ไคติน-ไคโตซาน

  • Tab 1
  • Tab 2

ไคตินและไคโตซาน

ในโลกแห่งการวิจัยคิดค้นและพัฒนายุคปัจจุบัน “โพลิเมอร์ชีวภาพ” นับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำ คัญอย่างยิ่ง ต่อการนำ มาใช้ในการผลิต หรือดัดแปลง เป็นวัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งโดยทั่วไป “โพลิเมอร์” คือ สิ่งที่มนุษย์ สังเคราะห์ขึ้น เช่น พลาสติก ยางสังเคราะห์ เป็นต้น แต่สำหรับ โพลิเมอร์ชีวภาพ แล้ว ถือเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติรอบ ตัวเรา และจัดว่ามีความสำ คัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก ตัวอย่างโพลิเมอร์ชีวภาพที่น่าสนใจ ได้แก่ เซลลูโลสที่อยู่ใน โครงสร้างของพืช แป้งที่เราใช้เป็นอาหาร ยางพารา โปรตีน สารไคตินและไคโตซานที่มีอยู่ในเปลือกปูเปลือกกุ้งและ แกนปลาหมึก

ไคตินและไคโตซาน เป็นสารธรรมชาติที่มีในเปลือกสัตว์จำ พวก กุ้ง ปูและแมลง นอกจากนี้ยังพบในผนัง เซลล์ของเชื้อราและสาหร่ายบางชนิด ไคตินและไคโตซานสามารถนำ มาใช้งานได้แพร่หลาย ทั้งด้านวัสดุทางการ แพทย์และเภสัช ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเกษตร และทางด้านอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นคือ ไม่มี ปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย เป็นคาร์โบไฮเดรต จะสลายตัวอย่างช้า และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่ล่งผลใดๆที่ เป็นอันตรายต่อผู้อุปโภคบริโภค

ด้านการเกษตร ใช้ไคโตซานเคลือบเมล็ดข้าวสารเพื่อป้องกันเชื้อรา ทำ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 20 และใช้ไคตินในการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูก ทำให้ลดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดินได้ นอกจากนี้มีการใช้ไคตินใน รูปผลึกขนาดเล็ก 2% ผสมกับหางนม 20% ในอาหารสำ หรับเลี้ยงไก่ พบว่า ไก่กินอาหารผสมที่มีไคติน และหางนม จะมีนํ้าหนักเพิ่มขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารปกติ และอาหารที่มีการเติมหางนม หรือไคตินเพียง อย่างเดียวและจากการที่ไคโตซานเป็นสารโพลิเมอร์ ที่อุ้มนํ้า การนำ มาห่อหุ้มต้นอ่อน จะช่วยให้มีการเจริญเติบโตได้ ดีขึ้น

ด้านการแพทย์และเภสัชวิทยา ใช้ไคติน และไคโตซาน ในการรักษาบาดแผล เพื่อใช้ในการรักษา แผลผ่าตัด และไฟไหม้ ซึ่งจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ทำ ผลิตภัณฑ์แผ่นปิดตกแต่งแผล ด้ายเย็บแผล ซึ่งข้อดีของมันก็คือ จะสลาย ตัวอย่างช้า ๆ และถูกดูดซับเข้าร่างกาย อย่างไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย ใช้เป็นเลนส์สายตา เนื่องจากมีคุณ สมบัติยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าออกได้ และไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ใช้เป็นแคปซูลบรรจุยา ใช้เป็นสารป้องกันการตก ตะกอนของเลือด ใช้เป็นตัวจับและตกตะกอนเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ใช้ผลิตผนังเทียม เช่นผนังไต ใช้เป็นสารลด โคลเลสเตอรอล และใช้เป็นสารเชื่อมหรืออุดฟันในด้านทันตกรรม

ด้านอุตสาหกรรม โดยอาศัยคุณสมบัติของไคโตซานที่สำ คัญหลายประการ เช่น การเป็นสารก่อให้เกิดอิมัล ชั่น การจับกับสี การเกิดแผ่นฟิลม์ การเกิดเจล และการเป็นสารลดแรงตึงผิว จึงสามารถประยุกต์ใช้ไคติน-ไคโตซาน ได้ ในอุตสาหกรรมหลายด้าน เช่น ในอุตสาหกรรมอาหาร มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ ไคโตซานเป็นวัสดุห่อหุ้มอาหาร หรือยืดอายุของผลไม้ได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการต่อต้านจุลินทรีย์ การทำ ให้นํ้าผลไม้ใส ตกตะกอนไวน์ขาวและ ไวน์แดง เนื่องจากไม่มีผลต่อสีของไวน์ และ ลดสารที่ไม่ต้องการบางชนิดในอาหาร เช่น แทนนินได้ ตลอดจนจากการ วิจัยในสัตว์หลายชนิดพบว่า การบริโภคไคโตซานสามารถลดปริมาณ โคลเลสเตอรอล ในเลือดได้ ในประเทศญี่ปุ่นจึง มีการผลิตขนมคุ๊กกี้ควบคุมนํ้าหนัก และบะหมี่สำเร็จรูป ซึ่งมีส่วนผสมไคโตซานออกมาจำหน่าย นอกจากนี้แล้วยังมี นํ้าส้มสายชูที่มีไคโตซานผสมอยู่ออกมาจำ หน่ายอีกด้วย สำ หรับประเทศไทยได้มีการจำ หน่ายผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน แคปซูล เพื่อลด โคลเลสเตอรอล และควบคุมนํ้าหนักซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในรูปอาหารเสริม ในอุตสาหกรรมเครื่องสำ อาง ไคโตซานได้ถูกนำ มาใช้เพื่อจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น เป็นสารเพิ่มความข้น เหนียวในครีม เป็นส่วนผสมในโลชั่น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและความเนียนนุ่ม เป็นส่วนผสมในแชมพูสระผม ครีมนวด ผมและครีมปรับสภาพผม เนื่องจากมีคุณสมบัติ ความหนืด และการเคลือบ เพื่อช่วยเก็บความชุ่มชื้นไว้ ทำ ให้เส้นผม นุ่มได้ บริษัทในประเทศเยอรมนี และบริษัทญี่ปุ่นได้ใช้สารไคโตซานเป็นส่วนประกอบในแป้งแต่งหน้า เพื่อเพิ่มความ ชุ่มชื้น ความเรียบ รวมทั้งได้มีการนำ สารไคโตซานมาใช้ในโฟมล้างหน้า เพื่อการรักษาความสะอาดและลดความมัน บนใบหน้า

สำหรับในอุตสาหกรรมกระดาษไคโตซานได้ถูกใช้เพื่อเป็นสารช่วยการยึดติดโดยใช้เพียง 1% โดยนํ้าหนัก กระดาษที่ได้จะมีความทนทานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะขณะเปียก ซึ่งเหมาะสำ หรับทำ ผ้าอ้อมแบบใช้แล้วทิ้ง หรือทำ กระดาษเช็ดมือ และรวมทั้ง อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมแก้ว อุตสาหกรรม การแปรรูปไม้ และการถ่ายภาพ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารตกตะกอนในการบำ บัดนํ้าเสีย ใช้กำ จัดโลหะหนัก และสารพิษโดยเฉพาะ สาร กัมมันตภาพรังสี เนื่องจากไคโตซานสามารถจับของแข็งที่แขวนลอยได้ดี และจับกับอะตอมโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียมได้ นอกจากนี้ยังได้มีการนำ ไคโตซานไปช่วยจับสารกัมมันตรังสี พวกพลูโตเนียม ยูเรเนียมด้วย ตลอดจนยังมีการนำ ไคโตซานมาผสมกับพลาสติก เพื่อใช้ในการผลิตพลาสติก ที่สามารถย่อยสลายได้ โลกทุกวันนี้กำ ลังให้ความสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างสูง จึงทำ ให้การพัฒนากระบวนการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของนักวิทยาศาสตร์จำ ต้องคำ นึงถึงผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งผู้บริโภคบางกลุ่มนอก เหนือจากการคำ นึงผลกระทบทางด้านสุขภาพแล้ว ยังต่อต้านผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการผลิต ดัง นั้นกิจกรรมต่อเนื่องที่มีจุดมุ่งหมายในการนำ ไคติน ไคโตซาน ที่ได้จากการผลิตด้วยจุลินทรีย์มาทำ เป็นผลิตภัณฑ์อาจ เป็นเป้าหมายใหม่ที่สำ คํญในการใช้ประโยชน์ของไคติน-ไคโตซาน

การรับประทานไคติน-ไคโตซานและผลกระทบ

ไคติน-ไคโตซาน เป็นสารธรรมชาติที่มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายเซลลูโลส สกัดได้จากเปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนหมึก เป็นต้น ไคติน-ไคโตซาน และอนุพันธ์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายอย่างน่าอัศจรรย์ เช่น ใช้งานด้านการเกษตร โดยใช้เป็นปุ๋ย เป็นสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ และยืดอายุผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว เป็นต้น ใช้ในการบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรม โดยเป็นตัวจับโลหะหนัก ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น สบู่ ยาสีฟัน และครีมบำรุงผิว ฯลฯ และใช้เป็นอาหารเสริม และวัสดุทางการแพทย์ เป็นต้น เนื่องจากสมบัติพิเศษหลายประการอันได้แก่ ความไม่เป็นพิษ สามารถเข้ากันได้กับ เนื้อเยื่อ ของคนและสัตว์ ความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิด สามารถลดปริมาณคอเลสเตอรอล ชนิด LDL และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดโดยการจับตัวกับไขมันจากอาหาร ทำให้การดูดซึมในลำไส้เล็กลดลง ปีที่ผ่านมาได้มี ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่มีไคโตซานเป็นส่วนประกอบ ใช้ในการควบคุมน้ำหนัก โดยการจับตัวกับไขมันจากอาหารที่ รับประทานเข้าไป ให้กลายเป็นกากอาหาร ทำให้การดูดซึมไขมันต่ำลง ซึ่งเป็นที่สนใจมากในกลุ่มวัยรุ่นและสุภาพสตรี
ในที่นี้จะขอนำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ของการรับประทานไคโตซาน ซึ่งเรามักจะได้ยินถึงประโยชน์ของไคโตซาน ในการนำมาใช้เป็นอาหารเสริม แต่จะไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงหรือข้อควรระวังในการใช้งาน เป็นที่ทราบกันดี อยู่แล้วว่า ไขมันเป็นสารอาหารหมู่หนึ่ง ที่มีความจำเป็น ต่อร่างกาย มีหน้าที่หลายอย่างเช่น ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เป็น แหล่งพลังงาน เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาผลาญอาหาร เป็นส่วนประกอบของเซลล์ และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ ฮอร์โมน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไขมันที่มากเกินไปจะทำให้เกิดโทษแก่ร่างกาย จึงได้มีการนำเอาไคโตซาน มาใช้ในการกำจัด ไขมันส่วนเกินจากอาหาร
ส่วนคอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ทราบกันดีว่า หากร่างกายมีมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ คอเลสเตอรอลกันเล็กน้อย คอเลสเตอรอลจะเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ด้วยไลโพโปรตีน (lipoprotein) ซึ่งได้แก่ ชนิดที่มีความหนาแน่นสูง (HDL) และความหนาแน่นต่ำ (LDL) ทางการแพทย์พบว่า คอเลสเตอรอลชนิด LDL จะเกาะตัวที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เส้นเลือดตีบตัน เกิดเป็น โรคหัวใจ ส่วนคอเลสเตอรอลที่สะสมตามเนื้อเยื่อในร่างกายจะถูกดึงออกมาในเลือดอยู่ในรูปของคอเลสเตอรอลชนิด HDL และถูกกำจัดโดยกระบวนการของตับและไตต่อไป
ดังนั้น ในการตรวจเลือดเราควรจะสังเกตระดับปริมาณ คอเลสเตอรอลชนิด LDL มากเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจาก ระดับของคอเลสเตอรอลรวม
สำหรับ ผู้ที่รับประทานไคโตซาน มีรายงานถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ในการทดลองให้ผู้ชายอาสาสมัครที่มีสุขภาพ แข็งแรงจำนวน 8 คน ทดลองรับประทานไคโตซาน ในรูปของขนมปังกรอบ ปริมาณ 3-6 กรัม/วัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL ในเลือดเฉลี่ย ลดลงจาก 188 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็น 177 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และมีปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL เพิ่มขึ้น
แต่จากการทดลองในหนูพบว่า การให้ไคโตซานเป็นอาหารเสริมนั้น แม้จะทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอล ในเลือดลดต่ำลง แต่มีผลกระทบ ทำให้การเจริญเติบโตช้าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ให้ในปริมาณมาก นอกจากนี้ ยังพบว่าเกลือแร่และ วิตามินที่ละลายในไขมันจะถูกดูดซึมลดลงด้วย ซึ่งได้แก่ วิตามิน A D E และ K จึงทำให้หนูทดลองที่ได้รับอาหารมี ไขมันสูงร่วมกับไคโตซาน มีปริมาณวิตามิน E ในเลือดลดต่ำลงอย่างมาก ปริมาณแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของกระดูก ก็ลดลงเช่นกัน ทั้งนี้คาดว่า นอกจากการดูดซึมแคลเซียมที่ลดลงแล้ว วิตามิน D ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในการสร้าง กระดูก ก็ถูกเจล ของไคโตซานจับตัวกลายเป็นกากอาหาร ทำให้ปริมาณแร่ธาตุในกระดูกลดลงด้วย
ดังนั้นการบริโภคอาหารเสริม ที่มีไคโตซานเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก เพื่อกำจัดไขมันจากการรับประทานอาหาร หรือการควบคุมน้ำหนัก จึงควรใช้อย่างระมัดระวังมิให้มากเกินความจำเป็น และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และ ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี

ดร.มาลินี ประสิทธิ์ศิลป์ ดร.ภาวดี เมธะคานนท์

ไคติน-ไคโตซาน

เมื่อหลายปีก่อนคงเคยได้ยินและรู้จัก "ไคติน-ไคโตซาน" ในรูปของอาหารเสริมลดความอ้วนโดยเมื่อ รับประทานก่อนมื้ออาหาร จะสามารถช่วย ดักจับไขมัน จากอาหารที่รับประทาน เพื่อไม่ให้สะสมในร่างกาย นอกจากนั้นยังสามารถช่วยดักจับโลหะหนักอีกด้วย

เรามารู้จัก "ไคติน" กันเถอะ
ไคติน เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งพบได้จากธรรมชาติ คือจะพบในรูปของสารประกอบเชิงซ้อน
ไคติน-โปรตีน (ในเปลือกของแมลง) ซึ่งนอกจากจะพบได้ในเปลือกกุ้งและปูแล้วนั้นยังมีมากในเปลือกหุ้มของแพลงก์ตอน ผนังเซลล์
ของสาหร่าย ยีสต์ และเห็ดรา เปลือกแมลง แกนของปลาหมึก แมงกระพรุน หรือดาวทะเล

ข้อมูลทั่วไป: ไคโตซาน เป็นสารอนุพันธ์ที่ไม่ละลายน้ำของไคติน ซึ่งสามารถสกัดได้จากเปลือกของกุ้งขนาดกลางและเล็ก กุ้งกร้ามกราม หรือปู (1, 2, 3, 6, 7, 10, 13, 20, 24) มีการวิจัยทางคลินิกวิทยามากว่า 17 ปี ีถึงการใช้ไคโตซานเป็นสารลดน้ำหนักธรรมชาติโดยใช้ เป็นใยอาหาร (ไฟเบอร์) เพื่อทำให้อืดอิ่ม และใช้ในการทำความสะอาดสำไส้ เรื่อยจนมาถึงปัจจุบัน (21) ไคโตซานมีคุณสมบัติในสมบัติ ในการดูดซับน้ำมัน คราบไขมันและสารพิษบางชนิด เพื่อทำให้กำจัดได้ง่ายขึ้น ไคโตซานถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การทดลองของฮาน (Han L. K.) และเพื่อนร่วมงานของเขา (1999) ที่โรงเรียนการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่า ไคโตซานป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักตัว ป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง และการมีไขมันสะสมในตับมากอันเนื่องมาจาก การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง มีการทดลองที่ทำการเปรียบเทียบการขับไขมันออกจากร่างกาย และคุณสมบัติ ในการลดน้ำหนักของใยอาหารจากพืชผักหลากหลายชนิดกับไคโตซาน ผลปรากฎว่าไคโตซานให้ผลดีเหนือกว่าใยอาหารอื่นทั้งหมด (19)
ไม่เพียงใช้ในอุตสาหกกรมอาหารไคโตซานยังใช้เป็นไหมเย็บบาดแผลและเส้นเลือดที่ขาด นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้จัดให้ไคโตซานเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารเพื่อหน้าที่ หรือที่รู้จักกันว่า ฟังก์ชันนอล ฟูด (functional food) (6)

ไคติน-ไคโตซาน มีประโยชน์อะไรบ้าง

ในทางการแพทย์
ไคตินสุดไม่ก่อให้เกิดการต่อต้านจากร่างกาย ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ต่อคนอีก ไคติน-ไคโตซาน ก็เลยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากที่จะได้รับการพัฒนาไปใช้ในทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรีย ในลำไส้ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ต่อต้านมะเร็ง ช่วยลดสารพิษและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ที่เป็นอันตรายอย่างเชื้อซัลโมเนลลา
เนื่องจาก ไคติน-ไคโตซานเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ สามารถเข้าได้กับร่างกายมนุษย์ จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าสามารถย่อยสลาย
ได้ภายในสัตว์ เนื่องจากมีเอนไซม์หลายชนิดสามารถย่อยสลายได้ นอกจากนี้ ตัวไคติน-ไคโตซานยังสามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพบาง
ชนิดด้วย จากข้อดีต่างๆ นี้เอง ไคติน-ไคโตซาน จึงถูกนำมาใช้งานทางการแพทย์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้


-Wound-healing ointments
-Surgical sutures
-Orthopaedics
-Drug delivery vehicles
-Anticholesterol and fat bindings
-Skin treatments
-Wound dressings
-Dentistry
-Tranportation of cells
-Ophthalmology

โครงการวิจัยพัฒนาแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลของศูนย์ ฯ กำลังดำเนินการอยู่ และได้เริ่มทดลองใช้ ในผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ
น้ำร้อนลวกในรายที่บาดแผลไม่รุนแรงมากนักเนื่องจากเป็นการทดลองใช้ในขั้นต้น จากการทดลองพบว่าไม่มีการแพ้ หรืออักเสบของบาดแผล
คาดว่าแผ่นไคติน-ไคโตซานจะสามารถใช้เป็นวัสดุ สำหรับปิดรักษาแผลที่ดี สามารถลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยลงได้
ใช้ทำผิวหนังเทียมที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานให้กับผู้ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือพวกประสบอุบัติเหตุที่มีแผลลึกๆ
ด้านการแพทย์และเภสัชวิทยา ใช้ไคติน และไคโตซาน ในการรักษาบาดแผล เพื่อใช้ในการรักษา แผลผ่าตัดและไฟไหม้ ซึ่งจะช่วยให้แผล
หายเร็วขึ้น ทำผลิตภัณฑ์แผ่นปิดตกแต่งแผล ด้ายเย็บแผล ซึ่งข้อดีของมันก็คือ จะสลายตัวอย่างช้า ๆ และถูกดูดซับเข้าร่างกาย อย่างไม่มี
ปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย ใช้เป็นเลนส์สายตา เนื่องจากมีคุณสมบัติยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าออกได้ และไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ใช้เป็น
แคปซูลบรรจุยา ใช้เป็นสารป้องกันการตกตะกอนของเลือด ใช้เป็นตัวจับและตกตะกอนเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ใช้ผลิตผนังเทียม เช่นผนังไต
ใช้เป็นสารลดโคลเลสเตอรอล และใช้เป็นสารเชื่อมหรืออุดฟันในด้านทันตกรรม

ช่วยในการเสริมสร้างกระดูก และฟัน
จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์พบว่าไคโตซานสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่โดยทดลองจากกระต่ายและสุนัข

ช่วยบำบัดน้ำเสีย
มีประโยชน์ช่วยตรึงเอนไซม์ในการทำผลิตภัณฑ์ให้บริสุทธิ์ รวมทั้งสามารถจับของแข็งแขวนลอยได้ดี และจับกับอะตอมของโลหะหนัก

วิธีการรักษาโรคตา
คือมีคุณสมบัติที่จะเป็นคอนแท็กต์เลนส์ และวัสดุทดแทนกระจกตา เพื่อรักษาโรคต้อได้เป็นอย่างดีอีกทั้งไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง

อาหารเสริมของสัตว์เลี้ยง
ใช้ผสมรวมกับอาหารให้แก่สัตว์บก มีประโยชน์ในการเพิ่มแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ลดอาการท้องเสีย

ทางด้านการเกษตร
นำมาเคลือบผิวผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และป้องกันแมลงกัดกิน
ไคโตซานสามารถก่อตัวเป็นฟิล์มบาง ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เคลือบผิวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรและเมล็ดพันธุ์ และยังมี
การนำเอาอนุพันธ์ของไคตินและไคโตซานไปเป็นสารต่อต้านเชื้อรา ไวรัสและแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งมันสามารถทำงานได้อย่างกว้างขวาง
เช่น ยับยั้งโรคโคนเน่าจากเชื้อรา โรคแอนแทรกโนส และโรคอื่นๆ

ไคติน-ไคโตซานสามารถใช้เป็นสารเสริมผสมลงในอาหารสัตว์บก เช่น สุกร วัว ควาย เป็ด ไก่ ช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์
ในทางเดินอาหาร ช่วยลดอาการท้องเสียของสัตว์ได้ และลดอัตราการตายของสัตว์วัยอ่อนอันเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
ในทางเดินอาหาร

ช่วยลดน้ำหนัก
ประจุบวกของไคโตซานจะดักจับกรดไขมันอิสระ และคอเลสเตอรอลที่มีประจุลบและจะถูก ขับถ่ายออกมาพร้อมกับไขมันส่วนเกินด้วย

ทางด้านความงาม
ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ละลายน้ำ และอุ้มความชื้นได้ดีจึงพัฒนานำมาทำผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และดูแลเส้นผม ยาสีฟัน เครื่องสำอาง
โดยเฉพาะนำไปใส่ในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ธรรมชาติ หรือ AHA ช่วยกระตุ้นให้ผิวหนังเก่าหลุดลอก เพื่อสร้างผิว
ใหม่ดูอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น

ไคติน-ไคโตซานสามารถลดความอ้วน ได้ดีสุดยอดอย่างที่เราไม่อยากจะเชื่อ เมื่อไคตินนั้นได้กลายเป็นไคโตซานแล้ว ประจุบวกอันมหาศาล
ของไคโตซาน จะเป็นที่ดึงดูดใจมากของเหล่ากรดไขมันอิสระ และคอเลสเทอรอลที่มีประจุลบ ดังนั้นเจ้าตัวต้นเหตุของความอ้วน ทั้ง 2 ตัว
ก็จะเกาะติดแจกับไคโตซาน และคนไม่สามารถย่อยไคติน-ไคโตซานได้ทั้งหมดจึงถูกขับออกมาพร้อม กับอุจจาระโดยที่มีคอเลสเทอรอลและ
ไขมันส่วนเกินตามออกมาด้วย
ไคโตซานมีประจุบวกอย่างล้นเหลือทำให้มันสามารถเกาะกับประจุลบของผิวหนังและเส้นผมได้เป็นอย่างดี จึงถูกนำไปใส่ในเครื่องสำอางที่มี
ส่วนผสมของกรดผลไม้ธรรม ชาติที่เราคงคุ้นชื่อกันดีว่ากรดแอลฟาไฮดรอกซี หรือ AHA ไงครับ กรดพวกนี้จะกระตุ้นให้ผิวหนังเก่าหลุดลอก
เพื่อสร้างผิวใหม่ ทำให้ผิวคุณดูอ่อนเยาว์ขึ้น ส่วนในการบำรุงเส้นผม ไคโตซานจะก่อตัวเป็นฟิล์มเคลือบเส้นผมไว้ ทำให้เส้นผมคงสภาพนุ่ม
สลวยไม่เสียง่าย
ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ไคโตซานได้ถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น เป็นสารเพิ่มความข้นเหนียวในครีม เป็นส่วนผสมใน
โลชั่น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและความเนียนนุ่ม เป็นส่วนผสมในแชมพูสระผม ครีมนวดผมและครีมปรับสภาพผม เนื่องจากมีคุณสมบัติ
ความหนืด และการเคลือบ เพื่อช่วยเก็บความชุ่มชื้นไว้ ทำให้เส้นผมนุ่มได้ บริษัทในประเทศเยอรมนี และบริษัทญี่ปุ่นได้ใช้สารไคโตซาน
เป็นส่วนประกอบในแป้งแต่งหน้า เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ความเรียบ รวมทั้งได้มีการนำสารไคโตซานมาใช้ในโฟมล้างหน้า เพื่อการรักษา
ความสะอาดและลดความมันบนใบหน้า

พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยนำมาผสมกับพลาสติก เพื่อช่วยให้สามารถย่อยสลายได้ง่าย นอกจากนี้ยังนำมาทำเป็นฟิล์มถนอมอาหารที่สามารถรับประทานได้โดย
ไม่เป็นอันตราย

ไคโตซานคือสุดยอดนวัตกรรมที่เกิด มาจากเทคโนโลยีการใช้กากของเสียให้เป็นประโยชน์ เป็นทางออกที่ดีทั้งต่อมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อม
ในการจัดการเปลือกกุ้งมากมาย ที่ถูกทิ้งจากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ บทบาทที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมของไคโตซานที่เรารู้ๆ กันก็คือการ
บำบัดน้ำทิ้ง น้ำเสีย

นอกจากการบำบัดน้ำเสียแล้ว ไคโตซานยังมีความสามารถในการจับกับของแข็งแขวนลอยได้ดี และจับกับอะตอมของ โลหะหนัก รวมทั้ง
มีการนำไปจับกับสารกัมมันตรังสีอย่างพลูโตเนียมและยูเรเนียมด้วย ส่วนการจับกับคราบไขมันนั้น กลไกการจับก็คล้ายๆ กับการจับกับ
ไขมันในทางเดินอาหาร

ทางด้านสิ่งทอ
นำมาเคลือบเส้นใยผ้าเพื่อลดกลิ่นเหงื่อและกลิ่นอับชื้น และต้านทานเชื้อรา แบคทีเรียอีก ด้วย
อุตสาหกรรมเส้นใย กระดาษ สิ่งทอ ก็มีการใช้ไคโตซาน เช่น ใช้ทำภาชนะบรรจุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ทำฟิล์มถนอมอาหารที่สามารถ
รับประทานได้ ใช้ในการผลิตผ้าที่ย้อมสีติดทนนาน ใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษ ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพสูง ทนทานต่อการฉีกขาด
หรือผลิตกระดาษที่ซับหมึกได้ดีเพื่อการพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง

ทางด้านสิ่งพิมพ์
ช่วยยืดอายุการเก็บเอกสารสำคัญ โดยทำให้กระดาษมีคุณสมบัติเหนียว แข็งแรง ทนต่อการฉีกขาด และซับหมึกได้ดี

ไคติน-ไคโตซาน เป็นสารที่มีมนุษย์เราสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์หลากหลาย แต่ในส่วนของ การนำมารับประทานเพื่อเป็น
อาหารเสริมลดความอ้วนนั้น มีข้อควรระวังในกรณีที่รับประทานเข้าไปแล้วอาจ เกิดอาการอาหารไม่ย่อย ควรดื่มน้ำตามเข้าไปมาก ๆ
อาการจะดีขึ้น และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้พวกอาหารทะเล หญิงมีครรภ์ หรือหญิงที่ให้นมบุตรไม่ควรจะบริโภค

 

ไคติน-ไคโตซาน สารมหัศจรรย์จากธรรมชาติ
เมื่อพูดถึงไคติน สิ่งที่คุณผู้อ่านนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ ก็คือความอ้วน และเชื่อว่าคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายที่มีหุ่นตุ้ยนุ้ยจนละม้ายคล้าย
โอ่งมังกรหลายๆ คนคงเคยลองใช้ผลิตภัณฑ์ไคติน-ไคโตซานมาแล้ว นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักแล้ว
ไคตินยังมีสรรพคุณอีกสารพัดสารเพที่เรียกได้ว่าแทบจะบรรยายไม่หมดเลยทีเดียว ทั้งดักจับคราบไขมันและโลหะหนัก เป็นอาหาร
เสริมสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง

ไคตินคืออะไร
ไคตินเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อ เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตมากมาย
หลายชนิด ไคตินเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก และเนื่องจากไคตินเป็นพอลิเมอร์ที่พบในธรรมชาติ เราจึงมักพบไคติน
ในรูป สารประกอบเชิงซ้อนที่อยู่รวมกับสารอื่นๆ

ไคตินเป็นสารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรตเช่นเดียวกับเซลลูโลสและแป้ง รูปร่างของไคตินจะเป็นเส้นสายยาวๆ มีลักษณะคล้ายลูกประคำที่
ประกอบขึ้นมาจาก น้ำตาลโมเลกุลเล็กๆ ที่มีชื่อว่า เอ็น-อะซิทิลกลูโคซามีน(N-acetylglucosamine)

ไคติน-ไคโตซาน ดาวรุ่งพุ่งแรง
เมื่อพูดถึงไคติน อีกคำที่มักจะพ่วงมาด้วยคือ ไคโตซาน ไคโตซานคืออนุพันธ์ตัวหนึ่งของไคติน รูปร่างหน้าตาของมันก็จะละม้ายคล้าย
กับไคติน ไคโตซานจะได้จากปฏิกิริยาการดึงส่วนที่เรียกว่า หมู่อะซิทิล (acetyl group) ของไคตินออกไป เรียกว่า ปฏิกิริยาดีอะซิทิเลชัน
(deacetylation) ทำให้จากเดิมโมเลกุลเดี่ยวของไคตินที่เคยเป็นเอ็น-อะซิทิลกลูโคซามีน ถูกแปลงโฉมใหม่เหลือแค่ กลูโคซามีน
(glucosamine) เท่านั้น จากที่เคยเรียกว่าไคตินก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็นไคโตซาน

การหายไปของหมู่อะซิทิล ทำให้ไคโตซานมีส่วนของโมเลกุลที่แอคทีฟ และพร้อมที่จะทำ ปฏิกิริยาอย่างว่องไวอยู่หลายหมู่ หมู่ที่เด่นๆ
เลยก็คือ หมู่อะมิโน (-NH2) ตรงคาร์บอนตัวที่ 2 หมู่แอลกอฮอล์ (CH2OH) ตรงคาร์บอนตัวที่ 6 และหมู่แอลกอฮอล์ที่คาร์บอนตัวที่ 3
และเพราะหมู่ที่อยากทำปฏิกิริยานี้เองที่ทำให้ไคโตซานมีโอกาสได้ฉายแววรุ่งโรจน์ในหลายๆ วงการ

ไคติน-ไคโตซานทำงานได้อย่างไร
ไคติน-ไคโตซานจะทำงานเป็นตัวสร้างตะกอนและตัวตกตะกอน ตัวสร้างตะกอนจะกระตุ้นให้เศษของเสียที่แขวนลอยๆ ในน้ำเกิดการ
รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ใหญ่ขึ้นๆ และพอใหญ่มากเกินก็ตกเป็นตะกอนลงมา ส่วนตัวตกตะกอน ก็จะทำงานคล้ายๆ กันคือจะไปจับกับสาร
แขวนลอยในน้ำแล้วตกตะกอนลงมา โดย-ไคโตซานจะทำหน้าที่ทั้งสองแบบ ซึ่งทำได้ดีเนื่องจากมีหมู่อะมิโนที่สามารถแตกตัวให้
ประจุบวกมาก จึงทำให้พวกประจุลบอย่างโปรตีน สีย้อม กรดไขมันอิสระ คอเลสเทอรอล (ในร่างกาย) ต้องเข้ามาเกาะกับประจุบวกของ
ไคโตซาน ส่วนโลหะหนักซึ่งเป็นประจุบวกอยู่แล้ว จะจับกับอิเล็กตรอนจากไนโตรเจนในหมู่อะมิโนของไคโตซานทำให้เกิดพันธะเคมี
ที่เรียกว่า พันธะเชิงซ้อนขึ้นมา และจากการทดลองพบว่าหมู่อะมิโนในไคโตซานจะสามารถจับกับโลหะหนักในน้ำ ได้ดีกว่าหมู่อะซิทิล
ของไคติน

อาการเมื่อขาด:
ไคโตซานไม่ใช่สารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย หรือจะพูดกันให้ถูกไคโตซานไม่นับว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายมนุษย์ต้องการเลย
เราใช้ไคโตซานเป็นตัวเสริมในโปรแกรมการลดน้ำหนักและใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารฟังค์ชันนอลฟูด รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมยา
และเครื่องสำอาง แต่ไม่มีข้อมูลใดๆที่ยืนยันถึงการขาดไคโตซานเลย

ขนาดรับประทาน:
ในขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดขนาดรับประทาน หรือปริมาณที่แนะนำต่อวัน (RDA) ของไคโตซานอย่างแน่นอน
แต่จากการศึกษาหลายกรณีชี้ให้เห็นว่าไคโตซาน 8 กรัม (ไคโตซานแคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัมจำนวน 8 เม็ดต่อวัน หรือขนาดแคปซูลละ
500 มิลลิกรัมจำนวน 4 เม็ดต่อวัน) จะสามารถดูดซับไขมันได้ 10 กรัม และกำจัดออกจากร่างกายไปกับของเสีย (21)

ผลข้างเคียง:
จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ปรากฎรายงานถึงปัญหาร้ายแรงของการใช้ไคโตซานแต่อย่างใด
นอกจากนี้การศึกษาด้านพิษวิทยาของไคโตซานยังพบว่าไคโตซานมีความเป็นพิษต่ำอีกด้วย (11, 23)

ปฎิกริยากับสารอื่น:
ฤทธิ์ในการขับไขมันออกจากร่างกายของไคโตซานจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้ร่วมกับวิตามินซี (2, 4)
แต่การกินในปริมาณมากเกิดขนาดจะเป็นการลดการดูดกลับของเกลือแร่และลดระดับวิตามินอีในน้ำเลือด (5)

เอกสารอ้างอิง:
1. Deuchi K., Kanauchi O., Imasato Y., and Kobayashi E. Decreasing Effect of Chitosan on the Apparent Fat Digestibility
by Rats Fed on a High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 58(9), 1994: 1613-1616.
2. Kanauchi O., Deuchi K., Imasato Y., and Kobayashi E. Increasing Effect of a Chitosan and Ascorbic Acid Mixture on
Fecal Dietary Fat Excretion. Biosci. Biotech. Biochem., 58(9), 1994: 1617-1620.
3. Deuchi K., Kanauchi O., Imasato Y., and Kobayashi E. Effect of the Viscosity or Deacetylation Degree of Chitosan on
Fecal Fat Excreted from Rats Fed on High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 59(5), 1995: 781-785.
4. Kanauchi O., et.al. Mechanism for the Inhibition of Fat Digestion by Chitosan and for the Synergistic Effect of Ascorbate.
Biosci. Biotech. Biochem., 59(5), 1995: 786-790.
5. Deuchi K., Kanauchi O., Shizukuishi M., Kobayashi E. Continuous and Massive Intake of Chitosan Affects Mineral and
Fat-soluble Vitamin Status in Rats Fed on a High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 59(7), 1995: 1211-1216.
6. Knorr D. Functional Properties of Chitin and Chitosan. J. Food. Sci., Vol.47, 1982: 593-595.
7. LEHOUX J. and Gordin F. Some Effects of Chitosan on Liver Function in the Rat. Endocrinology., Vol.132 No.3, 1993: 1078-1084.
8. Okuyama K., Noguchi K. and Miyazawa T. Molecular and Crystal Structure of Hydrated Chitosan. Macromolecules,
30; 1997: 5849-5855.
9. Ikeda I, Tomari Y., and Sugano M. Interrelated Effects of Dietary Fiber and Fat on Lymphatic Cholesterol and Triglyceride
Absorption in Rat. J. Nutr. 119; 1989: 1383-1387.
10. Knorr D. Dye Binding Properties of Chitin and Chitosan. J. Food Sci., Vol.48, 1983: 36, 37, 41.
11. Knorr D. Functional Properties of Chitin and Chitosan. J. Food Sci., Vol. 47, 1982: 593-595.
12. Ebihara K. and Schneeman B. O. Interaction of Bile Acids, Phospholipids, Cholesterol and Triglyceride with Dietary Fiber
in the Small Intestine of Rate. J. Nutr., Vol.119, 1989: 1100-1106.
13. Vahouny G. V. et.al. Comparative effects of chitosan and cholestyramine on lymphatic absorption of lipids in the rat.
J. Clin. Nutr., Vol. 38, 1983: 278-284.
14. Vahouny G. V. et.al. Dietary Fiber and intestinal adaptation: effects on lipid absorption and lymphatic transport in the rat.
J. Clin. Nutr., Vol. 47, 1988: 201-6.
15. Razdan A. and Pettersson D. Effect of chitin and chitosan on nutrient digestibility and plasma lipid concentration in broiler chickens.
J. Nutrition, Vol.72, 1994: 277-288.
16. Razdan A. and Pettersson D. Hypolipidaemic, gastrointestinal and related responses of broiler chickens to chitosans of
different viscosity. J. Nutrition, Vol. 76, 1996: 387-397.
17. Razdan A., Pettersson D. and Pettersson J. Broiler chicken body weights, feed intakes, plasma lipid and small-intestinal bile acid
concentrations in response to feeding of chitosan and pectin. J. Nutrition., Vol. 78, 1997: 283-291.
18. Sugano M. et.al. Anovel use of chitosan as a hypocholesterolemic agent in rats. Am J. Clin. Nutr., Vol. 33, 1980: 787-793.
19. Stasse-Wolthuis M. et.al. Influence of dietary fiber from vegetables and fruits, bran or citrus pectin on serum lipids, fecal lipids,
and colonic function. Am J. Clin. Nutr., Vol. 33, 1980: 1745-1756.
20. Kay R. M. and Truswell A. S. Effect of citrus pectin on blood lipids and fecal steroid excretion in man. J. Clin. Nutr., Vol. 30, 1977:171-175.
21. Chitosan. In: Clinical Studies Compendium.
22. Fabulous Fiber In: In The Kitchen, Energy Times. June 1998: 20.
23. Arai K., Kinumaki T., and Fugita T. On the toxicity of chitosan. Bull. Toka Regional Fisheries Res. Lab.No.56, 1968: 89.
24. Shepherd R., Reader S. and Falshaw A. Chitosan functional properties. Glycoconj J. Jun 1997; 14(4): 535-42.
25. Han L.K., Kimura Y. and Okuda H. Reduction of fat storage during chitin-chitosan treatment in mice fed a high-fat diet. Biosci
Biotechnol Biochem. Feb 1999; 23(2): 174-9.
26. Lee J.K., Kim Su and Kim J.H. Modification of chitosan to improve its hypocholesterolemic capacity. Biosci Biotechnol Biochem.
May 1999; 63(5): 833-9.

โดย
1. ป๋วย อุ่นใจ
2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ