มารยาทในสังคม

มารยาท Etiquette หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกทางกริยา วาจา ที่สังคมยอมรับว่าถูกต้อง ดีงาม

การสมาคม คือการรวมกันของกลุ่มของคนตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปที่มาร่วมกิจกรรมเดียวกัน เช่นการประชุม ร่วมเล่นกีฬาฯ

การแนะนำให้รู้จักกัน เหตุผลที่ถือสมควรให้รู้จักกัน

  1. เพราะทั้งสองฝ่ายต่างรู้สึกพอใจที่จะรู้จักกัน
  2. ทั้งสองฝ่ายต่างปรารถนาที่จะรู้จักกัน
  3. ทั้งสองฝ่ายต่างมีนิสัยที่พอจะเป็นมิตรกันได้
  4. รู้จักกันแล้วต่างฝ่ายต่างเป็นประโยชน์แก่กัน

หลักปฏิบัติในการแนะนำ

  1. รีบแนะนำโดยไม่ต้องลังเลใจ
  2. พาชายไปแนะนำให้รู้จักกับหญิง
  3. พาผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่าไปรู้จักกับผู้ที่มีอาวุโสมาก
  4. พาหญิงโสดไปรู้จักกับหญิงที่แต่งงานแล้ว
  5. บางกรณีอาจต้องพาหญิงไปรู้จักกับชาย
    • ชายเป็นภิกษุ สามเณร นักบวช
    • ชายเป็นญาติผู้ใหญ่
    • ชายที่มียศสูงกว่าหญิง
  6. ถ้าแนะนำคนคนเดียวให้รู้จักกับคนหลายคนต้องแนะนำคนที่อยู่ใกล้ก่อนไปตามลำดับ
  7. ต้องแนะนำผู้ที่มาทีหลังต่อผู้ที่มาก่อน
  8. อย่าแนะนำกันเป็นหมู่ เพราะไม่ช่วยให้แขกรู้จักกันดี

การใช้บัตรเชิญชนิดต่างๆ หลักการเขียนบัตรเชิญ

  1. ถ้าเป็นงานมงคลสมรสนิยมพิมพ์ด้วยกระดาษสีขาวหรือสีชมพูใหญ่
  2. ตัวอักษรนิยมพิมพ์ด้วยตัวสีทอง เขียว หรือ ชมพู
  3. ถ้าเป็นงานอวมงคล จะใช้กระดาษสีขาว ตัวอักษรสีดำ
  4. ชื่อผู้พิมพ์ใช้อักษรตัวใหญ่ โดยมีหลักการดังนี้
    • ถ้าเป็นทางการให้บอกชื่อหน่วยงาน
    • ถ้าเป็นส่วนตัวให้ประกาศชื่อ สกุล
    • ถ้าเชิญในหน้าที่การงานให้บอกชื่อ สกุลตำแหน่ง
  5. ชื่อผู้รับเชิญไม่มีในบัตรเชิญ แต่จะมีที่จ่าหน้าซอง
  6. ต้องบอกให้ทราบเนื่องในพิธีใด สถานที่ประกอบพิธี ระบุให้ชัดเจน บอกวัน เดือน ปี และเวลาในการประกอบพิธีให้ละเอียด
  7. ถ้าบุรุษหรือสตรีที่สมรสแล้วต้องเชิญทั้งสามีภรรยา ไม่ควรเชิญคนเดียว
  8. สุภาพสตรีที่ยังไม่สมรสอยู่กับบิดา มารดา หรือญาติ ก็ควรเชิญเรียงตัว
  9. ถ้าสามี ภรรยา อยู่ด้วยกันอย่างไม่เปิดเผย ควรแยกบัตรเชิญคนละฉบับ
  10. ถ้ากำหนดการแต่งกาย ให้พิมพ์ตัวเล็กไว้มุมล่างของบัตร

การใช้โทรศัพท์ การพูดโทรศัพท์ควรปฏิบัติดังนี้

  1. เมื่อรับโทรศัพท์หรือเราเป็นฝ่ายเรียกไป ควรกล่าวด้วยคำว่า “สวัสดี” ทุกครั้ง
  2. บอกชื่อสถานที่ หรือหน่วยงานของเราทันทีโดยไม่ต้องรอให้ฝ่ายหนึ่งถาม
  3. บอกชื่อของเราทันทีที่รับโทรศัพท์ ถ้ารับโทรศัพท์แทนผู้อื่นควรจดข้อความของบุคคลที่โทรศัพท์เข้ามา
  4. ถ้าเราเป็นฝ่ายเรียกไปโดยมิได้เจาะจงจะพูดกับผู้หนึ่งผู้ใด ควรแจ้งนามของเราให้เขาทราบด้วยว่ากำลังพูดอยู่กับใคร

 

มารยาทในการพูดโทรศัพท

  1. น้ำเสียงที่สุภาพน่าฟัง
  2. น้ำเสียงน่าสนใจกระตือรือร้น
  3. น้ำเสียงแสดงความจริงใจ

การประชุม

การประชุมคือ การมารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทราบข้อมูล ปัญหา แนวทางแก้ไข และสรุปหัวข้อยุติต่างๆ ในการประชุมแต่ละครั้ง จะต้องประกอบไปด้วย

  1. ประธานในที่ประชุม ฃ
  2. ผู้เข้าร่วมประชุม
  3. เลขานุการการประชุม

มารยาทในการประชุม

  1. ตรงต่อเวลา
  2. ศึกษาหัวข้อการประชุมเตรียมรายละเอียดเพื่อการประชุม
  3. พฤติกรรมที่แสดงออกต้องสุภาพ
  4. ให้เกียรติประธานในที่ประชุม
  5. ต้องขออนุญาตพูดโดยยกมือขึ้นเหนือศรีษะเสมอ
  6. พยายามหลีกเลี่ยงการพูดตำหนิ
  7. หากประสงค์จะคัดค้านให้ถือหลักว่าไม่ให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย
  8. หากที่ประชุมมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งต้องให้เกียรติที่ประชุมและปฏิบัติตาม
  9. ไม่นำรายละเอียดการอภิปรายซึ่งเป็นการพิจารณาจากที่ประชุมไปแสดงภายนอกในลักษณะไม่เห็นด้วย
  10. ถ้าที่ประชุมมีมติเป็นอย่างใดโดยมารยาทแล้วต้องยอมรับตามนั้น
  11. พูดหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยให้ที่ประชุมหาทางออกและช่วยให้ได้มติตามวัตถุประสงค์
  12. รักษาความลับของที่ประชุมและสิ่งที่พิจารณากันในที่ประชุม
  13. ไม่นำโทรศัพท์มือถือเข้าไปในที่ประชุม ถ้าเอาเข้าไปต้องปิด

การเยี่ยมเยียน

แบ่งออกได้หลายประเภทคือ

  1. การเยี่ยมคำนับ นิยมทำกับผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ ฯลฯ
  2. การเยี่ยมตอบ ตามมารยาท เมื่อผู้ใดได้รับการเยี่ยมผู้นั้นต้องหาโอกาสไปเยี่ยมเขาตอบ
  3. การเยี่ยมเยียน ถือเป็นมารยาทกระชับความสัมพันธ์
  4. การเยี่ยมเพื่อแสดงความยินดี ควรเยี่ยมให้ทันเวลาที่ควรแสดงความยินดี
  5. การเยี่ยมผู้ตกทุกข์ได้ยาก ควรไปให้กำลังใจเขาและช่วยคลี่คลายความทุกข์ให้ทุเลาลง
  6. การเยี่ยมไข้ ควรไปตรงเวลาที่โรงพยาบาลกำหนด อย่าแสดงสีหน้าทุกข์โศก อย่าสูบบุหรี่ แต่งกายให้สุภาพฯลฯ
  7. การเยี่ยมศพ เมื่อทราบข่าวควรรีบไปแสดงความเสียใจ ไม่ควรอยู่นาน ไม่พูดจาให้ญาติเศร้าโศก ไม่พูดตลก คะนอง

ศิลปการสนทนา

  1. ต้องรู้จักกาลเทศะ ไม่นำเรื่องส่วนตัวมาพูดฝ่ายเดียว ต้องเรียนรู้ผู้สนทนาว่าเป็นคนอย่างไร อย่าพูดโอ้อวดตนเอง ควรพูดจาให้สุภาพ
  2. ไม่นินทาคนอื่น มีความจริงใจกับคู่สนทนา สบตาคู่สนทนา ควรสนทนาในสิ่งที่คู่สนทนารู้เรื่อง ฯลฯ
  3. มารยาทของผู้ร่วมสนทนา ไม่พูดขัดคอคู่สนทนา ตั้งใจฟังคู่สนทนาด้วย อย่าล้วงแคะแกะเกา ถ้าตอนใดที่เราทำไม่ถูกก็ควรกล่าวคำขอโทษ

การเลี้ยงอาหารแบบสากล

มารยาทในการรับประทานอาหารจีน อย่ายกอาหารขึ้นจรดปาก แล้วอย่าใช้ตะเกียบฟุ้ยอาหารจากชามใส่ปากเป็นการเสียมารยาท ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารใส่ปาก แล้วใช้ช้อนกลางตักอาหารใส่จานของตนเอง เศษอาหารให้ใช้กระดาษเช็ดปากห่อวางไว้ข้างถ้วย

การเลี้ยงอาหารแบบตะวันตกหรือฝรั่ง การรับประทานอาหารสากลแบบนั่งโต๊ะ มีดังนี้

  1. อาหารเช้า (Breakfast) ไม่ค่อยนิยมเลี้ยงมากนักเพราะอาหารเริ่ม 7.00 - 9.00 น. ถ้าเลี้ยงมักเป็นการเลี้ยงแบบกันเองเป็นการเลี้ยงแบบไม่เป็นพิธีรีตองอาหารเช้ามี 2 อย่างคือ
    • 1.1 เป็นการเลี้ยงกาแฟ ขนมปัง ผลไม้ (ไม่มีเนื้อสัตว์)
    • 1.2 เป็นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เพิ่มมาด้วย
  2. อาหารกลางวัน การรับประทานอาหารกลางวันเริ่ม 12.00 -13.00 น. ไม่มีพิธีมากนัก ส่วนใหญ่ไม่พิมพ์บัตรเชิญ อาหารกลางวันแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น
    • ก. อาหารจานเดียว (One courses) เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่นหมู เนื้อ ไก่
    • ข. อาหารประเภท 2 จาน (Two courses) จานแรกเป็นซุป หรืออาหารเบาๆเช่นคอ็กเทลต่างๆ มีสลัดผักเป็นส่วนประกอบ
    • ค. อาหารประเภท 3จาน(Three courses) จานแรกเป็นซุป จานที่สองเป็นกุ้ง ปู ปลา จานที่สามเป็นอาหารหนักและสลัด
    • ง. อาหารกลางวันแบบบุฟเฟ่ เป็นการจัดแบบกันเอง เหมาะสำหรับคนจำนวนมากๆ อาหารต่างๆจะมีอย่างเพียงพอ ทั้งคาวและหวานบนโต๊ะยาว ให้แขกบริการตนเองตามความพอใจ การตักควรเรียงตามลำดับก่อนหลังสุภาพบุรุษควรให้เกียรติสุภาพสตรีตักอาหารก่อน

มารยาทในการรับประทานอาหารบุฟเฟ่

  1. รับประทานซุบให้ตักออกจากตัว ศรีษะก้มเล็กน้อย แล้วเทซุปออกทางด้านข้าง
  2. อาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้ใช้มีดกับส้อม
  3. การหยิบแก้วเหล้าให้หยิบแก้วที่อยู่ห่างตัว

มารยาทอื่นๆ

การนัดพบ

  1. พยายามให้ตรงเวลานัดพอดี จะก่อนเวลาเท่าไหร่ยิ่งดี
  2. ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถไปได้ทันเวลา ก็อย่าช้าเกินกว่า 15 นาที
  3. ถ้าไปตามนัดไม่ได้จริงๆ ควรแจ้งให้เขาทราบล่วงหน้า
  4. ถ้าท่านเป็นฝ่ายรอบุคคลอื่น จงอย่าให้เขารอเกินกว่า 15 นาที
  5. ปัจจุบันมีโทรศัพท์ติดตามตัว การนัดหมาย แบบยืนยันค่อนข้างจะสะดวกจะใช้เครื่องมือสื่อสารที่ท่านใช้อยู่ให้เกิดประโยชน์

การยืมหนังสือ

  1. จงปฏิบัติต่อสิ่งที่ท่านยืมมานั้นประหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พลิกอ่านแต่ละหน้าด้วยความระมัดระวัง
  2. เมื่ออ่านจบอย่าค้างไว้นาน รีบนำคืนเจ้าของ
  3. อย่าพับหนังสือในหน้าที่ท่านอ่านค้างไว้ จงใช้ที่คั่นหนังสือคั่นไว้

มารยาทเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคล ได้แก่ การสัมมาคารวะ ความสุภาพ อ่อนน้อม ความมีวินัย และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น
นักธุรกิจที่ดี นอกจากจะมีความสามารถในเชิงธุรกิจแล้ว ยังต้องรู้จักรักษากิริยามารยาท และจะต้องรู้จักการสมาคมกับบุคคลอื่น จึงจะเป็นบุคคลที่มีเสน่ห์ เพิ่มความสนใจ ให้กับผู้พบเห็นจึงนับได้ว่าเขาผุ้นั้นเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินธุรกิจในชีวิตประจำวัน

1. อธิบายความหมายของมารยาทได้
2. บอกวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับมารยาทโดยทั่วไปได้
3. บอกวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับมารยาทตามกาลเทศะได้

ความหมายของมารยาท

มารยาท หมายถึง แนวทางในการปฏิบัติ หรือการแสดงวาจา ภาษา ท่าทาง และพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา ให้ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น
คนทั่ว ๆ ไป จะมีมารยาทดีมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับการฝึกอบรมของแต่ละครอบครัว บุคลิกภาพของแต่ละคนจะบอกให้รู้ว่าคนคนนั้นมีความสุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ และมีระเบียบวินัยเพียงใด
มารยาทแบ่งออกเป็น 2 ปะเภท คือ มารยาทโดยทั่วไป และมารยาทตามกาลเทศะ

มารยาทโดยทั่วไป

การมีมารยาทเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน เป็นการแสดงความเคารพให้เกียรติกัน คนไทยปัจจุบันมักเรียกตนเองว่า เป็นคนยุคใหม่ และชอบทำอะไรแบบง่าย ๆ ถือเอาความสะดวกสบายเป็นหลัก พฤติกรรมที่แสดงออกมาในบางครั้ง จึงกลายเป็นคนไร้มารยาทไปโดยไม่ตั้งใจ การให้เรียนรู้เรื่องมารยาทในสังคม จึงยังเป็นสิ่งสำคัญต่อเยาวชนไทยเป็นอย่างยิ่ง

มารยาทโดยทั่วไปที่ควรทราบมีดังนี้

1. การแต่งกายให้เรียบร้อย การแต่งกายให้เรียบร้อย เหมาะสมกับเวลา และสถานที่ถือว่า
เป็นผู้มีวัฒนธรรม และจะได้รับความเกรงใจจากผู้พบเห็น
2. การสำรวมกิริยาทาทาง และคำพูด การอยู่ต่อหน้าผู้อื่นต้องสำรวมเรื่องการพูดไม่พูดคำ
หยาบ ตลกคะนอง เอะอะ แสดงกิริยาท่าทางให้สงบเสงี่ยมเป็นการเคารพสถานที่ และรักษาบุคลิกของตนให้ดูดีในสายตาของคนอื่น
3. การรู้จักเกรงใจ ไม่ถือวิสาสะ
การเกรงใจ คือ การรู้จักระวังความรู้สึกของคนอื่นในเรื่องต่อไปนี้
- การขอความช่วยเหลือ
- การขออาศัยรถ หรือบ้าน
- การไปเยี่ยมเยือนในเวลาเช้า หรือดึกเกินไป
- การหยิบยืมสิ่งของ
ฯลฯ

การไม่ถือวิสาสะ คือ การไม่ปฏิบัติเรื่องต่อไปนี้
- เข้าห้องผู้อื่นโดยไม่เคาะประตู
- หยิบของ หรือใช้ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
- เดินเข้าไปสำรวจในบ้านคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
- เปิดจดหมายของคนอื่นออกอ่านโดยไม่ได้รับอนุญาต

4. การให้เกียรติผู้อื่น การให้เกียรติผู้อื่นมีอยู่ 2 แบบ คือ

ให้เกียรติด้วยวาจา ได้แก่
- ไม่พูดใส่หน้าจนน้ำลายกระเด็น
- ไม่กล่าวคำล้อเลียน นินทา
- พูดข่ม เยาะเย้ย ดูถูก หรือเหยียดหยาม

ให้เกียรติด้วยท่าทาง ได้แก่
- ไม่สูบบุหรี่ในห้องแอร์ หรือในลิฟต์
- ไม่นั่งกางขา นั่งไขว่ห้าง นั่งโยกเก้าอี้
- ไม่ถอดรองเท้า บิดขี้เกียจ อ้าปากหาว
- ไม่หวีผม ตัดเล็บ แคะ แกะ เกา
- ไม่ยกเท้าไว้บนโต๊ะทำงาน หรือยกเท้าถีบพนักพิงเก้าอี้
- ไม่ยกปลายเท้าชี้แทนมือ หรือยกขาพาดตักผู้อื่น
5. การกล่าวคำขอโทษ และขอบคุณ ควรใช้คำว่า ขอโทษ และขอบคุณให้ติดเป็นนิสัยแม้ จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆก็ตาม
6. การไม่พูดเพ้อเจ้อ หรือพูดสั่งพร่ำเพรื่อ พูดเพ้อเจ้อคือพูดออกนอกลู่นอกทางนอกเรื่อง ที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญ พูดสั่งพร่ำเพรื่อ คือ พูดย้ำเตือน พูดสั่งพร่ำเพ้อ คือ พูดย้ำเตือน กำชับ เพราะกลัวคนฟังจะลืม หากพูดบ่อย ๆ ถือว่าเป็นการเสียมารยาท
7. การทักทายด้วยรอยยิ้ม และอัธยาศัยไมตรี การทักทายเมื่อพบคนที่รู้จักทำได้หลายวิธี เช่นการยกมือไหว้ผู้ใหญ่ การทักทายด้วยความยินดี และการส่งยิ้มให้ ก็เป็นการแสดงถึงความเป็นคนที่มีอัธยาศัยไม่ตรีอันดี ใคร ๆ ก็ต้องการคบหาด้วย
8. การระมัดระวังตัว และอ่อนน้อมถ่อมตน คนที่คอยระมัดระวังตนเองจะไม่เหลียวหน้า เหลียวหลัง ทำท่าทางเลิ่กลั่ก หรือทำตัวเป็นจุดเด่น ส่งเสียงกรี๊ดกร๊าดเหมือนคนมีปัญหาส่วนคนที่อ่อน้อมถ่อมตนจะไม่แสดงท่าเย่อหยิ่ง จองหอง ซึ่งจะเป็นที่รักใคร่ของผู้อื่น
9. การไม่ทำอะไรตามใจตน และไม่ต่อปากต่อคำกับผู้ใหญ่ วัยรุ่น หรือเยาวชนส่วนใหญ่
จะมีลักษณะใจร้อน จึงคิด และตัดสินใจทำอะไรรวดเร็วตามวัย แต่การทำตามใจตนเองนั้น ส่วนใหญ่มักผิดพลาด จึงควรยั้งคิดฟังคำตักเตือน และปรึกษาผู้ใหญ่ การสนทนากับผู้ใหญ่บางครั้งด้วยวัยที่แตกต่างกันความคิดอาจขัดแย้งกันได้ แต่ก็ไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใหญ่ ควรใช้วิธีค่อย ๆ อธิบายเหตุให้ท่านฟังจะดีกว่า

มารยาทตามกาลเทศะ

มารยาทตามกาลเทศะมีอยู่หลายประการ คือ

มารยาทในการยืน เดิน นั่ง

1. การยืน มีอยู่ 2 แบบ
1.1 ยืนแบบธรรมดา ส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ปล่อยตัวตามสบายแขนห้อย
แนบลำตัว ตามองตรง ไม่กอดอก หรือล้วงกระเป๋า
1.2 ยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ ตัวตรงเท้าชิด แสดงความนอบน้อมด้วยไหล่ และศีรษะที่ก้มลง
เล็กน้อย สองมือประสานไว้ข้างหน้า ไม่ยืนค้ำหัวผู้ใหญ่ ไม่จ้องหน้าผู้ใหญ่
2. การเดิน มีอยู่ 4 แบบ คือ
2.1 เดินแบบธรรมดา อย่าเดินเรียงแถวหน้ากระดานขวางทางผู้อื่น หรือกระโดดไป
เต้นไป เดินแกว่งแขนแต่พองาม ไม่เดินช้า หรือเร็วเกินไป และไม่ควรเดินก้มหน้า
2.1 เดินกับผู้ใหญ่ ไม่เดินนำหน้า (ยกเว้นเมื่อต้องเป็นคนนำทาง) ให้เดินเยื้องไปด้าน
ข้าง หรือด้านหลัง ไม่เดินเหม่อลอย ต้องเดินระวังตัวตลอดเวลา
2.2 เดินสวนทางกัน ถ้าสวนทางกับเพื่อนควรชิดซ้าย สวนทางกับผู้ใหญ่ควรก้มตัว
เมื่อเดินผ่าน ถ้าเป็นทางแคบควรหยุดให้ท่านไปก่อน ถ้าผู้ใหญ่นั่งอยู่ควรหลีกเลี่ยงไป
ใช้เส้นทางอื่น หรือคลานเข่า
2.3 เดินในที่ชุมชน ถ้ามีคนนั่งอยู่ควรมีคนเดินค้อมหลัง และยกมือไหว้สำหรับผู้ใหญ่
ที่คุ้นเคยถ้ามีประธานนั่งอยู่ต้องทำความเคารพก่อนจะเดินเข้าไป หรือเดินออกมา

3 การนั่ง มีอยู่ 2 แบบ คือ
3.1 การนั่งแบบธรรมดา หรือนั่งประชุม ผู้ชายถ้านั่งเก้าอี้แบบมีพนักพิง ก็ให้เอนหลังพองาม นั่งตามสบายเหยียดขา ไม่กระดิกเท้า ไขว่ห้าง หรือขยับขาไปมาผู้หญิงให้นั่งเข่าชิด ไม่แคะ แกะ เกา สะกิดคนอื่น ตั้งใจฟังการประชุม
3.2 การนั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ ควรนั่งตัวตรง ไม่พิงพนัก น้อมตัวลงเล็กน้อยตั้งใจฟังคำพูดแต่ไม่ควรจ้องหน้าผู้ใหญ่ตลอดเวลา

มารยาทในการรับมอบ – มอบชอง และการแสดงความเคารพ

1. เข้าห้องตรงเวลา ไม่ควรเข้าสาย นั่งตามที่ซางจัดไว้ให้เรียบร้อย
2. ตั้งใจฟังการประชุม หรือคำบรรยาย และไม่รบกวนสมาธิของผู้อื่นด้วยการส่งเสียงดังกินขนม หรือชวนคนข้างเดียงคุย
3. แสดงน้ำใจต่อเพื่อน หรือคนอื่นๆ ที่นั่งข้าง ๆ ด้วยการเลื่อนเก้าอี้ให้ เก็บของที่ตกให้ บอกข้อความ และจดคำบรรยาย หรือมติที่ประชุมด้วยความตั้งใจ
4. ฟัง และจดคำบรรยาย หรือมติที่ประชุมด้วยความตั้งใจ
5. แสดงความคิดเห็นส่วนตัว หรือซักถามได้แต่ไม่แสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือวิพากษ์วิจารณ์เสียงดัง
6. ไม่พูดแซงประธาน หรือคนอื่น ๆ ในที่ประชุม
7. แม่แสดงอาการคัดค้านอย่างรุนแรง และควรเคารพมติของที่ประชุม
8. ไม่พูดจาวกวน หรือต่อเรื่องให้ยาวออกนอกประเด็น
9. ขออนุญาตก่อนลุกออกจากที่ทุกครั้ง
10. ฟังผู้พูด หรือคู่สนทนาอย่างตั้งใจ มองหน้าผู้พูด ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย

มารยาทบนรถโดยสารประจำทาง

1. ไม่สูบบุหรี่บนรถโดยสารประจำทาง
2. ไม่นั่งเหยียดขาขวางทางผู้อื่น
3. ไม่คุยเรื่องส่วนตัว คุยเสียงดัง หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น
4. ไม่จ้องมองผู้โดยสารคนอื่น เพื่อสำรวจตรวจตราออกนอกหน้า
5. ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงขึ้นรถไปด้วย
6. ควรเสียสละที่นั่งให้เด็ก สตรี และคนชรา และช่วยเหลือถือสิ่งของให้คนอื่นตามความเหมาะสม
7. ควรเข้าแถวเมื่อจะขึ้นรถ และควรเตรียมข้าวของให้เรียบร้อยก่อนกดกริ่งเพื่อลงจากรถ
8. ไม่ยืนขวางทางตรงประตูรถ
9. ไม่ควรพูดจาแทะโลมสุภาพสตรี หรือส่งเสียงแซวผู้อื่น
10. เตรียมเงินค่าโดยสารให้พอกับจำนวนที่ต้องการจ่ายทุกครั้ง

มารยาทในการแนะนำให้รู้จักคนอื่น

1. แนะนำผู้ชายให้รู้จักกับผู้หญิง
2. แนะนำผู้อาวุโสน้อยให้รู้จักกับผู้อาวุโสมากกว่า
3. แนะนำผู้มียศตำแน่งต่ำกว่าให้รู้จักกับผู้มียศตำแหน่งสูงกว่า
4. แนะนำญาติผู้น้อยให้รู้จักญาติผู้ใหญ่
5. ผู้มีอายุ ยศ ตำแน่งเสมอกันจะแนะนำฝ่ายใดก่อนก็ได้
6. เวลาแนะนำให้รู้จักกัน ผู้น้อยควรไหว้ผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ควรรับไหว้ผู้น้อย
7. ถ้าฝ่ายหนึ่งยื่นมือให้จับมือด้วยอย่างสุภาพ เขย่าเล็กน้อย กล่าวคำสวัสดีแล้วปล่อยมือ

มารยาทในการรับประทานอาหาร

1 ถ้าไปรับประทานที่ร้านอาหาร ฝ่ายหญิงควรเดินนำหน้า และเลือกโต๊ะนั่ง ฝ่ายชายควรแนะนำให้ฝ่ายหญิงสั่งอาหาร
2 ฝ่ายหญิงไม่ควรสั่งอาหารแพงๆ เพื่อเป็นการแกล้งให้ฝ่ายชายจ่ายเงินมาก ๆ
3 ไม่ตักอาการจนพูนพาน ไม่เลื่อน หรือเขี่ยอาหารที่ไม่ชอบออกไปนอกจานของตัวเอง
4 กางผ้ากันเปื้อน หรือผ้าเช็ดมือไว้บนตัก รับประทานอาหารเงียบๆ และสุภาพ ไม่พูดคุย หรือนั่งเหม่อ
5 ไม่รับประทานอาหารแบบกินคำหนึ่ง ดื่มน้ำครั้งหนึ่ง
6 ไม่แสดงท่าทางรังเกียจอาหารบางอย่าง หรือคนอื่น ๆ
7 ไม่รับประทานอาหารเสียงดับ ซี้ดซ้าด จุ๊บจั๊บ เรอ หรือกวาด งมคุ้ย อาหารบนโต๊ะ
8 ไม่ขออาหารในจานของผู้อื่นแบะไม่คายการ หรือเศษอาหารไว้ในจานดูเลอะเทอะ
.
9. ระมัดระวังเครื่องปรุง เครื่องใช้ อย่าให้ตกหล่น หรือวางเกะกะผู้อื่น
10. หากทำเครื่องใช้ตกหล่น ไม่ควรก้มลงเก็บ ควรรอให้พนักงานจัดหามาให้ใหม่
11. หากมีการเสิร์ฟอาหารเพิ่มควรคักไว้เพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้น
12. ใช้มือขวาถือมีด มือซ้ายถือส้อมเสมอ แต่ถ้าขณะรับประทานให้ถือส้อมด้วยมือขวา
13. ห้ามสนทนาในเรื่องสกปรก น่าสะเอียน หรือเรื่องเศร้าสะเทือนใจ
14. ไม่ควรดื่มสุราจนเมามาย และไม่คะยั้นคะยอให้ผู้อื่นดื่มเป็นเพื่อนจนงานเลิก
15. อย่าใช้ช้อนตักน้ำชา กาแฟมาจิบ ควรวางช้อนในจานรองแล้วยกถ้วยขึ้นดื่ม
16. ควรใช้ช้อน ส้อม และมีดในการตัดกระดูก หรือก้าง เวลาคายกากเมล็ด หรือก้าง ควรใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษทิชชูบัง แล้วใช้กระดาษทิชชูรับมาวางไว้ในที่อันสมควร
17. อาหารที่เป็นน้ำซุปต้องรับประทานอาหารจากด้านในของช้อน ขนมปังใช้มิอบิเป็นก้อนเล็กทาเนย แล้วจึงรับประทาน ห้ามกัดทั้งก้อนใหญ่ ๆ อาหารที่เป็นประเภทเสียบไม่ย่างควรใช้มีดกับส้อมตัดออกมาใส่จานก่อนรับประทาน
18. การรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ ควรเดินตักอาหารเรียงเป็นแวถวนไปตามเข็มนาฬิกาตักอาหารใส่จานแต่พอดี และพออิ่ม ไม่ตักจานล้น แล้วรีบกลับมาที่โต๊ะเพื่อให้แขกคนอื่นตักบ้าง
19. ถ้าคุณเป็นเจ้าของบ้าน หรือเจ้าภาพ ควรทานไปทีละน้อยเพื่อไม่ให้อิ่มก่อนแขก

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

การไม่รู้จักมารยาทบนโต๊ะอาหารจะเป็นอุปสรรคสำคัญ ขัดขวางความก้าวหน้าในอาชีพการงานของคุณได้มาก เพราะคนทำงานแล้วส่วนใหญ่จะต้องมีโอกาสร่วมรับประทานอาหารกับเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชาอยู่เสมอ ๆ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลียงไม่ได้ที่จะต้องเรียนรู้มารยาทที่จำเป็นบนโต๊ะอาหาร
แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่มีนิสัยการรับประทานอาหารไม่ใคร่จะเรียบร้อยโดยไม่รู้ตัวซึ่งเป็นการทอนเสน๋ห์ให้ลดถอยอย่างน่าเสียดาย ลองทดสอบตัวเองอีครั้ง โดยย้อนกลับไปทำแบบฝึกหัด “มารยาทบนโต๊ะอาหารของคุณ” หาข้อบกพร่องที่คุณต้องการจะปรับปรุง
การใช้เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร หากเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จัดไว้ในแบบที่คุณไม่คุ้นเคยขอให้สังเกตการใช้ช้อนส้อมของเจ้าภาพ โดยทั่วไปแล้ว เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารจะจัดวางไง้ตามอยู่ในสุดสำหรบอาหารจานสุดท้าย บางแห่งจะนิยมวางช้อนส้อมสำหรับของหวานอยู่เหนือจานในแนวขวาง (ดังรูป)


การถือมีด และส้อมควรจะจับบริเวณปลายด้าม อย่าจับให้นิ้วอยู่ชิดกับบริเวณปลายส้อม หรือใกล้ใบมีด การถือส้อมนั้น อาจจะทำได้ 2 ลักษณะ คนยุโรปรับประทานอาหารด้วยมือซ้าย และคว่ำปลายส้อมลง ส่วนคนอเมริกันนั้น กลังจากตัดหาอาหารออกชิ้นหนึ่งก็จะสลับส้อมมาที่มือขวา และหงายปลายส้อมขึ้นเพื่อตักอาหารรับประทาน ทั้ง 2 วิธีถือว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง แต่ถ้าคุณเลือกใช้วิธีแบบอเมริกันแล้ว อย่าลืมวางมีดลงบนจานหลังจากตัดชิ้นเนื้อแต่ละครั้ง ถ้าคุณถนัดมือซ้าย ก็ทำตามวิธีที่กล่าวมาเพียงแต่กลับซ้ายเป็นขวาเท่านั้นเอง
ในการพักมีดส้อมทุกครั้ง คุณจะต้องวางมีด หรือส้อมลงบนจาน ใส่ด้านที่จัดวางไว้แต่แรกนั้นคือ ส้อมอยู่ด้านซ้าย และมีดอยู่ด้านขวา โดยให้ด้ามจับพักอยู่บนขอบจาน แต่อย่าให้ยื่นออกมามาก จำไว้ให้ดีว่าช้อนส้อมของคุณอยู่บนจาน……อย่าวางไว้บนโต๊ะอาหาร

อย่าทิ้งช้อนกาแฟไว้ในถ้วยกาแฟเป็นอันขาด หลังจากคนกาแฟค่อยๆ ไว้สุ้มเสียงแล้วยกช้อนออกมาวางไว้บนจานร้องถ้วยกาแฟด้านขวาเสมอ
ในการรับประทานอาหารซุปด้วยช้อน ให้ตักออกจากตัว เพื่อกันน้ำซุปกระเด็นใส่เนคไท หรือเสื้อของคุณ และเพื่อกันไม่ให้น้ำซุปหกเรี่ยราด หรือเกิดเสียงดับเวลาคุณซดน้ำจากช้อนควรจะตักน้ำซุปไม่ให้ปริ่มขอบช้อน และไม่ควรดูดช้อนทั้งอันเข้าไปในปากทั้งหมดในการขอดน้ำซุปจากก้นถ้วย ให้เอียงเข้าหาคุณ บางครั้งซุปจะถูกเสิร์ฟในถ้วยหู หลังจากใช้ช้อนตักรับประทานหนึ่ง หรือสองช้อน คุณยกถ้วยซุปขึ้นดื่มได้เลย
การรับประทานอาหารบางอย่างด้วยมือ อาหารบางอย่างอาจจะใช้มือ และส้อมลำบาก ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำบางประการใจการใช้มือรับประทานอาหารบางอย่าง…….แต่เมื่อถึงเวลาจริง ๆ แล้วคุณจะเป็นต้องใช้สามัญสำนึกของคุณเข้าช่วยตัดสินใจเอาเอง

หน่อไม้ฝรั่ง หรือแอศปารากัส รับประทานโดยใช้มือหยิบ หรือใช้ช้อนกับส้อมก็ได้ ถ้าราดซอสมาค่อนข้าวมาก ใช้มีด และส้อมดุจะเหมาะกว่า
เบคอน ปกติแล้วควรจะรับประทานด้วยส้มแต่ถ้าทอดจนกรอบมากๆ ซึ่งจะแตกเป็นชิ้นเล็กๆ เท่านั้น อย่าป้ายทีเดียวทั้งแผ่น ถ้าเนยเสิร์ฟมาในจานรวม ให้ใช้มีดตัดเนยแบ่งเนยเสิร์ฟมาไว้ในจานเนยของคุณ หรือบนจานอาหารถ้าไม่มีจานเนยจัดไว้ให้
ไก่ ไม่ว่าจะเป็นไก่ทอดไก่อบ ไก่ย่าง หรือบาร์บีคิว รับประทานอาหารด้วยมือเฉพาะงานเลี้ยงสังสรรค์แบบเป็นกันเองเท่านั้น ในโต๊ะอาหารเป็นทางการ การรับประทานไก่ ไก่งวง หรือสัตว์ปีกอื่นๆ ให้รับประทานด้วยมีด และส้อมเท่านั้น
ข้าวโพดทั้งฝัก ให้รับประทานด้วยมือคุณอาจจะหักฝักข้าวโพดออกเป็นสองท่อนก่อน หรือรับประทานอาหารทั้งฝักเลยก็ได้ บางแห่งอาจจะมีไม้เสียบมาให้อยู่แล้วเพื่อให้จับถือได้สะดวกขึ้นควรจะทาเนย และโรยเกลือลงที่ละแถว อย่าทาเนยทั้งฝัก ในคราวเดียว
มันฝรั่งทอด (เฟรนซ์ฟราย) ถ้าเสิร์ฟมากับแฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก หรือแซนด์วิช ให้ให้มือหยิบรับประทาน แต่นอกจากนั้นแล้วให้ใช้มีด และส้อม
ผลไม้ ใช้มือ หรือมีด และส้อมก็ได้ แล้วแต่ชนิดของผลไม้ และโอกาส การรับประทานอาหารแอปเปิ้ล และแพร์ แต่นอกเหนือจากนั้นแล้วให้ใช้มีดปอกผลไม้ก็ได้
แตง เช่น แคนตาลูป หรือ แตงฮันนี่ดิว อาจจะรับประทานโดยใช้ช้อน หรือมีดกับส้อมก็ได้แตงโมอาจจะใช้มือรับประทานก็ได้ บางตำราแนะนำว่าควรจะใช้มีด และส้อม การรับประทานอาหารควรจะกินทั้งเนื้อ และเมล็ดเข้าไปพร้อมกัน และคายเมล็ดออกบนฝ่ามือก่อนที่จะทิ้งลงบนจานส่วนอีกตำแย้งว่า ควรจะใช้ส้อมเขี่ยเมล็ดออกก่อนที่จะใช้มีดตัดเป็นคำ ๆ เข้าปาก
กุ้งก้ามกราม อาจจะใช้มือ หรือมีดกับส้อมรับประทานก็ได้ ขั้นแรกให้ใช้มือหักก้ามออกก่อนหงายตัว และเปลือกขึ้น แคะเนื้อออกด้วยส้อมกุ้ง (ถ้ามี) ถ้าเนื้อกุ้งชิ้นใหญ่เกินไปก็ใช้มีดตัดให้เป็นชิ้นเล็กก่อนที่จะจิ้มน้ำซอส
กุ้งเล็ก ถ้าเสิร์ฟเป็นอาหารจานแรก เช่น กุ้งค็อกเทล ตามปกติจะเสิร์ฟพร้อมกับส้อมค็อกเทล ถ้าตัวกุ้งขนาดใหญ่เกินคำ ให้ใช้ปลายส้อมค่อยๆ ตัดออกเป็นชิ้นขนาดเล็กลง
สปาเกตตี้ ให้ใช้ปลายเส้นพันเส้นสปาเกตตี้เป็ฯขด ไม่จำเป็นจะต้องใช้ช้อนช่วย แต่คุณอาจจะใช้ส่วนโค้งของชอบขานช่วยไม่ให้เส้นลื่นไหลออกจากปลายส้อมอย่าให้ปากดูดเส้นเข้าปาก
แซนด์วิช ปกติเรารับประทานแซนด์วิชด้วยมือ มีข้อยกเว้นอย่างเดียวเท่านั้น คือแซนด์วิชหน้าเดียวที่ราดด้วยน้ำแกรวี่

สรุปข้อควรจำเกี่ยวกับมารยาทบนโต๊ะอาหาร

  1. ผ้าเช็ดปากให้วางอยู่บนตัดเท่านั้นอย่ายัดชายเข้าไปในขอบเสื้อ หรือกระโปรง หรือเหน็บไว้ใต้ค้าง ทันทีที่คุณนั่งลง เรียบร้อยแล้ว ให้วางผ้าเช็ดปากลงบนตัก และเมื่อได้รับประทานอาหารเสร็จ ให้วางผ้าเช็ดปากลงบนด้านซ้ายจานของคุณ โดยไม่ต้องพับผ้า
  2. ใช้เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารตามลำดับที่จัดวางบนโต๊ะ เริ่มจากชิ้นที่อยู่นอกสุด ไล่เข้ามาด้านใน ในมือซ้ายจับส้อม และมือขวาจับมีด และช้อน ถ้ามีจานเนย มีดป้ายเนย จะวางขวางอยู่บนจานเนย จานเนย และจานสลัดจะอยู่ด้านซ้ายของคุณเสมอ
  3. เมื่อมีการพักระหว่างการรับประทานอาหาร วางเครื่องใช้บนจานของคุณ อย่าวางด้ามจับอยู่บนโต๊ะ และปลายอยู่บนจาน
  4. อย่าใช้นิ้ว หรือมีดดันอาหารเข้ากับส้อม
  5. ตักอาหารขึ้นใส่ปาก อย่าก้มหัวลงไปหาจาน พยายามนั่งให้หลังตรง ศรีษะตั้งตรงแม้ในขณะรับประทานอาหาร
  6. อย่าอ้าปากเคี้ยวอาหาร หรือพูดในขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก
  7. อย่าเท้าศอกบนโต๊ะอาหาร วางมือซ้ายของคุณ ( หรือมือขวา ถ้าคุณถนัดซ้าย) ไว้บนตักระหว่างการรับประทานอาหาร ควรจะหนีบข้อศอกสองข้างให้ชิดลำตัวเสมอ
  8. รอให้อาหารของคุณเย็นลง อย่าใช้วิธีเป่าด้วยปากเป็นอันขาด มีอะไรอย่างอื่นที่คุณพอจะรับประทานได้บนจานของคุณเสมอ
  9. ให้วางซ้อนส้อมที่ใช้แล้วบนจาน หรือจานรองเท่านั้น อย่าวางไว้บนโต๊ะ และอย่าพยายามทำความสะอาดจาน หรือช้อนส้อม ในภัตตาคารคุณสามารถขอช้อน หรือส้อมอันใหม่ได้ตลอดเวลา
  10. การรับประทานน้ำซุป ถ้าเสิร์ฟมาในถ้วยหู ไม่ว่าหนึ่งข้าง หรือสองข้าง ให้ดื่มจากถ้วยได้ คุณอาจจะจิบน้ำซุป หรือกาแฟจากช้อนก่อน แต่หลังจากนั้นให้ดื่มจากถ้วย ถ้าเป็นซุปที่ใส่ผัก หรือเส้นมาด้วย ให้ใช้ช่วยตักได้ เมื่อไม่ใช่แล้วยกช้อนออกจากถ้วย และวางไว้บนจานรองถ้วยเสมอ
  11. เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ให้วางมีด และส้อมบนจาน ในลักษณะที่ไม่เลื่อนหลุดออกจากจานเมื่อเก็บจาน ส้อมควรจะวางไว้ ด้านซ้ายของมีด และด้ามคมของมีดควรจะหันค่อนไปทางขวาก็ได้ (ดูจากภาพ ให้สังเกตว่าปลายส้อมหงายขึ้นตามแบบอเมริกัน ถ้าเป็นแบบยุโรปจะคว่ำปลายส้อมลง)
  12. ถ้าอาหารมีน้ำซอส หรือแกรวี่ ให้ราดลงบนโต๊ะอาหารได้เลย แต่ถ้าเป็นเยลลี่ หรือเครื่อง เคียงอย่างอื่น ให้ตักวางบนจานแยกอาหาร และตักทีละคำพร้อมกับเนื้อ หรืออาหาร
  13. ถ้าไม่มีพนักงานเสิร์ฟอาหาร การส่งผ่านอาหาร ให้ส่งผ่านทางขวามือไปรอบโต๊ะกว่านั้น เวลารับประทานอาหารใช้ป้ายเนย ทีละชิ้นทีละคำ
  14. ขนมปังแผ่น ขนมปังก้อน และมัฟฟินก่อนรับประทานอาหารให้บิออกเป็นสองท่อน หรือเล็กกว่านั้น เวลารับประทานใช้ป้ายเนยทีละชิ้น หรือทีละคำ
  15. อย่าถ่มอะไรออกจากปาก แม้จะเป็นกระดูดที่เคี้ยวไม่ได้ ให้ใช้ลิ้นดุนออกมาที่ช้อนส้อมแล้วค่อยทิ้งลงบนจานถ้าคุณรับประทานผลมะกอก ให้ใช้นิ้วหยิบเม็ด และวางบนจาน
  16. ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามทำความสะอาดฟันบนโต๊ะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นใช้ไม้จิ้มฟัน หรือนิ้วถ้าจำเป็นให้ขอตัวไปห้องน้ำ เพื่อจัดการกับเศษอาหาร
  17. ถ้ามีน้ำล้างมือใส่ถ้วยมาให้ ให้จุ่มปลายนิ้วของคุณลงไปในน้ำ เสร็จแล้วจึงเช็ดมือกับของผ้าเช็ดปาก….มือ และผ้าเช็ดปากต้องอยู่ต่ำกว่าของโต๊ะ
  18. เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ อย่าเลื่อนจานออกจากตัว และอย่าเลื่อนเก้าอี้ออกจากโต๊ะ
  19. ขณะนั่งรับประทานอาหาร ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง โยกย้ายเก้าอี้ หรือนั่งพิงพนักงานตามสบาย

งานเลี้ยงอาหารเย็น

การได้รับเชิญไปรับประทานอาหารเย็นที่บ้านใครสักคน คุณไม่จำเป็นต้อง แต่งชุดเต็มยศที่สุดที่มี…แต่สิ่งที่ขาดเสียมิได้ คือ มารยาท และพฤติกรรมที่ดีที่สุด มารยาทบนโต๊ะอาหารที่อ่านผ่านมาแล้วจะต้องระวังอย่างเคร่งครัด และมีข้อปฏิบัติเพิ่มเติมอีก ดังนี้

การตอบรับเชิญ เมื่อได้รับคำเชิญให้ได้รับประทานอาหารเย็น คุณจะต้องตอบ คำเชิญให้เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ อย่าถือว่าคำเชิญเป็นเรื่องที่ไร้ความสำคัญ เพราะเจ้าภาพเสียเวลา และค่าให้จ่ายไปมากโข หากคุณไม่ตอบรับคำเชิญ เจ้าภาพก็ไม่มีทางรู้ได้ว่าจะนับคุณเข้าในจำนวนแขกที่ได้รับเชิญได้ หรือไม่

รักษาเวลา กฎเกณฑ์สำคัญเมื่อได้รับคำเชิญ คือ คุณจะต้องไปถึงที่นั่นตรงเวลา คุณต้องคาดการณ์ล่วงหน้าเผื่อเวลารถติด หรือความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ ในบางกรณี หากล่าช้ากว่ากำหนดราว 15 นาที เป็นเรื่องที่พอจะรับได้ แต่ถ้าล่าช้าเกินกว่านั้น จะแสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้ให้ความพยายามเพียงพอ ที่จะมาร่วมรับประทานอาหาร และจะเป็นการทำลาย ขั้นตอนการเสิร์ฟอาหาร ที่เจ้าภาพจัดเครียมไว้อย่างดี
หากคุณต้องมาล่าช้า อย่างไม่มีทางเลี่ยงได้หากเป็นไปได้ ขอให้โทรศัพท์ อธิบาย สาเหตุของ การเสียเวลาให้เจ้าภาพได้ทราบ เมื่อเดินทางมาถึง ตรงไปหาเจ้าภาพ ในทันทีเพื่อขอโทษขอโทษเข้านั่งโต๊ะอาหารเงียบ ๆ ไม่จำเป็นต้องเล่า รายละเอียด ของการผจญภัย ระหว่างทาง หรือสาเหตุของ การมาล่าช้า ให้เพื่อนร่วมโต๊ะอาหารฟัง

เข้าสู่ห้องอาหาร ในงานเลี้ยงเป็นทางการ เจ้าภาพชาย จะยื่นแขนให้เกียรติสตรีเกาะ เดินนำเข้าห้องอาหาร แต่ละคู่จะเดินตาม โดยมีเจ้าภาพ เดินปิดท้ายเข้านั่งประจำที่

การนั่งโต๊ะอาหาร เมื่อเดินเข้ามาในห้องอาหารแล้ว อย่าลากเก้าอี้ตัวทีใกล้ที่สุดมานั่ง หรื่อเลือกนั่งข้างสุภาพสตรีที่สวยที่สุดในห้องนั้น หากไม่มีการ์ดชื่อกำหนดที่นั่ง ขอให้คุณรอจนกว่าจะมีคำเชิญให้นั่งประจำที่ใดสุภาพบุรุษควรเลื่อนเก้าอี้ให้สุภาพสตรีนั่งลงก่อน

ในระหว่างการรับประทานอาหาร คุณควรจะให้ความสนใจสนทนากับเพื่อนร่วมโต๊ะที่นั่งติดกัน ทั่งซ้าย และชวา

การเสิร์ฟอาหาร บริกรจะเข้าเสิร์ฟอาหารทางด้านซ้ายของคุณ หรือจะนำอาหารยื่นส่งให้ ช้อน หรือทัพพีจะวางอยู่ในที่ที่เหมาะสม ที่คุณจะตักอาหารเองได้ เมื่อตักอาหารแล้วควรวางช้อน หรือทัพพีลงตำแหน่งเดิมเพื่อทีคนต่อไปจะตักอาหารได้สะดวก หากเป็นจานอาหารที่คุณไม่ชอบ หรือรับประทานไม่ได้ คุณเพียงแค่กล่าว “ไม่ละครับ ขอบคุณ”

การสูบบุหรี่ คุณได้รับอนุญาตให้สูบบุหรี่ หรือไม่ ? หากมีที่เขี่ยบุหรี่จัดวางไว้แล้ว คุณก็ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน จากเจ้าภาพให้สูบบุหรี่บนโต๊ะอาหารแล้ว แต่ไม่ควรจุดบุหรี่สูบจนกระทั่งรับประทานอาหารของหวานเรียบร้อยแล้ว กิริยามารยาทที่ดี คือ ควรจะถามไถ่ขออนุญาตจากคนข้างเคียงเสียก่อน

หลังอาหาร เมื่ออาหารจานสุดท้ายเก็บพ้นจากโต๊ะแล้ว รอให้เจ้าภาพลุกเสียก่อน จากนั้นแขกทั้งหมด จึงจะลุกขึ้นได้ เจ้าภาพจะแจ้งให้ทราบว่าคุณจะไปที่ใด และทำอะไรต่อไป

การลากลับ เมื่อได้รับเชิญ อย่ารั้งรออยู่นานจนเกินไป หรือรีบกินรีบกลับ เวลาเหมาะสม ที่ควรลากลับนับเป็นเรื่องยาก จะกำหนด ขอให้คุณรอจนแขกคนอื่นเริ่มทยอยกลัย เมื่อคุณพร้อมจะลากลับ อย่าพรวดพราดตรงดิ่งไปหาประตู แต่ก็ไม่ควรสนทนายึดเยื้อหน้าประตู ขอบคุณเจ้าภาพที่เชิญคุณมาร่วมรับประทานอาหารเย็น จากนั้น ลากลับ

บัตรของคุณ นับเป็นกิริยามารยาทที่ดีถ้าคุณจะส่งบัตรของคุณ (เขียนด้วยลายมือ และกระดาษเขียนจดหมายที่ดีที่สุด) ขอบคุณเจ้าภาพที่เชิญไปร่วมรับประทานอาหาร

มารยาทในภัตตาคาร

การรับประทานอาหารในภัตตาคาร แทบจะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดเสียมิได้ในวงธุรกิจในปัจจุบัน จากการปรึกษาธุรกิจอาหารเช้า เรื่อยไปจนถึง การเลี้ยงรับรองลูกค้าในยามค่ำคืนคุณจะพบว่าคุณใช้เวลาหลายชั่วโมงวนเวียนอยู่ในภัตตาคาร มารยาทในภัตตาคารที่ควรรู้ มีดังนี้
ก่อนที่จะเดินทางไปภัตตาคาร ควรจะโทรศัพท์สอบถามว่า จำเป็นต้องจองโต๊ะ หรือมีข้อกำหนดในการแต่งกายประการใด เพราะบางภัตตาคาร กำหนดให้ลูกค้าใส่สูทผูกเนคไทบางภัตตาคารไม่มีข้อจำกัด หากคุณเป็นเจ้าภาพสอบถามว่าภัตตาคารรับบัตรเครดิต หรือเช็ค หรือไม่การสอบถามล่วงหน้าจะช่วยให้ไม่ขลุกขลักเสียหน้าในตอนจ่ายเงิน
เข้าภัตตาคาร โดยปกติ เมื่อเข้าภัตตาคาร ผู้ชายจำเป็นจะต้องฝากเสื้อโค้ต และหมวกส่วนสุภาพสตรีจะฝาก หรือไม่ก็ได้ เพราะบางแห่งอาจจะไม่รับฝากเสื้อขนมิ้งค์ หรือเฟอร์ผู้หญิงควรจะสวมเสื้อโค้ตจนถึงเก้าอี้ จากนั้นจึงถอดพาดเก้าอี้ กิริยามารยาทที่ดีของสุภาพบุรุษ คือ ช่วยสุภาพสตรีถอดเสื้อโค้ต
สตรีจะเดินนำหน้าสุภาพบุรุษเข้าไปในภัตตาคาร บริกร หัวหน้าบริการหริอผู้จัดการจะออกมาต้อนรับ หากคุณจองโต๊ะล่วงหน้าไว้แล้ว แจ้งชื่อของคุณให้ทราบ และแจ้งจำนวณแขกที่จะมารับประทานอาหาร สตรีจะเดินตามบริการไปยังโต๊ะ บุรุษจะเดินรั้งท้าย โดยปกติแล้ว บริกรจะช่วยเลื่อนเก้าอี้ให้สุภาพสตรี หากำม่มีบริกร สุภาพบุรุษจะช่วยเลื่อนเก้าอี้ให้สตรี
โดยทั่วไป บริกรจะสอบถามว่าต้องการเครื่องดื่มอะไรบ้าง ในการปรึกษาธุรกิจในมื้ออาหารคุณควรจะเริ่มต้นด้วยเครื่องดื่มที่ไม่เจือแอลกอฮอล์ หรือสั่งไวน์แทนค็อกเทลอย่ารู้สึกอับอาย ถ้าคุณต้องการจะสั่งน้ำอัดลม หรือน้ำผลไม้ หากคุณไม่ต้องการเครื่องดื่ม ขอเมนูอาหารได้เลย
อ่านเมนู หากคุณอ่านเมนูไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบว่าเป็นอาหารชนิดใด สอบถาม หรือให้บริกรอธิบายความหมาย อย่าปล่อยให้ภาษาต่างประเทศแปลก ๆ เป็นอุปสรรค ภัตตาคารที่มีอาหารจานนั้น คำต่างประเทศที่มักจะพบในเมนูเป็นประจำจนแทบจะกลายเป็นศัพท์ทั่วไปแล้วมีดังนี้

- A la carte (อะ-ลา-คาร์ต) หมายถึง การคิดราคาอาหารแต่ละจานแยกจากกัน
- Emtree (อาห์น-เทร) หมายถึง แมนคอร์ส
- Hors d oeuvers (ออร์-เดิร์ฟ) หมายถึง แอพพิไทเซอร์ หรืออาหารว่างเรียกน้ำย่อย
- Legumes (เลย์-กูมส์) หมายถึง ผัก
- Prix fixe (ปี-ฟรีกส์) หมายถึง ราคามื้ออาหาร
- Tabale d hote (ทาห์-บลู-โดต) หมายถึง มื้ออาหารที่มีหลายคอร์ส และจะนำเสนอรวมในราคาที่กำหนด

ภัตตาคารบางแห่ง อาจมีอาหารจานพิเศษมักจะมีราคาแพงกว่าอาหารที่จัดอยู่ในเมนู การสอบถามราคาไม่ใช่เรื่องน่าเกลียด
การสั่งไวน์ บริการจะสอบถามคุณว่าคุณต้องการดูรายชื่อไวน์ หรือไม่ บางแห่งอาจจะมีบริการไวน์ หรือ sommelier (โซ-เมล-เยย์) คุณอาจจะขอคำแนะนำจากบริการไวน์ก็ได้ โดยทั่วไปแล้วไวน์แดงจะเสิร์ฟกับเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว ไวน์ขาวจะเสิร์ฟกับเนื้อขาว เช่น เนื้อปลา หรือสัตว์ปีก ไวน์โรเซ่เหมาะกับเนื้อแกะ และเนื้อลูกวัว ภัตตาคารบางแห่งอาจจะมีไวน์ปรุงเองซึ่งจะจำหน่ายเป็นแก้ว หรือเป็นเหยือก (carafe)
หากคุณสั่งไวน์เป็นขวด บริการไวน์จะรินตัวอย่างให้คุณ คุณควรดมกลิ่น และชิมรสชาติของไวน์ หากไใช้ได้ คุณจะผงกศีรษะรับ บริกรไวน์จะรินไวน์ขวดนั้นแจกแขกรอบโต๊ะ แต่ถ้ารสชาติผิดปกติ เปรียวจัดรสชาติคล้ายน้ำส้มสายชู ขอให้บริกรไวน์ทราบ ทางร้านจะเปลี่ยนขวดใหม่ให้
การสั่งอาหาร ถ้ามีแขกหลายคน แต่ละคนอาจจะเลือกสั่งอาหารเอง แต่ถ้าเป็นงานเลี้ยงขนาดเล็ก เจ้าภาพจะเป็นผู้สั่งอาหาร หลังจากที่สอบถามความต้องการของแขกรอบโต๊ะแล้วคุณเป็นเจ้าภาพ ควรจะเลือกภัตตาคารที่คุณสามารถจ่ายค่าอาหารเมนูได้ แขกของคุณจะเลือกอาหารได้ไม่จำกัด ขอให้สนใจสอบถามความต้องการของแขกของคุณ เพราะบางคนอาจจะแพ้อาหารบางชนิด มีข้อจำกัดทางศาสนาห้ามรับประทานอาหารบางประเภท หรือยู่ในช่วงจำกัดอาหาร อย่ายัดเยียดอาหารให้แขกของคุณ แต่ถ้าคุณเป็นแขกรับเชิญ ควรจะคำนึงถึงกระเป๋าของเจ้าภาพ ไม่ควรสั่งอาหารที่แพงที่สุดในร้าน คุณอาจจะขอคำแนะนำให้เจ้าภาพช่วยแนะนำอาหารให้ คำแนะนำของเจ้าภาพจะช่วยให้คุณสั่งอาหารที่เหมาะสม
การชำระค่าอาหาร ถ้าคุณเป็นเจ้าภาพคุณจะขอเชึคจากบริกรหลังจากที่ทุกคนรับประทานอาหารเสร็จแล้ว มองกวาดหาข้อผิดพลาดในการคิดเงิน หากพบข้อผิดพลาดแจ้งให้บริกรทราบเงียบ ๆ อย่าโวยวายให้เป็นเรื่องใหญ่โต หากทางร้านไม่ยอมแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น คุณควรจะจ่ายเงิน และออกจากร้านแต่โดยดี คุณอาจจะเลือกที่จะไม่ใช้บริการของภัตตาคารนั้นอีก หรือสอบถามการคิดราคาอาหารในวันหลัง

ในภัตตาคารส่วนใหญ่ คุณอาจจะชำระค่าอาหาร โดยเงินสด หรือบัตรเครดิต ภัตตาคารบางแห่งมีบริการส่งใบเสร็จรับเงิน ไปเก็บเงินคุณภายหลัง หากคุณรับประทานอาหารในภัตตาคารของโรงแรมที่คุณพักคุณอาจจะให้คิดค่าอาหารรวมไปกับค่าที่พัก คุณเพียงแต่เซ็นชื่อ และหมายเลขห้องพักเท่านั้น
ในบางกรณี แขกแต่ละคนอาจจะต้องการแยกชำระ ค่าอาหารของตน คุณควรจะแจ้งให้ บริกรทราบล่วงหน้าก่อน จะได้มีการออกใบเสร็จรับเงินเป็นรายบุคคล หากมีใบเสร็จใบเดียวขอให้หารแบ่งจำนวนเงินที่แต่ละคนต้องจ่ายขอให้คุณชำระเงินอย่างเพียงพอในส่วนของคุณทั้งค่าอาหาร และทิป
เมื่อชำระค่าอาหารแล้ว สภาพบุรุษควรจะลุกขึ้นก่อน และช่วยเลื่อนเก้าอี้ให้สุภาพสตรีสตรีจะเดินนำหน้าออกไปยังห้องฝากเสื้อโค้ต กิริยามารยาทที่ดีคือ ช่วยสุภาพสตรีสวมเสื้อโค้ต

การเลี้ยงอาหารแบบบุฟเฟ่

เป็นการเลี้ยงที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะเป็นการสะดวกในการจัดเลี้ยงคนมาก ๆ การจัดอาหารทุกอย่างจะวางไว้ที่โต๊ะหมดทุกอย่าง จัดที่นั่งรับประทานไว้อีกที่หนึ่งให้ห่างจากโต๊ะอาหารพอประมาณเมื่อเจ้าภาพเชิญแขกอาวุโสเปิดการรับประทาน แขกผู้เปิดงานจะเดินไปตักอาหารก่อนโดยมีภาชนะในการตักอาหารวางไว้พร้อมทุกอย่างบนโต๊ะแล้วแขกผู้รับเชิญคนอื่น ๆ ก็ปฏิบัติตามได้เช่นเดียวกัน โดยเดินไปตักอาหารจากโต๊ะอาหารมานั่งรับประทานที่โต๊ะเป็นกลุ่ม ๆ หรือจะยืนรับประทานก็ได้ ถ้ายังไม่อิ่มก็เดินไปตักอาหารได้อีกโดยไม่ถือว่าผิดมารยาท การเลี้ยงแบบนี้ไม่มีพิธีอะไรมากเป็นการเลี้ยงแบบกันเอง สะดวกสบายทั้งเจ้าภาพ และแขกผู้รับเชิญ เพราะไม่มีพิธีการมากนัก

หลักการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่

อาหารบุฟเฟ่ มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้รับประทานได้เลือกอาหารได้ตามใจชอบ ซึ่งอาหารจะจัดไว้หลากหลายชนิด และหลายรสชาติ การรับประทานบุฟเฟ่จึงจึงควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. รับประทานอาหารตามลำดับ ถ้าเป็นอาหารฝรั่งเริ่มด้วย สลัด หรือซุป ก่อนอาหารจาน หลัก (Main Course) ตามด้วยของหวาน ผลไม่ ชา กาแฟ
  2. ตักอาหารแต่น้อยพอรับประทานคนเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจานหลัก ซึ่งมีให้ เลือกหลายชนิด ควรตักเพียง 3-5 ชนิดในหนึ่งจาน เพื่อให้เกิดความสวยงาม ได้ลิ้มรสอาหารที่ถูกต้องอาหารไม่ปะปนกันมากจนหารสชาติไม่เจอ และสุดท้าย ถ้าท่านรับประทานอาหารไม่หมด
    ยังดูไม่น่าเกลียดที่ต้องทิ้งอาหารในจานไป การตัดอาหารเกินความจำเป็น อาจจะทำให้แขกที่มาทีหลังไม่มีอาหารพอรับประทานได้
    ตักอาหารจนล้นจานจะทำให้บุคลิกของท่านเสียไป เพราะจะดูเป็นว่าท่านเป็นคนเห็นแก่ตัวตะกละ ไม่มีระเบียบ ไม่รักสวยรักงาม ขี้เกียจที่จะเดินสองเที่ยว และท้ายสุดไม่มีศิลปะในการกินตักให้พองาม เสร็จแล้วเดินไปตักอีกเที่ยวจะดีกว่า
  3. ตักอาหารด้วยตนเอง ไม่สั่งให้เพื่อนตักเผื่อ หรือตักอาหารมาเผื่อเพื่อน เว้นแต่เขาจะพิการ หรือไม่สะดวกในการลุกมาตัวเอง เพราะเราไม่ทราบว่าเขาชอบ หรือไม่ชอบอะไรการตักให้อาจจะเป็นการเป็นการสูญเสียอาหารทั้งจานได้
  4. ขณะอยู่ในแถว เดินอย่างสุภาพ ไม่เคาะจาน หรือส่งเสียงดังน่าเกลียด ตักอาหารที่ต้องการทันที ไม่มัวเลือกอาหาร เช่น ผัดผักรวมเราไม่ชอบข้าวโพดอ่อนแต่ชอบผักอื่น ๆ ให้ตักมาเลยอาจจะติดข้าวโพดอ่อนมาบ้างก็มาเขี่ยออกขณะรับประทาน ไม่มัวเลือกขณะอยู่ในแถวจะทำให้เสียเวลาผู้อื่น

การให้ทิป

ตามหลักการแล้ว เราจะให้ทิปก็ต่อเมื่อได้รับบริการเป็นพิเศษ ในทางปฎิบัติในปัจจุบันเราให้ทิป เพราะเป็นธรรมเนียมที่ต้องปฎิบัติ
ปัญหาว่าจะให้ทิปแก่ใคร จำนวนเท่าใด และในเวลาใด นับเป็นเรื่องยุ่งยากที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่ชัด ธรรมเนียมการให้ทิปของแต่ละประเทศ ผิดแผกแตกต่างกัน กฎทั่วไปของการให้ทิปมีดังนี้
1. หากไม่แน่ใจ ให้ทิป 15 เปอร์เซ็นต์
2. หากได้รับบริการต่ำระดับ น้อยกว่ามาตรฐาน ไม่จำเป็นต้องให้ทิป ขอให้ระลึกเสมอ ว่าเงินทิปจะต้องควัก ออกจากกระเป๋าของคุณเอง
3. เงินทิปจำนวนเล็กน้อยถือเป็นการดูหมิ่นยิ่งกว่าการไม่ให้ทิปเสียก่อน
4. หากคุณเดินทางชั้นหนึ่ง เงินทิปก็ต้องเพิ่มเป็นเงาตามตัว เมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ที่คุณไม่แน่ใจ ขอให้ใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปข้างต้นนี้ แต่ก็มีข้อมูล จำเพาะในการให้ทิปที่ควรรู้

ในภัตตาคาร
- ทิปเจ้าหน้าที่รับฝากเสื้อโค้ต 50 เซนต์ ถึง 1 เหรียญ *ต่อคน
- ในห้องอาหาร ทิปบริกร 15-20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงิน หากคุณรับ ประทานอาหารในคอฟฟี่ช้อป หรือที่เค้าน์เตอร์ ใบเสร็จจะต่ำกว่าหนึ่งเหรียญ ให้ทิปเพียง 20-25 เซนต์ ถ้าแยกนั่งโต๊ะ ไม่ควรทิปน้อยกว่า 25 เซนต์
- ในภัตตาคารหรูหรา บริการยอดเยี่ยมควรจะทิป 20 เปอร์เซ็นต์ บางครั้งเงิน ทิปจะนำไปแบ่งกันระหว่างบริกร และหัวหน้าบริกรโดย บริกรไม่ได้ให้บริการเป็นพิเศษ ก็ไม่จำเป็นต้องให้ทิป
- หากคุณสั่งไวน์จากบริกรไวน์ ควรจะให้ทิปบริกรไวน์ 12-15 เปอร์เซ็นต์ ของค่าไวน์ บาร์แทนเดอร์ควรได้รับทิป 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณนั่งดื่มที่เคาเตอร์
- ผู้ช่วยบริกรไม่จำเป็นต้องทิป เพราะจะได้รับส่วนแบ่งจากบริกรอยู่แล้ว
- ในภัตตาคารบางแห่ง อาจจะมีผู้ดูแลประจำห้องน้ำ ควรให้ทิปประมาณ 25 เซนต์ หากผู้ดูแลจัดหาผ้าเช็ดมือให้ โดยปกติ มักจะมีจานรับทิปวางไว้ในห้องน้ำ

ถ้าท่านเลือกจ่ายค่าทิปเป็นเงินสด แทนการจ่ายผ่านบัตรเครดิต อย่าลืมขีดคาดช่องบรรทัดที่เว้นไว้ สำหรับเติมเงินค่าทิป ในใบเสร็จ ที่ท่านต้องลงนาม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นเติมเงินค่าทิปโดยที่ท่านไม่รับทราบ

แท็กซี่ ส่วนใหญ่ ควรจะทิปแท็กซี่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ของค่าโดยสาร หากค่าแท็กซี่ไม่เกินหนึ่งเหรียญทิป 25 เซนต์ หรือทิปอย่างต่ำ 50 เซนต์

โรงแรม บ๋อยกระเป๋าได้ทิป 50 เซนต์ถึง 1 เหรียญ บริกรห้องพักได้ 15 เปอร์เซ็นต์ของใบเสร็จ ควรทิปพนักงานทำความสะอาดห้องวันละ 1 เหรียญ และทิปยามเฝ้าประตู 25-50 เซนต์ ถ้าเขาช่วยเรียกแท็กซี่ให้ และทิปยาม 50 เซนต์ 1 เหรียญถ้าช่วยยกกระเป๋า
ท่าอากาศยาน หรือสถานีรถไฟ โดยทั่วไป ผู้ที่ควรจะได้ทิปมีแต่พนักงานยกกระเป๋า ให้ทิปอย่างต่ำ 50 เซนต์ต่อกระเป๋าหนึ่งใบ
การคำนวณทิป ไม่มีอะไรน่าปวดหัวไปกว่าการคำนวณทิป คนส่วนใหญ่เสียเวลาในการคำนวณทิปจนแทบจะควักเครื่องคิดเลขออก (ถ้าทำได้) วิธีคำนวณไม่ยุ่งยาก ถ้ามีหลั่กในการคิดแรกสุดให้คิด 10 เปอร์เซ็นต์ เสียก่อน จากนั้นก็บวกอีกครึ่งเข้าไป ตัวอย่างเช่น จำนวนเงินในใบเสร็จ 40 เหรียญ สิบเปอร์เซ็นต์ คือ 4 เหรียญ จากนั้นก็บวกเข้าไปอีกครึ่งคือ 2 เหรียญทิปที่จะจ่ายคือ 6 เหรียญ อย่างทิปด้วย สตางค์แดง

การแนะนำตัว

มารยาทในการแนะนำตัวนับเป็นเรื่องจำเป็นในสังคมธุรกิจ เพราะคุณจะต้องอยู่ในเหตุการณ์ที่จะต้องมีการแนะนำตัวบ่อยครั้ง เช่น เมื่อคุณพาใครสักคนไปในงานเลี้ยง โดยมารยาทแล้วคุณก็ต้องแนะนำคนใหม่ให้รู้จักกับเพื่อนของคุณ
ถ้าคุณเป็นเจ้าภาพในงานคุณควรจะแนะนำแขกของคุณให้รู้จักซึ่งกัน และกัน สำหรับงานเลี้ยงใหญ่ ๆ คุณแนะนำเพียงแขกกลุ่มที่อยู่ใกล้ ๆ คุณเท่านั้น จากนั้นก็เป็นเรื่องของแขกผู้นั้นที่จะต้องหาทางแนะนำตัวเองให้รู้จักกับคยอื่น ๆ ในงานต่อไป
เมื่อคุณจะแนะนำตัวเอง คุณอาจจะพูดง่าย ๆ ว่า ผมชื่อ……..” และถ้าคุณเคยพบบุคคลนั้นมาก่อน คุณก็อาจจะพูดต่อท้ายว่า “เราเคยพบกันมาแล้วครับ ที่…….” หรือ “ผมเป็นเพื่อนของ…….” เป็นต้น
เมื่อคุณแนะนำคนสองคนให้รู้จักกัน จะเป็นการเสนอคนหนึ่งให้รู้จักกับอีกคนหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง คุณกำลังขออนุญาตบุคคลผู้นั้นแนะนำอีกคนให้รู้จัก ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพบพูดว่า “คุณโรมาโน ผมขอแนะนำคุณแจ็กสันครับ” คุณกำลังถามคุณโรมาโนว่าอยากจะรู้จักกับคุณแจ็กสัน หรือไม่ เพราะฉะนั้น ในมารยาทการแนนำคนในสังคม คุณควรจะคำนึงถึงข้อต่าง ๆ เหล่านี้เอาไว้คือ
1. คุณต้องแนะนำคนที่อ่อนวัยกว่าต่อผู้อาวุโสกว่าเสมอ
2. คุณต้องแนะนำผู้ชายต่อผู้หญิงเสมอ
3. พิธีการทางการฑูต ซึ่งถือเป็นกฏปฏิบัติในวงการทหาร และการฑูต กำหนดไว้ว่าต้อง
แนะนำผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าเสมอไม่ว่าจะเป็นชาย หรือหญิง
กฏนี้ถือเป็นมารยาททางธุรกิจได้เช่นกันกล่าวคือ โดยทั่วไปแล้ว จะต้องแนะนำพนักงานระดับต่ำว่าต่อพนักงานระดับสูงกว่าเสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะแนะนำพนักงานเสมียนคนใหม่ต่อนายของคุณ คุณควรพูดกับนายของคุณว่า “เจ้านายครับ นี่คือคุณ………. เสมียนคนใหม่ของเราครับ”
ในกรณีที่คุณเป็นผู้ถูกแนะนำ คุณก็ควรแสดงอาการรับรู้ ด้วยการกล่าวคำทักทายอย่างเช่น “สวัสดีครับ” และจะเป็นการให้คุณจำชื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ดีขึ้น ถ้าคุณจะเอ่ยชื่อเขาซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เช่น “สวัสดีครับ คุณ…….. “
เมื่อมีการแนะนำตัว ผู้ชายจะสัมผัสมือกันแต่ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นหญิง ในอดีตจะขึ้นอยู่กับผู้หญิงว่า เธอต้องการจะสัมผัสมือด้วย หรือไม่ เธออาจจะเพียงแค่ยิ้ม พนักหน้าน้อย ๆ และกล่าวคำทักทาย “สวัสดีค่ะ” แต่ทุกวันนี้ เมื่อมีการแนะนำตัว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะยื่นมือให้สัมผัส โดยอัตโนมัติ และฝ่ายชายก็ไม่จำเป็นที่ต้องรอให้ฝ่ายหญิงยื่นมือให้ และฝ่ายหญิงก็ไม่ควรลังเลที่จะสัมผัสมือถ้าฝ่ายชายยื่นมาก่อน…….. หากไม่ยอมสัมผัสมือเมื่อฝ่ายหนึ่งยื่นมือมาแล้ว จะเป็นการเสียมารยาทอย่างยิ่ง
ในการสัมผัสมือ ไม่ควรบีบมือของฝ่ายหนึ่งแรงเกินไป แต่ก็ไม่ปล่อยมือให้อ่อนปวกเปียกการสัมผัสมือไม่ควรจะนานเกินไปควรเขย่ามือสั้น ๆ สองสามครั้ง และจับมือให้กระชับให้เกิดความรู้สึกที่เป็นกันเองก็เพียงพอ