โรคหอบหืด Asthma
- Tab 1
- Tab 2
- Tab 3
- Tab 4
- Tab 5
โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีภาวะปฏิกิริยามากเกิน (hyperreactivity) ของทางหายใจ ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก ความผิดปกติในกลไกทางอิมมูโนวิทยา การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่ยนแปลงหรือความไม่สมดุลย์ของระบบประสาท และสารเคมีในเลือด(neurohumoral system) ยังไม่มีกลไกใดกลไกหนึ่งสามารถอธิบายการเกิดโรคหืดได้ในทุกคน หรืออาจแบ่งเป็นส่วนใหญ่ได้ 2 กลไกด้วยกัน คือ
1. กลไกทางอิมมูโนวิทยา (Immunologic Mechanism)
2. กลไกที่ไม่ใช่ทางอิมมูโนวิทยา (Non-Immunologic Mechanism)
พยาธิสภาพ
การศึกษาที่ได้จากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต
ส่วนใหญ่พบมีการบวมหนาของชั้นเยื่อบุและชั้นใต้เยื่อบุหลอดลม หลอดลมฝอย(bronchiole) มีอีโอสิโนฟิลแทรกซึมกระจายอยู่ทั่วไป เบสเมนต์ เมมเบรนหนาเห็นเด่นชัด กล้ามเนื้อรอบหลอดลมหนาใหญ่ขึ้น ปอดขยายพองโป่งคั่งอยู่ด้วยลม ภายในหลอดลมอุดตันด้วยเสมหะข้น เหนียวอาจมี atelectasis เยื่อบุผิวที่บุหลอดลมอาจบวมหนามากและม้วนตัวเป็นก้อนใหญ่ เสมหะ ที่อยู่ในหลอดลมจะพบติดต่อกันไปกับเมือกที่หลั่งออกมาจากต่อมขับเมือกผสมรวมไปกับอีโอสิโนฟิล, นิวโทรฟิล อาจพบ Chacot-Leyden crystal (ซึ่งเป็น degenerative crystaloids ของอีโอสิโนฟิล) Curschmann’s spiral (ซึ่งเป็นแท่งเสมหะซึ่งบิดตัวเป็นเกลียวม้วนคล้ายขดลวดสปริงจากการไอที่รุนแรงเพื่อให้หลุดออกมาจากหลอดลมเล็กๆ) และ creola body (ซึ่งเป็นเซลล์บุผิวที่หลุดออกมาแล้วจับตัวรวมกันเป็นก้อน)
การขยายใหญ่โตขึ้นของต่อมขับเมือกที่ชั้นใต้เยื่อบุ ไม่มากเท่าในโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง แต่จะเห็น globlet cell มีจำนวนมากขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะที่หลอดลมเล็กๆ พบมี mast cell จำนวนน้อย เข้าใจว่าเกิดจากการมี degranulation ทำให้เห็นได้ยากมากกว่า
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปอดในโรคหอบหืด
ลักษณะสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงก็คือ การหดแคบเล็กลงของรูหลอดลม ซึ่งอาจเกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อเรียบรอบหลอดลม การบวมของเยื่อบุหลอดลม เสมหะหรือ secretion ที่เกิดขึ้นภายในหลอดลม โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของหลอดลมตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงอาจมากบ้างน้อยบ้างในแต่ละเวลา ในแต่ละคนหรือแม้แต่ในคนเดียวกัน
การซักประวัติผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคหอบหืด ควรจะได้รับข้อมูลต่อไปนี้
อาการปัจจุบัน อาการที่บ่งว่าเป็นโรคหอบหืด (อธิบายในหัวข้อลักษณะอาการ)และ
1. อาการที่เกิดกับผู้ป่วยนั้น อาจเกิดขึ้นตลอดปี หรือเกิดขึ้นตามฤดูกาล หรือมีอาการตลอดปีแต่มากขึ้นในบางช่วงของปี
2. ซักถามเกี่ยวกับความถี่และความรุนแรงของอาการในตอนกลางคืนและเช้ามืดเทียบกับอาการในช่วงกลางวัน
3. ซักถามกับความสัมพันธ์ของอาการกับการออกกำลังกาย
การดำเนินของโรค
1. อายุเริ่มแรกที่มีอาการของโรคหอบหืด หรืออายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืด
2. การดำเนินของโรคในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาในอดีตว่ามีอาการดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร
3. การรักษาที่เคยได้รับในอดีต รวมทั้งการตอบสนองและผลของการรักษา
4. ความถี่ของอาการ โดยเฉพาะการเกิดหอบหืดเฉียบพลัน
5. ประวัติการรักษาที่ห้องฉุกเฉินหรือในโรงพยาบาล
6. ประวัติการเกิดอาการหอบหืดที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยเฉพาะการรักษาในห้องไอซียู
7. ข้อจำกัดของของผู้ป่วยในการออกกำลังกายหรือดำเนินชีวิตตามปกติ
ปัจจัยที่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดอาการ
ปัจจัยที่ผู้ป่วยสัมผัสและอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น ได้แก่
1. สารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์จากสัตว์เลี้ยงในบ้านโดยเฉพาะขนแมว สุนัข สปอร์ของเชื้อรา
2. การติดเชื้อของระบบหายใจส่วนบนจากเชื้อไวรัส
3. การออกกำลัง
4. ยา เช่น aspirin,beta-blpckers
5. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด
6. อาหารบางชนิด เช่น ถั่ว ไวน์
7. สารผสมอาหาร เช่น สีใส่อาหาร สารกันบูด ผงชูรส
8. การสัมผัสต่อสารก่อการระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ กลิ่นแรงๆ
9. การสัมผัสกับสารเคมีหรือสารอื่นๆในขณะประกอบอาชีพ
10. การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโดยเฉพาะการสัมผัสกับอากาศเย็น ไซนัสอักเสบ
ลักษณะของการเกิดหอบหืดเฉียบพลัน
1. ปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดอาการ
2. การดำเนินของโรคของการเกิดหอบหืดเฉียบพลัน เช่น ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการมากขึ้นจนถึงมีอาการรุนแรงนั้น สั้นหรือยาวเพียงใด
3. การรักษาที่เคยได้รับเมื่อเกิดอาการหอบหืดเฉียบพลัน
4. การตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างไร ใช้เวลานานเท่าใดจึงจะมีอาการดีขึ้น
ผลของโรคต่อการดำเนินชีวิต
1. ต้องหยุดเรียน หยุดงาน เพราะอาการของโรคบ่อยเพียงใด
2. การออกแรงและการดำเนินชีวิตเป็นไปได้ตามปกติหรือไม่
3. ข้อจำกัดต่อลักษณะงานในการประกอบอาชีพ
4. ผลของโรคต่อการเติบโตตามธรรมชาติของเด็ก
5. ผลกระทบต่อสมาชิกครอบครัวอื่นๆที่มีบุคคลในบ้านเป็นโรคหอบหืด
การตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงที่ผิดปกติ ถ้าผู้ป่วยมีอาการในขณะทำการตรวจร่างกาย แต่การตรวจร่างกายที่ปกติ ผู้ป่วยก็ยังสามารถ เป็นโรคหอบหืดได้ ในการตรวจร่างกาย หากไม่ได้ยินเสียง wheeze จากการหายใจปกติ แต่ถ้าให้ผู้ป่วยหายใจออกอย่างแรง อาจฟังได้ยินเสียง wheeze ได้ ผู้ป่วยที่ตรวจร่างกายได้ยินเสียง wheeze อาจจะเป็นโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคหอบหืดก็ได้
ขณะที่ผู้ป่วยกำลังมีอาการจากการตีบของหลอดลมในปอด จะตรวจพบว่า อัตราการหายใจจะเร็วขึ้น อาจได้ยินเสียง wheeze เมื่อเข้าใกล้ผู้ป่วยโดยไม่ต้องใช้หูฟัง จมูกจะบานออกเมื่อหายใจเข้า อาจจะพูดลำบากและพูดเป็นประโยคยาวๆไม่ได้ กระสับกระส่าย ต้องการนั่งมากกว่านอนเพราะหายใจไม่สะดวก ผู้ป่วยจะหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อเสริมการหายใจและเมื่อฟังปอดก็จะได้ยินเสียง Rhonchi ทั้งในขณะหายใจเข้าหรือหายใจออก การตรวจร่างกายจะมีความสำคัญในการวินิจฉัยและในการพิจารณาความรุนแรง ของการจับหืดเฉียบพลัน แต่จะมีบทบาทน้อย ในผู้ป่วยโรคหอบหืดที่เป็นหรือเป็นครั้งคราว
โรคหอบหืด (Asthma)
โรคหอบหืด หรือ Asthma มาจากภาษากรีก แปลว่า หายใจแรง
นิยามของโรค
โรคหอบหืดเป็นโรคของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีความไวเกินของหลอดลมในการสนองตอบต่อสารภูมิแพ้ สิ่งระคาย และอื่นๆทำให้ตีบตัวลง แสดงออกให้เห็นทางคลินิค โดยการหายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไอ หายใจมีเสียงดัง wheeze (หวีดๆหรือฮืดๆ) หรือทราบได้จากการตรวจการทำงานด้วยปอด spirometer อาการหอบที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที หรือค่อยๆเกิดมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในตอนกลางคืนและช่วงเช้ามืด หรือตลอดทั้งวัน มากน้อย สั้นหรือยาวนาน แล้วแต่ความรุนแรง อาการเหล่านี้เกิดจากการอุดกลั้นของหลอดลมซึ่งจะสามารถคืนสภาพทั้งหมดหรือแค่บางส่วนได้ด้วยตัวเองหรือการรักษา
จากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า โรคหอบหืดประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. การอักเสบของหลอดลม
2. การอุดกลั้นของหลอดลมซึ่งคืนสภาพได้
3. ความไวเกินของหลอดลม
ในทางปฏิบัติ การตรวจหรือวัดการอักเสบของหลอดลมนั้นทำได้ยากส่วนความไวเกินของหลอดลมนั้น สามารถที่จะวัดหรือทดสอบได้ในห้องปฏิบัติการ แต่การทดสอบนี้สามารถทำได้เฉพาะห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น นอกจากนี้ความไวเกินของหลอดลมอาจพบในภาวะอื่นๆ อีกนอกเหนือจากในโรคหอบหืด จึงไม่จำเพาะสำหรับโรคหอบหืดแต่อย่างเดียว และยังพบได้ในคนปกติบางคนอีกด้วย ดังนั้นวิธีที่ง่ายและเชื่อถือได้ดีที่สุดในการยืนยันการวินิจฉัยโรคหอบหืดในผู้ป่วย คือการตรวจพบว่ามีการอุดกลั้นของหลอดลมซึ่งคืนสภาพได้ การทดสอบการคืนสภาพของหลอดลมซึ่งเกิดขึ้นได้เอง สามารถกระทำได้โดยการติดตามค่า PEF(Peak Expiratory Flow Rate)ส่วนการทดสอบการคืนสภาพโดยการอาศัยการรักษา ก็สามารถทำได้โดยการวัดสมรรถภาพปอด โดยเฉพาะค่า FEV และ PEF ก่อนและหลังการใช้ยาสูดขยายหลอดลม หรือทดสอบก่อนและหลังการรักษาโรคหอบหืดให้เต็มที่ด้วยการใช้ยาสูดขยายหลอดลม รวมทั้งยา Corticosteroids ชนิดรับประทาน
อุบัติการณ์
อายุ โรคหอบหืดพบทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่
เชื้อชาติ พบน้อยในชาวปาปัว นิวกินี ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือและชาวเอสกิโม ซึ่งมีเพียงร้อยละ 0.8 และมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละเชื้อชาติ
พันธุกรรม การศึกษาในครอบครัว พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดมีญาติใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ พี่น้องมีอุบัติการณ์ของโรคนี้สูงกว่าญาติใกล้ชิดของคนไม่เป็นหอบหืด ในการศึกษาคู่แฝด พบว่าแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันเป็นโรคเหมือนกันมากกว่าแฝดที่เกิดจากไข่สองใบ
อิทธิพลของอายุเมื่อแรกเริ่มเกิดโรคนี้ต่อการหายและกลับเป็นอีกและต่อความรุนแรงของโรค จากรายงานแสดงให้เห็นว่าการเกิดโรคนี้ในอายุยิ่งน้อยเท่าใด เช่น 1-2 ขวบจะมีความรุนแรงมากขึ้นในระยะเวลาต่อมา บางรายงานกล่าวว่าเมื่อโรคนี้เกิดหลังอายุ 30 ปีขึ้นไป มักมีอาการรุนแรงเป็น Status asthmaticus ได้บ่อยและอัตราตายสูง
เพศ อัตราการเป็นโรคในเด็กชายต่อเด็กหญิงอยู่ระหว่าง 1.5:1 กับ 3.1:1 และมีอัตราเท่าๆกันในผู้ใหญ่ชายหญิง
อิทธิพลของ Atopy ต่อการเกิดโรคหอบหืด
Atopy คือกลุ่มของโรคทางพันธุกรรมเป็นส่วนที่ทำให้เกิดโรคกลุ่มนี้ได้ง่ายขึ้น ได้แก่ extrinsic asthma, allergic rhinitis, hey fever และ eczema
ภาวะแวดล้อม
- ความชื่นสูง จะทำให้เกิดอาการมากขึ้น
- อากาศแห้ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด
- การเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ ความกดดันของอากาศที่สูงขึ้น
- ฝุ่น ไรฝุ่น
นอกจากนี้ยังพบว่า เมืองใหญ่มีคนอยู่อย่างหนาแน่น เมืองอุตสาหกรรมมีมลพิษมากจะมีผู้ป่วยโรคหอบหืดมากกว่าเมืองในชนบท เด็กที่อยู่ในครอบครัวใหญ่เป็นโรคบ่อยกว่าในครอบครัวเล็กๆ
ชนิดของโรคหอบหืด
Classification of Bronchial Asthma
โรคหอบหืดนี้อาจจำแนกออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้
1.Extrinsic Bronchial Asthma หรือ Atopic Bronchial Asthma
เป็นโรคหอบหืดที่เกิดขึ้นโดยมีกลไกทางอิมมูโนวิทยาชนิดที่ 1 ของ Coombs และ Gell หรือ Immediate type of hypersensitivity เป็นส่วนสำคัญในการเกิดอาการ
โรคหอบหืดชนิดนี้พบบ่อยในช่วงอายุ 3-45 ปี สารภูมิแพ้ที่พบบ่อยได้แก่ ฝุ่น ไรฝุ่น สปอร์ของเชื้อรา เกสรหญ้า เกสรวัชพืช นุ่น ขนและรังแคสัตว์
การวินิจฉัย ได้จากประวัติ การสังเกตุอาการที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสารนั้นเข้าไป ร่วมกับการให้ผลบวกต่อการทดสอบทางผิวหนังด้วยสารนั้นๆ
การรักษาโรคหอบหืดชนิดนี้ผลค่อนข้างดี และมีพยากรณ์โรคดีกว่าชนิด intrinsicมาก
2.Intrinsic Bronchial Asthma
เป็นโรคหอบหืดที่ไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ไม่ได้ผ่านกลไกทางอิมมูโนวิทยาใดๆที่ทราบในปัจจุบัน การทดสอบทางผิวหนังด้วยสารภูมิแพ้ทั่วไปจะให้ผลลบ โรคหอบหืดชนิดนี้เป็นในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5ปีหรือเกิน 35 ปีขึ้นไป เชื่อกันว่าโรคหอบหืดชนิดนี้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในทางหายใจ
พยากรณ์โรคของหอบหืดชนิดนี้ไม่ดี การระงับอาการด้วยยาขยายหลอดลมเป็นไปได้ค่อนข้างยาก และจะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ปอดเสียไปได้มาก
ในระยะหลังๆนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องไวรัสมากขึ้น มีห้องปฏิบัติการที่จะเพาะเชื้อได้มากขึ้น ทำให้ทราบว่าการติดเชื้อในโรคหอบหืดชนิดนี้ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส
3.Mixed Asthma
เป็นโรคหอบหืดชนิดที่มีสาเหตุร่วมกันระหว่าง extrinsic กับ intrinsic แต่ชนิดหนึ่งอาจแสดงให้เห็นเด่นชัดกว่าอีกชนิดหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง และในอีกช่วงเวลาหนึ่งอีกชนิดหนึ่งจะแสดงออกมาเด่นกว่า หรือแสดงออกมาทั้งสองชนิดในเวลาเดียวกัน
4.Aspirin-Induced Asthma
ส่วนใหญ่เป็นหอบหืดชนิด intrinsic จะเกิดอาการหอบหืดขึ้นเมื่อรับประทานยาแอสไพ-รินเข้าไป บางครั้งแสดงอาการในรูปที่เรียกองค์สามแห่งภาวะแอสไพริน ( triad of aspirin allergy ) ซึ่งประกอบด้วย bronchial asthma, nasal polyposis และ potentially fatal reaction เมื่อได้รับแอสไพริน
หอบหืดชนิดนี้พบส่วนใหญ่ในผู้หญิงวัยกลางคน อาการอาจมีมากน้อยแตกต่างกันแต่ละบุคคล อาการน้อยก็สามารถควบคุมและรักษาด้วยยาขยายหลอดลม ถ้าไม่ดีก็อาจใช้คอร์ติโคสตีรอยด์ในปริมาณน้อยๆ
5.Exercise-Induced Asthma
เป็นหอบหืดที่เกิดขึ้นหลังจากการออกกำลังกาย โดยส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดอยู่แล้วเมื่อออกกำลังกายให้นานพอ จะมีการหอบเกิดขึ้น หรือในบางคนที่ตามปกติแล้วไม่มีอาการหอบหืดเลย แต่จะมีอาการเฉพาะเมื่อออกกำลังกายเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นระยะ pre-asthma หรือ latent asthma ซึ่งจะแสดงเฉพาะเวลาออกกำลังกายเท่านั้น
การออกกำลังกายในระยะแรก 2-3 นาที จะทำให้หลอดลมขยายตัวใหญ่ขึ้น แต่เมื่อเกิน 6 นาทีขึ้นไปหลอดลมจะเริ่มหดตัวเล็กแคบลง สามารถวัดได้โดยใช้ spirometer อาการที่เกิดขึ้นนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานยาขยายหลอดลม หรือพ่นยาขยายหลอดลม หรือการใช้ disodium chromoglycate (Intal) ก่อนการออกกำลังกาย
กลไกการเกิดหอบหืดชนิดนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนบางชนิด การมี acidosis การกระตุ้นประสาทเวกัส ฯลฯ
6.Occupational Asthma
โรคหอบหืดที่เกิดจากงานอาชีพ โดยทั่วไปพบประมาณร้อยละ 2 ของโรคหอบหืด แต่ก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
การเกิด Occupational Asthma อาจเกิดได้ในเวลาอันสั้นเป็นเดือนหรือนานเป็นปีหลายๆปี หลังจากได้รับสารนั้นเข้าไป อาจเกิดกับคนที่อาศัยอยู่ใกล้ๆโรงงานต่างๆเหล่านั้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ทางใต้ลมซึ่งพัดพาเอาสารนั้นมา หรือสารนั้นติดมากับเสื้อผ้าผู้ทำงานแล้วมาทำให้เกิดการอาการกับคนในบ้าน
ลักษณะอาการ (อาการแสดงทางคลินิค)
มีอาการไอและหอบ หายใจดังมีเสียง wheeze ในขณะหายใจออกจะฟังได้ชัดเจน อาการหอบส่วนใหญ่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีทันใดโดยไม่มีอาการอะไรบอกล่วงหน้ามาก่อน เกิดขึ้นทันทีที่ถูกฝุ่น สารภูมิแพ้ ควันบุหรี่ ควันเขม่าต่างๆ กลิ่นแรงฉุน หอม เหม็น หรือเกิดขึ้นเมื่อมีความกดดันทางอารมณ์จิตใจ โกรธ ไม่พอใจ
อาการในระยะแรกๆน้อย อาจเพียงรู้สึกแน่นในหน้าอก อึดอัด ไอ เมื่อมากขึ้นก็หอบหายใจเสียงดัง มีเสียง wheeze โดยเฉพาะขณะหายใจออก อาจได้ยินโดยไม่ต้องใช้ stethoscope และได้ยินไปได้ไกลแม้คนที่อยู่ห่างเป็นเมตร ไอมีเสมหะเป็นฟองขาว อาจมีลักษณะเหนียวใสเป็นวุ้น รู้สึกกระวนกระวาย มีกังวลกลัวตาย กลัวหายใจไม่ทัน กระสับกระส่ายไม่อยู่นิ่ง พยายามนั่งตัวตรง หรือศรีษะและทรวงอกส่วนบนโย้ไปข้างหน้า ไหล่ยกสูงขึ้น ทำให้คอดูหดสั้นลงคล้ายลักษณะของเต่า เพราะลักษณะนี้ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น เมื่ออาการหนักมากขึ้นระยะท้ายๆจะหายใจเข้าออกสั้นลง เสียงลมเข้าออกค่อยเบาไม่ค่อยได้ยิน มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ anoxia เกิดอาการเขียว respiratory acidosis ระยะท้ายเป็นภาวะการหายใจวาย ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันของหลอดลมอย่างมากทันทีทันใด มี คาร์บอนไดออกไซด์คั่งมาก ออกซิเจนในเลือดต่ำมาก หรือค่อยเหนื่อยอ่อนลงทุกทีจากการหอบจนหายใจไม่ไหวซึ่งใช้เวลาเป็นวัน
ความรุนแรงของโรคหอบหืดขณะมีอาการ อาจแบ่งตามความรุนแรงได้ดังนี้
Stage I มีอาการอุดตันของหลอดลมเพียงเล็กน้อยอย่างเดียว ผู้ป่วยจะเริ่มหายใจแรงกว่าปกติ (hyperventilation) ตรวจเลือดพบมี PaCO2 ต่ำ PaO2 ปกติ ทำspirometric study พบมี FEV1 ต่ำลง มี vital capacity ปกติ
Stage II เมื่อมีการอุดตันของหลอดลมมากขึ้น อาการมากขึ้น หอบมากขึ้น มี pulmonary compliance ลดลง มีการคั่งของลมในถุงลม ถุงลมพองใหญ่กว่าปกติ functional residual capasity มีค่ามากขึ้น vital capacity ลดต่ำลง ในระยะนี้จะมีความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นระหว่าง ventilation กับ perfusion เกิด hypoxia หรือ PaO2ในเลือดแดงต่ำร่วมไปกับ PaCO2 ที่ต่ำ เป็น respiratory alkalosis
Stage III การอุดตันของหลอดลมมากขึ้น อาการมากขึ้น มี net alveolar ventilation ต่ำ จะพบมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ PaCO2 มีค่าสูงขึ้น pH ของหลอดเลือดแดงต่ำ
Stage IV เป็นระยะที่อาการหนักมากที่สุด เข้าสู่ภาวะการหายใจวาย การตรวจ blood gas จะช่วยในการวินิจฉัยถึงความรุนแรงได้มาก โดยเฉพาะเมื่อ PaCO2 สูงขึ้นกว่าปกติ PaO2 ต่ำกว่า 50 มม. ปรอทและ pH ที่ต่ำกว่า 7.35 ระยะนี้จะพบว่า vital capacity ต่ำลงมาก
โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีภาวะปฏิกิริยามากเกิน (hyperreactivity) ของทางหายใจ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติในกลไกทางอิมมูโนวิทยา การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่ยนแปลงหรือความไม่สมดุลย์ของระบบประสาทและสารเคมีในเลือด(neurohumoral system) ยังไม่มีกลไกใดกลไกหนึ่งสามารถอธิบายการเกิดโรคหืดได้ในทุกคน หรืออาจแบ่งเป็นส่วนใหญ่ได้ 2 กลไกด้วยกัน คือ
1. กลไกทางอิมมูโนวิทยา (Immunologic Mechanism)
2. กลไกที่ไม่ใช่ทางอิมมูโนวิทยา (Non-Immunologic Mechanism)
พยาธิสภาพ
การศึกษาที่ได้จากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต
ส่วนใหญ่พบมีการบวมหนาของชั้นเยื่อบุและชั้นใต้เยื่อบุหลอดลม หลอดลมฝอย(bronchiole) มีอีโอสิโนฟิลแทรกซึมกระจายอยู่ทั่วไป เบสเมนต์ เมมเบรนหนาเห็นเด่นชัด กล้ามเนื้อรอบหลอดลมหนาใหญ่ขึ้น
ปอดขยายพองโป่งคั่งอยู่ด้วยลม ภายในหลอดลมอุดตันด้วยเสมหะข้น เหนียวอาจมี atelectasis เยื่อบุผิวที่บุหลอดลมอาจบวมหนามากและม้วนตัวเป็นก้อนใหญ่
เสมหะที่อยู่ในหลอดลมจะพบติดต่อกันไปกับเมือกที่หลั่งออกมาจากต่อมขับเมือกผสมรวมไปกับอีโอสิโนฟิล, นิวโทรฟิล อาจพบ Chacot-Leyden crystal (ซึ่งเป็น degenerative crystaloids ของอีโอสิโนฟิล) Curschmann’s spiral (ซึ่งเป็นแท่งเสมหะซึ่งบิดตัวเป็นเกลียวม้วนคล้ายขดลวดสปริงจากการไอที่รุนแรงเพื่อให้หลุดออกมาจากหลอดลมเล็กๆ) และ creola body (ซึ่งเป็นเซลล์บุผิวที่หลุดออกมาแล้วจับตัวรวมกันเป็นก้อน)
การขยายใหญ่โตขึ้นของต่อมขับเมือกที่ชั้นใต้เยื่อบุ ไม่มากเท่าในโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง แต่จะเห็น globlet cell มีจำนวนมากขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะที่หลอดลมเล็กๆ พบมี mast cell จำนวนน้อย เข้าใจว่าเกิดจากการมี degranulation ทำให้เห็นได้ยากมากกว่า
ลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปอดในโรคหอบหืด
ลักษณะสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงก็คือ การหดแคบเล็กลงของรูหลอดลม ซึ่งอาจเกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อเรียบรอบหลอดลม การบวมของเยื่อบุหลอดลม เสมหะหรือ secretion ที่เกิดขึ้นภายในหลอดลม
โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของหลอดลมตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงอาจมากบ้างน้อยบ้างในแต่ละเวลา ในแต่ละคนหรือแม้แต่ในคนเดียวกัน
การซักประวัติผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคหอบหืด ควรจะได้รับข้อมูลต่อไปนี้
อาการปัจจุบัน อาการที่บ่งว่าเป็นโรคหอบหืด (อธิบายในหัวข้อลักษณะอาการ)และ
1. อาการที่เกิดกับผู้ป่วยนั้น อาจเกิดขึ้นตลอดปี หรือเกิดขึ้นตามฤดูกาล หรือมีอาการตลอดปีแต่มากขึ้นในบางช่วงของปี
2. ซักถามเกี่ยวกับความถี่และความรุนแรงของอาการในตอนกลางคืนและเช้ามืดเทียบกับอาการในช่วงกลางวัน
3. ซักถามกับความสัมพันธ์ของอาการกับการออกกำลังกาย
การดำเนินของโรค
1. อายุเริ่มแรกที่มีอาการของโรคหอบหืด หรืออายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืด
2. การดำเนินของโรคในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาในอดีตว่ามีอาการดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร
3. การรักษาที่เคยได้รับในอดีต รวมทั้งการตอบสนองและผลของการรักษา
4. ความถี่ของอาการ โดยเฉพาะการเกิดหอบหืดเฉียบพลัน
5. ประวัติการรักษาที่ห้องฉุกเฉินหรือในโรงพยาบาล
6. ประวัติการเกิดอาการหอบหืดที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยเฉพาะการรักษาในห้องไอซียู
7. ข้อจำกัดของของผู้ป่วยในการออกกำลังกายหรือดำเนินชีวิตตามปกติ
ปัจจัยที่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดอาการ
ปัจจัยที่ผู้ป่วยสัมผัสและอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น ได้แก่
1. สารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์จากสัตว์เลี้ยงในบ้านโดยเฉพาะขนแมว สุนัข สปอร์ของเชื้อรา
2. การติดเชื้อของระบบหายใจส่วนบนจากเชื้อไวรัส
3. การออกกำลัง
4. ยา เช่น aspirin,beta-blpckers
5. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด
6. อาหารบางชนิด เช่น ถั่ว ไวน์
7. สารผสมอาหาร เช่น สีใส่อาหาร สารกันบูด ผงชูรส
8. การสัมผัสต่อสารก่อการระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ กลิ่นแรงๆ
9. การสัมผัสกับสารเคมีหรือสารอื่นๆในขณะประกอบอาชีพ
10. การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโดยเฉพาะการสัมผัสกับอากาศเย็น ไซนัสอักเสบ
ลักษณะของการเกิดหอบหืดเฉียบพลัน
1. ปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดอาการ
2. การดำเนินของโรคของการเกิดหอบหืดเฉียบพลัน เช่น ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการมากขึ้นจนถึงมีอาการรุนแรงนั้น สั้นหรือยาวเพียงใด
3. การรักษาที่เคยได้รับเมื่อเกิดอาการหอบหืดเฉียบพลัน
4. การตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างไร ใช้เวลานานเท่าใดจึงจะมีอาการดีขึ้น
ผลของโรคต่อการดำเนินชีวิต
1. ต้องหยุดเรียน หยุดงาน เพราะอาการของโรคบ่อยเพียงใด
2. การออกแรงและการดำเนินชีวิตเป็นไปได้ตามปกติหรือไม่
3. ข้อจำกัดต่อลักษณะงานในการประกอบอาชีพ
4. ผลของโรคต่อการเติบโตตามธรรมชาติของเด็ก
5. ผลกระทบต่อสมาชิกครอบครัวอื่นๆที่มีบุคคลในบ้านเป็นโรคหอบหืด
การตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงที่ผิดปกติ ถ้าผู้ป่วยมีอาการในขณะทำการตรวจร่างกาย แต่การตรวจร่างกายที่ปกติ ผู้ป่วยก็ยังสามารถเป็นโรคหอบหืดได้ ในการตรวจร่างกาย หากไม่ได้ยินเสียง wheeze จากการหายใจปกติ แต่ถ้าให้ผู้ป่วยหายใจออกอย่างแรง อาจฟังได้ยินเสียง wheeze ได้ ผู้ป่วยที่ตรวจร่างกายได้ยินเสียง wheeze อาจจะเป็นโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคหอบหืดก็ได้
ขณะที่ผู้ป่วยกำลังมีอาการจากการตีบของหลอดลมในปอด จะตรวจพบว่าอัตราการหายใจจะเร็วขึ้น อาจได้ยินเสียง wheeze เมื่อเข้าใกล้ผู้ป่วยโดยไม่ต้องใช้หูฟัง จมูกจะบานออกเมื่อหายใจเข้า อาจจะพูดลำบากและพูดเป็นประโยคยาวๆไม่ได้ กระสับกระส่าย ต้องการนั่งมากกว่านอนเพราะหายใจไม่สะดวก ผู้ป่วยจะหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อเสริมการหายใจและเมื่อฟังปอดก็จะได้ยินเสียง Rhonchi ทั้งในขณะหายใจเข้าหรือหายใจออก
การตรวจร่างกายจะมีความสำคัญในการวินิจฉัยและในการพิจารณาความรุนแรงของการจับหืดเฉียบพลัน แต่จะมีบทบาทน้อย ในผู้ป่วยโรคหอบหืดที่เป็นหรือเป็นครั้งคราว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม
การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะยืนยันการวินิจฉัยโรคได้ โดยแสดงว่าผู้ป่วยที่สงสัยนั้นมีการอุดกลั้นของหลอดลมซึ่งสามารถทำให้คืนสภาพได้ การทดสอบที่จะแสดงการอุดกลั้นได้แก่ การตรวจ Spirometry และการวัด Peak Expiratory Flow (PEF) การตรวจ Spirometry จะเชื่อถือได้มากกว่า ส่วนการวัด PEF นั้นมีข้อจำกัดอยู่บ้าง
การวัดหรือทดสอบสมรรถภาพปอดโดย Spirometry หรือ PEF จะให้ผลแน่นอนในการวินิจฉัยการอุดกลั้นของหลอดลม รวมทั้งสามารถที่จะประเมินความรุนแรงของการอุดกลั้นได้ตลอดจนสามารถที่จะ ประเมินการตอบสนองต่อยาขยายหลอดลมหรือการรักษาอย่างอื่นได้ การประเมินความรุนแรงของการอุดกลั้นหลอดลมโดยอาศัยประวัติของผู้ป่วยเพียงอย่างเดียวหรือจากการตรวจร่างกายมีความแม่นยำอยู่ใน เกณฑ์ต่ำ ดังนั้น ในการประเมินความผิดปกติของสมรรถภาพปอดครั้งแรกในผู้ป่วยนั้น ควรจะใช้การตรวจ Spirometry ผลการติดตามต่อไปนั้นอาจจะใช้ PEF ได้เพื่อความง่ายและสะดวก
การตรวจ Spirometry จะช่วยในการ
1. วินิจฉัยการอุดกลั้นของหลอดลม
2. ประเมินความรุนแรงของการอุดกลั้นของหลอดลม
3. ติดตามผลการรักษา
4. ยืนยันการตอบสนองของการอุดกลั้นของหลอดลมต่อยาขยายหลอดลม
5. ยืนยันความรุนแรงของการอุดกลั้นของหลอดลมในตัวผู้ป่วย เพื่อจะได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยในการรักษา
6. ติดตามการดำเนินของโรคของโรคหอบหืดและเก็บไว้เป็นข้อมูลในการปรับตัวยาที่ใช้ในการรักษาให้แม่นยำและถูกต้อง
การตรวจโดยวิธีการ Spirometry นั้นจะต้องทำตามขั้นตอนมาตรฐาน ขั้นตอนที่สำคัญและอาจเกิดความผิดพลาดได้บ่อยๆ พอที่จะกล่าวถึงได้พอสังเขปคือ ผู้ที่ควบคุมการทดสอบจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวิธีการและกระบวนการในการตรวจ จะต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยหายใจได้เต็มที่ก่อนที่จะเป่าออกมาอย่างเร็วและแรงเต็มที่ จนไม่สามารถที่จะเป่าต่อไปได้อีก(ควรจะเป่าได้ประมาณ 6 วินาที) ความพยายามและตั้งใจอย่างเต็มที่ของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยควรได้เป่าอย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลการทดสอบที่ดีที่สุด ผู้ป่วยควรได้รับการทดสอบ Spirometry ซ้ำหลังจากได้รับยาขยายหลอดลมชนิดสูตร เช่น หลังจากได้รับยา Saldutamol 2 Puffs(200 meg) และเป็นเวลา 10-15 นาที
การวัด Peak Expiratory Flow
Peak Expiratory Flow (PEF) คือ การวัดอัตราการไหลของอากาศสูงสุดจากการหายใจออกอย่างเร็วและแรงสุดภายหลังการหายใจเข้าอย่างเต็มที่ การวัด PEF ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน Reproducible ที่จะแสดงถึงการอุดกลั้นของหลอดลม มาตรวัด Peak Flow เช่น Mini Weight Peak Flow Meter มีราคาถูกน้ำหนักเบา พกพาติดตัวได้สะดวกและให้ค่าทดสอบที่เชื่อถือได้และใกล้เคียงกับมาตรวัด Peak Flow มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด แต่มีความสำคัญน้อยกว่า Spirometry ในการวินิจฉัยโรคหอบหืด
การวัด PEF นั้นจะช่วยในการ
1. สนับสนุนการวินิจฉัยโรคหอบหืด โดยเฉพาะโรคที่มีอาการเป็นครั้งคราว มีอาการตอนกลางคืนหรือเกิดจากการประกอบอาชีพ
2. ทดสอบความรุนแรงของการเกิดหอบหืดเพื่อช่วยในการตัดสินการรักษาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที
3. ติดตามผลการรักษาภายหลังการเกิดหอบหืดเฉียบพลัน
4. ติดตามความรุนแรงของโรคและผลการรักษาเมื่อเข้ามาพบแพทย์
5. การยืนยันว่ามีการอุดกลั้นของหลอดลมและช่วยย้ำกับผู้ป่วยถึงความร่วมมือในการรักษาและการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง
การวัด PEF มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น
1. การทดสอบต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยมาก
2. ค่าคาดคะเนของ PEF นั้นจะค่อนข้างกว้างดังนั้นจะมีประโยชน์น้อยจากการทดสอบเพียงครั้งเดียว แต่จะมีประโยชน์มากกว่าในการติดตามการดำเนินของโรค โดยทดสอบกับระยะเพื่อหาค่า PEF ที่ดีที่สุดของผู้ป่วยนั้น
3. การทดสอบ PEF เป็นการทดสอบการอุดกลั้นของหลอดลมขนาดใหญ่
4. การทดสอบ PEF ควรจะใช่เครื่องมืออันเดิมทุกครั้ง เพราะข้อมูลอาจคลาดเคลื่อน
5. การทดสอบค่า PEF มีความแม่นยำในการตรวจการอุดกลั้นของหลอดลมน้อยกว่าการตรวจ Spirometry พบว่าในผู้ป่วยที่มาติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก 2 ครั้ง และมีความแตกต่างของค่า PEF มากกว่าร้อยละ 15 การตรวจการทดสอบ PEF จะไม่สามารถตรวจพบความแตกต่างได้สูงถึงร้อยละ 43 การทดสอบ PEF จะมีประโยชน์มากขึ้นโดยการหาค่าค่าผันผวนของ PEF ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของวันเช่น เช้า เที่ยง เย็นและก่อนนอน โดยวัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์
การวินิจฉัยโรคหอบหืด
1. ประวัติ
- ประวัติอาการหอบหืด ไอ ในตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งกล่าวไว้ในอาการแสดงทางคลินิค
- ประวัติการถูกสารภูมิแพ้บางชนิด แล้วทำให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น
- ประวัติมี atopy ในครอบครัว
- ประวัติการได้รับยาขยายหลอดลม แล้วอาการดีขึ้น
2. จากการตรวจร่างกาย
3. ภาพรังสี
4. การตรวจนับเม็ดเลือด
5. การตรวจเสมหะ
6. การทดสอบหน้าที่ของปอด
7. การตรวจเกี่ยวกับภูมิแพ้
การรักษาขณะมีการหอบหืดอย่างฉับพลัน
ทำได้ตามลำดับขั้นตอนตามความรุนแรงของการหอบหืดต่อไปนี้
1. Adrenaline, Aqueous solution 1:1000 ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ราคาถูกและได้ผลดีมาก ระงับหอบหืดได้ประมาณร้อยละ 75 ของคนไข้
2. Bricarnyl ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ได้ผลดีในการขยายหลอดลม ยานี้ราคาแพง อาจใช้สลับกับแอดรีนาลิน หรือทดแทนกันได้
3. Aminophylline โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำช้าๆ วิธีนี้ได้ผลในคนไข้ถึงร้อยละ 90 ขึ้นไป การให้ยานี้ต้องระมัดระวัง เพราะถ้าให้เร็วๆทำให้ความดันโลหิตต่ำ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ ช็อค มี cardiac arrhythmia ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตทันทีได้
4. สารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous fluid, IV fluid) การให้สารน้ำนี้ นอกจากแก้ภาวะขาดน้ำแล้วยังมีน้ำตาลเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยซึ่งหอบมาก และมักจะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ จึงเป็นประโยชน์ และพบว่าช่วยทำให้เสมหะเหลวลงได้ ละลายและถูกกำจัดออกจากหลอดลมได้ง่าย อาจถือว่าเป็นยาขับเสมหะที่ดีมาก
5. ออกซิเจนและความชื้น การให้ออกซิเจนจะต้องให้ร่วมกับความชื้นด้วยเสมอ เพราะออกซิเจนแห้งทำให้หลอดลมและเยื่อบุภายในแห้ง เกิดการระคาย ทำให้หอบมาก และระวังการเกิดภาวะ CO2 narcosis (การคั่งของคาร์บอน)
6. ยาระงับประสาท (Sedatives)
7. ยาปฏิชีวนะ
8. Intermittent positive pressure nebulization of isoproterenol
9. Ultrasonic nebulization การใช้เครื่องมือนี้จะต้องระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจมีอยู่ในเครื่องมือที่ใช้และในน้ำสำหรับพ่น จึงต้องทำความสะอาดอย่างดีและปลอดเชื้อทั้งก่อนใช้และหลังใช้
10. คอร์ติโคสเตอร์รอยด์ ยานี้จะไม่เห็นผลในทันที จะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงก่อนจะเห็นผล ดังนั้นการพิจารณาที่จะใช้ในระยะแรกๆของการหอบหืดจึงมีความจำเป็น
11. การใช้โซเดียม ไบคาร์บอเนต
12. Isoproterenol infusion
13. ใช้เครื่องช่วยหายใจ
14. การล้างในหลอดลม (Bronchial lrvage)
15. การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด
การรักษาระยะยาว
1. การรักษาทั่วไป
ได้แก่
1.1 การหลีกเลี่ยงภาวะมลพิษ
1.2 การหลีกเลี่ยงและการกำจัดสารภูมิแพ้
1.3 การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ
1.4 ภาวะแวดล้อมที่บ้าน
1.5 การงดสูบบุหรี่
1.6 การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีสำหรับโรคหอบหืด
2. การรักษาทางยา
เป็นการรักษาที่ใช้ยาระงับอาการหอบหืดเมื่อมีอาการเกิดขึ้น หรือการใช้ยาป้องกันก่อนที่จะมีอาการเกิดขึ้น ยาที่ใช้โดยทั่วไปเป็นยาขยายหลอดลมชนิดต่างๆ และยาป้องกันการหลั่ง allergic mediator ได้แก่ sympathomimetic drug (adrenergic drug), methylxanthine drug, anticholinergic drug, disodium chromoglycate (Intal), ketotifen (zaditen) และ คอร์ติโคสเตอร์รอยด์
3. Immonotherapy
คือ การฉีดสารภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าใต้ผิวหนังโดยใช้ปริมาณน้อยๆ แล้วเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจึงพิจารณาหยุดฉีด ในบางรายอาจต้องฉีดเป็นเวลานานหลายปี โดยทั่วไป 3-5 ปี
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหอบหืด (Exercise in Asthmatic Patients)
อาการหอบหืดในคนบางคนจะเกิดเฉพาะภายหลังการออกกำลังกายหนักๆเท่านั้น คนกลุ่มนี้เมื่ออยู่เฉยๆ หรือขณะทำงานปกติจะไม่มีอาการใดๆ ในหมู่นักกีฬาเองก็เชื่อว่ามีผู้ที่มีภาวะนี้อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย แต่มักจะไม่ได้รับการวินิจฉัยซึ่งอาจเป็นเพราะมีอาการไม่มาก หรือไม่ได้ใส่ใจ คิดว่าเป็นอาการเหนื่อยหอบหลังเล่นกีฬาหนักๆตามปกติ ผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุในเด็กเล็กๆ ถ้าผู้ปกครองหรือครูพลศึกษาไม่ได้เอาใจใส่ก็มักถูกมองข้ามไปเช่นเดียวกัน เด็กจะวิ่งเล่นได้ไม่นานหรือมีอาการไอมากหลังออกกำลังกายหนักๆจึงเกิดเป็นนิสัยที่ไม่ชอบเล่นกีฬา
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ฤดูร้อนปี ค.ศ.1972 Rick Demont นักว่ายน้ำชาวอเมริกาที่ชนะการแข่งขันต้องถูกตัดสินเป็นโมฆะอย่างน่าเสียดาย ภายหลังจากที่คณะกรรมการตรวจพบสาร ephedrine ในปัสสาวะ โดยเขาได้รับสารตัวนี้ไปโดยไม่ได้ตั้งใจจากการทานยารักษาโรคหอบหืด ในปีถัดมาคณะกรรมการจึงได้จัดการประชุมกันขึ้นเพื่อวางแนวทาง ในการใช้ยารักษาโรคหอบหืดในนักกีฬา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นอีก
ภาวะหอบหืดภายหลังการออกกำลังกาย (Exercise-induced asthma) คืออะไร?
คนไข้หอบหืดส่วนใหญ่ ถ้าให้ออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างรุนแรง เพียง2-3นาทีจะมี ”อาการไม่สบาย” ตามมา ซึ่งจะเป็นอยู่นานถึง30นาที อาการไม่สบายประกอบด้วยคอแห้ง ไอไม่มีเสมหะ แน่นหน้าอก หายใจออกลำบากมีเสียงวี๊ดๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเกิดหลอดลมหดตัวเกร็ง ซึ่งเกิดจากการออกกำลังกายนั่นเอง
อาการหอบหืดจะรุนแรงมากน้อยขึ้นกับ
1.ประเภทของกีฬา เช่นพบบ่อยในนักกรีฑา หรือนักขี่จักรยาน แต่ไม่ค่อยพบในนักกีฬาว่ายน้ำ
2.ความหนักในการออกกำลังกาย
3.สภาวะแวดล้อม หรือสภาพอากาศในขณะออกกำลังกาย
4.ระยะเวลาในการออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างหนักเป็นเวลานาน ในสภาพอากาศที่ เย็น แห้งหรือมีฝุ่นละออง หรือมีมลพิษ จะเกิดอาการได้ง่ายและรุนแรง
5.สภาพร่างกายของตัวนักกีฬาเอง เช่นถ้ามีการติดเชื้อไวรัสหรือเป็นหวัดอยู่ก่อนก็จะมีโอกาสเป็นมากขึ้น