ทฤษฎีวิเคราะห์องค์ประกอบ ( Factor Analytic Theory )

ทฤษฎีวิเคราะห์องค์ประกอบ ( Factor Analytic Theory ) ของเรย์มอนด์ บี แคทเทลล์ ( Raymond B. Cattell )

เป็นนักจิตวิทยาบุคลิกภาพที่ได้พยายามศึกษาบุคลิกภาพอย่างมีระบบระเบียบ เป็นการพยายามที่จะนำวิชาบุคลิกภาพมาสู่การคิด การศึกษา การเข้าใจที่เป็นรูปธรรม มีความชัดเจนเที่ยงตรงด้วยการวัด และวิธีคิด และวิธีการทางสถิติ อันเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ประวัติ และแนวคิดของเขาพอสรุปได้ดังนี้ Raymond B. Cattell ( ค.ศ. 1905 – 1998) ศรีเรือน แก้วกังวาล. ( 2539 : 195 – 213) สถิต วงศ์สวรรค์. (2540 : 74 – 77) นวลละออ สุภาผล. ( 2527 : 202 – 235 )

ประวัติเรย์มอนด์ บี แคทเทลล์ ( Raymond B. Cattell ) เกิดที่เมือง สตาฟฟอร์ดเชียร์ (Stanffordshire) ประเทศอังกฤษ มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1905 - ค.ศ. 1998 เขาเป็นบุตรชายคนที่สองของตระกูลแคทเทล ( Cattell ) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาเคมี เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยคิงส์ (Kings College) ประเทศอังกฤษ เมื่อมีอายุเพียง 19 ปี หลังจากนั้นเขาได้สนใจในเรื่องจิตวิทยาในเชิงวิทยาศาสตร์ และได้ศึกษาสาขาจิตวิทยาต่อมา และสนใจเป็นผู้ช่วยนักวิจัยชื่อ Charles Spearman และเป็นผู้ให้สร้างทฤษฎีวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analytic Theory) ขณะที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยในการทำวิจัย กับนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง คือ ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) ศึกษาเรื่องสติปัญญา และได้ทำการทดสอบเพื่อศึกษาทางด้านสติปัญญาอย่างหลากหลายวิธีรวมทั้งได้หาค่าความสัมพันธ์ภายในของคะแนนจาก แบบทดสอบ และได้สรุปว่า ความสามารถทางสติปัญญาประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั่วไป ( General Factors ) ทำให้แคทเทล รับวิธีการเหล่านี้ เป็นแนวทางในการศึกษาทางบุคลิกภาพ และความสามารถในด้านต่างๆ ทำให้การวิจัยทางจิตวิทยาเป็นระบบระเบียบมากขึ้น รวมทั้งใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แคทเทลอธิบายคำว่า บุคลิกภาพไว้ว่า

"บุคลิกภาพ คือ สิ่งที่จะช่วยให้เราทำนายได้ว่าบุคคลจะทำอะไรในสถานการณ์ที่กำหนดให้" ดังนั้นบุคลิกภาพจึงเป็นเรื่องของพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล ทั้งพฤติกรรมที่เปิดเผย และพฤติกรรมที่ซ่อนเร้น และพฤติกรรมที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน ดังนั้นการศึกษาบุคลิกภาพจะต้องศึกษาพฤติกรรมทั้งหมดไม่ใช่ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แคทเทล (Hall and Lindxzey. 1970 : 386; citing Catelle. 1950 : 2 – 3)

โครงสร้างบุคลิกภาพของแคทเทล

ทฤษฎีบุคลิกภาพของแคทเทล มีโครงสร้างบุคลิกภาพประกอบด้วย อุปนิสัย ( Traits ) หน่วยพลัง ( Ergs ) เมตะเอิร์ก ( Metaergs ) สังกัปอุดหนุน ( Subsidiation ) และตัวตน (The Self ) ซึ่งมีราโดยละเอียดดังนี้ ฮอล์ และ ลินด์เซย์ ( 1970 : 386 – 396 )

1. อุปนิสัย (Traits) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่แคทเทลถือว่า อุปนิสัย คือ "โครงสร้างของจิต" (Mental Structure) เป็นตัวกระทำให้พฤติกรรมของบุคคลคงที่ และแคทเทลมีแนวความคิดเหมือนออลพอร์ต (Allport) ว่า บุคคลแต่ละคนมีอุปนิสัยร่วม หรือสามัญลักษณะ ( Common Traits) ด้วยกันทั้งนั้น เช่น การมีประสบการณ์ทางสังคมอย่างเดียวกัน ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ หรือวิสามัญลักษณะ (Unique Traits) หมายถึง อุปนิสัยที่มีอยู่เฉพาะในบุคคลแต่ละคน ซึ่งคล้ายคลึง อุปนิสัยร่วม เป็นคุณลักษณะต่างๆ ที่มีอยู่ในบุคคลทั่วไป เช่น ความสามารถ การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม สติปัญญา และความเชื่อมั่นในตนเอง ส่วนอุปนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์จะเป็นลักษณะที่ปรากฏขึ้นในส่วนของเจตคติ และความสนใจเฉพาะของแต่ละบุคคล
อุปนิสัยมี 2 ชนิด คือ

  • อุปนิสัยพื้นผิว ( Surface Traits ) เป็นอุปนิสัยที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน เป็นลักษณะ นิสัยของบุคคลที่แสดงออกมา อย่างเปิดเผยอุปนิสัย ต้นตอ เป็นโครงสร้างที่แท้จริงซึ่งถือเป็นรากฐานของบุคลิกภาพ และเป็นตัวที่กำหนดการแสดงออกของอุปนิสัยพื้นผิวหลายๆ แบบ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะต้องศึกษาเมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการบุคลิกภาพ อาการเจ็บปวดทางกาย หรือโรคทางกายที่มีสาเหตุเนื่องมาจากจิตใจ และความเปลี่ยน แปลง ในบูรณาการของบุคลิกภาพ (Dynamic Intergration) นอกจากนี้อุปนิสัยต้นตอยังเป็นผลของพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมผสมกัน ซึ่งอาจเรียกอุปนิสัยต้นตอว่าเป็นอุปนิสัยแม่บท (Constitutution Traits) ได้
  • อุปนิสัยต้นตอ ( Source Traits ) แบ่งออกเป็น 3 แบบตามการแสดงออกคือ
    อุปนิสัยแรงขับ (Dynamic Traits)
    ได้แก่ อุปนิสัยที่เกี่ยวข้องกับ แรงจูงใจ และความสนใจของบุคคลเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายใดๆ ก็ตาม
    อุปนิสัยเกี่ยวกับความสามารถ (Ability Traits) ได้แก่ อุปนิสัยที่เป็นตัวกำหนด ความสามารถ ของบุคคลให้ทำงานไปสู่จุดมุ่งหมาย และอุปนิสัยทางลักษณะอารมณ์ (Temperament Traits) ได้แก่ อุปนิสัยที่เป็นตัวกำหนดความสามารถของบุคคล ให้ทำงานไปสู่จุดมุ่งหมาย และอุปนิสัยทางอารมณ์ (Temperament Traits) ได้แก่ อุปนิสัยที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทาง ด้านโครงสร้าง เป็นความเร็วของพลัง เป็นต้น ในการแสดงออกของพฤติกรรมใดๆ ก็ตาม อาจเกิดจากอุปนิสัยทั้ง 3 แบบร่วมกัน แต่ทั้งนี้อุปนิสัยแรงขับ จะมีความสำคัญ มากกว่าอุปนิสัยเกี่ยวกับความสามารถ และอุปนิสัยทางอารมณ์ เพราะอุปนิสัยแรงขับสามารถยืดหยุ่น และอาจเป็นตัวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ส่วนใหญ่ได้

2. หน่วยพลัง (Ergs) เป็นอุปนิสัยต้นตอ หรือแรงขับดันที่มีมาแต่กำเนิดทั้งในกาย และในจิตใจ ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนอง ทั้งโดยจงใจ หรือเอาใจใส่ต่อวัตถุใดวัตถุหนึ่งมากกว่าวัตถุประเภทอื่น และแสดงประสบการณ์เฉพาะของอารมณ์ต่อวัตถุประเภทนั้น ๆ เป็นจุดเริ่มต้นของการกระทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อไปให้ถึงจุดมุ่งหมายของกิจกรรมนั้น ๆ ของตนมากกว่ากิจกรรมประเภทอื่นๆ แคทเทล ได้กำหนดคำนิยามของคำว่า หน่วยพลัง มีหน้าที่ 4 อย่าง คือ การตอบสนองการรับรู้ (Perceptual Response) การตอบสนองทางอารมณ์ (Emotional Response) การกระทำที่นำไปสู่จุดมุ่งหมาย (Instrumental Acts Leading to the Goal) และจุดมุ่งหมายที่ทำให้ได้รับความพอใจ (The Goal Satisfaction Itself) ถ้ารวมหน่วยพลัง 4 หมวดเข้าด้วยกัน คำนิยามจะประกอบไปด้วย การคิด (Cognition) ความรู้สึก (Affection) และความมุ่งมั่น (Conation) ซึ่งเหมือนกับคำว่าสัญชาตญาณ (Instinct) ตามทฤษฎีของแมคดูกัล (McDougall's Theory) และแคทเทล ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของหน่วยพลังกับกระบวนการทางชีววิทยาของมนุษย์พร้อมทั้งเสนอว่า หน่วยพลังที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิดมี 10 หน่วยพลัง คือ พลังเพศ (Sex) การยืนยันสิทธิของตน (Self Assertion) การหนี ความกลัว ความวิตกกังวล (Escape, Fear, Anxiety) การป้องกัน พฤติกรรมการปกป้องของพ่อแม่ (Protection Parental Behavior) การเข้าร่วมกลุ่ม (Gregariousness) ความต้องการผักผ่อน (Rest – Seeking) การสำรวจ (Exploration) การหลงรักตนเอง (Narcistic Sex) การขอร้อง (Appeal) การก่อสร้าง (Construction)

3. เมตะเอิร์ก(Metaergs) เป็นอุปนิสัยต้นตอที่เกี่ยวกับแรงขับ ซึ่งได้รับการขัดเกลาจากสิ่งแวดล้อม และปรากฏในพัฒนาการ เมตะเอิร์กต่างจาก หน่วยพลังคือหน่วยพลังมีมาแต่กำเนิดแต่เมตะเอิร์กเกิดขึ้นภายหลัง และพัฒนามาจากแรงจูงใจ ได้แก่ เจตคติ (Attitude) ความสนใจ (Interest) และ ความอ่อนไหวทางอารมณ์ (Sentiment)
ความอ่อนไหวทางอารมณ์มีความสำคัญที่สุดในเมตะเอิร์ก ความอ่อนไหวทางอารมณ์ก็คือ โครงสร้างของอุปนิสัยที่เกี่ยวกับแรงขับซึ่งเกิดจากสิ่งแวดล้อม ทำให้บุคคลมีความเอาใจใส่ต่อวัตถุบางอย่าง ตลอดจนรู้สึก และสามารถตอบสนองได้ในสถานการณ์เฉพาะความอ่อนไหวทางอารมณ์จะมีความมั่นคง และถาวรกว่าเจตคติ และความสนใจ เพราะความอ่อนไหวทางอารมณ์ปรากฏอยู่ในช่วงพัฒนาการตอนต้นมากกว่าวัยอื่นๆ เจตคติ ความสนใจ และความอ่อนไหวทางอารมณ์จะไม่แยกออกจากกัน และมีการทำงานเกื้อกูลกันสำหรับความอ่อนไหวทางอารมณ์ที่สำคัญ ได้แก่ ความสนใจในอาชีพ ความสนใจในกีฬา และเกมต่าง ๆ ความสนใจ เพราะความอ่อนไหวทางอารมณ์ปรากฏอยู่ในช่วงพัฒนาการตอนต้นมากกว่าวัยอื่นๆ เจตคติ ความสนใจ และความอ่อนไหวทางอารมณ์จะไม่แยกออกจากกัน และมีการทำงานเกื้อกูลกัน สำหรับความอ่อนไหวทางอารมณ์ที่สำคัญ ได้แก่ ความสนใจในอาชีพ ความสนใจในกีฬา และเกมต่างๆ ความสนใจในเรื่องศาสนา ความสนใจทางด้านเครื่องจักรกล ความรักชาติ โครงสร้างของหน่วยพลังย่อย และอารมณ์ความรู้สึกต่อตนเอง

4. สังกัปอุดหนุน (Subsidiation) ถ้าเราศึกษาอุปนิสัยที่สัมพันธ์กับจำนวนหนึ่ง เราจะพบว่ามีเป้าหมายสุดท้ายซึ่งบุคคล สามารถจะไปได้โดย การผ่านเป้าหมายย่อยๆ ไปเป็นลำดับ หรืออาจเรียกว่าเป้าหมายย่อยเหล่านั้นเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่เป้าหมายสุดท้าย อุปนิสัยที่ทำให้บุคคลบรรลุเป้าหมายแรก ได้แก่ อุปนิสัยทั้งหลายที่จะมาอุดหนุนอุปนิสัยที่ทำให้บรรลุเป้าหมายสุดท้าย หรือใกล้เคียงกับเป้าหมายสุดท้าย การแบ่งระหว่างหน่วยพลัง ความอ่อนไหวทางอารมณ์ เจตคติ และความสนใจนั้นถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายก็คือลูกโซ่ของการอุดหนุน (Subsidiation Chain)ทั้งหมดเป็นอุปนิสัยที่เกี่ยวกับแรงขับ โดยความสนใจเป็นสิ่งที่อุดหนุนเจตคติ ( Subsidiary to Attitude) รวมทั้งเป็นสิ่งอุดหนุน ความอ่อนไหว ทางอารมณ์ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่อุดหนุนหน่วยพลัง (Subsidiary to Eggs) ด้วย และตามปกติแล้วปฏิกิริยาซึ่งกัน และกันระหว่างอุปนิสัย ที่เกี่ยวกับแรงขับ มีความซับซ้อนมากการตรวจสอบการกระทำใดๆ จะแสดงให้เห็นเป็นลูกโซ่ของการอุดหนุนที่เชื่อมโยงหน่วยพลังแต่ละอย่าง และความอ่อนไหวทางอารมณ์ และเจตคติไว้

5. ตัวตน(The Self) เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนไหวทางอารมณ์ ตัวตนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเจตคติเกือบทั้งหมดจะสะท้อนให้เห็นตัวตนนั่นเอง ตัวตนจะเกี่ยวข้องกับการแสดงออกของหน่วยพลัง หรือความอ่อนไหวทางอารมณ์อื่นๆ ตัวตนมีบทบาทในการบูรณาการบุคลิกภาพ และตัวตนนี้ยังเกี่ยวข้องกับหน่วยพลังที่เกี่ยวกับคุณธรรม (Superego) และตัวตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ซึ่งทั้งสองนี้ได้มาจากอิทธิพลทางสังคม นอกจากนี้ตัวตนยังมีอิทธิพลควบคุมอุปนิสัยที่เกี่ยวกับแรงขับให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เรียกว่า ตัวตนทางโครงสร้าง (Structural Self) หรือตัวตนที่เกิดจากแรงขับ (Drive Self) หรือเกิดความอ่อนไหวทางอารมณ์ของหน่วยพลัง (Ego Sentiment) การทำงานของอุปนิสัยที่เกี่ยวกับแรงขับอันใดก็ตาม จะแสดงตัวออกมานั้นจะต้องขึ้นอยู่กับว่าอุปนิสัยนั้นเหมาะสมกับตัวบุคคล หรือไม่ ถ้าอุปนิสัยนั้นๆ ไม่สามารถเข้ากับตัวตนได้ก็จะทำให้เกิดลักษณะอาการโรคจิต โรคประสาทในบุคคลได้

โครงสร้างของตัวตน

โครงสร้างของตัวตนแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ ตัวตนตามอุดมคติ ( Idea Self ) กับตัวตนตามความเป็นจริง (Real Self) ทั้งสองอย่างนี้ขึ้นอยู่กับ การสังเกตตน ด้วยตนเองตามความเป็นจริงคือ ตัวตนที่เขายอมรับว่าเขาเป็นในขณะที่เขาพิจารณาอย่างมีเหตุผล ส่วนตัวตนตามอุดมคติก็คือ ตัวตนอย่าง ที่เขาต้องการจะเป็น ในการเริ่มต้นพัฒนาการของตัวตนตามความเป็นจริง จะเป็นภาพสะท้อนที่ไม่สมบูรณ์ของตัวตนตามอุดมคติ และเมื่อระยะเวลาผ่านไป พัฒนาการของบุคคลเป็นไปตามปกติ การบูรณาการบุคลิกภาพต่างๆ อาจนำไปสู่การเป็นตัวตนซึ่งทั้งตัวตนตามอุดมคติ และตัวตนตามความเป็นจริง จะมีความอ่อนไหวทางอารมณ์ของตัวตน(Self Sentiment) เป็นตัวกำหนด

การพัฒนาบุคลิกภาพ (The Development of Personality)

การศึกษาพัฒนาการบุคลิกภาพของแคทเทล เราต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพันธุกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญใน การกำหนดบุคลิกภาพ และ พัฒนาการบุคลิกภาพประกอบด้วยการปรับปรุงหน่วยพลังกับเมตะเอิร์ก และการจัดระบบตัวตนทางโครงสร้าง ซึ่งการที่บุคคลจะมีพัฒนาการได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาความสามารถในการทำหน้าที่ของ สติปัญญา ความพร้อมในการแข็งขัน และ ความเข้มของความจำ (Strength of Memory)

การเรียนรู้ (Learning)

แคทเทล จำแนกการเรียนรู้ออกเป็น 3 ประเภท และการเรียนรู้ทั้ง 3 ประเภท คือ

1. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Familiar Classical) มีความสำคัญต่อการตอบสนองทางจิตใจ และเงื่อนไขของสิ่งแวดล้อม
2. การวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (Instrumental Conditioning) เป็นการตอบสนองเพื่อการนำไปสู่เป้าหมายต่างๆ ให้เกิดความพึงพอใจ และการเรียนรู้ชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับตารางการเคลื่อนไหว (Dynamic Lattice) แคทเทล เรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า การเรียนรู้จากการมาพบกัน (Confluence Learning) พฤติกรรม หรือเจตคติที่แสดงออกมานั้นจะแสดงความพึงพอใจมากกว่าเป้าหมาย ดังนั้นเจตคติหนึ่งจึงเกี่ยวข้องกับความอ่อนไหวทางอารมณ์หลายอย่าง และความอ่อนไหวทางอารมณ์ก็จะเกี่ยวข้องกับหน่วยพลังหลายๆ หน่วย และอาจเห็นได้จากโครงสร้างของตารางการเคลื่อนไหว
3. การเรียนรู้แบบบูรณาการ (integration Learning) การเรียนรู้แบบนี้บุคคลจะสร้างความพึงพอใจในระยะยาว และแสดงออกโดยหน่วยพลังทั้งหลาย

กฎการเรียนรู้ของแคทเทล มี 2 ข้อคือ
ทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 1 (The First Dynamic Crossroad ) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพยายามขั้นแรกที่จะสนองความพึงพอใจของหน่วยพลังอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดผลตามมา 4 ประการคือ
1. บุคคลได้รับการตอบสนองความปรารถนา ซึ่งเกิดจากผลของพฤติกรรมที่มีรูปแบบติดตัวมาแต่กำเนิด
2. บุคคลไม่สามารถสมปรารถนาได้ เพราะไม่สามารถใช้การตอบสนองทางด้านการเคลื่อนไหว และการรับรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อพบสภาพสิ่งแวดล้อมที่จำกัด
3. รูปแบบของพลังอาจจะได้รับการปรับปรุง หรือถูกแทนที่โดยหน่วยพลังอื่นที่เข้ามาสนับสนุนหน่วยพลังอันแรก
4. บุคคลไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายได้ทั้งนี้ เพราะมีอุปสรรคขัดขวาง ถึงแม้ว่าทางไปสู่เป้าหมายนั้นจะเหมาะสมกับบุคคลนั้น และสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจนก็ตาม
แคทเทลถือว่าปฏิกิริยาของข้อสองเป็นการตอบสนองที่กระจัดกระจาย (Response Dispersion) ในกรณีนี้บุคคลไม่ทราบว่าจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ หรือพฤติกรรมอย่างไรจึงจะสามารถลดความเครียดซึ่งเกิดจากหน่วยพลังนั้น ด้วยเหตุนี้บุคคลไม่อาจทราบว่า จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ที่เปลี่ยนแปลงไป ได้หลายรูปแบบ และไม่อาจจะแยกแยะความแตกต่าง ในทางตรงกันข้ามบุคคลที่ประสบอุปสรรคในข้อสี่จะรู้สึกโกรธ และหาแนวทางตอบสนอง ด้วยความก้าวร้าว แคทเทลเชื่อว่า จากทางเลือก หรือการต่อสู้ทั้งสี่ข้อนี้สามารถแสดงให้เห็นความสำคัญของ การมาพบกัน (Confluence) หรือพัฒนาการ ของการตอบสนองความอ่อนไหว ทางอารมณ์ที่ช่วยให้บุคคลได้รับความพึงพอใจในหน่วยพลังตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป พร้อมกับการ ตอบสนองที่กระจัดกระจาย และมีความสัมพันธ์กับกฎของแรงขับซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการการสร้างรูปแบบพฤติกรรมใหม่
ทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 2 (The Second Crossroad) จากทางเลือกข้อสี่ เมื่อการตอบสนองของหน่วยพลังพบอุปสรรค บุคคลจะมีแนวทางเลือกหลาย ๆ แนว เช่น เพิ่มกิจกรรมบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจ ระบายอารมณ์โกรธเพื่อเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ใช้ความโกรธในรูปการทำร้ายตนเอง จนเป็นคนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา หรืออุปสรรคต่างๆ
ทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 3 (The Third Dynamic Crossroad) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแบบการตอบสนองต่ออุปสรรคด้วยความโกรธ แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ ทำให้บุคคลเลือกที่จะทำการตอบสนองใน 4 ลักษณะด้วยกันคือ หมดหวัง หรือยกเลิก กลัว หรือหนี แสดงความก้าวร้าว และใช้วิธีการจินตนาการถ้าบุคคลเลือกตอบสนองจากข้อสอง และข้อสามในไม่ช้าบุคคลจะถอยหนีจากสถานการณ์นั้น หรืออาจมีพลังความสามารถ เอาชนะอุปสรรค จนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย หรืออาจยกเลิกความพยายามโดย การปฏิเสธสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความต้องการนั้นๆ เสีย
ทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 4 (The Fourth Dynamic Crossroad) เป็นการล้มเลิกหน่วยพลัง โดยที่บุคคลเปลี่ยนแปลงการปรับตัว จากลักษณะภายนอก เข้าสู่การปรับตัวภายในโดยการปฏิเสธ หรือล้มเลิกพลังความต้องการ ความวิตกกังวลมีบทบาทที่สำคัญที่สุด ในการที่จะต้องละทิ้งแนวโน้มของ หน่วยพลังนั้นๆ บุคคลมีทางเลือก 4 อย่างด้วยกัน คือ

1. เก็บกดพลังไว้ คือ การปฏิเสธด้วยความสมัครใจ และต่อต้านที่จะแสดงปฏิกิริยาที่เป็นไปตามความต้องการ
2. พยายามเก็บกดแต่เป็นขบวนการที่บุคคลไม่พอใจ ในกรณีนี้บุคคลจะต่อต้าน และขับไล่สิ่งที่ไม่ต้องการออกไปจากจิตสำนึก
3. เปลี่ยนความต้องการโดยการสร้างกลวิธานป้องกันตัวชนิดทดเทิด (Sublimate) โดยหาจุดมุ่งหมายที่สังคมยอมรับมาทดแทนอย่างรู้ตัว และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร
4. บุคคลอาจจะกลับไปใช้พฤติกรรมที่ไม่ได้ปรับปรุงซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือมิฉะนั้นก็พาลเกเร หรือหาจุดมุ่งหมายอื่นๆ ที่มีลักษณะต่อต้านสังคม
ทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 5 (The Fifth Crossroad) ในการเก็บกดความต้องการทำให้บุคคลเกิดการตอบสนอง 4 ลักษณะคือ
1. เพ้อฝันอย่างไม่รู้ตัว และบางครั้งก็รู้ตัว
2. เก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก
3. เก็บกดอย่างมั่นคงซึ่งหน่วยพลังจะแสดงออกมาทางอ้อม และมีผลต่อพฤติกรรมของ บุคคลในระยะต่อมา
4. บุคคลอาจใช้การทดเกิดอย่างไม่รู้ตัว
ทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 6 (The Sixth Crossroad) เป็นลักษณะการเก็บกดที่ไม่มั่นคง และไม่ได้ผลเต็มที่ บุคคลจึงเพิ่มกลวิธานป้องกันอย่างใดอย่างหนึ่งใน 10 อย่าง ซึ่งเป็นแนวเดียวกับจิตวิเคราะห์ กลวิธานป้องกันตัว 10 อย่าง มีดังนี้ คือ

การจินตนาการ (Fantasy) การทำปฏิกิริยาตรงกันข้าม (Reaction Formation) การโยนความผิดให้ผู้อื่น (Projection) การหาเหตุผลมาอ้าง (Rationalization) การเก็บกด (Repression) การเก็บกดมากยิ่งขึ้น (Further Repression) การควบคุมหน่วยพลังย่อย (Restriction of Ego) การถดถอย (Regression) การย้ายแหล่งทดแทน (Displacement) การย้ายแหล่งทดแทนโดยการสร้างอาการของโรคต่างๆ (Displacement with Symption Formation) แคทเทลถือว่า กลวิธานในการป้องกันตนเองป้องกัน 3 ประการหลัง Id เป็นตัวหนุนกำลังที่สำคัญ
บุคลิกภาพในสังคมระดับกลุ่ม (The Social Context) แคทเทลได้พยายามเน้นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรม และสังคมที่มีต่อพฤติกรรม และบุคลิกภาพของบุคคลไว้ว่า สถาบันทางสังคม ที่กล่อมเกลา หรือมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพมีหลายสถาบันแต่ที่สำคัญที่สุดคือ ครอบครัว และทีสำคัญรองลงมาคือ สถาบันการศึกษา สถาบันอาชีพ กลุ่มที่บุคคลเป็นสมาชิก ศาสนา พรรคการเมือง และประเทศชาติ สถาบันเหล่านี้อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลได้ดังนี้
1. สถาบันที่จงใจจะทำให้เกิดบุคลิกภาพชนิดใดชนิดหนึ่งหมายถึง ลักษณะบุคลิกภาพที่ สังคมนั้นต้องการ อาจรวมอุปนิสัย และบุคลิกภาพเฉพาะ โดยทีสถาบันนั้นจงใจผลิตลักษณะที่ต้องการขึ้น
2. องค์ประกอบทางด้านนิเวศวิทยา หรือสถานการณ์ อาจส่งผลให้เกิดบุคลิกภาพซึ่ง สถาบันในสังคมไม่ได้จงใจ
3. เมื่อเกิดรูปแบบของพฤติกรรมอันเป็นผลของขบวนการข้อใดข้อหนึ่งในสองข้อข้างต้น แต่ละบุคคลอาจพบว่าจำเป็นต้อง ปรับปรุงแก้ไข บุคลิกภาพของเขาเพื่อการพัฒนาตนต่อไป
ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการบุคลิกภาพให้ดีพอ จึงมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงความสำคัญของสถาบันทางสังคมต่างๆ ที่ส่งผลถึงบุคลิกภาพตั้งแต่สถาบันครอบครัวไปจนถึงสถาบันระดับประเทศชาติด้วย

องค์ประกอบบุคลิกภาพ

บุคลิกภาพของ Cattell เป็นลักษณะรวมทั้งหมดของบุคคลซึ่งประกอบไปด้วยร่างกาย และจิตใจ แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้ง จากภายใน และภายนอก โดยมีการบูรณาการจากลักษณะต่างๆ ของพฤติกรรมครอบคลุมไปถึงสภาพทางด้านอารมณ์ ความสามารถ ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม และสติปัญญาของบุคคล บุคลิกภาพตามทฤษฎีนี้ ประกอบไปด้วยบุคลิกภาพที่มีองค์ประกอบ 16 ด้าน โดยเรียกว่า The Sixteen Personality ได้แก่ ฮอล์ และ ลินด์เซย์ (1970 : 390)

1. องค์ประกอบ A ชอบออกสังคม – สำรวม
2. องค์ประกอบ B สติปัญญา
3. องค์ประกอบ C อารมณ์มั่นคง – อารมณ์อ่อนไหว
4. องค์ประกอบ E เป็นอิสระแก่ตน –ถ่อมตน
5. องค์ประกอบ F ทำตนตามสบาย – ถี่ถ้วนระมัดระวัง
6. องค์ประกอบ G ซื่อตรงต่อหน้าที่ – ไม่ทำตามกฎ
7. องค์ประกอบ H กล้าสังคม – ขี้อาย
8. องค์ประกอบ I จิตใจอ่อนแอ – จิตใจมั่นคง
9. องค์ประกอบ L ระแวง – ไว้วางใจ
10. องค์ประกอบ M เพ้อฝัน – ทำตามความจริง
11. องค์ประกอบ N มีเหลี่ยม – ตรงไปตรงมา
12. องค์ประกอบ O หวาดกลัว – ประสาทมั่นคง
13. องค์ประกอบ Q1 นักทดลอง – นักอนุรักษ์
14. องค์ประกอบ Q2 อาศัยตนเอง – อาศัยกลุ่ม
15. องค์ประกอบ Q3 ควบคุมตนเองได้ – ขาดวินัยในตนเอง
16. องค์ประกอบ Q4 เคร่งเครียด – ผ่อนคลาย

องค์ประกอบทั้ง 16 ด้านมีรายละเอียด The Sixteen Personality Factor Questionnaire มีรายละเอียดดังนี้

องค์ประกอบ A คือชอบออกสังคม (Outgoing) – สำรวม (Reserved) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (A+) เป็นบุคคลที่ชอบเข้าสังคม มีความรู้สึกอบอุ่น และเป็นกันเองกับผู้อื่น มีน้ำใจดี ให้ความร่วมมือดี มีความสามารถในการปรับตัว มีความเมตตา กรุณา ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (A-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะสำรวม เฉยเมย ชาเย็น ใจแข็ง ไม่นิยมการประนีประนอม ชอบปลีกตัว หรือชอบอยู่คนเดียว และชอบใช้สติปัญญาในการไตร่ตรองอย่างพินิจพิเคราะห์
องค์ประกอบ B คือสติปัญญา (Intelligent) ผู้ที่ได้คะแนนสูง (B+) เป็นผู้ที่มีสติปัญญาสูง (More Intelligent) มีความสามารถในการคิดเชิงนามธรรมเฉลียวฉลาด มีความเพียรในการศึกษาหาความรู้ และเป็นผู้มีวัฒนธรรม ผู้ที่ได้คะแนนต่ำ (B-) เป็นผู้ที่มีสติปัญญาไม่เฉลียวฉลาดนัก (less Intelligent) มักจะใช้ความคิดในเชิงรูปธรรมมากกว่านามธรรม ทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ได้ช้า ขาดความมั่นคงในตนเอง และขาดความจริงจัง
องค์ประกอบ C คือ อารมณ์มั่นคง (Stable) – อารมณ์อ่อนไหว (Emotional) ผู้ที่ได้คะแนนสูง (C+) เป็นบุคคลที่มีอารมณ์มั่นคง มองชีวิตตามความเป็นจริง และเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ไม่มีอาการเหนื่อยหน่ายทางประสาท จิตใจสงบ ผู้ที่ได้คะแนนต่ำ (C-) เป็นบุคคลที่มีอารมณ์อ่อนไหว ไม่มีความอดทนต่อสถานการณ์ยุ่งยาก เจตคติเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีอาการเหนื่อยหน่ายทางประสาท หงุดหงิด โกรธง่าย และมีความวิตกกังวลเสมอ
องค์ประกอบ E เป็นอิสระแก่ตน (Assertive) – ถ่อมตน (Humble) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (E+) เป็นบุคคลที่มีความมั่นใจในตนเอง ถือตนเองเป็นใหญ่ มีความก้าวร้าว ชอบมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ผู้ที่ได้คะแนนต่ำ (E-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะถ่อมตน มักจะยอมผู้อื่น ใจดี มีลักษณะความเป็นมิตร และพร้อมที่จะประพฤติตามแบบแผน
องค์ประกอบ F คือทำตนตามสบาย (Happy-go-lucky) – ถี่ถ้วนระมัดระวัง (Sober) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (F+) เป็นบุคคลที่มีลักษณะตามสบาย ว่องไว ช่างคุย ร่าเริง แจ่มใส เปิดเผย และความกระตือรือร้น ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (F-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะถี่ถ้วนระมัดระวัง ไตร่ตรอง จริงจัง ครุ่นคิด ไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น และไม่ช่างคุย
องค์ประกอบ G คือซื่อตรงต่อหน้าที่ (Conscientious) – ไม่ทำตามกฎ (Expedient) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (G+) เป็นบุคคลที่ซื่อตรงต่อหน้าที่มีธรรมะ มีความพากเพียร มีความตั้งใจแน่วแน่ มีความรับผิดชอบ ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (G-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะไม่มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ไม่ตั้งใจเรียน ขาดความพยายาม ละเลยต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติขาดความอดทน
องค์ประกอบ H คือ กล้าสังคม (Venturesome) – ขี้อาย (Shy) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (H+) เป็นบุคคลที่มีลักษณะกล้าหาญ กล้าเสี่ยง ชอบเข้าสังคม ร่าเริงชอบผจญภัย ชอบทดลองของใหม่ และชอบเป็นมิตรกับคนอื่น ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่า (H-) เป็นบุคคลที่ขี้อาย มักมีความรู้สึกด้อย พูด และแสดงออกช้า ไม่ชอบอาชีพที่ต้องติดต่อกับบุคคลอื่น ไม่ชอบสนิทสนมกับใคร ความสนใจแคบ และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเพศตรงข้าม
องค์ประกอบ I คือจิตใจอ่อนแอ (Tender-minded) – จิตใจมั่นคง (Tough-minded) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (I+) เป็นบุคคลที่มีจิตใจอ่อนไหว เอาใจยากต้องการความช่วยเหลือ และความเห็นใจจากผู้อื่น ชอบพึ่งพาผู้อื่น และมีความวิตกกังวล ผู้ที่ได้คะแนนต่ำ (I-) เป็นบุคคลที่มีจิตใจมั่นคง จริงจังต่อชีวิต มีความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งที่เห็นว่าเป็นไปได้ และเป็นจริง
องค์ประกอบ L คือระแวง (Suspicious) – ไว้วางใจ (Trusting) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (L+) เป็นบุคคลที่มีลักษณะไม่ไว้วางใจใคร ยึดถือแต่ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ สนใจแต่ตัวเอง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (L-) เป็นบุคคลที่สามารถไว้วางใจบุคคลอื่น ร่าเริง ไม่ชอบการแข่งขัน สามารถเข้ากับคนอื่นได้ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
องค์ประกอบ M คือเพ้อฝัน (Imaginative) – ทำตามความจริง (Practical) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (M+) มักเป็นบุคคลที่ช่างฝัน มีแรงจูงใจในตนเอง ไม่สนใจสิ่งที่จะปฏิบัติได้จริง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (M-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะลงมือปฏิบัติได้ตามความเป็นจริง เจ้าระเบียบ มีความกระตือรือร้น มีความตั้งใจจริง สนใจในสิ่งเป็นไปได้ และสามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ใช้อารมณ์
องค์ประกอบ N คือมีเหลี่ยม (Shrewd) – ตรงไปตรงมา (Forthright) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (N+) เป็นบุคคลที่ฉลาดแหลมคม หรือฉลาดแบบมีเล่ห์เหลี่ยม ช่างวิเคราะห์ มีความทะเยอทะยาน ผู้ที่ทำได้คะแนนต่ำ (N-) มักเป็นบุคคลที่มีลักษณะเปิดเผยจริงจัง ไม่มีเหลี่ยม ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีรสนิยมง่ายๆ ขาดทักษะการเข้าใจตนเอง
องค์ประกอบ O คือหวาดกลัว (Apprehensive) – ประสาทมั่นคง (Placid) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (O+) มักเป็นบุคคลที่มีความหวาดกลัว มีความวิตกกังวลสูง ตกใจง่าย อารมณ์เสียง่าย มักมีอารมณ์เศร้าหมอง หงอยเหงา และขาดความรู้สึกปลอดภัย ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (O-) เป็นบุคคลที่มีประสาทมั่นคง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และเชื่อความสามารถของตนเองในการทำงาน
องค์ประกอบ Q คือนักทดลอง (Experiment ion) – นักอนุรักษ์ (Conservative) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (Q1+) มักเป็นบุคคลที่สนใจทางด้านการทดลองเป็นนักวิเคราะห์ สนใจเรื่องการใช้สติปัญญา และการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (Q2-) เป็นบุคคลที่มีแนวคิดติดไปทางด้านอนุรักษ์ หัวเก่า เชื่อมั่นในสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง และการอบรมสั่งสอน ต่อต้าน และพยายามประวิงเวลาการเปลี่ยนแปลง ไม่สนใจการวิเคราะห์
องค์ประกอบ Q2 คืออาศัยตนเอง (Self-sufficient) – อาศัยกลุ่ม (Group-dependency) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (Q2+) เป็นบุคคลที่พึ่งตนเอง เคยชินกับการทำงานตามวิธีการของตน ไม่สนใจความคิดเห็นของสังคม มีความพึงพอใจในตนเอง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (Q2-) มักเป็นบุคคลที่ชอบทำงาน หรือตัดสินใจร่วมกับผู้อื่น เป็นผู้ร่วมงาน และผู้ตามที่ดี ต้องการการสนับสนุนจากหมู่คณะ
องค์ประกอบ Q3 คือควบคุมตนเองได้ (Controlled) – ขาดวินัยในตนเอง (Undiscipline Self-conflict) ผู้ทีทำคะแนนได้สูง (Q3+) มักเป็นบุคคลที่ควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเองได้ดี สนใจ และเอาใจใส่ต่อสังคม มีความตั้งใจจริง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่า (Q3-) เป็นบุคคลที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ขาดวินัย มักมีความขัดแย้งในตัวเอง ปรับตัวยาก
องค์ประกอบ Q4 คือเคร่งเครียด (Tense) – ผ่อนคลาย (Relaxed) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (Q4+) มักเป็นบุคคลที่มีความเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย และหงุดหงิด มีความคับข้องใจสูง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (Q4-) เป็นบุคคลที่ ไม่เคร่งเครียด อารมณ์เย็น รักสงบ แสดงพฤติกรรมตามความพอใจ ไม่มีความคับข้องใจ พอในสถานการณ์ที่เป็นอยู่

พัฒนาการของบุคลิกภาพ (The Development of Personality)

Cattell ได้พิจารณากระบวนการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างกว้างขวางทั้งการพิจารณาพัฒนาการของโครงสร้างของบุคลิกภาพ และ การพิจารณาพัฒนาการของพฤติกรรมในระดับอายุต่างๆ ซึ่งความคิดในเรื่องพัฒนาการเหล่านี้เขาได้นำความสำคัญมาจาก แนวคิดในทฤษฎีของจิตวิเคราะห์ และทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาอ้างอิงแต่ก็ได้เพิ่มเติมความคิดต่างๆ ของเขาลงไปในการสังเคราะห์ด้วย การพัฒนาบุคลิกภาพในทัศนะของเขาคือ การปรับปรุงพลัง (ergs) พลังเสริม (metaergs) และ การจัดระบบโครงสร้างของตน (self)
กระบวนการพัฒนาการบุคลิกภาพ มีองค์ประกอบต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของบุคลิกภาพดังต่อไปนี้
1. อิทธิพลทางสรีรวิทยาของแม่ที่มีต่อทารกในครรภ์ (Physiological influence of the mother)
2. บทบาทของการเรียนรู้ (Role of learning)ของบุคคล
3. หลักการของการเรียนรู้ (Principle of learning)
4. อิทธิพลของสังคม (Social context) ดังจะอธิบายโดยละเอียดคือ
ขั้นพัฒนาการของบุคลิกภาพ (Stages of Personality Development) Cattell ได้แบ่งชั้นพัฒนาการนับตั้งแต่คลอดจนถึงวัยชรา ดังนี้
1. ระยะเกิด – 5 ขวบ ในระยะนี้ Cattell ยอมรับอย่างยิ่งในความคิดเห็นของ Freud ว่าระยะนี้ถูกกำหนดโดยความคิดขัดแย้งต่างๆ (conflicts) และเป็นระยะสำคัญในพัฒนาการของบุคลิกภาพ
2. ระยะ 6 – 13 ปี เป็นระยะเปลี่ยนความซื่อสัตย์ภักดีจากพ่อแม่ไปสู่กลุ่มเพื่อน Cattell มองระยะนี้ว่าเป็นระยะปราศจากความกังวลใจ เด็กแผ่ขยายความรักจากพ่อแม่ และรักตนเองไปสู่บุคคลอื่น เป็นช่วงที่ ego รวบรวมความมั่นคงแข็งแรง
3. วัยรุ่น เริ่มตั้งแต่อายุ 14 ปี จนถึงอายุ 24 ปี นับว่า Cattell ได้พิจารณาช่วงนี้ยาวนานกว่านักจิตวิทยาคนอื่นๆ ระหว่างวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างรวดเร็วทั้งในเด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิง ความไม่มั่นคงทางอารมณ์เพิ่มขึ้น มีความไม่คล่องตัวทางสังคม มีความสนใจในเรื่องเพศ มีความขัดแย้ง (conflict) ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเขา
สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกิดความขัดแย้ง (Conflicts) มีดังนี้
1. ความต้องการอิสระจากแม่
2. ความต้องการสถานภาพในอาชีพ การเตรียมตัวสำหรับการประกอบอาชีพ และการประสบความสำเร็จในรายได้ที่จะเลี้ยงตัวเอง
3. การไม่ได้รับความพึงพอใจที่จะทำให้เกิดความประทับใจแก่เพศตรงข้าม
4. การไม่ได้รับความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ
สาเหตุทั้ง 4 ประการนี้ ถ้าวัยรุ่นสามารถผ่านพ้นได้ก็จะทำให้เกิดบูรณาการ และเกิดความพึง
พอใจในมโนภาพตน (self concept) และพัฒนาบุคลิกภาพเข้าสู่วัยต่อไปได้ตามวุฒิภาวะ