การวิเคราะห์ตนเอง (Self-Analysis)

การวิเคราะห์ตนเองมีหลักการ 4 ประการคือ การที่บุคคลจะต้องรู้จักตนเอง รู้จักความต้องการของตนเอง รู้จักที่จะยอมรับตนเอง และพัฒนาตนเองไป ให้เต็มศักยภาพของตน ทั้งสี่ประการจะทำให้บุคคลสามารถวิเคราะห์ตนเองได้และ เมื่อเราสามารถวิเคราะห์ ตัวเราได้ เราก็สามารถพัฒนาตนไปตาม ทิศทางที่เรา ต้องการ ซึ่งในแง่ของการพัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อช่วยให้การวิเคราะห์ตนสมบูรณ์ เราควรสนใจศึกษา เรื่ององค์ประกอบที่ทำให้บุคลิกภาพ ทางกายสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาตนในที่สุด
องค์ประกอบที่ทำให้บุคลิกภาพ ทางกายสมบูรณ์ ได้แก่เรื่อง สุขภาพกาย และสุขภาพจิต โดยสรุปคือ สถิต วงศ์สวรรค์. ( 2540 : 185-187 )

1. สุขภาพกาย เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน จะว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด สำหรับ บุคลิกภาพทางกายที่สมบูรณ์ ก็คงไม่ผิดนัก เพื่อให้มองเห็นความสำคัญ ของบุคลิกภาพว่า ทำให้บุคลิกภาพทางกายดีขึ้นอย่างไร จะแยกกล่าวไว้สามประการดังนี้

1.1 คนมีสุขภาพดีย่อมมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ สามารถทำงานได้คล่องแคล่วว่องไว สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมได้อย่างสะดวก เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นๆ โดยทั่วไปเข้ากับคนได้ง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ดี พูดเก่งคุยสนุก เพราะมีสุขภาพดีนั่นเอง
1.2 สุขภาพที่ดีย่อมทำให้ดูมีน้ำมีนวล หน้าตาแจ่มใส มีกิริยาท่าทางรื่นเริงและเป็นสุขมี ผลทำให้จิตใจดีด้วย จึงเป็นคนน่าคบหาสมาคมด้วย นับว่าเป็นบุคลิกภาพที่ดึงดูดความสนใจคนอื่นๆได้มาก
1.3 คนที่มีสุขภาพดีย่อมปราศจากโรคภัยไข้เจ็บซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจ สุขภาพที่ดียังทำให้ ส่วนอื่นของร่างกายสง่างามไปด้วยเช่น ผิวพรรณ ผม เล็บย่อมมีลักษณะงาม สัดส่วนของร่างกายสมบูรณ์เป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น บุคคลที่ปราศจากโรคเป็นคนที่มีลาภอันประเสริฐ ( อโรคยา ปรมา ลาภา ) สุขภาพของบุคคลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญคือ
1.3.1 การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย จะช่วยส่งเสริมความเจริญเติบโตของคนต้อง รับประทานให้ได้สัดส่วนและครบ 5 หมู่ อาหารดีมีประโยชน์ไม่จำเป็นต้องรสดี ราคาแพงแต่เน้นที่ธาตุอาหาร ให้ผลดีแก่สุขภาพต้องสร้างนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร รับประทานเป็นเวลา ไม่รับประทานจุบจิบไม่เลือกเวลา รับประทานไม่มากหรือน้อยเกินไปไม่ตามใจปากตามใจท้อง ไม่ใช่ว่าชอบอะไรก็รับประทานแต่อย่างนั้น คนที่ชอบรับประทานขนมหวานมากๆจะทำให้อ้วน บางคนไม่ชอบผักก็ไม่แตะต้องเลย ทำให้ขาดธาตุอาหารเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ
1.3.2 การออกกำลัง จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตด้วยดี มีสุขภาพสมบูรณ์ อวัยวะส่วนใดไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ จะไม่เจริญเติบโต และแข็งแรงเท่าที่ควร แขนขา ถ้าไม่ได้ใช้นานๆ จะไม่เจริญเติบโตและแข็งแรงเท่าที่ควร แขนขาถ้าไม่ใช้งานนานๆก็จะลีบเล็กลง เดินไม่ได้ จึงควรออกกำลังสม่ำเสมอ ด้วยการเล่นกีฬา หรือการทำงาน กายบริหาร วิ่ง เป็นต้น แต่ต้องไม่มากนักและไม่หยุดไปนานๆ
1.3.3 การพักผ่อน ที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ วัยรุ่นควรนอนวันละ 8 ชั่วโมง บางคนอาจมากน้อยกว่านี้ นอนเท่าไรจึงเพียงพอก็สังเกตได้ง่ายๆ ถ้าไม่ง่วงในเวลากลางวันเป็นใช้ได้ ถ้าง่วงอ่อนเพลียแสดงว่านอนพักผ่อนไม่พอ การพักผ่อนที่ดียังมีวิธีต่างๆอีกหลายวิธี เช่นดูมหรสพ หรือ ดูการแสดงต่างๆ ฟังหรือแสดงดนตรี ร้องเพลง ทำให้เกิดอารมณ์ชื่นบาน การอ่านหนังสือ ทำงานอดิเรกทำให้เกิดความสุข ความสบายใจได้มาก แต่คนที่ใช้เวลาพักผ่อนมากเกินไปจัดว่าเป็นคนไม่เสียดายเวลาสำหรับทำประโยชน์
1.3.4 ขนาดของร่างกาย คนที่อ้วนหรือผอมเกินไปควรปรึกษาแพทย์ ส่วนเตี้ยหรือสูงนั้น การบริหารร่างกายช่วยได้บ้างแต่ก็น้อยเต็มที
1.3.5 ทรวดทรงและสัดส่วนของร่างกาย ผู้ชายชอบสูงใหญ่ ไหล่กว้าง ล่ำสัน มีกล้ามเนื้องาม การเพาะกายช่วยได้ง่าย ผู้หญิงนิยมคนรูปร่างสมส่วนเพรียว ไม่อ้วน การบริหารร่างกาย การรักษาอนามัยจะช่วยให้มีเอกลักษณ์ของเอกบุรุษและสตรีได้
1.3.6 การทรงตัวและอิริยาบถ มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพทางกายอยู่มาก ลักษณะการนั่ง นอน เดิน การเคลื่อนไหวของร่างกายในตัวคน บางคนก็น่าดู บางคนก็เก้งก้างน่ารำคาญบางคนนั่งงอตัว เดินก้มหน้า ต้องรีบแก้ไขฝึกหัดใหม่ในลักษณะที่ส่งเสริมให้บุคลิกภาพดี
1.3.7 คุณภาพของผิวและส่วนอื่นๆของร่างกาย คนไทยนิยมผิวขาว ละเอียดอ่อนปราศจากผดผื่น ตำหนิ ผม เล็บ ฟัน ควรรักษาให้ดี
1.3.8 ความสะอาด เป็นสิ่งที่ส่งเสริมบุคลิกภาพและสุขภาพอย่างมาก ควรรักษาและทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดโรคและทำให้ตนมีคุณค่าสูงขึ้น จะต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องแต่งตัว อาหาร เคหสถาน

2. สุขภาพจิต สำหรับเรื่องสุขภาพจิตที่สมบูรณ์นั้น ย่อมจะส่งเสริมสุขภาพของร่างกายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและทำนองเดียวกัน สุขภาพของร่างกาย ก็ส่งเสริมให้บุคคลมีสุขภาพจิตดีขึ้นตามลำดับ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต จะเป็นตัวส่งเสริมซึ่งกันและกัน ที่ทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ บุคคลจึงควรแสวงหาวิธีการที่จะทำให้จิตที่ดีเกิดขึ้นได้จาก ความพึงพอใจในตนเอง การมีอารมณ์สดชื่นหรือชื่นบาน ความสดชื่นแจ่มใส ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ความบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ประพฤติผิดทั้งต่อกฎของสังคมและหลักศาสนา มีความเมตตา กรุณา สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และไม่เป็นคนที่มองโลกในแง่ร้าย จนเกินไปไม่เห็นคนอื่นเป็นศัตรูกับตน บุคคลในลักษณะดังกล่าว ย่อมจะไม่เสีย สุขภาพจิต หรือมีบุคลิกภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจนั่นเอง

การรู้จักตนเอง

มนุษย์เป็นสัตย์สังคม เป็นอมตวจีที่มนุษย์ชอบยกมาพูดอยู่เสมอ และใช้อ้างอิงเวลามนุษย์จะกล่าวถึงตน และสังคมโดยชี้ให้เห็นถึง ความสำคัญของสังคม ซึ่งมนุษย์จำเป็นต้องมีสัมพันธ์ พบปะ สังสรรค์ ติดต่อการงาน และธุรกิจ และยังมีกิจกรรม อีกมากมายที่มนุษย์จำต้องหรือเลือก ชอบกระทำร่วมกัน แต่เมื่อคนเราย้อนกลับมามองตนเอง คราวใดบ่อยครั้งที่ทุกคน มักเกิดความสงสัยอดถามตนเองไม่ได้ว่า "ตัวเราคือใคร"
เราท่านสงสัยแล้วก็คงผ่านไป เพราะมักจะไม่ได้คำตอบจากตนเองหรือผู้ข้างเคียงแต่นักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ คาร์ล โรเจอร์ ( Carl Rogers ) เขามีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้ที่มีลักษระที่ได้รับการขัดเกลามาแล้ว รักความก้าวหน้า พูดจริงทำจริงและมีความสามารถหลายๆ อย่าง และที่สำคัญคือมนุษย์ทุกคนมีความรู้สึกนึกคิดในตัวเองหรือที่เรียกว่า อัตมโนทัศน์ ( self concept ) หรือพูดง่ายๆว่ามี "ภาพ" ของตนจากตา ( และใจ) ตนเองไม่ว่าในด้านคุณสมบัติ รูปสมบัติหรือทรัพย์สมบัติ

ตัวตนของเราแต่ละคนจึงประกอบไปด้วยส่วนสำคัญสามส่วน คือ ตัวตนที่เราเป็นจริง ตัวตนที่เราคิดว่า เราจะเป็นและตัวตน ที่เราอยากเป็นและส่วนประกอบนี้ จะยักย้ายถ่ายเทไปได้ ดังแสดงในรูปที่ 1

B <---------------------- A --------------------> C
A หมายถึง ตัวตนที่เป็นจริง ( real self )
B หมายถึง ตัวตนที่คิดว่าเป็น ( perceived self )
C หมายถึง ตัวตนที่ต้องการจะเป็น ( ideal self )


รูปที่ 1 แสดงตัวตนของคนเราซึ่งประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน

เด็กๆ อยากเป็นซูเปอร์แมนแบบในหนังให้พ่อซื้อชุดซูเปอร์แมนให้เสร็จแล้วใส่ชุดซูเปอร์แมนลงมาจากตึก ทำเหมือนซูเปอร์แมน บางคนอยากเป็น นางงาม ก็พยายามเสริมสวย อาบน้ำนม บริหาร เสริมจมูกแต่ที่จริงแล้วพี่น้องเพื่อนฝูงต่างก็ยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้
สุภาพสตรีบางท่านอยากเป็นกุลสตรี หนังสือรายปักษ์อ่านแต่หนังสือของสุภาพสตรีก็คิดว่าตัวเองเป็นกุลสตรีแล้วแต่จริงแล้วเวลาพูดตะคอก ขู่คำรามเพื่อนฝูงหนีหมดก็น้อยเนื้อต่ำใจว่าเพื่อนไม่รักมั่ง อะไรมั่ง
นอกนี้ยังมีตัวอย่างอื่นๆอีกมากมายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ปัญหาก็คือ ถ้าเกิดความแตกต่างระหว่างตัวตนที่เราอยากเป็นกับตัวตนที่เราเป็นจริง หรือตัวตนที่เราคิดว่า เราเป็นและแตกต่างห่างไกลกันมาก ก็อาจเกิดอันตรายได้เช่น บางคนดื่มเหล้าเข้าไปคิดว่าไม่เมา แต่จริงๆแล้วเมาเพื่อนฝูงจะไปส่ง ก็บอกไม่ต้องขับรถกลับเองได้ในที่สุดก็ขับรถตกถนนเสียชีวิต หรือนักศึกษาคิดว่าให้ใกล้สอบกว่านี้อีกสักหน่อยค่อยดูหนังสือเพราะคิดว่าดูทัน พรุ่งนี้จะสอบวันนี้จึงจะดูในที่สุดก็ดูไม่ทันสอบตกบางทีอาจารย์เองก็เหมือนกันเวลาสอนหนังสือเด็กๆก็บ่นว่า จดไม่ทันแต่ท่านคิดว่า ท่านพูดช้าแล้ว ไม่ยมรับว่า ท่านพูดเร็ว บางคนเกิดมาชีวิตทางครอบครัวสมบูรณืแบบแล้วแต่ก็คิดว่าตนเองไม่สมบูรณ์แบบก็น้อยเนื้อต่ำใจ ไม่พอใจในสภาพของตนเอง บางคนก็คิดว่าตนเองมีเสียงไพเราะเหมือนนักร้องอาชีพ ไปงานไหนก็ขอร้องเพลงสามเพลงรวดทุกครั้งแต่จริงๆแล้วร้องเพลงทีไรได้แก้วได้ขวดแทบทุกครั้ง เด็กบางคนอยากเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ความจริงเป็นลูกที่ดีจริงๆแล้ว แต่ตัวเองคิดว่ายังไม่เป็นเกิด ความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ไม่ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่ ประเภทนี้มองโลกในแง่ลบ

การยอมรับตนเอง

รูปหัวใจที่อยู่ข้างล่างนี้เรียกว่า หน้าต่างหัวใจ หน้าต่างบานแรกเป็นสิ่งที่เราเปิดเผยเพราะเรารู้และให้ผู้อื่นรู้ บานถัดไปเป็นส่วนที่เป็นจุดบอดของตัวเราเพราะเราไม่รู้แต่ผู้อื่นรู้บานที่สามเป็นส่วนที่เราปกปิด เพราะเรารู้แต่ไม่ยอมให้ผู้อื่นรู้บานที่สี่เป็นส่วน "อวิชชา"เพราะเราก็ไม่รู้คนอื่นก็ไม่รู้เกี่ยวกับตัวเรา ดังแสดงในรูปที่ 2


รู้ตนเอง -----ไม่รู้

เปิดเผย 1 จุดบอด2



ปกปิด 3 อวิชชา 4

รู้ผู้อื่น ไม่รู้


เปิดเผย 1 หรือ Known
จุดบอด 2 หรือ Blind spot
ปกปิด 3 หรือ Hidden area
อวิชชา 4 หรือ Unknown
รูปที่ 2 แสดงเรื่องหน้าต่างหัวใจ

จุดบอด หมายถึง ส่วนที่เป้นข้อด้อยหรือจุดอ่อนของเราที่เราไม่รู้แต่คนอื่นรู้แบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ จุดบอดถาวรเช่น จุดบอดทางด้านคุณสมบัติเช่น คุณจิ๋มเธอคิดว่าเธอเป็นคนรับฟังคนอื่นพูดแต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพียงฟังเฉยๆ แต่ไม่รับจะเห็นได้จากคำพูดที่เธอพูดว่า "ที่เธอพูดมาฉันพอจะฟังได้ แต่เอาหละเอาอย่างที่ฉันว่าดีกว่า" จิ๋มไม่รูจุดบอดของตนเองว่าเป็นคนไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นหรือในด้านรูปสมบัติ นักศึกษาหญิงคนหนึ่งกลิ่นตัวแรงเพื่อนๆ บอกให้รู้ตัวเธอจึงยกรักแร้ตนเองขึ้นดมแต่ก็ไม่รู้เพราะชินกลิ่นตัวเอง ประเภทที่สอง เป็น จุดบอดชั่วคราวเช่น กินถั่วดำหรือกุยช่ายแล้วติดฟันตัวเองไม่รู้เวลาพูดกับเพื่อนๆ เพื่อนหลบกลัวลอยมาติดหน้าก็ถือว่าเป็นจุดบอดเหมือนกันแต่เป็นเพียงชั่วคราว
ปกปิด หมายถึง สิ่งที่เรารู้ว่าตัวเราเป็นอย่างไรแต่ปกปิดไม่ให้คนอื่นรู้เช่น อาจารย์ท่านหนึ่งจบจากจุฬาฯ แล้วมาเรียนต่อแพทย์แล้ว ต้องถูกไล่ออก เพราะคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่เขากำหนดไว้ เขาอายและเจ็บปวดรวดร้าวมากเลยไปเรียนจิตวิทยาที่เมืองนอกกลับมาเป็นอาจารย์จิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ห้องทำงานของเขาเป็นกระจกมอง ออกไป เห็นมหาวิทยาลัยเดิมที่ถูกไล่ออก เป็นอาจารย์ที่มีประวัติถูกไล่ออกต่อมามีเด็กมาปรึกษาเขาว่า ได้ใบเตือนมาสองหนแล้วถ้าแก้ไม่ได้ในเทอมนี้ ถูกไล่ออกแน่แทนที่เขาจะตั้งอกตั้งใจหรือหาหนทางช่วยเหลือเด็ก กลับไม่ใช่ เขาน้อยเนื้อต่ำใจหวาดระแวง เจ็บปวดรวดร้าวกับอดีตที่เขาเคยโดนไล่ออก เขาระแวงไปว่าเด็กคงเกลียดขี้หน้าเขาหนัก เลยพาลมาหาเรื่องเขาเพราะรู้จุดอ่อนของเขาเสร็จแล้วเขาระแวงลึกซึ้งไปกว่านั้นอีก อาจารย์ที่ปรึกษาของเด็กคนนี้เป็นใคร เขาสืบเลยว่าทำไมถึงส่งเด็กคนนี้มาเล่นงานเขา พอตอนหลังเขาใจเย็นลงเลย มานั่งพิจารณาว่า"เอ๊ะเรื่องอะไรเขาจะต้องไปปกปิด ไปน้อยเนื้อต่ำใจ" เพราะหลังจากรีไทร์จากแพทย์แล้ว ไปเรียนต่อปริญญาเอกมา มันก็ควรจะพอใจแล้วแต่เขาก็ไม่พอใจ เพราะมีแผลเป็นเขาก็เลยแก้ไขตัวเองด้วยวิธีการทางจิตวิทยาในการแก้ไขความกลัวที่เรียกว่าวิธีการ "ค่อยๆทำให้ชิน"(Desensitization)ซึ่งบอกว่าถ้ากลัวอะไรหรือเจ็บปวดรวดร้าวกับอะไรให้ค่อยๆเข้าไปหาสิ่งนั้น เขาเลยข้ามฟากเข้าไปในมหาวิทยาลัยนั้นหนสองหน หนแรกเหงื่อแตกเหงื่อแตนเลยพอเห็นอาจารย์ที่เคยสอนเขา เขาก็หลบ เห็นเพื่อนที่เป็นหมอแล้วก็หลบไปดูหอพักที่เขาเคยอยู่ข้ามไปข้ามมาอยู่ 40-50 หน ทุกข์ที่เราเคยกลัว ถ้าเรากล้ายอมรับกล้าเผชิญหน้ากล้าเปิดเผย มันถ้าพูดถึงปริมาณมันจะลดลงเรื่อยๆ เพราะกล้ายอมรับว่าเราเป็นอย่างไรตอนหลังเขาไปทำบำบัดด้วยวิธีค่อยๆทำให้ชินกับอาจารย์ที่โรงพยาบาลศิริราช คนที่เป็นอาจารย์เขาก็มาเป็นลูกศิษย์เขา แต่ว่าก็ไม่ปกปิด เรากล้าเปิดเผยกล้ายอมรับตนเอง
นี่เป็นตัวอย่างว่าทำไมเราต้องไปปกปิด ในบางสิ่งบางอย่าง ที่เราสามารถจะยอมรบได้และกล้าเปิดเผยได้ ทุกคนก็น่าจะยอมรับและเปิดเผย คนที่สุขภาพจิตดี "หน้าต่าง" บานเปิดเผยจะเปิดกว้าง อะไรที่เคยปกปิดไว้ถ้ายอมรับตนเอง กล้าเผชิญ กล้าเปิดเผยเราก็จะไม่รู้สึกว่าเป็นปมด้อยอีกต่อไป ก็ถ้าเราเองยังดูถูกเหยียดหยามตัวเอง ยังไม่กล้ายอมรับถือว่าเป็นปมด้อยคนอื่นไม่มีทางที่จะเห็นว่า "ดี" กว่าตัวเราเห็นตัวเองแน่ สุธีรพันธุ์ กรลักษณ์ ( 2528:849-859)
การรู้จักตนเองในแบบหน้าต่างหัวใจ ( JOHARI WINDOW )เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยาคือ Joseph Luft และ Hary Ingham ได้คิดกระบวนการ รู้จักตนเอง และพัฒนาตนเองในรูปของหน้าต่างหัวใจที่เรียกว่า JOHARI WINDOW เราสามารถทำความรู้จักกับตัวเองให้มากขึ้น โดยให้คนอื่นๆ บอกจุดบอดของเราเพื่อเราจะได้ปรับปรุง ดังรูปที่ 3

เดิม ใหม่

เปิดเผย
เปิดเผย จุดบอด





รูปที่ 3 แสดงการปรับปรุงตนเองโดยใช้หลักหน้าต่าง JOHARI WINDOW

ในกรณีที่เราสามารถบอกข้อบกพร่องหรือจุดปกปิดให้ผู้อื่นได้รับรู้ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจตัวเรายิ่งขึ้นเราอาจทำได้โดยใช้หน้าต่าง JOHARI WINDOW ดังรูปที่ 4
เดิม ใหม่

เปิดเผย
เปิดเผย จุดบอด








รูปที่ 4 แสดงการบกข้อบกพร่องของตนเองกับผู้อื่นในหน้าต่าง JOHARI WINDOW