แผนที่เชียงราย

  • แผนที่เชียงราย
  • ข้อมูลทั่วไป
  • การเดินทาง
  • งานประเพณี
  • สถานที่ท่องเที่ยว

เชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯเป็นระยะทาง 785 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,678 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบ อันอุดมสมบูรณ์ ริมฝั่งแม่น้ำหลายสาย เชียงรายอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 416 เมตร

การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 124 ตำบล 1,751 หมู่บ้าน ได้แก่

  • อำเภอเมืองเชียงราย
  • อำเภอเวียงชัย
  • อำเภอเชียงของ
  • อำเภอเทิง
  • อำเภอพาน
  • อำเภอป่าแดด
  • อำเภอแม่จัน
  • อำเภอเชียงแสน
  • อำเภอแม่สาย
  • อำเภอแม่สรวย
  • อำเภอเวียงป่าเป้า
  • อำเภอพญาเม็งราย
  • อำเภอเวียงแก่น
  • อำเภอขุนตาล
  • อำเภอแม่ฟ้าหลวง
  • อำเภอแม่ลาว
  • อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
  • อำเภอดอยหลวง

ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงเมืองสาด และแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพพม่า
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ

  • อำเภอพาน 46 กิโลเมตร
  • อำเภอเทิง 64 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่จัน 20 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่สาย 63 กิโลเมตร
  • อำเภอเวียงป่าเป้า 91 กิโลเมตร
  • อำเภอเชียงของ 141 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่สรวย 53 กิโลเมตร
  • อำเภอเชียงแสน 60 กิโลเมตร
  • อำเภอป่าแดด 52 กิโลเมตร
  • อำเภอเวียงชัย 12 กิโลเมตร
  • อำเภอพญาเม็งราย 48 กิโลเมตร
  • อำเภอเวียงแก่น 127 กิโลเมตร

จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแขวงเมืองสาด และแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกันทางถนนที่เชื่อมต่อไปยังประเทศพม่าที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย และในอนาคตที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ถนนสาย R3A ที่อำเภอเชียงของ ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับประเทศลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเรียกว่าดอยลังกาหลวงหรือดอยแม่โถ เป็นยอดเขาที่มีเส้นแดนติดกันทั้ง 3 จังหวัดบนยอดเขา

ประวัติ

พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงชัยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860 สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่

ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน

ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็น ส่วนหนึ่งของมณฑลพฤศจิกายนพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชบัญญัติ ยกเชียงรายขึ้นเป็น เมืองเชียงราย ซึ่ง "เมือง" เป็นหน่วยการปกครองหนึ่งที่อยู่ถัดจาก "มณฑล" ลงมา โดยเมืองเชียงรายเป็นศูนย์กลางควบคุมเชียงแสน ฝาง และพะเยา ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้แบ่งแยกพื้นที่บางส่วนทางตอนใต้ของจังหวัด จัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา จนถึงปัจจุบัน

การเดินทาง

ทางรถยนต์

แผนที่เส้นทางกรุงเทพ-เชียงราย

สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่

1. เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย (สายเอเชีย หรือสายเก่า) จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดอยุธยา สิงห์บุรี เข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้งที่ จ.ชัยนาท ตรงไป จ.นครสวรรค์ ผ่าน กำแพงเพชร ตาก เข้าสู่ อำเภอเถิน ตรงไปจังหวัดลำปาง ผ่าน อำเภองาว แล้วตรงไปจังหวัดพะเยา จนเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 830 กิโลเมตร
2. เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย (สายใหม่) ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้แยกขวามือไปตามทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) จากจังหวัดพิษณุโลก ผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงอำเภอเด่นชัย ให้เลี้ยวไปทางจังหวัดแพร่ ตามทางหลวงหมายเลข 101 (แพร่-น่าน) จนถึงอำเภอร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 103 ไปบรรจบกับถนนพหลโยธินที่อำเภองาว เข้าสู่จังหวัดพะเยา แล้วตรงต่อไปจนถึงเชียงราย ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร
3. เส้นทากรุงเทพฯ-นครสวรรค์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 จนไปถึงจังหวัดลำปาง จึงเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 11 (ลำปาง-เชียงใหม่) ผ่านไปจังหวัดลำพูน แล้วเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 118 (เชียงใหม่-เชียงราย) ผ่านดอยสะเก็ต แม่ขะจาน เวียงป่าเป้า เข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 900 กิโลเมตร มีทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำพูนมาลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 ผ่าน จ.ตาก จ.นครสวรรค์ เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ

ทางรถประจำทาง

รถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของ บ.ข.ส. และของเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ไปเชียงรายทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถ.กำแพงเพชร 2 โทร. 02-936-2852-66 หรือ Call Center 1490

ทางรถไฟ

รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โดยสารรถไฟไปลงที่จังหวัดลำปางหรือเชียงใหม่ แล้วเดินทางต่อไปโดยรถยนต์ ไปจังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียด ได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 สำรองตั๋วล่วงหน้า 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 วัน

ทางเครื่องบิน

เครื่องบิน บริษัท การบินไทย มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย และเที่ยวบินไป-กลับ ระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่ ทุกวัน

สอบถามรายละเอียดได้ที่

แอร์ เอเชีย โทร. 0 2515 9999, 0 5379 8275-6 www.airasia.com
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ โทร. 1126, 0 2267 2999, 0 2229 4260, 0 5379 3555 www.fly12go.com
การบินไทย โทร. 1566, 0 2628 2000, 0 5371 1179, 0 5379 8202-3 www.thaiairways.com
บริษัท SGA. บินเส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 2664 6099, 0 2664 6066 หรือ www.sga.co.th
ท่าอากาศยานเชียงราย โทร. 0 5379 8000, 0 5379 8170

แห่พระแวดเวียง

ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมาย ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ปอยหลวง

งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน

ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์

จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน

งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย

เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย

งานไหว้สาพญามังราย

จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์

เป็งปุ๊ด

“เป็งปุ๊ด” หรือ “เพ็ญพุธ” เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกันยายนป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร

งานอนุรักษ์มรดกไทยล้านนา

จัดในเดือนเมษายน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงแบบไทยล้านนา มีการสาธิตงานศิลปะ บริเวณหอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง

งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง

จัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือนมีนาคม เป็นประเพณีของชาว ล้านนา รวมทั้งชาวไทยใหญ่ในพม่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณองค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกันที่ปะรำพิธีเพื่อฟังเทศน

ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก

เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะชาวประมง ในเขตบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ เกี่ยวกับปลาบึกซึ่งเป็นปลาขนาด ใหญ่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงว่า เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเจ้าคุ้มครอง ก่อนที่ชาวประมง จะจับปลาบึกต้องมีการบวงสรวงก่อน ฤดูกาลจับปลาบึกันยายน่ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม

ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ

หรือที่เรียกตนเองว่า "อาข่า" มีเชื้อสายจากจีน-ทิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม

เขตอำเภอเมือง

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงราย บริเวณทางแยก ที่จะไปอำเภอแม่จัน พ่อขุนเม็งราย เป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลวะ เป็นโอรสของ พระเจ้าลาวเม็ง และพระนาง เทพคำขยาย หรือพระนาง อั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติ เมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พุทธศักราช 1781 หลังจากเสด็จ ขึ้นครองราชย์ได้ 1 ปี พระองค์ทรงสร้าง เมืองเชียงราย เป็นเมืองหลวง แทนหิรัญนครเงินยาง และเสด็จสวรรคต ในปีพุทธศักราช 1860

กู่พระเจ้าเม็งราย ตั้งอยู่หน้า วัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้ เป็นอนุสาวรีย์ สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิ ของพ่อขุน เม็งรายมหาราช ตามประวัติ กล่าวว่า พระเจ้าไชยสงคราม ราชโอรส พระเจ้าเม็งราย เมื่อได้มอบ ราชสมบัติ ให้พระเจ้าแสนภู ราชโอรส ให้ขึ้นครอง นครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ ก็นำอัฐิ พระราชบิดา มาประทับ อยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิ ของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้

วัดพระสิงห์ ตั้งอยู่ที่ ถนนสิงหไคล ริมแม่น้ำกก ใกล้ศาลากลางจังหวัด แต่เดิมเคยเป็น ที่ประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ประดิษฐาน อยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่า เจ้ามหาพรหม พระอนุชา ของพระเจ้ากือนา กษัตริย์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้อัญเชิญ พระพุทธสิงหิงค์ มาจาก เมืองกำแพงเพชร พระเจ้ากือนา ได้โปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ ต่อมา พระเจ้ามหาพรหม ทูลขอยืม พระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐาน ไว้ที่เมืองเชียงราย เพื่อหล่อจำลอง แต่เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้ากือนา และพระเจ้าแสนเมือง ราชนัดดา ของพระองค์ ได้เสด็จ ขึ้นครองเมือง เชียงใหม่ เจ้ามหาพรหม คิดจะชิงราชสมบัติ จึงยกกองทัพ จากเชียงราย ไปประชิด เมืองเชียงใหม่ แต่เจ้าแสนเมือง ก็สามารถ ป้องกันเมืองได้อีก ทั้งยกทัพ ตีทัพ เจ้ามหาพรหม มาถึงเชียงราย และครั้งนี้เอง ที่ทรงอัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์ คืนกลับไป ประดิษฐาน อยู่ที่วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ สืบมา
วัดนี้ นอกจากเคยเป็น ที่ประดิษฐาน พระพุทธสิงหิงค์แล้ว ยังมีรอยพระพุทธบาท จำลอง บนแผ่นศิลา กว้าง 5 นิ้ว ยาว 2 ฟุต มีอักษรขอมโบราณ จารึกว่า "กุศลาธมมา - อกุศลาธมมา" สันนิษฐานว่า สร้างในสมัย พระเจ้าเม็งรายมหาราช

วัดพระแก้ว วัดพระแก้ว  ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ใจกลางเมืองเชียงราย วัดนี้เอง ที่ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือพระพุทธ มหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐาน อยู่ ณ วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติ เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 1897 ในสมัย พระเจ้าสามฝั่งแกน เป็นเจ้าเมือง ครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่า เจดีย์ร้าง องค์หนึ่ง และได้พบ พระพุทธรูป ลงรักปิดทอง อยู่ภายในเจดีย์ ต่อมา รักกะเทาะออก จึงได้พบว่า เป็นพระพุทธรูป สีเขียว ที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ พระแก้วมรกตนั่นเอง ปัจจุบัน วัดพระแก้ว เชียงราย เป็นที่ประดิษฐาน พระหยก ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ในวาระที่ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีพระชนมายุ ครบ 90 พรรษา

วัดพระธาตุดอยจอมทอง อยู่บนดอยจอมทอง ริมฝั่งแม่น้ำกก ในเขตตัวเมือง เชียงราย ตามตำนานเล่าว่า เป็นพระธาตุเก่าแก่ ที่มีก่อน ที่พ่อขุนเม็งราย จะทรงสร้าง เมืองเชียงราย โดยเล่าว่า พระยาเรือนแก้ว ผู้ครองนคร ไชยนารายณ์ ทรงสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งราย ทรงพบชัยภูมิ ที่สร้างเมืองเชียงราย จากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการ บูรณะองค์พระธาตุใหม่ พร้อมๆ กับ การสร้างเมือง เชียงราย นับว่าพระธาตุ ดอยจอมทอง เป็นปูชนียสถานสำคัญ ในตัวเมือง เชียงราย แห่งหนึ่ง

ศูนย์หัตถกรรม ดำเนินการโดยเอกชน ตั้งอยู่เลขที่ 273 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน จากตัวเมืองตามเส้นทางไปอำเภอแม่จัน ประมาณ 3 กิโลเมตร (ติดถนนใหญ่ด้านขวามือ) ภายในบริเวณศูนย์มีการสาธิตการทอผ้าและทำเซรามิก มีการจำหน่ายสินค้า ที่ผลิตได้ภายในศูนย์ฯ และสินค้าจากพม่า เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม การทำงาน และซื้อสินค้าได้ทุกวัน

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ เชียงราย ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 8 กิโลเมตร บนเส้นทางเชียงราย-แม่จัน เข้าไปทางด้านหลังสถาบันราชภัฏเชียงราย ภายในสวน มีทัศนียภาพสวยงาม บรรยากาศร่มรื่นในเนื้อที่ 620 ไร่ มีหนองบัวที่กว้างขวางถึง 223 ไร่ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้สถานที่แห่งนี้ น่าไปพักผ่อนหย่อนใจ เพราะน้ำในหนองบัวใสเย็น และเต็มเปี่ยมตลอดปี บนพื้นที่รอบหนองบัวเป็นที่ตั้งของพลับพลา ศาลาพักแดดและมีสวนปาล์ม สวนไผ่อยู่บนที่ลาดเนินเขา

ไร่แม่ฟ้าหลวง เป็นมูลนิธิ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านป่างิ้ว ตำบลรอบเวียง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 4 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางผ่านหน้าค่ายเม็งรายมหาราช ไปทางวัดฮ่องลี่ สำหรับที่มาครั้งแรกนั้น ได้มีโครงการให้การศึกษา แก่ชาวเขาในลักษณะเดินสอนเกิดขึ้น ต่อมาเปลี่ยนแนวความคิด ที่จะนำชาวเขาเข้ามาทำ การศึกษาในตัวเมือง โดยเข้าศึกษาในโรงเรียนทั่วไป เพื่อที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้กลับไปให้ความรู้แก่ชุมชนเดิมต่อไป หลังจากนั้นได้ถวายโครงการดังกล่าว แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีฯ และจัดตั้งเป็นมูลนิธิไร่แม่ฟ้าหลวงขึ้น

วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์  อยู่บนเทือกเขาดอยช้าง ตำบลแม่กรณ์ ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข 1211 ประมาณ 18 กม. เลี้ยวขวาเข้าไป 12 กม. หรือไปตาม ทางหลวงหมายเลข 1 สายเชียงราย-พะเยา ประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีป้ายแยกขวาไปอีก 17 กิโลเมตร ถึงที่ทำการวนอุทยานฯ แล้วเดินเท้าไปยังตัว น้ำตกอีกประมาณ 30 นาที น้ำตกขุนกรณ์เป็นน้ำตกที่สูงและสวยที่สุดของจังหวัดเชียงราย ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำตกตาดหมอก" มีความสูงถึง 70 เมตร สองข้างทางที่เดินเข้าสู่น้ำตก เป็นป่าเขาธรรมชาติร่มรื่น

รัตนาการ์เด้นส์  ดำเนินการโดยเอกชน ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กรณ์ ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1211 ประมาณ 15 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับทางไป วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ จัดทำเป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับและกล้วยไม้นานาชนิด ทั้งในและต่างประเทศ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ ภายในมีบริการร้านอาหารและที่พัก สอบถามรายละเอียด โทร. (01) 925-5945, 960-5509

แม่น้ำกก เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเชียงราย มีความยาวรวมทั้งสิ้น 130 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากท่าเรือริมแม่น้ำ จากตัวเมืองเพื่อท่องเที่ยวชมทัศนียภาพของแม่น้ำกก ซึ่งสองฟากฝั่งเป็นป่าเขาที่สวยงามตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถแวะชมหมู่บ้านชาวเขาต่างๆ เช่น อีก้อ ลีซอ กะเหรี่ยง ฯลฯ หรือจะแวะปางช้างเพื่อนั่งช้างเที่ยวป่ารอบบริเวณนั้นก็ได้ อัตราค่าเช่าเหมาเรือขึ้นอยู่กับระยะทาง

เขตอำเภอแม่จัน

ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อบ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 ซึ่งอพยพจากประเทศพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพันคือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ปี 2504
ในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ จะมีดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธ์ที่เล็กที่สุด สีชมพูอมขาว บานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง เป็นพันธุ์ไม้ที่เคยหาชมได้ยากในเมืองไทย เพราะเจริญเติบโต อยู่แต่เฉพาะในภูมิอากาศหนาวจัดเท่านั้น
การเดินทางใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน เลยจากอำเภอแม่จันไป 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไป 12 กิโลเมตร ถึงศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เลยจากศูนย์ฯ ไปอีก 11 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านเย้าผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัตถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านเย้าถึงบ้านอีก้อสามแยกทางขวาไปหมู่บ้านเทอดไทย ส่วนแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง ระยะทาง 18 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย 42 กิโลเมตร เป็นทางราดยางตลอดสาย และจากดอยแม่สลองมีถนนเชื่อมต่อไปถึง บ้านท่าตอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร ท่านที่ใช้รถโดยสารประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวได้ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. แม่จัน หรือใช้บริการของบริษัทนำเที่ยวในตัวเมืองเชียงรายก็ได้

หมู่บ้านอีก้อดอยแสนใจ จากศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางขึ้นสู่ดอยแม่สลอง จะมีทางเดินแยกไปอีกเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร หมู่บ้านอีก้อดอยแสนใจเป็นหมู่บ้านใหญ่ ชาวเขาเผ่าอีก้อมีเครื่องแต่งกายที่สวยงาม และมีประเพณีที่น่าสนใจคือ ประเพณีโล้ชิงช้า ซึ่งจัดขึ้นในราวเดือนสิงหาคมของทุกปี การเดินทางไปยังหมู่บ้านอีก้อ ควรใช้รถที่มีกำลังเครื่องยนต์สูง เพราะทางขึ้นค่อนข้างสูงชัน

ดอยหัวแม่คำ จากเชียงรายใช้เส้นทางเดียวกับทางขึ้นดอยแม่สลอง แต่เมื่อเดินทางถึงบ้านอีก้อสามแยกแล้ว แยกเข้าเส้นทางที่ไปบ้านเทอดไทย จากนั้นจะพบทางแยก อีกครั้ง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านห้วยอิ้น ระหว่างทางจะผ่านหมู่บ้านชาวเขา ซึ่งตั้งอยู่เป็นระยะ บ้านหัวแม่คำอยู่เกือบสุดชายแดนพม่า เส้นทางเป็นทางลูกรังคดโค้งไป ตามทิวเขา ใช้เวลาเดินทางราว 3-4 ชั่วโมง ดอยหัวแม่คำเป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวเขาขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเผ่าลีซอ ซึ่งเป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอีก้อ ม้ง และมูเซอ ในช่วงเวลาซึ่งตรงกับวันตรุษจีนของทุกปี ชาวลีซอจะจัดงานประเพณีกินวอ ในวันนั้น ชาวลีซอจะแต่งกายสวยงาม มีการกินเลี้ยง เต้นระบำ รื่นเริง เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน และในเดือนพฤศจิกายน จะเป็นช่วงที่ดอยหัวแม่คำบาน งดงามไปด้วยดอกบัวตองบานสีเหลืองสดใส บานสะพรั่งอยู่ทั่วไปตามแนวเขา

เขตกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง

จากตัวเมืองเชียงรายตามทางหลวงหมายเลข 110 ประมาณ 48 กิโลเมตร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 871-872 แยกซ้ายเข้าทางหลวง 1149 ที่บริเวณบ้านห้วยไคร้ ซึ่งเป็นเส้นทางราดยางขึ้นสู่ดอยตุงลัดเลาะไปตามภูมิประเทศที่งดงามและผ่านสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง

อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ไร่ ตั้งอยู่ริมเส้นทางหลวงหมายเลข 1149 ประมาณกิโลเมตรที่ 4 อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ไร่ เป็นที่เก็บกักน้ำไว้สำหรับใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรม ริมขอบอ่างเป็นที่ตั้งสถานีวิจัยกรมวิชาการเกษตร และสถานีทดลองเพาะและขยายพันธุ์ไม้ตัดดอก ได้แก่ เบิร์ดออฟพาราไดส์ เฮลิโคเนีย และขิงแดง บริเวณขอบอ่างได้รับ การปรับปรุงบริเวณปลูกไม้ดอกไม้ประดับงดงาม เหมาะสำหรับเป็นสถานที่แวะพักกลางทาง

พระตำหนักดอยตุง อยู่บริเวณกิโลเมตร 12 ทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระตำหนักเป็นอาคารสองชั้น มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของสวิส มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่างๆ ฝีมือช่างชาวเหนือ

สวนแม่ฟ้าหลวง อยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอยตุง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับนานาพรรณ มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ออกแบบเป็นรูปลายผ้าพื้นเมืองใช้ต้นซัลเวียดอกสีแดง ขาว และม่วงเข้ม สวยสดสะดุดตามาก ตรงกลางมีรูปปั้นต่อเนื่อง ฝีมือปั้นของคุณมีเซียมยิปอินซอย นอกจากจะใช้ไม้ใบไม้ดอกแล้ว ยังใช้ไม้ยืนต้นและซุ้มไม้เลื้อยอีกมากกว่า 70 ชนิด จัดทางเดินไว้เป็นสัดส่วน มีศาลาชมวิวและร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สวนแม่ฟ้าหลวงสร้างโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ค่าเข้าชม คนละ 20 บาท

อ่างเก็บน้ำป่ากล้วย ตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1149 ห่างจากจุดชมวิว กิโลเมตรที่ 12 ประมาณ 2 กิโลเมตร อ่างเก็บน้ำป่ากล้วย กักเก็บน้ำไว้สำหรับใช้ในศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาดอยตุง ริมอ่างเป็นแปลงทดลองเพาะขยายพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาว โดยเฉพาะดอกซัลเวีย เป็นจุดพักริมทางและชมทัศนียภาพระหว่างพระตำหนักดอยตุงกับพระธาตุดอยตุง

สถูปดอยช้างมูบ ตั้งอยู่บนดอยช้างมูบ ริมถนนสายพระธาตุดอยตุง บ้านผาหมี ห่างจากทางแยกวัดน้อยดอยตุงประมาณ 4 กม. ตำนานสิงหนวัติและตำนานโยนกนาคพันธ์กล่าวถึงดอยช้างมูบว่า ในรัชกาลที่ 10 พระเจ้าชาติราช ได้มีกัมระปติสะโลเทพบุตร นำไม้นิโครธมาปลูก ณ ดอยช้างมูบ ต้นไม้นั้นเมื่อโตได้สูง 7 ศอก ได้แตกสาขาเป็น 4 กิ่ง สามารถให้ร่มเงาให้แก่คนได้ 20 คน ประชาชนมีความเชื่อว่าหากนำไม้มาค้ำกิ่งนิโครธนั้น จะทำให้บรรลุความปรารถนาเช่นเดียวกับต้นกัลปพฤกษ์ กล่าวคือ ทิศตะวันออก ได้บุตรสมประสงค์ ทิศเหนือได้ทรัพย์ ทิศตะวันตกเจริญรุ่งเรือง และทิศใต้อายุยืนนาน ปัจจุบันคงเหลือเพียงพระสถูปช้างมูบ เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเหมือนช้างหมอบอยู่ สภาพโดยรอบเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ และต้นสนซึ่งใช้ปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ

พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณ กม. ที่ 17.5 ของทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งนำมาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็กำหนดหมายเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น ด้วยเหตุนี้ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทย จึงปรากฏนามว่า ดอยตุง จนบัดนี้ พระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่ในกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงนี้จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศสหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี

หมู่บ้านชาวเขา ระหว่างทางขึ้นสู่ยอดดอยตุง มีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้สะดวก เช่น หมู่บ้านชาวเขาเผ่าอีก้อ มูเซอ และจีนฮ่อ นอกจากนี้ยังมีแหล่งขายสินค้าหัตถกรรมของชาวเขาอยู่บริเวณ กม. ที่ 14 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายชาวเขา และเครื่องเงิน ซึ่งนักท่องเที่ยวมักแวะซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึก

จุดชมวิว บริเวณดอยตุงมีจุดชมวิวที่สวยงามหลายแห่ง ริมทางหลวงหมายเลข 1149 มีจุดชมวิวที่ กม. 12 และ กม. 14 นอกจากนี้ตามเส้นทางวัดน้อยดอยตุง-บ้านผาหมี ซึ่งเป็นถนนทอดยาวไปตามแนวเขาผ่านยอดดอยหลายลูก มีจุดชมวิวซึ่งมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล เช่น จุดชมวิวบนดอยช้างมูบ ดอยผาฮี้ และดอยผาหมี

เขตอำเภอแม่สาย

อำเภอแม่สาย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 62 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 110 เป็นอำเภอเหนือสุดของประเทศไทย ติดต่อกับท่าขี้เหล็กของพม่า โดยมีแม่น้ำแม่สาย เป็นพรมแดน มีสะพานเชื่อมเมืองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยมีรั้วเหล็กกั้นกึ่งกลางสะพาน แสดงเส้นพรมแดนของแต่ละประเทศ ภายในเขตพรมแดนของแต่ละประเทศ มีป้อมยาม ของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของตน ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเดดินทางไปมาหาสู่ค้าขายกันได้โดยเสรี สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมเดินทางไปยัง ท่าขี้เหล็ก ของพม่า เพื่อซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าราคาถูกอื่นๆ เช่น ตะกร้า เครื่องทองเหลือง สบู่พม่า สมุนไพร บุหรี่ ฯลฯ การข้ามไปท่าขี้เหล็กไม่มีพิธีการอะไรมากนัก นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้าเขตประเทศพม่าได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น. เสียค่าธรรมเนียมคนละ 5 บาท สำหรับชาวต่างประเทศ 5 เหรียญสหรัฐ โดยนำหนังสือเดินทางไปติดต่อกับด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย ปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวได้ถึงจังหวัดเชียงตุงของพม่า

พระธาตุดอยเวา  ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย บนดอยริมฝั่งแม่น้ำสาย ตามประวัติกล่าวว่า พระองค์เวาหรือเว้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนก เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่งเมื่อ พ.ศ. 364 นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองมาจากพระบรมธาตุดอยตุง

ถ้ำผาจม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย อยู่ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถ้ำผาจมตั้งอยู่บนดอยอีกลูกหนึ่ง ทางทิศตะวันตกของดอยเวา ติดกับแม่น้ำสาย เคยเป็นสถานที่ซึ่งพระภิกษุสงฆ์นั่งบำเพ็ญเพียรภาวนา เช่น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันมีรูปปั้นของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานไว้บนดอยด้วย ภายในถ้ำผาจมมีหินงอกหินย้อยอยู่ตามผนังและเพดานถ้ำ สวยงามวิจิตรตระการตา

ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเสาหินพญานาค  ตั้งอยู่ที่ดอยจ้อง หมู่ 11 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 110 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ดอยจ้องเป็นภูเขาหินปูน จึงประกอบด้วย ถ้ำหินงอก หินย้อย และทางน้ำไหลมากมาย
ถ้ำปุ่ม อยู่สูงขึ้นไปยอดเขา ต้องปืนขึ้นไป ภายในถ้ำมืดมาก ต้องมีผู้นำทางเที่ยวชม
ถ้ำปลา เป็นถ้ำหนึ่งที่มีน้ำไหลภายในถ้ำ เคยมีปลาชนิดต่างๆ ทั้งใหญ่น้อยว่ายออกมาให้เห็นเป็นประจำ ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า สร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวพม่า ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "พระทรงเครื่อง" เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแถบนี้
ถ้ำเสาหินพญานาค อยู่ในบริเวณเดียวกัน เดิมต้องพายเรือข้ามน้ำเข้าไปชม ภายหลังได้สร้างทางเดินเชื่อมกับถ้ำปลา เป็นระยะทาง 150 เมตร ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย และยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย

ขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ที่บ้านจ้อง หมู่ 1 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 110 ไปประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 2 กม. เป็นแอ่งน้ำไหลจากถ้ำบริเวณเชิงดอยจ้อง ซึ่งมีหลายถ้ำ น้ำในแอ่งใสเย็น สภาพแวดล้อมร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่น้อย ประชาชนในท้องถิ่นนิยมเข้ามาพักผ่อน

เขตอำเภอเชียงแสน

อำเภอเชียงแสน เป็นอำเภอเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 59 กิโลเมตร โดยแยกจากทางหลวงหมายเลข 110 ที่อำเภอแม่จัน ไปตามทางหลวงหมายเลข 1016 ประมาณ 31 กิโลเมตร เชียงแสนเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เดิมชื่อเวียงหิรัญนครเงินยาง แม้ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมืองโบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่งปรากฏอยู่ทั้งในและนอกตัวเมือง นักท่องเที่ยวสามารถแวะสอบถามข้อมูล และชมแบบจำลองเมืองเชียงแสนได้ ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งตั้งอยู่เยื้องกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน  ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ที่ได้จากบริเวณเมืองโบราณเชียงแสน และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ลวดลายปูนปั้นฝีมือล้านนา พระพุทธรูปและศิลาจารึก จากเชียงแสนและจากจังหวัดพะเยา พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี การตั้งถิ่นฐานของชุมชน และประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อและชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เครื่องเขิน เครื่องดนตรี เครื่องประดับ อุปกรณ์การสูบฝิ่น เป็นต้น เปิดทำการตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมชาวไทย คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท

วัดพระธาตุเจดีย์หลวง ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสนด้านทิศตะวันออก สร้างโดยพระเจ้าแสนภูเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา สูง 88 เมตร ฐานกว้าง 24 เมตร เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน นอกจากนี้มีพระวิหารซึ่งเก่ามากพังทลายเกือบหมดแล้ว และเจดีย์รายแบบต่างๆ 4 องค์

วัดพระเจ้าล้านทอง วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เจ้าทองงั่ว ราชโอรสพระเจ้าติโลกราชเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2032 ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งหนักล้านทอง (1,200 กิโลกรัม) ขนานนามว่า พระเจ้าล้านทอง เป็นพระประธานหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 3 เมตรเศษ ในวัดนี้ยังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งได้มาจากวัดทองทิพย์ซึ่งเป็นวัดร้าง เรียกกันว่า พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง พระพักตร์งดงามมาก ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 1 ศอก 15 นิ้ว สูง 2 ศอก 10 นิ้ว

วัดป่าสัก  อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร ในเขตตำบลเวียง พระเจ้าแสนภูทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1838 และให้ปลูกต้นสักแวดล้อมกำแพงจำนวน 300 ต้น จึงได้ชื่อว่า "วัดป่าสัก" ทรงตั้งพระพุทธโฆษาจารย์เป็นสังฆราชจำพรรษา ณ อารามแห่งนี้ ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆัง ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร มีฐานกว้าง 8 เมตร สูง 12.5 เมตร เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร

วัดพระธาตุจอมกิตติ อยู่ในท้องที่อำเภอเชียงแสน ตั้งอยู่บนเนินเขานอกกำแพง มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 1.7 กิโลเมตร ตามพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าพังคราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง เมื่อ พ.ศ. 1483 สมัยเดียวกับการสร้างพระธาตุจอมทองของเชียงราย ทั้งนี้เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสองสมัยเชียงแสน ต่อมาพระเจ้าสุวรรณคำล้านได้เสริมและปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุใหม่ ขณะนี้สูง 13 เมตร ฐานกว้าง 8 เมตร

วัดสังฆาแก้วดอนหัน มีประวัติตามตำนานว่า สร้างโดยพระเจ้าลวจักราช เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานที่พบแสดงว่ามีอายุอยู่ในช่วงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 21 กรมศิลปากรได้ขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะภาพขูดขีดบนแผ่นอิฐเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระชาติของพระพุทธเจ้าตอนเวสสันดรชาดก เช่น พระเวสสันดรเดินป่า ชูชกเฝ้าพระเวสสันดร เป็นต้น ลักษณะของภาพเป็นการเขียนลงบนอิฐก่อนการเผา ที่น่าสนใจคือ อิฐดังกล่าวถูกนำมาก่อเป็นผนังและฉาบปูนปิดทับ คงเนื่องจากความศรัทธาของชาวบ้านผู้สร้างวัดถวายมากกว่าเจาะจงให้คนมาชม
นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่หลุดพังมาจากผนังวิหาร มีสภาพแตกหักแต่ยังคงเหลือลักษณะของสีและตัวภาพซึ่งใช้สีชาดและสีแดงเพียง 2 สี นับได้ว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญทางวิชาการอย่างยิ่ง

ทะเลสาบเชียงแสน  เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ในท้องที่ตำบลโยนก ห่างจากเชียงแสน 5 กิโลเมตร ตามทางสายเชียงแสน-แม่จัน จะมีทางแยกซ้ายบริเวณ กม. ที่ 27 ไปอีก 2 กิโลเมตร ในฤดูหนาวจะมีฝูงนกน้ำอพยพมาอาศัยที่ทะเลสาบแห่งนี้ ริมทะเลสาบมีร้านอาหารและที่พัก

สบรวก (ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ) ตั้งอยู่ห่างจากเชียงแสนไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามถนนเลียบริมแม่น้ำโขง สบรวกเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว มาพบกับแม่น้ำรวก ซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า จากจุดนี้นักท่องเที่ยวจะมองเห็นฝั่งพม่าและลาวได้ถนัดชัดเจน สามเหลี่ยมทองคำ เป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นักท่องเที่ยว เพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นไร่ฝิ่นที่ใหญ่โตมาก เรียกว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นที่ว่านี้อีกแล้ว คงเหลือแต่ทิวทัศน์ที่เงียบสงบของลำน้ำและเขตแดนของ 3 ประเทศเท่านั้น
บริเวณสบรวกมีบริการเรือให้เช่าเพื่อเดินทางไปชมทิวทัศน์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ใช้เวลา 20 นาที และยังสามารถเช่าเรือจากสบรวกไปยังเชียงแสนและเชียงของได้ ใช้เวลาประมาณ 40 นาที และ 1 ชั่วโมงครึ่งตามลำดับ

พระธาตุดอยปูเข้า แยกซ้ายจากเส้นทางเชียงแสน-สบรวก ก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงยอดเขา หรือจะเดินขึ้นบันไดไปก็ได้
พระธาตุปูเข้านี้ สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมี่ยง ริมปากน้ำรวก เมื่อ พ.ศ. 1302 ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเวียงหิรัญนครเงินยาง โบราณสถานประกอบด้วยพระวิหาร และกลุ่มเจดีย์ที่พังทลาย ก่อด้วยอิฐมีร่องรอยการตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น นอกจากนี้บนดอยเชียงเมี่ยงยังเป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจน

วัดพระธาตุผาเงา อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามโรงเรียนสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีเนื้อที่ 143 ไร่ มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่ วิหารปัจจุบันสร้างทับซากวิหารเดิม บนยอดเขาข้างหลังวัด เป็นที่ตั้งของพระบรมพุทธนิมิตรเจดีย์ที่มองเห็นทิวทัศน์สวยงามได้โดยรอบ

วัดเจดีย์เจ็ดยอด อยู่เหนือวัดพระธาตุผาเงาขึ้นไปบนดอยประมาณ 1 กิโลเมตร ตัววัดหักพังหมดแล้ว เหลือแต่เพียงซากอิฐเก่าๆ ดูแทบไม่เห็นรูปร่างแล้ว อาจกล่าวได้ว่า วัดพระธาตุผาเงาและวัดเจดีย์เจ็ดยอดอยู่บนเขาลูกเดียวกัน มีบริเวณต่อเนื่องกันอย่างกว้างขวาง บริเวณร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่ สมกับเป็นสถานปฏิบัติธรรม

น้ำตกบ้านไร่ ตั้งอยู่บ้านไร่ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านแซว ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตรเศษ โดยเส้นทาง รพช. สายบ้านเวียง-เชียงของ (สายเดียวกันกับไปพระธาตุผาเงา) เป็นน้ำตกธรรมชาติตกจากดอยผาแตก บริเวณน้ำตกเป็นป่าร่มรื่น

เขตอำเภอเชียงของ

อำเภอเชียงของ เป็นอำเภอเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีแนวขนานไปกับลำน้ำโขง นักท่องเที่ยวสามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามสองฝั่งแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีการจับปลาบึกอีกด้วย
อำเภอเชียงของอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 141 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอำเภอเชียงแสน-เชียงของ (ทางหลวงหมายเลข 1129) เป็นทางเลียบฝั่งโขง ระยะทางจากเชียงแสนประมาณ 55 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากอำเภอแม่จัน ใช้เส้นทางแม่จัน-บ้านกิ่วพร้าว-บ้านแก่น (ทางหลวงหมายเลข 1098) บ้านแก่น-บ้านทุ่งงิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 1174) และบ้านทุ่งงิ้ว-เชียงของ รวมระยะทางจากเชียงรายประมาณ 137 กิโลเมตร ทางราดยางตลอดสาย

หาดจับปลาบึก  อยู่ที่บ้านหาดไคร้ หมู่ที่ 12 ตำบลเวียง ซึ่งเป็นแหล่งจับปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด โดยมีฤดูการจับอยู่ในระหว่างกลางเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ในแต่ละปีมีการผสมพันธุ์ปลาบึกที่สถานีประมงเชียงของ เพื่อนำพันธุ์ปลาบึกที่ผสมได้แจกจ่าย ปล่อยตามแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ ทั่วประเทศ

ท่าเรือบั๊ค จุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย-ลาว ริมฝั่งแม่น้ำโขง มองเห็นทิวทัศน์ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ชัดและสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถข้ามไปฝั่งลาวได้ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ติดต่อกรอกแบบฟอร์มขอผ่านแดนที่ศูนย์อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ในบริเวณที่ว่าการอำเภอเชียงของได้ทุกวัน เตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด พร้อมเงินค่าธรรมเนียม 10 บาท นอกจากนั้นแล้วในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนเมษายน จะมีการจัดงานรื่นเริงและร้านค้าตามชายหาดริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นประจำทุกปี

บ้านหาดบ้าย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ ซึ่งเป็นถนนเลียบริมแม่น้ำโขง เป็นหมู่บ้านของชาวไทยลื้อที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงามน่าสนใจ โดยเฉพาะฝีมือการทอผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงจากอำเภอเชียงของ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือหางยาวไปยังบ้านหาดบ้ายใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และยังได้เที่ยวชมทัศนียภาพสองฝั่งโขงอันสวยงามอีกด้วย

เขตอำเภอเวียงแก่น


 ดอยผาตั้ง เป็นจุดชมวิวไทย-ลาว สองฝั่งโขง และทะเลหมอกได้ตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ดอกซากุระจะบานสะพรั่งงดงามเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้งนี้ ปัจจุบันประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ล และชา
การเดินทางจากจังหวัดเชียงราย ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางเชียงราย-เวียงชัย-พญาเม็งราย-บ้านต้า (ทางหลวงหมายเลข 1233, 1173 และ 1152) 50 กิโลเมตร บ้านต้า-บ้านท่าเจริญ (ทางหลวง 1020) 45 กิโลเมตร บ้านท่าเจริญ-เวียงแก่น-ปางหัด (ทางหลวง 1155) 17 กิโลเมตร และปางหัด-ดอยผาตั้ง อีก 15 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดชมวิว 103 สภาพเส้นทางบางช่วงสูงชัน ผู้ผ่านเข้าออกพื้นที่ต้องพกบัตรประชาชนไปแสดงด้วย เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพภาคที่ 3 บนดอยผาตั้งมีที่พัก สถานที่กางเต็นท์และร้านอาหาร สามารถไปเที่ยวได้ตลอดปี

 ภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง ลงมาทางทิศใต้ 20 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลม ชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้างถึง 1 ตารางกิโลเมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาว ยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว มองเห็นหมู่บ้านลาวที่เรียกว่า เชียงตอง ยามเช้าในฤดูหนาวจะมีทะเลหมอกและอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ จะเป็นช่วงที่ดอกเสี้ยว หรือดอกชงโคป่า บานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบริเวณภูชี้ฟ้า
การเดินทาง จากจังหวัดเชียงรายระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางเชียงราย-เทิง ระยะทาง 64 กิโลเมตร และจากเทิง-ปางค่า ระยะทาง 24 กิโลเมตร จากนั้นเป็นทางลูกรัง ถึงภูชี้ฟ้าระยะทาง 19 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทาง1021 เทิง-เชียงคำ ระยะทาง 27 กิโลเมตร ก่อนถึงเชียงคำ 6 กิโลเมตร มีทางแยกไปวนอุทยานน้ำตก๓ซาง (1093) บ้านฮวก อีก 19 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปยังภูชี้ฟ้าอีก 30 กิโลเมตร (ควรใช้จิ๊ปหรือกะบะ) แล้วเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตรกว่า จึงจะถึงจุดชมวิว ทางเดินเท้ามีสภาพสูงชันมาก นอกจากนี้จากสถานีขนส่งเชียงรายมีรถโดยสารไปยังภูชี้ฟ้าและดอยผาตั้ง รถออกเวลา 12.30 น. รายละเอียดติดต่อ บ. สหกิจ โทร. (053) 711654
ภูชี้ฟ้าเป็นพื้นที่ในความดูแลของกองทัพภาคที่ 3 มีบ้านพัก 40 หลัง มีห้องน้ำในตัว แต่ไม่มีเครื่องนอน ไฟฟ้า และร้านอาหาร นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอุปกรณ์ของใช้ที่จำเป็นต่างๆ ไปเอง และมีสถานที่ตั้งแคมป์ด้วย

เขตอำเภอเวียงแก่น

พระธาตุจอมแว่ ตั้งอยู่บนภูเขาจอมแว่ หมู่ที่ 2 ตำบลเมืองพาน 3 กิโลเมตร เป็นพระธาตุที่มีประชาชนชาวอำเภอพานและอำเภอใกล้เคียงนับถือกันว่าเป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อถึงเดือน 8 เหนือ หรือเดือน 9 ใต้ ขึ้น 15 ค่ำ จะมีงานนมัสการองค์พระธาตุทุกปี

พระธาตุสามดวง เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งใน อ.พาน ตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่างบ้านป่าหุ่ง หมู่ที่ 1 กับบ้านศาลาเหมืองหิน หมู่ที่ 11 ต. ป่าหุ่ง อ. พาน อยู่ห่างจากที่ทำการ อ. พาน ไปทางทิศตะวันตก ระยะทาง 12 กม. ภายในบริเวณวัดมีพระธาตุตั้งอยู่ 3 องค์ แต่ละองค์ตั้งห่างกันประมาณ 100-200 เมตร และตั้งอยู่บนเนินสูงลดหลั่นกันลงไป
ตำนานเล่าว่า พระธาตุสามดวงนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 1839 ต่อมาได้มีการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2476 โดยคณะศิษยานุศิษย์ของครูบาศีลธรรมกับครูบาไชยา เพื่อใช้เป็นที่อยู่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ ในบริเวณพระธาตุสามดวงจะมองเห็นทิวทัศน์ของตัว อ.พาน ได้อย่างสวยงาม

น้ำตกถ้ำผาโขงและถ้ำน้ำลอด ตั้งอยู่ที่บ้านปางเกาะทราย หมู่ที่ 6 ตำบลป่าหุ่ง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพานประมาณ 15 กิโลเมตร โดยผ่านหลังที่ว่าการอำเภอพานไปทางทิศตะวันตก มีน้ำไหลใสสะอาดตลอดปี

ถ้ำผายาว ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 8 ตำบลม่วงคำ จากถนนพหลโยธิน สายอำเภอพาน-พะเยา มีทางแยกตรงบ้านม่วงคำไปประมาณ 5 กม. เป็นถ้ำใหญ่ ปากถ้ำกว้างถึง 20 เมตร ลึก 520 เมตร

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่สรวย อำเภอพาน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอแม่ใจ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 1,170 ตารางกิโลเมตร หรือ 731,250 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงทอดตัวแนวเหนือ-ใต้ มีดอยหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรังปะปนกัน มีสัตว์ป่าและนกหลายชนิด การเดินทางใช้เส้นทางสายเชียงราย-พะเยา ไป 58 กิโลเมตร ถึงบ้านปูแกง บริเวณ กม. ที่ 77 เลี้ยวขวาอีก 9 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งอยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานฯได้แก่ น้ำตกปูแกง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย น้ำไหลจากภูเขาสูงสลับซับซ้อนก่อให้เกิดชั้นน้ำตกที่สวยงามถึง 9 ชั้น บริเวณน้ำตกมีการทับถมของหินปูนที่ปนมากับน้ำ ทำให้เกิดหินงอกหินย้อยมากมายบริเวณน้ำตก อุทยานฯ มีสถานที่ตั้งแค้มป์และบริการเดินป่า สอบถาม โทร. 053-721683

เขตอำเภอเวียงป่าเป้า

เวียงกาหลง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้าประมาณ 16 กิโลเมตร โดยแยกจากถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ บริเวณบ้านแม่เจดีย์ไปทาง อ.วังเหนือ ประมาณ 3 กิโลเมตร ในบริเวณเวียงกาหลงนี้มีซากเตาทำเครื่องถ้วยชามอยู่หลายแห่ง เรียกกันว่า เตากาหลง ลักษณะของเตาก่อด้วยอิฐในพื้นที่ราบเป็นรูปประทุนเหมือนกระดองเต่า ขนาดเล็กวัดได้กว้างราว 2 เมตร ยาว 3 เมตร ขนาดใหญ่กว้าง 4-5 เมตร ยาว 7-9 เมตร มีทางเข้าด้านหน้าทางเดียว

บ่อน้ำร้อนโป่งเทวี ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ กม. ที่ 64-65 มีบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ 2 บ่อ ในบริเวณมีชาวบ้านนำไข่มาขายเพื่อให้นักท่องเที่ยวทดสอบต้มในบ่อน้ำร้อน

อุทยานแห่งชาติขุนแจ เดินทางไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-เชียงราย (ทางหลวงหมายเลข 118) จะถึงที่ทำการอุทยานฯ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางบริเวณ กม. ที่ 55-56 ผู้ประสงค์จะเดินทางท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ตามเส้นทางเดินป่า ซึ่งผ่านน้ำตกและยอดดอยต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยคนนำทางและต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับค้างแรมมาเอง โดยติดต่อทำหนังสือถึงอุทยานแห่งชาติขุนแจ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า เชียงราย 57260 ล่วงหน้าเป็นเวลา 15 วันก่อนเดินทาง

ล่องแก่งแม่กก ท่าตอน-เชียงราย

ท่าตอน เป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำกก เหนือขึ้นไปจากอำเภอฝาง 24 กิโลเมตร จากเชียงใหม่มีรถประจำทางออกจากประตูช้างเผือก ไปลงที่ฝางใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วจะมีรถสองแถววิ่งประจำระหว่างฝางกับท่าตอน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีเรือหางยาวบริการถึงเชียงราย ออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ถึงเชียงราย 16.30 น. และจากเชียงรายเวลา 10.30 น. ถึงท่าตอน 15.30 น. ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ค่าโดยสารคนละ 170 บาท เหมาลำ ลำละ 1,700 บาท จุประมาณ 8-10 คน
นอกจากนี้ยังมีบริการล่องแพตามลำน้ำกกจากท่าตอนไปเชียงรายใช้เวลา 3 วัน 2 คืน รายละเอียดติดต่อร้านชาวแพ (ทิพย์เทรเวล) 211 ม. 3 ต. ท่าตอน อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ โทร. (053) 459312 หรือ (01) 981-1780 ที่ท่าตอนมีรีสอร์ทและเกสท์เฮ้าส์ 4-5 แห่ง หรือจะพักที่ฝาง (22 กิโลเมตรจากท่าตอน) มีโรงแรมเล็กๆ ให้พักได้

จุดท่องเที่ยวทางน้ำ (จากท่าตอนเชียงใหม่-ท่าเรือเชียงราย)
พระธาตุสบฝาง (อำเภอฝาง) บ้านแม่สลัก (เขตแดนเชียงใหม่-เชียงราย) บ้านใหม่ (หมู่บ้านไทยใหญ่) บ้านเมืองงาม (หมู่บ้านกะเหรี่ยง) บ้านจะคือ (หมู่บ้านมูเซอ) บ้านผามูบใหม่ (หมู่บ้านมูเซอใหม่) โป่งน้ำร้อนผาเคียว บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร (หมู่บ้านกะเหรี่ยงมีบริการนั่งช้าง) และถ้ำพระ (อำเภอเมืองเชียงราย)




แผนที่ท่องเที่ยว
แผนที่เชียงราย