เกาะตะรุเตา

  • แผนที่เกาะตะรุเตา
  • ข้อมูลทั่วไป
  • การเดินทาง
  • สถานที่ท่องเที่ยว
  • โรงแรมที่พักเกาะตะรุเตา

เกาะตะรุเตา

"ตะรุเตา" เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า "ตะโละเตรา" ในภาษามลายู แปลว่า มีอ่าวมาก ตะรุเตาเป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติ ห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติตะรุเตาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยว ทั่วไป เนื่องจากเป็นจุดรวมของความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ทั้งบนเกาะ และในน้ำ มีป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในน้ำก็งดงามด้วยกลุ่มปะการังหลากสีสวยสด จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร พุทธศักราช 2479 มีการประกาศพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นโจรผู้ร้าย กรมราชทัณฑ์จึงหาสถานที่ที่มีภูมิประเทศเหมาะสม ซึ่งในที่สุดได้เลือกเกาะตะรุเตาและจัดตั้งขึ้นเป็นทัณฑสถาน โดยเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2480 กลุ่มบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์ ภายใต้การนำของขุนพิธานทัณฑทัย ได้ขึ้นสำรวจเกาะตะรุเตาบริเวณอ่าวตะโละอุดังและอ่าวตะโละวาว เพื่อจัดทำเป็น "ทัณฑสถาน" โดยฟันฝ่าอุปสรรคทางธรรมชาตินานัปการเป็นเวลา 11 เดือน งานบุกเบิกจึงสิ้นสุดลง หลังจากเดือนมิถุนายน 2481 เกาะตะรุเตาก็เป็นทัณฑสถานและเป็นนิคมฝึกอาชีพของนักโทษเด็ดขาด และนักโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะนี้ เพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า 566 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2482 ปลายปี พ.ศ.2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมืองจากคดี กบฏบวรเดช (พ.ศ.2476) และกบฏนายสิบ (พ.ศ.2478) จำนวน 70 นาย มายังเกาะตะรุเตาซึ่งถูกกักบริเวณไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง จากสงครามสงครามเอเชียบูรพา (พ.ศ.2484-2488) เกาะตะรุเตาถูกตัดขาดออกจากแผ่นดินใหญ่ เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ยา และเครื่องใช้ต่างๆ ต้นปี พ.ศ.2487 ผู้คุมนักโทษได้ทำตัวเป็นโจรสลัดเข้าปล้นสะดมเรือบรรทุกสินค้าชาวไทยและต่าง ประเทศที่แล่นแผ่นไปมา ในที่สุดรัฐบาลไทยและทหารอังกฤษได้เข้าปราบโจรสลัดเกาะตะรุเตาสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2489 และอีกสองปีต่อมากรมราชทัณฑ์ จึงได้ยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เสนอให้จัดที่ดินบริเวณเกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี และเกาะอื่นๆ ในบริเวณเดียวกันเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งสภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2515 ชอบในหลักการ ดังนั้นในเดือนมีนาคม 2516 นายเต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญทางพฤกษศาสตร์ป่าไม้ นายไพโรจน์ สุวรรณากร หัวหน้ากองอุทยานแห่งชาติ และคณะ จึงได้เดินทางไปสำรวจเกาะตะรุเตา เกาะอาดัง-ราวี และหมู่เกาะใกล้เคียง ปรากฏว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงาม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ เหมาะแก่การจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2516 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2516 ให้ดำเนินการจัดตั้งเกาะตะรุเตาเป็นอุทยานแห่งชาติโดยเร็ว กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 960/2516 ลงวันที่ 11 กันยายน 2516 ให้ นายบุญเรือง สายศร นักวิชาการป่าไม้ตรี และนายปรีชา รัตนาภรณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปดำเนินการจัดตั้งเกาะดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ และกรมป่าไม้ได้ดำเนินการขอถอนสภาพจากการเป็นเขตหวงห้ามเพื่อการราชทัณฑ์ใน บริเวณที่ดินดังกล่าว จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินเกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี และเกาะอื่นๆ ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล รวมเนื้อที่ประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร เป็น อุทยานแห่งชาติตะรุเตา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 19 เมษายน 2517 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 8 ของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จึงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ในปี พ.ศ.2525 อุทยานแห่งชาติตะรุเตาได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ให้เป็น มรดกแห่งอาเชียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves)

ลักษณะภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย 51 เกาะ มีเกาะที่มีขนาดใหญ่ 7 เกาะด้วยกัน คือ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี โดยจัดแบ่งออกเป็นหมู่เกาะใหญ่ๆ ได้ 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี เกาะตะรุเตา มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีความลาดชันสูง ชายฝั่งทางด้านตะวันออก ส่วนมากจะเป็นหน้าผาสูงชันสลับกับอ่าวและหาดทรายโคลน ทางด้านตะวันตกจะมีหน้าผาเฉพาะทางด้านเหนือบริเวณแหลมตันหยงมะระ(ด้านหัว เกาะ) มีที่ราบอยู่เป็นหย่อมๆ ทางเทือกเขาหลังอ่าว อ่าวที่สำคัญได้แก่ อ่าวพันเตมะละกา อ่าวสน อ่าวมะขาม อ่าวตะโละอุดัง และอ่าวตะโละวาว เป็นต้น อ่าวต่างๆ เหล่านี้มีคลองและลำธารไหลผ่านออกสู่ทะเล มีที่ราบเล็กน้อย เกาะอาดัง-ราวี อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงครอบคลุมเนื้อที่เกือบทั้งหมดของเกาะ มีที่ราบเฉพาะบริเวณเหนือชายหาดต่างๆ

ลักษณะภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติตะรุ เตาในรอบปีที่ผ่านมา (มกราคม – ธันวาคม 2544) พบว่า ฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน 594 มิลลิเมตร รองลงมาในเดือนตุลาคม 478 มิลลิเมตร และตกน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 15 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 2,908 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 39oC อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 19oC โดยอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนและต่ำสุดในเดือนมิถุนายน ในฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตาในช่วงนี้ไม่ปลอดภัย สำหรับนักท่องเที่ยว จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี เฉพาะบริเวณหมู่เกาะอาดัง - ราวี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 15 พฤศจิกายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า

ภาพป่าของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาสามารถจำแนกออกได้เป็น 7 ประเภท ได้แก่
ป่าดงดิบ ประกอบด้วย หงอกค่าง ยางปาย ยางเสียน เคี่ยมคะนอง มังคาก หลุมพอ เสียดช่อ ตะเคียนหิน หมากนางลิง ระกำ ไพลดำ ข้าหลวงหลังลาย ลิ้นแรด เฟินก้านดำ และนาคราช

ป่าผสมผลัดใบ/ป่าเขาหินปูน ประกอบด้วย รักขาว แคยอดดำ งิ้วป่า พลับดง ไทรย้อยใบทู่ ข่อย ส้มกบ สลัดไดป่า เปล้าน้ำเงิน เข็มขน เต่าร้างแดง แก้วหน้าม้า บุกหิน เปราะป่า เถาวัลย์ด้วน ขี้ไก่ย่าน เฟินราชินี หญ้าข้าวป่า และรองเท้านารีดอกขาว

ป่าชายหาด ประกอบด้วย เสม็ดชุน เสม็ดขาว วา จิกเล กระทิง หูกวาง สนทะเล ตีนเป็ดทะเล หว้าหิน โกงกางหูช้าง ปอทะเล โพทะเล รักทะเล พุทราทะเล กระแตไต่ไม้ ผักบุ้งทะเล ถั่วคล้า เกล็ดนาคราช พลับพลึง ปรงทะเล ชุมเห็ดเล และลำเจียก

ป่าพรุ ประกอบด้วย จิกนา จิกน้ำ ตีนเป็ดเล็ก เต่าร้างแดง หมากอาดัง กะลุมพี หญ้าสามคม กระจูด ผักแขยง กระถินนา หญ้าเข็ม ไส้ปลาไหล ผักขาเขียด ผักบุ้ง

ป่าชายเลน ประกอบด้วย เหงือกปลาหมอดอกม่วง ฝาด ขลู่ ตาตุ่มทะเล หลุมพอทะเล ตะบูน เล็บมือนาง ถั่ว พังกาหัวสุม โปรง โกงกาง ลำพู ลำแพนทะเล แสมว แสมทะเล สำมะงา หวายลิง และจาก

ไม้แคระ/ไม้พุ่ม ประกอบด้วย ปรงเขา ส้านใหญ่ ไกรทองหรือพิกุลทอง ชะแอง ขนหนอน ติ่งตั่ง หญ้าหนูต้น หญ้าหางนกยูง เอ็นอ้าน้อย และเนียมนกเขา

ป่ารุ่นสอง ประกอบด้วย ทุ้งฟ้า ตีนเป็ด กระทุ่ม ตอกใบใหญ่ ติ้วขาว หว้าเขา ชันยอด ตองแตบ เพกา มังตาน ตีนนก หนาดใหญ่ พลับพลา ปอเต่าไห้ พุดน้ำ โคลงเคลงขี้นก ถอบแถบเครือ หมามุ้ย หญ้ายายเภา และสาบเสือ

สัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาสามารถจำแนกออกได้เป็น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จำนวนที่พบ 30 ชนิด ประกอบด้วย หมูป่า กระจง ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้ นากใหญ่ขนเรียบ เม่นหางพวงใหญ่ อีเห็นธรรมดา บ่าง กระรอกบินแก้มสีแดง หนูท้องขาว และค้างคาวแวมไพร์แปลงเล็ก

นก จำนวนที่พบ 268 ชนิด ประกอบด้วย นกยางเขียว นกยางทะเล นกออก นกเด้าดิน นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล นกจาบคาหัวเขียว นกตะขาบดง นกแก็ก นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกแอ่นบ้าน นกปรอดคอลาย นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกเขียวคราม นกเด้าลมดง นกอีเสือสีน้ำตาล นกขุนทอง นกกินปลีอกเหลือง นกเอี้ยงถ้ำ

สัตว์เลื้อยคลาน จำนวนที่พบ 30 ชนิด ประกอบด้วย ตะกวด เหี้ย งูเหลือม งูจงอาง งูกะปะ งูเขียวตุ๊กแก งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว งูพังกา งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูเห่า งูปล้องทอง แย้ จิ้งจก ตุ๊กแกบ้าน จิ้งเหลน กิ้งก่า และเต่าหับ

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ประกอบด้วย กบน้ำกร่อย กบภูเขา กบหนอง อึ่งอ่างบ้าน ปาด เขียด คางคกบ้าน จงโคร่ง และคางคกไฟ

แมลงและอื่นๆ ประกอบด้วย ผีเสื้อมรกตธรรมดา ผีเสื้อลายขีดเงินลายขอ ผีเสื้อสะพายขาวปีกโค้ง แมลงปอ หิ่งห้อย เห็บกวาง ตั๊กแตนตำข้าว จิงโจ้น้ำ บึ้ง มดตะนอย จั้กจั่น ปลวก มวน แมลงเต่าทอง ทาก ตะขาบ แมงมุม ไส้เดือน และกิ้งกือ

พืชและสัตว์ที่พบในแหล่งน้ำ ได้แก่ สาหร่ายเห็ดหูหนู โลมาหัวขวดธรรมดา โลมาหัวขวดมลายู โลมาหัวบาตรครีบหลัง เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า ปลากระเบน ปลาการ์ตูน ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ปลาสิงโต ปลาโนรี ปลากะรัง ปลาปักเป้า ปลาอมไข่ ปลาทราย ปลาเก๋า ปลาข้างเหลือง ปลากระบอกหัวสิ่ว ปลากะพงแดงหางปาน ปลาเห็ดโคน ปลาสีกุนข้างเหลือง ปลาหางแข็งบั้ง ปลามงแซ่ ปลาฉลามหนูใหญ่ ปลาตีน หอยทับทิม หอยตาวัว หอยมือผี หอยสังข์ปีก หอยเบี้ย หอยมะระ หอยเต้าปูน หอยมวนพลู หอยวงเวียน หอยปีกนก หอยมือเสือ หอยตลับ หอยเสียบ หอยทราย หอยขี้กา หอยเจดีย์ หอยแมลงภู่ หมึกกระดอง หมึกกล้วย ปูหิน ปูเสฉวน ปูลม ปูก้ามดาบ ปูแสม กั้ง กุ้งมังกร และกุ้งนาง เป็นต้น

ปะการังและสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่พบในอุทยานแห่งชาติทางทะเลได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังโต๊ะ ปะการังโขด ปะการังรังผึ้ง ปะการังสมอง ปะการังดาวใหญ่ ปะการังดอกเห็ด ปะการัง บูมเมอแรง ปะการังกาแล็กซี่ ปะการังแผ่นเปลวไฟ ปะการังเคลือบหนาม ปะการังจาน ปะการังถ้วยสีส้ม ปะการังไฟ ปะการังสีน้ำเงิน ปะการังร่องหนาม ปะการังอ่อน กัลปังหา ดากทะเล ลิ่นทะเล เพรียงหัวหอม แมลงสาบทะเล หนอนตัวแบน ปลาดาว อีแปะทะเล ปลิงสายสะดือ พลับพลึงทะเล หอยเม่นหนามดำ หอยเม่นหนามลาย ทากดิน ตาลปัดทะเล แมงกะพรุน บัวทะเล ดาวเปราะ และดาวหนาม เป็นต้น

สัตว์น้ำจืด ได้แก่ ตะพาบน้ำ ปลาซิวใบไผ่ ปลาซิวควาย ปลากระดี่นาง ปลากระทิงดำ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาหัวตะกั่ว ปลาดุกคางขาว หรือปลาดุกด้าน ปลาดุกลำพัน ปลาหมอไทย ปลาช่อน ปลาก้าง ปลากริมข้างลาย ปลาตูหนา หรือปลาไหลหูดำ หอยโข่ง หอยขม ปูน้ำตก กุ้งก้ามกราม กุ้งฝอย กุ้งน้ำตก เป็นต้น

ที่มา http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=7&lg=1

การเดินทางไปเกาะตะรุเตา

เครื่องบิน

จากกรุงเทพฯ เดินทางมาสนามบินหาดใหญ่ การเดินทางเดินทาง

1. สามารถเดินทางโดยรถสองแถวออกมาที่ตลาดเกษตรค่าโดยสารประมาณ 20 บาท/คน เมื่อถึงตลาดเกษตรก็เดินทางโดยรถตู้ประจำทาง สายหาดใหญ่ - ปากบารา อัตราค่าโดยสาร 100 บาท/คน

2. เดินทางโดยเหมารถแท็กซี่ อัตราค่าโดยสารประมาณ 1,500 - 1,800 บาท/ คัน การเดินทางใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชม.

เรือ

การเดินทางโดยเรือโดยสารไปอุทยานแห่งชาติตะรุเตา มี 2 เส้นทาง คือ
1. เส้นทางท่าเรือปากบาราไปเกาะตะรุเตา (ขึ้นเกาะบริเวณท่าเรือพันเตมะละกา ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ) หรือไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ มีตารางการเดินเรือ ดังนี้

# ท่าเรือปากบาราเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากท่าเรือปากบารา เวลา 10.30 น. และ 13.00 น.
# เกาะตะรุเตาเดินทางไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 11.30 น.
# เกาะอาดัง-หลีเป๊ะเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เวลา 10.00 น.
# เกาะตะรุเตาเดินทางไปท่าเรือปากบารา เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 09.00 น. และ 11.00 น.

2. เส้นทางท่าเรือตำมะลังไปเกาะตะรุเตา (ขึ้นเกาะบริเวณท่าเรือตะโละวาว ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์รอุทยานแห่งชาติ ที่ ตต.1 ) หรือไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ มีตารางการเดินเรือ ดังนี้

# ท่าเรือตำมะลังเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากท่าเรือตำมะลัง เวลา 09.30 น.
# เกาะตะรุเตาเดินทางไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 11.00 น.
# เกาะอาดัง-หลีเป๊ะเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรืออกจากเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เวลา 14.00 น.
# เกาะตะรุเตาเดินทางไปท่าเรือตำมะลัง เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 15.00 น.

หมายเหตุ : ระหว่างท่าเรือตะโละวาวกับท่าเรือพันเตมะละกา มีรถรับ-ส่งของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ให้บริการรับ-ส่ง ระยะทางประมาณ 12.5 กิโลเมตร

รถไฟ

การเดินทางโดยรถไฟ จากกรุงเทพฯ ถึงหาดใหญ่ จากนั้นต้องเดินทางต่อจากหาดใหญ่ไปท่าเทียบเรือปากบารา จังหวัดสตูล เดินทางได้โดย
1) รถโดยสารประจำทางสายหาดใหญ่-ปากบารา หรือ
2) รถแท็กซี่ สายหาดใหญ่-ละงู ลงที่อำเภอละงู จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ
3) รถตู้ปรับอากาศ สายหาดใหญ่-ปากบารา

เมื่อเดินทางถึงท่าเทียบเรือปากบารา ต้องเดินทางต่อโดยเรือ เพื่อเดินทางไปเกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บริเวณอ่าวพันเตมะละกา หรือจะเดินทางไปเกาะอาดัง ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ อยู่บริเวณหาดแหลมสน

รถโดยสารประจำทาง

มุ่งสู่ปลายทาง "ท่าเรือปากบารา" เพื่อเดินทางต่อโดยเรือมุ่งสู่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
1) เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-สตูล ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ
2) เริ่มต้นที่จังหวัดตรัง เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายตรัง-สตูล ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ
3) เริ่มต้นที่อำเภอหาดใหญ่ เดินทางโดย
# รถโดยสารประจำทางสายหาดใหญ่-ปากบารา หรือ
# รถแท็กซี่ สายหาดใหญ่-ละงู ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ
# รถตู้ปรับอากาศ สายหาดใหญ่-ปากบารา

มุ่งสู่ปลายทาง "ท่าเรือตำมะลัง" เพื่อเดินทางต่อโดยเรือมุ่งสู่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-สตูล ลงที่จังหวัดสตูล เดินทางต่อรถด้วยรถสองแถวจากสตูลไปท่าเรือตำมะลัง

ตะรุเตาเป็นอุทยานแห่ง ชาติที่อยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติ ห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติตะรุเตาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยว ทั่วไป เนื่องจากเป็นจุดรวมของความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ทั้งบนเกาะ และในน้ำ มีป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในน้ำก็งดงามด้วยกลุ่มปะการังหลากสีสวยสด จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

เกาะกลางและเกาะไข่

เกาะกลางและเกาะไข่ เป็นเกาะที่อยู่ระหว่างเกาะตะรุเตาและเกาะอาดัง เกาะที่มีลักษณะโดดเด่น คือ เกาะไข่ เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีหาดทรายขาวละเอียด งดงาม ห่างจากเกาะตะรุเตา 25 กิโลเมตร เกาะไข่เป็นสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล นั่นคือ ซุ้มประตูหินธรรมชาติ ที่ทอดโค้งจากผืนทรายจรดน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลอีกด้วย

เกาะจาบัง

อยู่ระหว่างเกาะอา ดังและเกาะราวี รอบๆเกาะถูกปกคลุมไปด้วยปะการังอ่อนสีชมพู สีม่วง สีแดง ไล่น้ำหนักอ่อนแก่อย่างสวยงาม มีฟองน้ำครก แส้ทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวขนนก รวมทั้งปลาสวยงามในแนวปะการังที่ตื่นตา ซึ่งเหมาะสำหรับการดำน้ำลึกและการดำน้ำตื้น

เกาะดง

เป็นเกาะสุดท้ายใน ทะเลลึก ความโดดเด่นของเกาะนี้คือ มีหินซ้อนตั้งเรียงกันอยู่อย่างงดงาม แปลกตา และยังมีจุดดำน้ำลึกและดำน้ำตื้นให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงามใต้ท้องทะเล รอบเกาะ ได้อีกด้วย

เกาะยาง

อยู่ถัดจากเกาะหิน งามขึ้นมาทางเหนือ บริเวณรอบๆ เกาะถูกปกคลุมไปด้วยปะการังแข็ง เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังผักกาด ปะการังรูปโต๊ะ ฯลฯ จึงเหมาะสำหรับการดำน้ำตื้น หาดทรายสวยงาม น้ำใส มีปลาสวยงามในแนวปะการัง

เกาะราวี

มีหาดทรายขาว น้ำใส เงียบสงบ เหมาะแก่การกางเต็นท์พักผ่อน เล่นน้ำ ดำน้ำตื้น และดำน้ำลึกชมแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่น่าชม เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 6 (หาดทรายขาว) และหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 7 (ตะโละปะเหลียน)

เกาะหินงาม

เป็นเกาะเล็กๆ ที่เป็นหาดหิน เต็มไปด้วยก้อนหินสีดำ กลมเกลี้ยง เนื่องจากถูกขัดสีด้วยแรงคลื่น ดูงามสดสวย เมื่อถูกน้ำประกายวาววับ หินทุกก้อนที่หาดแห่งนี้มีคำสาปเจ้าพ่อตะรุเตา ห้ามนำ เคลื่อนย้ายออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ

เกาะอาดัง

ในอดีตเป็นที่ซ่อง สุมของโจรสลัด ปล้นสะดมเรือ มีหาดทรายขาวละเอียด สวยงาม และมีแนวปะการังอยู่รอบๆ เกาะ เหมาะสำหรับดำน้ำตื้น เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 5 (แหลมสน) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 40 กิโลเมตร

จุกชมทิวทัศน์ผาโต๊ะบู

สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 60 เมตร อยู่ด้านหลังอาคารที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ใช้เวลาเดินขึ้นประมาณ 20 นาที เป็นจุดชมวิวที่มีทัศวิสัยกว้างไกล มีศาลาสำหรับพักผ่อน

จุดชมทิวทัศน์ผาชะโด

อยู่บนเกาะอาดัง ทางขึ้นอยู่ใกล้กับที่พัก ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นจุดสังเกตการณ์ของกลุ่มโจรสลัดเพื่อเข้าโจมตีเรือ สินค้า ปัจจุบันเป็นจุดชมทิวทัศน์สวยงามของท้องทะเล จะเห็นทิวสนและหาดทรายสีขาวของเกาะอาดัง ทั้งยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ความงามของเกาะหลีแป๊ะ และใกล้ใกล้เคียงด้วย ใช้เวลาในการเดินประมาณ 30 นาที

ถ้ำจระเข้

อยู่ปลายคลองพันเต มะละกา ใช้เรือพาดหางไปจอดท่าเทียบเรือหน้าถ้ำ ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปตามสะพานไม้ที่ทอดผ่านป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์จนถึงถ้ำ จระเข้ เพื่อเข้าไปชมความงามของหินงอกหินย้อยและเสาหิน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการพายเรือแคนู/คยัค คลองพันเตมะละกาก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ไม่ควรพลาด

น้ำตกลูดู

เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สวยงาม เหมาะแก่การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ อยู่ในบริเวณอ่าวสน ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.4 (อ่าวสน) 3 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 11 กิโลเมตร

น้ำตกโละโป๊ะ

เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สวยงาม เหมาะแก่การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ อยู่ในบริเวณอ่าวสน ซึ่งห่างจากของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.4 (อ่าวสน) 5 กิโลเมตรโดยประมาณ ห่างจากที่ทำการ 13 กิโลเมตร

อ่าวจาก

เป็นอ่าวเล็กๆ อยู่บนเกาะตะรุเตา ติดต่อกับอ่าวพันเตมะละกา หาดทรายขาวสะอาด เหมาะสำหรับเดินเล่น พักผ่อน

อ่าวพันเตมะละกา

เป็นอ่าวที่มีพืน ที่ราบมากที่สุดบนเกาะตะรุเตา สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าชายหาด มีทิวสนทะเลเรียบไปตามชายทะเล หาดทรายขาว สะอาด เหมาะแก่การเดินชายหาด เล่นน้ำทะเล และพักผ่อน ค้างแรมกางเต็นท์ อากาศเย็นสบาย แต่ถ้าเป็บช่วงอับลม อากศจะร้อน ทางอุทยานแห่งชาติได้พัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นโซนบริการนักท่องเที่ยว มีบ้านพักทั้งบ้านเดี่ยวและบ้านเรือนแถว ค่ายพักแรม สถานที่กางเต็นท์ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ห้องน้ำ-ห้องสุขา ศาลาพักผ่อน ทางเดินเท้า ถนนเชื่อมต่อไปอ่าวตะโละวาว เป็นต้น

อ่าวพันเตมะละกาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่อยู่บนเกาะตะรุเตา เช่น เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ขึ้นจุดชมทิวทัศน์ผาโต๊ะบู นั่งเรือหรือพายเรือแคนู/คยัค ชมป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแวะเที่ยวถ้ำจระเข้ เล่นน้ำทะเลที่ชายหาด วิ่งออกกำลังกายหรือปั่นจักรยานเสือภูเขาไปตามถนนสายอ่าวพันเตมะละกา-อ่าวตะ โละวาว ศึกษาธรรมชาติและแหล่งประวัติศาสตร์ที่อ่าวตะโล๊ะวาว และอ่าวตะโล๊ะอุดัง เป็นต้น นอกจากนี้ หากนักท่องเที่ยวจะเดินทางต่อไปหมู่เกาะอาดัง-ราวี ก็สามารถขึ้นเรือที่ท่าเรือ ณ อ่าวพันเตมะละกา ได้เช่นกัน

อ่าวมะขาม

เป็นที่จอดพักเรือ ประมงขนาดเล็ก มีน้ำจืดสนิท ป่าไม้สมบูรณ์ มีสัตว์ป่า และนกชุม เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.3 (อ่าวมะขาม)

อ่าวเมาะและ

มีหาดทรายขาวสะอาด และดงมะพร้าวสวยงาม น้ำทะเลใสสะอาด เหมาะสำหรับการลงเล่นน้ำ บริเวณชายหาดจะเงียบสงบ ทางอุทยานแห่งชาติตะรุเตาได้จัดทำบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวในบริเวณ อ่าวนี้ด้วย

อ่าวฤาษี

เป็นอ่าวเล็กๆ มีถ้ำไว้หลบฝน ปะการังแข็งเหมาะแก่การดำน้ำตื้น

อ่าวสน

อยู่บนเกาะตะรุเตา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 8 กิโลเมตร หาดทรายยาวประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล มีหาดหิน น้ำตกและธารน้ำใส เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ที่ ตต. 4 (อ่าวสน) มีสถานที่กางเต็นท์ บริการอาหาร และห้องน้ำ-ห้องสุขา

อ่าวตะโละวาว

อยู่ทางด้านตะวัน ออกของเกาะตะรุเตา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 12 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2480 - 2490 ใช้เป็นสถานที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพหรือทัณฑสถาน นักโทษเด็ดขาด นักโทษกักกัน ในพื้นที่สามารถพบเห็นแต่มูลดิน ซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้าง และสุสาน 700 ศพ

ปัจจุบันทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติและประวัติศาสตร์ไว้ บริการนักท่องเที่ยวที่สนใจ นอกจากนี้บริเวณอ่าวนี้ยังเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.1 (ตะโละวาว) และสะพานท่าเทียบเรือ และอาคารบริการด้วย

อ่าวตะโละอุดัง

อยู่ด้านทิศใต้ของ เกาะตะรุเตา ห่างจากเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ประมาณ 8 กิโลเมตร อดีตเป็นที่กักขังนักโทษการเมือง กบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.2 (อ่าวตะโละอุดัง) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 23 กิโลเมตร

เกาะหลีเป๊ะ

อยู่ห่างจากอาดังไป ทางทิศใต้ ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวเล มีที่พักของเอกชน ร้านค้าและร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ห่างจากที่ทำการ 47 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติตะรุเตาปิดการท่องเที่ยวประจำปีในช่วงฤดูฝน เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว เฉพาะหมู่เกาะอาดัง - ราวี กำหนดปิดตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม-15 พฤศจิกายน ของทุกปี

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค





แผนที่ท่องเที่ยว
แผนที่เกาะตะรุเตา