หญ้ามาเลเชีย

หญ้ามาเลเชีย

หญ้ามาเลเชีย มีด้วยกัน 2 ชนิด

1. Common Carpet Grass

เป็นหญ้าดั้งเดิมของอเมริกา ในแถบร้อน ซึ่งก็ปลูกกันทั่ว ๆ ไปในเขตร้อน และร้อนชื้น ใบกว้างประมาณ 2 - 6 มิลลิเมตร มีจำกัด คือ ช่อดอกย่อย จะมีลักษณะรูปไข่ปลาย จะแหลม

2. Tropical Carpet Crass

เป็นหญ้าที่ขึ้นอยู่ในแถบอเมริกากลาง อเมริกาตอนใต้ แถวเม็กซิโก บราซิล และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก แล้วนำมาปลูกในเขตร้อน ทนต่อ อุณหภูมิต่ำสู้ไม่ได้ แต่ก็ สามารถปรับตัวได้ดีในดินที่แห้งแล้ง มีใบกว้างประมาณ 2.0 - 2.5 มิลลิเมตร ใบมีขน ช่อดอกย่อย จะเป็นรูปไข่และแหลม หญ้ามาเลเชียชนิดนี้ นิยมปลูกในประเทศไทย
สำหรับในเมืองไทยปลูกกันมานานแล้วในสวนยางพาราภาคใต้ ติดกับประเทศมาเลเชีย ซึ่งเราเรียกกันว่า หญ้าเห็บ และในบางท้องที่ก็เรียกว่า หญ้าไผ่ แต่เมื่อก่อน จะมีการปลูกขาย ก็ได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า หญ้ามาเลเชีย จนติดปากกัน มาถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็คิดว่าผู้ที่ปลูกขาย คงต้องการให้เห็นว่า มาจากเมืองนอก เพื่อให้ถูกใจคนไทย ที่นิยมของเมืองนอก เพื่อให้ขายได้ง่ายและได้ราคาสูง ซึ่งก็เป็นจริงตามที่คิดไว้

หญ้ามาเลเชีย

ลักษณะของหญ้ามาเลเชีย

  • ลำต้น จะแบนและมีลำต้นบนดินแตกออกทั้ง 2 ข้างของลำต้น ลำต้นบนดินไม่ยาวนัก รากจะแตกออกจากข้อของลำต้นบนดิน ที่เรียกว่า ไหล เมื่อไหลนี้สัมผัสกับดินรากและลำต้นใหม่ก็จะแตกออกจากข้อของไหล แล้วเจริญเติบโตแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
  • ใบ ใหญ่กว่าใบหญ้าทุกชนิด ใบมีสีเขียวอ่อน มีรากตื้น ตัวใบแบน ตรงกลางใบจะหักพับคล้ายหลังคาบ้าน ขอบใบมีขน ตั้งแต่ข้อต่อระหว่างตัวใบกับก้านใบจนถึง ยอดของใบในใบแก่จะมีขนเห็นได้ชัดเจนกว่าใบอ่อน และใบอ่อนจะเห็นเป็น คลื่นมากกว่าใบแก่ ขนที่ใบจะอยู่ด้านหน้าใบ ส่วนทางหลังใบจะเป็นมันไม่มีขน เส้นกลางใบทางด้านหลังจะนูนเด่นชัดเจน ยอดใบแหลมมน
  • ดอก ช่อดอกเกิดจากปล่องสุดท้ายของลำต้น มี 3 - 5 ช่อ ดอกย่อยเป็นรูปไข่แหลม ยาวประมาณ 2.0 - 2.5 ซม.

ในดินที่มีความ อุดมสมบูรณ์ปานกลางก็สามารถขึ้นได้ดี และสามารถขึ้นได้ดีในสถานที่ที่มีแสงน้อยหรือร่มรำไร เช่น บริเวณชายคาบ้าน และอาคาร หรือใต้ต้นไม้ ที่มีแดดรำไร ไม่ชอบที่น้ำขังแฉะ ถ้าน้ำขังแฉะต้นจะแคระแกร็น ใบจะเหลืองและตายได้ การเจริญเติบโตได้ดี และมีรากแน่น ถ้าปลูกในที่มีแสงน้อย ถ้าปลูกในที่มีแสงแจ้งมีแดดจัด จะทำให้ต้นแคระ ข้อปล้องจะสั้นมีสีแดง ส่วนใบก็จะเล็กลงและมีสีแดงด้วย
หญ้านี้มีความต้องการน้ำมาก ซึ่งก็เนื่องจากมีใบใหญ่ จึงมีการคายน้ำมาก ในฤดูแล้ง ถ้าหากขาดน้ำไใบจะเหลือง และชงักการเจริญ เติบโต และไม่ทนต่อการเหยียบย่ำ
หญ้ามาเลเชียนี้ไม่ต้องการการเอาใจใส่มากนัก และไม่ต้องตัดบ่อย ๆ เหมือนหญ้าอื่น ๆ นิยมใช้เป็นหญ้าคลุมหญ้า คลุมวัชพืชใน สวนยาง สวนผลไม้ทางภาคใต้ เพราะขึ้นได้แน่นดี วัชพืชอื่น ๆ ไม่มีโอกาสขึ้นแซมได้

หญ้ามาเลเชียประโยชน์

หญ้ามาเลเชียเป็นหญ้าที่ใช้ทำ สนามหญ้า และจัดสวนหย่อม เช่นเดียวกับ หญ้าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในที่ร่มร่ำไร สามารถเจริญ เติบโต ได้ดีในที่มี ความอุดม สมบูรณ์ต่ำ ไม่ทนต่อดินเค็ม หญ้ามาเลเชียที่ใช้ปลูกโดยเมล็ด จะสามารถ ป้องกัน การพังทะลายของดิน ในที่มีความลาดชันสูงได้ดีเช่นกัน ทนต่อดินเป็นกรดที่มี pH ประมาณ 4.5 - 5.5 เป็นหญ้าที่ชอบความชื้นสูง ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด

การตัดหญ้า

ควรตัดในระยะ 1 - 2 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 10 - 15 วัน เครื่องตัดหญ้า สามารถใช้ได้ทุกชนิด รวมทั้งกรรไกร ก็ตัดได้ไม่กินแรง มากนักเหมือนกับหญ้าญี่ปุ่น

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ได้ดีและเร็วในฤดูฝน มีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และการใช้ส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะลำต้นเป็นกระจุก แบบปูเป็นแผ่น การปลูกด้วยเมล็ด จะลงทุนน้อย โดยการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 3 - 4 ปอนด์ ต่อเนื้อที่ 1,000 ตารางฟุต

ข้อดี เป็นหญ้าที่เหมาะสำหรับปลูกในที่ร่มร่ำไร หรือมีแสงน้อยได้ดี ต้องการการดูแลรักษาต่ำ
ข้อจำกัด ถ้าปลูกในดินที่มีสภาพเหมาะสมสามารถเจริญเติบโตได้เร็วมาก ใบและกิ่งก้านจะหนาอวบใหญ่ เมื่อตัดต้นหญ้าแล้ว จะเป็นเสี้ยนดูไม่สวยงาม เมื่อปลูกรวมกับหญ้าชนิดอื่น ก็จะลามเข้าไปทับหญ้าชนิดอื่นตายได้ เป็นหญ้าที่ต้องการน้ำมาก และต้องมีความชื่นสม่ำเสมอ ถ้าปลูกในที่กลางแจ้ง ก็ปลูกได้ แต่ต้องให้น้ำมากกว่าปกติ และใช้เป็นหญ้าที่เหยียบย่ำมากไม่ได้ เพราะเมื่อเหยียบย่ำมาก ๆ ก็ฟื้นตัวช้า