การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน
การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน
1. การยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง คือ การยอมรับว่าตนมีสภาพ เช่นนั้นไม่ว่าจะ เป็นที่นิยมชมชอบของบุคคลอื่นหรือไม่ บุคคลย่อมมีโอกาสแสวงหา ความสุขความสำเร็จ ได้จากสิ่งที่ตนมี เช่น หน้าตาไม่สวย แต่เป็นคนร่าเริง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า สวยข้างใน
2. การปรับปรุงในส่วนที่จะปรับปรุงได้ ดังได้กล่าวแล้วว่า องค์ประกอบของบุคลิกภาพ หลายอย่างย่อมอยู่ในวิสัย ที่แต่ละคน จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ถ้าได้ วิเคราะห์ตนเอง โดยละเอียดแล้วก็จะมองเห็นสิ่งที่ควรปรับปรุงอยู่หลายประการ เมื่อเราทราบความจริงเช่นนั้น บุคคลควรพยายามปรับปรุง ในสิ่งที่ทำได้และ ข้อสำคัญจะต้อง กระทำด้วยตนเอง จะให้คนอื่น ทำแทนไม่ได้ และที่ควรเริ่มปรับปรุงก่อนคือ การปรับจิตปรับใจ ให้ยอมรับได้ อภัยได้ หลังจากนั้นจะปรับเรื่องใดๆ ก็ง่ายแล้ว
3. การใช้สิ่งอื่นๆ เพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพ เป็นธรรมดาคนที่หน้าตาผิวพรรณดี ย่อมจะมี
กำไรได้เปรียบผู้อื่น แต่กิริยามารยาท และ การวางตัวในสังคม ย่อมเป็นส่วนประกอบอันสำคัญ ที่ทำให้บุคลิกภาพของคนแตกต่างกัน คนสวยที่ขาดมารยาทอันดีงามอาจเป็น คนที่น่ารังเกียจ ของสังคม คนหน้าตาไม่สวย แต่ประพฤติดี ย่อมเป็นที่นิยมชมชอบ ของคนทั่วไป คนรูปหล่อนิสัยเลว กับคนขี้เหล่นิสัยดี เราจะเลือกใคร ความสวยเป็นคุณสมบัติเบื้องต้น ซึ่งถ้าบุคคลส่งเสริม ด้วยวิธีการอันถูกต้อง จึงจะเกิดประโยชน์ ถ้าส่งเสริมไม่ดี ก็จะเป็นผลร้ายแก่ตนเอง สิ่งที่จะนำมาใช้ หรือส่งเสริมรูปธรรมของตนนั้นมีอยู่เป็นอันมากเช่น มารยาทอันดี น้ำใจที่กว้างขวาง การยึดมั่นในศีลธรรมที่ถูกต้อง การวางตัวที่ถูกที่ควร ไมตรีจิตที่มีต่อคนอื่น ความรับผิดชอบ ความโอบอ้อมอารีล้วน แต่เป็นคุณสมบัติ ที่ดีใน การส่งเสริมบุคลิกภาพ พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพทั้งสิ้น
การส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี ควรส่งเสริมคุณภาพจิตสาธารณะมากำกับ เพื่อบุคคลจะได้ลดละความเห็นแก่ตนในระดับที่พอดำรงชีวิตอยู่ได้ เสียสละ เกื้อกูลคนอื่น เป็นผู้รับในบางโอกาสและเป็นผู้ให้ในบางโอกาส มีจิตใจที่ดีงาม มีร่างกายที่สะอาดสดใสก็เท่ากับว่า บุคคลได้ส่งเสริม หรือพัฒนาบุคลิกภาพแล้วนั่นเอง
4. การรู้สึกความท้อถอย บุคลิกภาพที่ไม่สร้างสรรค์และอยู่ภายในตัวตนแล้ว ทำให้ความเป็นคนๆ นั้นไม่สมบูรณ์ ได้แก่ ความท้อถอย แม้ว่า เป็นประโยคสั้นๆ แต่ถ้าอาการนี้ ถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้ว อาการนี้จะเข้ามาทำลายความสมดุลในตัวเรา เข้ามาแทรกใน ความรู้สึกนึกคิด ทำให้พลัง และศักยภาพของเรา ลดน้อยลงกว่าครึ่ง ในชีวิตประจำวันของเราแต่ละคนมีหลายเรื่องที่เราสมหวัง และก็มีอีกหลายเรื่องเหมือนกัน ที่เรารู้สึกเสียใจพูดไม่ออก บอกกับใครก็ไม่ได้ หรือถ้าบอกไปแล้ว อาจทำให้ความทุกข์ที่มีอยู่ มีมากกว่าเดิม อาการที่พูดไม่ออกบอกไม่ถูก บางครั้งเหนื่อย เบื่อ อ่อนล้า มีความคับข้องใจ ตัดสินปัญหาง่ายๆที่น่าจะทำได้ แต่ก็ทำไม่ได้ และในทางจิตวิทยาเราเรียกว่า อาการท้อ หรือถ้าพูดให้เป็นวิชาการ เราเรียกอาการเช่นนี้ว่า ความท้อถอย
ในเรื่องความท้อถอย มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า บุคคลในช่วงอายุอื่น จะไม่มีความท้อ บางท่านอาจเกิด อาการท้อเป็นช่วงๆ บางท่านโชคดีไม่รู้จักความท้อ แต่มีหลายท่านที่รู้จักและมีคนจำนวนมาก ที่กำลังท้อถ้ามีอาการเหล่านี้ แนวทางที่จะช่วยให้บุคคลบรรเทาความท้อลงได้อาจพิจารณาได้ดังนี้คือ
มนุษย์เรามีความท้อถอยซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการ 3 ลักษณะ คือ
- ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ หรือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความอ่อนล้า หมดเรี่ยวหมดแรง เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ไม่สบอารมณ์
- ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ได้แก่ ลักษณะของบุคคลที่ไม่สนใจในพฤติกรรมของใครๆ ไม่ยินดียินร้าย ใครจะทักก็ช่าง ใครไม่ทักก็ช่าง ไม่ใส่ใจพฤติกรรมของคนอื่น มีเจตคติและแนวคิดที่ไม่ดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย ระแวง ไม่ไว้ใจคนอื่นมองเห็นเพื่อนไม่ใช่เพื่อน คิดทำร้ายตนเอง และคิดว่าคนอื่นจะทำร้ายตน เช่นกัน บุคคลในกลุ่มนี้จะรู้สึกว่า ตนเองด้อยค่า มีความรู้สึกทางด้านลบ
- ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานของตน บางท่านอาจจะรู้สึกเองว่า ตนเองไร้ความสามารถ การทำงานล้มเหลว งานไม่สมกับที่ตั้งใจไว้ บุคคลกลุ่มนี้จะมอง คุณค่าของตนเองต่ำ
ความท้อถอยของมนุษย์แบ่ง ได้ 3 ระดับ คือ ความท้อถอยในระดับสูง ความท้อถอยในระดับปานกลาง และความท้อถอยในระดับต่ำ โดยในแต่ละระดับบุคคลจะมีบุคลิกภาพดังนี้คือ
1. ความท้อถอยในระดับสูง คนที่ท้อถอยในระดับนี้นั้น จะมีความอ่อนล้าทางอารมณ์ค่อนข้างมาก และมีความรู้สึกด้อย ในคุณค่าของ ตนเองมาก เช่นกัน แต่ในเรื่องความ
สำเร็จของงานบุคคลในกลุ่มนี้จะ รู้สึกว่างานของตนไม่พัฒนา หรือไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร หรืองานอยู่ในระดับต่ำนั่นเอง บุคลิกภาพที่พบคือ มักไม่พอใจในสิ่งที่ตนเอง กระทำรวมทั้งไม่พอใจใน สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ขาดความมั่นใจในตนเอง
2. ความท้อถอยในระดับปานกลาง บุคคลประเภทนี้ จะมีความท้อในในสามลักษณะ ที่กล่าวมาในระดับปานกลาง เรียกได้ว่า อาการท้อถอยมีเหมือนกันแต่มีในระดับกลางๆ ยังไม่เข้ามาทำลายอารมณ์และความรู้สึกมากนัก บุคลิกภาพของคนกลุ่มนี้ มีความเชื่อมั่นกลางๆ
3. ความท้อถอยในระดับต่ำ บุคคลในกลุ่มนี้น่าสนใจ เพราะ บุคคลในกลุ่มนี้จะมีความท้อถอยในเรื่อง ความอ่อนล้าทางอารมณ์ และ ความรู้สึกด้อยคุณค่าในตนเองต่ำ สิ่งที่น่าสนใจคือ บุคคลในกลุ่มนี้ จะมีความสำเร็จส่วนบุคคลสูง มีบุคลิกภาพ เชื่อมั่นในตนเอง
สาเหตุของความท้อถอย ผู้เขียนขอสรุปเรื่องความท้อถอยมีสาเหตุดังต่อไปนี้
ประการแรกสาเหตุทางด้านบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพเป็นปัจจัยภายในที่ทำให้บุคคลมีอาการท้อถอย บุคลิกภาพที่ทำให้บุคคลท้อถอย คือ
1. บุคลิกภาพที่พึ่งพาคนอื่นเป็น บุคคลที่กลัวง่ายวิตกกังวลง่าย ชอบที่จะขอความช่วยเหลือ
จากคนอื่น ทำงานตามคำสั่ง กลุ่มคนพวกนี้ถ้าเกิดอาการท้อเมื่อไรก็จะท้อถอยอย่างรุนแรง
2. บุคลิกภาพที่ขาดความอดทน ขาดความอดกลั้น บุคคลประเภทนี้ มักเป็นคนหัวดื้อบอกไม่ฟัง เคารพความคิดเห็นของตนเองว่า ถูกต้องปฏิเสธความคิดเห็นของคนอื่นๆ บุคคลประเภทนี้มักไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนตัว และชีวิตงาน เพราะความดื้อของตน จึงเป็นสาเหตุให้สะสมความท้อไว้ในตัวค่อนข้างมาก
3. บุคลิกภาพที่เชื่อมั่นตนเองสูง คิดแต่ว่าตนเองเก่งชอบเอาแต่ใจตนเอง จนเป็นนิสัย มั่นใจจนทำงานผิดพลาดบ่อยๆ แต่แกล้งทำเป็นมองไม่เห็นปัญหาของตน นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ตัวเองเชื่อว่าตนเองถูก ตนเองทำดี พอท้ายสุดไม่ถูก ไม่ดี ไม่เก่ง อย่างที่ตนเองคิด ความท้อถอยก็เกิดขึ้น
4. บุคลิกภาพที่มีความรับรู้ตนเองต่ำ จิตใจไม่มั่นคง ไม่มั่นใจในทุกเรื่อง ทำอะไรก็รู้สึกผิดไปทุกอย่าง คนในกลุ่มนี้มีความท้อถอยแน่นอน
ประการที่สองสาเหตุทางด้านอายุ
การวิจัยจากหลายหน่วยงานทั้งจากต่างประเทศและในประเทศพบว่า บุคคลที่มีอายุน้อย ความท้อถอย มีมากกว่าบุคคลที่สูงอายุ ทั้งนี้ เพราะ ความท้อถอยมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ วุฒิภาวะ การรู้จักชีวิตมากขึ้น รวมไปถึงบุคคลที่มี ความสามารถใน การปรับตัวได้ ย่อมมีความท้อถอยในระดับต่ำ แต่ไม่ได้หมายความว่า คนที่มีอายุ ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก จะไม่มี ความท้อถอย เราทุกคนอาจเกิด อาการท้อถอยได้เช่นกันแล้ว แต่ระดับความรุนแรงของปัญหา และวิธีการเลือกแนว ทางแก้ไขของแต่ละคน
แต่สำหรับข้อนี้ เชื่อว่าอายุน้อยความรุนแรงของความท้อ ก็มีมาก ถ้าเรามีเด็ก ๆ ในปกครอง เราอย่าสร้างความกดดันให้บุคคลมากนัก อย่าแสดงคาดหวังว่า เขาต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องเป็นสิ่งที่เราขีดเส้นให้เดิน ความคิดเช่นนี้จะทำให้สร้างความกดดันให้กับเด็กๆ ในปกครอง จงให้เขาเป็นในสิ่งที่เขาต้องการจะเป็น สอนเรื่อง คุณธรรม และการดำรงตนอย่างถูกทำนองคลองธรรม เท่านี้ ความท้อก็ไม่เกิด กับเด็กๆในปกครอง แต่ถ้าท่านยิ่งมีอายุสูง หน้ากากทางสังคมยิ่งสูง มีพฤติกรรมเสแสร้ง ตัวตนภายนอก กับตัวตนภายใน ไม่สอดคล้องกัน นานวัน อายุมากขึ้นบุคคลประเภทนี้ก็จะกลายเป็นคนเริ่มท้อ เหนื่อย ล้า และอ่อนเปลี้ยใจในที่สุด พอถึงเวลานี้แม้อายุจะมาก ประสบการณ์จะมาก สิ่งเหล่านี้อาจไม่ได้ช่วยท่านเลย
ประการที่สามสาเหตุทางด้านสถานภาพการสมรส
ความท้อมักเกิดกับ คนโสดมากกว่า คนสมรสแล้ว ความท้อยังสัมพันธ์กับความเหงา คนโสดทั้งหญิงและชาย ถ้าเกิดอาการท้อถอย บุคคลในกลุ่มนี่จะเกิดอาการนานและค่อนข้างรุนแรง แต่สำหรับบุคคลสมรสแล้ว ถ้าสภาพการสมรส เป็นไปด้วยดี มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ครอบครัวเข้าใจกัน ครอบครัวมีความรักความเข้าใจเป็นพื้นฐาน เมื่อมีปัญหาใดในครอบครัว ก็สามารถจัดการได้ในเวลาไม่นานนัก บุคคลที่มีครอบครัวอย่างที่กล่าว ความท้อย่อมอยู่ในระดับต่ำ แต่ถ้าบุคคลที่มีครอบครัวดี แต่ชีวิตการทำงานล้มเหลว หรือไม่ประสบ ความสำเร็จ ในเรื่องงาน บุคคลก็จะมีความท้อถอยมาก และผู้ชายจะมีอาการท้อถอยมากกว่าผู้หญิงในกรณีนี้ เพราะเมื่อผู้ชาย มีอายุมากขึ้น ฐานะครอบครัวดีขี้น ลูกๆดี สิ่งทีผู้ชายปรารถนาคือ การก้าวไปสู่ตำแหน่งของงานที่สูงกว่า แต่ถ้าเผอิญงานล้มเหลว ผู้ชายจะมีระดับความท้อถอยมาก ความสุขของครอบครัว ความสำเร็จของงาน เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ในการมีชีวิตบางครั้งเรา คงไม่ได้ทั้งสองอย่างใน เวลาเดียวกัน ถ้าบุคคลยอมรับสภาพ และพยายามลด ความต้องการ ของตนมา ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจาก การเล่นเกม จริงใจต่องาน จริงใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ ทำงาน เพราะงานนั้นเป็นงานของเรา ไม่คาดหวังอะไรมากนัก บางครั้งอาจเกิด ความสุขได้เช่นกัน การแข่งขันที่ดีที่สุด คือ การแข่นขันกับตัวเอง ไม่เอาคนอื่น ไม่เอาสิ่งอื่นมาเป็นเงื่อนไขของสิ่งใดๆทั้งสิ้น เท่านี้ ความท้อก็ห่างไกล และการที่บุคคลมีครอบครัวดี ความสำเร็จในชีวิต ก็มีมากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว
ประการที่สี่สาเหตุทางด้านการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ
อาการท้อของบุคคลมีสาเหตุมาจาก การปฏิบัติงานอยู่หลายเปอร์เซ็นเช่นกัน ถ้าเป็นช่วงแรก ๆ ของการทำงาน เริ่มตั้งแต่สองปีแรก ของการทำงานบุคคล จะเกิดความท้อได้ง่าย ยิ่งปฏิบัติงานแบบไม่มีใครช่วยใคร บุคคลยิ่งเกิด อาการท้อมากขึ้น แต่ก็มีบางท่าน ที่เข้าสู่ระบบงาน โดยมีเพื่อนร่วมงาน มีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือดี บุคคลประเภทนี้นับว่า เป็นคนที่โชคดีที่สุด เพราะจะมี อาการท้อถอยน้อยมาก เมื่อมีปัญหาใดๆ ก็มีเพื่อนคอยแนะ มีพี่คอยชี้ทาง สำหรับบุคคลที่ไม่มีใครคอยช่วยเหลือ ยืนอยู่ด้วยขาของตนอง มีปัญหาใดๆมากระทบ ความท้อถอยจึงเกิดขึ้นได้ง่าย แก้ปัญหาความท้อไม่ได้ งานก็ทำไม่สำเร็จ เดี๋ยวก็เกิดปัญหานั่น เดี๋ยวก็เกิดปัญหานี่ งานในความรับผิดชอบ ก็ตกต่ำลง บางทีงานยังไม่ถึงกับตกต่ำ แต่ก็เกิดอาการท้อได้
แนวทางและวิธีการในการแก้ไขอาการท้อถอย สามารถกระทำได้ดังนี้ คือ
- ทุกสิ่งทุกอย่างต้องแก้ไขที่ตัวเราเองเท่านั้น อาการท้อถอยเกิดขึ้น จะทำให้เรารู้สึกเหนื่อย อ่อน ล้า เกิดความหวั่นไหว ทางอารมณ์ ความวิตกกังวลอยู่ในระดับสูงขึ้น ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไร เราต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า ที่ท้อ ๆ อยู่นี่มันมาจากสาเหตุของครอบครัว สาเหตุจากงาน เพื่อนร่วมงาน ระบบงาน หรือสาเหตุอะไร พอได้สาเหตุนั้นแล้ว เริ่มแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เรียงลำดับของปัญหาก่อนหลัง ปัญหาใดที่มีความรุนแรงน้อยเอามาแก้ก่อน พอเริ่มแก้ไขได้ ก็เริ่มแก้ไขปัญหาลำดับถัดไป บางท่านมีสไตล์ไม่เหมือนใคร ท่านอาจแก้ที่ปัญหาใหญ่เลย ความท้ออันใหญ่หมดก่อนค่อยๆ แก้สาเหตุแห่งความท้อเล็กๆ ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละท่าน เพราะคนที่รู้ดีว่า วิธีการใดดีที่สุดก็คือ ตัวท่านเอง
- อย่าเป็นคนตั้งความหวัง ความปรารถนาที่สูงสุดเอื้อม เพราะสิ่งต่างๆในชีวิตเรานั้นไม่สมดุลอย่างที่คิด ยิ่งความคาดหวัง กับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน บางครั้งมันอาจเดินสวนทางกัน ส่วนปัจจัยใดไม่อาจสรุปได้ หรือไม่อาจเดาใจเจ้านายได้ พอมาถึงขั้นนี้ให้คิดเสียว่า ความหวัง ความปรารถนาของเราสูงไป ทำให้เราไปไม่ถึง ดวงดาว ก็ทำงานกันไป ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด ยึดงานเป็นตัวตั้ง อย่ายึดความท้อเป็น เพื่อนร่วมทางชีวิต บางทีหลายสิ่งหลายอย่างในวันนี้ที่ไม่ดี เราอาจได้ดีในส่วนอื่นก็ได้ เรียกได้ว่า เมื่อมีชีวิตก็หวังกันไป ให้กำลังใจตัวเองไป ถ้าเราไม่รู้จักให้กำลังใจตนเอง ใครที่ไหนจะคอยมาให้กำลังใจเรา
- สร้างเจคติเรื่องงานใหม่ให้ท่านคิดว่า "งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุขทำงานให้ สนุกเป็นสุขเมื่อทำงาน" ถ้าเราทำงานมากๆงานก็จะคุ้มครอง คนทำงานเสมอทำงานแล้ว รักงานที่เราทำ อย่าท้อ เช้าขึ้นมา เรารับประทานอาหารหลายอย่าง แต่เราไม่กินอยู่อย่างหนึ่งคะ คือไม่กินลูกท้อ ไม่กินลูกหมากรากไม้อะไร ที่ทำให้ใจคอเรา ห่อเหี่ยว สร้างเจตคติใหม่ ด้วยตัวเราเอง จงสร้างพลังและศักยภาพด้วยตัวเรา ไม่เอาตัวเราเปรียบเทียบกับคนอื่น เท่านี้ความท้อ ไม่มาเยือนท่านแน่นอน
- มองหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่ จุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายในชีวิตที่เราตั้งไว้ ถ้ามีอุปสรรค หรือถูกสกัดกั้น อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ อย่าพึ่งท้อเราอาจไม่ประสบความสำเร็จเรื่องหนึ่ง แต่ในชีวิตเรามีตั้งหลายเรื่อง ที่เราจะประสบความสำเร็จ เราก็เอาความสำเร็จ ตรงนั้นมานั่งนึกมา สร้างกำลังใจ มาสร้างจุดมุ่งหมายใหม่ ชีวิตใหม่ก็จะมีพลัง จิตใจก็จะเข้มแข็ง
การที่บุคคลเกิด ความรู้สึกท้อถอย ซึ่งเป็นอาการภายใน หรือบุคลิกภาพภายในที่ผลักดันให้ บุคลิกภาพภายนอกไม่สง่า ขาดความเชื่อมั่นใน ตนเอง หมดกำลังใจ ดังนั้นถ้าเราเข้าใจในอาการของความท้อ สาเหตุแห่งความท้อ และ วิธีการสร้างพลัง และ ศักยภาพใน การเสริมสร้าง กำลังใจให้ตนเอง บุคคลจะมีแนวทางที่ดีใน การพัฒนาบุคลิกภาพ ให้สมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป สร้างพลังภายในให้เข้มแข็ง สร้างกำลังใจให้ตนเองแล้ว ความฝัน ความหวังก็จะใกล้แค่เอื้อม
สำหรับเรื่องบุคลิกภาพภายใน สุเมธ แสงนิ่มนวล ( 2545 : 108 ) อธิบายไว้ว่าบุคลิกภาพภายในมี 9 ประการคือ
1. ความเชื่อมั่นในตนเอง
2. ความกระตือรือร้น
3. ความรอบรู้
4. ความคิดริเริ่ม
5. ความจริงใจ
6. ไหวพริบปฏิภาณ
7. ความรับผิดชอบ
8. ความจำ
9. อารมณ์ขัน
ทั้งหมดนี้ถ้าอยากมีบุคลิกภาพดีต้องพยายามสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น
การเสริมสร้างบุคลิกภาพ สุเมธ แสงนิ่มนวล ( 2545 : 108-109 )
1. The way you look ยามที่มองใครอย่าจ้องหน้าใครนานอย่ามองแต่ตาให้มองทั้งหน้า
2. The way you dress การแต่งกายดี
3. The way you talk พูดแต่เรื่องดีๆ
4. The way you walk เดินมองไปข้างหน้าอย่าก้มหน้า
5. The way youact การแสดงออกทางท่าทาง เช่น การไหว้ ต้องไม่กางแขนหรือเก็บแขนจนเกินไป
6. The skill with which you do ทำอะไรทำให้เกิดทักษะความชำนาญ
7. Your health สุขภาพสำคัญ สุขภาพดี บุคลิกก็ดีด้วย การออกกำลังกายช่วยได้อย่างมาก
สำหรับกลวิธีปรับปรุงบุคลิกภาพ
1. จงเป็นคนใจกว้าง
2. จงให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
3. จงเป็นตัวของตัวเอง
4. จงแสวงหาคำแนะนำ
5. จงลงมือทำจนกว่าจะถูกต้อง