น้ำพลังมหัศจรรย์
น้ำพลังมหัศจรรย์
สิ่งที่ควรรู้หากยังมีลมหายใจอยู่
พลังบำบัดของน้ำ
รู้หรือไม่ว่า น้ำคือหนึ่งในยารักษาโรคจากธรรมชาติ โดยทั่วไปคนเราจะดื่มน้ำก็เมื่อรู้สึกกระหาย แต่จริงๆแล้ว ความรู้สึกกระหายน้ำเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในอาการที่ร่างกายของเราแสดงออกมาว่ากำลังขาดน้ำ จากการศึกษาพบว่า ร่างกายสามารถแสดงความรู้สึกหรืออาการกำลังขาดน้ำด้วยวิธีต่างๆอีกมากมาย การมองข้ามอาการเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงหลายโรค ที่แม้แต่การรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบัน ก็ทำได้เพียงแต่บรรเทา แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การดื่มน้ำเย็นๆ มีส่วนช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย ช่วยให้เลือดจางลงในระดับที่ร่างกายต้องการ ช่วยขับสารพิษออกมาทางผิวหนังในรูปของเหงื่อ กระตุ้นการทำงานของไตให้เป็นปกติ และช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของผนังลำไส้ ในขณะที่น้ำร้อนมีฤทธิ์ยาสงบประสาท ช่วยลดอาการเจ็บปวด ตระคริว และการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
เกือบทุกคนรู้ว่า การดื่มน้ำที่มีปริมาณพอเหมาะสมกับ ความต้องการมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ส่วนใหญ่มักไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และจะเกิดอะไรขึ้นหากร่างกายไม่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
เนื้อหาที่จะเล่าให้ฟังต่อจากนี้ จะแสดงให้เห็นถึงบทบาทของน้ำ ในการป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆที่อาจลุกลามจนกลายเป็นโรคร้าย และยังแสดงให้เห็นถึงวิธีการต่างๆ ในการนำน้ำมาใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคด้วยวิธีธรรมชาติ ร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำถึง 70% ของน้ำหนักตัว น้ำเป็นองค์ประกอบของทุกอวัยวะ เช่น ปอดและสมอง จะมีสัดส่วนของน้ำมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ น้ำยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของของเหลวภายในร่างกาย เช่น เลือด น้ำเหลือง รวมไปถึงของเสียที่ถูกขับออกจากร่างกาย หลังจากผ่านระบบย่อยอาหาร
กลไกการควบคุมน้ำภายในร่างกาย
ทุกครั้งที่มีการงดจ่ายน้ำประปาในพื้นที่แถวบ้าน เราจะจัดการปันส่วนน้ำที่มีอยู่ตามลำดับความสำคัญของการใช้ เช่น แบ่งน้ำส่วนใหญ่ไว้ดื่มหรือทำอาหาร และลดการใช้น้ำเพื่อการชำระล้างร่างกาย หรือในการทำกิจกรรมอื่นๆ ทำนองเดียวกันเมื่อร่างกายของเราได้รับน้ำน้อยกว่าความต้องการ ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารประกอบเคมีที่มีอยู่ทุกเซลล์ของร่างกาย จะเริ่มต้นระบบการจัดสรรปันส่วนน้ำ โดยเลือกนำน้ำไปยังอวัยวะที่สำคัญๆ ของร่างกายก่อน เช่น สมอง หัวใจ และปอด เป็นต้น
ระบบการควบคุมจัดสรรปันส่วนน้ำในร่างกาย นั้นเกิดขึ้นทุกช่วงอายุของเรา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง เริ่มตั้งแต่ช่วงก่อนการคลอด ช่วงหลังคลอดจนถึงวัยรุ่น และในช่วงวัยผู้ใหญ่
ช่วงก่อนการคลอด ทารกในครรภ์จะส่งสัญญาณให้แม่รู้เมื่อต้องการน้ำมากขึ้น เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และการพัฒนาการ เชื่อว่าอาการแพ้ท้องเป็นสัญญาณแรกจากทารกในครรภ์ที่ส่งให้แม่รู้ว่า ทารกในครรภ์ต้องการน้ำมากขึ้น ระบบการจัดสรรปันส่วนน้ำในร่างกายเราจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อร่างกายอยู่ในช่วงอายุ 20 ปี หลังนั้นจะค่อยๆลดลง ไปตามอายุที่มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ความรู้สึกกระหายน้ำจึงจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และกลายเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น ข้ออักเสบ ความดันเลือดสูง และอื่นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับน้ำในปริมารณที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสามารถพบได้ในผู้สูงอายุ
นอกจากนี้การดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมเป็นประจำก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบการควบคุมน้ำในร่างกายทำงานไม่ดีเท่าที่ควรเมื่ออายุมากขึ้น
ความสำคัญของน้ำต่อสุขภาพ
น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในร่างกายซึ่งช่วย ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้เป็นไปอย่างปกติ นอกจากนี้ยังช่วยละลายวิตามินละแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ รวมไปถึงการนำพาสารอาหารให้ไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ระบบการจัดสรรปันส่วนน้ำอย่างเหมาะสมของร่างกายจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าน้ำและสารเคมีต่างๆ เช่น ฮอร์โมนและเอนไซม์ที่ถูกนำพาไปนั้น จะไปถึงอวัยวะที่สำคัญก่อนเป็นอันดับแรก เช่น สมอง หัวใจ ไต และปอด นอกจากนี้น้ำยังมีส่วนในการนำพาสารเคมีที่ผลิตและหลั่งออกจากอวัยวะต่างๆในร่างกายแล้วปล่อยออกทางของเหลว (น้ำ) ที่อยู่รอบๆ ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสารเคมีเหล่านี้จะมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย
บทบาทสำคัญของน้ำในร่างกาย
• น้ำช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่สมบูรณ์แบบ และเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง
• น้ำช่วยสร้างพลังงาน และพลังงานนี้จะถูกสะสมในร่างกายร่วมกับสารเคมีอื่นๆ ที่เป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย
• พลังงานที่ถูกสร้างขึ้นจากน้ำในเซลล์ จะช่วยส่งกระแสกระตุ้นเซลล์ประสาท
• น้ำช่วยสร้างสารที่มีลักษณะคล้ายกาว ซึ่งจะช่วยเชื่อมประสานผนังเซลล์ให้ยึดติดกัน
• น้ำช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผนังอวัยวะภายในร่างกาย
• น้ำช่วยรักษาปริมาณและระดับความเข้มข้นของของเหลวในร่างกาย เช่น เลือดและน้ำเหลืองให้เป็นปกติ
• น้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ขับถ่ายสารพิษและสารอันตรายออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ เหงื่อ และการหายใจ
• น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อโครงสร้างและการทำงานของผิวหนัง
• น้ำช่วยขนส่งสารเคมีที่ผลิตขึ้นจากสมองไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
เมื่อร่างกายขาดน้ำ
ภาวะขาดน้ำจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้ระดับของโซเดียม โปแตสเซี่ยม และคลอไรด์ในร่างกายไม่สมดุล โดยปกติแล้วภาวะขาดน้ำจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญสียน้ำอย่างรวดเร็วจากอาการไข้ ท้องร่วง และอาเจียน เป็นต้น
เมื่อร่างกายของเราประสบภาวะขาดน้ำ เราจะรู้สึกกระหายน้ำ ผิวหนังไม่มีความยืดหยุ่น ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อยลง อารมณ์ฉุนเฉียวและสับสน อาการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกตามธรรมชาติของร่างกายที่จะแสดงออกมาเมื่อร่างกายไม่สามารถจัดสรรปันส่วนน้ำที่มีอยู่น้อยนิดให้เพียงพอต่อ ความต้องการของอวัยวะสำคัญ อย่างไรก็ตามผู้ที่ประสบภาวะขาดน้ำอาจจะมีมีอาการข้างต้นเลยก็ได้ หากภาวะนั้นเกิดขึ้นกับบางเซลล์ หรือบางอวัยวะของร่างกาย
สัญญาณของการขาดน้ำ
ความรู้สึกกระหายน้ำเป็นอาการแรกที่ร่างกายแสดงออกมาเมื่อได้รับน้ำไม่เพียงพอ แต่ในกรณีที่ภาวะขาดน้ำเกิดขึ้นกับบางส่วนของร่างกาย เราอาจจะไม่รู้สึกกระหายน้ำเลยก็ได้
การที่อวัยวะแต่ละส่วนได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะส่งผลให้อวัยวะนั้น ทำงานผิดพลาด อาการหรือสัณญาณที่ร่างกายแสดงออกมาจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ การเจ็บปวดเรื้อรังและอาการแพ้ต่างๆ เป็นอาการที่พบได้บ่อยเมื่ออวัยวะบางส่วนทำงานได้อย่างจำกัด เนื่องจากภาวะขาดน้ำเรื้อรัง เมื่อวัยวะใดๆ ก็ตามเกิดการขาดน้ำ สมองจะควบคุมการใช้น้ำ โดยหลั่งฮีสตามีนออกมา ระบบจัดสรรปันส่วนน้ำก็จะเริ่มทำงาน
อาการปวด เป็นอาการที่บอกให้รู้ว่าอวัยวะบางส่วนกำลังประสบภาวะขาดน้ำ อาการปวดที่พบได้บ่อยเนื่องจากการขาดน้ำ เช่น ปวดท้องหลังอาหาร ปวดศรีษะ ปวดตามข้อ
ปวดข้อต่อเพราะขาดน้ำ
ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์บางคนบอกว่า การปวดตามข้อต่อก็เป็นอาการหนึ่งในอาการที่ร่างกายแสดงออกมาเมื่อเกิดภาวะขาดน้ำ ในบริเวณจุดเชื่อมต่อของกระดูก 2 ชิ้น ที่เกิดอาการนั้น โดยปกติบริเวณส่วนกลางกระดูกทั้ง 2 ชิ้น ในข้อต่อจะมีโครงสร้างป้องกันพิเศษที่เรียกว่ากระดูกอ่อน (Cartilage) ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นน้ำมากกว่ากระดูกธรรมดา (ที่มีความแข็งมากกว่า) น้ำในกระดูกอ่อนจะทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นและช่วยให้ปลายกระดูกที่เชื่อมต่อกัน ทั้งสองปลายสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ อย่างอิสระระหว่างการเคลื่อนไหว เซลล์กระดูกอ่อนบางส่วนจะตายและถูกขจัดออกไป เซลล์ที่ตายเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยเซลล์ใหม่
อาการปวดหลังส่วนล่าง
การขาดน้ำที่กระดูกสันหลังอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ ข้อต่อในกระดูกสันหลังบริเวณที่มีน้ำมากกว่าส่วนอื่นๆ จะมีอยู่ 2 บริเวณ บริเวณแรกจะอยู่ในส่วนผิวของกระดูกอ่อนใกล้กับกระดูกสันหลัง บริเวณที่สองอยู่ในส่วนกลางของหมอนรองกระดูกที่คั่นระหว่างกระดูกสองท่อน
น้ำที่ผิวกระดูกอ่อนจะช่วยในการหล่อลื่น เช่นเดียวกันกับในส่วนข้อต่อของข้อมือและขา ส่วนน้ำในหมอนรองกระดูกจะช่วยในการรับน้ำหนักประมาณ 75% ของน้ำหนักของร่างกายส่วนบน โดยมีเนื้อเยื่อรอบหมอนรองรองกระดูก ช่วยรับน้ำหนักของร่างกายส่วนที่เหลือ 25%
น้ำในข้อต่อของกระดูกสันหลัง จะหมุนวนไปตามช่อง ที่มีลักษณะเป็นสุญญากาศ แพทย์ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการคปวดหลังออกกำลังเพื่อบริหารกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ กระดูกสันหลังเพื่อลดอาการปวด การออกกำลังกายแบบนี้จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของน้ำ เพราะจะดึงเข้าไปสู่บริเวณสุญญากาศในกระดูกสันหลัง การดื่มน้ำมากขึ้น ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาปริมาณน้ำตามปกติในข้อต่อเหล่านี้ แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานของระบบการควบคุมน้ำในแผ่นหมอนรองกระดูกอีกด้วย
สิ่งสำคัญที่ควนรู้ก็คือ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดวางท่าทางของร่างกายในขณะยืน เดิน นั่ง หรือนอนจะช่วยป้องกันการปวดหลัง เพราะน้ำในกระดูกจะสามารถไหลเวียนได้ดี หากรู้จักออกกำลังกาย และวางท่าทางอย่างถูกต้อง
แอลกอฮอล์กับระดับน้ำในร่างกาย
แอลกอฮอล์ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในร่างกายด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ มันจะยับยั้งการหลั่งวาโซเพรสซิน และทำให้เกิดภาวะขาดน้ำเรื้อรัง ในบางส่วนของร่างกาย
แอลกอฮอล์จะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนวาโซเพรสซินจากต่อมพิทูอิทารี การลดลงของวาโซเพรสซินจะส่งผลกระทบต่อกลไกการควบคุมน้ำของร่างกาย ทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้น และกระตุ้นการหลังฮอร์โมนบางชนิดมากเกินไป เช่น เอนดอร์ฟินส์ (Endorphins) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารเสพติด
การได้รับแอลกอฮอล์และคาเฟอีน (ที่มีอยู่ในกาแฟ เครื่องดื่มโคลา)และอื่นๆเป็นประจำ จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำเรื้อรัง ในบางอวัยวะของร่างกายในสถานการณ์ดังกล่าว หากเซลล์ประสาทต้องการน้ำมากขึ้น การไหลเวียนของเลือดบริเวณเส้นประสาทก็จะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการหลั่งฮีสตามีนออกมาจากเซลล์อยู่ตลอดแนวเส้นประสาท การมีฮิสตามีนปริมาณสูงเป็นเวลานานๆ จะทำให้เซลล์ประสาทเกิดการอักเสบ และเมื่อัตราการถูกทำลายของเซลล์ประสาท มีมากว่าอัตราการซ่อมแซมหรือการเกิดขึ้นใหม่ ก็จะทำให้เกิดอาการประสาทเสื่อมหรือประสาททำงานผิดพลาด
น้ำกับโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อมีการขาดน้ำส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย กลไกการควบคุมน้ำในร่างกายจะหาน้ำมาทดแทนส่วนที่ขาดไป โดยจะดึงเอาน้ำที่มีอยู่ในเซลล์มา 66% ส่วนที่เหลือจะดึงจากน้ำภายนอกเซลล์ 26% และจากเลือด 8% และเพื่อให้เลือดคงอยู่ตามปกติ เส้นเลือดฝอยบางส่วนจะปิดลง และนำน้ำทั้งหมดเข้าสู่เลือด
โดยปกติแล้วเส้นเลือดฝอยตามส่วนต่างๆ ของร่างกายจะมีส่วนอย่างมากในการกำหนดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย ดังนั้นการปิดเส้นเลือดฝอยจะเพิ่มแรงต้านของการไหลเวียนของเลือดที่อยู่รอบๆ การเพิ่มแรงต้านต่อการไหลของเลือดจะนำไปสู่การเกิดโรคความดันโลหิตสูง
อย่างไรก็ตามการดื่มน้ำเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถป้องกันหรือควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ เพราะยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่มีผลเกิดโรคนี้ แต่การได้รับน้ำปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยชะลอการเกิดโรคความดันโลหิตสูงหรือลดลงความรุนแรงของโรคได้
น้ำกับภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
หากตรวจพบว่ามีคอลเรสตอรอลในเลือดสูง อาจเป็นการบอกใบ้ให้รู้ว่า เซลล์ในร่างกายกำลังสูญเสียความสามารถ ในการดึงน้ำผ่านผนังเซลล์ เพราะคอเลสเตอรอลจะทำหน้าที่เสมือนซีเมนต์ตามธรรมชาติ ที่ช่วยปิดช่องว่างหรือรูผนังเซลล์ ทำให้น้ำผ่านเข้าไปไม่ได้ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์บางท่านให้ความเห็นว่า การพบคอเลสเตอรอลมากเกินปกติที่ผนังเซลล์ เป็นกลไกตามะรรมชาติที่ร่างกายใช้ป้องกันไม่ไห้เซลล์สูญเสียน้ำ เพราะเมื่อเซลล์ประสบภาวะขาดน้ำ น้ำก็จะสูญเสียคุณสมบัติในการ เป็นตัวเชื่อมประสานผนังเซลล์เข้าด้วยกัน
หากร่างกายได้รับน้ำเข้าไปไม่เพียงพอก่อนกินอาหาร เลือดจะมีความเข้มข้น และก่อให้เกิดกระบวนการดึงน้ำออกจากผนังเซลล์ ส่งผลให้น้ำสูญเสียคุณสมบัติในการเชื่อมผนังเซลล์เข้าด้วยกัน ร่างกายจึงปลดปล่อยคอเลสเตอรอลออกมาเพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ
น้ำกับโรคอ้วน
สมองเป็นอวัยวะที่มีความรูสึกไวต่อระดับการพลังงาน ที่จะถูกนำมาใช้ในการทำงาน หากสมองมีพลังงานต่ำเกินไป มันจะกระคุ้นให้เกิดความรู้สึกกระหายและหิว โดยปกติแล้วฮอร์โมนจะทำหน้าที่ ให้เกิดกระบวนการสร้างพลังงานจากไขมันที่สะสมไว้ในร่างกาย แต่เนื่องจากกระบวนการนี้ใช้ระยะเวลานาน ในขณะที่สมองต้องการใช้พลังงานอย่างเร่งด่วน สมองจึงหันไปพึ่งพาพลังงานจากน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้สมองยังจำเป็นต้องใช้น้ำในการสร้างกระแสไฟฟ้า เพื่อส่งคำสั่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ ของร่างด้วยเพราะเหตุนี้ ความรู้สึกหิวและกระหายที่เกิดขึ้นร่วมกันจึงเป็นการบ่งชี้ว่าสมองกำลังต้องการพลังงานมากขึ้นอย่างเร่งด่วน
การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมก่อนกินอาหารจะช่วยลดความรู้สึกกระหายและช่วยป้องกันการกินอาหารมากเกินไป หากได้รับน้ำไม่เพียงพอเราจะรู้สึกหิวอย่างรุนแรง กินอาหารมากขึ้น และบ่อยขึ้นกว่าปกติ ทั้งนี้เพื่อให้มีน้ำตาลไปเลี้ยงสมองนั่น
พลังงานที่ได้รับจากอาหารมีเพียง 20% เท่านั้นที่ส่งผ่านไปที่สมอง พลังงานที่เหลือใช้จะถูกเก็บไว้ในรูปของไขมัน ในทางตรงข้าม หากสมองได้รับพลังงานจากน้ำมากเพียงพอแล้ว น้ำส่วนเกินจะถูกขับออกมาในรูปปัสสาวะ ดังนั้นการดื่มน้ำมากๆ จึงเป็นการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนได้อย่างมาก
น้ำกับโรคหืดและอาการภูมิแพ้
โรคหืดเป็นโรคของระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยจะมีอาการหายใจติดขัด และมีเสียงดังหวีด เนื่องมาจากการบีบรัดตัวของช่องทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเผชิญกับสารหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้
การไอหรือจาม สามารถทำให้ปอดสูญเสียน้ำสู่ภายนอกได้จำนวนไม่น้อย ด้วยเหตุนี้ ฮีสตามีนจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยเมื่อร่างกายเผชิญกับวัตถุหรือสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เซลล์ในปอดจะหลั่งฮีสตามีนออกมา ส่งผลใช่ช่องทางเดินหายใจเกิดการบีบรัดตัว เพื่อลดการสูญเสียน้ำของปอด การหดตัวนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ ไม่นานร่างกายของเราก็จะกลับมาหายใจได้ตามปกติ
แต่ปอดของผู้ป่วยด้วยโรคหอบหืด จะสามารถหลั่งสารฮีสตามีนออกมาได้มากกว่าปกติ ส่งผลให้การบีบรัดตัวของช่องทางเดินหายใจเกิดขึ้นนานกว่าปกติด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยจึงประสบภาวะขาดอากาศหายใจ
จากการศึกษาในสัตว์พบว่า การได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลา 1-4 สัปดาห์ จะช่วยลดการสร้างฮีสตามีน และยังช่วยลดอาการแพ้สารหรือวัตถุที่เคยแพ้ให้น้อยลงด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์บางท่านให้ความเห็นว่า การดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะสมอาจช่วยควบคุมความรุนแรงของอาการหอบหืดได้
อย่างไรก็ตาม แม้การดื่มน้ำมากๆ จะไม่สามารถช่วยควบคุมโรคหอบหืดได้ในทันทีทันใด แต่การดื่มน้ำราว 10 แก้วต่อวัน เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ จะช่วยทำให้เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมีน้ำในปริมาณที่เหมาะสม และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในพลังแห่งการบำบัดรักษาโรคด้วยน้ำ
ดื่มน้ำวันละเท่าไรดี
เป็นเรื่องยากที่จะระบุปริมาณน้ำที่แน่นอนที่แต่ละคนต้องการ เพื่อทำให้ทุกอวัยวะในร่างกายยังคงทำงานได้ตามปกติ ทั้งนี้เพราะปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สภาพภูมิอากาศ ฤดูกาล กิจกรรม ชนิดของอาหารที่กิน ปริมาณของเครื่องปรุงรสและเครื่องเทศที่ใช้ในการปรุงอาหาร ปริมาณน้ำในอาหาร รวมถึงปริมาณของเกลือที่ได้รับในแต่ละวัน
โดยปกติเราจะได้รับน้ำราว 2 ใน 3 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงแนะนำว่า เราควรดื่มน้ำเพิ่มอีก 8-10 แก้ว ทุกวัน เพื่อให้ได้รับน้ำในปริมาณที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ และอาจจำเป็นต้องดื่มน้ำมากขึ้นเมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือเสียเหงื่อมาก
เราควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำระหว่างการกินอาหาร เพราะมันส่งผลกระทบต่ออาหารที่กำลังเคี้ยวอยู่และการหลั่งของน้ำลาย น้ำจะไหลผ่านกระเพาะอาหารไปภายใน 5-10 นาที หลังการดื่ม ซึ่งอาจทำให้อาหารบางส่วนที่กินเข้าไปไหลผ่านไปพร้อมกับน้ำ นอกจากนี้น้ำจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง และอาหารไม่ได้รับการย่อยอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเราจึงควรดื่มน้ำเมื่อกระเพาะอาหารว่าง คือดื่มในช่วง 1-1.5 ชั่วโมงก่อนอาหาร หรือ 3 ชั่วโมงหลังกินอาหาร
การสังเกตสีของปัสสาวะก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ว่าควรดื่มน้ำมากเท่าไร่ จึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถ้าปัสสาวะเป็นสีเกือบใส หมายถึงร่างกายทุกส่วนของเรามีน้ำเพียงพอแล้ว แต่หากมีสีออกไปทางสีเหลือง แสดงว่าไตต้องทำอย่างหนักเพื่อขจัดของเสีย เนื่องจากเลือดมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำว่าควรจิบน้ำทีละน้อย แล้วอมไว้ในปากสักครู่เพื่อให้ผสมกับน้ำลาย แล้วค่อยกลืน
ความเครียดกับระดับน้ำในร่างกาย
ความเครียดจะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมนเหล่านี้จะเพิ่มปริมาณความข้มข้นมากขึ้นจนกว่าความเครียดจะจางหายไป ด้วยเหตุที่ร่างกายไม่สามารถแยกแยะชนิดของความเครียดได้ จึงหลั่งฮอร์โมนชนิดต่างๆ ออกมามากเกินไป ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ต่อไปนี้ฮอร์โมนส่วนหนึ่ง ที่ร่างกายหลั่งออกมาในปริมาณมากเมื่อเกิดความเครียด
- เอนดอร์ฟิน (Endorphins)
ฮอร์โมนกลุ่มนี้จะถูกหลั่งออกมาจากต่อมพิทูอิทารี การหลั่งฮอร์โมนกลุ่มนี้ออกมามากเกินไป จะมีผลทำให้เกิดความผิดพลาดในการตอบสนองต่อความเจ็บปวดของร่างกาย
- คอร์ติโซน (Cortisone)
เป็นสารประกอบที่สังเคราะห์ขึ้นภายในตับ การปล่อยให้มีการหลั่งคอร์ติโซนออกมาเป็นเวลานานๆ จะมีผลทำให้อาหาร และน้ำที่สำรองไว้ในร่างกายลดลงอย่างมาก
- โปรแลกติน (Prolactin)
โปรแลกตินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมพิทูอิทารี และมีหน้าที่ช่วยสร้างน้ำนมภายหลังการคลอดลูก
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การหลั่งฮอร์โมนโปรแลกตินออกมาในปริมาณที่มากเป็นระยะเวลานาน สามารถก่อให้เกิดเนื้องอกในเต้านมของหนูทดลองได้ นักวิชาการทางการแพทย์บางท่านเชื่อว่า ในกลุ่มผู้หญิงซึ่งมีการหลังฮอร์โมนโปรแลกตินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะขาดน้ำเรื้อรังจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเนื้องอกในเต้านม
- วาโซเพรสซิน (Vasopressin)
เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมพิทูอิทารี มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรปันส่วนน้ำไปตามลำดับความสำคัญของอวัยวะ ในกรณีที่เกิดภาวะขาดน้ำ เซลล์ประสาทจะสร้างวาโซเพรสซินมากกว่าเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย
เมื่อไรที่ควรดื่มน้ำมากกว่าปกติ
นอกเหนือจากการดื่มน้ำเพื่อสุขภาพที่ดีที่ได้กล่าวไปแล้ว เราควรดื่มน้ำมากๆในกรณีต่อไป
• เพื่อเพิ่มปริมาณเลือด เราจำเป็นต้องดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดระหว่างวันเราควรดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อเพิ่มปริมาณเลือด ระหว่างวันเราควรดื่มน้ำมากที่สุดราว ?-1 แก้ว ในแต่ละครั้ง และให้บ่อยเท่าที่เป็นไปได้ น้ำปริมาณนี้จะมีค่าเท่ากับ 130-138 มิลลิลิตร ในแต่ละครั้ง
• เป็นไข้ เมื่อเป็นไข้เราควรดื่มน้ำอย่างน้อย 1 แก้ว ทุกชั่วโมง เพื่อชดเชยกับปริมาณน้ำที่สูญเสียไปจากการระเหยออกไปทางผิวหนัง การที่น้ำระเหยออกไปจะช่วยลดความร้อนจากอาการไข้ ทำให้ร่างกายเย็นลง นอกจากนี้ยังช่วยลดอัตราการเปลี่ยนแปลงสารอาหารเป็นพลังงานและโปรตีนในร่างกายลดการสร้างความร้อน และเพิ่มอัตราการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย
• ติดเชื้อในทางปัสสาวะ การดื่มน้ำมากๆระหว่างที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจะช่วยเพิ่มการผลิตปัสสาวะและล้างเอาเชื้อโรคออกไปได้เร็วขึ้น
• เมื่อเป็นโรคปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีอาการเกี่ยวข้องกับการบวมของข้อต่อ กล้ามเนื้อข้อต่อ จะทำให้รู้สึกปวด เคลื่อนไหวไม่สะดวกหรือรุนแรง จนทำให้กล้ามเนื้อหรือข้อต่อเกิดการเสื่อม ผู้ที่เป็นโรคนี้ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะจะช่วยเจือจางเลือดและระดับของกรดยูริก (ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารเป็นโปรตีน) ที่ปะปนอยู่ในเลือดให้ถูกขับออกไปพร้อมปัสสาวะ
เกร็ดความรู้
เราสามารถรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบและอาการจุกเสียดได้ด้วยตนเอง โดยการเพิ่มปริมาณน้ำที่ได้รับในแต่ละวันให้มากขึ้นอีก 2.5 ลิตร โดยปกติหากท่านทำตามคำแนะนำนี้ อาการจุกเสียด แน่นท้อง และปวดท้องจะหายไปภายในเวลา 2-3 วัน แต่สำหรับบางราย กว่าจะเห็นผลอาจต้องใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ ในกรณีของโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำดี แพทย์มักแนะนำให้เพิ่มอาหารประเภทผักสด ผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง