หญ้าญี่ปุ่น
เป็นหญ้าที่เจริญเติบโต ได้ดีในเขตร้อน แต่สามารถเจริญเติบโตได้ในเขตหนาว และแห้งแล้ง ซึ่งมีการเจริญ เติบโตดีพอสมควร แต่ปลูกในที่ชื่น หรือที่เฉาะไม่ดีนัก กล่าวคือ สามารถทนร่มได้ 50 % ในดินเค็มก็พอจะ ปลูกได้แต่ก็ไม่ดีนัก ดินที่เหมาะสมกับหญ้านี้ ควรมีความเป็นกรดเป็นด่าง pH ประมาณ 6 - 7 และ หญ้าก็ยัง ชอบขึ้นในดินเหนียวด้วย
หญ้าญี่ปุ่น มี 2 ชนิด
1. ชนิดใบกว้าง จะมีใบประมาณ 4 มิลลิเมตร
2. ชนิดใบกลม ใบเล็กและละเอียดกว่า ซึ่งเป็นที่นิยมปลูกในประเทศไทยมาก
ลักษณะของหญ้าญี่ปุ่น
ลำต้น เป็นพวกเลื้อยตามดิน และลำต้นจะตั้งแข็งทั้งลำต้นบนดิน และลำต้นใต้ดิน
ใบ ใบสีเขียวเข้ม ใบเล็กละเอียดกลมแข็ง ปลายใบแข็งและแข็งกระด้างเวลาสัมผัสจะระคายผิวหนัง ขอบใบเรียบไม่มีขน
ดอก ช่อดอกสั้น ดอกเล็ก และมีสีน้ำตาลออกดำ ดอกจะรวมกันแน่นบนก้านดอก ดอกจะบานจากส่วนล่างขึ้นบน
หญ้าญี่ปุ่นนี้ ต้องการน้ำมาก และการเจริญเติบโดช้า ต้องใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปีกว่าจะขึ้นเต็มสนาม ถ้าแห้งแล้งนาน ๆ หรือขาดน้ำใบจะเหลืองทันที
เป็นหญ้าที่ทนต่อการเหยีบย่ำพอสมควร และไม่ค่อยยืดหยุ่นตัวเหมือนหญ้านวลน้อย
เป็นหญ้าที่ต้องการปุ๋ยไม่มากนัก ทนต่ออากาศหนาวได้ดี อาจทนได้ถึงประมาณ 10 - 20 องศาฟาเรนไฮด์ ทนต่อโรคหรือแมลงต่าง ๆ ได้มากกว่าหญ้าชนิดอื่น
หญ้าญี่ปุ่นนี้เจริญเติบโตช้า แต่เมื่อขึ้นแล้วจะหนาแน่นมาก ขึ้นคลุมดินวัชพืชไม่สามารถขึ้นแข่งได้ การแต่งไม่บ่อยนัก เพราะเจริญเติบโตช้า ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ ก็จะเป็นกระจุก การตัดแต่งลำบาก
การตัดแต่ง
หญ้าญี่ปุ่นชนิดนี้จำต้องตัดให้สั้นประมาณ 0.5 - 1.0 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 5 - 10 วัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานวัน หญ้าจะขึ้นเป็นจุก เมื่อตัดหญ้าจะมีสีเหลืองเป็นหย่อม ๆ มองดูแล้วหน้าเกลียด ไม่สวยงาม ซึ่งเป็นข้อเสียของหญ้าชนิดนี้ เนื่องจากหญ้าญี่ปุ่นมีลำต้นและใบแข็งกระด้างมาก ดังนั้นการใช้เครื่องตัดหญ้า ต้องมีกำลังสูง และมีใบมีด ที่คมมาก ใช้กรรไกรดัตไม่กี่วันก็หมดแรง เพราะมันขึ้นเป็นกระจุกทำให้ตัดยาก ลำต้น และใบก็เหนี่ยวด้วย ซึ่งทำให้กินแรงใน การตัดมาก แม้กระทั่งใช้ เครื่องตัดหญ้า ก็ต้องลับมีดบ่อยครั้ง เพื่อให้คมอยู่เสมอ
การขยายพันธุ์
สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และใช้ส่วนต่าง ๆ ปลูก เช่น ลำต้น เหง้า ไหล แต่นิยมกันมากก็ใช้ส่วนต่าง ๆ โดยปลูกแยกต้นปลูก การปลูกเป็นกระจุก และการปูเป็นแผ่น ๆ ส่วนการปลูกด้วยเมล็ดไม่นิยมเพราะการเจริญเติบโตช้ามาก
ข้อดี เป็นหญ้าที่เล็กมองดูแล้วสวยงามดี เหมาะสำหรับปลูกเป็นสวนหย่อม และพื้นที่ก็ควรไม่กว้างมากนัก และใช้ปลูกในบริเวณ ที่เป็นทางเข้าได้ดี เพราะสามารถป้องกัน และควบคุมไม่ให้บุกรุกบน ทางเท้า ได้ง่ายกว่าหญ้าชนิดอื่น
ข้อจำกัด ใบหญ้าจะแข็งกระด้าง และปลายใบเล็กเรียวแหลม ทิ่มตำระคายผิวหนัง การตัดลำบากและกินแรงมาก