แผนที่พะเยา
- แผนที่พะเยา
- ข้อมูลทั่วไป
- การเดินทาง
- งานประเพณี
- สถานที่ท่องเที่ยว
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
พะเยา เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแถบลานนาไทย เดิมมีชื่อว่า ภูกามยาว หรือ พยาว ก่อตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ปกครองไทยพ่อขุนงำเมือง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่าง ๆ ที่ผลัดกันมีอำนาจในแถบนี้ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พยาวก็เปลี่ยนชื่อเป็นพะเยา และรวมอยู่กับจังหวัดเชียงรายจนในปี พ.ศ. 2520 จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา พะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ จดเชียงราย
ทิศตะวันออก จดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และน่าน
ทิศใต้ จดลำปาง และแพร่
ทิศตะวันตก จดลำปาง
พะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,353 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ ได้แก่
อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอปง อำเภอภูซาง อำเภอภูกามยาว
พะเยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 735 กิโลเมตร (สายเก่า) หรือ 691 กิโลเมตร (สายใหม่) โดยเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมง
ระยะทางจากอำเภอเมืองพะเยากับอำเภอต่าง ๆ
อำเภอดอกคำใต้ ระยะทาง 15 กิโลเมตร
อำเภอจุน ระยะทาง 43 กิโลเมตร
อำเภอเชียงคำ ระยะทาง 74 กิโลเมตร
อำเภอปง ระยะทาง 74 กิโลเมตร
อำเภอเชียงม่วน ระยะทาง 117 กิโลเมตร
อำเภอแม่ใจ ระยะทาง 24 กิโลเมตร
ระยะทางจากจังหวัดพะเยาไปยังจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
ลำปาง ระยะทาง 131 กิโลเมตร
สุโขทัย ระยะทาง 337 กิโลเมตร
เชียงใหม่ ระยะทาง 222 กิโลเมตร
เชียงราย ระยะทาง 94 กิโลเมตร
อำเภอแม่สาย ระยะทาง 156 กิโลเมตร
การเดินทาง
ทางรถยนต์
รถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง
เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเซีย ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ที่นครสวรรค์ ผ่านอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง จากลำปางไปพะเยาจะเป็นเส้นทางตัดผ่านภูเขาจะมีทางโค้งมากแต่ไม่ชันให้ใช้ความระมัดระวัง เมื่อออกจากแนวภูเขาจะเข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 755 กิโลเมตร โดยรวมแล้วเส้นทางนี้ถนนจะกว้างกว่าเส้นทางที่ 2 แนะนำเส้นทางนี้ครับ
เส้นทางที่ 2 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเซีย ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และนครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงจังหวัดพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะขึ้นเขาตรงจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นถนน 4 เลน (ไป 2 กลับ 2) รถบรรทุกที่ใช้เส้นทางนี้จะขับช้าตอนขึ้น/ลงเขา ทำให้ไม่สามารถทำความเร็วได้ในช่วงนี้
เส้นทางที่ 3 สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร ขากลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่-ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง 966 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง
ทางรถประจำทาง
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามได้ที่ โทร. 0 2576 5599 www.transport.co.th หรือ บริษัทรถเอกชน สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 0 2954 3601 สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-9 บริษัท ขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. 0 5443 1363, 0 5443 1488
จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับจังหวัดพะเยาทุกวัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สถานีขนส่งอาเขตเชียงใหม่ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ โทร. 0 5324 1440, 0 5324 2664
ทางรถไฟ
รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง สามารถนั่งรถไฟลงที่สถานีลำปาง หรือ เชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปจังหวัดพะเยา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 หรือ www.railway.co.th
ทางเครื่องบิน
เครื่องบิน ไม่มีเครื่องบินบินตรงไปจังหวัดพะเยา ต้องใช้เส้นทางบินกรุงเทพฯ-เชียงราย แล้วเช่าเหมารถมายังจังหวัดพะเยา สอบถามเที่ยวบินได้ที่ สายการบินไทย โทร. 1566, 0 2628 2000 www.thaiairways.com
สายการบิน แอร์ เอเชีย โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com
สายการบิน โอเรียนท์ ไทย โทร. 1126 หรือ www.fly12go.com
งานอนุสรณ์ผู้เสียสละ
พ.ต.ท.2324 จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 31 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนที่เสียสละชีวิตจากการต่อสู้ระหว่างประชาชน ข้า ราชการ ตำรวจ ทหาร กับพวกคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย งานจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 31 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ บริเวณสนามบินทหาร โดยจะมีพิธีวางพวง มาลาอนุสรณ์ผู้เสียสละ พ.ต.ท.2324 และการจัดงานนิทรรศการของภาคข้า ราชการและเอกชน การประกวดการแต่งกายไทลื้อ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การ ประกวดผลิตผลทางการเกษตร จัดโดยอำเภอเชียงคำ
งานสืบสานตำนานไทยลื้
อ จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคมจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไท ลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอเชียงคำ ในงานมีขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวย งามในเขตเทศบาลเชียงคำ มีการจำหน่ายอาหารไทลื้อ การสาธิตพิธีกรรม ต่างๆ เช่น การแต่งงาน การบวชพระบวชเณร การทอผ้า ตลอดจนการแสดงวิถี ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ จัดโดยชมรมไทลื้อเชียงคำ
งานสักการะบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง
จัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคมเป็นการรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยา ซึ่งในช่วงที่พระองค์ ครองราชย์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และได้ทรงร่วมกับพ่อขุนรามคำแหง มหาราช และพ่อขุนเม็งรายมหาราช สาบานเป็นพระสหายต่อกันที่เมืองพะเยา งานจัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองสวนสมเด็จย่า 90 โดยมีพิธีบวงสรวงแบบพราหมณ์ มีขบวนสักการะเทิดพระเกียรติ และการแสดงวัตนธรรมล้านนา จัดโดยจังหวัดพะเยา
งานประเพณีสงกรานต์
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน บริเวณจัดงานอยู่ในแนวถนนหาดกว๊าน ติดกับกว๊านพะเยา และหลังเทศบาลเมืองพะเยา ในงานมีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การประกวดโคมลอย เจดีย์ทราย ฟ้อนเล็บ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพิธีสรงน้ำพระ และการสักการะอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง จัดโดยเทศบาลเมืองพะเยา
งานเทศกาลลิ้นจี่
และของดีเมืองพะเยา จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมจัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ที่ตลาดกลางเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ อำเภอแม่ใจ ในงานมีมหรสพ การแสดง การประกวดธิดาชาวสวนลิ้นจี่ ประกวดลิ้นจี่พันธุ์ต่างๆ นิทรรศการของภาคราชการและเอกชน จัดโดยสหกรณ์อำเภอแม่ใจ
งานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวง
จัดขึ้น 7 วัน เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง ที่วัดศรีโคมคำ เป็นงานที่จัดกันมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งจะจัดในช่วงก่อนวันวิสาฃบูชา ระยะเวลาจัดงาน 7 วัน โดยยึดการนับปฏิทิน ทางภาคเหนือ ซึ่งตรงกับเดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำของภาคเหนือ (เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำ ไทย) จึงเรียกงานนี้ในท้องถิ่นว่า "งาน 8 เป็ง" ในงานแบ่งเป็นสองรูปแบบ คือ ในเขตสงฆ์จะเป็นการทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม การประกวดครัวตาน การ ปฏิบัติธรรมในช่วง 7 วัน ส่วนนอกเขตวัดก็จะมีมหรสพ และการจำหน่ายสินค้า
งานประเพณีลอยกระทง กว๊านพะเยา
จัดตรงกับวันลอยกระทง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 บริเวณถนนชายกว๊าน และ สนามหลังเทศบาลเมืองพะเยา ในงานมีการประกวดโคมลอย ตีกลองสบัดชัย แข่งเรือพาย มวยทะเล การประกวดกระทงเล็ก กระทงใหญ่ ตลอดจนงาน มหรสพต่างๆ จัดโดยเทศบาลเมืองพะเยา
เขตตัวเมือง
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสม- เด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา ดำเนินการก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2524-พ.ศ. 2527 พ่อขุนงำเมืองเป็นอดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว (พะเยา) ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณกว๊านพะเยา
กว๊านพะเยา เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา คือเป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีความร่มรื่น สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก นอกจากนี้ บริเวณกว๊านพะเยายังมีจักรยานน้ำ กระดานโต้ลมและเรือไว้บริการแก่นัก-ท่องเที่ยว ที่ประสงค์จะชมทัศนียภาพรอบกว๊านพะเยาอีกด้วย ในเทศกาลลอยกระทงมีการประกวดกระทงชนิดต่าง ๆ การประกวดนางนพมาศ รวมทั้งการแข่งเรือยาว และกีฬาทางน้ำ
วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าองค์หลวง” หรือวัด “พระเจ้าตนหลวง” มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในลานนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 17 เมตร มีประวัติที่กล่าวถึงอย่างพิศดารว่า มีพญานาคนำทองคำมาให้ตายายคู่หนึ่ง ที่ตั้งบ้านอยู่ริมกว๊านพะเยา เพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งตายายคู่นี้ใช้เวลาก่อสร้างถึง 33 ปี (พ.ศ. 2034-2037) และกาลต่อมาเรียกว่า “พระเจ้าองค์หลวง” ในปัจจุบันพระเจ้าองค์หลวงมิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรลานนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชาจะจัดงานนมัสการพระเจ้าองค์หลวง เรียกว่า “งานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง”
หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพะเยา เรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยา โดยใช้รูปแบบของเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสาน เปิดให้เข้าชมในวันและเวลาราชการ
วัดพระธาตุจอมทอง ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร อยู่ใกล้กับวัดศรีโคมคำ เป็นปูชนียสถานและโบราณสถานคู่เมืองพะเยา สภาพแวดล้อมเป็นเขา มีป่าไม้ปกคลุม เป็นสวนรุกชาติ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง บนยอดเนินสามารถมองเห็นตัวเมืองและกว๊านพะเยาได้โดยรอบ
พระตำหนักพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นตำหนักที่สร้างขึ้นใหม่เสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ.2526 สมเด็จย่าของชาวไทยเสด็จประทับครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2526 และจะเสด็จมาทุก 2 ปี บริเวณรอบตำหนักจะมีดอกไม้เมืองหนาวนานาพันธุ์ สระน้ำพุอันสวยงาม ตั้งอยู่บริเวณสถานีประมงพะเยา
สถานีประมงน้ำจืดพะเยา เป็นสถานีเพาะพันธุ์ปลาบึกสำเร็จเป็นแห่งแรกในโลก ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง ริมถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 738-735 มีเนื้อที่ 67 ไร่ ประกอบด้วยอาคารสำนักงานบ่อเพาะเลี้ยงปลาพันธุ์ต่างๆ และอาคารแสดงพันธุ์ปลา (อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง) ปลาที่เพาะพันธุ์เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรได้แก่ ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการเพาะพันธุ์ปลาบึก เพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ อีกด้วย
วัดศรีอุโมงค์คำ เป็นวัดที่มีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก และเป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาอีกองค์หนึ่ง นามว่า “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจ้าล้านตื้อ” เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดในล้านนาไทย และเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของภูกามยาวโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมีสถานที่และวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองพะเยาอีกหลายแห่ง ได้แก่ ป่าแดงบุนนาค ซึ่งมีตำนานเกี่ยวพันไปถึงครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมายังดินแดนแห่งนี้ วัดศรีจอมเรือง เป็นวัดที่น่าสนใจรงที่มีศิลปะสวยงามแบบไทยผสมพม่า สำหรับ วัดราชคฤห์ มีเจดีย์เก่าแก่ของเมืองพะเยา และมีพระพุทธรูปศิลา พุทธลักษณะสวยงามแบบเดียวกับพระเจ้าล้านตื้อ วัดลี มีสถูปที่เป็นแบบสถาปัตยกรรมของภาคเหนือ และมีโบราณวัตถุสมัยอาณาจักรพะเยาอีกมากมาย และ วัดรัตนวราราม ตั้งอยู่ที่บ้านประตูชัย ตำบลวังทอง ห่างจากถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เข้าไป 1 กิโลเมตร
วัดอนาลโย-ดอยบุษราคัม ห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา-เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 อีก 9 กิโลเมตร ทางราดยางตลอดสาย เป็นวัดซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมาก พระครูปลัดสัมมพิพัฒนตญานาจารย์ (พระครูไพบูลย์) เป็นเจ้าอาวาส บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สูง 18 เมตร หน้าตักกว้าง 12 เมตร ลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง เครื่องบูชาพระแก้วมรกตทำด้วยทองคำและของมีค่าต่างๆ จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยา และเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม บริเวณลานจอดรถข้างล่างมีร้านขายของที่ระลึก เช่น กระเป๋า และของที่ระลึกประเภทต่าง ๆ นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นวัดอนาลโยได้ 2 ทาง คือ ทางบันได และทางรถยนต์
กาดวัว (ตลาดวัว) เป็นแหล่งซื้อขายโคและกระบือของชาวบ้าน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่งในภาคเหนือ อยู่ที่บ้านท่าวังทอง อ.เมือง เปิดทุกวันจันทร์ บ้านจุนหลวง อ.จุน เปิดทุกวันศุกร์ และ อ.เชียงคำ ในวันเสาร์ ตั้งแต่ 09.00-17.00 น. ในตอนเช้าของวันที่มีกาดวัว จะมีชาวบ้านมาประมูลและซื้อขายกันเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้านทำครกและโม่หิน อยู่ที่บ้านงิ้ว ตำบลบ้านสาง ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแม่ต๋ำ-แม่ใจ เป็นถนนรอบกว๊านพะเยา ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นถนนลูกรังสลับราดยาง รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ทุกฤดูกาล ราษฎรในหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำครกและโม่หิน โดยทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัว และส่งออกไปขายในตัวเมืองพะเยา
หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา อยู่ที่บ้านสันป่าม่วงใช้เส้นทางเดียวกับหมู่บ้านทำครกและโม่หิน ห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวป่าม่วงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นทำเป็นงานอดิเรก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา ได้แก่ หมวก กระเป๋า และของใช้ต่าง ๆ และส่งไปจำหน่ายในตัวเมือง
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา เชียงราย และลำปาง รวมเนื้อที่ 1,170 ตารางกิโลเมตร ที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ อยู่บริเวณน้ำตกปูแกง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ
ตกจำปาทอง มีลักษณะเป็นน้ำตกสูงชัน น้ำใสสะอาด น้ำตกลงมาเป็นชั้นๆ คล้ายงาช้างบ้าง หัวช้างบ้าง มีชื่อเรียกตามลักษณะเช่น วังจำปา ตาดหัวช้าง ฯลฯ การเดินทางจากทางหลวงสายพะเยา-เชียงราย ตรงหลักกิโลเมตรที่ 7 มีทางแยกเป็นลูกรังเข้าไปยังตัวน้ำตก ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร มีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ตั้งอยู่
น้ำตกผาเกล็ดนาค ตั้งอยู่ที่บ้านต๋อม ห่างจากบ้านต๋อมเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร ต้องเดินเท้าเข้าไปยังบริเวณน้ำตก ความงามของน้ำตกเกิดจากโขดหิน มีลักษณะคล้ายเกล็ดนาค เมื่อถูกแสงแดดจะแลดูสวยงาม
นอกจากนี้ ริมเส้นทางพะเยา-วังเหนือ ซึ่งตัดขึ้นไปตามสันเขา ห่างจากตัวเมืองพะเยาไปประมาณ 20 กิโลเมตร มีน้ำตกอีกแห่งหนึ่ง ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 50 เมตร มีน้ำตลอดปี ชาวเมืองพะเยานิยมไปพักผ่อน เนื่องจากการเดินทางสะดวกมาก
น้ำตกวังแก้ว เป็นน้ำตกซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณป่าที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์ ประกอบลักษณะพื้นที่เป็นเขาสูงชันซึ่งทำให้มีปริมาณน้ำมากไหลแรง และมีถึง 102 ชั้น ตัวน้ำตกตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง แต่สามารถเดินทางจากจังหวัดพะเยาได้สะดวก เพราะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด โดยใช้เส้นทางสายพะเยา-อำเภอวังเหนือ และจากอำเภอวังเหนือมีทางลูกรังสภาพดี ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงน้ำตกวังแก้ว นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงกับน้ำตกวังแก้ว ยังมีน้ำตกวังทอง ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีลักษณะเหมือนน้ำตกวังแก้ว แต่มีขนาดเล็กกว่า
อำเภอดอกคำใต้
ดอกคำใต้ คือ ดอกกระถินสีเหลือง ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดย่อม มีลักษณะเป็นพุ่มใบเล็กเป็นฝอย ดอกสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมกรุ่นละไม ช่วงเดือนสิงหาคมไปจนถึงปีใหม่ ดอกคำใต้ก็จะผลิดอกเหลืองสะพรั่งไปทั้งต้น งดงามมาก ตัวอำเภอตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 13 กิโลเมตร
ศูนย์พัฒนาอาชีพดอกคำใต้ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 เพื่ออบรมอาชีพให้แก่เยาวชนสตรีของดอกคำใต้ที่มีอายุระหว่าง 15-20 ปี มีการฝึกอบรมเรื่องมารยาท ความประพฤติ ศีลธรรม และรับการฝึกอาชีพต่างๆ เช่น ตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องจักสาน ทอผ้า ตลอดจนฝึกศิลปะการป้องกันตัว ผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้วจะมีวิชาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
วนอุทยานบ้านถ้ำ ตำบลบ้านถ้ำ ห่างจากตัวอำเภอตามเส้นทางดอกคำใต้-เชียงม่วน ระยะทาง 14 กิโลเมตร เป็นสถานที่อันร่มรื่นเหมาะสำหรับการพักผ่อน และในบริเวณเดียวกันนั้น ยังมี พระธาตุจอมศีล ตั้งอยู่บนเชิงเขาเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งของดอกคำใต้มาช้านาน เมื่อขึ้นไปถึงบนลานพระธาตุแล้ว จะมองเห็นทิวทัศน์อำเภอดอกคำใต้อย่างสวยงาม และชาวอำเภอดอกคำใต้จะมีงานประเพณีไหว้พระธาตุจอมศีล ในวันมาฆบูชา และวันสงกรานต์ ทุกปี
เขื่อนแม่ผง ห่างจากวนอุทยานบ้านถ้ำไปประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นเขื่อนกั้นน้ำขนาดใหญ่สามารถเดินทางถึงได้โดยรถยนต์
อ่างเก็บน้ำห้วยร่องสัก ระยะทาง 20 กิโลเมตร จากตัวอำเภอสามารถเดินทางถึงได้โดยรถยนต์
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว อำเภอดอกคำใต้ยังมีการจักสานไม้ไผ่ที่บ้านร่องจั่ว ตำบลดอนศรีชุม การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม บ้านวังขอนแดง ตำบลห้วยลาน การทำเครื่องปั้นดินเผา บ้านสันจกปก ตำบลดอกคำใต้
อำเภอแม่ใจ
อำเภอแม่ใจห่างจากจังหวัด 24 กิโลเมตร บนเส้นทางพะเยา-เชียงราย มีร้านขายมะพร้าน้ำหอมตลอด 2 ข้างทาง นอกจากนี้ยังมีสวนลิ้นจี่พันธุ์ดีมากมายไม่แพ้จังหวัดเชียงราย
น้ำตกผาแดง อยู่ตำบลป่าแฝก ห่างจากตัวอำเภอระยะทาง 15 กิโลเมตร มีความสวยงามไม่แพ้น้ำตกจำปาทอง ในเขตอำเภอเมืองพะเยา
หนองเลงทราย เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่มีบรรยากาศอันร่มรื่น และสวยงามรองลงมาจากกว๊านพะเยา ระยะทางจากตัวอำเภอ 5 กิโลเมตร
พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนโดยทั่วไป อยู่ที่วัดศรีสุพรรณ หน้าที่ว่าการอำเภอแม่ใจ
หมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้า บ้านปางปูเลาะ ห่างจากอำเภอ 12 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าถึงได้
อำเภอจุน
โบราณสถานเวียงลอ (เมืองพระลอ) อยู่ห่างจากอำเภอจุน ตามทางหลวงหมายเลข 1021 ถึงบ้านห้วยงิ้งประมาณ 17 กิโลเมตร มีทางแยกไปเป็นทางดินถึงบ้านน้ำจุนอีกประมาณ 12 กิโลเมตร นักโบราณคดีสันนิษ ฐานว่าคงเป็นเมืองในสมัยพ่อขุนงำเมือง เพราะปรากฏซากกำแพงเมืองเก่า วัดร้าง อยู่มากมาย พระธาตุและวัดเก่าแก่คือ วัดศรีปิงเมือง และใกล้เวียงลอนี้ยังเป็นจุดที่ลำน้ำจุน ไหลลงสู่แม่น้ำอิงด้วย จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “สบอิง”
วัดพระธาตุขิงแกง ห่างจากอำเภอจุน ตามทางหลวงหมายเลข 1091 ถึงบ้านธาตุขิงแกงประมาณ 10 กิโลเมตร แยกขวาเป็นทางเดินไปอีกประมาณ 300 เมตร ถึงตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาธาตุขิงแกง ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของหมู่บ้านขิงแกงได้อย่างชัดเจน พระธาตุมีรูปทรงแบบล้านนาคล้ายพระธาตุสบแวนที่อำเภอเชียงคำ แต่ขนาดใหญ่และมีการตกแต่งมากกว่า นอกจากนี้ ยังมีการทอผ้าฝ้ายและไหม บ้านศรีเมืองขุน ตำบลลอบ้านห้วยบง ตำบลทุ่งรวงทอง
อำเภอปง
มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น ถ้ำผากุด บ้านผาตั้ง ตำบลควร อ่างเก็บน้ำผาตั้ง อยู่ในบริเวณเดียวกับถ้ำผากุด น้ำตกภูลังกา หมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้า บ้านปางค่า ตำบลผาช้างน้อย ในงานเทศกาล เช่น วันประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวเขา จะมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวกันมาก วัดพระธาตุดอยหมอก บ้านหนุน ตำบลปง
อำเภอเชียงคำ
เป็นอำเภอหนึ่งที่มีความเจริญทัดเทียมกับอำเภอเมืองพะเยา มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ และโบราณสถานวัดวาอารามที่มีความสวยงามหลายแห่ง ได้แก่
วัดพระนั่งดิน เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานรองรับ เพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐานบนฐานรองรับ แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน อยู่ในตำบลเวียง ระยะทาง 4 กิโลเมตร จากตัวอำเภอ
อนุสรณ์ผู้เสียสละ พ.ต.ท. 2324 (พลเรือน ตำรวจ ทหาร 2324) อยู่ห่างจากอำเภอตามทางหลวงหมายเลข 1021 ไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างเพื่อสดุดีวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ได้พลีชีพในการสู้รบ เพื่อรักษาอธิปไตยในพื้นที่ชายแดนเขตจังหวัดพะเยาและเชียงราย มีพิพิธภัณฑ์แสดงภาพถ่าย รูปจำลอง และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เคยใช้ต่อสู้ในการรบครั้งนั้น เปิดให้เข้าชมในวันเวลาราชการ
วัดพระธาตุสบแวน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงคำ 4 กิโลเมตร มีองค์พระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่มาก คาดว่ามีอายุราว 700-800 ปี ภายในบรรจุเส้นพระเกศา และกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้าองค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังคงรักษาสภาพศิลปะแบบล้านนาไทยไว้ได้
วัดนันตาราม อยู่ที่บ้านดอนไชย เขตสุขาภิบาลเชียงคำ เป็นวัดที่มีศิลปะแบบพม่า ตัววิหารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ตกแต่งลวดลายฉลุไม้อย่างสวยงามตามส่วนประกอบต่างๆ เช่น หน้าต่าง หน้าบันระเบียง เป็นต้น
วัดพระธาตุเชียงคำ เป็นวัดที่สร้างอยู่บนภูเขา สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอเชียงคำได้เป็นอย่างดี ระยะทาง 8 กิโลเมตร จากตัวอำเภอ
อ่างเก็บน้ำห้วยไฟ เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์สวยงาม อยู่ที่บ้านทุ่งติ้ว ตำบลภูซาง ห่างจากตัวอำเภอ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวง 1093
อุทยานแห่งชาติภูซาง ตั้งอยู่ที่ตำบลภูซาง ห่างจากตัวอำเภอ 20 กิโลเมตร ตามทางหลวง 1093 เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น มีพื้นที่ราว 290 ตารางกิโลเมตร สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ น้ำตกภูซาง น้ำที่ไหลลงมาจากน้ำตกแห่งนี้เป็นน้ำอุ่น เนื่องจากบริเวณเหนือน้ำตกมีบ่อน้ำพุร้อน นับเป็นสิ่งแปลกอย่างหนึ่งของน้ำตกแห่งนี้ นอกจากนี้ในบริเวณอุทยานฯ ยังมีถ้ำหินปูนที่มีความสวยงามหลายแห่ง บ้านฮวก อยู่ห่างจากน้ำตกภูซาง ประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นด่านชายแดนไทย-ลาว ทุก ๆ วันที่ 10 และ 30 ของเดือน จะจัดเป็นตลาดนัดเพื่อให้ประชาชนทั้งชาวไทยและลาวได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ส่วนมากเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน พืชผลทางการเกษตร และหัตถกรรม เป็นต้น และเส้นทางนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปถึงภูชี้ฟ้าและผาตั้ง ในจังหวัดเชียงรายได้ ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นลูกรัง
ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ ตั้งอยู่ที่วัดหย่วน ชาวไทยลื้อเป็นชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเชียงคำ และอำเภอเชียงม่วน มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา แต่เมื่อ 100-150 ปี มาแล้ว ไทยได้กวาดต้อนผู้คนมาไว้ที่นี่ ชาวไทยลื้อจึงตั้งถิ่นฐานอยู่เรื่อยมา และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ภาษา ชีวิตความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพ สินค้าของชาวไทยลื้อที่น่าซื้อหาเป็นของที่ระลึก ได้แก่ ผ้าซิ่นทอลวดลายสีสันแปลกตา และผ้าปักแบบชาวเขา ซึ่งหาซื้อได้ตามหมู่บ้านของชาวไทยลื้อ และร้านค้าบางแห่งในอำเภอเชียงคำ
อำเภอเชียงม่วน
จากจังหวัดน่านมาตามถนนสายน่าน-พะเยา จะถึงอำเภอเชียงม่วนเป็นอำเภอแรก สามารถแวะซื้อผ้าไทยลื้อได้ที่บ้านท่าฟ้าเหนือและบ้านท่าฟ้าใต้ และ ชมฝั่งต้า ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอเพียง 6 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นหน้าผาดินสูงชันประมาณ 100 เมตร คล้ายกับ “แพะเมืองผี” ของจังหวัดแพร่ หรือ “เสาดิน” ของจังหวัดน่าน