กระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์
ระยะไข่ ( Ovum )
พัฒนาการด้านต่างๆ ในแต่ละช่วงวัยของมนุษย์นั้นโดยทั่วไปมี 5 ช่วงคือ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชราดังจะอธิบายเรื่องแรกคือ กระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์เพื่อจะได้เข้าใจในพัฒนาการขั้นต่อๆ ไป
กระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์
ระยะไข่ ( Ovum )
ไข่ที่มีการปฎิสนธิเป็นขั้นแรกเรียกว่า Fertilized ovum โดยมีมดลูก ( Uterus )เป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะ มดลูกติดต่อ กับท่อนำไข่ เมื่อถึงวัยสาว ไอโอไซด์ระยะแรกหนึ่ง เซลล์จะเริ่มเกิด เปลี่ยนแปลง โดยการแบ่งเซลล์แบบ ไมโอซิส ครั้งที่ 1 กลายเป็น ไอโอไซด์ระยะที่ 2 ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและค่อย ๆ เคลื่อนมาที่ผิวของรังไข่ในระยะนี้ฟอลลิเคิลจะสร้างฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น เมื่อเซลล์ไข่ในฟอลลิเคิลเจริญเต็มที่แล้ว ผนังฟอลลิเคิล จะแตกออก ทำให้เซลล์ไข่หลุดออกมา และเซลล์ไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่จะเข้าไปในปีกมดลูก เซลล์ไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่นี้ยังเป็น ไอโอไซด์ระยะที่ 2 อยู่ ส่วนเซลล์ที่เป็นฟอลลิเคิลก็จะกลายเป็นเนื้อเยื้อสีเหลืองเรียกว่า คอร์ปัสสูเทียม (Corpus Iuteum) เมื่อเซลล์ไข่นี้ได้รับการผสมกับอสุจิที่ท่อนำไข่ ก็จะได้ไซโกด (Zygote) ซึ่งจะพัฒนาเป็น เอ็มบริโอ (embryo) ต่อไปเอ็นบริโอ จะเคลื่อนที่มาฝังอยู่กับผนังของมดลูก ( Uterine wall ) ในขณะเดียวกัน คอร์ปัสลูเทียมจะสร้างฮอร์โมน ซี่งจะทำงานร่วมกับฮอร์โมน จากฟอลลิเคิล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังมดลูก ด้านใน หรือ เอนโดมีเทรียมให้หนาขึ้น และมีเส้นฝอยมากขึ้น ถ้าหากเซลล์ไข่ไม่ถูกผสมคอร์ปัสลูเทียมจะสลายตัวภายในเวลาสองสัปดาห์ และหยุดสร้างฮอร์โมนทำให้เกิดสลายตัวของ เนื้อเยื่อเอนโดมีเทรียม ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่เป็นจำนวนมาก แล้วขับออกมาจากมดลูกเป็นผลให้มีรอบประจำเดือนใหม่
ระยะตัวอ่อน ( Embryo )
ระยะ 2 สัปดาห์แรก เราเรียก Zygote ว่า Ovum เป็นระยะที่เซลล์มีการแบ่งตัวไปในลักษณะเดียวกันหมด และแบ่งทุกทิศทุกทาง ไม่ได้มีการแบ่งเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ดังแสดงในรูป
ถัดจากระยะ Ovum ก็มาถึงระยะ Embryo ระยะนี้จะเกิดเวลา 6 สัปดาห์ และสิ้นสุดเมื่ออายุได้ 2 เดือน ระยะนี้เซลล์เริ่มแบ่งแยก (differentiate) และแจกแจงหน้าที่ไปตามตำแหน่งที่เซลล์ นั้นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในตัวเซลล์เอง ทำให้เซลล์พร้อมที่จะรับหน้าที่เจริญเติบโตออกไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ทั่วตัวเรา การแบ่งแยกนี้จะแบ่งเนื้อเยื่อออกเป็น 3 ชั้น คือ
เซลล์ นั้นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในตัวเซลล์เอง ทำให้เซลล์พร้อมที่จะรับหน้าที่เจริญเติบโตออกไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ทั่วตัวเรา การแบ่งแยกนี้จะแบ่งเนื้อเยื่อออกเป็น 3 ชั้น คือ
1. ชั้นในสุด (Endoderm) ชั้นนี้จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นอวัยวะย่อยอาหาร คือ กระเพาะ ลำไส ปอด หัวใจ เป็นต้น
2. ชั้นกลาง (Mesoderm) ชั้นนี้จะเจริญเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก เลือด เส้นเลือด
3. ชั้นนอกสุด (Ectoderm) ชั้นนี้จะเจริญเป็นผิวหนัง อวัยวะรับสัมผัส (sense organ) และระบบประสาท
รกและสายสะดือจะค่อยเจริญเติบโตขึ้น รกจะทำหน้าที่กรองสารอาหารจากแม่ไปหาลูกและจะนำของจากลูกไปหาแม่ รกจะนำของเสียระบายทิ้งผ่านมาทางสายสะดือซึ่งได้แก่โลหิตที่ออกซิเจนถูกใช้หมดแล้ว ในช่วงนี้เซลต่างๆจะเริ่มแบ่งตัวจำนวนมากจนเกิดปุ่มของอวัยวะในขั้นนี้เรียกว่าตัวอ่อนซึ่งมีลักษณะคล้ายกุ้งฝอยมีหัวและหางยาวมีปุ่ม ที่จะเจริญเป็นแขนขาเมื่อตัวอ่อนครบ 1 เดือนตัวอ่อนจะมีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร และหนัก 28 กรัมเศษ
เดือนที่ 2 ในเดือนนี้ผู้เป็นแม่จะไม่มีประจำเดือน อาจมีการคลื่นเหียนอาเจียน เนื่องจากฮอร์โมนผิดปกติ ภายในมดลูกจะมีถุงน้ำคร่ำค่อยๆโตขึ้น ตัวอ่อนมีการสร้างอวัยวะต่างๆอย่างรวดเร็ว ปุ่มที่จะกลายเป็นแขนขาเห็นชัดขึ้นและมีการเจริญเติบโตของศีรษะและมีมันสมองในระยะนี้มีนักจิตวิทยากล่าวว่าสมองของมนุษย์เจริญเติบโตเร็วที่สุด เริ่มปรากฏใบหน้าและริมฝีปาก และมีรูจมูกดวงตาและหูกำลังเริ่มก่อตัวมีเลือกตาให้เห็นได้เลาๆเริ่มมองเห็นเป็นหน้าคนภายในตัวอ่อนมีการเจริญเติบโตของหัวใจและมีการสูบฉีดโลหิต เพื่อเลี้ยงตัวอ่อน ในช่วงนี้หัวใจยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่คือหัวใจมีเพียง 2 ห้องและตัวอ่อนสร้างระบบย่อยอาหารและระบบลำไส้ ทารกจะกินอาหารโดยผ่านสารสะดือ ความยาวของตัวอ่อนมีสิ้นระยะที่ 2 ประมาณ 2.5 เซนติเมตร
ระยะ Embryo นี้มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก จึงเรียกระยะนี้ว่า เป็นระยะวิกฤติ (Critical period) ในระยะนี้ถ้ามารดาของเด็กเกิดเป็นโรคขึ้นในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์จะมีผลต่อทารกอย่างมาก และก่อให้เกิดอันตรายแก่มารดา หรือสร้างความพิกลพิการในรูปต่าง ๆ ให้แก่ทารก ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการต้องหยุดชะงักหรือไม่สมบูรณ์ เมื่อเด็กคลอดออกมาอาจเสียชีวิต หรือเป็นเด็กปัญญาอ่อน หรือรร่างกายไม่สมประกอบดังนั้นมารดาจะต้องระมัดระวังไม่ให้ป่วยไข้ด้วยโรคต่างๆ เพราะจะกระทบกระเทือนถึงทารกในครรภ์ด้วย เช่น ถ้ามารดาเป็นโรคหัวใจพิการหรือมีอาการหูหนวกได้
เดือนที่ 3 ในเดือนนี้ตัวอ่อนจะพัฒนาเป็นทารกเรียกว่า Fetus ทารกจะเริ่มดิ้นโดยทารกจะออกแรกผ่านกล้ามเนื้อและกระดูก แต่คุณแม่จะไม่รู้สึก เนื่องจากทารกในช่วงนี้เท่ากับผลสตอว์เบอร์รี่ ทารกจะมีนิ้วมือและนิ้วเท้า ทำให้ทารกขยับตัว และในช่วงนี้ทารกจะฝึกการหายใจการกลืนการดูด ศีรษะของทารกจะมีขนาดใหญ่และจะเริ่มยกศีรษะออกจากหน้าอกเล็กน้อย กระดูกและกล้ามเนื้อเริ่มปรากฏ เปลือกตาเจริญขึ้นมากแต่ทารกยังหลับตาทารกเริ่มพัฒนาการรับรู้ หูของทารกจะรับเสียงแล้ว ในเดือนนี้มีการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ และทารกเริ่มผลิตเซลเม็ดเลือดผ่านไขกระดูก ผ่านตับ และผ่านม้าม
เดือนที่ 4 เดือนนี้มีการพัฒนาอวัยวะเพศ ถ้าทำอัลตร้าซาวนด์สามารถเห็นว่าทารกในครรภ์เป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ศีรษะของทารกเริ่มมีผมงอก มีคิ้ว แขนขาเริ่มยาวได้สัดส่วนกับร่างกายทั่วลำตัวมีผิวหนังใสห่อหุ้มซึ่งปรากฏขนอ่อนตามผิวหนัง หัวใจเริ่มเต้นแรงระบบประสาทระบบกล้ามเนื้อทำงานประสานกันจำนวนปลายประสาทเริ่มเท่ากับจำนวนของผู้ใหญ่ ทารกจะเริ่มรับรู้รสของอาหาร การทำงานของหูมีการพัฒนาจนทารกได้ยินเสียงภายนอกครรภ์ได้
เดือนที่ 5 เดือนนี้ทารกเจริญเติบโตเป็นตัวตนและรกทำงานเต็มที่ ทารกจะมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ทั่วร่างของทารกจะมีขนขึ้นปกคลุมเพื่อป้องกันไขมันเกาะติดผิวในเดือนนี้ผู้เป็นแม่จะรู้สึกว่าทารกดิ้น ทารกมีพฤติกรรมถอนใจ เริ่มดูดหัวแม่มือ
เดือนที่ 6 ทารกจะเริ่มมีเล็บมือ และเส้นลายมือแขขาและร่างกายจะเข้าสัดส่วน รูจมูกเริ่มเปิดและกระบังลมเริ่มขยับขึ้นลง ทารกจะรับรู้เรื่องเสียงและแสง ในเดือนนี้ประสาทสัมผัสเจริญเติบโตดีขึ้นหรือเรียกได้ว่าเกือบจะสมบูรณ์ ทารกจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก ทารกจะขยับตัวไปมาจนคุณแม่รับรู้ได้ ทารกสามารถหันหน้าหนีแสงได้ หรือถ้าได้ยินเสียงดังจากภายนอกอาจเคลื่นตัวตามเสียงหรือจังหวะเพลงได้
เดือนที่ 7 ระบบต่างของทารกเกือบจะสมบูรณ์ ทารกสามารถปรับระดับอุณหภูมิ และปรับการไหลเวียนโลหิตได้ดีขึ้น ไขกระดูกทำงานดีขึ้นทำให้สามารถผลิตเซลเม็ดเลือดแดง ทารกจะมีความยาวประมาณ 26 เซนติเมตร และหนักประมาณ 1 กิโลกรัมเศษ ในช่วงนี้ตัวทารกใหญ่ขึ้น
เดือนที่ 8 ทารกในเดือนนี้โตมาก ทารกจะมีน้ำหนักถึง 2 กิโลกรัมมี ทารกมีความยาวของลำตัว ตั้งแต่ศีรษะถึงก้นกบ ยาว 32 เซนติเมตร ทารกมีไขมันใต้ผิวหนังผิวหนังเรียบมีสีชมพู ศีรษะมีขนขึ้นหนา การหายใจมีจังหวะ ทารกจะดิ้นแรงขึ้นแลการดิ้นมีระดับเหมือนจะบอกอะไรคุณแม่จนคุณแม่สามารถรับรู้ความแตกต่างของการดิ้นได้ ประสาทตาทำงานสมบูรณ์ทารกแยกแยะออกว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน
เดือนที่ 9 ทารกเจริญเติบโตถึงขีดสุดอวัยวะทุกระบบทำงานได้สมบูรณ์ร่างกายของทารกยังอยู่ในทาขดน้ำหนักตัวของทารกประมาณจะประมาณ 3 กิโลกรัม ผิวหนังเรียบหนาเป็นสีชมพูและเมื่อใกล้คลอดทารกจะกลับหัวลงและพร้อมที่จะคลอด (เดือนที่ 7 ทารกกลับหัวลงแล้ว) ทารกในครรภ์จะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นเวลาประมาณ 9 เดือนหรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน จึงจะคลอดออกจากครรภ์มารดามาสู่โลกภายนอก (Y0ur growing baby/pregnancy.เก้าเดือนของทารกในครรภ์.แม่และเด็ก.ปีที่32เดือนมกราคม 2543 หน้า19-21.)
การพัฒนาระบบประสาทสัมผัสของทารกภายในครรภ์
ทารกที่อยู่ภายในครรภ์มารดา สามารถพัฒนาศักยภาพได้โดยผ่านสัมผัสทั้ง 5 คือ
สัมผัสตา คือการมองเห็นเริ่มต้นด้วยดวงตาซึ่งทารกจะเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่ 7 เดือนและเริ่มลืมตาเมื่ออายเข้า 8 เดือนโดยจะเริ่มรับรู้แสงและความสามารถตอบสนองด้วยการดิ้น คุณแม่สามารถกระตุ้นได้ด้วยการใช้ไฟฉายส่องเพื่อให้แสงทะลุผ่านหน้าท้องไปถึงน้ำคร่ำให้ทารกได้รับรู้ความแตกต่างระหว่างความมืดกับความสว่าง
สัมผัสรส เริ่มต้นเมื่ออายุ 7 เดือน ทารกสามารถรับรู้รสน้ำคร่ำและรับรู้รสผ่านทางมารดาแม่ควรทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลต่ำเพื่อให้คุณแม่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะอาหารที่แม่ทานจะส่งผลโดยตรงต่อลูกน้อยคุณแม่ทานอะไรลูกก็จะได้อย่างนั้น
สัมผัสกาย คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นโดยสัมผัสลูกน้อยโดยการลูบหน้าท้องเบาๆ พร้อมคุยกับลูกโดยทารกจะเริ่มรับรู้สัมผัสได้เมื่อ 2 เดือนแรก
สัมผัสเสียง ทารกมีพัฒนาการตั้งแต่อายุ 6 เดือนโดยจะเริ่มได้ยินเสียงต่างๆ รวมทั้งเสียงพูดคุยของคุณแม่การกระตุ้นการได้ยินสามารถทำได้โดยการเปิดเพลงหรือแนบหูฟังไว้ที่ท้องเพื่อให้ลูกน้อยได้รับรู้เสียงซึ่งปกติแล้ว ความดังของเสียงเมื่อผ่านหน้าท้องจะลดลง 30 เดซิเบลเพลงที่เปิดให้ลูกฟังควรเป็นเพลงที่ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายใจไม่ควรเป็นเพลงที่สร้างความตึงเครียดนอกจากนี้แม่ควรพูดคุยกับลูกน้อยในครรภ์ซึ่ง จะช่วยให้ลูกสามารถจำเสียงของคุณแม่ได้
สัมผัสกลิ่น ทารกจะเริ่มพัฒนาการได้กลิ่นเมื่ออายุ9เดือนแต่ยังไม่ชัดเจนนักโดยในการพัฒนาการนั้นเด็กมีการหายใจเอาน้ำค่ำเข้าไปเพื่อขยายปอด เพื่อเตรียมระบบการหายใจเมื่อคลอดออกมา การกระตุ้นที่สามารถทำได้คือ การใช้กลิ่นอโรมาอ่อนๆจะช่วยให้แม่ผ่อนคลายนอกจากนั้น ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจรายงานว่าลูกมีความสามารถจำกลิ่นน้ำนมแม่ได้ ดังแสดงใน
ตารางสรุปการเสริมศักยภาพลูกน้อยในครรภ์คุณแม่ด้วย 5 สัมผัส อติวุธ กมุทมาศ.(2553.114-115)