หญ้า ลักษณะทางพฤษศาสตร์
หญ้า - ลักษณะทางพฤษศาสตร์
หญ้าอยู่ในตระกูล แกรมมิเนื้อ (Gramineae) เป็นพื้ชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งมีลักษณะทางพฤษศาสตร์ ดังต่อไปนี้
ราก หญ้ามีระบบรากเป็นรากฝอย ประกอบด้วยรากเล็ก ๆ ขนาดเท่ากันเป็นจำนวนมาก และรากนี้เกิดจากต้นโดยตรง หรือเกิดจากข้อที่อยู่ผิวดินหรือข้อที่อยู่ใต้ดิน การเจริญเติบโตของราก ขึ้นอยู่กับความชื้น อุณหภูมิ โครงสร้างของดิน ความลึกของดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเฉพาะความชื้นที่สำคัญที่สุด
ลำต้น มีลักษณะเป็นข้อและปล้อง แต่ละปล้องมีขนาดไม่เท่ากัน แตกต่างกีนไปตามพันธุ์ จำนวนปล้องจะเท่ากับจำนวนของใบหญ้า ส่วนตาจะอยู่ที่ข้อตรงซอกใบข้อละ 1 ตา สลับกันไปจากข้อหนึ่งไปอีกข้อหนึ่ง การเจริญเติบโตมีทั้งการเจริญเติบโตทางยอด และด้านข้างเป็นการแตกหน่อ หรือแตกแขนงออกจากตาที่ตรงซอกใบระหว่างกาบใบและลำต้นเป็นข้อใหม่ ที่เรียกว่า การแตกกอ โดยจะแตกกิ่งทางด้านซ้าย และขวาสลับกันไป
ลำต้นของหญ้า มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้
1. ลำต้นจากต้นอ่อน หรือลำต้นที่เกิดจากหัวใต้ดิน สำหรับลำต้นที่เกิดจากต้นอ่อนนั้น เป็นลำต้นที่งอกออกจากเมล็ด ส่วนลำต้นที่เกิดจากส่วนหัวใต้ดิน ที่เก็บสะสมอาหารไว้ใช้ในยามขาดแคลนอาหารในฤดูแล้ง เมื่อมีสะภาพเหมาะสมก็จะเจริญดันทะลุดินขึ้นมาเป็นต้นใหม่ เช่น หญ้าแห้วหมู
2. ลำต้นที่อยู่ใต้ดินเป็นเหง้า (Rhizome) ลำต้นนี้จะมีข้อและปล้องเลื้อยขนานกับผิวดิน บนเหง้าจะมีตาอยู่ เมื่อลำต้นบนดินถูกทำลายไป เหง้านี้จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ได้ เช่น หญ้าคา หญ้าแพรก สำหรับลักษณะของเหง้านี้ จะแตกกันไปตามชนิดของหญ้า บางชนิดเหง้ายาวบางชนิดเหง้าสั้น
3. ลำต้นที่เลื้อยบนดินเป็นไหล (Stolon) จะมีข้อและปล้องสั้นเช่นกัน โดยไหลนี้จะทาบราบในแนวระดับผิวดิน เมื่อไหลทอดไปตรงไหน ก็จะแตกรากที่ข้อ แล้วเกิดเป็นต้นใหม่ เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป เช่น หญ้าแพรก หญ้ามาเลเชีย หญ้ากำมะหยี่ หญ้าญี่ปุ่น
ใบ ประกอบด้วย
1. กาบใบ จะหุ้มอยู่กับลำต้นแน่น กาบใบส่วนมากด้านข้าง ๆ ของกาบใบทั้ง 2 ข้างจะทับกัน
2. แผ่นใบหรือตัวใบ จะมีลักษณะแบน เล็ก ยาวเรียวคล้ายใบหอกส่วนที่ใกล้จะถึงโคนใบจะกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ เส้นใบจะขนานกับความยาวของใบ ผิวใบจะมีทั้งเรียบและหยาบเพราะผิวใบมีขนบางชนิด ผิวใบจะมีขี้ผึ้งแฉาบกันน้ำระเหย หรือป้องกันศัตรูมารบกวนหรือทำลาย
3. เยื่อกันน้ำ จะอยู่บริเวณข้อต่อระหว่างใบและกาบใบด้านในเป็นแผ่นเหยื้อบาง ๆ สีขาวหรือสีน้ำตาลแล้วแต่พันธุ์ ขอบรอบนอกของเยื่ออาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้
4. ใบหู อยู่บริเวณข้อต่อระหว่างแผ่นใบและกาบใบทางด้านข้างของข้อต่อ มีลักษระเป็นพู่คล้ายหางกระกรอก อาจจะมี 1 - 2 อัน ถ้ามี 2 อัน จะอยู่ข้างละ 1 อัน ใบแก่อาจไม่พบเพราะมันร่วงไปก็ได้
ส่วนของใบทั้งหมดนี้ จะตั้งอยู่ในบริเวณข้อและปล้อง ใบหญ้าแต่ละพันธุ์จะมีความยาว กว้างยาว กว้าง สี และรูปทรง ตลอดจน การกระทำมุมของใบกับต้นแตกต่างกันไป สำหรับใบหญ้ากับใบข้าว แม้ว่าจะอยู่ในพืชตระกูลเดียวกัน แต่มีลักษณะแตกต่างกัน กล่าวคือ
1. ใบหญ้า จะมีเยื้อกันน้ำ หรือใบหูอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจมีทั้ง 2 อย่างเลยก็ได้
2. ใบข้าวจะมีทั้งเยื่อกันน้ำ และหูใบ
ช่อดอก เป็นกลุ่มของดอก ที่มีดอกย่อย หรือก้านดอกเดียวกัน
ดอก ในแต่ละกลุ่มของดอก จะมีดอกย่อย และดอกย่อยนี้ จะเกิดบนแกนกลางของช่อดอก ซึ่งดอกย่อยจะมีทั้งดอกย่อยที่เป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือดอกย่อยที่มีหลายดอกก็ได้ และดอกย่อยจะเกิดสลับกันไปบนแกนก้านดอก ในแต่ละดอกย่อย จะมีกลีบดอก 2 อัน ประกบกันอยู่ข้างบนและข้างล่าง มีเกสรอยู่ 3 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน โดยทั่วไปดอกของพืชตระกูลหญ้าจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แต่ก็จะมีดอกบางชนิดเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ โดยแยกกันอยู่คนละช่อ หรือคนละต้น
การจัดระเบียบของกลุ่มดอก แบ่งเป็น 3 แบบดังนี้
1. ดอกที่เกิดบนแกนกลางของช่อดอก และแต่ละก้านดอกยาวเท่า ๆ กัน
2. ดอกที่เกิดจากแกนกลางของช่อดอก แต่ไม่มีก้านของดอก
3. ดอกที่มีก้านช่อดอก ที่แตกเป็นกิ่งก้านมาก
เมล็ด เนื่องจากที่หญ้ามีดอกมากดังกล่าวมาแล้ว หญ้าจึงมีเมล็ดมากจึงทำให้เป็นปัญหาว่าหญ้ากระจายไปได้รวดเร็ว จึงเป็นวัชพืช ในที่สุดใด้เมล็ดหญ้า จะมีเมล็ดที่เล็ก ภายในจะมีแป้ง และน้ำตาลอยู่บ้างเล็กน้อย แลวจะมีเปลือกที่เป็นแผ่นแข็ง 2 แผ่นประกบกันอยู่ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบด้วย แต่จำนวนแป้ง น้ำตาล และโปรตีน จะน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของหญ้า
สำหรับเปอร์เซ็นต์การงอกของหญ้าจาก เมล็ดแตกต่างกันไป ตั้งแต่พวกที่งอกได้ดีในแต่ละสภาพอากาศ และพวกที่งอกได้บางสภาพ หญ้าบางชนิด มีปริมาณเมล็ดมากเกินไป ทำให้มันเป็นวัชพืชที่มีปัญหาเมื่อแพร่กระจายเมล็ดของมันออกไป
สนามหญ้าที่ปลูกในเมืองไทยนั้น มีอยู่หลายชนิด ซึ้งล้วนแต่ความต้องการของผู้ที่จะทำสนามหญ้าว่ามีวัตถุประสงค์ หรือเพื่อประโยชน์อะไร สำหรับหญ้าที่มีจำหน่ายและที่ปลูกในเมืองไทย มีดังต่อไปนี้
ชนิดหญ้า | แสง | การเจริญเติบโต | การดูแลรักษา | การตัดหญ้า | การเหยี่ยบย่ำ | เป็นกระจุก |
นวลน้อย | แดดจัด | พอประมาณ | ดูแล ปานกลาง คนทุกระดับ ปลูกได้ | ตัด 0.75 - 1.50 " ทุก 1 - 2 อาทิตย์ |
ทน ฟื้นตัวเร็ว | มักไม่เกิด |
ญี่ปุ่น | แดดจัด | ช้า | ต้องดี ตัดหญ้าลำบาก กินแรง ใบมีดทื่อง่าย ปล่อยทิ้งไว้- เป็นกระจุก | ตัด 0.5 - " ทุก 5 - 10 วัน | ทนได้ แต่ถ้าโทรม ฟื้นตัวช้า | เกิดได้ง่าย ตัดแล้ว เกิดรอยบั้ง |
มาเลเชีย | ในร่ม | ไวพอประมาณ | ดูแลปานกลาง ปลูกในที่แจ้ง ต้องปุ๋ยน้ำถึง มิฉะนั้นก้าน ใบจะแดง |
ตัด 1 - 2 " ทุก 10 - 15 วัน |
ทนไม่ไหว ตายหมด | ไม่มีปัญหา |
ฟลอริด้า | แดดจัด | ใบละเอียด นุ่มน่าสัมผัส |
ต้องดูแลดี ใช้น้ำ ปุ๋ยมาก ต้องตัดบ่อย ถ้าปล่อยทิ้ง ไว้ไม่ดูแล จะไม่สวยถ้าไม่ตัด |
ตัด 0.5 - 1.0 " ทุก 5 - 10 วัน |
ถ้าตัดสั้น ใส่ปุ๋ยถึง ทนได้ ฟื้นไว |
เกิดง่าย ตัดแล้ว เกิดรอยบั้ง |
นวลจันทร์ | แดดจัด | ใบใหญ่ นุ่มดี | ดูแลปานกลาง ปุ๋ยน้ำถึง เจริญแข่งกับวัชพืชได้ แต่ต้องกำจัดช่อดอก มิฉะนั้นสนามจะไม่สวย |
ตัด 1.0 - 1.5 " ทุก 1- 2 อาทิตย์ |
ทนได้ ฟื้นตัวเร็ว | ตัดแล้วมัก เกิดรอยบั้ง |
แพรก | แดดจัด | ใบขนาดปานกลาง นุ่มนั่งสบาย | ไม่ต้องดูแลมาก นักก็อยู่ได้ |
ตัด 0.75 - 1.50 " ทุก 1 - 2 อาทิตย์ | ทนได้ไม่เลว ฟื้นตัวเร็ว พอดีมีอยู่บ้าง |
เกิดง่าย ตัดแล้ว เกิดรอยบั้ง |
เซนต์ออกัสตีน | ในร่ม | ใบค่อนข้างใหญ่ | ไม่ต้องเอาใจ ใส่มากนัก แต่ต้องระวัง หนอนกัดกินใบ |
ตัด 1 - 2 นิ้ว ทุก 10 - 15 วัน |
ไม่ทน ย่ำบ่อย ๆ จะช้ำตาย | ไม่มีปัญหา |
กำมะหยี่ | ในร่ม | ใบเล็กละเอียดที่สุด แต่ค่อนข้างแข็ง | ต้องเอาใจ ใส่เป็นพิเศษ |
ตัด 0.75 - 0.8 " ทุก 3 - 4 อาทิตย์ |
ทนได้ดี พอสมควร แต่ฟื้นตัวช้า | จะอัดตัวแน่น และเกิดเป็น กระจุกได้สูง |