การคิดนอกกรอบ
การคิดนอกกรอบ Lateral Thinking การคิดแนวข้าง
การคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking) คำว่า “การคิดนอกกรอบ” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Lateral Thinking” (บางแห่งใช้คำว่า “การคิดแนวข้าง”)
Dr. Edward de Bono เป็นชาวสหรัฐอเมริกา เกิดที่เมืองมอลตา เป็นอาจารย์สอนที่ มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดเคมบริดจ์ และฮาวาร์ดเป็นผู้นําในการสอนเรื่องการคิดโดยตรงในแง่ที่ การคิดเป็นทักษะอย่างหนึ่งเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่องการคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking)
การคิดแนวตั้งเป็นการคิดที่เป็นลําดับต่อเนื่่อง เมื่อได้ข้อสรุปที่ถูกต้องความถูกต้องก็มาจากความ ถูกต้องสมบูรณ์ของแต่ละขั้นที่่ผ่านมา ส่วนแนวคิดแนวนอน ในแต่ละขั้นของการคิดอาจไม่ลําดับ ต่อเนื่องกันเป็นการกระโดดข้ามขั้นแก้ปัญหาความสําเร็จบางครั้งอาจไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล มารองรับ แต่ก็ได้แนวคิดใหม่ๆ
ความคิดแนวตั้ง | ความคิดแนวข้าง |
---|---|
เลือกสรร (ทำตามขั้นตอน) | สร้างสรรค์ (ทำสิ่งแปลกใหม่) |
เคลื่อนไหวเมื่อมีทิศทางให้เคลื่อนไหว | เคลื่อนไหวเพื่อสร้างสรรค์ทิศทาง |
เป็นเชิงวิเคราะห์ เป็นเชิงกระตุ้น | เคลื่อนไหวไปทีละขั้น กระโดดข้ามขั้นได้ |
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะถูกต้องทุกขั้นตอน |
ไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องทุกขั้นตอน |
ใช้ข้อห้าม ข้อจำกัด ข้อปฏิเสธ เป็นตัวตัดทางเลือก | ไม่มีคำว่าข้อห้าม ข้อจำกัด ข้อปฏิเสธ |
ตัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป | ยอมรับได้ทุกสิ่ง |
ต้องมีการจัดประเภทที่แน่ชัด | ไม่มีความจำเป็นเช่นนั้น |
เคลื่อนไหวตามเส้นทางที่น่าจะเป็นที่สุด | เคลื่อนไหวตามเส้นทางที่ไม่น่าจะเป็นที่สุด |
ไม่เป็นกระบวนการที่มีขอบเขตแน่ชัด | เคลื่อนไหวตามเส้นทางที่ไม่น่าจะเป็นที่สุด |
ข้อเท็จจิงของความคิดแนวข้าง
- ถึงแม้เป็นมุมมองใหม่และความคิดใหม่จะมีประสิทธิภาพสูงมาก แต่ก็ไม่มีวิธีการที่ปฏิบัติได้จริง ที่จะคิดมันออกมาจึงทำได้แต่เพียงรอคอยให้มันเกิดขึ้นเอง
- เมื่อใดก็ตามที่ข้อยุติหนึ่งถูกกล่าวขึ้นว่าค้นพบโดยความคิดแนวข้าง เมื่อข้อยุตินั้นก็สามารถค้นพบได้โดยเหตุผล เช่นกัน ด้วยเหตุการณ์ความคิดแนวข้างจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเนื่องจากทดแทนด้วยความคิดแนวตั้งที่ดีขึ้นเท่านั้นเอง
- ความคิดแนวข้างเป็นสิ่งเดียวกับตรรกศาสตร์เชิงนิรนัย (Inductive)
- ความคิดแนวข้างไม่ใช่วิธีการคิดอย่างจงใจ แต่เป็นพรสวรรค์ที่บางคนมี แต่บางคนไม่มี
ประโยชน์ของความคิดแนวข้าง
- ได้ความคิดใหม่ซึ่งแตกต่างจากเดิม
ซึ่งหากใช้ความคิดแนวตั้งมักจะติดกรอบเหตุผลมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และมักจะไม่สามารถผ่านไปได้ การฝึกคิดแนวข้างจะทำให้เกิดความคิดที่แปลกใหม่และไม่เคยคิดมาก่อนซึ่งเป้นส่วนสำคัญให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในที่สุด - สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาแบบ คิดใหม่ทำใหม่
ซึ่งในการแก้ปัญหาที่ดีควรต้องมีการแสวงหาทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตกลงใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาบางเรื่องนั้นมักมีทางเลือกในการแก้ไขแบบเก่าๆซึ่งไม่อาจทำให้การแก้ไขปัญหาไม่สำเร็จหรือดีเท่าที่ควรดังนั้นการคิดแนวข้าง จะได้วิธีการใหม่ๆที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่าก็เป็นได้ - มีมุมมองหรือทัศนคติที่เปลี่ยนไปจากเดิม
ในบางครั้งเราคิดว่าความคิดของมนุษย์นั้นมีข้อจำกัดมีความคิดได้เพียงระดับหนึ่งและไม่สามารถคิดให้มากว่านั้นได้เปรียบเหมือน การขับรถบทท้องถนนที่ลดติดซึ่งคนทั่วก็ต้องยอมขับตามๆกันไปแต่การมีความคิดแนวข้างคือการแสวงหาซอยหรือทางลัดใหม่ที่จะช่วย ให้การเดินทางไปถึงจุดหมายได้เร็วกว่าและดีกว่า - นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่
ในโลกยุคปัจจุบันนวัตกรรมทั้งด้านสินค้าและบริการเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันซึ่งการที่จะมีนวัตกรรมได้นั้นต้องผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญคือการคิดแนวข้างนั่นเอง
หลักการพื้นฐานของการคิดแนวข้าง
- การสร้างทางเลือก
การคิดแนวข้างเป็นเรื่องของการสำรวจมุมมองอื่นๆ โดยการปรับโครงสร้างและจัดเรียงข้อมูลที่มีอยู่ใหม่ ความคิดแนวข้างนั้นก็คือการการเคลื่อนออกไปด้านข้างแทนที่จะเคลื่อนไปตรงๆ ซึ่งต่างจากแนวตั้งนั่นเอง - การท้าทายสมมติฐาน
โดยปกติคนเราจะสมมติฐานไปเองว่าความคิดเดิมนั้นดีอยู่แล้ว ซึ่งส่งผลให้เราไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำในรูปแบบใหม่ ดังนั้นการที่คิดท้าทายความคิดเดิมเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้แล้วพยายามหาคำตอบที่ดีที่สุดกว่าคำตอบเดิมที่แม้แต่ถูกต้องแล้วก็ตาม - การชะลอการตัดสินใจ
การคิดแนวตั้งนั้นมักต้องมีการใช้เหตุผลหรือต้องเป็นไปตามขั้นตอนตั้งแต่การเริ่มคิดครั้งแรก แต่การใช้ความคิดแนวข้างนั้น มักไม่รีบด่วนสรุปตัดสินใจจะชะลอเวลาเพื่อรอความคิดที่ดีที่สุด และตัดสินใจเลือกความคิดใดนั้นอย่างมีเหตุมีผลในขั้นสุดท้าย
การคิดแนวข้างนั้นถือเป็นแนวคิดที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพราะเหตุว่าเมื่อมนุษย์มีความสามารถในการคิดที่ดีแล้วย่อมส่งผล ต่อการปฎิบัติสร้างสรรค์สิ่งต่างๆเพื่อช่วยให้สังคมมีความเจริญรุ่งเรื่องในที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการมีความคิดที่ชาญฉลาดย่อมต้องมีการควบคุมด้วยความคิดในเชิงจริยธรรมอีกด้วยเพราะเหตุว่าถ้าคนฉลาดแต่ไม่มีความดีแล้ว ละก็สังคมก็จะมีความวุ่นวายและเสื่อมทรามในที่สุด เช่นเดียวกันกับในองค์การหากมีพนักงานที่เก่งแต่ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตองค์การนั้นก็คงไปไม่ตลอดรอดฝั่งเช่นกัน