แผนที่พังงา
- แผนที่พังงา
- ข้อมูลทั่วไป
- การเดินทาง
- งานประเพณี
- สถานที่ท่องเที่ยว
พังงาเต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งบนบกและใต้น้ำ โดยเฉพาะกลุ่มเกาะสวยงามที่วางตัวเรียงรายอยู่ในทะเลอันดามัน จนพังงาได้รับสมญานามว่า เป็นดินแดนแห่งป่าเกาะ รวมทั้งยังมีผืนป่าชายเลนหนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยพังงา เต็มไปด้วยวิถีชีวิตที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องราว ของผู้คนหลากเชื้อชาติ ทั้งไทย จีน มุสลิม และชาวไทยใหม่ (ชาวเล) ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเก่าแก่ที่น่าสนใจ เช่น เกาะปันหยี เกาะยาว หมู่บ้านชาวมอแกนในบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ ชุมชนชาวเหมืองแร่ที่ตะกั่วป่า ฯลฯนอกจากนั้น พังงายังเต็มไปด้วยแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เช่น โลกใต้น้ำของหมู่เกาะสิมิลัน ดงปะการังหลากหลายและฝูงปลาน้อยใหญ่ใต้ทะเลหมู่เกาะสุรินทร์ เขาตาปู เขาพิงกัน เกาะพระทอง ฯลฯทั้งหมดนี้ล้วนเป็นทรัพยากรล้ำค่าที่ทำให้พังงาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเสมอมา
จังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ คือ ฝั่งตะวันตกติดทะเลอันดามัน ส่วนบนบกนั้นส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา พื้นที่ป่าเป็นป่าดงดิบ สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายและสวยงามนี้เองที่ก่อให้เกิดมูลค่าทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มเกาะ เช่น หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทอื่น คือ หาดทรายชายทะเล ป่าดิบ ป่าชายเลน น้ำตก และโถงถ้ำพังงาเริ่มต้น ความเป็นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานที่ขุดค้นพบมีทั้งเครื่องมือหิน ภาพเขียนสีในถ้ำ อาวุธที่ทำจากกระดูกสัตว์ ภาชนะดินเผา ฯลฯ หลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่สนับสนุนว่าพังงาเป็นเมืองเก่าแก่ คือเครื่องปั้นดินเผาและกำไลหิน อายุ 3,000-4,000 ปี ที่พบในถ้ำสุวรรณคูหาในสมัยประวัติศาสตร์ พบหลักฐานว่า ชาวกลิงคราฐหลบหนีการโจมตีของพระเจ้าอโศกมหาราชอยู่ในบริเวณริมทะเลแถวเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และถลาง ครั้นถึง พ.ศ. 300 ชาวอินเดียที่หนีมาได้นำศิลปวัฒนธรรมมาด้วย โดยมีการพบรูปสลักหินพระลักษมณ์ พระราม และนางสีดา ในบริเวณเมืองเก่าของตะกั่วป่า และในหนังสือมิลินทปัญหา ชาวอินเดียเรียกตะกั่วป่าว่าตะโกลา หรือตกโกล ซึ่งแปลว่าลูกกระวาน ปัจจุบันนี้คนเฒ่าคนแก่ก็ยังเรียกบริเวณนี้ว่าเมืองตะโกลาล่วงมาจนถึงสมัยอยุธยา พังงามีฐานะเป็นเมืองแขวง ขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ได้รับการยกฐานะให้เป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 พม่ามาตีเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และถลาง จึงมีการย้ายผู้คนมาอยู่ที่ตำบลกราภูงา ซึ่งอยู่ตรงปากน้ำพังงา และตั้งชื่อเมืองว่าภูงา ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมาคำว่าภูงาเพี้ยนเป็นพังงาจนถึง สมัยรัชกาลที่ 3 เมืองพังงา ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ กระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการยุบเมืองตะกั่วป่าขึ้นกับเมืองพังงา หลังจากนั้น พังงาก็ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดในสมัยรัชกาลที่ 6 ทว่าช่วงที่เมืองรุ่งเรืองอย่างที่สุดนั้น อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะกิจการเหมืองแร่ดีบุกในพังงาเจริญก้าวหน้ามากหลังจากหมดยุคเหมืองแร่ พังงาก็กลับสู่ความเงียบสงบ กระทั่งกองถ่ายภาพยนตร์เรื่องเจมส์บอนด์เลือกอ่าวพังงาเป็นฉากถ่ายทำเมื่อปี พ.ศ. 2517 ความงดงามของภูมิประเทศจึงถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก จากวันนั้นเอง พังงาก็เติบโตขึ้นในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่งดงาม
จังหวัดพังงาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ
อำเภอเมืองพังงา อำเภอกะปง อำเภอเกาะยาว อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอทับปุด และอำเภอท้ายเหมือง
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดระนองและ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดภูเก็ตและทะเลอันดามัน
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานีและ จังหวัดกระบี่
ทิศตะวันตก ติดทะเลอันดามัน
การเดินทาง
ทางรถยนต์
ทางรถยนต์ สามารถใช้ได้สองเส้นทางได้แก่
- เส้นทางแรก จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านประจวบฯ-ชุมพร-ระนอง แล้วจากนั้นก็เข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดพังงา รวมระยะทางทั้งสิ้น 788 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมง
- เส้นทางที่สอง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ไปจนถึงจังหวัดชุมพร และจากจังหวัดชุมพร ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 41 ไปจนถึงอำเภอท่าฉาง จนไปถึงสี่แยกแล้วให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 จนถึงอำเภอบ้านตาขุน ไปประมาณ 50 กิโลเมตร จากนั้นให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 415 ไปประมาณ 30 กิโลเมตร ก็ให้เลี้ยวขวาจนเข้าสู่ตัวเมืองพังงา หากเดินทางจากภูเก็ตใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 402 ผ่านสะพานสารสิน เข้าเขตบ้านโคกกลอย แล้วเลี้ยวขวา ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นระยะทางโดยประมาณ 87 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที ก็จะเข้าสู่ตัวเมืองพังงา
ทางรถประจำทาง
รถโดยสาร บริษัท ขนส่ง จำกัด บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-พังงาทุกวัน มีรถปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) รถวี.ไอ.พี ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-422-4444 หรือ Call Center 1490
รถโดยสารประจำทางบริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ กรุงเทพฯ-พังงา บริการทุกวัน ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๑๐ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๒๘๙๔ ๖๑๒๒ และบริษัทเดินรถเอกชน คือ บริษัท ลิกไนท์ทัวร์ โทร. ๐ ๒๘๙๔ ๖๑๕๑-๒ สถานีพังงา ถนนเพชรเกษม (หลังธนาคารนครหลวงไทย) โทร. ๐ ๗๖๔๑ ๒๓๐๐, ๐ ๗๖๔๑ ๒๐๑๔ www.transport.co.th
การเดินทาง กรุงเทพฯ-พังงา
1. บริษัท ขนส่ง จำกัด (โทร.02 872 1777)
กรุงเทพฯ –อ.เมือง จ.พังงา
-กทม.-ภูเก็ต 06.20 น. 480 บาท ปรับอากาศชั้น1
-กทม.-ภูเก็ต 13.00 น. 480 บาท ปรับอากาศชั้น1
-กทม.-ภูเก็ต 18.00 น. 480 บาท ปรับอากาศชั้น1
-กทม-พังงา-ภูเก็ต 20.00 น. 960 บาท ปรับอากาศ VIP
-กทม-บ้านเขาต่อ-ภูเก็ต 20.00 น. 960 บาท ปรับอากาศ VIP
-กรุงเทพฯ-คุระบุรี
-กทม.-ภูเก็ต 09.30 น. 430 บาท ปรับอากาศชั้น2
-กทม.-ตะกั่วป่า-โคกกลอย 20.00 น. 533 บาท ปรับอากาศชั้น1
-กรุงเทพฯ-ตะกั่วป่า
-กทม.-ภูเก็ต 09.30 น. 465 บาท ปรับอากาศชั้น1
-กทม.-เขาสก-เขาหลัก(ทับละมุ) 20.00น. 930 บาท ปรับอากาศ VIP
-กทม.-ตะกั่วป่า-โคกกลอย 20.00 น. 533 บาท ปรับอากาศชั้น1
2. บริษัท ลิกไนท์ ทัวร์ (โทร.02 894 6151-2)
- กทม-พังงา(บ้านเขาต่อ) 18.40 น. 617 บาท ปรับอากาศชั้น1
- กทม-พังงา(คุระบุรี-ตะกั่วป่า) 19.05 น. 748 บาท ปรับอากาศ VIP
3.บริษัท บัส เอ็กซเพรส (โทร.02 894 6101-3)
-กทม-พังงา-ภูเก็ต 16.00 น. 598 บาท ปรับอากาศชั้น1
-กทม-พังงา-ภูเก็ต 19.00 น. 900 บาท ปรับอากาศชั้น VIP
-กทม-พังงา-ภูเก็ต 20.30 น. 900บาท ปรับอากาศชั้น VIP
การเดินทาง จังหวัดพังงา-กรุงเทพฯ
1. บริษัทขนส่ง จำกัด จ.พังงา โทร. (076 412 014)
อ.เมืองพังงา จ.พังงา-กรุงเทพฯ
-ภูเก็ต-กทม. 08.50 น. 955 บาท ปรับอากาศ VIP
-ภูเก็ต-กทม. 19.45 น. 716 บาท ปรับอากาศชั้น VIP 32ที่นั่ง*
-ภูเก็ต-กทม. 08.00 น. 480 บาท ปรับอากาศชั้น 2*
-ภูเก็ต-กทม. 18.40 น. 614 บาท ปรับอากาศชั้น 1
-ภูเก็ต-กทม. 21.20 น. 480 บาท ปรับอากาศชั้น 2
-ภูเก็ต-กทม. 17.45 น. 614 บาท ปรับอากาศชั้น1
-ภูเก็ต-กทม. 17.20 น. 716 บาท ปรับอากาศชั้น VIP 32ที่นั่ง*
-ภูเก็ต-กทม. 20.00 น. 716 บาท ปรับอากาศชั้น VIP 32ที่นั่ง*
-ภูเก็ต-กทม. 20.50 น. 716 บาท ปรับอากาศชั้น VIP 32ที่นั่ง*
-ภูเก็ต-กทม. 19.15 น. 716 บาท ปรับอากาศชั้น VIP 32ที่นั่ง*
*หมายเหตุ * ด้านหลัง ขึ้นรถที่แยกหม้อแกง ถ.บายพาส ซื้อตั๋วบนรถได้เลย*
อ.คุระบุรี จ.พังงา-กรุงเทพฯ
-กทม.ภูเก็ต 10.30 น. 430 บาท ปรับอากาศชั้น2
-กทม.-ภูเก็ต 14.30 น. 430 บาท ปรับอากาศชั้น1
-กทม.ตะกั่วป่า-โคกกลอย 16.00 น. 553 บาท ปรับอากาศ VIP
2. บริษัทลิกไนท์ ทัวร์ (โทร. 076 412 300)
-พังงา-กทม. 17.00 น. 960 บาท ปรับอากาศ VIP
-พังงา-กทม. 17.00 น. 617 บาท ปรับอากาศชั้น1
-พังงา-กทม.(คุระบุรี-ตะกั่วป่า) 15.30 น. 641 บาท ปรับอากาศชั้น1
3. บริษัท บัส เอ็กซเพรส
อี๊ดบริการ (โทร. 076 430 039,081 272 6814,081 085 7123) ,และมิสเตอร์แก่นทัวร์ (โทร.076 430 619)
-พังงา-กทม. 08.00 น. 598 บาท ปรับอากาศชั้น1
-พังงา-กทม. 17.30 น. 900 บาท ปรับอากาศ VIP
-พังงา-กทม. 17.30 น. 598 บาท ปรับอากาศชั้น1
-พังงา-กทม. 19.00 น. 598 บาท ปรับอากาศชั้น1
-พังงา-กทม. 20.30 น. 477 บาท ปรับอากาศชั้น2
ทางรถไฟ
ทางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถโดยสารประจำทางไปอีกประมาณ 2 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
ทางเครื่องบิน
ทางเครื่องบิน เครื่องบิน ไม่มีเที่ยวบินบินตรงไปจังหวัดพังงา แต่สามารถใช้เส้นทางบิน กรุงเทพฯ-ภูเก็ต บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ-ภูเก็ต จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางเข้าไปจังหวัดพังงาอีกประมาณ 58 กิโลเมตร ติดต่อสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ แผนกประชาสัมพันธ์ บริษัทการบินไทย จำกัด ถนนหลานหลวง โทร.1566, 02-356-1111 ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com นกแอร์ โทร. 1318 www.nokair.com วัน ทู โก โทร. 1126 www.fly12go.com
การเดินทางภายในพังงา
ในตัวเมืองพังงามีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งพังงา โทร. 0 7641 2300
นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น ถ้ำพุงช้าง ถ้ำฤาษีสวรรค์ ฯลฯ คิวรถสองแถวและรถตู้ส่วนใหญ่อยู่ในตัวเมืองและบริเวณสถานีขนส่งพังงา
นอกจากเส้นทางบนบก ยังมีท่าเรือสำหรับไปเที่ยวเกาะหลายแห่ง เช่น ไปเที่ยวอ่าวพังงา ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ท่าเรือท่าด่านศุลกากร เป็นท่าที่อยู่ใกล้ตัวเมืองที่สุด ท่าเรือสุระกุล (ท่าเรือกระโสม) อยู่ในอำเภอตะกั่วทุ่ง ไปหมู่เกาะสุรินทร์หรือเกาะพระทอง ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือคุระบุรี ไปหมู่เกาะสิมิลัน ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือทับละมุ ไปเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่ ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือท่าด่านศุลกากร เป็นต้น
ระยะทางจากอำเภอเมืองพังงาไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอตะกั่วทุ่ง 12 กิโลเมตร
อำเภอทับปุด 26 กิโลเมตร
อำเภอกะปง 47 กิโลเมตร
อำเภอท้ายเหมือง 57 กิโลเมตร
อำเภอตะกั่วป่า 65 กิโลเมตร
อำเภอคุระบุรี 125 กิโลเมตร
อำเภอเกาะยาว 138 กิโลเมตร
งานประเพณีปล่อยเต่า กำหนดวันจัดงานตรงกับเดือนมีนาคม ของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลองเป็นเวลา 7 วัน กิจกรรมที่สำคัญของงาน คือ การปล่อยลูกเต่าลงสู่ทะเลที่บริเวณหาดท้ายเหมือง
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเมืองพังงา
ศาลากลางจังหวัดพังงาหลังเก่า ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมือง 3.5 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2473 ในสมัยรัชกาลที่ 7 บนพื้นที่ 12 ไร่ 3 งาน 25.7 ตารางวา ศาลากลางแห่งนี้เป็นตึกชั้นเดียวทรงปั้นหยา กึ่งกลางอาคารด้านหน้าต่อเป็นมุขเปิดโล่ง ด้านหน้าอาคารเป็นระเบียงยาวตลอดตัวอาคาร ปลายปีกอาคารทั้งสองข้างจัดเป็นห้องโถงใหญ่ เสาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ฝาผนังก่ออิฐถือปูน พื้นอาคารเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคาปูด้วยกระเบื้องซีเมนต์
เขาช้าง หากเดินทางจากตัวตลาดของจังหวัดไปทางตำบลโคกกลอย ผ่านหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า มองไปทางขวามือจะเห็นภูเขาขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายช้างหมอบ ชาวเมือง เรียกว่า เขาช้าง ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด
ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำลูกเสือ อยู่ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ถนนเขาช้าง เขตเทศบาลเมือง ริมถนนเพชรเกษม เยื้องกับศาลากลางจังหวัด ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำลูกเสือเป็นถ้ำที่สามารถทะลุถึงกันได้ ถ้ำฤาษีสวรรค์อยู่ด้านหน้าถ้ำลูกเสือ ภายในถ้ำทั้งสองเย็นสบาย มีธารน้ำใสและมีหินงอกหินย้อย ด้านหน้าถ้ำริมถนนเพชรเกษม เทศบาลจัดเป็นสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อน
ถ้ำพุงช้าง อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพังงาหลังศาลากลางจังหวัด ก่อนเข้าตัวตลาดพังงา มีทางราดยางเข้าไป 500 เมตร ถึงวัดประพาส ประจิมเขต แล้วเดินเข้าไปยังถ้ำในบริเวณวัดได้ สภาพภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยและธารน้ำไหลตลอดปี
ถ้ำเขางุ้ม อยู่ตรงข้ามทางเข้าถ้ำพุงช้าง ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงดงาม และบริเวณด้านหนึ่งของถ้ำมีเปลือกหอยมากมาย อัดติดอยู่กับภูเขา
ถ้ำซ้ำ เป็นถ้ำเก่าแก่ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่บ้านฝายท่า หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำน้ำผุด (อยู่ด้านหลังตลาด) ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพังงา ประมาณ 5 กม. บริเวณหน้าถ้ำมีสระน้ำที่เกิดตาม ธรรมชาติขนาดใหญ่ ส่วนภายในถ้ำมีภาพเขียนสีโบราณ อายุประมาณ 200-250 ปี เป็นภาพนก ภาพพระจีน ภาพหนังตะลุง และมีรูปสลักพระพุทธรูปที่หินบริเวณปากถ้ำ
วนอุทยานสระนางมโนห์รา หรือ ธารน้ำตกสระนางมโนห์รา อยู่ในเขตตำบลนบปริง อำเภอเมือง การเดินทางไปชมธารน้ำตกสระนางมโนห์รานี้ ใช้เส้นทางพังงา-กระบี่ (ทางหลวง แผ่นดิน หมายเลข 4) ไป 3 กิโลเมตร แล้วแยกขวาข้างสถานีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปอีก 3 กิโลเมตร ถึงบริเวณธารน้ำตก วนอุทยานสระนางมโนห์ราแห่งนี้ มีพื้นที่กว้างประมาณ 180 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่ร่มรื่น มีพันธุ์ไม้ต่างๆ อยู่มาก ลักษณะเด่นของวนอุทยานแห่งนี้คือ ธารน้ำตกที่เกิดจาก ลำธารไหลจากไหล่เขาตกลงสู่แอ่งน้ำขนาดใหญ่ตลอดปี
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตท้องที่ของอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 250,000 ไร่ หรือ 400 ตารางกิโลเมตร อุทยานฯ แห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งที่สองของประเทศ มีความงดงามของทิวทัศน์ชายฝั่ง และทิวทัศน์เหนือผิวน้ำ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าชายเลน และยังเป็นแหล่ง ขยายพันธุ์สัตว์น้ำมากมาย ซึ่งอุทยานฯแห่งนี้จะอยู่ในเวิ้งอ่าวพังงาที่เต็มไปด้วยเกาะหินปูน ซึ่งสวยงามด้วยรูปลักษณ์ อุทยานฯ แห่งนี้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524
สถานที่น่าสนใจ ในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
-เกาะปันหยี เป็นเกาะเล็กๆ มีที่ราบประมาณ 1ไร่ มีบ้านเรือนประมาณ 200 หลังคาเรือนประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวประมง ขายของที่ระลึกและขายอาหารให้แก่นักท่องเที่ยว มีโรงเรียนประชาบาลแห่งหนึ่งชื่อ โรงเรียนบ้านเกาะปันหยี ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
-เกาะละวะใหญ่ อยู่ห่างจากอุทยาน ฯ โดยทางเรือหางยาวประมาณ 2 ชั่วโมง เกาะวะละใหญ่นี้เป็นเกาะเล็ก ๆ มีหาดทรายขาว ใช้เวลาเดินทางรอบเกาะประมาณครึ่งชั่วโมง มีน้ำทะเลที่สะอาด และมีปะการังน้ำตื้น
-เกาะไข่ หรือ ถ้ำเกาะไข่ เป็นเกาะเล็ก ๆ 2 เกาะ เรียกว่า เกาะไข่นอก เกาะไข่ มีหาดทรายและก้อนหินสวยงาม รอบ ๆ เกาะมีปะการัง การเดินทาง ไปเกาะไข่นี้สามารถเดินทางจากเกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ตได้ ซึ่งใช้เวลาเพียง 35 นาที
-เกาะพนัก เป็นเกาะที่มีความสวยงาม มีถ้ำหินงอก หินย้อย และมีแอ่งน้ำตกขนาดเล็กเป็น ชั้น ๆ ลดหลั่นกันอยู่ในถ้ำด้วย
-เขาพิงกัน อยู่ในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง เหตุที่ชื่อนี้เพราะภูเขาหินแตกออกจากกัน หินที่เล็กกว่าเลื่อนลงมา ฐานจมลงไปในดิน ส่วนบนยังคงพิงกันอยู่ ด้านหลังของเขาพิงกันมีทิวทัศน์ที่สวยงาม มองออกไปในทะเลจะเห็น “เขาตะปู” อยู่กลางน้ำ มีลักษณะเหมือนตะปู คือส่วนบนใหญ่ ส่วนล่างติดอยู่กับพื้นน้ำมีขนาดเล็ก
-เขาหมาจู อยู่ระหว่างทางผ่านที่จะไปยังเกาะปันหยี เขาหมาจู เป็นภูเขาหินมีลักษณะคล้ายรูปสุนัขกำลังหมอบ เห็นส่วนหัว ลำตัวและหางเป็น
-เขาอกเมรี และ ถ้ำนาค มีลักษณะเป็นภูเขา 2 ลูก โผล่พ้นน้ำทะเลขึ้นมาคล้ายอกหญิงสาว ที่ปลายของภูเขาลูกหนึ่งมีถ้ำนาคผู้ไปชมต้องขึ้นจากเรือแล้วปีนเขาขึ้นไปประมาณ 20 เมตร ภายในถ้ำมีหินงอกก้อนหนึ่งลักษณะคล้ายพญานาคตัวใหญ่ขดตัวนอนอยู่
-เขาเขียน หรือ ภาพเขียนสี เป็นทางผ่านที่จะไปยังเกาะปันหยี ใต้ผนังเขาลูกนี้มีรูปเขียนเป็นรูปสัตว์ขนิดต่าง ๆ กรมศิลปากรเคยมาทำการศึกษาแล้ว ปรากฏว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี สันนิษฐานว่าเป็นภาพวาดโดยนักเดินเรือสมัยโบราณที่แวะมาจอดพักหลบมรสุม
-ถ้ำแก้ว เป็นที่อยู่อาศัยของนกนางแอ่น ภายในถ้ำมีหินผลึกสะท้อนแสงสวยงาม
-ถ้ำลอด อยู่ในบริเวณอ่าวพังงา มีหินงอก หินย้อย บนเพดาน และถ้ำสวยงามมาก
การเดินทางไปชมอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
สามารถเริ่มจากตัวจังหวัดบนทางหลวงหมายเลข 4 ซึ่งมุ่งใต้สู่ตำบลโคกกลอย ผ่านศาลากลางจังหวัด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4144 นำไปสู่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ซึ่งอยู่ห่างจากทางแยก 4 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารรถประจำทางจากตัวจังหวัดไปที่อุทยานฯ เป็นระยะทาง 7 กิโลเมตร
การเช่าเรือล่องอ่าวพังงา
- ท่าเรือท่าด่านศุลกากร ใกล้โรงแรมพังงาเบย์รีสอร์ท มีเรือนำเที่ยวหลายขนาด ถ้าเดินทางมาเป็นคณะใหญ่ ควรลงเรือที่ท่านี้ เพราะมีเรือขนาดใหญ่คอยบริการ
- ท่าเรือสุระกุล หรือ ท่าเรือกะโสม ในอำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นเรือหางยาวจุประมาณ ลำละ 6 คน
- ท่าเรือในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นเรือหางยาวจุลำละประมาณ 8 คน เวลาที่ใช้เดินทางไปชมอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาโดยทั่วไป ประมาณ 3 ชั่วโมง สามารถจัดเป็นรายการทัวร์ครึ่งวันได้ นอกจากนี้ยังสามารถชมทัศนียภาพของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาโดยเรือแคนู ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่ง หมายถึง “การท่องเที่ยวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาชื่นชม และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพตามธรรมชาติ สภาพสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น บนพื้นฐานที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจ และพยายามให้มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อทรัพยากรธรรมชาติ และทางด้านวัฒนธรรมบนพื้นที่ที่มี การท่องเที่ยว” ปัจจุบันการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้กำลังเป็นที่นิยม มีการจัดทัวร์ในลักษณะทัวร์เต็มวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบริษัทเรือแคนูต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต
ที่พัก บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการสำหรับนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะต้องนำเต้นท์ไปเอง โดยจะต้องเสียค่าพื้นที่เต้นท์ละ 10 บาท/เต้นท์/คน การติดต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อำเภอเมือง จังหวัดพังงา 82000 โทร. (076) 411-136 หรือกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-7223, 579-5734
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอคุระบุรี
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน คำว่า “สิมิลัน” เป็นภาษายาวี หรือ มลายู แปลว่า เก้า หรือ หมู่เกาะเก้า หมู่เกาะสิมีลัน อยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 หมู่เกาะ สิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มีทั้งหมด 9 เกาะ เรียงลำดับจากเหนือมาใต้ ได้แก่ เกาะบอน เกาะบายู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะเมี่ยง (มี 2 เกาะ ติดกัน) เกาะปาหยัน เกาะปายัง เกาะหูยง ที่ทำการอุทยาน ฯ อยู่ที่เกาะเมี่ยง เพราะเป็นเกาะที่น้ำจืด หมู่เกาะเหล่านี้ได้รับการยกย่องจากนิตยสารสกินไดวิ่งของอเมริกา ว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความงามทั้งบนบกและใต้น้ำ เป็น 1 ใน 10 ของโลก หมู่เกาะสิมิลันอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 70 กิโลเมตร
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะสิมิลัน ลักษณะอ่าวสิมิลันมีรูปโค้งเหมือนเกือกม้า น้ำลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ฟุต ใต้ท้องทะเลอุดมไปด้วยกองหินและแนวปะการัง มีทั้งปะการังเขากวาง ปะการังใบไม้ ปะการังสมอง และปะการังดอกเห็ดขนาดใหญ่ที่มีความสมบูรณ์มาก ในประเทศไทย สภาพหาดทรายเนื้อละเอียดสวยงามมาก เหมาะสำหรับดำน้ำดูปลาและปะการัง ทางด้านเหนือของเกาะมีก้อนหินขนาดใหญ่ รูปร่างแปลกตาอยู่มาก เช่นหินรูปรองเท้าบู๊ท หรือรูปหัวเป็ดโดนัลด์ดั๊ก ตอนบนที่ตรงกับแนวหาดมีหินรูปเรือใบ ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม
- เกาะบางู หรือ เกาะหัวกะโหลก เป็นเกาะอันดับที่ 7 ของหมู่เกาะสิมิลัน มีลักษณะแปลกมาก เมื่อมองดูจากมุมหนึ่งจะเห็นรูปหัวกะโหลก สภาพใต้น้ำมีความสวยงามเหมือนหุบเขาใต้น้ำที่เต็มไปด้วยปะการัง หุบเหวลึก และฝูงปลาน้อยใหญ่มากมาย
- เกาะหูยง เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาดและยาวมากที่สุดในเก้าเกาะ เมื่อถึงฤดูวางไข่ของเต่าคือระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีร่องรอยของเต่าที่ขึ้นมาวางไข่บนชายหาดคล้ายกับรอยตีนตะขาบเล็ก
- เกาะเมี่ยง เป็นเกาะขนาดใหญ่รองจากสิมิลัน เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ มีแหล่งน้ำจืด มีหาดทรายที่สวยงาม เหมาะแก่การพักแรม
ฤดูท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวได้ตั้งแต่ประมาณเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม แต่ช่วงเวลาที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด คือ ระยะปลายเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนเมษายน สำหรับช่วงเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุด ไม่มีมรสุมและน้ำใส สามารถดำน้ำและตกปลาได้ดี และที่อุทยาน ฯ แห่งนี้จะมี เต่ามะเฟือง ขึ้นมาวางไข่อยู่เสมอ
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
- ท่าเรือทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง ระยะทาง 40 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ 3-4 ชั่วโมง มีเรือขนาดใหญ่สำหรับให้เช่าไปเกาะสิมิลัน ช่วงที่ใกล้ที่สุด คือ ท่าเรือทับละมุ บริเวณท่าเรือทับละมุมีที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และสามารถจองเรือผ่านทางเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ ได้
- ท่าเรือในเขตอำเภอคุระบุรี อยู่ห่างจากหมู่เกาะสิมิลัน 40 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 3 ชั่วโมง
- จากท่าเรือหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ตถึงเกาะสิมิลัน ระยะทาง 70 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6-7 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทนำเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต หรือเดินทางโดยเรือท่องเที่ยว โดยมีเรือออกจากท่าเรือหาดป่าตองทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ เวลา 08.00 น. ใช้เวลาดินทาง 3 ชั่วโมงครึ่ง
ที่พักในเขตอุทยานฯ
มีที่พักทั้งบังกะโลและเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวและมีบริการอาหารและเครื่องดื่มด้วย โดยมีบ้านพักจำนวน 4 หลัง พักได้หลังละ 20 คน ราคาหลังละ 2,000 บาท เต็นท์ 35 หลัง หลังละ 100 บาท หากนำเต็นท์มาเองจะต้องขออนุญาตกางเต็นท์โดยเสียค่ากางเต็นท์ 10 บาท นอกจากนี้นักท่องเที่ยวต้องเสียค่าขึ้นเกาะคนละ 20 บาท การติดต่อ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน หมู่ 1 ทับละมุ ตำบลลำแกน อำเภอ ท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 82120 โทร. (076) 411913-4
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 84,375 ไร่ หรือ 135 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและยังเป็นหมู่เกาะที่อยู่ติดกับเขตชายแดนไทย-พม่า ห่างจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทย มีแนวปะการังน้ำตื้นที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม เหมาะเป็นแหล่งดำน้ำตื้นดูปะการัง
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
-เกาะสุรินทร์เหนือ และ เกาะสุรินทร์ใต้ ในเกาะนี้มีอ่าวทั้งหมด 10 กว่าแห่ง อ่าวที่มีชื่อเสียง คือ อ่าวแม่ยาย หรือแม่ใหญ่ เป็นอ่าวที่มีคลื่นลมสงบและมีขนาดใหญ่ที่สุด อ่าวลึก อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุรินทร์เหนือ มีน้ำลึกจนเป็นสีเขียวเข้ม มีปะการังน้ำตื้นที่สวยงามมาก นอกจากนี้ยังมีพวกสาหร่ายทะเลต่างๆ ดอกไม้ ทะเล กัลปังหา และฝูงปลาหลากชนิด
-ชาวเล หมู่เกาะสุรินทร์มีชาวเลเผ่าสิงห์ ที่ยังดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมกลุ่มสุดท้ายในประเทศไทยอาศัยกินอยู่หลับนอนในเรือบริเวณชายหาดสุรินทร์ใต้ ด้านตรงข้ามที่ทำการอุทยานฯ มีรูปแกะสลักด้วยท่อนไม้ คล้ายเทวรูปอินเดียนแดง ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวเล ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ชาวเลจะมาชุมนุมเพื่อไหว้ผีที่ตนเคารพนับถือ การชุมนุมนี้กินเวลา ทั้งสิ้น 3 วัน
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
- จากท่าเรืออำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา มีเรือให้เช่าไปหมู่เกาะสุรินทร์ ระยะทาง 60 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมง
-จากท่าเรือทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
- จากจังหวัดระนอง สามารถเช่าเรือได้ที่ท่าเรืออำเภอกะเปอร์ ใช้เวลาเดินทาง 7 ชั่วโมง หรือติดต่อได้ที่ โรงแรมจันทร์สมธารา โทร. 946-3639, (077) 823-350-2 มีเรือนำเที่ยวออกจากหาดชาญดำริ
ที่พักในเขตอุทยานฯ
มีบ้านพัก บังกะโล และเต็นท์สำหรับไว้บริการนักท่องเที่ยวและมีบริการอาหารและเครื่องดื่มด้วย การติดต่อ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา 82150 โทร. (076) 491378 หมายเหตุ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลควรจะเริ่มประมาณ ต้นเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน อย่างไรก็ตามก่อนการเดินทางควรจะติดต่อขอทราบรายละเอียดสภาวะอากาศ จากกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 399-4566, 260-1502 ล่วงหน้าก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย
อุทยานแห่งชาติศรีพังงา ครอบคลุมพื้นที่อยู่ในที่อำเภอคุระบุรี อำเภตะกั่วป่า ห่างจากจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 246.08 ตารางกิโลเมตร หรือ 153,860 ไร่ อุทยานแห่งชาติศรีพังงาได้รับการจัดตั้ง เป็นอุทยานเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติประเภทป่าไม้และสัตว์ป่า
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอุทยาน ฯ ได้แก่
-น้ำตกตำหนัง สามารถเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 4.5 กิโลเมตร จากที่ทำการอุทยานและเดินเท้าต่อไปอีก 500 เมตร น้ำตกตำหนังสูงประมาณ 60 เมตร บรรยากาศโดยรอบ มีความร่มรื่นเต็มไปด้วยไม้นานาพรรณ
-น้ำตกโตนต้นเตย สูงประมาณ 45 เมตร ใช้เวลาเดินเท้าไป-กลับจากอุทยานฯ ประมาณ 3 ชั่วโมง ระหว่างทางมีน้ำตกโตนต้นเตยน้อย สูงประมาณ 10 เมตร ระหว่างทางเดินเท้าประกอบด้วยไม้ประเภทเถาวัลย์ และไม้ใหญ่เขียวชอุ่ม
-น้ำตกโตนต้นไทร ก่อนถึงด่านตรวจทางเข้าที่ทำการอุทยานฯ เล็กน้อยจะมีทางเข้าแยกขวามือ สามารถเดินเท้าเข้าไปราว 15 นาที จะถึงน้ำตกโตนต้นไทร ซึ่งสูงราว 20 เมตร บริเวณโดยรอบมีต้นไทรขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น
การเดินทาง เดินทางจากอำเภอตะกั่วป่า ไปตามเส้นทางถนนสายเพชรเกษมสู่จังหวัดระนอง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 756 แยกขวามือเข้าถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีพังงา ประมาณ 5 กิโลเมตร
ที่พักในเขตอุทยานฯ
ติดต่อที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ หรือ ที่อุทยาน แห่งชาติศรีพังงา ตู้ ปณ.7 อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา 82050 โทร.579-7223, 579-5734
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอตะกั่วป่า
เมืองโบราณบ้านทุ่งตึก ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะคอเขา ระหว่างปลายคลองเมืองทองกับปลายคลองทุ่งตึก บริเวณนี้เป็นปากแม่น้ำตะกั่วป่า ลักษณะพื้นที่เป็นลานทราย มีต้นไม้ขึ้น บางแห่งก็เป็นป่าละเมาะ เหตุที่ชาวบ้านทั่วไปเรียก “ทุ่งตึก” เนื่องมาจากบนลานทรายระหว่างป่าละเมาะในเนื้อที่หลายสิบไร่นี้ มีซากอาคารโบราณสถานคล้ายตึกหรือวิหารอยู่ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง แล้วยังพบชิ้นส่วนของศาสนสถานและสัญลักษณ์รูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ อาทิ แผ่นศิลาสลักเป็นแท่นเจาะรูคล้ายกับเป็นแท่นศิลารองฐานศิวลึงค์ หรือเทวรูป นอกจากนี้แล้วตามพื้นดินยังเต็มไปด้วยเศษกระเบื้องถ้วยชามเครื่องเคลือบของจีน เศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา เศษภาชนะทำด้วยแก้วสีต่างๆ พร้อมด้วยลูกปัดชนิดและสีต่างๆ มากมาย เงินเหรียญอินเดียกระจายเต็มบริเวณที่เป็นโบราณสถานทุ่งตึก นักปราชญ์ทางโบราณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าทุ่งตึกเป็นที่ตั้งเมืองท่าโบราณ ซึ่งชาวอินเดีย อาหรับ และชาวมลายูรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเมืองท่าค้าขายเครื่องเทศสำคัญแห่งหนึ่งทางฝั่งทะเลตะวันตกของแหลมมลายู ตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสมในการอาศัยจอดเรือหลบคลื่นลม มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์อยู่ใกล้ทะเลหลวง เรือขนาดใหญ่ก็สามารถเข้าออกสะดวก และอยู่ตรงปากแม่น้ำตะกั่วป่า การคมนาคมทางเรือทั้งขึ้นและล่องตามลำแม่น้ำจะต้องผ่านเสมอ
การเดินทาง ไปชมเมืองโบราณบ้านทุ่งตึกโดยรถโดยสารไปลงที่สถานีขนส่งตะกั่วป่า แล้วสามารถต่อรถสองแถวหรือจักรยานยนต์รับจ้างไปยังท่าเรือบ้านน้ำเค็ม แล้งลงเรือโดยสารต่อไปยังเมืองโบราณได้ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ทุกวัน
หาดบางสัก อยู่ในท้องที่ตำบลบางม่วง ริมถนนสายเพชรเกษมช่วงท้ายเหมือง-ตะกั่วป่า กิโลเมตรที่ 76-77 มีทางแยกซ้ายมือเข้าไป 100 เมตร ชายหาดบางสักมีหาดทรายขาวสะอาดยาวขนานกับทิวสนร่มรื่น มีที่พักและร้านอาหารเปิดบริการแก่นักท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอเมือง
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอุทยานฯ ได้แก่
-เขาหลัก จากตัวอำเภอตะกั่วป่า 25 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 4 (สายท้ายเหมือง-ตะกั่วป่า) แล้วเลี้ยวซ้ายที่บริเวณกิโลเมตรที่ 56-57 ก่อนเข้าเขตอำเภอท้ายเหมืองจะเห็นเขาลูกหนึ่งชื่อ เขาหลัก มีศาลเจ้าพ่อเขาหลัก ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามของเขาหลัก จะเป็นชายทะเล เขาหลัก ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดหินทั้งก้อนเล็ก และใหญ่เรียงรายอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังมี น้ำตกโตนช่องฟ้า อยู่เหนือที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 5 กิโลเมตร ตามถนนเพชรเกษมจะมีป้ายบอกทาง เลี้ยวไปตามถนนลูกรัง 5 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณน้ำตกได้สะดวก
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ เดินทางด้วยรถโดยสารสู่ภูเก็ต เมื่อผ่านอำเภอตะกั่วป่าไป 33 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอกะปง
วัดนารายณิการาม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลเหล ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ พระลักษณ์และนางสีดา รูปสลักเหล่านี้มีความสำคัญเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมือง “ตะโกลา” (ชื่อเดิมของเมืองตะกั่วป่า) และการเผยแพร่เข้ามาของวัฒนธรรมอินเดียในภูมิภาคแถบนี้
บ่อน้ำพุร้อนอำเภอกะปง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่านา อยู่ห่างจากตัวอำเภอกะปง 8 กิโลเมตร มีน้ำแร่ไหลผ่านซอกชั้นหินต่างๆ ตามหุบเขา ทางอำเภอได้จัดบ่อกักน้ำแร่ไว้ น้ำแร่มีอุณหภูมิประมาณ 65 องศาเซลเซียส
น้ำตกลำรู่ อยู่ในเขตป่าเทือกเขากระได เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลางรวม 5 ชั้น สามารถเดินทางโดยใช้ถนนแยกจากทางหลวง 4090 ผ่านที่ว่าการอำเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลำรู่ ประมาณ 9 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังน้ำตกลำรู่อีก 1 กิโลเมตร
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอทับปุด
น้ำตกเต่าทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ในเขตตำบลบ่อแสน ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 9 กิโลเมตร การเดินทางใช้เส้นทางสายเดียวกับทางไปวนอุทยานสระนางมโนห์รา เลยไปถึงหมู่ที่ 3 ตำบลบ่อแสน จะมีทางลูกรังแยกเข้าน้ำตกอีก 11 กิโลเมตร
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อยู่ในเขตตำบลท้ายเมือง ตำบลทุ่งมะพร้าว ตำบลนาเตย ตำบลบางทอง ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณพื้น 45,000 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2529
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอุทยาน ฯ ได้แก่
-น้ำตกลำปี ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลท้ายเหมือง ริมถนนสายเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) บริเวณกิโลเมตรที่ 32-33 จะมีทางลูกรังแยกเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร น้ำตกลำปีเป็นน้ำตกขนาดกลาง มีประมาณ 6 ชั้น มีน้ำตลอดปี มีต้นกำเนิดมาจาก น้ำตกลำปี โดยเฉพาะในฤดูฝนประชาชนนิยมเดินทางไปพักผ่อนกันมาก
-น้ำตกโตนไพร บริเวณกิโลเมตรที่ 28-29 จะมีทางลูกรังแยกเข้าไปอีก 7 กิโลเมตร แล้วเดินเข้าไปชมน้ำตกอีก 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำตกอยู่ตลอดปี การเดินทางไปชมน้ำตกโตนไพร ควรเดินทางไปชมในฤดูแล้ง เพราะสะดวกในการเดินทาง
-ชายทะเลท้ายเหมือง หรือ หาดท้ายเหมือง อยู่ในเขตสุขาภิบาลท้ายเหมือง มีทาง ราดยาง แยกขวาเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร จากนั้นต่อเข้าถนนเลียบชายหาดไปอีก 5 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ชายหาดท้ายเหมืองเป็นหาดทรายสะอาดขนานไปกับทางหลวงแผ่นดินมีความยาวกว่า 13 กิโลเมตร น้ำทะเลใส เล่นน้ำได้ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ จะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ จึงมีประเพณีเดินดูเต่าไข่ในตอนกลางคืนเดือนหงาย และช่วงที่ไข่เต่าฟักเป็นตัวจะมีการปล่อยเต่าลงทะเล เรียกว่า “ประเพณีเดินเต่า”
ที่พัก มีบ้านพักจำนวน 8 หลัง ราคา 250-800 บาท ติดต่อกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 572-7223, 579-5734 การเดินทาง จากกรุงเทพฯ โดยรถโดยสารสู่ภูเก็ต ลงรถที่อำเภอท้ายเหมือง มีรถรับจ้างบริการไปที่ทำการอุทยานฯ ที่หาดท้ายเหมือง
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง
วัดสุวรรณคูหา ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง การเดินทางใช้เส้นทางทางหลวงหมายเลข 4 สายพังงา-บ้านโคกกลอย ไปประมาณ 7 กิโลเมตร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 31 อำเภอตะกั่วทุ่ง จะมีถนนราดยาง แยกเข้าขวามือไปอีก 1 กิโลเมตร วัดสุวรรณคูหานี้ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า “วัดถ้ำ” เป็นวัดที่น่าสนใจและมีความสำคัญ ที่สุดของจังหวัดพังงา เนื่องจากเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทางโบราณคดี ในบริเวณที่ตั้งวัดมีภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเขาลูกนี้มีถ้ำใหญ่น้อยหลายแห่ง ถ้ำที่สำคัญได้แก่ถ้ำใหญ่ ถ้ำแจ้ง ถ้ำมือและถ้ำแก้ว ถ้ำใหญ่อยู่ตอนล่างสุด เวลาเข้าถ้ำจะต้องผ่านถ้ำนี้ก่อนเสมอ มีขนาดใหญ่กว่าถ้ำอื่น กว้างประมาณ 20 เมตรเศษ ยาวประมาณ 40 เมตรเศษ พื้นถ้ำเรียบ เพดานโค้งครึ่งวงกลมเหมือนประทุนเรือ ตลอดความยาวของถ้ำประดับตกแต่งด้วยกระเบื้อง ถ้วย จานเชิงลายครามและเบญจรงค์ ชนิดขนาดต่างๆ ถ้ำใหญ่ใช้เป็นวิหารมีพระพุทธรูปปูนปั้นต่างๆ ประดิษฐานอยู่จำนวนหลายองค์ ที่สำคัญคือ พระพุทธไสยาสน์ ขนาดยาว 7 วา 2 ศอก องค์หนึ่งมีความสวยงามมาก นอกจากนั้นยังมีพระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หลายพระองค์
น้ำตกรามัญ อยู่ใกล้กับวัดถ้ำสุวรรณคูหา จากกิโลเมตรที่ 31 มีทางแยกขวาเข้าไปอีก 7 กิโลเมตร น้ำตกรามัญเป็นน้ำตกขนาดกลาง บริเวณโดยรอบเป็นป่ารกมีน้ำตกตลอดปี มีศาลานั่งพักขนาดใหญ่ 1 หลัง นอกจากนี้ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นใด
ชายทะเลท่านุ่น จากทางหลวงหมายเลข 4 ต่อเข้าสู่จังหวัดภูเก็ต โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 402 ก่อนถึงเกาะภูเก็ตบริเวณช่องแคบปากพระ จะแลเห็นหาดทรายทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ที่หาดทรายนี้ทุก ๆ ปี จะมีเต่าขึ้นมาวางไข่อยู่เสมอ
ชายทะเลเขาปิหลาย อยู่ในเขตตำบลโคกกลอย และอำเภอตะกั่วทุ่ง ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศใต้ประมาณ 32 กิโลเมตร แยกจากถนนสายบ้านโคกกลอย-บ้านท่านุ่น เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่ต่อเนื่องกับชายหาดท่านุ่น บริเวณชายหาดมีโขดหิน หาดทรายขาวลงเล่นน้ำได้
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเกาะยาว
เกาะยาว มีพื้นที่ประมาณ 137.6 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 2 เกาะใหญ่ คือ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ ล้อมรอบด้วยเกาะเล็ก ๆ มีชายหาดที่น่าสนใจ ได้แก่
-หาดป่าทราย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะยาว บนเกาะยาวน้อยประมาณ 7 กิโลเมตร หาดทรายขาวสะอาด มีทิวไม้ร่มรื่น สามารถลงเล่นน้ำได้โดยปลอดภัย สามารถมองเห็นทิวทัศน์เกาะต่างๆ ของจังหวัดกระบี่
-หาดคลองจาก เป็นจุดชมวิวบริเวณนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เกาะยาวได้เกือบทั้งหมด
-หาดท่าเขา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะยาวประมาณ 5 กิโลเมตร หาดทรายประกอบด้วยโขดหิน นอกจากนี้ยังมีก้อนหินเล็กๆ หลายสี หลายลวดลาย ห่างจากฝั่งออกไปเล็กน้อยมีเกาะนก ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ยามน้ำแห้งสามารถเดินไปเที่ยวเกาะนี้ได้โดยสะดวก บนเกาะมีไม้ป่าและกล้วยไม้ขึ้นอยู่ทั่วไป
-อ่าวตีกุด เป็นอ่าวที่มีหาดทรายขาวสะอาด ทางทิศเหนือของอ่าวมีแหลมซึ่งมีหินและทิวทัศน์สวยงาม ชายฝั่งมีทิวสนร่มรื่น
-อ่าวคลองสน หาดทรายขาวสะอาดร่มรื่นไปด้วยทิวสน ทางด้านซ้ายมือมีโขดหินและก้อนหินเล็กๆ หลากสีสวยงาม ที่อ่าวนี้เล่นน้ำทะเลได้ และสามารถชมปะการังได้
-อ่าวหินกอง อยู่บนเกาะยาวใหญ่ เป็นหาดร่มรื่นได้ด้วยป่าไม้เคียม มีลูกปลากระเบนอาศัยอยู่มากมาย ไม่เหมาะกับการลงเล่นน้ำ ที่อ่าวนี้ยังมีชาวบ้านมุสลิมทำอาชีพหาปลาอาศัยอยู่
-อ่าวล้าน เป็นหาดทรายสวยงาม ลงเล่นน้ำได้ ทิศเหนือของแหลมเป็นหน้าผาชันลึก น้ำลึก การเดินทาง ทางเรือเป็นการเดินทางที่สะดวกที่สุด ส่วน ทางบกจะเดินทางไม่สะดวก
-อ่าวทราย เป็นหาดทรายขาวละเอียด มีโขนหินที่สวยงาม และสามารถเล่นน้ำได้
-โละปาแรด เป็นหาดทรายร่มรื่นไปด้วยสวนมะพร้าว หาดทรายขาวละเอียดเป็นแนวยาวเหยียด ทางเหนือของอ่าวมีแหลมประกอบด้วยโขดหินสวยงาม ลงเล่นน้ำทะเลได้
-แหลมหาด เป็นหาดทรายขาวละเอียดยาวมาก ร่มรื่นด้วยสวนมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ และป่าสน ไปได้สะดวกทั้งทางบกและทางเรือ
-แหลมทราย เป็นหาดทรายขาวละเอียด มีโขดหินสวยงาม เล่นน้ำได้
-แหลมนกออก เป็นหาดทรายประกอบด้วยโขดหิน และก้อนหินหลากสีสวยงาม สามารถเล่นน้ำได้ นอกจากนี้บริเวณโดยรอบเกาะยาวยังมีเกาะเล็ก ๆ ที่มีหาดทรายขาวสะอาด และมีทิวทัศน์งดงาม เช่น เกาะไข่นอก เกาะไข่ใน เกาะมดตะนอย และเกาะห้อง (อยู่ในเขตจังหวัดกระบี่) การเดินทางไปเกาะยาว ที่สะดวกที่สุด คือ ที่ท่าเรือบางโรง หรือท่าเรืออ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต โดยมีเรือเมล์โดยสารไปเกาะยาวน้อยในอัตรา 40 บาท/คน/เที่ยว เวลา 08.00 น. และ 11.00 น. และมีเรือหางยาวเช่าเหมาลำในราคาประมาณ 500-1,000 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีเรือเร็วขนาดต่างๆ ในราคา 4,000-6,000 บาท สำหรับการเดินทางไปเกาะยาวใหญ่มีเรือหางยาวข้ามฟากจากท่าเรือมาเนาะที่เกาะยาวน้อยในราคา 20 บาท/คน/เที่ยว ใช้เวลาประมาณ 20 นาที หรือเดินทางจากท่าเรืออ่าวพังงา และท่าเรือแลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ทั้ง 2 แห่ง พร้อมมีเรือเช่าเหมาลำ