แผนที่เชียงใหม่
- แผนที่เชียงใหม่
- ข้อมูลทั่วไป
- การเดินทาง
- งานประเพณี
- สถานที่ท่องเที่ยว
เชียงใหม่ หรือ นพบุรี ศรีนครพิงค์ หรือเวียงพิงค์ ของพ่อขุนเม็งรายมหาราชในอดีต คือ เมืองที่เปรียบประดุจดังกุหลาบงาม ของแผ่นดินลานนาไทย เป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของภาคเหนือ และเป็นเมืองที่รวบรวมศิลปกรรม โบราณวัตถุ ตลอดจนวัฒนธรรมดั้งเดิมของลานนาไทยเอาไว้
จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย อนึ่ง ราวปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีมติให้เสนอโครงการจัดตั้งอำเภอนันทบุรีเฉลิมพระเกียรติ ต่อกระทรวงมหาดไทยจังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอและ ว่าที่อำเภอนันทบุรี คือ
- อำเภอเมือง
- อำเภอหางดง
- อำเภอแม่แตง
- อำเภอสารภี
- อำเภอสันกำแพง
- อำเภอดอยสะเก็ด
- อำเภอเชียงดาว
- อำเภอสันทราย
- อำเภอฝาง
- อำเภอฮอด
- อำเภออมก๋อย
- อำเภอพร้าว
- อำเภอแม่ริม
- อำเภอสะเมิง
- อำเภอจอมทอง
- อำเภอแม่แจ่ม
- อำเภอสันป่าตอง
- อำเภอแม่อาย
- อำเภอดอยเต่า
- อำเภอเวียงแหง
- อำเภอไชยปราการ
- อำเภอแม่วาง
- อำเภอแม่ออน
- อำเภอดอยหล่อ
- อำเภอกัลยาณิวัฒนา
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565.3355 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ สูง 1,601 เมตร และตามดอยเหล่านี้ยังมีถ้ำและสถานที่น่าสนใจอื่นๆ อีกด้วย
ทิศเหนือ จดรัฐเชียงตุงของสหภาพพม่า
ทิศใต้ จดจังหวัดลำพูน และตาก
ทิศตะวันตก จดจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันออก จดจังหวัดเชียงราย ลำปาง และลำพูน
การเดินทาง
ทางรถยนต์
ทางรถยนต์ (พหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำปาง ลำพูน ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 695 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งคือจากนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก และลำปาง ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 696 กิโลเมตร
ทางรถประจำทาง
ทางรถโดยสารประจำทาง มีรถประจำทางทั้งรถธรรมดาและปรับอากาศ บริการระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง รายละเอียดสอบถามได้ที่ สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 02-936-2852-66 หรือ Call Center 1490 และที่เชียงใหม่ โทร. (053) 242-664ทางรถไฟ
รถไฟ มีรถด่วน และรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ทุกวัน สอบถามรายละเอียด กำหนดการเดินรถได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 และที่เชียงใหม่ โทร. (053) 242-094
ทางเครื่องบิน
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย มีเครื่องบินแอร์บัส และโบอิ้งบินประจำ ระหว่างกรุงเพฯ-เชียงใหม่ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง สำรองที่นั่ง โทร. 02-356-1111 สอบถามรายละเอียด โทร. 1566 และที่เชียงใหม่ โทร. (053) 210-210, 211-044-7
งานประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี เป็นงานประเพณีที่น่าสนใจยิ่งของจังหวัดเชียงใหม่ จะมีการปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นการบูชาพระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์ มีการจุดดอกไม้ไฟ ประกวดกระทง ขบวนแห่นางนพมาศ ฯลฯ
ในเดือนยี่ ของทางเหนือ ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายน ขึ้น 15 ค่ำ ตามตำนาน พงศาวดาร โยนกและจามเทวีได้กล่าวไว้ว่า ได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้น ในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองได้อพยพหนีไปอยู่เมืองหงสาวดี เป็นเวลาประมาณ 6 ปีจึงเดินทางกลับมายังบ้านเมืองเดิม พอถึงวันครบรอบเวลาที่ได้จากบ้านเมืองไป จึงได้ทำเป็นกระถางใส่เครื่องสักการะบูชาธูปเทียน ลอยตามน้ำไปเพื่อให้ไปถึง ญาติพี่น้องและบรรพบุรุษที่ล่วงลับในหงสาวดี และเรียกการลอยกระทงนี้ว่า ลอยโขมดหรือลอยไฟ
ก่อนจะถึงวันยี่เป็ง 2 – 3 วัน ชาวบ้านจะนำเอาก้านมะพร้าว ต้นกล้วย อ้อย ดอกไม้ มาทำเป็นซุ้มประตู ที่หน้าบ้าน ตามประตูวัด เรียกว่าประตูป่า และทำความสะอาดบ้านเรือน เมื่อถึงตอนเช้าวันยี่เป็ง ก็จะมีการทำบุญ และนำข้าวปลาอาหาร ถวายพระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วเรียกว่า ตานขันข้าว ฟังเทศน์ธรรม พอหัวค่ำก็จะนำกระถางเทียน หรือ ขี้ผึ้ง เรียกว่า ผางปะตี้บ มาจุดเรียงไว้หน้าบ้าน หรือตามรั้วบ้าน หรือ จุดโคมแขวน ไว้ตามหน้าบ้าน และจะมีการ จุดโคมลอย การจุดโคมลอย มี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ปล่อยในตอนกลางวัน เรียกว่าว่าว จะเน้นที่ตัวโคมทำด้วยกระดาษหลากสีสัน ให้เห็นได้ชัด จะใช้การรมควัน ในการทำให้โคมลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า การจุดโคมลอยในตอนกลางวัน มักจะนำเงิน หรือสิ่งของ หรือเขียนข้อความ ว่าผู้ใดเก็บโคมนี้ได้ก็นำไปรับของรางวับจากผู้จุด ส่วนโคมลอย ที่ปล่อยในตอนกลางคืน จะเรียกว่า โคมไฟ ตัวโคมจะทำด้วย กระดาษสีขาว เพื่อให้เห็นแสงไฟที่ใช้จุดรมเอาไอร้อน เพื่อให้โคมลอยขึ้น ทำให้เห็นเป็นแสงไฟลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าดูสวยงาม ยิ่งนัก การจุดโคมลอย นี้ตามตำนานกล่าวว่า ทำเพื่อบูชา พระเกษแก้วจุฬามณี และในช่วงค่ำ ๆ ก็จะพากัน นำเอากระทง ที่ได้จัดทำไว้ไปลอย ใน แม่น้ำ ... มีต่อ
งานร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นประมาณเดือนมกราคมของทุกปี ที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากกระดาษสา โดยเฉพาะร่มบ่อสร้าง มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน และการประกวดต่างๆ
City Pillar Inthakin Festival
City Pillar Inthakin Festival is held to invoke blessings of peace, happiness and prosperity for the city and its residents. Buddha images are paraded around the city. It is held at Wat Chedi Luang for 7 auspicious days and nights in the 7th lunar month.On the night of Visakha Bucha Day, worshippers gather to light candles and make the 7-kilometre pilgrimage up to the temple on Doi Suthep.
งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นเดือนกุมภาพันธ์ ในงานจัดให้มีการประกวดสวนหย่อมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ภาคเช้าของงานจะจัดให้มีขบวนรถบุปผชาติ และนางงามบุปผชาติ แห่จากบริเวณหน้าสถานีรถไฟ ผ่านสะพานนวรัฐไปสู่สวนสาธารณะหนองบวกหาด
งานประเพณีสงกรานต์ จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดงานประเพณีสงกรานต์ขึ้นเป็นประจำทุกปี ในระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน โดยในวันที่ 13 จะเป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และขบวนแห่นางสงกรานต์ โดยเริ่มจากวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร แห่ไปรอบเมืองเชียงใหม่ แล้วมีพิธีสรงน้ำพระ การก่อพระเจดีย์ทราย การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และการเล่นสาดน้ำกัน
Songkran Festival is held annually from 13 to 15 April. The 13th of April is the Great Songkran day featuring the revered Phra Phutthasihing Buddha image parade around Chiang Mai town for bathing, sand pagoda making, blessing of elders, and water splashing.
เขตตัวเมือง
วัดสวนดอก ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ วัดนี้พระเจ้ากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตาม หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินลานนาไทย วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ลานนาไทยสมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่ และวิหารโถง นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น
วัดเชียงมั่น อยู่ถนนราชภาคินัย เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดภายในตัวเมืองเชียงใหม่เมื่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 พระองค์ทรงยกพระตำหนักที่ประทับชื่อ ตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน ของพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ มีสถาปัตยกรรมสำคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช้างล้อม พระอุโบสถ และหอไตร
วัดพระสิงห์วรวิหาร อยู่ถนนสามล้าน เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งซึ่งประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ แห่ไปตามถนนรอบเมือง เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วถึงกัน แต่เดิมที่ดินบริเวณวัดนี้เป็นตลาดเรียกว่า กาดลีเชียง (กาด หมายถึง ตลาด) จนถึงปี พ.ศ. 1888 พระเจ้าผายู กษัตริย์องค์ที่ 7 ในราชวงศ์เม็งรายทรงโปรดฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิ พระราชบิดาของพระองค์ สถาปัตยกรรมสำคัญของวัดนี้ได้แก่ วิหารลายคำที่มีจิตรกรรมฝาผนังงดงาม พระอุโบสถ หอไตรที่มีปูนปั้น รูปเทวดาประดับ และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
วัดเจดีย์หลวง วัดที่มีเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ก็คือ วัดเจดีย์หลวง ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางเมือง วัดนี้สร้างขึ้น ในรัชกาลของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์เม็งราย พระองค์โปรดฯ ให้ช่างสร้างเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ สูงถึง 88 เมตร ฐานกว้างด้านละ 54 เมตร แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1954 ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภาครองเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดแผ่นดินไหว ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลงเมื่อปี พ.ศ. 2008 วิหารด้านหน้าของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐ เป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยลงมางดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ
เสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง
วัดตำหนัก (วัดศิริมังคลาจารย์หรือวัดสวนขวัญ)
วัดกู่เต้า เดิมชื่อ วัดเวฬุวนาราม
วัดเจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่คำ
วัดแสนฝาง
เวียงกุมกาม
วัดเจ็ดยอด
วัดอุโมงค์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
ศูนย์ศิลปะการแสดงกาดสวนแก้ว
พิพิธภัณฑชาวเขา
วัดพระบาทสี่รอย
สวนรุกขชาติห้วยแก้ว
สวนสัตว์เชียงใหม่
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
น้ำตกห้วยแก้ว
อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ
พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย
เส้นทางสายตะวันตกเฉียงใต้ (ทางหลวงหมายเลข 108)
หมู่บ้านทำเครื่องเงิน
ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
โรงงานทำเครื่องเคลือบดินเผาสังคโลก
โรงงานทำเครื่องเขิน
หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง
บ้านเหมืองกุง
บ้านถวาย
เวียงท่ากาน
วัดพระบรมธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
วัดพระธาตุดอยน้อย
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
น้ำตกแม่ยะ
น้ำตกแม่กลาง
ถ้ำบริจินดาที่ยว
น้ำตกวชิรธาร
น้ำตกสิริภูมิ