นหากเราลดสาเหตุดังกล่าวเสีย ความแก่ก็จะมาเยี่ยมเยือนเราได้ช้าลง
การรับประทานเบต้าแคโรทีนั้น หากต้องการรับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพ ป้องกันความเสื่อม โดยทั่วไปสามารถทานได้ วันละ 4,000-5,000 IUs ( International Unit ) หากต้องการรับประทานเพื่อการรักษาภาวะความเสื่อมที่เป็นอยู่ สามารถทานได้ถึง 10,000-20,000 IUs ต่อวัน โดยให้อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
'เบต้าแคโรทีน' มีประโยชน์ แต่ถ้าทานมากไป อาจกลาย 'เป็นโทษมหันต์'
กระแสการดูแลสุขภาพในปัจจุบันกำลังมาแรง หลายคนนิยมทาน 'อาหารเสริม' โดยเชื่อว่าเป็นการบำรุงสุขภาพความงาม และป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคมะเร็ง แต่จากผลการศึกษาพบว่า การกิน'เบต้าแคโรทีน'มากไป อาจกลายเป็น'สารก่อโรคมะเร็ง'ได้ !!
จากการตรวจดูในอินเตอร์เน็ทแล้วจะพบว่า มีการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย โดยอ้างว่ามีส่วนผสมของ 'สารต้านอนุมูลอิสระ' ที่มีประสิทธิภาพสูง และมักระบุว่าไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลเหล่านี้เป็นความจริงหรือไม่ การบริโภคอาหารเสริมอนุมูลอิสระอย่างต่อเนื่องและจำนวนมาก จะส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร เป็นคุณหรือเป็นโทษ ... เป็นหลายคำถามที่หลายคนอย่างรู้และควรต้องรู้
ดัง ที่ทราบกันดีกว่า สารต้านอนุมูลอิสระมีอยู่หลายชนิด และแทบจะมีอยู่ทั่วไปในอาหารทุกมื้อ ทั้งนี้ อาหารที่เรามั่นใจได้แน่นอนว่ามีสารชนิดนี้ คือ เมล็ดพืชทุกชนิด แต่สิ่งที่ควรระวังคือ เมล็ดพืชบางชนิดมีพิษ ดังนั้น สารพิษจึงอาจหลุดออกมาพร้อมกับสารต้านอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ 'ใบพืช' โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นสีเข้ม ไม่ว่าจะเป็นสีเขียว เหลือง หรือแดง ก็มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่เช่นกัน รวมทั้ง 'เปลือกผลไม้สุก' ก็มีสารต้านอนุมูลอิสระมากเช่นกัน โดยการจากวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดีย พบว่าเปลือกของมะม่วงสุกที่ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากพอ ที่ควรจะเก็บมาสกัดมาให้สาวๆ ทานเพื่อบำรุงผิว
ส่วน ที่มีความสงสัยกันว่า หากนำสารต้านอนุมูลอิสระมาทาผิวหนังจะได้ผลหรือไม่นั้น พบว่าเป็นวิธีที่ได้ผลเช่นกัน แต่มีต้นทุนสูงกว่าการกิน เพราะการผลิตผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ผสมสารต้านอนุมูลอิสระนั้น ต้องมีการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระออกมาจากแหล่งต่างๆ แล้วนำไปผสมกับสารอื่นๆ จึงทำให้มีราคาแพงมาก เมื่อนำมาเทียบกับการกิน จะพบว่าต้นทุนการป้องกันอนุมูลอิสระด้วยการกินจะถูกกว่ากันมาก เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของเรามีระบบสกัดสารที่มีประโยชน์ที่ดีที่สุดอยู่แล้ว
ประโยชน์ของการกิน 'สารต้านอนุมูลอิสระ' จากอาหารยังมีอีก คือ หากเรารับสารต้านอนุมูลอิสระจากการกินอาหาร โอกาสที่จะได้รับสารนี้มากเกินความต้องการของร่ายกาย จะน้อยกว่าการกิน 'อาหารเสริม' เพราะอาหารเสริมจะมีสารนี้สูงมาก เนื่องจากอยู่ในรูปของสารเข้มข้น เราจึงควรคำนึงถึงวรรคทองของ 'บิดาวิชาพิษวิทยา' ไว้ให้ดีว่า 'สารเคมีทุกชนิดมีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับขนาดหรือปริมาณที่บริโภคเข้าไป'
ดังนั้น ถ้าเราไม่ต้องการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากเกินไป การกินอาหารเป็นวิธิที่ดีที่สุด โดยเรามีข้อมูลยืนยันว่าเรื่องนี้ จากการศึกษาเรื่องการใช้สารต้านอนุมูลอิสระ 'เบต้าแคโรทีน' เพื่อป้องกันโรคมะเร็งปอด ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การ ให้ตำรวจจราจรในหลายประเทศทานอาหารเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ แทนที่จะเป็น 'การลด' โอกาศการเกิดมะเร็งปอด กลับกลายเป็น 'การเพิ่ม' อัตราการเกิดมะเร็งปอดให้มากขึ้น!!!
เนื่องจาก สารเบต้าแคโรทีน คือ สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) ที่เมื่อร่างกายได้รับมากกว่าความต้องการ จะหันไปทำหน้าที่ในทางตรงกับข้าม โดยกลายตัวเป็น 'Pro-Oxidant' ซึ่งเป็นสารที่ส่งเสริม 'การเกิด' อนุมูลอิสระ ด้วยเหตุผลเชิงชีวะเคมี
ด้วยเหตุนี้ การบริโภคเบต้าแคโรทีนในรูปแบบของอาหารเสริมที่มากเกินไป อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ขณะที่การรับประทานอาหาร เช่น มะละกอสุก ฟักทอง ตำลึง โอกาสที่ร่างกายจะได้รับสารนี้มากเกินไปจะเป็นไปได้ยาก เพราะเราจะอิ่มก่อนได้รับปริมาณมากเกินไป โดยมีกระเพาะเป็นผู้กำหนด