#temp#
ความหมายความไม่คล้องจองของปัญญา
ความไม่คล้องจองของปัญญา (Cognitive Dissonance) หมายถึง องค์ประกอบทางปัญญา สองอย่างมีความสัมพันธ์อย่างไม่สอดคล้องกัน
องค์ประกอบทางปัญญา ได้แก่ ความรู้ ความคิดเห็น ความเชื่อและค่านิยมของบุคคล ความไม่คล้องจองของปัญญาจะเกิดขึ้นภายหลังที่
บุคคลกระทําการตัดสินใจไปแล้ว ตัวอย่างเช่น
การรู้ว่าตนเองยังเป็นหนี้เขาอยู่ ความรู้เกี่ยวกับตัวเอง และการให้ความสําคัญต่อการมีรถยนต์ คันใหม่ (ค่านิยม) องค์ประกอบสองอย่างนี้ แสดงความไม่คล้องจองของปัญญา เมื่อบุคคล ตัดสินใจซื้อรถใหม่แล้ว
ที่มาของทฤษฎีและหลักการสําคัญใน ความไม่คล้องจองของปัญญา
ความไม่คล้องจองของปัญญา เป็น มโนทัศน์ที่นํามาใช้ครั้งแรกโดย ลีออน เฟสติงเจอร์ (Leon Festinger) นักจิตวิทยาสังคมชาว อเมริกัน ในหนังสือชื่อ A Theory of Cognitive Dissonance (ทฤษฎีความไม่คล้องจองของปัญญา)
ปัญญา (Cognition) ตามที่เฟสติงเจอร์ ใช้ หมายถึง ความรู้ (knowledge) ความคิดเห็น (Opinion) หรือความเชื่อ (belief) ที่บุคคลมี ต่อสภาพแวดล้อม ต่อตนเองหรือต่อพฤติกรรม นอกจากนี้เฟสติงเจอร์ ก็ใช้คําว่า ความรู้ ในความหมายที่กว้างว่าครอบคลุมความ คิดเห็น ความเชื่อ เจตคติ (Attitude) และ ค่านิยม (value) ด้วย ส่วนองค์ประกอบของ
ปัญญา (cognitive element หรือ element
of a cognition) หมายถึง ส่วนย่อยส่วนหนึ่งๆ
ของปัญญา เช่น องค์ประกอบของปัญญาของเรา
เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม อาจเป็นความรู้ที่ว่าเรา
อยู่ในประเทศไทย องค์ประกอบของปัญญาของ
เราต่อตัวเราเอง อาจเป็นความรู้เกี่ยวกับตัวเรา เองว่า เราเป็นคนไทย และองค์ประกอบของ
ปัญญาของเราต่อพฤติกรรมของเราเอง อาจเป็นความรู้ว่าเรากําลังอ่านหนังสือ
เฟสติงเจอร์ เลือกคําว่า dissonance (ความไม่คล้องจอง) มาใช้ แทนที่จะใช้คําว่า inconsistency (ความไม่คงเส้นคงวา หรือความ ไม่เสมอต้นเสมอปลาย) เพราะเขาต้องการคําที่มี ความหมายเป็นกลาง ไม่มีความหมายไปในเชิงตรรกะ
ทฤษฎีความไม่คล้องจองของปัญญา อธิบายว่า มนุษย์มีแรงขับ (drive) ที่จะพยายาม สร้างความกลมกลืน ความคงเส้นคงวา หรือ ความสอดคล้องภายใน ระหว่างความรู้ ความคิด เห็น ความเชื่อ เจตคติ และค่านิยมของตน องค์ประกอบของปัญญา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความคิดเห็น ความเชื่อ เจตคติ หรือค่านิยม สองอย่างมีความสัมพันธ์กันได้สามแบบ คือ ความไม่คล้องจอง (ดังที่อยู่ในความหมาย) ความคล้องจอง (consonance) และความไม่ เกี่ยวเนื่อง (irrelevance)
ความคล้องจอง เกิดเมื่อพิจารณา องค์ประกอบของปัญญาสองอย่างที่เฉพาะเจาะจง แล้วองค์ประกอบหนึ่งเกิดตามหลังอีกองค์ประกอบหนึ่ง
เช่น บุคคลเป็นหนี้สินคนอื่นอยู่ แล้วก็มีคนมา
ชักชวนให้ซื้อรถยนต์คันใหม่ ก็ไม่ยอมซื้อ เช่นนี้
องค์ประกอบของปัญญาเรื่องการเป็นหนี้สินคน
อื่นคล้องจองกับองค์ประกอบของปัญญาเรื่องการไม่ยอมซื้อรถยนต์คันใหม่
ความไม่เกี่ยวเนื่อง เกิดเมื่อพิจารณา
องค์ประกอบของปัญญาสองอย่างที่เฉพาะเจาะจง
แล้วองค์ประกอบทั้งสองมีความไม่เกี่ยวเนื่อง
หรือความไม่เกี่ยวข้อง เช่น บุคคลเป็นหนี้สินคนอื่นอยู่ และบุคคลรู้ว่าขณะนี้ฝนกําลังตก
กรณีนี้องค์ประกอบของปัญญาเรื่องการเป็นหนี้
สินคนอื่นไม่เกี่ยวเนื่องกับองค์ประกอบของปัญญา
เรื่องฝนกําลังตก
เฟสติงเจอร์ (1957:3) มีสมมุติฐานหลัก สองข้อ คือ
1. การเกิดความไม่คล้องจอง ซึ่งเป็น สภาวะที่บุคคลมีความรู้สึกไม่สบายใจ จะจูงใจให้ บุคคลพยายามลดความไม่คล้องจอง และแสวงหาความคล้องจอง
2. เมื่อเกิดความไม่คล้องจองขึ้น นอกจากบุคคลจะพยายามลดความไม่คล้องจองลงไป
แล้วยังพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือข่าว
สารที่จะมาทําให้เกิดความไม่คล้องจองเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ เฟสติงเจอร์ ยังเห็นว่า ความมากน้อยของความไม่คล้องจองของปัญญา ขึ้นอยู่กับความสําคัญขององค์ประกอบของ ปัญญาที่เกี่ยวข้อง และพลังของแรงผลักดันให้ ลดความไม่คล้องจองขึ้นอยู่กับความมากน้อยของความไม่คล้องจอง
เฟสติงเจอร์ (1957) เสนอแนะการนํา ทฤษฎีไปใช้ไว้ 4 ด้าน คือ
1. ความไม่คล้องจองหลังการตัดสินใจ (Postdecision dissonance) แนวทางหนึ่งของทฤษฎีชี้ให้เห็นว่าความไม่คล้องจองจะเกิดขึ้น หลังจากคนต้องเลือกของสองสิ่ง หรือเลือก ระหว่างการกระทําสองอย่าง ความไม่คล้องจองนี้ จะมีมากหาก ก) เรื่องที่ตัดสินใจมีความสําคัญ สําหรับบุคคลมาก ข) สิ่งหรือทางที่ไม่เลือก มีความดึงดูดพอ ๆ กับสิ่งหรือทางที่เลือก และ ค) ธรรมชาติของสิ่งหรือทางที่ต้องเลือกมีความแตกต่างกันมาก เช่น การตัดสินใจว่าจะอ่านหนังสือเล่มไหนดีระหว่างหนังสือสองเล่ม เมื่อตัดสินใจไปแล้วจะก่อให้เกิดความไม่คล้องจองน้อยกว่าผลจากการตัดสินใจว่า จะอ่านหนังสือสนุกหนึ่งเล่ม หรือออกไปดูภาพยนตร์ดี
วิธีลดความไม่คล้องจอง (dissonance reduction) การลดความไม่คล้องจอง หลังจากตัดสินใจไปแล้วอาจทําโดย
ก) เพิ่มความชอบหรือความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งหรือทางเลือกที่เลือกแล้ว
ข) ลดความชอบ หรือความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งหรือ ทางเลือกที่ไม่ได้เลือก
ค) ทั้งข้อ ก) และ ข)
ง) เพิ่มความรู้สึกว่าสิ่งหรือทางเลือกที่เลือกและ ไม่ได้เลือกมีความคล้ายคลึงกัน เช่น บอกกับตัวเองว่า การอ่านหนังสือสนุกกับ การไปดูภาพยนตร์ต่างก็เป็นการพักผ่อนหย่อนใจเหมือนกัน หรือ
จ) ลดความสําคัญของแง่มุมต่างๆ ของการตัดสินใจลงไป
2. การรับข่าวสารโดยความสมัครใจและไม่สมัครใจ แนวทางอีกอย่างหนึ่งของทฤษฎีชี้ว่า โดยทั่วไปมนุษย์จะแสวงหาข่าวสารที่ลดความไม่คล้องจองของคน และหลีกเลี่ยงข่าวสารที่จะเพิ่มความไม่คล้องจอง แต่ในบางครั้งบุคคลอาจหลีกเลี่ยงข่าวสารไม่ได้ โดยเฉพาะข่าวสารที่ เผยแพร่โดยสื่อมวลชน หรือข่าวลือที่คนรู้จักบอก ถ้าข่าวสารเหล่านี้มาขัดกับความรู้สึก หรือความเชื่อที่บุคคลมีอยู่เดิม ก็จะทําให้เขาเกิดความไม่คล้องจองขึ้น และเขาก็จะหาทางลดความไม่คล้องจองนี้ลงไป ซึ่งอาจทําโดย ก) รับรู้ข่าวตีความข่าวหรือเข้าใจข่าวให้ผิดเพี้ยนไป ข) เชื่อหรือชี้ให้ตัวเองเห็นว่าแหล่งให้ข่าวไม่น่าเชื่อถือ ค) หาข่าวอื่นที่คล้องจองมาเพิ่มในปัญญาของตน หรือ ง) เปลี่ยนความเชื่อ หรือเจตคติของตนไป ให้คล้องจองกับข่าวสารที่ได้รับ
3. ความไม่คล้องจองและการสนับสนุนทางสังคม อีกด้านหนึ่งของทฤษฎี อธิบายว่าการไม่เห็นด้วยกับผู้อื่น เป็นทางให้บุคคลเกิด ความไม่คล้องจองในตัวได้ และการเห็นด้วยกับ ผู้อื่นก็เป็นทางให้บุคคลลดความไม่คล้องจองได้ ซึ่งมีการอธิบายว่า ความไม่คล้องจองจะมีมาก ถ้าการไม่เห็นด้วยกับผู้อื่นนั้น ก) มีอย่างกว้างขวาง ในเรื่องที่ ข) มีความสําคัญกับบุคคลและ ค) เป็นเรื่องที่จะทดสอบหาความจริงเชิง ประจักษ์ ได้ยาก และผู้คนที่บุคคลไม่เห็นด้วย ง) มีมาก จ) มีความดึงดูดต่อบุคคล และ/หรือ ฉ)มีความน่าเชื่อถือ ในสถานการณ์เช่นนี้บุคคลอาจเปลี่ยนความคิดเห็นของตนไปเพื่อลดความไม่ คล้องจอง หรือชักจูงให้คนที่ไม่เห็นด้วยกับตนมา เห็นด้วยกับตน หรือเลิกเชื่อถือคนที่มีความเห็น ไม่คล้องจองกับตน นอกจากนี้บุคคลอาจลดความไม่คล้องจองโดยการสังสรรค์กับคนอื่นที่ เห็นด้วยกับตน หรือหาการสนับสนุนโดยการชัก จูงคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาก่อนให้มาเห็นด้วยกับตนในเรื่องนี้
4. พฤติกรรมต่อต้านเจตคติ (Coun- terattitudinal behavior) เฟสติงเจอร์ เจ้าของทฤษฎีเสนอว่า การพยายามทําให้บุคคลกระทําพฤติกรรมที่ขัดกับความคิดเห็น (หรือความรู้ ความเชื่อ เจตคติ ค่านิยม) แต่เดิมของเขา โดยการเสนอรางวัลให้หากเขายอมทําพฤติกรรมนั้น หรือขู่ว่าจะลงโทษเขาหากเขาไม่ยอมทําพฤติกรรมนั้น กรณีเช่นนี้จะทําให้เขาเกิดความไม่คล้องจองขึ้น ไม่ว่าเขาจะยอมทําพฤติกรรมนั้นหรือไม่ก็ตาม หากเขายอมทําพฤติกรรมนั้น
ความคิดเห็นแต่เดิมของเขาก็จะไม่คล้องจอง
กับความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของเขา ที่ว่าเขา
ยอมทําพฤติกรรมที่ขัดกับความคิดเห็นเดิมของตน
หากเขาไม่ยอมทําพฤติกรรมนั้น ความรู้ของเขา
เกี่ยวกับรางวัลที่ไม่ได้รับ หรือการลงโทษที่เขา
อาจได้รับ ก็จะไม่คล้องจองกับความรู้เกี่ยวกับ
พฤติกรรมของเขา ที่ว่าเขาไม่ยอมทําพฤติกรรม
ที่จะทําให้เขาได้รับรางวัล หรือเขาไม่ยอมทํา
พฤติกรรมที่จะทําให้เขาไม่ต้องรับโทษบางอย่าง
ทฤษฎีนี้ยังระบุอีกว่า ความไม่คล้อง
จองจะมีมากที่สุด หากรางวัลที่สัญญาว่าจะให้
หรือการลงโทษที่ขู่ไว้ มีน้อยที่สุด แต่เพียงพอ
ที่จะทําให้บุคคลยอมทําพฤติกรรมนั้น หรือเกือบ
จะไม่พอที่จะทําให้บุคคลยอมท่าพฤติกรรมนั้น
หากบุคคลยอมทําพฤติกรรม ความไม่คล้องจอง
จะมีน้อย ถ้ารางวัลหรือการลงโทษมีมาก หากบุคคลไม่ยอมทําพฤติกรรมความไม่คล้องจอง
จะมีมาก ถ้ารางวัลหรือการลงโทษมีมาก เช่น
นักเรียนที่มีความคิดเห็นเดิมไม่ชอบการโกงในการสอบ แต่ต้องมาสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
ซึ่งการสอบได้หรือไม่ได้นั้น นับว่ามีความสําคัญ
กับนักเรียนมาก หากมีเพื่อนของนักเรียนมา ชวนให้ร่วมทุจริตในการสอบ ไม่ว่านักเรียนจะยอมร่วมทุจริตหรือไม่ก็ตาม นักเรียนคนนี้ก็จะ
เกิดความไม่คล้องจองของปัญญาขึ้น นั่นคือ
หากเขายอมร่วมทุจริต ความรู้เกี่ยวกับความคิดเห็นเดิมของเขาต่อการโกงในการสอบจะไม่
คล้องจองกับความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการโกง ของเขา หากเขาไม่ยอมร่วมทุจริตความรู้เกี่ยวกับ พฤติกรรมของเขา จะไม่คล้องจองกับความรู้ที่ว่า
เขาอาจสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้
การลดความไม่คล้องจองในกรณีของพฤติกรรมต่อต้านเจตคติ พิจารณาได้เป็นสองทาง คือ ก) หากบุคคลยอมทําพฤติกรรมที่ไม่
สอดคล้องกับความคิดของเขา เขาสามารถลดความไม่คล้องจองลงได้ด้วยการเปลี่ยนความคิดเห็นให้ไปคล้องจองกับการกระทํา หรือโดยการคิดว่ารางวัลหรือการลงโทษที่เกี่ยวข้องมีมากกว่าที่เป็นจริง ข) หากบุคคลไม่ยอมทําพฤติกรรมเขาสามารถลดความไม่คล้องจองลงได้โดยการคิดว่าความคิดเห็นของเขาในเรื่องนั้นหนักแน่นกว่าเดิม หรือโดยการคิดว่ารางวัลหรือการลงโทษที่เกี่ยวข้องมีน้อยกว่าที่เป็นจริง
ความแตกต่างระหว่างความไม่สอดคล้อง ของปัญญากับความขัดแย้ง
คําศัพท์อื่นที่นักวิชาการไทยมักนํามาใช้สับสนกับความไม่คล้องจองของปัญญาอยู่เสมอคือ ความขัดแย้ง (Conflict) ในทางจิตวิทยา ความขัดแย้งภายในตัวบุคคลแบ่งโดยพื้นฐาน ออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) ความขัดแย้ง แบบเข้าหา-เข้าหา (Approach-approach conflict) ทํานองเดียวกับการรักพี่เสียดายน้อง 2) ความขัดแย้งแบบหลีกหนี-หลีกหนี (Avoidance-avoidance conflict) เช่น นักเรียนไม่อยากอ่านหนังสือ แต่ก็ไม่อยากสอบตก เข้าทํานองหนีเสือ แต่ก็ไม่อยากปะจระเข้ 3) ความขัดแย้งแบบเข้าหา-หลีกหนี (Approach - avoidance conflict) คล้ายกับการเกลียดตัวกินไข่เกลียดปลาไหลกินน้ําแกง ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่บุคคลจะตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่น บัณฑิตที่สอบเข้าทํางาน ณ สถานที่สองแห่งซึ่งมีความดึงดูดพอ ๆ กันแล้วได้ รับการตอบรับพร้อมกัน บัณฑิตผู้นี้จะเกิดความขัดแย้งแบบเข้าหาเข้าหา คือ ขัดแย้งว่าจะเลือกสถานที่แรก หรือสถานที่สอง แต่เมื่อบัณฑิตผู้นี้ ตัดสินใจเลือกเข้าทํางานกับสถานที่หนึ่งสถานที่ใดแล้ว เขาจะเกิดความไม่คล้องจองของปัญญา ขึ้นเพราะองค์ประกอบของปัญญาอย่างหนึ่งมีว่า สถานที่ทั้งสองแห่งมีความดึงดูดสําหรับเขาพอๆ กัน แต่องค์ประกอบของปัญญาอีกอย่างหนึ่งก็มีว่า เขาได้เลือกเข้าทํางานกับสถานที่หนึ่ง ความไม่คล้องจองของปัญญาประเภทนี้คือ ความไม่คล้องจองหลังการตัดสินใจ นั่นเอง บัณฑิตผู้นี้ จะหาทางลดความไม่คล้องจองของปัญญาลง โดยอาจจะ ก) เพิ่มความชอบต่อสถานที่ที่เลือกแล้ว ข) ลดความชอบต่อสถานที่ที่ไม่เลือก ค) ทําทั้ง ก และ ข ง) เพิ่มความรู้สึกว่าสถานที่เลือก และที่ไม่เลือกมีความคล้ายคลึงกันในบาง แง่มุม หรือ ๑) ลดความสําคัญของแง่มุมต่างๆของการตัดสินใจลงไป
การนำหลักการของทฤษฎีความไม่คล้องจองของปัญญาไปใช้ในการเปลี่ยนเจตคติของพฤติกรรม
หลักการของทฤษฎีความไม่คล้องจองของปัญญาอาจนํามาใช้กับบุคคลที่อยู่ในวงการศึกษาได้ทุกระดับ เช่น นักเรียน นิสิต นักศึกษา
หรือบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเปลี่ยนเจตคติ
และ/หรือพฤติกรรมไปให้ตรงกันข้ามกับจุดยืนเดิม วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเป็นสองวิธีหลัก คือ
1. การชักจูงทางพฤติกรรม ใช้หลักการจากเรื่องพฤติกรรมต่อต้านเจตคติที่ว่าการใช้หลักความไม่คล้องจองจะประสบผลสําเร็จสูงสุด
เมื่อ ก) ชักจูงให้บุคคลทําพฤติกรรมที่ขัดกับเจตคติเดิมของเขา โดยทําให้เขารับรู้ว่าเขาทําพฤติกรรมนั้นๆ ด้วยความสมัครใจ และไม่มี
เหตุผลภายนอกเพียงพอที่จะให้เขานําไปใช้อธิบายกับตนเองว่า เขาทําพฤติกรรมนั้นเพราะเหตุผลนั้น ๆ เช่น ไม่มีรางวัลก้อนใหญ่ตอบแทนการกระทําของเขาและเขาไม่ถูกบังคับให้ทําพฤติกรรมนั้น ๆ ข) ทําให้การกระทําของเขาเป็น
ที่รู้เห็นของผู้อื่นซึ่งจะเป็นการผูกมัดตัวผู้กระทํา และ ค) ทําให้เขารับรู้ว่าการกระทําของเขาจะไปมีผลต่อผู้อื่นได้มาก
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ตามแนวนี้ได้แก่
การวิจัยของฮิวส์แมนและคณะ (Huesman, Eron,
Klein, Brice, & Fircher, 1983) ที่ทําโดย
การคัดเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ
5 ทั้งชายและหญิงที่ชอบดูรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาความก้าวหน้า มาแบ่งเป็นสองกลุ่ม
ในกลุ่มทดลองผู้วิจัยจัดให้เด็กมาทํางานพร้อมกันครั้งละ 3-4 คน โดย ก) ให้คําชมเชยกับการที่เด็กมีทัศนะในทางต่อต้านการเลียนแบบ
ความก้าวร้าวจากรายการโทรทัศน์ (เป็นการขู่โดยไม่ให้เด็กมีโอกาสปฏิเสธ) ข) ชักจูงให้เด็กเขียนเรียงความเรื่องโทษของการเลียนแบบความก้าวร้าวจากรายการโทรทัศน์ ค) เหนี่ยวนําให้เด็กรับรู้ว่าเขามาเขียนเรียงความนั้นด้วยความสมัครใจ โดยการบอกว่าเด็กคนใดที่ไม่ต้องการทําก็ขอให้ถอนตัวไปได้ ง) ชักจูงให้เด็กรับรู้ ว่าผลจากการกระทําของเขาเป็นสิ่งสําคัญ และ จ)เขาต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทําของเขาที่จะไปมีผลต่อเด็กอื่นๆ ได้มาก โดยการบอกว่าจะให้เด็กอ่านเรียงความ แล้วอัดแถบบันทึกภาพไว้ เพื่อนําไปเผยแพร่ให้นักเรียนที่อื่นได้ชมกัน(การบันทึกภาพไว้เป็นการทําให้เด็กเกิดการผูกมัดตนเอง ว่าตนได้ทําพฤติกรรมที่ขัดกับเจตคติเดิมของตนด้วย) หลังจากนั้นสองสัปดาห์ ผู้วิจัยให้เด็กมาทบทวนแก้ไขเรียงความอีกครั้ง แล้วจึงอัดแถบบันทึกภาพไว้ ส่วนนักเรียนในกลุ่มควบคุมผู้วิจัยก็ให้ทําสิ่งต่างๆ คล้ายกับเด็กในกลุ่มทดลอง เพียงแต่เรื่องที่ให้เขียนเรียงความเป็นเรื่องงานอดิเรก
สี่เดือนต่อมาผู้วิจัยติดตามไปวัดผลหลายด้าน ปรากฏว่าเด็กในกลุ่มทดลองเปลี่ยนเจตคติต่อความก้าวร้าวในรายการโทรทัศน์ไปในทิศทางที่ต้องการ และมีพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง มากกว่าเด็กในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ
ในการนําหลักการของทฤษฎีความไม่คล้องจองของปัญญาไปใช้จริงอาจมีวิธีชักจูงพฤติกรรมที่เฉพาะเจาะจงในลักษณะที่แบ่งย่อยได้อีกอย่างน้อย 4 วิธี ก) ให้บุคคลเขียนเรียงความข) ให้บุคคลแสดงบทบาท ค) ให้บุคคลจัดนิทรรศการ และ ง) ให้บุคคลกระทําการต่างๆในลักษณะที่จะทําให้เขาต้องให้เหตุผลกับความพยายามของเขาในการกระทําให้บรรลุผลบางอย่าง(เข้าทํานองมะนาวหวาน) และในทั้งสี่วิธีนี้ให้ทําในเรื่องและทิศทางที่ต้องการเปลี่ยนเจตคติ หรือพฤติกรรมของบุคคล
2. การชักจูงทางปัญญา มีสองวิธีย่อยคือ การให้รางวัลแต่น้อย และการขู่ว่าจะลงโทษแต่น้อย ตัวอย่างให้รางวัลแต่น้อย เช่น
อารอนสัน (Aronson, 1980) แนะว่าในการเรียนระดับประถมศึกษาหากครูต้องการให้เด็กท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปครูอาจให้รางวัล
กับเด็กด้วยคําชม ให้คะแนนสูง ๆ ให้ดาวทองหรือให้รางวัลอื่น ๆ แต่สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเหตุผลภายนอกตัวเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถอธิบาย
กับตนเองได้ว่าเพราะอะไรตนจึงท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ ส่วนตามแนวทฤษฎีความไม่คล้องจองของปัญญาเด็กอาจท่องศัพท์ไปได้ไม่นานหาก
ครูหยุดให้รางวัลเหล่านั้น เพราะรางวัลเหล่านั้นมีค่าค่อนข้างมากสําหรับเด็กและเพียงพอที่จะทําให้เด็กท่องศัพท์ได้แต่ถ้าครูให้รางวัลภายนอก กับเด็กเพียงเล็กน้อย เด็กจะให้เหตุผลเพิ่มกับตัวเองในการท่องศัพท์ที่ตนทํา และอาจทําให้รู้สึกสนุกไปกับการท่องศัพท์ด้วยปิดไปแล้ว หรือครูเลิกให้รางวัลภายนอกไปแล้วก็ตาม
ส่วนตัวอย่างการขู่ว่าจะลงโทษแต่น้อย ก็ใช้หลักการคล้ายกันว่า ถ้าผู้ใหญ่จะลงโทษเด็กมาก หากเด็กทําบางอย่างที่ผู้ใหญ่ห้ามเด็กทํา แล้วเด็กเชื่อฟัง การขู่นี้จะได้ผลหากมีผู้คอยจับผิดเด็กอยู่ตลอดเวลา แต่ตามแนวทฤษฎี
เด็กก็มีแนวโน้มจะท่องศัพท์ต่อไปได้เอง แม้ว่าโรงเรียนอาจ
ความไม่คล้องจองของปัญญา ผู้ใหญ่ควรขู่เด็กให้น้อยที่สุด แต่อยู่ในระดับมากพอที่เด็กจะเชื่อฟังได้ ภายหลังเมื่อไม่มีการขู่หรือการลงโทษแล้ว
เด็กจะกลับไปคิดว่าเหตุที่ตนไม่ทําสิ่งที่ผู้ใหญ่ห้ามคงไม่ใช่เพราะตนกลัวคําขู่ว่าจะถูกลงโทษ เนื่องจากคําขู่มีการคาดโทษที่ไม่น่ากลัวเลย แต่ที่ตนไม่ทําสิ่งที่ถูกห้ามนั้น เป็นเพราะตนไม่อยากทํา สิ่งนั้นต่างหาก