แผนที่พิจิตร
- แผนที่พิจิตร
- ข้อมูลทั่วไป
- การเดินทาง
- งานประเพณี
- สถานที่ท่องเที่ยว
พิจิตร เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน มีความหมายว่า "เมืองงาม" ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านและแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆบุรี" ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ นอกจากนี้ เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองโอฆบุรี” ซึ่งแปลว่า “เมืองในท้องน้ำ” นอกจากนี้เมืองพิจิตรยังเป็น ที่ประสูติของ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาอีกพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ 8 หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ สมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่นๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียงซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ ทั้งนี้เพราะแม่น้ำน่านตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา และจังหวัดพิจิตรยังเป็นถิ่นกำเนิดของ นิทานเรื่อง ไกรทอง อันลือลั่นอีกด้วย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองดังเช่นเมืองอื่น ๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา
จังหวัดพิจิตรอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,831,883 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
จังหวัดพิจิตรมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือจดจังหวัดพิษณุโลก
ทิศใต้จดจังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก จดจังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก จดจังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์
การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 89 ตำบล 852 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองพิจิตร
- อำเภอวังทรายพูน
- อำเภอโพธิ์ประทับช้าง
- อำเภอตะพานหิน
- อำเภอบางมูลนาก
- อำเภอโพทะเล
- อำเภอสามง่าม
- อำเภอทับคล้อ
- อำเภอสากเหล็ก
- อำเภอบึงนาราง
- อำเภอดงเจริญ
- อำเภอวชิรบารมี
การเดินทาง
ทางรถยนต์
- เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์-ชุมแสง-บางมูลนาก-ตะพานหิน-พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 1118) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทางประมาณ 345 กิโลเมตร- เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางตากฟ้า- เขาทราย-สากเหล็ก (ทางหลวงหมายเลข 11) และเข้าสู่จังหวัดพิจิตรที่กิ่งอำเภอสากเหล็ก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 111) รวมระยะทางประมาณ 344 กิโลเมตร
- เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางสายตากฟ้า - เขาทราย (ทางหลวงหมายเลข 11) แยกเข้าเส้นทางเขาทราย-ตะพานหิน (ทางหลวงหมายเลข 113) แยกเข้าเส้นทางตะพานหิน-พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 113) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร ระยะทางประมาณ 338 กิโลเมตร
- เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถีงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก (ทางหลวงหมายเลข 117) ถึงอำเภอสามง่าม แยกเข้าเส้นทางสามง่าม-พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 115) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทาง 360 กิโลเมตร
ทางรถประจำทาง
รถประจำทาง มีรถประจำทาง (บขส. สีส้ม) ไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ - พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถ.กำแพงเพชร 2 ค่าโดยสารรถ บขส. สีส้มราคา 83 บาท ค่าโดยสารรถปรับอากาศชั้น 2 ราคา 116 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 02-936-2852-66 หรือ Call Center 1490 รถประจำทางปรับอากาศ มีรถปรับอากาศชั้น1 ของบริษัทเชิดชัยทัวร์ออกทุกวันๆละ 4 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 9.00-22.10น ค่าโดยสารราคา 149 บาท
ทางรถไฟ
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไป-กลับ ระหว่าง กรุงเทพฯ-พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง สามารถขึ้นได้จากสถานีสามเสน บางซื่อ ดอนเมือง สนใจติดต่อหน่วยประชาสัมพันธ์การรถไฟ โทร. 1690
งานแข่งเรือประเพณี จังหวัดพิจิตรมีการแข่งเรือประเพณีมาเป็นเวลานานแล้วเพราะมีธรรมเนียมว่า วัดใดถ้าจัดงานปิดทองไหว้พระแล้วก็จะต้องจัดงานแข่งเรือควบคู่กันไปด้วย มักจัดกันในฤดูน้ำหลาก ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือนกันยายนของทุกปี ในงานจะมีการแข่งเรือประเพณีและการประกวดขบวนแห่เรือต่างๆ ในแม่น้ำน่าน หน้าวัดท่าหลวง มีการประกวดสาวงามและการประดับประดาริ้วขบวนต่างๆ สวยงามน่าชมมาก
งานประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีสำคัญของชาวบ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม ซึ่งเป็นชาวไทยพวน ซึ่งถือปฏิบัติต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน จัดตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำและ 3 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์) เพื่อแสดงความเคารพบูชาเทวดาและพระมหากษัตริย์ เมื่อถึงวันกำฟ้าชาวไทยพรวนจะกลับมายังบ้านของตนเพื่อร่วมทำบุญกับญาติพี่น้อง พบปะสังสรรค์และเล่นกีฬาพื้นบ้าน
สถานที่น่าสนใจในเขตอำเภอเมือง
วัดท่าหลวง เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ใกล้ศาลากลางจังหวัด วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่จังหวัดพิจิตร ในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดินทางผ่านเมืองพิจิตรเพื่อไปปราบขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระมาฝาก ดังนั้น เมื่อเสร็จศึก แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำปิง โดยฝากเจ้าเมืองกำแพง เพชรไว้ ต่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถวัดนครชุมก่อน แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.30-18.00น.
บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศซึ่งเคยมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลถึง 12,000 ไร่ ลักษณะของบึงกว้างกลม คล้ายกะทะ แต่รีไปทางทิศตะวันตกเล็กน้อย ในปี 2521 กรมประมงได้จัดตั้งสถานีประมงน้ำจืดเพื่อเพาะพันธุ์ปลา และจังหวัดพิจิตรได้สร้างศาลาบึงสีไฟให้ประชาชนได้พักผ่อนหย่อนใจ บึงสีไฟนี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร นอกจากนั้นภายในบึงสีไฟยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พิจิตร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา สร้างโดยจังหวัดพิจิตรร่วมกับกรมการศึกษานอกโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2526 มีเนื้อที่ 170 ไร่ เป็นพื้นดิน 120 ไร่พื้นน้ำ 50 ไร่ ริมบึงสีไฟมีสะพานทอดลงน้ำสู่ศาลาใหญ่จัดไว้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ริมบึงจัดแต่งเป็นสวน มีทั้งไม้ใหญ่และไม้ดอก รวมทั้งทางเดินรอบๆบึงด้วย นอกจากนี้ยังมีเวทีเนินดินสำหรับใช้จัดรายการบันเทิงในวันหยุดสุดสัปดาห์
รูปปั้นพญาชาละวัน เป็นรูปปั้นจระเข้ที่มีความยาวถึง 38 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร ปากยาว 4.5 เมตร ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของบึงสีไฟ มีลักษณะเด่นและงดงามมาก ภายในตัวจระเข้นี้ยังมีห้องประชุมขนาด 25-30 ที่นั่งอีกด้วย
สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ สร้างขึ้นบริเวณด้านในของบึงสีไฟ ลักษณะอาคารเป็นรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลาแปลกๆ มากกว่า 20 ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้น บริเวณส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องสำหรับชมปลา ในบึงสีไฟซึ่งมีปลาชนิดต่างๆ วันธรรมดา จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเวลา 10.00-18.00 น. วันหยุดราฃการเวลา 10.00-19.00 น.
ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจังหวัดพิจิตร ตั้งอยู่ในบริเวณบึงสีไฟ ศูนย์นี้ได้จัดจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ ที่ชาวบ้านในจังหวัดพิจิตรผลิตขึ้นเอง เช่น เครื่องสานจากผักตบชวา ผ้าทอบ้านป่าแดง มะขาวแก้วสี่รส ฯลฯ ศูนย์นี้จะเปิดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยจะเปิดตั้งแต่เวลา 09.00-18.00น.
วัดโรงช้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลโรงช้างติดกับถนนพิจิตร-สามง่าม-วังจิก (ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 และทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 5 วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพระยาโคตรบองขึ้นครองราชย์ สถานที่แห่งนี้เรียกว่า กองช้าง เพราะเป็นที่พักของกองช้าง ต่อมาได้เรียกกันเพี้ยนไปเป็นคลองช้าง จนกระทั่งทางราชการได้เปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดโรงช้าง” บริเวณวัดโรงช้างมีพระพุทธรูปใหญ่อยู่กลางแจ้ง 3 องค์คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย 1 องค์ ปางห้ามญาติ 1 องค์ และปางไสยาสน์ 1 องค์ สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดที่ภายในได้สร้างเป็นห้องลับใต้ดินเพื่อใช้สำหรับเก็บแผ่นอิฐจารึกพระไตรปิฎกจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์โดยได้เล็งเห็นว่า ในอนาคตอาจมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่น สงครามนิวเคลียร์ซึ่งอาจทำให้พระไตรปิฏกสูญหายไปจากโลกได้
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร ไปตามเส้นทางสายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก( ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 และทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 6 จากการตรวจสอบและค้นคว้าเชื่อว่าเป็นเมืองพิจิตรเก่า สร้างในสมัยพระยาโคตรบองประมาณปี พ.ศ. 1601 ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่เศษ มีลักษณะเป็นเมืองโบราณ ประกอบไปด้วยกำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่า ฯลฯ มีสวนรุกขชาติกาญจนกุมารซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2520 ทำให้ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้ มีต้นไม้ร่มรื่นหลายชนิดเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ภายในอุทยานมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ
ศาลหลักเมือง สร้างเมื่อพ.ศ.2520 อาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ด้านบนจะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ส่วนด้านล่างจะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พ่อปู่” สภาพโดยรอบศาลจะมีต้นไม้มากมายดูร่มรื่นเย็นตา ในบริเวณยังมีศาลาสำหรับนักท่องเที่ยวพักผ่อนอีกด้วย
วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของวัดนี้เมื่อพ.ศ.2478 ประกอบไปด้วยพระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงลังกา ภายในมีพระเครื่องชนิดต่างๆซึ่งได้ถูกลักลอบขุดค้นไป ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ มีใบเสมา2ชั้น มีรากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมาองค์พระก็พลอยโค่นลงมาด้วย บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อ พ.ศ. 2534 บริเวณใต้เนินดินส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2 ยุคสมัยคือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบพบเจดีย์รายจำนวนมากและแนวกำแพงขนาดใหญ่
ถ้ำชาละวัน มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง “ไกรทอง” บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ลักษณะถ้ำ กว้าง 1 เมตร ยาว 1.50 เมตร และลึก 4 เมตร มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ 65 ปีมาแล้วพระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนเล่มหนึ่งก็ยังไม่ถึงก้นถ้ำ จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวันจะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมจนตื้นเขิน ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย
เกาะศรีมาลา มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็กๆ อยู่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะ แต่ตื้นเขิน สันนิษฐานจากลักษณะของคูเมืองและกำแพงแล้ว เกาะศรีมาลานี้แต่เดิมน่าจะเป็นป้อม หรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอกเมืองและอยู่กลางคูเมือง
วัดนครชุม ตั้งอยู่บนถนนสายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก(ทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 9 วัดนี้เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัย มีอายุการก่อสร้างประมาณ 800 ปี ด้านตะวันออกมีพระอุโบสถเก่าแก่มาก ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน เครื่องบนเป็นไม้โดยใช้สลักไม้แทนตะปู มีช่องระบายลมแทนหน้าต่าง พระอุโบสถหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดท่าหลวง ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่หน้าตักกว้าง 3 วา ก่ออิฐถือปูน ลักษณะแบบสุโขทัยเป็นพระพุทธรูปที่ใช้เป็นประธานในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยก่อน
วัดหัวดง ตั้งอยู่หมู่ 7 ต.หัวดง ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร-ตะพานหิน ระยะทางประมาณ 10 กม. สร้างเมื่อ พ.ศ.2413 ผูกพัทธสีมาครั้งแรก พ.ศ.2468 มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 ได้พบพระรูปเหมือนหลวงพ่อเงินขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว เนื้อนวโลหะ(ทองเหลือง)แทรกขึ้นมาที่ต้นอินทนินทร์ซึ่งมีอายุประมาณ 20 ปีเศษ ชาวจังหวัดพิจิตรถือกันว่าหลวงพ่อเงินเป็นพระเกจิ อาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักและเคารพบูชา
วัดเขารูปช้าง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร-ตะพานหิน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ในตำบลดงป่าคำ โบราณสถานของวัดเขารูปช้างที่มองเห็นเด่นเป็นสง่าคือ เจดีย์แบบลังกาซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกันมองดูคล้ายช้าง แต่เดิมเป็นเจดีย์เก่ามาก่อน และทางวัดได้ทำการปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อประมาณ 20 ปีมานี้ โดยได้ประดับกระเบื้องเคลือบสีทองทั้งองค์ มีรั้วรอบองค์เจดีย์ สำหรับลานกว้างบนยอดเขา ทางวัดได้สร้างวิหารใหญ่ขึ้นหลังหนึ่งและมีเจดีย์เก่าอยู่องค์หนึ่งเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา มีตัวระฆังเป็นกลีบมะเฟืองแต่ยอดเจดีย์หักแล้ว นอกจากนั้นยังมีมณฑปแบบจตุรมุขหลังเก่าอยู่ใกล้กับโบสถ์หลังใหม่ ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทสำริด ที่ฝาผนังมีภาพเขียนเรื่องไตรภูมิพระร่วงด้วย
สถานที่น่าสนใจในเขตอำเภอโพธิ์ประทับช้าง
วัดโพธิ์ประทับช้าง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2244 ในสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี (ขุนหลวงสรศักดิ์หรือพระพุทธเจ้าเสือ)พระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ณ สถานที่ประสูติของพระองค์ วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำพิจิตรเก่า ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง วัดนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 27 กิโลเมตร ไปตามถนนสายพิจิตร-วังจิก(ทางหลวงหมายเลข1068)ประมาณกม.ที่ 16 เลี้ยวแยกซ้ายไปทางอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ก่อนถึงตัวอำเภอจะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงวัดโพธิ์ประทับช้าง หน้าวัดมีต้นตะเคียนซึ่งกล่าวกันว่ามีอายุราว 260 ปี วัดโดยรอบได้ 7 เมตร 60 เซนติเมตร หรือ 7 คนโอบ วัดนี้เป็นวัดที่มีพระวิหารสูงใหญ่ มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นศิลปะแบบอยุธยา ปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากกรมศิลปากรเพื่ออนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2478 นอกจากนี้ชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้สร้างอนุสาวรีย์พระพุทธเจ้าเสือไว้เป็นที่ระลึก ข้างที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้างอีกด้วย
สถานที่น่าสนใจในเขตอำเภอตะพานหิน
พระพุทธเกตุมงคล หรือ หลวงพ่อโตตะพานหิน วัดเทวปราสาท เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง 20 เมตร เฉพาะองค์พระสูง 30 เมตร แท่นสูง 4 เมตร รวมความสูงทั้งสิ้น 34 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเมื่อปี พ.ศ. 2513 นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามได้สัดส่วนและใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิจิตร หากท่านเดินทางโดยรถไฟจะมองเห็นองค์พระเหลืองอร่ามแต่ไกล
วัดพระพุทธบาทเขารวก ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลวังหลุม อำเภอตะพานหิน อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินไปประมาณ 10 กิโลเมตรภายในวัดมีรอยประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี และมี พระอาจารย์โง่นไสรโย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังองค์หนึ่งจำพรรษาอยู่ ซึ่งท่านเป็นผู้สร้างพระพุทธวิโมกข์ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว มอบให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลองที่ทำด้วยไม้ประดู่ใหญ่ที่สุดในโลก และรูปปั้นฤาษีอายุ 1000-1500 ปีซึ่งเป็นหินศิลาแลงจากลุ่มแม่น้ำเขิน ภายในวัดยังมีสวนสัตว์ขนาดเล็กซึ่งมีสัตว์หลายชนิดไว้ให้ชมและศีกษาอีกด้วย
บึงน้ำกลัด ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านน้ำกลัด ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินประมาณ 15 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสายตะพานหิน-วังสำโรง และเส้นทางวังสำโรง-ไผ่-ท่าโพ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1070) จากอำเภอตะพานหินถึงทางแยกเข้าบึง มีป้ายบอกหมู่บ้าน อพป.บึงน้ำกลัด เลี้ยวขวาประมาณ 400 เมตรเป็นถนนลาดยาง จากนั้นเลี้ยวซ้ายประมาณ 300 เมตรสภาพทั่วไปเป็นบึงกว้าง พื้นที่ประมาณ 120 ไร่ และในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม จะมีนกเป็ดน้ำ นกกระยางขาวและนกตับแคจำนวนมากบินอพยพหนีความหนาวจากไซบีเรีย ประเทศจีน มาอาศัยอยู่บริเวณบึงน้ำกลัดแห่งนี้โดยเฉพาะในเดือนธันวาคมจะเป็นเดือนที่มีนกชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากที่สุด
สถานที่น่าสนใจในเขตอำเภอทับคล้อ
สำนักสงฆ์สวนพระโพธิ์สัตว์ ตั้งอยู่ที่ตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ ภายในมีสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม วิปัสสนาและกรรมฐาน มีความสวยงาม เงียบสงบและเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของห้องสมุดสยามบรมราชกุมารี และพระตำหนักรับรอง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536
สถานที่น่าสนใจในเขตอำเภอโพทะเล
วัดหิรัญญาราม หรือ วัดบางคลาน ตั้งอยู่ที่อำเภอโพทะเล ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1067 เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 8 กม. เดิมมีชื่อว่า “วัดวังตะโก” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่า สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือโบราณวัตถุต่างๆ ที่ทางวัดได้สะสมไว้นานแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุที่มีผู้นำมาถวาย เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ สิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจของวัดนี้คือ พิพิธภัณฑ์นครไชยบวร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์รูปมณฑป 2 ชั้น ชั้นบนประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของ หลวงพ่อเงิน เกจิอาจารย์ที่ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศรู้จักและเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่งที่เคยจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ สถานที่แห่งนี้นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกและแห่งเดียวของจังหวัดพิจิตร
สถานที่น่าสนใจในเขตอำเภอบางมูลนาก
วัดห้วยเขน ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยเขน อำเภอบางมูลนาก อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร ไปตามถนนสายบางมูลนาก-วังงิ้ว ภายในวัดมีโบสถ์เก่าซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ไว้ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติเรื่องรามเกียรติ์ เป็นภาพของเก่าโบราณที่ยังไม่มีการตกแต่งเพิ่มเติมใดๆ
วัดท่าช้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ภายในวัดมีพระพุทธรูปหินที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง และที่สังเกตได้ง่ายคือ มีรูปปั้นช้างขนาดใหญ่ 2 เชือกอยู่บริเวณด้านหน้าวัด