ความดันโลหิตสูง
- Tab 1
- Tab 2
- Tab 3
- Tab 4
- Tab 5
ความดันโลหิต คือ แรงดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ เลือด ที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจ จะไหลเวียนไปทั่งร่างกาย 1 รอบแล้วไหลมาที่หัวใจอีกครั้ง การที่เลือดสามารถไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้เพราะ การบีบตัวของหัวใจเป็นสำคัญ เลือดที่ถูกสูบฉีดจากหัวใจ มีแรงดันอยู่ด้วย จึงทำให้ผนังหลอดเลือดโป่งพองขึ้น แรงดันนี้เรียกว่า ความดันโลหิต
โครงสร้างของหัวใจ
หัวใจคนเราตั้งอยู่ตรงกลางทรวงอกค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย คือค่อนไปทางนมด้านซ้าย ขนาดของหัวใจในขณะบีบตัวจะเท่ากับ กำปั้นของเจ้าของ โดยประมาณ หัวใจแบ่งเป็น 4 ห้อง คือ หัองบนซ้าย,ห้องล่างซ้าย,ห้องบนขวา และห้องล่างขวา ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายกับล่างซ้ายจะมีลิ้นหัวใจ Mitril Valves คั่นอยู่ หัวใจห้องล่างซ้ายกับโคนหลอดเลือดแดงใหญ่Aortic จะมีลิ้นหัวใจ Aortic Semilunar valves คั่นอยู่ ระหว่างหัวใจห้องบนขวากับล่างขวา จะมีลิ้นหัวใจTriceispid valves และหัวใจห้องล่างขวา กับหลอดเลือดแดงจากปอด จะมีลิ้นหัวใจ Pulmonary Semilunar valves คั่นอยู่
หัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะเคลื่อนไหวบีบตัว และคลายตัวอย่าง เป็นจังหวะ เรียกกันว่าการเต้นของหัวใจ (Heart beat) ด้านในกล้ามเนื้อหัวใจจะมีเยื่อบุบางๆอยู่ชั้นหนึ่งเรียกว่า Endocardiem ด้านนอกก็มีเรียกว่า Epicardiem
หน้าที่ของหัวใจ
หัวใจเป็นอวัยวะที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ทำหน้าที่คล้ายเครื่องสูบน้ำ หัวใจจะบีบตัวฉีดเลือดออกไปครั้งละประมาณ 60-80 มิลลิลิตร หรือนาทีละประมาณ 5 ลิตร กล่าวกันว่า หัวใจของนักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีสามารถสูบฉีดเลือดได้ถึงนาทีละ 20 ลิตร
วงจรการทำงานของหัวใจ หัวใจจะบีบตัวคลายตัว และหยุดพักได้เองโดยอัติโนมัติ การเคลื่อนไหวเช่นนี้จะเป็นไปซ้ำๆกันอย่างมีจังหวะ ขณะหัวใจบีบตัวหรือคลายตัว หัวใจสองห้องบน และหัวใจสองห้องล่าง จะผลัดกันเต้นอย่างมีจังหวะเช่นกัน ดังนั้นวงจรการทำงานของหัวใจ คือ รอบระยะที่หัวใจบีบตัว,คลายตัว และหยุดพัก
ตามปกติวงจรการทำงานของหัวใจของผู้ชายจะเต้นนาทีละ 60-70 ครั้ง และผู้หญิงจะเต้นนาทีละ 70-80 ครั้ง วัยรุ่นจะมีวงจรการทำงานของหัวใจถี่กว่าในผู้ใหญ่
เสียงเต้นของหัวใจ เมื่อหัวใจห้องล่างทั้งสองบีบตัว ส่วนล่างของด้านนอกหัวใจห้องล่างซ้าย จะไปกระทบบริเวณส่วนล่าง ด้านในของ บริเวณนมด้านซ้าย การเต้นอย่างมีกฎเกณฑ์นี้เรียกว่าการเต้นที่ยอดหัวใจ (Apex beat) หากใช้เครื่องฟังจะพบว่า หัวใจเต้นแต่ละครั้ง จะมีอยู่ 2 เสียง เรียกว่า เสียงเต้นของหัวใจ(Cardiac sound) เสียงแรกเป็นเสียงที่เกิดขึ้น ในขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว เสียงจะทุ้ม และยาว ส่วนเสียงที่สองเป็นเสียงที่เกิดขึ้นในขณะที่ลิ้นหัวใจเปิด และปิด เสียงจะแหลม และสั้น ถ้าเราถือสองเสียงนี้เป็นหนึ่งหน่วย แล้วนับดูก็จะทราบจำนวนวงจรการทำงานของหัวใจได้
ความดันโลหิตกับการไหลเวียนของเลือด
ความดันโลหิตคือ แรงที่เลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือดซึ่งหมายถึง หลอดเลือดแดงโดยเฉพาะ ดังนั้นความดันโลหิตก็หมายถึง ความดันภายในหกลอดเลือดแดง
เลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจจะผ่านหัวใจห้องล่างซ้ายไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ แล้วแยก ไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Commond carolid artery) หลอดเลือดแดงใต้ไห ปลาร้า(Subclavian artery) หลอดเลือดแดงใหญ่สีข้าง (Commond iliac artery) หลอดเลือดแดงไต (Rean artery) และหลอดเลือดแดงจะไหลผ่านหลอดเลือดแดงที่เล็กลงไปเข้าสู่ หลอดเลือดแดงเล็ก(Arteride) แล้วส่งเข้าไปในหลอดเลือดฝอย ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นหลอดเลือดดำกันที่ตรงนี้ เลือดไหลจากหลอดเลือดดำฝอย ไปยังหลอดเลือดดำเล็ก (Venule) แล้วค่อยไหลผ่านหลอดเลือดดำใหญ่ (Vein) กลับไปยังหัวใจห้องบนขวา เลือดที่มีคาร์บอนไดร์ออกไซด์มาก จะไหลจากหัวใจห้องบนขวาเข้าไปในหัวใจห้องล่างขวา แล้วค่อยไหลผ่านหลอดเลือดแดงปอดไปยังปอด ซึ่งตอนนี้เลือด จะเปลี่ยนเป็นเลือดที่มีออกซิเจน เลือดนี้จะไหลผ่านหลอดเลือดดำปอด (Pulmonary Vein) กลับไปที่หัวใจห้องบนซ้าย นี่คือเลือดใหม่ ซึ่งจะถูกดันเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่แล้วกระจายสู่หลอดเลือดแดงน้อยใหญ่ และกลับสู่หัวใจ โดยหลอดเลือดดำ วนเวียนกันอยู่เช่นนี้
หน้าที่ของความดันโลหิต เป็นกำลังที่หัวใจต้องใช้เพื่อสูบฉีดเลือดให้ไหลไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งจะได้จากแรงบีบตัวของหัวใจ เลือดจะไหลจากที่มีความกันโลหิตสูงไปยังที่ๆมีความดันโลหิตต่ำ ดังนั้นหากรักษาเลือดให้มีอัตราเร็ว และปริมาณในการไหลที่แน่นอนแล้วต้องมีความดันโลหิตที่เหมาะสม เลือดที่ไหลจากหัวใจห้องล่างซ้าย ไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่จะมีความดันโลหิตตัวบนที่เลือดนี้ 140-150 มิลลิเมตรปรอท ที่หลอดเลือดแดง Brachiocephalic artery 120 มิลลิเมตรปรอท หลอดเลือดแดง Radial artery 90-100 มิลลิเมตรปรอท หลอดเลือดแดงเล็ก 70-80 มิลลิเมตรปรอท และความดันเฉลี่ยที่หลอดเลือดฝอย 20 มิลลิเมตรปรอท
แรงต้านทานกระแสเลือด เวลาที่เลือดไหลผ่าหลอดเลือดแดงใหญ่ จะไม่มีแรงต้านทานเลย แต่เมื่อเลือดไหลผ่าหลอดเลือดแดงย่อย และความดันโลหิตของหลอดเลือดแดงต่างๆกลับเกิดแรงต้านทานกระแสเลือด การต้านทานกระแสเลือดเช่นนี้เรียกว่า แรงต้านที่ปลายหลอดเลือด การที่ปลายหลอดเลือดสร้างแรงต้านทานชนิดนี้ขึ้น เพื่อกระจายเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายตามที่จำเป็น ถ้าไม่มีแรงต้านทานนี้ จะไม่มีการทำงานปรับเลือดให้เหมาะสม อวัยวะบางอย่างจะมีเลือดมากไป บางอย่างกลับจะขาดเลือด ดังนั้นแรงต้านทานกระแสเลือด จึงช่วยปรับการไหลเวียนของเลือด เพื่อให้เลือดไหลได้สะดวก
การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต
ความดันโลหิตไม่ใช่จะเปลี่ยนแปลงตลอดไป แต่มันจะเปลี่ยนปลงอยู่ทุกขณะ และแตกต่างกันระหว่างคนที่มีความดันโลหิตปกติ กับคนที่มีความดันโลหิตผิดปกติ การเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตเช่นนี้ บางครั้งก็เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ บางครั้งก็เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
สาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตไม่คงที่อาจมีด้วยกัน 5 ประการ คือ
1.ปริมาณเลือดที่สูบฉีดออกจากร่างกาย
ถ้าหัวใจมีแรงบีบมาก ปริมาณเลือดที่สูบฉีดออกมาก็มีมาก และความดันโลหิตก็จะสูงด้วย ในทางกลับกันถ้าหัวใจมีแรงบีบตัวน้อย ปริมาณเลือดที่สูบฉีดก็น้อยความดันโลหิตก็ลดต่ำด้วย
2. ความข้นของเลือด
ความข้นของเลือดก็คือ ความเหนียวของเลือด เลือดที่มีลักษณะเหนียวหนืดมาก จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ ในทางกลับกัน ก็จะทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
3. ความหยุ่นตัวของหลอดเลือด
เมื่อลอดเลือดแดงตีบแข็ง หมดความยืดหยุ่นตัว ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อหลอดเลือดแดงเล็กตีบแข็ง สภาพจะยิ่งร้ายแรงขึ้น เพราะกระแสเลือดจะไหลผ่านได้ยาก ทำให้สภาพการไหลเวียนเลือดไม่ดี หัวใจต้องออกแรงบีบตัวมากขึ้น เพื่อให้เลือดสามารถไหลผ่านไปยังส่วนต่างๆทั่วร่างกายได้เพียงพอ
4. ปริมาณเลือดในระบบหลอดเลือดแดง
ปกติในร่างกายเราจะมีเลือดอยู่ประมาณ 1 ใน 12 ส่วนของน้ำหนักตัว แต่ถ้ามีกรณีพิเศษ เช่น การให้เลือด ปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้นชั่วขณะ ในทางกลับกันถ้ามีการเสียเลือดมากเพราะการได้รับการบาดเจ็บสาหัส ความดันโลหิตก็จะต่ำลง
5. แรงต้านทานที่ปลายหลอดเลือด
ในขณะที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือดแดงเล็กไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายนั้น หลอดเลือดแดงเล็กจะเกิดการต้านทานเลือดขึ้น เมื่อหลอดเลือดแดงเล็กมีแรงต้านทานมากขึ้น ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น แรงต้านทานของหลอดเลือดแดงเล็กจึงมีลดลง และเพิ่มขึ้นได้ สาเหตุขึ้นอยู่กับขีดความตึงตัวของผนังหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อเรียบในเยื่อชั้นกลาง คือเมื่อกล้ามเนื้อเรียบมีขีดความตึงตัวมาก เส้นผ่าศูนย์กลางภายในของหลอดเลือดก็จะเล็กลง เพื่อเพิ่มแรงต้านทาน แต่เมื่อขีดความตึงตัวอ่อนลง แรงต้านทานก็จะลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควบคุมขีดความตึงตัวของหลอดเลือดแดงเล็กก็คือ เส้นประสาทยนต์ของหลอดเลือด และการปรับของเลือด
ความดันโลหิตสูงคืออะไร
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ความดันโลหิตช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ ความดันโลหิตช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หรือผู้ที่กำลังได้รับยาความดันโลหิต โดยแบ่งระดับความรุนแรงได้ดังตาราง
การจำแนก |
ความดันโลหิตช่วงบน |
ความดันโลหิตช่วงล่าง |
ความดันโลหิตที่เหมาะสม |
น้อยกว่า 120 |
น้อยกว่า 80 |
ความดันโลหิตปกติ |
น้อยกว่า 130 |
น้อยกว่า 85 |
ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย แต่ยังปกติ |
130 ถึง 139 |
85 ถึง 89 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 (อ่อน) |
140 ถึง 159 |
90 ถึง 99 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 (ปานกลาง) |
160 ถึง 179 |
100 ถึง 109 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 3 (รุนแรง) |
มากกว่า 180 |
มากกว่า 110 |
ความดันโลหิตช่วงบนสูงเดี่ยว |
มากกว่า 140 |
น้อยกว่า 90 |
การตรวจวัดความดันโลหิต
การที่จะทราบได้ว่าท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ จะต้องมีการวัดความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิต อาจจะวัดเองที่บ้าน หรือไปรับการตรวจวัดที่โรงพยาบาล คลินิก หรือสถานบริการพยาบาล ต่างๆ
ในการวัดความดันโลหิตนั้น ผู้ที่รับการตรวจวัดความดันโลหิต ควรนั่งอยู่บนเก้าอี้ที่มีพนักพิง ไม่มีสิ่งปกปิดแขน ให้แขนข้างที่วัดความดันโลหิตอยู่ในระดับหัวใจ ควรละเว้นการสูบบุหรี่ การดื่มชา กาแฟ
งดรับประทานอาหารก่อนวัด 30 นาที ควรเริ่มวัดหลังจากพักอย่างน้อย 5 นาที
ขั้นตอนการตรวจวัดความดันโลหิตจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเครื่องวัดความดันโลหิตดังนี้
การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท (Mercury sphygmomanometer)
ในการตรวจวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท มีวิธีการวัดดังนี้
1. สวมหูฟังเข้าที่หูทั้ง 2 ข้าง
2. พันสายรัดที่ต้นแขนของผู้ที่รับ การตรวจวัดความดันโลหิต ไม่ให้แน่น หรือหลวมจนเกินไป
3. วางแผ่นรับเสียงของหูฟังด้านในแขน เหนือรอยพับของข้อศอก เพื่อฟังเสียงชีพจร
4. บีบลมเข้าในสายรัดของเครื่องวัดอย่างรวดเร็ว จนไม่ได้ยินเสียงชีพจร แล้วบีบต่ออีกเล็กน้อย โดยให้เข็มชี้เลยตัวเลขค่าความดันโลหิต ที่เคยวัดได้ครั้งก่อนประมาณ 30-40 มิลลิเมตรปรอท
5. ค่อยๆ ปล่อยลมออก
6. ตัวเลขที่เข็มชี้ขณะที่ได้ยินเสียงชีพจรเต้นครั้งแรก คือ ค่าความดันโลหิตช่วงบน
และตัวเลขที่เข็มชี้ขณะที่เสียงชีพจร หายไปอีกครั้ง คือ ค่าความดันโลหิตช่วงล่าง
7. ค่อยๆ ปล่อยลมออกจนเข็มชี้ต่ำกว่า ค่าความดันโลหิตช่วงล่างประมาณ 10-20 มิลลิเมตรปรอท แล้วจึงปล่อยลมออกจาก สายรัดของเครื่องจนหมด แล้วถอดสายรัดออก
การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล
เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่แสดงผลเป็นตัวเลข มีหลายชนิดเช่น
Manulmonitor เป็นเครื่องวัดความดันโลหิต ชนิดพันแขน ต้องบีบลมเอง ราคาถูก
Automonitor เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตมีมอเตอร์บีบลมเอง การใช้งานเพียงกดปุ่มเดียว ก็จะแสดงค่าความดันโลหิตเป็นตัวเลขออกมา
Wristmonitor เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่วัดที่ข้อมือ สูบลมและคลายลมอัตโนมัติ พันสายรัดที่ข้อมือได้ง่าย และพกพาสะดวก
ในการวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล นั้นสามารถทำได้ง่ายกว่า การวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท มีขั้นตอนการวัดดังนี้คือ
1.ให้คาดสายรัดที่แขน
2. เปิดสวิตช์ให้เครื่องทำงาน
3. เครื่องรุ่นอัตโนมัติจะอัดลมเข้าสายรัดเอง ถ้าเป็นเครื่องรุ่นกึ่งอัตโนมัติต้องบีบลูกยางให้ลมเข้าสายรัดด้วยตนเอง
4. ขณะที่เครื่องปล่อยลมออกจากสายรัดโดยอัตโนมัติ ให้ดูที่หน้าปัดจะมีค่าตัวเลข แสดงค่าความดันโลหิตทั้ง 2 ค่า
5. ทำการบันทึกค่าความดันโลหิตไว้
6. กดปุ่มปล่อยลมออกจากสายรัด ถอดสายรัดออกจากแขน และกดปุ่มปิดเครื่อง
สาเหตุและอาการของความดันโลหิตสูง
สาเหตุของความดันโลหิตสูง
1.ความเครียด เมื่อใดก็ตามที่เราเกิดเครียดขึ้นมา ผิดหวัง โกธร เป็นกังวล หรือต้องปรับตัวกับสภาพที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป ภายในร่างกายก็เกิดการปรับด้วยเช่นกัน อย่างแรกที่จะเกิดขึ้นในทันทีคือ การหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลินจากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้หลอดเลือดหดแคบลง เพื่อร่างกายจะได้ส่งเลือด ที่ที่มีออกซิเจนไปยังเนื้อสมองได้มากยิ่งขึ้น และทำให้ความดันสูงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงในร่างกายเช่นนี้มีความจำเป็นต่อการอยู่รอด
แต่ในปัจจุบันความเครียดเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นในตัวเราหลอดเลือดจึงหดตัว และมีความดันที่สูงขึ้นตลอดเวลาจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าความดันเลือดสูงกว่าปกติ อวัยวะต่างๆในตัวเราต้องปรับตัวตาม นั่นคือโอกาสเกิดอัมพาตมีมากขึ้น หลอดเลือดในสมองเส้นใดเส้นหนึ่งอาจทนต่อความดันเลือดที่เพิ่มไม่ได้
2. เกลือ เป็นสาเหตุที่เราสามารถเห็นกันได้ชัดเจน เกลือเข้าไปในร่างกายของเราแล้วเปลี่ยนกระบวนการทางชีวเคมีของโซเดียมและโปตัสเซียม เราพบว่าที่ใดที่คนชอบกินเค็มจัด ในที่แห่งนั้นจะพบว่ามีคนเป็นความดันสูงกันมาก ในกลุ่มที่กินเกลือน้อยกว่า 500 มิลลิกรัมต่อวัน เราพบว่า เมื่อมีอายุมากขึ้นความดันเลือดยังคงอยู่ในระดับต่ำแทนที่ความดันจะสูงขึ้นตามอายุ
3. บุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีผลต่อความดันเลือดโดยตรง ความดันซีสโตลิกอาจเพิ่มขึ้นได้ถึง 25 มิลลิเมตรปรอทภายใน 2-3 วินาทีหลังจากสูดควันบุหรี่เข้าไปหนึ่งครั้ง เพราะร่างกายของเราสร้างอะดรีนาลินขึ้นมาทันที เมื่อสูบบุหรี่เป็นนิสัยร่างกายของเราจึงเสื่อมลงเลื่อยๆ คนทีสูบบุหรี่จัดๆจะสังเกตได้ว่าการไหลเวียนของเลือดผิดไป มือ-เท้าจะเย็น เป็นผลจากการหดตัวของหลอดเลือดนานๆหัวใจต้องส่งเลือดผ่านไปตามท่อของหลอดเลือดด้วยแรงดันที่สูงกว่าปกติ เลือดจึงจะไหลผ่านไปได้ ในบางรายที่หลอดเลือดตีบ จะทำให้มันตีบตันบริเวณปลายมือ-ปลายเท้า อาจทำให้เกิดการเน่าได้
อาการของความดันโลหิตสูง
ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ มักตรวจพบโดยความบังเอิญ ขณะไปให้แพทย์ตรวจสุขภาพประจำปี หรือรับการตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่น ส่วนน้อยอาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน มักจะเป็นตอนตื่นนอนใหม่ๆ พบตอนสายจะทุเลาไปเอง ในรายที่เป็นมานานๆ หรือมีความดันโลหิตสูงขึ้นมาก อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัว หรือมีเลือดกำเดาไหล
ประเภทของความดันโลหิตสูงและสาเหตุของการเกิด
1. ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ หรือ ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ (มากกว่า 90%) มักตรวจไม่พบความผิดปกติของร่างกายที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง แต่อย่างไรก็ตามมักพบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวของกับการเกิดโรคนี้ได้ นอกจากนี้ อายุที่มากขึ้น ความอ้วน อารมณ์เครียด การรับประทานอาหารเค็มจัด การดื่มสุราและการสูบบุหรี่ ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมความเสี่ยงในการเกิดโรคด้วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มเป็นเมื่อมีอายุ 25-55 ปี แต่จะพบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
2. ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ หรือ ความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ
ผู้ที่เป็นโรความดันโลหิตสูงส่วนน้อย (ต่ำกว่า 10%) จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ได้รับยาบางประเภท เช่น ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาสเตียรอยด์ ยาลดความอ้วน เป็นต้น
- ความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์
- โรคไต เช่น หน่วยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดแดงไตตีบ เนื้องอกของไต วัณโรคไต โรคไตเป็นถุงน้ำแต่กำเนิด เป็นต้น
- หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว ซึ่งมักจะทำให้ความดันโลหิตช่วงบนสูงอย่างเดียว
- โรคต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน คอพอกเป็นพิษ ซึ่งมักจะทำให้ความดันโลหิตช่วงบนสูงอย่างเดียว
- โรคคุชชิง เนื้องอกของต่อมหมวกไตที่เรียกว่า ฟีโอโครโมไซโตมา เป็นต้น
- ภาวะที่หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เช่น ไข้ หลังออกกำลังกายใหม่ๆ อารมณ์เครียด เป็นต้น ซึ่งมักจะทำให้ความดันโลหิต ช่วงบนสูงอย่างเดียว
- ภาวะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว ซึ่งมักจะทำให้ความดันโลหิตช่วงบนสูงอย่างเดียว
- อื่นๆ เช่น ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ตะกั่วเป็นพิษ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายจากความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เรื้อรัง รักษาไม่หายขาด ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จะทำให้หลอดเลือดแดงตีบแข็ง การไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายกับอวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่
สมอง เมื่อความดันโลหิตสูงมาก อาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบตัน หรือแตกได้ง่าย จึงมีโอกาสเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตได้ง่ายกว่าคนปกติ บางรายถ้าความดันโลหิตสูงเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง ในรายที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรงแบบฉับพลัน อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึม เพ้อ ชัก หรือหมดสติได้
หัวใจ ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เป็นผลให้หัวใจห้องล่างซ้ายโต ถ้าเป็นมากอาจทำให้หัวใจวายได้ และอาจมีโอกาสเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ได้มากกว่าคนที่มีความดันโลหิตปกติ
ไต ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงการทำหน้าที่ของไตจะค่อยๆ เสื่อมลง ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
ตา ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้าๆ โดยในระยะแรกหลอดเลือดแดงจะตีบตัน ต่อมาหลอดเลือดแดงอาจแตกมีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ จนอาจทำให้ตาบอดได้
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
สำหรับคนทั่วไป อาจป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยปฏิบัติตัวดังนี้
1. ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2. ควรลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง ปลาร้า ผักดอง เต้าหู้ยี้ ไข่เค็ม อาหารที่มีผงชูรสมาก เป็นต้น
3. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป โดยการควบคุมอาหาร เช่น อาหารที่มีไขมันสูง
4. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
5. ควรหลีกเลี่ยงจากความเครียดและสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น ควรทำจิตใจให้แจ่มใส นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ
โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นไม่ว่าใครก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ แต่บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ ซึ่งได้แก่
1. ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัว เช่น บิดามารดา พี่หรือน้อง เป็นโรคความดันโลหิตสูง
2. คนอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
3. ผู้ที่สูบบุหรี่
4. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
5. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัด
6. อายุที่เพิ่มมากขึ้น
บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว จะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าคนปกติ ซึ่งถ้ายิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาก โอกาสในการเกิดโรคยิ่งสูง และนอกจากจะมีโอกาสในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงแล้ว บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ยังมีโอกาสเกิดโรคทางด้านระบบหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนปกติด้วย ซึ่งได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย เป็นต้น
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เรื้อรัง รักษาไม่หายขาด การรักษาความดันโลหิตสูงจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ลดอัตราการตายหรือความพิการที่จะเกิดขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยการควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ โดยเป้าหมายของระดับความดันโลหิตที่ต้องควบคุมให้ได้ของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันตามโรคหรือภาวะอื่นที่ผู้ป่วยเป็น ดังนี้
ภาวะของโรคความดันโลหิตสูง |
เป้าหมายการรักษา |
ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน |
น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท |
มีภาวะแทรกซ้อน- |
น้อยกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท |
มีภาวะแทรกซ้อน คือ |
น้อยกว่า 125/75 มิลลิเมตรปรอท |
ภาวะความดันโลหิต |
ในระยะแรกความดันโลหิตช่วงบนน้อยกว่า 160 มิลลิเมตรปรอท |
เพื่อให้สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายอาจใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียว หรือร่วมกับการใช้ยาลดความดันโลหิตดังนี้
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นความดันโลหิตสูง
1. ดูแลน้ำหนักร่างกายให้พอดี โดยที่น้ำหนักตัวปกติ สามารถคำนวณได้จากสูตร ต่อไปนี้
ดัชนีมวลของร่างกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ส่วนสูง2 (ตารางเมตร)
ปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง 18.5-24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ถ้าต่ำกว่า 18.5 แสดงว่าน้ำหนักน้อยเกินไป
ถ้ามากกว่า 24.9 แสดงว่าน้ำหนักมากเกินไป
เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้น คนที่มีน้ำหนักตัวมากควรพยายามลดน้ำหนัก โดยการหมั่นออกกำลังกายและควบคุมปริมาณอาหาร โดยรับประทานผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น งดหรือลดอาหารมัน ของทอด และหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง
2 . การควบคุมอาหาร ดังนี้
- ลดอาหารเค็มโดยทั่วไปห้ามรับประทานเกลือเกิน 1 ช้อนชา/วัน
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง
- ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ปรุงรส เช่น หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ซุปกึ่งสำเร็จรูป
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง
- ควรหลีกเลี่ยงเครื่องปรุงรสที่มีเกลือมาก เช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอีสาน
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน เป็นต้น
- ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้
3. การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
4 . งดการสูบบุหรี่ ลดการดื่มชา กาแฟ
5 . ควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอลล์
ผู้ชายไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกิน 30 มิลลิลิตร/วัน คือ
เบียร์ไม่เกิน 720 มิลลิลิตร (ประมาณ 3 แก้ว)
ไวน์ไม่เกิน 300 มิลลิลิตร (ประมาณ 1 แก้ว)
วิสกี้ไม่เกิน 60 มิลลิลิตร (ประมาณ 2 ดื่ม)
ผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกิน 15 มิลลิลิตร/วัน
6 . ควรหลีกเลี่ยงจากความเครียดและสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น ควรทำจิตใจให้แจ่มใส นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ
7 . ถ้ามีโรคเบาหวาน ต้องควบคุมและรักษาโรคเบาหวานให้ดี
การรักษาโดยการใช้ยา
เมื่อแพทย์พบว่า ท่านมีความดันโลหิตสูง และไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แพทย์จะสั่งจ่ายยา ลดความดันโลหิตให้แก่ท่าน ซึ่งยานี้จะควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินไป แต่ไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ดังนั้นเพื่อให้ สามารถ ควบคุมระดับความดันโลหิตของท่านให้ปกติ จึงควรใช้ยาต่อเนื่องกันทุกวันตามคำแนะนำของแพทย์
คำแนะนำทั่วไปในการใช้ยาลดความดันโลหิต
1. ควรรับประทานยาตรงเวลาทุกวัน จึงจะได้ผลดี ถ้ากลัวลืม ควรรับประทานในเวลาที่แน่นอน เช่น หลังรับประทานอาหารเช้า
2. ยาลดความดันบางชนิด เป็นยาออกฤทธิ์เนิ่น ไม่ควรบด แบ่ง หรือเคี้ยวเม็ดยานั้น เพราะจะทำให้การรักษาไม่ได้ผล หรืออาจทำให้เกิดพิษของยาได้ ดังนั้นจึงควรกลืนยาทั้งเม็ดพร้อมน้ำ 1 แก้ว
3. ถ้าลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้รับประทานยาครั้งต่อไปตามปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
4. ควรมียาสำรองให้เพียงพอก่อนเดินทางไกล หรือไปพักผ่อนในที่ต่างๆ ซึ่งอาจหายาไม่ได้
5. หากรับประทานยาแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรรับประทานยาหลังอาหารทันที
6. ควรพบแพทย์ตามนัด เพื่อประเมินผลการรักษา เนื่องจากในบางครั้งอาจต้องปรับเปลี่ยน ขนาดยา
7. เมื่อรับประทานยาลดความดันโลหิต อาจมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด มึนงง เวลาเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว จึงควรเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้าๆ เช่น เมื่อจะเปลี่ยนจากการนอนเป็นยืน ไม่ควรลุกขึ้นยืนโดยทันที ควรจะนั่งสักครู่ก่อนที่จะยืนขึ้น
ความดันโลหิตสูงกับการออกกำลังกาย
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่เพียงสามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัยเท่านั้น แต่ การออกกำลังกาย ยังช่วย ลดระดับความดัน ให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้อีกด้วย เพียงแต่มีเงื่อนไขว่า ผู้ป่วยต้อง ออกกำลังกาย แบบหักโหม หรือเกินกำลัง ของตนเท่านั้น ครูฝึกที่มีความรู้ความสามารถด้านสรีระ และด้านกายภาพของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สเตท ยูนิเวอร์ซิตี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นจริงแล้วว่า ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่เคยผ่าน การบำบัดด้วยยาใดๆสามารถ ออกกำลังกาย ระดับปานกลางได้ อย่างเช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆหรือการว่ายน้ำ การออกกำลังกาย นี้สามารถ ทำได้แม้ในขณะที่ สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงถึง 100 องศาฟาเรนไฮต์ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายจะมีเป้าหมายอยู่ที่การลดน้ำหนักเป็นสำคัญ การจะบอกว่าการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว จะเป็นการช่วยลดระดับความดันโลหิตลงได้อย่างแน่นอน ก็ยังดูว่า เป็นประเด็นที่พูด ไม่ได้เต็มปากเสียทีเดียว ทั้งนี้เนื่องจากระดับความดัน ที่ลดลงอาจเป็นผลมาจาก น้ำหนักที่ลดลงเพราะ การออกกำลังกาย หรือเป็นผลจาก การเปลี่ยนแปลง ระดับโซเดียมในร่างกายก็ได้
ผลการศึกษาครั้งล่าสุดก็ระบุว่าการออกกำลังกายทุกรูปแบบเป็นปัจจัยที่ทำให้ระดับความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น ในเบื้องต้นเหมือนๆ กันหมด แต่การออกกำลังกายแบบพอประมาณและอวัยวะของร่างกายทุกส่วน ถูกกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวนั้น จะส่งผลดีระยะยาว นั่นคือระดับความดันเลือดลดลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้
การออกกำลังกายที่มีประโยชน์ต่อโรคความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกายแบบไดนามิก หมายถึงการออกกำลังกายที่กล้ามเนื้อบีบรัดเพื่อให้ร่างกายทั้งระบบเคลื่อนไหงไปพร้อมๆกัน การออกกำลังกายแบบวิ่ง เดิน ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เต้นรำ เต้นแอโรบิก ล้วนเป็นการออกกำลังกายที่จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งสิ้น ควรเริ่มต้น การออกกำลังกาย แบบนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องกลัวกับภาวะความดันโลหิตสูง และในระยะยาว จะช่วยลดความดัน ให้กลับมาอยู่ในระดับปกติ จะมีคำเตือนเพียงประเด็นเดียว : หากคุณเป็น โรคความดันโลหิตสูง อยู่ล้วและกำลังบริโภคยา ที่แพทย์สั่งจ่าย ให้คุณต้องปรึกษาแพทย์เสียก่อนว่า ในระยะเริ่มแรกสามารถออกกำลังกายได้มากน้อยเท่าใด แล้วจึงเริ่มจากจุดนั้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป
ประเภทของการออกกำลังกายที่ต้องหลีกเลี่ยง
การออกกำลังกายแบบสเตติก (static) หรือแบบไอโซเมทริก (isometric) หมายถึงกานออกกำลังกายที่กล้ามเนื้อบีบรัด ขนาดความยาวของกล้ามเนื้อคงที่แต่ภายในกล้ามเนื้อจะมีความเครียดสูง การออกกำลังกายประเภทนี้ได้แก่ ยกน้ำหนัก พุ่งแหลน ทุ้มน้ำหนัก หรือการผลักสิ่งของหมุนไปรอบๆ การออกกำลังกายประเภทนี้จะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น อย่างรุนแรงและรวดเร็ว รวมทั้งทำให้ระดับโลหิตเพิ่มถึงระดับสูงสุด สร้างภาวะกดดันให้แก่หัวใจได้อย่างมาก ที่สำคัญภาวะของการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และเฉียบพลันนี้ ในผู้ที่มีความดันโลหิตระดับสูง อยู่แล้วการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะรุนแรงและเฉียบพลันกว่า ผู้ที่มีความดันโลหิต อยู่ในระดับปกติ อย่างมาก การกลั้นลมหายใจ ขณะยกของที่มี น้ำหนักจะสร้าง ความเครียดให้หัวใจ กับหน้าอกอย่างรุนแรง เป็นอุปสรรคต่อ การไหลเวียนของเลือด ที่เดินทางย้อนกลับสู่หัวใจ ขณะเดียวกันหัวใจเองก็ขาดออกซิเจน
ความถี่และระดับความหนักในการออกกำลังกาย
- ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-7 วัน
- ใช้ระดับความหนักในการออกกำลังกายที่ 40-70 % ของVo2 max
- ใช้การตั้งเป้าหมายในการออกกำลังจากอัตราการเต้นของชีพจร
- ควรปรึกษาแพทย์ในผู้ที่มีอาการในขั้นรุนแรง