ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Erikson หรือ ทฤษฎีจิตสังคม
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Erikson หรือ ทฤษฎีจิตสังคม ( Psychosocial Theory of Personality )
ทฤษฎีจิตสังคม (Psychosocial Theory of Personality ) ผู้ให้กำเนิดทฤษฎี คือ
Erik Homburger Erikson ดังอธิบายรายละเอียดดังนี้
ประวัติErik H. Erikson เป็นนักจิตวิทยาคลินิก เกิดที่เมือง Frankfurt ประเทศเยอรมัน เมื่อปี 1902 หลังจากที่เข้าเกิดไม่นาน พ่อก็แยกจากแม่เขาไป ต่อมา Theodor Homburger ได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรม หนังสือของเขาที่พิมพ์ก่อนปี ค.ศ. 1939 จะปรากฏว่าเขาใช้ชื่อ Erikson Homburger ต่อมาเขาได้ใช้นามสกุลเดิมมาต่อท้ายชื่อจึงเป็น Erik H. Erikson
Erik H. Erikson ได้รับยกย่องเป็นศาสตราจารย์ในวิชาพัฒนาการมนุษย์จากมหาวิทยาลัย Harvard งานเขียนของเขาเป็นที่แพร่หลาย มีการนำไปแปล และตีพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ มากมาย ตัวอย่าง ปัญหาต่างๆ ที่ Erikson ยกมาประกอบในงานเขียนของเขาได้มาจากคนไข้ Erikson ถือว่าเป็นศิษย์ของ Freud ที่มี ความเข้าใจในงาน และ ความคิดของ Freud เขาได้นำจิตวิเคราะห์มาประยุกต์ ในขั้นพัฒนาการต่างๆ และได้รับยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ มี ความสามารถไม่ด้อยกว่า Freud
Erikson ได้เข้ามาร่วมงาน และถือว่าเป็นศิษย์คนหนึ่งของ Freud ในการตั้งทฤษฎีเขาก็นำแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีของ Freud แต่มีแบบแผนที่แตกต่างไปจาก Freud สำคัญๆ 3 เรื่อง คือ
1. ระบบโครงสร้างของบุคลิกภาพ ( ซึ่ง Freud เน้นการทำงานของ id พัฒนาการมนุษย์ โดยใช้ขั้นพัฒนาการทางเพศ ภายใต้การทำงานของพลังเพศ) แต่ทฤษฎีของ Erikson เน้นการวิเคราะห์ ego ว่ามี ความสำคัญ เพราะเป็นพลังที่ทำให้มนุษย์เกิด พัฒนาการของชีวิต เช่น การเกิดพัฒนาการของมโนมติต่างๆ และ ความสามารถในการตี ความหมาย การสร้างมโนภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ ego ยังทำให้เกิด ระบบ ความคิดที่แสดง ความเป็นปัจเจกบุคคลเขาเชื่อว่า การศึกษาพัฒนาการของชีวิต นับตั้งแต่เกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นด้วย ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับพัฒนาการมนุษย์คือ ความสัมพันธ์ และ ความต่อเนื่องของประสบการณ์กับการทำหน้าที่ของ ego และเพิ่มช่วงพัฒนาการที่ขาดหายไปเป็น 8 ขั้น
2. แบบพิมพ์ทางสังคม (social matrix) Erikson กล่าวว่า แบบพิมพ์ทางสังคม คือ ความสัมพันธ์ของบุคคลกับผู้เลี้ยงดู และบุคคลนอกครอบครัว ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอกของบุคคลด้วย
3. Erikson มุ่ง ความสนใจไปที่โอกาสที่บุคคล จะพัฒนาตนเองเพื่อ ความอยู่รอดของชีวิต เขาเห็นว่าทั้งบุคคล และสังคมต่างก็ สามารถ อยู่ร่วมกัน และมี ความต้องการที่จะเจริญก้าวหน้า
จากแนว ความคิดที่แตกต่างไปจาก Freud ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ชัดว่า Erikson วางแนวทางใหม่ของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซึ่งทำให้การนำไปใช้ และการแปล ความหมายพฤติกรรมกว้างขวางกว่าเดิม และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ข้อตกลงเบื้องต้นของทฤษฎี ( Assumption Basic to Erikson's Theory )
การสร้างทฤษฎีของ Erikson มีพื้นฐานมาจากแนว ความคิดของ Freud ตามที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นข้อตกลงเบื้องต้นในทฤษฎีของเขา จึงมีรายละเอียด และแนว ความคิดของ Freud และของเขาร่วมกัน
ข้อตกลงเบื้องต้นของทฤษฎี Erikson ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. วิธีการสร้างทฤษฎี (Approach to Theory Formation)
2. แบบแผนชีวิตมนุษย์ (Order of Human Life)
3. คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Values)
4. สาเหตุพฤติกรรมมนุษย์ (Etiology of Human Behavior)
5. แกนการทำหน้าที่ของมนุษย์ (Core of Human Functioning)
6. ทารกแรกเกิด (The Newborn)
7. สิ่งแวดล้อม (Environments) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical) สังคม (Social) วัฒนธรรม (Culture) และ ความคิด (Ideational) ดังจะอธิบายเป็นข้อๆ คือ
1. วิธีการสร้างทฤษฎี (Approach to Theory Formation)
Erikson ยอมรับในวิธีการ และเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลของทฤษฎีจิตวิเคราะห์โดยวิธีสังเกตเขาให้ ความสนใจเป็นพิเศษ กับ ความสำคัญของจิตไร้สำนึก (unconscious) และจิตก่อนสำนึก ( preconscious ) ซึ่งแสดงออกมาในรูปของคำพูด หรือจากพฤติกรรมที่แสดงออก แนว ความคิดของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ในทัศนะของเขาคือ การทำ ความเข้าใจบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งแสดงออกมาอย่างไม่รู้ตัว และเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน เขากล่าวว่า กระบวนการสำคัญของ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ในการเข้าใจพัฒนาการของบุคคลคือการเข้าใจบุคลิกภาพที่เบี่ยงเบนออกไปจากปกติ ซึ่งถือเป็นปัญหาหลักที่จะต้องพิจารณาเพื่อจะได้เข้าใจพัฒนาการของบุคลิกภาพปกติได้ชัดเจน Erikson ได้อธิบายเพิ่มเติม หลักสำคัญของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ให้กว้างขวางขึ้นโดยกล่าวว่า การวิเคราะห์เป็นรายบุคคลนั้นจ ะต้องพิจารณาบุคคลนั้นในกลุ่มสังคม และวัฒนธรรมของเขาด้วย Erikson ได้นำ ความรู้ทางจิตวิเคราะห์มาใช้ร่วมกับวิธีการทางสังคมวิทยา ส่วน Freud จะพิจารณาว่า บุคคลยึดตนเองเป็นศูนย์กลางในการกระทำ หรือ ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ โดยอิทธิพลของจิตไร้สำนึก (unconscious) Erikson ให้ ความคิดเห็นในเรื่องการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางที่แตกต่างไปว่าการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางนั้น เป็นเรื่องการรู้สำนึก (conscious) ตัวอย่างเช่น การเล่นของเด็กแสดงถึงการยึดตัวเองของเด็กได้เป็นอย่างดี
Erikson กล่าวว่า ไม่มีการสังเกตโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่จะนำมาใช้อย่างได้ผล โดยไม่มีทฤษฎีนำทางก่อน ดังนั้นการจะอธิบานถึงลักษณะของพัฒนาการด้านต่างๆ ได้จะต้องมี ความรู้ ความเข้าใจในทฤษฎีพัฒนาการต่างๆ ทั้งหมดก่อน Erikson ได้ตั้งทฤษฎี และใช้คนไข้ในคลีนิกของเขาเป็นกลุ่มตัวอย่าง เขาศึกษาคนไข้จากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติประกอบกับประวัติส่วนตัวโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนมากซึ่งผลจาก การศึกษาได้พิสูจน์ทฤษฎีของเขาได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามการศึกษาเพื่อพิสูจน์ทฤษฎี Erikson กล่าวว่า ผู้ศึกษาจะต้องมี ความมั่นใจในกลุ่มตัวอย่าง มีระยะเวลาในการศึกษานานพอ และมีเทคนิคในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เขาให้ ความสนใจ ความสำคัญในคุณภาพของข้อมูลมากกว่าวิธีการวัดต่างๆทฤษฎีของเขาจะเป็นไปตามลำดับ คือนำข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปมาประกอบกับ ความคิดเห็นของเขาแล้ว พิจารณาคัดเลือกอีกครั้ง เพื่อให้ตรงกับปัญหาที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีการนี้มีแนว ความคิดไปทางเดียวกับจิตวิเคราะห์ของ Freud และ Erikson ได้นำ ความรู้ที่ได้จากวิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เช่น การพิจารณาขั้นพัฒนาการต่างๆ ของเด็ก แต่เขาได้นำการศึกษาทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยาเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย
2. แบบแผนชีวิต (Order of Human Life)
Erikson กล่าวว่า "บุคลิกภาพกับ ความสมดุลกับของสุขภาพจิตมี ความสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน" เขาให้ ความคิดเห็นว่าการมองเห็นคุณค่า และคุณธรรมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของการเจริญเติบโต และ ความต้องการที่จะพัฒนาตนเองซึ่งคุณค่า และคุณธรรม นี้ส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นจาก กระบวนการฝึกหัดในวัยเด็ก ใน ความคิดของเขานั้น ขอบข่ายพัฒนาการของมนุษย์ ในแง่จิตวิทยา มีการเปลี่ยนแปลง เหมือนๆ กับโครงสร้างทางชีวภาพทั้งจิตวิทยา และชีววิทยามี ความสัมพันธ์ภายในกันมาก คือนับตั้งแต่คลอดเป็นต้นมา บุคคลจะมี การพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพ ควบคู่ไปกับ คุณลักษณะทางด้านจิตใจ ตัวอย่างเช่น สิ่งแรกที่จะทำให้ทารกมีชีวิตอยู่รอดคือ ความสามารถในการใช้ปาก การย่อยอาหาร และการขับถ่าย ดังนั้นพัฒนาการขั้นแรกคือ การใช้ปากดูดเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด และในขณะเดียวกัน การดูดก็ให้ ความสุขแก่เด็กด้วย ในพัฒนาการแต่ละขั้นพบว่า มีพัฒนาการร่วมกันไปทั้ง ทางด้านร่างกาย และจิตใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคลอดออกมาแล้วอวัยวะต่างๆ ก็หยุดการสร้างเพิ่มขึ้น แต่จะพัฒนาอวัยวะแต่ละส่วน ให้เจริญเติบโตต่อไปซึ่ง การพัฒนานี้ จะควบคู่กับ พัฒนาการทางด้านจิตใจ ทำให้มี ความสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี Erikson กล่าวว่า กฎของ ความเจริญเติบโตทางร่างกาย ระยะเวลา และสิ่งแวดล้อม จะเข้ามาสัมพันธ์กันทุกครั้งที่มี ความเจริญเติบโตเกิดขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นหน้าที่ของ ego และกระบวนการทางสังคม ความเจริญเติบโตทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นผลจาก การทำงานร่วมกัน ของอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วย ego และ ความตระหนักในการเป็นสมาชิกของสังคม ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้จะเข้ามาทำงานร่วมกันตลอดเวลา
3. คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Values)
คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ เขาเน้นถึง ความสามารถสร้างสรรค์ และ ความสามารถในการปรับตัวเขายอมรับใน ความสามารถของแต่ละคนที่สามารถฟันฝ่าชีวิตอยู่ได้ด้วย ความสามารถ และ ความเป็นตัวของตัวเอง Erikson ไม่ได้มองว่าคนดี หรือเลวแต่บุคคลมีศักยภาพที่จะทำในสิ่งที่ดี หรือเลวได้เท่าๆ กัน ส่วน ความเชื่อในเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์นั้นเขากล่าวว่า บุคคลมีศักยภาพที่จะสร้างสรรค์สังคมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และสภาพแวดล้อมต่างๆ ทางด้านการปรับตัว เขากล่าวว่า มีพฤติกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่บุคคลไม่สามารถแก้ไขได้ แต่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา เป็นจำนวนมากที่สามารถป้องกันไว้ก่อนได้
บุคคลจะมีคุณค่าเป็นที่รับรองจาก บุคคลอื่นได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับ ความไว้วางใจ และได้รับการยอมรับจากสังคม และในทำนองเดียวกัน สังคมก็ต้องการบุคคลที่มี ความคิดเห็นตรงกัน พึ่งพาอาศัย และยอมรับซึ่งกัน และกัน คุณค่าพื้นฐานประการสุดท้ายคือบุคคลต้องมี ความไว้วางใจ และเคารพสถาบันของสังคม เช่น ศาสนา เป็นต้น
4. สาเหตุพฤติกรรมมนุษย์ (Etilology of Human Bahavior)
Erikson ยอมรับในแบบแผนพัฒนาการทางจิตเพศของ Freud (psychosexual) ซึ่งมี ความเห็นว่าการที่บุคคลจะทำพฤติกรรมใดนั้น ก็เนื่องจากพลังที่เรียกว่าแรงขับซึ่งมีมาแต่กำเนิดจะเห็นว่า ความคิดของเขาก็เป็นไปตามหลักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยถือว่าแรงขับนี้เกิดจากสัญชาตญาณ (instincts) และทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจ แสดงออกมาร่วมกันเรียกว่าพลังเพศ (libido)
พลังเพศ (libido) แสดงออกเป็นพฤติกรรมสำคัญ 2 ลักษณะ คือ เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด
พลังนี้แสดงออก เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด โดยสนอง ความต้องการที่เกิดจากสัญชาตญาณของการมีชีวิตเพื่อให้บุคคลเจริญเติบโตต่อไป (life instincts) และ เพื่อการทำลาย แสดงออกโดยพฤติกรรมต่างๆ เช่น ความก้าวร้าว เป็นการแสดงออกของสัญชาตญาณ ความตาย (dead instincts) โดยการทำงานของจิตไร้สำนึก (unconscious) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลต้องการจะกลับไปสู่ ความมั่นคง ตัวอย่าง เช่น ชีวิตในวัยเด็กผู้ใหญ่มักหันกลับมามองว่าเป็นระยะเวลาแห่งการสุขสบาย ดังนั้นบางครั้งคนเราก็ต้องการมี ความสุข จึงอาจมีพฤติกรรมถอยกลับไปสู่สภาพเดิมซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นสัญชาตญาณของ ความตาย
Erikson ยอมรับในพลังเพศ libido และถือว่าเป็นสิ่งกำหนดกรรมมนุษย์ พลังนี้ได้ทำงานออกมาในระบบ id ego และ superego การทำงานของ id และ superego จะขัดแย้งกันอยู่เสมอโดยมี ego เป็นตัวกลางที่จะประนีประนอมทั้ง 2 ระบบ
Ego ในทัศนะของเขาเป็นตัวตัดสินในการที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาโดยนำ ความรู้จากประสบการณ์มาร่วมพิจารณาด้วย ego จึงเป็นระบบที่แสดงคุณค่าของมนุษย์ ego ทำให้มนุษย์มี ความคิดสร้างสรรค์ และมี ความสามารถในการปรับตัว
พลังเพศ (libido) จะมีผลต่อประสบการณ์การรับรู้ของชีวิตทั้ง 3 ระดับคือประสบการณ์สำนึก (conscious experience) ประสบการณ์ใกล้สำนึก (preconscious experience) และประสบการณ์ไร้สำนึก (unconscious experience) โดยประสบการณ์ 2 ตัวหลังมีอิทธิพลสำคัญต่อแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล พลังเพศจะแสดงออกอย่างเปิดเผยในจิตทั้ง 3 ระดับ โดยมีระบบการทำงานที่ควบคุมโดย ego ซึ่งเป็นระบบที่สัมผัส ความจริงในชีวิต และเป็นตัวตัดสินว่าพฤติกรรมใดควรแสดงออก
5. แกนการทำหน้าที่ของมนุษย์ (Core of Human Functioning)
Erikson มี ความคิดเห็นเช่นเดียวกับ Freud ว่าอารมณ์แทรกซึมอยู่ในการทำหน้าที่ทุกกระบวนการของมนุษย์ ธรรมชาติของอารมณ์พิจารณาได้จากคุณภาพ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สภาพทางอารมณ์ต่างๆ ที่แสดงออกมาในรูปของ ความคิด การกระทำ ความรู้สึก ฯลฯ ขึ้นอยู่กับสภาพ ความสมดุลของการทำงานร่วมกันของ id ego และ superego
สำหรับช่วงพัฒนาการ ในวัยเด็ก การเล่นของเด็กถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ Erikson เห็นว่าการเล่นเป็นหน้าที่สำคัญของ ego ในระยะนี้ เพราะการเล่นประกอบด้วยกระบวนการ 3 อย่าง คือ การคิด การสื่อสาร และพฤติกรรม เช่น การคิด ขณะเล่นเด็กจะมีรูปแบบของการคิด และคำพูดการสื่อสาร เด็กมีการสื่อสารซึ่งกัน และกัน โดยใช้ทั้งภาษาท่าทาง (non verbal) และภาษาพูด (verbal) และพฤติกรรม คือสิ่งต่างๆ ทีแสดงออกในขณะเล่นการเล่นของเด็กจึงเป็นการทำหน้าที่สำคัญแสดงถึงประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตที่เด็กสะสมมา เป็นการช่วยให้เด็กได้รู้จักตัวเอง รู้ถึง ความสามารถ นอกจากนั้นเด็กยังใช้การเล่นเป็นเครื่องมือในการระบาย ความเครียด ความยุ่งยาก และ ความคับข้องใจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการพัฒนาการใช้ภาษา และทำให้เด็กรู้สึกเป็นอิสระจากข้อจำกัดต่างๆ และนอกจากนี้การเล่นจะแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมทำให้ทราบถึงโครงสร้างของสังคมนั้นๆ ได้
การเล่นกับ ego Erikson เสนอแนะว่าการเล่นเป็นเครื่องมือของ ego ที่จะแสดงออกในตัวตนของบุคคล เช่นเดียวกับ ความฝันที่แสดงออกถึงพลัง id เขาสรุปว่า "การเล่นของเด็ก และการให้เหตุผลของผู้ใหญ่เป็น ผลิตผลเดียวกันแต่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน"
แกนการทำหน้าที่ของมนุษย์ซึ่งมีอารมณ์ และการเล่นของเด็กดังกล่าวมาแล้ว สิ่งที่จะต้องสร้างขึ้น เพื่อให้มีบุคลิกภาพ สมบูรณ์ใน ระยะต่อมาคือ การที่บุคคลไม่ขัดแย้งกับ ความต้องการทางเพศ การไม่ขัดแย้งกันในเรื่องของ ความรักกับกามารมณ์ และการไม่ขัดแย้งกัน ของการแสดงออกทางเพศกับพฤติกรรมทั่วๆ ไปของบุคคล
6. ทารกแรกเกิด ( The newborn )
ทารกแรกเกิดดย่อมได้ปะทะสังสรรค์กับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างไปจากสิ่งแวดล้อมภายในครรภ์ และเริ่มต้นที่จะมีบุคลิกภาพ เป็นของเขาเอง ในระยะทารกสิ่งแรกที่เขาจะได้รับคือบทบาททางเพศ ทั้งเพศชาย และเพศหญิงจะได้รับประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน เป็นที่ทราบแล้วว่าสิ่งแวดล้อมย่อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทุก ๆ ด้าน สิ่งแวดล้อมในสังคม และสถาบันต่างๆ จะขัดเกลาพฤติกรรม และบุคลิกภาพของเด็ก นอกจากนี้สังคม และสถาบันต่างๆ จะเป็นแหล่งที่ช่วยให้พ่อแม่เข้าใจพัฒนาการของเด็ก แล้วนำ ความรู้นั้นมาอบรมเด็กเพื่อให้มีบุคลิกภาพตามที่สังคมยอมรับ ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสังคม และทารกแรกเกิดจะอยู่ในเงื่อนไขพึ่งพออาศัยซึ่งกัน และกัน คือสังคมต้องการทารกที่เกิดมาเพื่อมารับสถานภาพต่างๆ ตามเกณฑ์กำหนดในขณะเดียวกันทารกที่เกิดมาก็ต้องการสังคมเพื่อพัฒนา ความเจริญเติบโตของบุคลิกภาพของเขา
7. สิ่งแวดล้อม ( Environments )
ได้แก่สิ่งแวดล้อมทางกาย (Physical) สังคม (Social) วัฒนธรรม (Culture) และ ความคิด(Ideational) สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ มีอิทธิพลสำคัญต่อการวางรูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล เพราะการปฏิบัติต่อกันของบุคคลในสังคม เช่น การอบรมสั่งสอน การฝึกหัด และการพยายามให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพของตนเองเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ดังกล่าวทั้งสิ้น พลัง หรืออำนาจ ของสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อบุคคลโดยการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เช่น จากพ่อแม่ และคนใกล้ชิด ความศรัทธาในศาสนา การถ่ายทอด หรือปลูกฝังอุดมคติเหล่านี้ จะเป็นแนวทางในการค้นหาศักยภาพของตนเอง ดังนั้นทุกคนจึงต้องการ ความรู้ และคำแนะนำ เพื่อการดำรงชีวิต และพัฒนาตนในเรื่องของวัฒนธรรมมีส่วนใน การสร้างแบบแผนการดำรงชีวิต การดำรงชีวิต ส่วนใหญ่เป็นแรงจาก สัญชาตญาณ โดยมีวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการแสดงออกที่ถูกต้อง Erikson กล่าวว่า ความแตกต่างของ วัฒนธรรม และกลุ่มสังคม มีผลทำให้บุคคลแตกต่างกัน เด็กเล็กๆที่กำลังเจริญเติบโตจะรับรู้ ความจริงต่างๆจาก ประสบการณ์ที่เขาได้รับ และเป็นจุดเริ่มต้น ของแบบแผนการดำเนินชีวิตของเขา ต่อไป และเป็นแรงที่จะกำหนด ความสามารถ ในการที่ชีวิต จะประสบ ความสำเร็จ หรือไม่
แนวคิดของ Erikson เกี่ยวกับพัฒนาการ (Erikson's Concept of Development)
พัฒนาการทั้ง 8 ขั้น เป็นตัววางรูปแบบของ ego ความสำเร็จจากการแก้ปัญหา ข้อขัดแย้งในแต่ละขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งเร้าให้เกิด วุฒิภาวะได้เป็นอย่างดี แต่ก็อาจมี ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ คือ ถ้ามีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติบุคคลนั้น จะไม่สามารถพัฒนา ศักยภาพของตน ให้ถึงขั้นสูงสุดได้ นอกจากนี้การพัฒนาไปยังขั้นสูงต่อไปนั้นจะต้องมี ความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
พัฒนาการของบุคลิกภาพ
ขั้นพัฒนาการ 8 ขั้นของ Erikson นั้น 5 ขั้นแรกจะอยู่ในช่วงวัยทารก วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเขาให้ ความสนใจมากกว่า 3 ขั้นสุดท้าย ซึ่งอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ พัฒนาการ 8 ขั้นของชีวิต ตามแนว ความคิดของ Erikson พัฒนาการทั้ง 8 ขั้น เรียงลำดับดังต่อไปนี้
1. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกไว้วางใจพื้นฐานซึ่งทำให้ผ่านพ้น ความรู้สึกไม่ไว้วางใจไปได้ – ความหวังเกิดขึ้น (Acquiring a Sense of Basic Trust While Overcoming a Sense of Basic Mistrust – a Realization of Hope) เป็นระยะตั้งแต่เกิด – 1 ขวบ
2. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกเป็นอิสระซึ่งตรงข้ามกับ ความรู้สึกไม่แน่ใจ และ ความละอาย – การรับรู้ใน ความสามารถ (Acquiring a Sense of Autonomy While Combating a Sense of Doubt and Shame – a Realization of Will) เป็นระยะ 1 – 3 ขวบ
3. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกของ ความคิดริเริ่มซึ่งทำให้ผ่านพ้น ความรู้สึกผิด – การตั้ง ความมุ่งหมาย (Acquiring a Sense of Initiative and Overcoming a Sense of Guilt – a Realization of Purpose) เป็นระยะ 3 – 5 ปี
4. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และขจัด ความรู้สึกเป็นปมด้อย- ความสามารถเกิดขึ้น (Acquiring a Sense of Industry and Fending Off a Sense of Inferiority – a Realization of Competence) เป็นระยะอายุ 6 – 12 ปี
5. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกใน ความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และผ่านพ้น ความรู้สึกสับสนในตนเองไปได้ – รับรู้ตาม ความจริง (Acquiring a Sense of Identity While Overcoming a Sense of Identity Diffusion – a Realization of Fidelity) เป็นระยะ 13 – 17 ปี
6. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกสัมพันธภาพ และเป็นมิตรกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะเพื่อนต่างเพศ และหลีกเลี่ยง ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง – ความรักเกิดขึ้น (Acquiring a Sense of Intimacy and Solidarity and Avoiding a Sense of Isolation – a Realization of Love) ช่วงอายุ 18 – 21 ปี
7. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกที่จะเป็นผู้ให้กำเนิด และสร้างสรรค์สังคม และหลีกเลี่ยง ความรู้สึกที่คำนึงถึงแต่ตนเอง – การเอาใจใส่ดูแลเกิดขึ้น (Acquiring a Sense of Generativity and Avoiding a Sense of Self – absorption – a Realization of Care) ช่วงอายุ 22 – 40 ปี
8. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกมั่นคงสมบูรณ์ในชีวิต และหลีกเลี่ยง ความรู้สึกสิ้นหวังท้อถอยในชีวิต – รู้จักชีวิต (Acquiring a Sense of Integrity and Avoiding a Sense of Despair – a Realization of Wisdom) ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป
ขั้นพัฒนาการทั้ง 8 ขั้นประกอบด้วย ความรู้สึกต่างๆ นั้นหมายถึง ความรู้สึกของการประสบ ความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวในการที่จะปลูกฝังองค์ประกอบที่สำคัญของ
บุคลิกภาพคือ ความไว้วางใจ ความเป็นอิสระ ความคิดริเริ่ม ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า การมีเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นต้น ซึ่ง ความรู้สึกเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินว่า พัฒนาการทางด้านจิตใจของบุคคลนั้น ผ่านพ้นไปได้ตามช่วงอายุ หรือไม่ ถ้าสามารถผ่านไปได้บุคคลย่อมมีบุคลิกภาพที่มั่นคงสมบูรณ์มีการพัฒนาทั้งร่างกาย และจิตใจเป็นปกติ รายละเอียดของ พัฒนาการแต่ละขั้นมีดังนี้
1.ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกไว้วางใจพื้นฐาน ซึ่งทำให้ผ่านพ้น ความรู้สึกไม่ไว้วางใจไปได้– ความหวังเกิดขึ้น
พัฒนาการขั้นแรก นี้มีระยะเวลาตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 1 ขวบ พัฒนาการขั้นแรกนี้นับว่าเป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการขั้นต่อๆ ไป Erikson ได้อธิบายถึงธรรมชาติของพัฒนาการในระยะนี้ว่า เมื่อทารกคลอดจากครรภ์มาสู่สิ่งแวดล้อมใหม่จะมี ความต้องการ 2 ประการ เกิดขึ้น คือ ความต้องการทางกาย คือ ต้องการอาหาร ความอบอุ่นทางร่างกาย เป็น ความรู้สึกต้องการให้รับสิ่งที่ร่างกายต้องการ และ ความต้องการอีกอย่างคือ ความต้องการที่จะได้รับการตอบสนองทางด้านจิตใจ คือ การได้รับความรัก ความรู้สึกอบอุ่นมั่นคง ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น ถ้าทารกได้รับการตอบสนองในสิ่งต่าง ๆ ที่เขาต้องการอย่างพอเพียง ก็จะเป็นผลให้พัฒนา ความรู้สึกไว้วางใจ ในประสบการณ์ใหม่ที่เขาได้รับ ซึ่ง ความรู้สึกไว้วางใจที่เกิดขึ้นในระยะนี้ จะเป็นพื้นฐานของการสร้าง ความรู้สึกไว้วางใจต่อบุคคล หรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในระยะต่อมา แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าทารกไม่ได้รับ ความสุขสบายทั้งทางกาย และทางใจ ย่อมทำให้ทารกเกิด ความรู้สึกหวาดกลัวต่อสถานที่ หรือ สถานการณ์ต่างๆ ต่อไปในอนาคตการพัฒนา ความรู้สึกไว้วางใจ ให้เกิดขึ้นในบุคลิกภาพ จะช่วยให้บุคคลมีสุขภาพจิตที่ดี และยอมรับ หรือกล้าเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ในวัยเด็กเขาควรจะได้เรียนรู้ที่จะไว้วางใจในคนอื่นๆ หรือ ต่อประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้จากประสบการณ์ตรงของเขาแล้วก็จะได้จาก การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ด้วย
การพัฒนา ความรู้สึกไว้วางใจของเด็กในระยะนี้ เป็นระยะที่เด็กกำลังเจริญเติบโตซึ่งสัมพันธ์กับระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบการหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อต่างๆ ความรู้สึกของร่างกายที่เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อได้รับการตอบสนองจากสังคมจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิด ความรู้สึกไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจสังคม หรือบุคคลในสังคมได้ ซึ่งเป็น ความสัมพันธ์ของพลังจิต (psychic energy) กับบริเวณร่างกายที่ถูกเร้าเป็นผลให้เกิดการรับรู้ประสบการณ์ ในเรื่องของพลังจิต Erikson ก็มี ความเห็นคล้อยตามกับ Freud ว่าเป็นการทำงานของพลังเพศ (libido)
ทารกในช่วง 3 – 4 เดือนแรก การดูด และการกลืนอาหารเป็นสิ่งที่ทำให้ทารกมี ความสุข ดังนั้นช่วงระยะเวลาของการดูดนม อาหาร และปริมาณของอาหารทีได้รับจึง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ทารกรู้สึกว่า สังคมนี้ให้ ความรัก ความอบอุ่น ความมั่นคงแก่จิตใจของเขา สิ่งแวดล้อมที่เขาได้รับ คือ แม่ที่ให้นมแก่เขา ความรัก ความอบอุ่นจากอ้อมกอดของแม่ รอยยิ้ม และวิธีการพูดของแม่ทำให้ทารกมี ความสุข และสบายใจ Erikson กล่างถึงระยะของ ความรู้สึกเกี่ยวกับปาก และการหายใจ(an oral – respiration – sensory stage) ไว้ว่าทั้ง 2 ระบบนี้จะทำงานร่วมกัน และมีผลโดยตรงกับการสร้าง ความรู้สึกไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจของเด็ก ลักษณะของอารมณ์เด็ก ขึ้นอยู่กับ การได้รับ และปริมาณของการได้ผ่อนคลาย ความเครียด ทารกจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากการปฏิบัติที่ให้ ความรัก ความเอาใจใส่ และ ความห่วงใยจากพ่อแม่หรือคนที่เลี้ยงเขา
การที่สามารถหยิบ คว้า สิ่งต่างๆ ได้ก็เป็นแนวทางที่ทำให้ทารกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในสังคมของเขาด้วย การหยิบ หรือคว้าบางอย่างเข้าปาก หรือการดูดจุกนม หรือสิ่งอื่นๆ แม้กระทั่งเสียงที่ได้ยิน ตลอดถึง ความอ่อนนุ่ม หรือแข็งกระด้างที่ เขาสัมผัสล้วนมีผลต่อ การปลูกฝัง ความรู้สึกไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจ ถ้าทารกขาดประสบการณ์เหล่านี้ หรือเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เกิด ความไม่สบายใจไม่พอใจ จะเป็นสัญญาณเตือนถึงการเริ่มต้นปลูกฝัง ความไม่ไว้วางใจในสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นในใจของทารกต่อไป
พัฒนาการทางสังคมระยะแรก (Early Social Outreach) Erikson แบ่งพัฒนาการทางปากเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเรียกว่า Oral dependent เริ่มตั้งแต่คลอดและสิ้นสุดเมื่อฟันซี่แรกเริ่มขึ้น เป็นระยะที่ทารกยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นที่จะสนอง ความต้องการต่าง ๆ ให้ตน เช่น การกิน การช่วยเหลือในเรื่อง การขับถ่าย เป็นต้น ระยะที่ 2 เรียกว่า Oral aggressive เริ่มเมื่อฟันซี่แรกขึ้นเป็นต้นมาจนสิ้นสุดพัฒนาการระยะนี้ ในระยะที่ 2 นี้ทารกโตมากขึ้นสามารถควบคุมกล้ามเนื้อมือได้ การหยิบจับสิ่งต่างๆ เป็นไปด้วย ความตั้งใจมากขึ้น ทารกเริ่มเรียนรู้ที่จะทำสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ซึ่งมีทั้งประสบการณ์ที่ทำให้เกิด ความพอใจ และไม่พอใจ ประสบการณ์ที่ทำให้เกิด ความไม่พอใจ หรือไม่สบายใจทารกจะแสดงออกโดยการกัดสิ่งต่างๆ
พัฒนาการขั้นปาก – จุดเริ่มต้นของ ego พัฒนาการในขั้นปากจะแสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างทารกกับแม่ ทารกต้องการอาหาร และ ความอบอุ่นใจ ซึ่งถ้าได้รับ 2 สิ่งนี้อย่างเพียงพอย่อมเป็นจุดเริ่มต้นในการวางพื้นฐาน ego ให้กับทารก แต่ถ้าทารกได้รับประสบการณ์ในทางตรงข้าม จะเป็นการหยุดชะงักการพัฒนาศักยภาพ และ ego ของเขา ถ้าทารกมี ความมั่นคงในจิตใจก็ย่อมมี ความไว้วางใจในผู้อื่น และสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดี Erikson ได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์ของทารกกับแม่ไว้ดังนี้ "การที่แม่ดูแลเอาใจใส่ใน ความต้องการของเด็กอย่างสมบูรณ์ เป็นการนำให้เด็กเรียนรู้ ที่จะไว้วางใจแม่ไว้วางใจตัวเอง และไว้วางใจโลกในที่สุด"
รากฐานการเลียนแบบ (Roots for Identification)
ลักษณะ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก และ ความรู้สึกของแม่ที่มีต่อลูก เป็นตัวทำนายถึงลักษณะของเด็กในอนาคต เด็กจะเลียนแบบกับสิ่งที่ได้รับจากแม่ และเป็นลักษณะที่เขาจะแสดงต่อบุคคลอื่นต่อไป ซึ่งลักษณะนี้จะเห็นได้ชัดเมื่อเด็กอายุได้ 6 เดือน Erikson ได้กล่าวถึง ประสบการณ์ และการเกิด ความข้องคับใจว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเลียนแบบ โดยเฉพาะ ความข้องคับใจ จะนำไปสู่ ความรู้สึกไม่แน่ใจซึ่งเป็นพื้นฐานของ ความไม่ไว้วางใจเด็กจะเรียนรู้ และรับเข้าไว้ในจิตไร้สำนึก (unconscious) และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่เปิดเผยโดยที่เด็กไม่เข้าใจถึงสาเหตุ และ ความหมายของพฤติกรรมเหล่านั้น ความจริงแล้ว Erikson ไม่ได้กล่าวเน้นถึง ความเคยชิน หรือการเอาใจใส่ของแม่ที่มีต่อเด็กแต่เขาเน้นที่อารมณ์ ทัศนคติที่แม่มีต่อเด็กแต่เขาเน้นที่อารมณ์ ทัศนคติที่แม่มีต่อการเลี้ยงดูเด็กจริง ๆ ไม่ใช่เลี้ยงตามหน้าที่ Erikson แนะนำว่าการฝึกหัดในวัยแรกๆ จะล้มเหลว ถ้าเป็นการฝึกที่พ่อแม่ฝึกให้เด็กแทนที่จะให้เด็กฝึกตัวเอง
วิธีการที่แม่เลี้ยงดูลูกของตัวเอง จะเป็นอย่างไร นั้นขึ้นอยู่กับว่าแม่ได้รับ การอบรมเลี้ยงดูมาอย่างไร รวมทั้งวิธีการของพ่อ และการยอมรับสถานภาพของครอบครัวจากสังคม รวมถึงอิทธิพลของ วัฒนธรรม ประเพณีด้วย
2. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกเป็นอิสระ ซึ่งตรงข้ามกับ ความรู้สึกไม่แน่ใจ และ ความละอาย – การรับรู้ใน ความสามารถ
พัฒนาการขั้นนี้อายุ 1 – 3 ขวบ ในขั้นนี้เป็นระยะที่เด็กกำลังเติบโตมากขึ้นเขาจึงค้นพบว่าเขาสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเองซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบ ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ยังมี ความรู้สึกลังเลไม่แน่ใจใน ความสามารถ และอิสระของเขา ความไม่แน่ใจนี้จะมีผลต่อการจะเป็นตัวของตัวเอง และทำให้ต้องคอยพึ่งพาอาศัยคนอื่นเสมอ ทำให้เกิด ความขัดแย้งขึ้นในตัวเด็กในการค้นหาถึงสิทธิ และ ความสามารถของตัวเอง เด็กต้องการคำแนะนำ ความเห็นใจ ความเข้าใจจากผู้ใหญ่เพื่อการค้นหาตัวเอง วัยนี้ตรงกับขั้นพัฒนาการของการฝึกขับถ่าย (anal phase) ของ Freud
ในวัยนี้พัฒนาการทางกายของเด็ก มีวุฒิภาวะมากขึ้น การประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อมีการทำงานดีขึ้น เด็กสามารถยืน เดิน ถือของ หรือปล่อยของได้ เด็กพยายามค้นหาสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวเขา เด็กสามารถควบคุมกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ทวารหนัก และกระเพาะปัสสาวะ และควบคุมระบบย่อยอาหาร เด็กสามารถกินอาหารที่แข็งขึ้นไม่ต้องกินแต่อาหารอ่อนเหมือนช่วงที่ผ่านมา
วุฒิภาวะทางกาย ความสามารถของวุฒิภาวะทางร่างกายมี ความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของพลังเพศ (libido) พลังเพศจะแสดงออกในรูปของ if ego และ superego ความต้องการเป็นตัวของตัวเอง หรือ ความต้องการพึ่งพาอาศัยผู้อื่น เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงแรงกระตุ้นของ id แรงกระตุ้นของ id นี้มีพลังมากเกินกว่าที่เด็กเล็กๆ ในวัย 1 – 3 ขวบจะจัดการให้เรียบร้อย และเหมาะสมได้ พ่อแม่จึงควรช่วยเหลือเขาด้วย อย่างไรก็ตามโดยทั่วๆ ไปแรงกระตุ้นที่เพิ่มขึ้นของ id นี้ จะเท่ากับ
การเจริญเติบโตของ ego เพเราะมีการพัฒนาการทางด้านการควบคุมกล้ามเนื้อ การรับรู้ ความจำ ความคิด และการปรับตัว ให้เข้ากับสังคม เพิ่มมากขึ้นซึ่งทำให้ ความเข้มแข็งของ ego เพิ่มมากขึ้นด้วย กระบวนการเติบโตทางร่างกายจะพัฒนาไปพร้อม ๆ กับพลัง id และ ego และจะมี superego เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กระบวนการทำงานเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และมีผลให้เด็กมี ความเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ ความสำคัญของ ego การพัฒนาดังกล่าวข้างต้น Erikson เน้น ความสำคัญไปที่การพัฒนา ego มากกว่า id หรือ superego ทั้งนี้ เพราะ ego เป็นตัวที่ยอมรับและรู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า เขามีขอบเขตของ ความเป็นอิสระได้มากน้อยเพียงไร เมื่อเด็กมองเห็น ความสามารถของตัวเอง และรู้ว่าคนอื่นมองว่าเขาเป็นอย่างไร รวมกับ
การรับรู้ว่าขอบเขตของอิสระของเขามีมากน้อยเพียงใดในฐานะที่อยู่กับพ่อแม่ หรืออยู่กับคนอื่น หลังจากนั้นเขาก็ค่อยๆ รู้สึกมั่นใจ ในตัวเองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกไว้วางใจ หรือมั่นใจในตัวเองของเด็ก อาจหมดไปได้ถ้าเขามี ความรู้สึกว่ายังต้องพึ่งพาคนอื่น หรืออยู่ใต้คำสั่งของคนอื่นรวมทั้งอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งเขาจะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวเขาเป็นศัตรู และมีผลทำให้เกิด ความกลัว ลังเล ไม่แน่ใจ
ความมั่นใจในตนเอง การแสดงพฤติกรรมเด็กมักมี ความวิตกกังวลต่อผลจะเกิดขึ้น หรือผลที่เขาจะได้รับ พลังเพศ (libido) จะเป็นตัวคอยควบคุมการกระทำ ความคิด การสร้าง ความสัมพันธ์กับบุคคลขึ้น ความต้องการ ฯลฯ พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อ ความคิดของเด็กทำให้มี ความคิดที่ต้องควบวคุมตัวเอง ที่จะไม่ให้เกิด ความเครียด หรือ ความรู้สึกไม่สบายใจ และพยายามทำในสิ่งที่สังคมต้องการ
การเล่น (Play) การเล่นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในพัฒนาการขั้นนี้ เด็กจะต้องรู้ขอบเขต ความสามารถของตนเอง ต้องยอมรับ และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของการเล่นนี้ด้วย
Erikson กล่าวว่า "ของเล่นถือเป็นโลกสมมุติเล็กๆ ที่เด็กสร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง ego ของเขาเอง" เวลาเล่นอารมณ์ของเด็กจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และรวดเร็วซึ่งมีผลต่อการพัฒนา ความรู้สึกที่ต้องการอิสระ และการเป็นตัวของตัวเอง แต่ถ้าเด็กได้รับการเอาใจใส่จากพ่อแม่มากเกินไปเด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่มี ความมั่นใจตัวเองไม่กล้าที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง
การสร้าง ความสัมพันธ์ (Relationship Formation) เด็กในวัยนี้ ความต้องการ ความช่วยเหลือจากแม่ลดน้อยลง เด็กพยายามที่จะช่วยตัวเอง ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น รับประทานอาหาร แต่งตัว หยิบจับสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ความรู้สึกต้องการเป็นตัวของตัวเองนี้จะพัฒนาได้มั่นคง หรือไม่ขึ้นอยู่กับเขาสามารถแสดง ความสามารถของเขาออกมา ได้มากน้อยแค่ไหน และเป็นที่ยอมรับจากพ่อแม่ และบุคคลรอบข้าง หรือไม่ การรู้จักให้ และรับ (give and take) ระหว่างพ่อ แม่ ลูก จะช่วยให้เด็กรู้สึกพึ่งพาตัวเองได้ และที่สำคัญก็คือพ่อแม่ควรรู้ขอบเขตของการให้แก่ลูก เด็กจะเชื่อฟังก็ต่อเมื่อ เขาเข้าใจในขอบเขตว่า สิ่งใดที่เขาสามารถกระทำได้ ในทางตรงกันข้ามแล้ว เขาไม่รู้ว่าเขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้เพเพียงไร ถ้าทำลงไปแล้วถูกขัดขวาง จะยิ่งทำให้เด็กเกิด ความสับสนไม่แน่ใจยิ่งขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นจุดสำคัญที่จะเริ่มต้นเด็กให้เป็นคนที่สามารถช่วยตัวเอง และควบคุมตัวเองได้ หรือเกิด ความลังเลไม่แน่ใจ และละอายในการกระทำสิ่งต่างๆ ความรู้สึกสงสัยไม่แน่ใจในตัวเองของเด็กเกิดจาก ความไม่แน่นอนในฐานะของตัวเอง เพราะเขามี ความรู้สึกว่าไม่มั่นคงในจิตใจเพียงพอ หรือไม่สามารถควบคุมตัวเอง ให้ทำอะไรได้ทำให้เกิด ความไม่แน่ใจใน ความสามารถว่าเขาจะช่วยเหลือตัวเองได้ หรือไม่
ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ ในระยะนี้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ที่จะข่มขู่พ่อแม่เมื่อเขาต้องการอะไร หรือต้องการให้พ่อแม่ทำอะไรให้เขา เด็กจะใช้วิธีการข่มขู่โดยการลงนอนร้องดิ้น และในขณะเดียวกันเป็นระยะที่พ่อแม่ และคนใกล้ชิดคาดหวังว่าเด็กมี ความสามารถเพิ่มมากขึ้น และตัวเด็กเองก็พยายามค้นหา ขอบเขตของ ความอิสระของเขาว่ามีมากน้อยเพียงไร เด็กเรียนรู้ว่าการแสดงพฤติกรรมแบบใดกับใคร จึงจะได้ในสิ่งที่ตนต้องการ
การเลียนแบบ (Identification Formation)
Erikson เสนอแนะว่าในขั้นพัฒนาการระยะที่ 2 นี้ถ้าเป็นระยะที่แม่มีลูกเพิ่มขึ้นเป็นสมาชิกใหม่ของบ้าน ซึ่งทำให้แม่หันมาเอาใจใส่ลูก ที่เกิดใหม่มากขึ้น ทำให้พี่เกิด ความริษยาน้องใหม่ได้ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระ และไม่ต้องการพึ่งพาผู้อื่น อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการเลียนแบบ สิ่งแวดล้อมของเด็กมีผลต่อ ความคิด ความรู้สึก ทำให้พฤติกรรมของเด็ก แสดงออกมาในทางที่ดี หรือไม่ดีก็ได้ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบทางวัฒนธรรม ระเบียบประเพณี และกระบวนการของสังคมประกิต ที่กำหนดแบบอย่าง ของการปฏิบัติให้แก่เด็ก ถ้าสังคมใดขาดแบบแผน ที่จะเป็นแบบอย่าง จะนำไปสู่การพัฒนา ความรู้สึกสับสน และละอายของเด็กด้วย
3. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกของ ความคิดริเริ่ม ซึ่งทำให้ผ่านพ้น ความรู้สึกผิด-การตั้งจุดมุ่งหมาย ขั้นนี้อายุ 3 – 5 ปี เด็กวัยร่างกายมี ความสามารถ และช่วยตัวเองได้มากขึ้นกว่าเดิมแต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัด ความคิดริเร่อมสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นเมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ
ที่ท้าทาย ความสามารถของเขา สิ่งแวดล้อมมีส่วนผลักดันให้เด็กเกิด ความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ คือ ความสามารถภายในตัวเด็กเอง ของเล่น สัตว์เลี้ยง รวมถึงญาติพี่
น้องด้วย เด็กวัยนี้ชอบพูด และตั้งคำถามา เด็กช่างซักถาม ช่างสงสัย และจินตนาการ ความคิดต่างๆ ขึ้นมาในขณะที่กำลังทำกิจกรรมนั้นๆ อยู่ เด็กที่ขาด ความเชื่อมั่นในตน
เองจะมี ความคิดคัดค้าน หรือ ความรู้สึกผิดเกิดขึ้นเนื่องจากเขาไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จดังใจ เป็น ความรู้สึกที่สืบเนื่องมาจากการพัฒนา ความรู้สึกไว้วางใจ หรือไม่
ไว้วางใจผู้อื่นในขั้นที่ 1 ซึ่งเป็นผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูนั่นเอง เด็กเกิด ความรู้สึกผิดขึ้นเนื่องจาก ความสามารถของเขาถูกริดรอน หรือขัดขวาง ความคิดริเริ่ม หรือ ความ
รู้สึกผิดจะเกิดสะสมในตัวเด็ก ในระยะนี้องค์ประกอบสำคัญของการสร้าง ความรู้สึกของ ความคิดริเริ่ม และทำให้ผ่านพ้น ความรู้สึกผิด มีดังนี้ วุฒิภาวะ (Maturity) การ
เลียนแบบ (Identification Formation) ปม (Oedipus Complex) รูปแบบของมนุษย์ (Human Modalities) การเล่น (Play) การสร้าง ความสัมพันธ์
(Relationship Formation) และวุฒิภาวะ (Maturity)
Erikson สนับสนุนในด้านที่ว่าเด็กจะทำสิ่งใดๆ ให้ดีขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของตัวเด็กเองด้วย เช่น ความสามารถด้านการพูด การจับสิ่งของต่างๆ เป็นต้น เด็กวัยนี้สามารถ
เดิน วิ่ง กระโดดโลดเต้นได้ เด็กจะมีทัศนคติไปในทางที่ดี ถ้าเขาได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเขาอย่างมีอิสระได้ใช้ ความคิด และพลังงานของเขาเพื่อสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม
เด็กต้องการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาซึ่งผู้ใหญ่ส่วนมากไม่ชอบ ในขณะเดียวกันเด็กก็มีคำถามอยู่ตลอดเวลา เด็กมี ความสามารถทางภาษา และใช้ได้ดีขึ้นกว่าเดิม เด็กต้อง
การรู้ในสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ผู้ใหญ่ควรปล่อยให้เด็กได้ใช้ภาษา และทำกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระภายในขอบเขต ความสามารถของเขา และตามจินตนาการของเด็กเอง
กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้มี id เป็นตัวกระตุ้นอยู่ภายใน Erikson กล่าวว่า id จะแสดงพลังเพื่อสนอง ความต้องการของตนตลอดเวลา ถ้า ego ถูกสร้างขึ้นมาแข็งพอเพียง
ก็จะพยายามควบคุม id ให้แสดงออกมาในรูปแบบที่เหมาะสม พร้อมกันนั้นจะมีการสร้าง superego ขึ้นมาในตัวของเด็กเองด้วย id ego และ superego เป็น
กระบวนการที่ถูกสร้าง และขัดเกลาให้เหมาะสมจากครอบครัวของเด็ก และขนบธรรมเนียมประเพณี
การเลียนแบบ (Identification Formation)
ครอบครัวของเด็กจะเป็นแหล่งชี้แนะถึงสิ่งต่างๆ ในสังคมให้แก่เด็ก เด็กจะเริ่มสร้างบุคลิกภาพ และ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจากการได้ปะทะสังสรรค์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ
ตัวเขา superego ถูกสร้างขึ้นโดยการอบรมสั่งสอนจากครอบครัว และค่อยๆ สะสมซึมซาบเข้าไปเป็น ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในตัวเด็กเอง ความรู้สึกนี้ถูกสะสมมาจาก
ตัวแบบในครอบครัว (stereo-type) โดยตัวแบบบอกให้เขารู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ดังนั้น ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจึงถูกสร้างขึ้นจาก superego ในครอบครัวนั้นๆ ซึ่ง
รวมถึงแนว ความคิด ค่านิยมของสังคมอีกด้วย เด็กจะพิจารณาสถานการณ์ใดๆ โดยมี superego ของครอบครัวเขาเป็นมาตรฐานในการตัดสิน และการคิดพิจารณา
สิ่งใดๆ รอบตัวของเด็กก็ใช้บุคลิกภาพของเขา ระเบียบประเพณี และวัฒนธรรมในสังคมเป็นแนวทางในการพิจารณาด้วย ดังนั้นในการปลูกฝัง ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ให้แก่เด็กครอบครัวจึงมีบทบาทอย่างยิ่ง
ปม (Oedipus Complex)
พัฒนาการขั้นที่ 3 ซึ่งอยู่ระหว่างอายุ 3 – 5 ปี ทัศนะของ Erikson ก็เช่นเดียวกับ Freud คือเข้าสู่ระยะ oedipus complex ซึ่งเป็นกระบวนการของ ความสัมพันธ์
ระหว่างเด็ก และครอบครัวของเขา Erikson และ Freud เห็นพ้องต้องกันว่าปม oedipus complex จะมีผลต่อพัฒนาการบุคลิกภาพในขั้นต่อๆ ไป การผ่านผมนี้
ไปได้แสดงถึง ความสามารถแก่เขาเพียงไร เด็กเริ่มมี ความรู้เกี่ยวกับเพศ เช่น รู้ถึง ความแตกต่างระหว่างเพศ กระบวนการพัฒนาทางเพศในระยะนี้ก็เป็นไปเช่นเดียวกับที่
Freud กล่าวไว้ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ คือ เด็กชายจะรัก และต้องการเป็นเจ้าของแม่แต่เพียงผู้เดียว เด็กหญิงก็รัก และต้องการเป็นเจ้าของพ่อแต่เพียงผู้เดียวเช่นกัน ความ
รู้สึกรัก และต้องการเป็นเจ้าของดังกล่าวทำให้เกิด ความรู้สึกเกลียด และไม่คุ้นเคยห่างเหินกับพ่อ-แม่ที่เป็นเพศเดียวกับตน ในขณะเดียวกันก็เกิด ความกลัวว่าพ่อ-แม่ที่เป็น
เพศเดียวกับตนจะล่วงรู้ถึง ความรู้สึกนี้จึงพยายามเลียนแบบ (identification) บุคลิกภาพของพ่อ-แม่ที่มีเพศเดียวกันเพื่อให้พ่อ-แม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนพอใจ จุดนี้
มีผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมตามบทบาททางเพศของตน
นอกจากนี้ในระยะ oedipus complex ทั้งเด็กหญิง และเด็กชายจะสนใจอวัยวะเพศ และพบว่าเด็กหญิงนั้นไม่มีอวัยวะเพศเหมือนเด็กชาย คือไม่มี penis ซึ่งทำให้
ทั้งเด็กหญิง และเด็กชายคิดว่าคงจะเกิดบางสิ่งบางอย่างกับอวัยวะเพศของเด็กหญิง และมันอาจเกิดขึ้นกับเด็กชายบ้างก็ได้ ความกลัวนี้ก่อให้เกิด ความไม่แน่ใจ และ
แสดงออกถึง ความกลัวทุกอย่าง หรือการเกิดจินตนาการในสิ่งที่ผิดๆ ที่หาอธิบายไม่ได้
รูปแบบของมนุษย์ (Human Modalities)
รูปแบบพัฒนาการในขั้น ความคิดริเริ่ม และ ความรู้สึกผิดจะแตกต่างกันในแต่ละเพศ ในระยะแรกๆ ของขั้นนี้ เด็กจะมีพฤติกรรมที่แสดงถึง ความกระตือรือร้น และมี ความก้าวร้าวอย่างอ่อนๆ เพื่อจะเอาชนะในที่สุดจะพัฒนาเป็นบุคลิกภาพที่แสดงถึง ความเป็นชาย และหญิงอย่างเห็นได้ชัด Erikson และ Freud พัฒนาการขั้นนี้เป็นระยะของการพัฒนาทางด้านเพศ
รูปแบบพฤติกรรมของเด็กชาย เด็กชายจะชอบกระโดดโลดเต้น ต้องการมี ความรู้ใหม่ ๆ และชอบยุ่งเรื่องของคนอื่น ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเพศโดยแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การไม่อยู่นิ่ง การกระวนกระวาย การจู่โจมถึงตัวบุคคล ความอยากรู้อยากเห็น พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นธรรมชาติของ
เด็ก สภาพแวดล้อมของครอบครัวมีบทบาทสำคัญต่อการแสดงออกของเด็กเป็นอย่างมาก เมื่อเด็กผ่านช่วงนี้ไป ความสนใจเรื่องเพศ จะเปลี่ยนจาก ความสนใจในบุคคลอื่น เป็นการค้นหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวเอง
สำหรับเด็กหญิง รูปแบบที่แสดงออกมาจะเริ่มต้น คล้ายกับหญิงสาวทั่วไป เช่น มีเสน่ห์ น่ารัก มีทีท่าเขินขวย เย้ายวน จนถึงขั้นที่แสดงออกถึง ความสงบเสงี่ยมซึ่งเป็นลักษณะของสาวๆ ทั้งนี้ทั้งหมดนี้เป็นการเริ่มต้นที่แสดงออกถึงเพศแม่ เด็กหญิงเริ่มมีบทบทของ ความเป็นแม่ต่อไปในรูปของท่วงทีการพูดคุย การแสดงออกต่างๆ ในสังคมจะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมต่างๆ รวมถึงอุปนิสัยส่วนลึกที่จะยอมรับใครเข้ามาร่วมเกี่ยวข้องด้วย
การเล่น (Play)
ทั้งเด็กชาย และเด็กหญิงจะค้นพบวิธีการแก้ ความขัดแย้งของตนแตกต่างกันออกไป การเล่นเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่เขานำมาใช้ในการแก้ปัญหา ความขัดแย้ง ลักษณะการเล่นที่สำคัญของเด็กวัยนี้คือ การเล่นคนเดียว แต่ในบางขณะเด็กก็ต้องการเพื่อนเล่นเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน ของเล่นของเด็กจะมีส่วนใน การสร้างสมประสบการณ์ให้แก่เด็กในเวลาต่อมา การเล่นร่วมกับเพื่อน เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กรู้จัก แก้ปัญหาต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตามเด็กบางคนเกิด ความรู้สึกผิดในการเล่นของตน เพราะบ่อยครั้งที่เด็กถูกห้ามเล่นในสิ่งที่ต้องห้าม และมักจะเป็นการเล่นที่เขาสนุก และชอบมาก ซึ่งการเล่นดังกล่าวนี้นำไปสู่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในเวลาต่อไป
การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship Formation)
เด็กในระยะนี้ ต้องการตัวแบบจากบุคคลภายนอกครอบครัวเพื่อให้ได้ประสบการณ์จากผู้อื่น สำหรับระยะนี้ต้องการตัวแบบ จากบุคคลภายนอกครอบครัว เพื่อให้ได้ประสบการณ์จากผู้อื่น สำหรับการพัฒนาบุคลิกภาพของตน เด็กจะเปรียบเทียบ ความแตกต่าง ระหว่างตัวเอง และตัวแบบที่ได้พบเห็น เขาจะมี ความรู้สึกว่าทำไมพ่อแม่ทำอะไรๆ ได้ในขณะที่ตัวเขาเองถูกห้ามอยู่เสมอ ทำให้เด็กเกิด ความรู้สึกต้องการเอาชนะ เด็กจะมี ความสงสัยในสิ่งต่างๆ และตื่นเต้นต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมรอบตัวเขา
เขาต้องการรู้ทุกๆ สิ่งในโลกกว้างของเขา ความอยากรู้อยากเห็นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนประถมศึกษา เป็นสถาบันที่ 2 ของเด็กควบคู่ไปกับครอบครัวที่จะสอนให้เด็กได้รับการเรียนรู้ และสร้างระดับของ ความอยากรู้อยากเห็น พฤติกรรมที่ท้าทาย และก้าวร้าวต่างๆ จะแตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และระดับชั้นในสังคมของเด็ก
Erikson ได้ชี้ให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงดูเบื้องต้นกับระบบสังคมเศรษฐกิจในชุมชน เขาเสนอว่า ความสามารถของบุคคลที่จะก้าวไปสู่ ความสำเร็จต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับการพัฒนาในช่วงระยะเวลาเหล่านั้น
จากการสังเกตพบว่า เด็กจะเจริญเติบโตไปอย่างช้าๆ ในลักษณะบูรณาการกันระหว่างการเจริญเติบโตทางร่างกาย และจิตใจ เช่น เด็กเล็กๆ ค่อยๆ เริ่มเป็นตัวของตัวเอง โอกาส และบทบาทที่ได้แสดงออกจะทำให้เด็กมี ความรู้สึกในด้านการรับผิดชอบตัวเอง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กจะรู้สึกสนุกสนานใน ความสามารถของตนเองที่ได้เล่นของเล่นที่ยากๆ ใช้ ความคิด หรือมีเครื่องมือต่างๆ ที่ต้องใช้การควบคุมด้วยตนเอง และรับผิดชอบต่อตัวเอง หรือต่อเด็กที่อายุน้อยกว่า
การสร้าง ความสัมพันธ์ในระยะนี้จะเริ่มด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างแม่-เด็กต่อมาก็มีพ่อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และเมื่อสังคมของเด็กกว้างขวางขึ้นเด็กก็เริ่มสร้าง ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเองเด็กที่มีประสบการณ์มากก็จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากเด็กที่ไม่สามารถพัฒนา ผ่าน ความคิดริเริ่มไปได้จะเกิด ความรู้สึกสับสนขึ้นในใจเกิดคำถามขึ้นว่า "ตัวเองเป็นใคร ?" และ "คนอื่นเป็นใคร?"
พัฒนาการของเด็กจึงเป็น ความรับผิดชอบร่วมกันทั้งเด็ก พ่อแม่ และชุมชน การได้มีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน หรือการมีประชาสัมพันธ์ (interaction) กันในสังคมจะเป็นการช่วยถ่ายทอด ความรู้สึกนึกคิดเจตคติค่านิยมของสังคมให้แก่เด็กได้ทีละน้อยโดยมีผู้ใหญ่ช่วยกัน ประคับประคองให้เด็กพัฒนาไปสู่ ความสมบูรณ์ได้
4. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และขจัด ความรู้สึกเป็นปมด้อย- ความสามารถเกิดขึ้น
ขั้นนี้อยุ่ในช่วงอายุอายุ 6–12 ปี ช่วงวัยเด็กตอนปลายเป็นระยะที่เด็กมี ความเจริญเติบโต และมี ความอยากรู้อยากเห็น ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากขึ้น การเสาะแสวงหาสิ่งต่างๆ ทำให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ๆ มากมาย เขาคิดว่าสิ่งใดที่เขาต้องการ เขาจะต้องแสวงหาให้ได้ตาม ความปรารถนาเนื่องจากในวัยเด็ก ที่ผ่านมาเขารู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถกระทำสิ่งใดๆด้วยตนเอง เพราะมีผู้ใหญ่คอยบังคับ และควบคุม ดังนั้นเมื่อถึงระยะนี้เด็กจึงต้องการที่จะแสดง ความคิดเห็น และแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อแสดง ความเป็นผู้ใหญ่ จุดสำคัญของพัฒนาการระยะนี้คือการแสดงออกว่าเขาโตแล้ว การสะท้อนกลับของกิจกรรมต่างๆ ที่เขาได้กระทำไป จะทำให้เขารู้สึกว่าประสบ ความสำเร็จหรือล้มเหลว ความรู้สึกล้มเหลวทำให้เขามองตัวเองว่ายังเป็นเด็กอยู่ซึ่งทำให้เกิดปมด้อย แต่ถ้ารู้สึกว่าประสบ ความสำเร็จย่อมทำให้เกิด ความภาคภูมิใจเห็น ความสำคัญของตนเอง และเห็น ความสามารถของตนกับ กลุ่มเพื่อนวัยเดียวกัน ทำให้เกิดกำลังใจที่จะปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ระยะนี้สังคมควรช่วยชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตเพราะ เป็นระยะที่เด็ก เริ่มไตร่ตรองถึงอนาคต การที่ได้พิสูจน์ว่ามี ความสามารถในการกระทำต่างๆ ในขอบเขตของเขาทำให้เด็กในวัยนี้มี ความเชื่อมั่นว่าเขาจะประสบความสำเร็จในอนาคต
องค์ประกอบสำคัญของการสร้าง ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และขจัด ความรู้สึกเป็นปมด้อยคือ การเลียนแบบ (Identification Formation) และ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็ก (Parent Relationship) ดังจะอธิบายคือ
1. การเลียนแบบ (Identification Formation)
เด็กจะมีการแสวงหาแบบอย่างต่อไป และแตกต่างไปตามเพศ และทั้งเด็กหญิง และเด็กชายพบว่าสมควรที่จะสนใจกิจกรรมทั้ง 2 เพศแทนที่จะไปมุ่งสนใจกิจกรรมเฉพาะเพศของตน สิ่งสำคัญของการทำกิจกรรมต่างๆ คือ ความรู้สึกที่สะท้อนออกมาว่าเป็นการแข่งขัน หรือการต่อสู้ เด็กต้องการเปรียบเทียบ หรือวัดคุณค่า และ ความถนัดของตนเอง เด็กจะสนใจในสิ่งต่างๆ แล้วพยายามดัดแปลงให้มาสู่แบบฉบับของเขา ความสามารถในการเลียนแบบจะปรากฏออกมาในรูปของ "การเรียนรู้ภายในขอบเขตของตัวเองโดยมีรากฐานมาจากวัฒนธรรม และสังคม"
2. ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็ก (Parent Relationship)
ความสัมพันธ์นี้เป็นพื้นฐานสำคัญ เด็กตระหนักว่าในไม่ช้า เขาก็ต้องแยกตัวออกไปมีครอบครัวใหม่ เด็กจะมองเห็นว่าพ่อแม่เป็นตัวแทนของสังคมเป็นแบบอย่างแก่เขา แต่เขาก็ต้องการตัวแบบอื่นๆ เพื่อการเปรียบเทียบด้วย เช่น เพื่อนของพ่อแม่ และพ่อแม่ของเพื่อน เป็นบุคคลสำคัญที่ใหม่สำหรับเขา นอกจากนี้เพื่อนบ้าน เพื่อนในโรงเรียน เป็นสิ่งสำคัญ ทางสังคม ที่เขาจะพิจารณา และคนแปลกหน้ากลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเขา เด็กหญิง และเด็กชายจะแสวงหาผู้ใหญ่ และบุคคลอื่นๆ เพื่อการวิเคราะห์
เขาคิดว่าพ่อแม่ยังไม่สมบูรณ์พอที่เขาจะเลียนแบบได้ครบทุกด้าน ในโลกของเด็กมีการสมมุติตำแหน่งต่างๆ ที่สำคัญเหมือนผู้ใหญ่ เด็กมี ความนับถือตนเองเป็นเกณฑ์เพื่อวัด ความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวของตน เด็กจะแสวงหาตัวแบบจากครอบครัวที่มีลักษณะพิเศษออกไป ทางด้านการปรับตัวของเด็กในสังคม เด็กจะมีการยอมรับตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้โรงเรียน กลุ่มเพื่อนรุ่นเดียวกัน ศาสนามีส่วนช่วยสนับสนุนการปรับตัวของเด็กได้เป็นอย่างดี เด็กเริ่มเปลี่ยน ความผูกพันจากครอบครัวไปสู่สถาบันอื่นในสังคม
Erikson เน้นว่า ความรู้สึก และนิสัยในการทำงานของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการมี ความรู้สึกอุตสาหะขยันหมั่นเพียร ซึ่งกำลังพัฒนาในช่วงนี้วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการปรับปรุง ความถนัด ความสามารถของตัวเองเพื่อนำไปสู่ ความสำเร็จ สังคมที่กว้างขึ้นทำให้เด็กได้รับการยอมรับ ได้เข้าใจหน้าที่ของตนเองมากขึ้น ในวัยนี้เป็นวัยสำคัญที่จะเตรียมตัวเด็กให้รู้จักเสียสละ เพื่อสังคม และเพื่อครอบครัวของเขาเอง
ในการแสวงหา หรือการพัฒนา ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และขจัด ความรู้สึกเป็นปมด้อย
ขอบเขต ความสามารถของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ และพัฒนาการระยะนี้จะมีผลต่อระยะวัยรุ่น โดยทั่วไปเด็กวัยรุ่น มักชอบทำกิจกรรมต่างๆ เกิน ความสามารถของตัวเองทำให้เกิด ความกลัว ความผิดพลาด หรือ ความล้มเหลว ซึ่งเป็นแรงผลักดัน ให้เขาพยายามทำกิจกรรมนั้นๆ ให้สำเร็จ เด็กวัยรุ่นจะพยายามเอาชนะ เพื่อ ความสำเร็จซึ่งเป็น แนวทางไปสู่ ความเชื่อมั่นในตัวเอง เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กล่าวได้ว่าเด็กวัยรุ่นมีพลังอย่างเพียบพร้อม ที่จะปรับตัวเพื่อ ความสำเร็จในการทำงาน
5. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกใน ความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และผ่านพ้น ความรู้สึกสับสนในตนเองไปได้ – รับรู้ตาม ความจริง
ในขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 13–17 ปี องค์ประกอบสำคัญของการสร้าง ความรู้สึกเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และผ่านพ้น ความรู้สึกสับสนในตนเอง มีดังนี้
การเข้าใจในเอกลักษณ์ของตนเองช่วยให้เด็กวัยรุ่นเกิด ความเข้าใจในปัญหาต่างๆ และช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคต เช่น การเลือกอาชีพ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น
ความรับผิดชอบถือว่าเป็นเอกลักษณ์สำคัญของวัยนี้ ซึ่ง ความรับผิดชอบนี้มีรากฐานมาจากการอบรมของพ่อแม่ และ ความรู้สึกไว้วางใจ และ ความมั่นใจในตนเอง ในวัยนี้
เด็กวัยรุ่นจะเกิด ความคิดสงสัยในตัวเอง เช่น เกิดปัญหาถามตนเองว่า "ฉันคือใคร?" หรือ "ฉันจะทำอะไรดี?" เนื่องจากระยะวัยรุ่นเป็นระยะที่มี ความรู้สึกสับสน ขาดความมั่นใจ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจเพื่อเตรียมเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ปัญหาของเด็กวัยนี้มักเป็นไปในทำนองที่ว่า "ฉันไม่รู้ว่าฉันควรจะทำอะไร
ฉันไม่รู้ว่าฉันจะไปทางไหน และฉันไม่รู้ว่าฉันเป็นใคร" ดังนั้นกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกัน การยอมรับจากกลุ่มศาสนา และวัฒนธรรม จึงมีผลต่อการปรับตัวอย่างยิ่ง อย่างไรก็
ตามกระบวนการทำงานของ id และ ego ยังพัฒนาต่อไปซึ่งช่วยให้เด็กวัยรุ่นสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
การแสวงหาสถานภาพทางสังคม (Acquisition of Social Status)
เด็กวัยรุ่นจะค่อยๆ พัฒนา ความเป็นตัวของตัวเองขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อพัฒนาเป็นระดับมาตรฐานของตัวเอง เขาจะแสวงหาตนตามอุดมคติ (ego – ideal) และค้นหาเอกลักษณ์ของตัวเองเพื่อบทบาทใหม่ในสังคม Erikson กล่าวว่า มีเด็กวัยรุ่นตอนปลายอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่เป็นตัวของตัวเอง และยังไม่พบเอกลักษณ์ในตัวเอง ซึ่งวัยรุ่นเหล่านี้เมื่อมีปัญหาจะแก้ปัญหาแบบ "หนีเสือปะจระเข้" หรือหลบหนีจากปัญหานั้นไป อย่างไรก็ตามวัยรุ่นแต่ละคนย่อมต้องการเวลาในการปรับตัวเองเพื่อการเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ และให้สังคมยอมรับซึ่ง Erikson ได้เสนอแนวทางการปรับตัวไว้ดังนี้
การปรับตัวของเด็กวัยรุ่น
ช่วงวัยรุ่น Erikson เสนอว่ามีขั้นตอนในการปรับตัวที่สำคัญมี 7 ขั้น ในแต่ละขั้นถ้าไม่สามารถปรับตัว ได้ย่อมทำให้เกิด ความล้มเหลวในเรื่องนั้นๆ การปรับตัวทั้ง 7 ขั้น มีดังนี้
1. สัดส่วนของเวลาตรงข้ามกับ ความสับสนของเวลา (Time Perspective VS Time Diffusion) หมายถึง เด็กวัยรุ่นต้องการเวลาที่เหมาะสมเพื่อการเตรียมตัว และการปรับตัวต่อ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
2. ความมั่นใจในตนเองตรงข้ามกับ ความเฉยเมยท้อแท้ (Self-certainty VS Apathy) ความมั่นใจในตนเอง หมายถึง การแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเองอย่างถูกต้อง มี ความสนใจเกี่ยวกับตนเอง และ ความคิดของคนอื่นที่มีต่อคน
3. การตรวจสอบบทบาทตรงข้ามกับการมีเอกลักษณ์ที่ไม่ถูกต้อง (Role Experimentation VS Negative Identity) ในวัยเด็กจะมีการแสวงหาบทบาทต่างๆ มากมายหลายชนิด ส่วนเด็กวัยรุ่นจะคัดเลือกเฉพาะบทบาทที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด วัยรุ่นอาจจะทดลอง หรือตรวจสอบหลายๆ บทบาทที่ตนเองพอใจ
4. การคาดการณ์ล่วงหน้าในผลลัพท์ตรงกันข้ามกับ ความชะงักงันในการงาน (Anticipation of Achievement VS Work Paralysis) การทำงานใด ๆ เด็กวัยรุ่นมี ความต้องการที่จะให้งานนั้นประสบ ความสำเร็จ หรือเสร็จลงด้วยดี ดังนั้นก่อนที่เขาจะลงมือกระทำงาน เขาจะคาดการณ์ล่วงหน้าในผลสำเร็จที่เกิดขึ้น การคาดหมายว่างานจะประสบผลสำเร็จเป็นแรงกระตุ้นให้เขาเกิด ความพึงพอใจมี ความสนใจ และมี ความเพียรพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้นๆ การคาดการณ์ล่วงหน้าในผลสัมฤทธิ์จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะพัฒนา ความมั่นใจในตัวเอง และ ความเป็นตัวของตัวเอง
5. เอกลักษณ์ทางเพศตรงข้ามกับ ความสับสนทางเพศ (Sexual Identity VS Bisexual Diffusion) วัยรุ่นต้องการประสบการณ์ที่จะทำให้เขารู้ในบทบาททางเพศของตนเอง และต้องการที่จะแสดงลักษณะ และบทบาททางเพศของตนให้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม ขณะเดียวกันก็ต้องการที่จะเป็นเพื่อนกับเพศตรงข้าม
6. ความเป็นผู้นำตรงข้ามกับ ความสับสนในอำนาจ (Leadership Polarization VS Authority Diffusion) ความสามารถของวัยรุ่นในการเป็นผู้นำ หรือเป็นผู้ตามเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และสถานภาพทั้ง 2 ลักษณะนี้เป็นตัวชี้ให้เห็นถึงอำนาจของตัวเองในสังคม เด็กวัยรุ่นควรได้รับการฝึกให้เป็นตัวของตัวเอง มี ความมั่นใจในตนเองซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เขาพัฒนา ความเป็นผู้นำให้เกิดขึ้น
7. อุดมคติตรงข้ามกับ ความสับสนในอุดมคติ (Ideological Polarization VS Diffusion of Ideals) วัยรุ่นจะเลือกปรัชญา หรือมีอุดมคติเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจซึ่งจะนำทางให้เขาอยู่ในสังคมได้ นอกจากนี้การมีอุดมคติ และมีปรัชญาชีวิตจะช่วยให้เขาไปสู่ ความมีเอกลักษณ์ของตนเอง เขาจะมีแนวทางชีวิตของเขาว่าเขาจะเป็นอะไรต่อไป เมื่อมีสิ่งที่ไม่ถูกต้องกับอุดมคติของเขา ๆ ก็จะไม่ยอมรับ หรือต่อต้านกับสิ่งเหล่านี้
ขั้นตอนทั้ง 7 ขั้นดังกล่าวข้างต้นนี้ จะมีผลต่อพัฒนาการ ความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และมีประโยชน์ต่อตัวเขาเองโดยตรง เป็นการได้เผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ได้เปรียบเทียบสังคมของผู้ใหญ่กับตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะทำให้เกิด ความพร้อม ถ้าวัยรุ่นไม่พร้อม หรือปรับตัวไม่ได้ หรือประสบ ความล้มเหลวจะเกิด ความรู้สึกที่รุนแรง และมีผลต่อบุคลิกภาพ การได้พูด หรือได้แสดง ความคิดเห็นต่อหน้าคนหมู่มากนับว่าเป็นประโยชน์เป็นการแสวงหาเอกลักษณ์ของตัวเองอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นวัยรุ่นจะคัดเลือกผู้ใหญ่ที่เขาเห็นว่า มี ความสำคัญในสายตาของเขาซึ่งไม่ใช่พ่อแม่ มาเป็นบุคคลที่มี ความหมาย และเป็นทีไว้วางใจของเขา วัยรุ่นจะมองคุณค่าของวัฒนธรรม ศาสนา และอุดมคติว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่สนับสนุนส่งเสริมพัฒนาการ และการค้นหาเอกลักษณ์ของเขา
6. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกสัมพันธภาพ และเป็นมิตรกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะ เพื่อนต่างเพศ และหลีกเลี่ยง ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง
ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 18 – 21 ปี หลังจากผ่านขั้นที่ 5 มาแล้ว สามารถหาเอกลักษณ์ของตนได้ รู้ว่าตนเองคือใคร มี ความเชื่ออย่างไร ต้องการอะไรในชีวิต เขาก็จะเกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่จะรับรู้รับฟังสิ่งต่างๆ ที่ตนเองมีอยู่ ต้องการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนมีอยู่กับผู้อื่น ความรู้สึกผูกพันกับผู้อื่นจึงพัฒนาขึ้น แต่ถ้าบุคคลไม่สามารถสร้าง ความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกับบุคคลอื่นได้ มี ความต้องการแข่งขันชิงดีชิงเด่น หรือชอบทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น ก็จะนำไปสู่ ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง
การเลือกคู่ครอง เมื่อชีวิต ความเป็นเด็ก และ ความเยาว์วัยสิ้นสุดลง เขาก็จะเริ่มชีวิตของการเป็นสมาชิกของสังคมอย่างเต็มที่ เริ่มใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนในสังคม Erikson กล่าวว่า ความสมบูรณ์ของจิตใจผู้ใหญ่คือ การได้รับการยอมรับ มี ความเจริญเติบโต มีอาชีพที่เหมาะสม มีการสมาคมกับเพศตรงข้าม เพื่อการเลือกคู่ครองต่อไป การปรับตัวของผู้ใหญ่ในวัยนี้คือการเลือกคู่ครอง และการมีหน้าที่การงานที่เหมาะสม การเข้ากันได้กับเพื่อนร่วมงาน การปรับตัวต่อสิ่งดังกล่าวทำให้เกิด ความรู้สึกต่อสังคม ถ้าสังคมทำให้เกิด ความรู้สึกว่างเปล่าสูญเสีย บุคคลก็จะแยกตัวออกไปจากสังคมแยกไปจากครอบครัว และมีผลกระทบไปถึง ความสามารถของการเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ "งาน และ ความรัก" เป็นสิ่งที่ทำให้เขาประสบ ความสำเร็จในการวางบุคลิกภาพ หรือไม่ นอกจากนั้นในระยะนี้ยังแสวงหา ความรู้สึกเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน และ ความเห็นอกเห็นใจจากคู่ครอง
7. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกที่จะเป็นผู้ให้กำเนิด และสร้างสรรค์สังคม และหลีก เลี่ยง ความรู้สึกที่คำนึงถึงแต่ตนเอง – การเอาใจใส่ดูแลเกิดขึ้น
ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 22 – 40 ปี วัยกลางคนเป็นวัยที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ถ้าพัฒนาการของบุคคลในขั้นต้นๆ เป็นไปด้วยดี รู้ว่าตนเองมีเอกลักษณ์อย่างไร มี ความต้องการอย่างไรในชีวิตตลอดจน สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น และเมื่อมาถึงขั้นนี้ก็พร้อมที่จะ ทำประโยชน์ให้แก่สังคมมี ความรู้สึกต้องการมีบุตรสืบไปภายหน้า ความต้องการบุตร Erikson กล่าวว่า เมื่อบุคคลถึงระยะนี้ จะต้องการมีบุตรไว้สืบสกุล การที่จะมีบุตร ซึ่งถือเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวจะต้องมาจากรากฐานของ ความรัก และ ความไว้วางใจซึ่งกัน และกันของสามีภรรยา มีการตระเตรียมสิ่งแวดล้อมจำเป็นสำหรับบุตรที่จะเกิดมา บุตรที่เกิดมานี้จะต้องได้รับ การยอมรับจากทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งสามี และภรรยา ในการเลี้ยงดูบุตรจะต้องเอาใจใส่ และให้ ความรักอย่างพอเพียง พ่อแม่ไม่ควรปล่อยเด็กแล้ว มุ่งสนใจแต่งานเพียงอย่างเดียว ความรู้สึกของการให้กำเนิดจะรวมถึง ความรับผิดชอบของพ่อแม่ต่อสังคม เช่น การเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมให้การศึกษา อบรมสั่งสอน ผู้ใหญ่ในวัยนี้ต้องเป็นหลักประกัน และมี ความรับผิดชอบ เพื่อให้เป็นที่วางใจของลูกหลานต่อไป สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ของพัฒนาการขั้นนี้ คือ บุคคลยังต้องมี ความเกี่ยวข้องกับสังคม มี ความสนใจสังคม ความรู้สึกที่มีต่อสังคมนั้น จะเข้ามารวมเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันกับชีวิตส่วนตัว บุคคลที่ไม่พัฒนามาถึงขั้นนี้ย่อมเกิด ความรู้สึกท้อถอยเหนื่อยหน่ายในชีวิตคิดถึงแต่ตนเอง และไม่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม
8. ขั้นพัฒนาการ ความรู้สึกมั่นคงสมบูรณ์ในชีวิต และหลีกเลี่ยง ความรู้สึกสิ้นหวังท้อถอยในชีวิต – รู้จักชีวิต
ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป พัฒนาการในขั้นสุดท้ายนี้มีพื้นฐานมาจากการปรับตัวในขั้นแรกๆ ของชีวิต วัยนี้จะมีการปรับตัวแสวงหา ความอบอุ่นมั่นคงภายในจิตใจซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเขาสามารถพัฒนาผ่านขั้นต่างๆ มาได้อย่างดี แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเขาปรับตัวในขั้นต่างๆ ที่ผ่านมาไม่ได้จะเกิด ความรู้สึกท้อแท้ และเหนื่อยหน่ายต่อชีวิตของตัวเอง วัยชราเป็นวัยสุดท้ายของชีวิต บุคคลควรมี ความพึงพอใจในชีวิต รู้จักหา ความสุข ความสงบในจิตใจ พอใจกับการมีชีวิตของตนในวัยชราไม่รู้สึกเสียดายเวลาที่ผ่านมา สามารถยอมรับสภาพ ความจริง ยอมรับ ความเป็นอยู่ของตนในปัจจุบัน Erikson กล่าวว่า "เด็กที่มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งกาย และใจ จะไม่หวาดกลัวต่อชีวิต และถ้าพ่อแม่ให้ ความมั่นคงแก่เขาเพียงพอเขาก็จะไม่กลัว ความตาย"
หลักการสำคัญของทฤษฎีจิตสังคม
ในการเสนอพัฒนาการของมนุษย์ดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้ Eriksonกล่าวว่า เขาไม่ได้สร้าง ทฤษฎีใหม่ ขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง แต่เขาได้ขยาย ความคิดของ Freud ให้กว้างขวางออกไป และให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน Erikson ได้อธิบายถึงบุคลิกภาพจากพื้นฐานทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud เขาเรียกงานของ Freud เป็นงานที่แข็งแกร่ง (rock) เพราะเป็น การวางรากฐานเกี่ยวกับทฤษฎีบุคลิกภาพ ความแตกต่างใน ความคิดระหว่าง Freud กับ Erikson การศึกษาบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาทั้ง 2 ท่านแม้ว่าจะมีรากฐาน และโครงสร้างทางบุคลิกภาพ เหมือนกัน แต่ก็มีแนว ความคิดที่แตกต่างกันหลายประการดังต่อไปนี้
1. Erikson ศึกษาพัฒนาการจากบุคคลที่มีบุคลิกภาพปกติ ส่วน Freud ศึกษาจากคนไข้ในคลีนิคของเขาซึ่งเป็นโรคจิต และโรคประสาท
2. กระบวนการพัฒนาทางจิต Erikson เน้นในเรื่องจิตสังคม (psychosocial stage) แต่ Freud เน้นว่าการพัฒนาทางจิตเป็นไปตามขั้นของจิตเพศ (psychosexual stage)
3. ทฤษฎีของ Erikson เน้นประสบการณ์จำเป็นที่เป็นองค์ประกอบของ ego โดยพยายามศึกษาว่า ego มีจุดเริ่มต้น และพัฒนาไปอย่างไรตลอดจนหน้าที่ของ ego ซึ่งได้ปรับปรุงในลักษณะที่มีเหตุมีผลนั้นพัฒนาอย่างไร เขาไม่สนใจพลังเพศแต่ก็ไม่ลบล้างทฤษฎีของ Freud ในเรื่องจิตเขายอมรับในการทำงานของจิตไร้สำนึก (unconscious mind) ว่าเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่ง แต่เขาสนใจเรื่องสังคมประกิต หรือการอบรมเลี้ยงดูมากกว่า และถือว่ากระบวนการนี้ทำให้ ego พัฒนาขึ้น ทฤษฎีของ Erikson จึงได้ชื่อว่า Psychosocial Theory หรืออาจมีชื่ออื่นๆ เช่น David Rapaport เรียกทฤษฎีนี้ว่า Theory of Reality Relationship และเรียกนักจิตวิทยากลุ่มนี้ว่า ego psychologist
4. เอกลักษณ์ของ ego และบุคลิกภาพปกติ Erikson เชื่อว่าการศึกษาบุคคลมีบุคลิกภาพปกติ จะเป็นตัวแบบของ ลักษณะพัฒนาการข องมนุษย์ได้ดีกว่า เพราะย่อมมีพฤติกรรม และการยอมรับโลกมากกว่า และดีกว่า และถูกต้องกว่าคนที่เป็นโรคประสาทเขาให้ทัศนะว่า "เด็กคือบุคคลที่ไม่มีอะไร อยู่ภายในพฤติกรรม ไม่มีทั้งดี และเลวแต่มีศักยภาพที่จะแสดง ความดี หรือ ความเลว" และเมื่อพัฒนาขึ้นมา ถึงขั้นต่างๆ ก็จะทำให้เด็กมี ความแตกต่างกัน สิ่งที่ทำให้แตกต่างกัน คือ การเจริญเติบโต หรือกระบวนการของเอกลักษณ์ ego การพัฒนา ego จะเป็นไป 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็น การพัฒนาส่วนที่อยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งเหมือนกัน และจะก้าวหน้าไป ตามเวลา ลักษณะที่ 2 ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายนอก ที่แต่ละคนยอมรับ และการเลียนแบบจากวัฒนธรรม หรือสังคม พัฒนาการของบุคคลจะเริ่มต้นจากการไม่มีเอกลักษณ์ในตัวเองไปสู่การมีเอกลักษณ์ในตัวเอง ฉะนั้นการพัฒนาบุคลิกภาพ จึงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในตนของบุคคล และองค์ประกอบภายนอก ซึ่งได้แก่สิ่งแวดล้อม
5. หลักการของ ความเจริญเติบโต Erikson เชื่อว่าแบบแผนของพัฒนาการเป็นผลมาจากพันธุกรรม หรือการถ่ายทอดของ genes เป็นตัวกำหนดแบบแผนของพัฒนาการแต่ละส่วน อิทธิพลของพันธุกรรมไม่ได้หยุดทำงานเมื่อเด็กเกิดแต่จะมีผลไปถึงวัยรุ่น การแสดงออกของพันธุกรรมจะเป็นไปตามระยะเวลา หมาย ความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เจริญเติบโตในแบบแผนหนึ่งๆ จะขึ้นอยู่กับเวลา จนกระทั่งแต่ละส่วนไปสู่จุดมุ่งหมายสุดท้าย แม้ว่าการเจริญเติบโตตามโครงสร้างพันธุกรรม ซึ่งถือว่าเป็นกฎภายใน (Inner law) จะทำให้บุคลิกภาพของบุคคลก้าวหน้าขึ้นโดยเพิ่มศักยภาพ ทำให้มี ความสามารถสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเด็กก็ต้องรับอิทธิพลของสังคม สังคมเป็นองค์ประกอบสำคัญใน การพัฒนาแต่ละขั้นตั้งแต่เกิดจนเข้าสู่วัยรุ่น
6. ความต่อเนื่องของขั้นทางจิตวิทยา พัฒนาการทั้ง 8 ขั้นที่กล่าวมาแล้วเป็นพัฒนาการทางจิตซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ในพัฒนาการแต่ละขั้น Erikson ให้แนว ความคิดที่สำคัญ และมีอิทธิพลของสังคมเกี่ยวข้องในพัฒนาการแต่ละขั้นของชีวิต