บุคลิกแห่งความสำเร็จ
การสร้างเสริมบุคลิกภาพ
ปัจจัยพื้นฐานของกาสร้างเสริมบุคลิกภาพ คือ
1. ลักษณะโครงสร้างของบุคลิกภาพ
2. ปฏิสัมพันธ์ในสังคม (Social interaction)
3. การเรียนรู้ทางสังคม (Social leaning)
4. ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
1. ลักษณะโครงสร้างของบุคลิกภาพ เช่น ความเข้าใจในเรื่อง อิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้ ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ซึ่งได้กล่าวถึงว่า บุคลิกภาพ จะเกิดขึ้นอย่างไรนั้น ก็ย่อมจะต้องใช้อิทธิพลของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ หากเมื่อใดที่บุคคลใช้อิด ซึ่งเป็นความพึง พอใจส่วนบุคคล และเป็นสัญชาตญาณ ตามธรรมชาติแล้ว บุคลิกภาพที่ปรากฏออกมา ก็จะมีลักษณะก้าวร้าว เห็นแก่ตัว แต่หากบุคคลได้ใช้ กระบวนการของซูเปอรอีโก้เป็นตัวประสาน เพื่อลดความต้องการของอิด ให้น้อยลงแล้ว บุคคลก็จะสามารถแสดงบุคลิกภาพอันเป็น ที่พึงประสงค์ของสังคม ในลักษณะของอีโก้ได้ บุคลิกภาพที่เกิดในลักษณะของอีโก้ นี้จะเป็นที่ยอมรับของสังคม ดังนั้น การสร้างเสริมบุคลิกภาพ จึงมีเป้าหมายที่สำคัญใน การที่จะให้บุคคลได้แสดงออกในลักษณะของอีโก้ดังนี้เอง
"ตัวตน" (self) ตามทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู้ตัวเองนั้น ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องอย่างมากต่อบุคลิกภาพของบุคคล
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 6.1 การสร้างเสริมบุคลิกภาพ
การที่บุคคลมีความเข้าใจและรู้จักตนเองได้ดีนั้น ย่อมหมายถึงว่าบุคคลได้สามารถประสานสัมพันธ์ระหว่างการมองตนเอง และประสบการณ์แห่งความเป็นจริงที่มีอยู่ได้ ทำให้บุคคลไม่เกิดความขัดแย้งในตนเอง บุคลิกภาพที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะของการที่ช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อสังคม แต่ในทางตรงข้าม ถ้าบุคคลไม่สามารถที่จะมองตนเองได้สอดคล้องกับความเป็นจริงแล้ว ก็จะเกิดความขัดแย้งในตนเอง ทำให้ต้องดิ้นรนเพื่อลดความขัดแย้งในตนด้วยวิธีการต่างๆ เป็นเหตุให้บุคคลเกิดบุคลิกภาพในด้านของการต่อต้านสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง ขาดความนับถือตนเอง ดังนั้น การสร้างเสริมบุคลิกภาพจึงเป็นเรื่องที่จะเน้นเกี่ยวกับการให้บุคคลมีการรับรู้ตนเองได้ตามความเป็นจริง (self perception) เพื่อบุคคลจะได้มีการมองตนเอง (self concept) อย่างถูกต้อง ซึ่งจะได้พัฒนาบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคมต่อไป
2. ปฏิสัมพันธ์ในสังคม (social interaction) ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาพลวัตได้กล่าวไว้ว่าการที่บุคคล
จะเกิดมีบุคลิกภาพอย่างไรนั้น เป็นผลของการที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ซึ่งจะทำให้บุคคลได้พบกับลักษณะของ
ความด้อย-ความเด่น ตลอดจนการมีครรลองชีวิตที่เป็นของตนเอง ปฏิสัมพันธ์ในสังคมจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเพราะทำให้บุคคลได้มีโอกาสรับรู้ตนเองจากภาพการมองของผู้อื่น ซึ่งเป็นเสมือนกระจกเงาฉายภาพตัวตนของบุคคลออกมาได้ชัดเจนกว่าการที่บุคคลมองตนเองเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะมีอคติสำหรับตนเองด้วยในบางครั้งหรือบ่อยครั้ง การรับรู้ตนเองอย่าง ถูกต้องจะทำให้บุคคลสามารถแสดงออกซึ่งบทบาทที่เหมาะสมและเกิดบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ตามมาด้วย ความเด่น-ความด้อย และครรลองชีวิตของบุคคลจะมีผลในการสร้างรูปแบบของบุคลิกภาพทั้งทางที่สังคมพึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการสร้างเสริมบุคลิกภาพในบุคคลก็ควรจะได้คำนึงถึงความสำคัญของปฏิสัมพันธ์ในสังคมประกอบด้วยอีกประการหนึ่ง
3. การเรียนรู้ทางสังคม (social learning) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมได้ให้แนวคิดพื้นฐานสำคัญว่าการเรียนรู้ทางสังคมนั้นเป็นกระบวนการที่บุคคลไดรับข้อมูลต่างๆ จากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม โดยจะมีกระบวนการจำ และนำมาใช้เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามต่อไป นักจิตวิทยาได้เน้นความสำคัญในแนวคิดนี้ด้วยว่า การเรียนรู้และการแสดงออกเป็นเรื่องที่มีความแตกต่างกัน คือการเรียนรู้ใช้เพียงการสังเกตเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว แต่การแสดงออกเป็นพฤติกรรมนั้นจะต้องมีการใช้ทั้งแบบอย่างที่ได้รับมาจากการสังเกตและ กระบวนการที่จะเลือกแบบอย่างที่เหมาะสมมาใช้ ดังนั้นจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจะช่วยทำให้เราได้ทราบว่า บุคลิกภาพของบุคคลที่เกิดขึ้นมานั้น ต้องอาศัยทั้งการที่บุคคลมีความจำในแบบอย่างของพฤติกรรมของผู้อื่น แล้วนำมาเข้ากระบวนการเลือกสรร แล้วจึงแสดงออกเป็นบุคลิกภาพที่ปรากฏให้เห็น ฉะนั้นถ้าหากจะให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคมแล้ว การสร้างเสริมบุคลิกภาพ
ก็ควรจะมีขั้นตอนของการให้บุคคลได้สังเกตแบบอย่างพฤติกรรมที่เหมาะสม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการเลือกสรรเพื่อพัฒนาเป็นบุคลิกภาพของตนเอง
4. ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะนี้ค่อนข้างจะเป็นพื้นฐานของบุคลิกภาพที่ปรากฎทางกายและสมองบางอย่าง ซึ่งบุคคลที่เกิดมาแล้วจะเลือกหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่นคนเตี้ย โดยพ่อแม่ทั้งสองคน ถึงแม้จะได้รับอาหาร
ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักโภชนาการก็จะมีการเติบโตเพิ่มมากกว่าพ่อแม่บ้าง แต่ก็คงจะไม่เหมือนกับคนที่มีพันธุกรรมเป็นคนสูงทั้ง ครอบครัว หรือโรคบางอย่างที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น สติปัญญาอ่อน ตาบอดสี ก็คงจะยากที่จะได้รับการแก้ไข ดังนั้นจึงจะเป็นเรื่องของการปรับตัวต่อสภาพทางพันธุกรรมที่มีอยู่มากกว่าแก้ไขให้หมดไป การเสริมสร้าง บุคลิกภาพตามพื้นฐานประการนี้ก็น่าจะเป็นการสร้างและเสริมบุคลิกภาพให้ดีตามลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล มากกว่าการเปรียบตนเองกับบุคคลอื่น
จะเห็นได้ว่าปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการสร้างเสริมบุคลิกภาพที่เหมาะสมทั้งสิ้น ซึ่งในการสร้างเสริมบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคมนั้น ก็จะได้อาศัยปัจจัยเหล่านี้ในการกำหนดวิธีการในการสร้างและเสริมบุคลิกภาพต่อไป
ในการสร้างและเสริมบุคลิกภาพของบุคคลนั้น ควรที่จะต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือ การสร้างบุคลิกภาพ และการเสริมหรือการปรับปรุงบุคลิกภาพ
การสร้างบุคลิกภาพ หมายถึง กระบวนการที่จะทำให้เกิดบุคลิกภาพขึ้นในตัวของบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องเริ่มสร้างสมมาตั้งแต่เยาว์วัย จึงจะทำให้เกิดบุคลิก ภาพที่พึงประสงค์ของสังคมได้ สถาบันทางสังคมและการศึกษา จะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างบุคลิกภาพให้แก่บุคคล สถาบันสังคมที่มีความสำคัญต่อการสร้างบุคลิกภาพก็ได้แก่
ครอบครัว โรงเรียน ศาสนา และวัฒนธรรม
การสร้างบุคลิกภาพให้แก่บุคคลในสังคมนั้นควรจะต้องพิจารณาสร้างบุคลิกภาพใน 2 ประการหลักคือ
1. การสร้างบุคลิกภาพตามความต้องการของสังคม การสร้างบุคลิกภาพแบบนี้จะเป็นการสนับสนุนความคิดเชิงสังคมของบุคคล และจะช่วยทำให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้อย่างเป็นสุขและมั่นคง สำหรับประเทศไทยเราเองนั้น บุคลิกภาพตามความต้องการของสังคมควรจะต้องเริ่มด้วยบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย ซึ่งในความเข้าใจของคนไทยทั่วไป ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องของการมีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย โดยมักจะใช้บุคลิกภาพแบบตามใจตัวเอง ยึดตนเองเป็นหลักแล้วเรียกว่าบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างบุคลิกภาพดังกล่าวนี้ จึงควรที่จะให้ครอบครัวและโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการสร้างบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแก่เด็กและเยาวชน โดยการอบรมเลี้ยงดูในบ้านก็ควรจะเป็นประชาธิปไตย จะต้องมีการควบคุมให้เหมาะสมระหว่างลักษณะของการออกคำสั่งกับการปล่อยตามใจเด็ก เพื่อจะได้ให้เด็กเริ่มเรียนรู้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงจากครอบครัวก่อน ส่วนโรงเรียนก็จะเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่จะสร้างบุคลิกภาพประชาธิปไตย กล่าวคือ ครูควรจะมีลักษณะการสอนแบบประชาธิปไตย บรรยากาศการเรียนในห้องเรียนก็ควรจะใช้หลักการบริหารนักเรียนแบบนี้ด้วย เช่น การเลือกตั้งหัวหน้าก็ควรจะได้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับกระบวนการ เลือกตั้งของสังคม และใคร่จะขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ประชาธิปไตยในห้องเรียนไม่ใช่การปล่อยให้นักเรียนทำอะไรตามใจชอบ แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กลุ่มได้ร่วมกันวางไว้และถ้าใครไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องมีการลงโทษบ้างตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้
อีกเรื่องหนึ่งในการสร้างบุคลิกภาพของคนไทยก็คือ บุคลิกภาพตามหลักทางพุทธศาสนา ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนกว่าร้อยละ 90 นับถือพุทธศาสนา จึงจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพของคนไทยจะโน้มเอียงไปในทางความเชื่อของศาสนามาก เช่น การมีศีลธรรม การทำความดี เป็นต้น สำหรับศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย ก็จะมีหลักของศาสนาที่จะอบรมและสร้างบุคลิกภาพทางศาสนาให้แก่บุคคล ในแนวทางที่คล้ายคลึงกับศาสนาพุทธในเรื่องของศีลธรรมและการทำความดีเช่นกัน
การสร้างบุคลิกภาพตามหลักวัฒนธรรม ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพของคนไทย เช่น บุคลิกภาพอ่อนน้อม บุคลิกภาพเชื่อฟังผู้ใหญ่บุคลิกภาพการมีใจกว้าง เป็นต้น
2. การสร้างบุคลิกภาพส่วนบุคคล เป็นลักษณะการสร้างบุคลิกภาพเฉพาะแต่ละคนแม้บุคคลจะมีความแตกต่างกันไปตามความแตกต่างระหว่างบุคคล แต่เมื่อบุคลิกภาพเฉพาะของบุคคลแสดงออก ก็ควรเป็นบุคลิกภาพที่สังคมพึงประสงค์ด้วย การสร้างบุคลิกภาพส่วนบุคคลจะต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาบุคคลในด้านต่างๆ ซึ่งได้แก่
2.1 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสรีระและร่างกาย ควรจะได้มีการสำรวจความเจริญเติบโตของร่างกายเด็กทุกระยะ เช่น เด็กพูดได้หรือยัง พูดชัดหรือไม่ชัดฟันขึ้นปกติหรือไม่ เรียบหรือเก มีแขนขา ร่างกายส่วนใดผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีสิ่งผิดปกติก็จะได้ช่วยดัดแปลง แก้ไข หรือถ้าเกินความสามารถก็จะได้ปรึกษาแพทย์ให้ช่วยเหลือแก้ไข
2.2 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสติปัญญา ต้องคอยระวังอย่าให้เด็กได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง เช่น หกล้มอย่างแรง หรือมีอะไรกระทบสมองอย่างแรงเพราะจะทำให้สมองเสื่อม ระวังการเจ็บไข้และโรคบางชนิดที่จะเป็นผลกระทบกระเทือนถึงสมอง ควรจะให้เด็กได้รู้จักฝึกฝน และรู้จักใช้สมองบ้างตามความเหมาะสม
2.3 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางการควบคุมอารมณ์ อารมณ์มีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างบุคลิกภาพของคนมากที่สุดอย่างหนึ่ง สำหรับเด็ก ความรักมีอิทธิพลในทางอารมณ์มาก เพราะอาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ทั้งในทางที่ดีและไม่ดีได้ ดังนั้นเราจึงมักจะเห็นว่าเมื่อเด็กที่ขาดความรักจากพ่อแม่ จะเกิดความว้าเหว่า ขาดความอบอุ่นทางใจ
ขาดความปลอดภัย เขาก็จะหาทางออกโดยการเรียกร้องความสนใจหรือแสดงการก้าวร้าว ในที่สุดจะทำให้เขาประพฤติด้วยไม่ดี ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง กลายเป็นคนช่วยตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังสิ่งที่จะทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้เสีย เพื่อเด็กจะได้มีพัฒนาการทางอารมณ์ไปในทางที่ถูกต้องของแต่ละวัยจนเป็นผู้ใหญ่ที่มีอารมณ์มั่นคง
2.4 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กย่อมจะอยู่ในสังคมที่กว้างขึ้น จากบ้านขยายไปอยู่โรงเรียน และชุมชนตามลำดับ เด็กจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมได้ทุกๆ ระยะผู้ใหญ่ควรจะให้
้คำแนะนำและช่วยเหลือเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อเด็กจะได้ไม่เป็นคนหลบหนีสังคม ซึ่งอาจจะเป็นผลเสีย ทำให้เกิดโรคจิตบางประเภทได้
การเสริมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย หมายถึงกระบวนการในการพัฒนาหรือปรับปรุงบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยที่เกิดขึ้นแล้วให้เป็นไปตามแนวทางที่พึงประสงค์ของสังคม การเสริมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยนั้นเป็นเรื่องที่ทำขึ้น ภายหลังจากที่บุคคลได้สร้างบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยมาแล้ว การจะเสริมบุคลิกภาพให้ได้ผลดีนั้นควรจะทำเสียแต่ในวัยต้นๆ ของชีวิตคือ ก่อนที่บุคลิกภาพจะฝังรากลึกจนกระทั่งยากต่อการปรับปรุง กระบวนการเสริมบุคลิกภาพอาจจะมีขั้นตอนดังนี้คือ
1. การสำรวจตนเอง เป็นกระบวนการที่บุคคลเริ่มสำรวจบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของตนเอง เพื่อที่จะได้รู้ตนเองนั้นมีลักษณะบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยอย่างไรบ้างและบุคลิกภาพที่มีอยู่นั้นควรกับความต้องการของสังคมหรือไม่ เคยมีปัญหาใดในการแสดงบุคลิกภาพบ้างหรือไม่ การสำรวจตนเองจะทำได้ใน 2 ทางคือ
1.1 การวิเคราะห์ตนเอง เป็นการที่บุคคลพยายามค้นหาองค์ประกอบบุคลิกภาพของตนเองเพื่อได้ทราบว่าองค์ประกอบแต่ละอย่างนั้นมีความสมบูรณ์ถูกต้อง อย่างไรบ้างเมื่อแยกวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ แล้ว ก็ควรจะประเมินสรุปบุคลิกภาพของตนเองว่าควรจะคงไว้ในส่วนใดและควรจะปรับปรุงในส่วนใด ที่สำคัญคือผู้วิเคราะห์ตนเองจะต้องยอมรับในข้อบกพร่องเพื่อการแก้ไขต่อไปด้วย
1.2 การรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น โดยปกติแล้วมนุษย์จะมีความลำเอียงเข้าข้างตนเองเสมอๆ ดังนั้นการวิเคราะห์ตนเองเพียงประการเดียว อาจจะยังไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอในการปรับปรุงบุคลิกภาพ จึงจำเป็นจะต้องประเมินตนเองโดยการอาศัยการมองของผู้อื่นว่าเขาคิดอย่างไรต่อบุคลิกภาพของเรา เพื่อจะได้นำส่วนที่บกพร่องมา แก้ไข
ต่อไป
2. การรู้จักตนเอง เมื่อบุคคลสำรวจตนเองได้ข้อมูลมากเพียงพอแล้ว บุคคลควรจะประมวลสรุปบุคลิกภาพเพื่อรู้จักตนเองใน 3 ลักษณะคือ
2.1 อุปนิสัยและนิสัยของตนเอง
2.2 ลักษณะส่วนรวมของตนเอง และ
2.3 บทบาทของตนเอง
3. การรู้จักปรับปรุงบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตนเองแล้วมาตรวจพบข้อบกพร่องต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุง โดยการที่บุคคลจะต้องมองหาลักษณะบุคลิกภาพที่จะเป็นแบบอย่างที่จะใช้ในการปรับปรุงต่อไปแล้วพยายามเตือนตนเอง ให้ละทิ้งบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเดิมที่บกพร่อง แล้วพยายามปฏิบัติตามแบบอย่างของบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยใหม่ การปรับปรุงบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและจะต้องมีความตั้งใจจริง โดยตัวของบุคคลที่จะปรับปรุงบุคลิกภาพเองจะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ด้วยการยอมรับข้อบกพร่องของตนและผลที่มีต่อตนเองและผู้อื่นเป็นประการสำคัญ ทั้งต้องรู้จักแสวงหาหนทางที่จะช่วยให้ ตนเองได้รับรู้บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยที่สร้างสรรค์อันควรต่อการเสริมสร้างให้เกิดขึ้น และที่สำคัญก็คือการส่งเสริมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย
ดังกล่าวนี้ จะต้องไม่ไปกระทบกระเทือนต่อการมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหรือความเป็นตัวของตัวเอง
การสร้างบุคลิกภาพให้แก่บุคคลในสังคมนั้นควรจะต้องพิจารณาสร้างบุคลิกภาพใน 2 ประการหลักคือ
1. การสร้างบุคลิกภาพตามความต้องการของสังคม การสร้างบุคลิกภาพแบบนี้จะเป็นการสนับสนุนความคิดเชิงสังคมของบุคคล และจะช่วยทำให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้อย่างเป็นสุขและมั่นคง สำหรับประเทศไทยเราเองนั้น บุคลิกภาพตามความต้องการ ของสังคมควรจะต้องเริ่มด้วยบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย ซึ่งในความเข้าใจของคนไทยทั่วไป ยังมีคนอีกจำนวนมาก ที่มีความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องของการมีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย โดยมักจะใช้บุคลิกภาพแบบตามใจตัวเอง ยึดตนเองเป็นหลักแล้วเรียกว่า บุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างบุคลิกภาพดังกล่าวนี้ จึงควรที่จะให้ครอบครัว และโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการสร้างบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแก่เด็กและเยาวชน โดยการอบรมเลี้ยงดูในบ้าน ก็ควรจะเป็นประชาธิปไตย จะต้องมีการควบคุมให้เหมาะสมระหว่าง ลักษณะของการออกคำสั่งกับการปล่อยตามใจเด็ก เพื่อจะได้ให้เด็กเริ่มเรียนรู้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงจากครอบครัวก่อน ส่วนโรงเรียนก็จะเป็นอีกแหล่งหนึ่ง ที่จะสร้างบุคลิกภาพ ประชาธิปไตย กล่าวคือ ครูควรจะมีลักษณะการสอนแบบประชาธิปไตย บรรยากาศการเรียนในห้องเรียน ก็ควรจะใช้หลักการบริหารนักเรียนแบบนี้ด้วย เช่น การเลือกตั้งหัวหน้าก็ควรจะได้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับกระบวนการ เลือกตั้งของสังคม และใคร่จะขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ประชาธิปไตยในห้องเรียนไม่ใช่การปล่อยให้นักเรียนทำอะไรตามใจชอบ แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กลุ่มได้ร่วมกันวางไว้และถ้าใครไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องมีการลงโทษบ้างตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้
อีกเรื่องหนึ่งในการสร้างบุคลิกภาพของคนไทยก็คือ บุคลิกภาพตามหลักทางพุทธศาสนา ประเทศไทยเป็นประเทศ ที่ประชาชนกว่า ร้อยละ 90 นับถือพุทธศาสนา จึงจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพของคนไทย จะโน้มเอียงไปใน ทางความเชื่อของศาสนามาก เช่น การมีศีลธรรม การทำความดี เป็นต้น สำหรับศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย ก็จะมีหลักของศาสนาที่จะอบรม และสร้างบุคลิกภาพ ทางศาสนาให้แก่บุคคล ในแนวทางที่คล้ายคลึงกับ ศาสนาพุทธในเรื่อง ของศีลธรรม และการทำความดีเช่นกัน
การสร้างบุคลิกภาพตามหลักวัฒนธรรม ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพของคนไทย เช่น บุคลิกภาพอ่อนน้อม บุคลิกภาพเชื่อฟังผู้ใหญ่บุคลิกภาพการมีใจกว้าง เป็นต้น
2. การสร้างบุคลิกภาพส่วนบุคคล เป็นลักษณะการสร้างบุคลิกภาพเฉพาะแต่ละคน แม้บุคคลจะมีความแตกต่างกันไป ตามความ แตกต่าง ระหว่างบุคคล แต่เมื่อบุคลิกภาพเฉพาะของบุคคลแสดงออก ก็ควรเป็นบุคลิกภาพที่สังคมพึงประสงค์ด้วย การสร้างบุคลิกภาพ ส่วนบุคคลจะต้องอาศัย กระบวนการพัฒนาบุคคลในด้านต่างๆ ซึ่งได้แก่
2.1 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสรีระและร่างกาย ควรจะได้มีการสำรวจความเจริญเติบโตของร่างกายเด็กทุกระยะ เช่น เด็กพูดได้หรือยัง พูดชัดหรือไม่ชัดฟันขึ้นปกติหรือไม่ เรียบหรือเก มีแขนขา ร่างกายส่วนใดผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีสิ่งผิดปกติก็จะได้ช่วยดัดแปลง แก้ไข หรือถ้าเกินความสามารถก็จะได้ปรึกษาแพทย์ให้ช่วยเหลือแก้ไข
2.2 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสติปัญญา ต้องคอยระวังอย่าให้เด็กได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง เช่น หกล้มอย่างแรง หรือมีอะไรกระทบสมองอย่างแรงเพราะจะทำให้สมองเสื่อม ระวังการเจ็บไข้และโรคบางชนิดที่จะเป็นผลกระทบกระเทือนถึงสมอง ควรจะให้เด็กได้รู้จักฝึกฝน และรู้จักใช้สมองบ้างตามความเหมาะสม
2.3 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางการควบคุมอารมณ์ อารมณ์มีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างบุคลิกภาพของคนมากที่สุดอย่างหนึ่ง สำหรับเด็ก ความรักมีอิทธิพลในทางอารมณ์มาก เพราะอาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ทั้งในทางที่ดีและไม่ดีได้ ดังนั้นเราจึงมักจะเห็นว่าเมื่อเด็กที่ขาดความรักจากพ่อแม่ จะเกิดความว้าเหว่า ขาดความอบอุ่นทางใจ
ขาดความปลอดภัย เขาก็จะหาทางออกโดยการเรียกร้องความสนใจหรือแสดงการก้าวร้าว ในที่สุดจะทำให้เขาประพฤติด้วยไม่ดี ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง กลายเป็นคนช่วยตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังสิ่งที่จะทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้เสีย เพื่อเด็กจะได้มีพัฒนาการทางอารมณ์ไปในทางที่ถูกต้องของแต่ละวัยจนเป็นผู้ใหญ่ที่มีอารมณ์มั่นคง
2.4 การช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กย่อมจะอยู่ในสังคมที่กว้างขึ้น จากบ้านขยายไปอยู่โรงเรียน และชุมชนตามลำดับ เด็กจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมได้ทุกๆ ระยะผู้ใหญ่ควรจะให้้คำแนะนำ และช่วยเหลือเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อเด็กจะได้ไม่เป็นคนหลบหนีสังคม ซึ่งอาจจะเป็นผลเสีย ทำให้เกิดโรคจิตบางประเภทได้
การเสริมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย หมายถึงกระบวนการในการพัฒนาหรือปรับปรุงบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นไปตามแนวทางที่พึงประสงค์ของสังคม การเสริมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยนั้นเป็นเรื่องที่ทำขึ้น ภายหลังจากที่บุคคล ได้สร้างบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยมาแล้ว การจะเสริมบุคลิกภาพให้ได้ผลดีนั้นควรจะทำเสียแต่ในวัยต้นๆ ของชีวิตคือ ก่อนที่บุคลิกภาพจะฝังรากลึกจนกระทั่งยากต่อการปรับปรุง กระบวนการเสริมบุคลิกภาพอาจจะมีขั้นตอนดังนี้คือ
1. การสำรวจตนเอง เป็นกระบวนการที่บุคคลเริ่มสำรวจบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของตนเอง เพื่อที่จะได้รู้ตนเองนั้น มีลักษณะ บุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยอย่างไรบ้างและบุคลิกภาพที่มีอยู่นั้นควรกับความต้องการของสังคมหรือไม่ เคยมีปัญหาใด ในการแสดง บุคลิกภาพบ้างหรือไม่ การสำรวจตนเองจะทำได้ใน 2 ทางคือ
1.1 การวิเคราะห์ตนเอง เป็นการที่บุคคลพยายามค้นหาองค์ประกอบบุคลิกภาพของตนเอง เพื่อได้ทราบว่า องค์ประกอบแต่ละอย่างนั้น มีความสมบูรณ์ถูกต้อง อย่างไรบ้างเมื่อแยกวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ แล้ว ก็ควรจะประเมินสรุปบุคลิกภาพของตนเองว่า ควรจะคงไว้ในส่วนใด และควรจะปรับปรุงในส่วนใด ที่สำคัญคือผู้วิเคราะห์ตนเองจะต้องยอมรับในข้อบกพร่องเพื่อการแก้ไขต่อไปด้วย
1.2 การรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น โดยปกติแล้วมนุษย์จะมีความลำเอียงเข้าข้างตนเองเสมอๆ ดังนั้นการวิเคราะห์ตนเอง เพียงประการ เดียว อาจจะยังไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอในการปรับปรุงบุคลิกภาพ จึงจำเป็นจะต้องประเมินตนเอง โดยการอาศัยการมอง ของผู้อื่นว่า เขาคิดอย่างไรต่อบุคลิกภาพของเรา เพื่อจะได้นำส่วนที่บกพร่องมา แก้ไขต่อไป
2. การรู้จักตนเอง เมื่อบุคคลสำรวจตนเองได้ข้อมูลมากเพียงพอแล้ว บุคคลควรจะประมวลสรุปบุคลิกภาพเพื่อรู้จักตนเองใน 3 ลักษณะ คือ
2.1 อุปนิสัยและนิสัยของตนเอง
2.2 ลักษณะส่วนรวมของตนเอง และ
2.3 บทบาทของตนเอง
3. การรู้จักปรับปรุงบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตนเองแล้วมาตรวจพบข้อบกพร่องต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุง โดยการที่บุคคลจะต้องมองหาลักษณะบุคลิกภาพ ที่จะเป็นแบบอย่างที่จะใช้ใน การปรับปรุงต่อไปแล้ว พยายามเตือนตนเอง ให้ละทิ้งบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเดิมที่บกพร่อง แล้วพยายามปฏิบัติตามแบบอย่าง ของบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยใหม่ การปรับปรุงบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและจะต้องมีความตั้งใจจริง โดยตัวของบุคคล ที่จะปรับปรุงบุคลิกภาพเอง จะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ด้วยการยอมรับข้อบกพร่องของตน และผลที่มีต่อตนเอง และผู้อื่นเป็น ประการสำคัญ ทั้งต้องรู้จักแสวงหาหนทางที่จะช่วยให้ ตนเองได้รับรู้บุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยที่สร้างสรรค์อันควร ต่อการเสริมสร้าง ให้เกิดขึ้น และที่สำคัญก็คือ การส่งเสริมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย ดังกล่าวนี้ จะต้องไม่ไปกระทบกระเทือนต่อ การมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหรือความเป็นตัวของตัวเอง
ความแตกต่างและความเบี่ยงเบนของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพของบุคคลแต่ละคนจะมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน แต่ก็อาจมีบางคนที่มีบุคลิกภาพที่คล้ายคลึงกัน ได้บ้าง ดังนั้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพของบุคคลมีความแตกต่างกัน นอกจากความแตกต่างของบุคลิกภาพ ในลักษณะปกติแล้ว บางครั้ง บุคลิกภาพของบุคคลก็จะมีการผันแปรออกไปจากมาตรฐานที่สังคมกำหนด ความเบี่ยงเบนของบุคลิกภาพนี้ จะทราบได้โดย การประเมินบุคลิกภาพด้วยวิธีการต่างๆ
ความแตกต่างของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพของบุคคลจะแตกต่างกันเพราะ บุคคลที่มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐานต่างๆ อยู่แล้ว ทางสรีระ สังคม และวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันก็ทำให้บุคคลได้รับประสบการณ์
ที่แตกต่าง กันมากขึ้นมีผลทำให้บุคลิกภาพ แตกต่างกันไปด้วย ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างของบุคลิกภาพ ที่จะยกมากล่าวในที่นี้ได้แก่
1. เพศ
2. อายุ
3. สุขภาพ
4. อาชีพ
5. ประสบการณ์
1. เพศกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ
ชายและหญิงจะมีความแตกต่างกันในลักษณะบุคลิกภาพ เว้นแต่ในช่วงของวัยเด็กซึ่งยังไม่อยู่ในขั้นของการแยกแยะความแตกต่าง
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพเคลื่อนไหวที่ 6.2 ความแตกต่างและความเบี่ยงเบนของบุคลิกภาพ
ระหว่างเพศอย่างชัดเจนมาก (Hoffman and Levine, 1976.) การทดสอบความสามารถในการเข้าใจลักษณะอารมณ์โดยไม่มีการพูด ทำให้ทราบว่าผู้หญิงมีความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของบุคคคลได้ดีกว่าผู้ชาย โดยไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงในช่วงอายุใดก็ตาม (Hall,1978.) ซึ่งความสามารถในการเข้าใจสัญญาณต่างๆ ที่ไม่ใช่คำพูดนี้เอง เป็นเครื่องแสดงถึง ความสามารถที่บุคคล จะมีความสามารถในการสอนและงานทางคลินิก
ในการศึกษาเรื่องของความก้าวร้าว ผู้วิจัยพบว่าเพศชายและเพศหญิง มีลักษณะบุคลิกภาพที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน (Maccoby and Jaclelin, 1974.) ความแตกต่างในเรื่องของความก้าวร้าวนี้จากการศึกษาในกลุ่มวัยรุ่นที่มีช่วงอายุของนักศึกษาระดับวิทยาลัย พบว่าเพศชายมีความก้าวร้าวและดุร้ายมากกว่าเพศหญิงไม่ว่าจะเป็นการวัดแบบลึก หรือการวัดแบบอัตวิสัย โดยวัยรุ่นพวกนี้ได้แสดง ความคิดเห็นอย่างก้าวร้าว และก็มีความเต็มใจที่จะแสดงออกอย่างก้าวร้าว ในการทดลองสำหรับ กรณีของผู้ใหญ่ก็เช่นเดียว กันผู้วิจัยพบว่า ผู้ชายมีความก้าวร้าวมากกว่าผู้หญิงในการทดลองทุกสถานการณ์
(Frodi, Mac Auley and Thome, 1977.)
สำหรับเรื่องของการแสดงออกทางอารมณ์ และความรู้สึกจะพบว่าผู้หญิงมีการแสดงออก ทางอารมณ์และความรู้สึกได้ เหมาะสมกว่า ผู้ชาย ทั้งนี้อาจจะเป็นผลจากการบังคับทางสังคมที่มีต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอาจจะไม่ใช่ผลของความแตกต่าง ในบุคลิกภาพ อย่างแท้จริงก็เป็นได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่เกี่ยวกับ ความสิ้นหวังและความเศร้า เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกัน ระหว่างเพศชาย และเพศหญิง พบว่า ผู้ชายได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์เกี่ยวกับความสิ้นหวังและความเศร้าได้มากกว่าผู้หญิง
2. อายุกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ
อายุก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องในด้านของความแตกต่างของบุคลิกภาพ โดยบุคลิกภาพจะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับอายุ โดยเฉพาะในเรื่องความระมัดระวัง และความเข้มแข็ง (Ohun and Di vesta, 1976.) การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ ตามอายุนั้นสำหรับ บางคน การพัฒนาบุคลิกภาพของเขา จะต่อเนื่องกันมาเรื่องจาก วัยรุ่นจนถึงวัยชรา โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่บางคนอาจะมี การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นตอนกลางถึงประมาณอายุ 30 ปี (Maas and Kuypers, 1974.) นอกจากนี้ อาการผิดปกติทางพฤติกรรมของบุคคล มักจะพบสถิติที่สูงที่สุดในกลุ่มอายุระหว่าง 25 ถึง 44 ปี ส่วนอาการผิดปกติทางพฤติกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย ซึ่งทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงความคิด ความจำ และบุคลิกภาพอื่นๆ นั้น ส่วนใหญ่จะพบใน กลุ่มคนที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป
3. สุขภาพกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ
สุขภาพทางกาย และสุขภาพทางจิตของบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ คือ ร่างการที่สมบูรณ์แข็งแรง จะเป็นพื้นฐาน ให้บุคคลมีความพร้อมในการสร้างบุคลิกภาพที่ดี สุขภาพทางจิตดีเช่นเดียวกัน คนที่มีสุขภาพจิตดีจะมีความสามารถ ในการปรับตัวได้ดี ดังนั้นลักษณะบุคลิกภาพที่แสดงออกมาก็จะเป็นบุคลิกภาพที่ดี แต่ในทางตรงข้าม พวกที่มีสุขภาพจิตไม่ดี จะปรับตัวไม่ได้ ทำให้มีบุคลิกภาพที่สังคมไม่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สุขภาพทางกายและจิต มีผลร่วมทำให้เกิดความแตกต่าง ของบุคลิกภาพได้
4. อาชีพกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ
อาชีพเป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามลักษณะของอาชีพได้ อาชีพบางอย่างเช่น ครู แพทย์ จะมีการหล่อหลอม ให้บุคคลในอาชีพมีบุคลิกภาพที่มีเมตตา มีคุณธรรมสูงเพราะเป็นอาชีพที่ใช้เมตตาคุณต่อเพื่อนมนุษย์ ส่วนบางอาชีพ เช่น นักหนังสือพิมพ์ จะมีลักษณะบุคลิกภาพแบบที่คล่องแคล่วว่องไวและชอบซักถาม หรืออาชีพทหาร จะหล่อหลอมบุคลิกภาพ ของผู้อยู่ในอาชีพนี้ให้มีความเข้มแข็ง อดทน เป็นผู้นำ ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่า อาชีพมีบทบาทที่สำคัญทีเดียว ในการหล่อหลอม ลักษณะบุคลิกภาพให้เป็นไปตามอาชีพนั้นๆ ถ้าจะมองในอีกด้านหนึ่งคนที่มีบุคลิกภาพบางลักษณะ ก็มักจะนิยมเลือกอาชีพ ให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตนด้วย เช่น คนที่ชอบต่อสู้ ผจญภัย ท้าทายก็มักจะเลือกอาชีพเป็นทหาร ตำรวจ เป็นต้น
5. ประสบการณ์กับความแตกต่างทางบุคลิกภาพ
บุคคลแต่ละคนจะมี ประสบการณ์ในอดีตที่แตกต่างกัน บางคนก็มีประสบการณ์ในชีวิตที่ดี มีความสำเร็จ มีความอบอุ่นในครอบครัว บุคคลที่มีประสบการณ์เช่นนี้มาจะพัฒนาบุคลิกภาพในทางที่ดี มีความอบอุ่น มั่นคง เชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งในทางตรงข้ามบุคคล ที่มีประสบการณ์ที่เลวร้ายในชีวิตจะมีลักษณะการมองโลกในแง่ร้าย ขาดความมั่นใจ หวาดกลัว บุคคลเช่นนี้จะพัฒนาบุคลิกภาพ ที่ขาดความไว้วางใจผู้อื่นขี้ระแวงสงสัย ไม่มั่นใจตนเอง มองโลกแง่ร้าย
ความเบี่ยงเบนของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพที่แตกต่างกันของบุคคลเป็นเรื่องปกติวิสัย กล่าวคือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามวัฏจักรของสังคม แต่ก็มีบ่อยครั้งที่บุคคล มีความ แตกต่างของบุคลิกภาพในด้านของความผิดปกติ ซึ่งจะเรียกว่า เป็นความเบี่ยงเบนของบุคลิกภาพอันเป็น ผลจากการพัฒนาบุคลิภาพ อย่างไม่เหมาะสม การจะรู้ว่าบุคลิกภาพใดจัดอยู่ในกลุ่มของความเบี่ยงเบนนั้น ก็จะต้องอาศัยการประเมิน เพื่อทดสอบความเบี่ยงเบน ของบุคลิกภาพที่แปรออกไปจากพฤติกรรมตามมาตรฐานของจิตวิทยาและทางสังคม
การประเมินบุคลิกภาพทางจิตวิทยานั้น โดยทั่วไปจะทำการทดสอบใน 2 แบบ คือ
1. แบบสำรวจบุคลิกภาพ (Personality Inventories) ซึ่งจะประกอบด้วยรายการต่างๆ จำนวนมากที่จะทำให้ค้นพบบุคลิกภาพ ของบุคคล ตัวอย่างเช่น แบบทดสอบ MMPT (Minnesota Multiphasic Personality Inventory (MMPI), Hathaway and McKinley, 1967.)
2. การประเมินบุคลิกภาพแบบฉายภาพ (Projective Technique) ได้แก่ การทดสอบแบบหยดหมึกของ โรชาร์ด (Rorchach Inkblot) และแบบทดสอบ ทีเอที (Thermatic Apperception Test) และการวัดแบบอื่นๆ อีกในลักษณะที่คล้ายกัน กล่าวคือ ผู้ทดสอบจะใช้ความคุมเครือของภาพเป็นสิ่งเร้ากระต้นให้ผู้ถูกทดสอบแสดงความรู้สึกผิดชอบ
ความเบี่ยงเบนทางบุคลิกภาพที่พบได้เสมอในทุกสังคมได้แก่
(สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย 2534 : 261-262)
1. บุคลิกภาพแบบพารานอย คือ ขี้ระแวง สงสัย
2. บุคลิกภาพแบบเก็บตัว คือ ชอบเก็บตัว ไม่สุงสิงกับคนอื่น
3. บุคลิกภาพแบบอิสตรีโอนิค คือ ชอบแสดงความรู้สึกมากจนเกินกว่าความเป็นจริง
4. บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม คือ แสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ ขัดแย้งสังคม รักกลุ่มมากเกินไป
บุคลิกภาพดังกล่าวนี้ เป็นลักษณะความเบี่ยงเบนที่แปรออกไปจากสภาพความเป็นจริง จัดได้ว่าเป็นการผิดปกติอย่างหนึ่งด้วย เรื่องนี้ อาจต้องการวินิจฉัยที่แน่นอนและการบำบัดรักษาแก้ไขจากแพทย์หรือบุคคลที่สำคัญในด้านจิตวิเคราะห์ และจิตเวช เพราะการ เบี่ยงเบน ทางบุคลิกภาพจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพของบุคคล และจัดได้ว่า เป็นผลกระทบไม่เพียง แต่ตัว ของผู้เป็นเจ้าของบคุลิกภาพเบี่ยงเบนแต่ยังเป็นผลกระทบต่อครอบครัว และสังคมในวงกว้างที่บุคคลเหล่านี้เป็นสมาชิกอยู่ด้วย