แผนที่ประจวบคีรีขันธ์
- แผนที่ประจวบคีรีขันธ์
- ข้อมูลทั่วไป
- การเดินทาง
- งานประเพณี
- สถานที่ท่องเที่ยว
ประจวบคีรีขันธ์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงครามยากแก่การป้องกัน จึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้าง หรือยุบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเพชรบุรี ในอดีตเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งเมือง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม แต่ที่ดินไม่เหมาะสมแก่ การเพาะปลูก จึงย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์และการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า
ครั้นสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 ทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อจาก “เมืองกุย” เป็น “เมืองประจวบคีรีขันธ์” โดยรวมเมืองกุย เมืองคลองวาฬ เมืองบางนางรม เข้าด้วยกัน โดยที่ตั้งเมืองยังคงตั้งอยู่ที่เมืองกุย คืออำเภอกุยบุรี ในปัจจุบัน เพื่อให้ชื่อคล้องจองกันกับระหว่างเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับ"เมืองประจันตคีรีเขต" ซึ่งเดิมคือเกาะกงที่แยกออกจากจังหวัดตราด
ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2441 จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านเกาะหลัก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองชั้นจัตวาซึ่งขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี จึงมีสถานะเป็นเป็นอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สังกัดเมืองเพชรบุรี ในช่วงนี้เมืองปราณบุรี ซึ่งมีอาณาเขตติดอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ด้านทิศเหนือ ซึ่งเคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวา ขึ้นกับเมืองเพชรบุรี ก็ได้จัดตั้งเป็นอำเภอเมืองปราณบุรี สังกัดเมืองเพชรบุรีด้วย[3] ส่วนเมืองกำเนิดนพคุณขึ้นตรงกับเมืองชุมพร ด้วยมีพระราชดำริสงวนชื่อเมืองปราณไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) ต่อมา วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธุ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี ตั้งที่ตำบลเกาะหลัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสนกับเมืองปราณ ที่ปากน้ำปราณบุรี หลังจากมีการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและมณฑลราชบุรีอีก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 6,367.620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีลักษณะพื้นที่แคบเป็นคาบสมุทรยาวลงไปทางใต้ โดยมีส่วนที่แคบที่สุดจากเขตแดนไทย-พม่า จนถึงฝั่งทะเลเป็นระยะทาง 11 กิโลเมตร และมีความยาวจากเหนือจดใต้เป็นระยะทาง 212 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ
อำเภอเมือง อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอสามร้อยยอด
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดจังหวัดเพชรบุรี
ทิศใต้ จดจังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก จดอ่าวไทย
ทิศตะวันตก จดประเทศพม่า โดยมีเทือกเขาตะนาวศรึเป็นเส้นกั้นพรมแดน
การเดินทาง
ทางรถยนต์
แผนที่เส้นทางกรุงเทพ-ประจวบคีรีขันธ์
ทางรถยนต์ จากรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ผ่านสมุทรสงครามแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านเพชรบุรีเข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านพุทธมณฑล นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ถึงประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 281 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี (ถนนบรมราชชนนี) มีบริการรถโดยสารสายกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-ปราณบุรี และกรุงเทพฯ-บางสะพาน เป็นประจำทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02-422-4444 หรือ Call Center 1490
ทางรถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีบริการรถไฟไปหัวหิน ปราณบุรี และประจวบคีรี- ขันธ์ ทุกวัน รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
การเดินทางภายในประจวบคีรีขันธ์
ในตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์มีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบ ตามอัธยาศัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่งและตลาดเทศบาล
ระยะทางจากอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอกุยบุรี 30 กิโลเมตร
อำเภอทับสะแก 34 กิโลเมตร
อำเภอสามร้อยยอด 54 กิโลเมตร
อำเภอปราณบุรี 71 กิโลเมตร
อำเภอบางสะพาน 87 กิโลเมตร
อำเภอหัวหิน 90 กิโลเมตร
อำเภอบางสะพานน้อย 110 กิโลเมตร
งานประเพณีของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุเขาช่องกระจก
จัดขึ้นที่เขาช่องกระจก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 12 มิถุนายน ของทุกปี ภายในงานจะมีพิธีถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และการห่มผ้ารอบเจดีย์ของข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ชมและเลือกซื้อสินค้าของดีเมืองประจวบคีรีขันธ์ และชมนิทรรศการพระเครื่อง พระบูชาร่วมทำบุญตักบาตรเทโวในวันออกพรรษา นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมงานสามารถเดินชมภูมิทัศน์ของอ่าวประจวบจากยอดภูเขากลางเมืองได้อีกด้วย
งานวันที่ระลึกวีรกรรม 8 ธันวาคม 2484
จัดขึ้นที่บริเวณอ่าวมะนาว ภายในพื้นที่กองบิน 53 อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคม เพื่อเป็นการรำลึกและเชิดชูวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารของไทย ที่เข้าร่วมต่อสู้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น ซึ่งยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ภายในงานจะมีการจัดนิทรรศการทางวิชาการของหน่วยงานทหารอากาศและส่วนราชการต่าง ๆ และมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้น-เมือง การแสดงมหรสพ เช่น ลำตัด และโขนสด
เทศกาลโปโลช้าง
เป็นกิจกรรมที่แปลกและตื่นตาเร้าใจมาก จัดในช่วงเดือนกันยายน ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีเฉพาะที่หัวหิน-ชะอำ ที่เดียวเท่านั้น วิธีการเล่นคล้ายกับการเล่นฟุตบอล มีการแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย แต่งกายในชุดเสื้อยืด แขนสั้น หมวกกะโล่แบบอังกฤษ สวมรองเท้าท็อปบูธสูง นั่งบนหลังช้างถือไม้ตียาวโดยมีควาญช้างนั่งอยู่ที่คอ คนตีนั่งอยู่ที่ด้านหลัง มีประตูอยู่คนละข้าง พยายามตีลูกไม้ขนาดใหญ่สีขาวให้เข้าประตูมากที่สุด ใช้เวลาเล่นประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้เล่นต้องบังคับช้างและตีลูกไม้ขนาดใหญ่ให้เข้าประตู สนามที่ใช้เล่นคือ สนามฟุตบอลอยู่ในกองพลทหารราบที่ 16 ค่ายศรีสุริโยทัย ทางโรงแรมอนันตรา รีสอร์ทแอนด์สปาเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมนี้ เนื่องจากว่าเห็นฝูงช้างเร่ร่อนในกรุงเทพฯและตามแหล่งท่องเที่ยว จึงคิดว่าน่าจะมีการส่งเสริมกิจกรรมในด้านกีฬา ซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาสังคมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและเหมาะสม
สินค้าพื้นเมือง
สินค้าพื้นเมืองที่นักท่องเที่ยวมักจับจ่ายซื้อหาเมื่อมาเที่ยวประจวบคีรีขันธ์ มีอาทิของฝากจากหัวหินได้แก่ ตุ๊กตาหอย เครื่องประดับจากเปลือกหอยและกะลามะพร้าว ผ้าพิมพ์โขมพัสต์ ไม้ปัดฝุ่นทำจากป่านศรนารายณ์ เครื่องจักสานไม้ไผ่ อาหารทะเลสดและแห้ง ของฝากจากปราณบุรีได้แก่ ผลไม้ตามฤดูกาลที่วางขายริมถนน ผลิตภัณฑ์สับปะรดและผลไม้อบแห้ง ของฝากจากทับสะแก ได้แก่ กล้วยอบน้ำผึ้ง มะพร้าวอบน้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอหัวหิน
พระราชวังไกลกังวล ตั้งอยู่ห่างจากหัวหินไปทางทิศเหนือ 3 กิโลเมตร บนถนนเพชร-เกษม กิโลเมตรที่ 229 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการศิลปากร สถานในสมัยนั้นเป็นผู้ออกแบบและอำนวยการก่อ-สร้าง โดยใช้เงินพระคลังข้างที่ เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2469 โดยมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ต่อมาได้รับการซ่อมแซมและก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในบริเวณมีพระตำหนักหลายหลังมีชื่อคล้องจองกันได้แก่ พระตำหนักเปี่ยมสุข ปลุกเกษม เอิบเปรม เอมปรีดิ์ สร้างอยู่กลางอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ โดยมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดชายทะเล
ตัวเมืองหัวหิน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 195 กิโลเมตร และอยู่ก่อนถึงตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ 90 กิโลเมตร ตลาดหัวหินเป็นตลาดใหญ่มีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และโรงแรมมากมาย การคมนาคมสะดวก มีบริการรถสามล้อ รถสองแถวรับจ้าง และรถเช่า ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในตัวอำเภอและสถานที่ใกล้เคียง ด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองเป็นชายหาด มีทางลงหาดอยู่ที่ถนนดำเนินเกษม แยกซ้ายมือจากทางหลวงหมายเลข 4 บริเวณกิโลเมตรที่ 232 หาดหัวหินมีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ทรายขาวละเอียดเหมาะแก่การเล่นน้ำทะเล
อนุสรณ์สถานโผน กิ่งเพชร หรือ มานะ สีดอกบวบ เป็นชาวอำเภอหัวหิน โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2478 มีชื่อเสียงโด่งดังด้านกีฬามวยสากล และเป็นแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2503 ภายหลังได้เสียชีวิตลงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2525 เทศบาลตำบลหัวหินร่วมกับหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน ได้ร่วมกันจัดหาทุนสร้างอนุสรณ์สถานโผน กิ่งเพชร เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 ณ บริเวณชายหาดหัวหิน
สถานีรถไฟหัวหิน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 โครงสร้างของหลังคา และส่วนประกอบช่วงบน โทร. (02) 229-3456-63
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอ และกิ่งอำเภอต่างๆ ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั่วไปสามารถใช้บริการได้ ค่าสนามวันธรรมดาวันละ 500 บาท วันหยุด วันละ 850 บาท ติดต่อจองสนามได้ที่กรุงเทพฯ โทร. 241-1360-5 ต่อ 174 หรือที่หัวหิน โทร. (032) 512475
เขาตะเกียบ เขาไกรลาส เป็นภูเขา 2 ลูกที่อยู่ใกล้กัน ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอหัวหินไปทางทิศใต้ 14 กิโลเมตร โดยมีทางแยกจากถนนเพชรเกษมที่กิโลเมตร 235 เข้าไปจนถึงเชิงเขาจากตลาด หัวหินมีรถโดยสารวิ่งระหว่างหัวหิน-เขาไกรลาส-เขาตะเกียบ ทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00 -17.00 น.
เขาตะเกียบเป็นเขาที่ยื่นออกไปในทะเลมีโขดหินสวยงาม สามารถขึ้นไปบนเขาชมทิวทัศน์โดยรอบได้ ชายหาดเขาตะเกียบมีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีความลาดชันน้อย ทรายขาวละเอียด บริเวณชายหาดมีร้านอาหารและที่พักหลายแห่ง
สวนสนประดิพัทธ์ อยู่ห่างจากหัวหินไปทางทิศใต้ 9 กิโลเมตร โดยมีทางแยกจากถนนเพชรเกษม ที่กิโลเมตร 240 เข้าไป 500 เมตร มีรถโดยสารจากหัวหินไปยังสวนสนทุก 20 นาที สวนสน-ประดิพัทธ์อยู่ในความดูแลของศูนย์การทหารราบ ปราณบุรี บริเวณอยู่ติดกับชายหาดมีที่พักลักษณะเป็นบังกาโล และเรือนแถวจำนวนรวม 50 ห้อง ราคา 300-1,000 บาท ติดต่อจองที่พักได้ที่ โทร. (032) 536581-3
เขาเต่า อยู่ห่างจากตัวอำเภอหัวหินประมาณ 13 กิโลเมตร โดยมีทางแขกจากถนนเพชร-เกษม ที่กิโลเมตร 243-244 เข้าไปอีก 1 กิโลเมตร มีรถโดยสารวิ่งระหว่างหัวหิน-สามแยกเขาเต่าทุก 20 นาที บริเวณเขาเต่ามีหาดทรายที่สะอาดและสวยงามอยู่ 2 แห่ง คือ หาดทรายน้อย และหาดทรายใหญ่ มีบังกะโลเอกชนบริการติดต่อจองที่พักได้ที่บังกะโลโดยตรง นอกจากนี้ยังมีเกาะขนาดเล็กอยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งเท่าใดนัก บนเกาะมีเปลือกหอยชนิดต่าง ๆ ทับถมกันอยู่มากมาย
เกาะสิงห์โต อยู่ทางทิศตะวันออกจากสวนสนประดิพัทธ์ประมาณ 800 เมตร เป็นเกาะเล็ก ๆ รูปร่างคล้ายสิงห์โตนอนหมอบหันหน้ามาทางทิศเหนือ ซึ่งเหมาะสำหรับตกปลา แล่นเรือใบ และดำน้ำ สามารถเช่าเรือได้ที่หมู่บ้านเขาตะเกียบ
น้ำตกป่าละอู ตั้งอยู่ในป่าละอูซึ่งมีพื้นที่ถึง 273,125 ไร่ อุดมไปด้วยป่าไม้เขียวชอุ่มและสัตว์ป่านานาชนิด อีกทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงจำนวนหนึ่งด้วย ป่าละอูจัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ป่าละอูของกรมป่าไม้ ตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำก่อนถึงตัวน้ำตก 2 กิโลเมตร
น้ำตกป่าละอูประกอบด้วยน้ำตกละอูใหญ่และน้ำตกละอูน้อย ซึ่งไหลลดหลั่นกันมาอย่างสวยงามถึง 11 ชั้น สามารถลงเล่นน้ำได้ ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน
การเดินทางจากตลาดหัวหิน มีทางแยกจากถนนเพชรเกษมไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงหมายเลข 3129 จนสุดถนนราว 63 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านฟ้าประทาน แล้วเดินทางต่อไปอีกราว 4 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเช่ารถสองแถวไป-กลับได้ ราคาประมาณ 800 บาท ซึ่งจอดอยู่ที่ถนนชมสินธุ์
นักท่องเที่ยวต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ คนละ 5 บาท ในกรณีที่ต้องการพักค้าง-แรม ต้องนำเต๊นท์และอาหารมาเอง โดยเสียค่าบำรุงสถานที่อีก 5 บาท ติดต่อขออนุญาตพักค้างแรมในเขตอุทยานฯ ได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ป่าละอู อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอปราณบุรี
ปากน้ำปราณบุรี เป็นที่อยู่ของชาวประมง จากถนนเพชรเกษม ตรงกิโลเมตรที่ 256 เข้าไปประมาณ 14 กิโลเมตร
อ่างเก็บน้ำปราณบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี กิโลเมตรที่ 253 ห่างจากจุดปากทางเข้าถนนเพชรเกษม ประมาณ 17 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอปราณบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นถนนราดยาง แต่อยู่ในสภาพที่ชำรุดพอสมควร อ่างเก็บน้ำปราณบุรีนี้เป็นเขื่อนดินสร้างปิดกั้นแม่น้ำปราณบุรี สันเขื่อนยาว 1,500 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 42 เมตร ซึ่งภูมิประเทศบริเวณนี้อยู่ในหุบเขามีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก เขื่อนนี้ทอดยาวไปในพื้นที่เพาะปลูกของอำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี และอำเภอเมือง ยาวประมาณ 65 กิโลเมตร
สถานที่น่าสนใจ ในเขตกิ่งอำเภอสามร้อยยอด
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกุยบุรี และอำเภอปราณบุรี ห่างจากหัวหินลงมาทางใต้ประมาณ 63 กิโลเมตร จากถนนเพชรเกษมมีทางแยกเข้าอุทยาน 2 แห่ง คือ ที่กิโลเมตร 256 บริเวณสี่แยกอำเภอปราณบุรี เดินทางไปยังที่ทำการอุทยานฯ อีก 38 กิโลเมตร และที่กิโลเมตร 286.5 ก่อนถึงกุยบุรี 6 กิโลเมตร มีทางแยกไปที่ทำการอุทยานฯ อีก 13 กิโลเมตร ถ้าเดินทางโดยรถประจำทางหรือรถไฟลงที่สถานีปราณบุรี แล้วเช่ารถสองแถวจากตลาดปราณบุรีเข้าอุทยานฯ เป็นระยะทาง 38 กิโลเมตร
ตามตำนานของเทือกเขาสามร้อยยอดเล่ากันว่า พื้นที่แถบนี้เคยเป็นทะเลมีเกาะใหญ่น้อยอยู่มากมาย ในสมัยนั้นมีขบวนเรือสำเภาจีนแล่นผ่านมา และประสบกับลมพายุมรสุมจนเรืออับปาง คนบนเรือที่รอดชีวิตได้ไปอาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ จำนวน 300 คน จึงเรียกว่า "เกาะสามร้อยรอด" ต่อมาเพี้ยนเป็น "เขาสามร้อยยอด" จนทุกวันนี้
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด มีพื้นที่ 98 ตารางกิโลเมตร หรือ 61,300 ไร่ ลักษณะภูมิ ประเทศประกอบด้วยภูเขาหินปูนสลับซับซ้อน มีที่ราบน้ำท่วมถึงอยู่ริมชายฝั่งทะเล เป็นที่อาศัยของนกนานาชนิด ซึ่งมีมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2509 นับว่าเป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งแรกของประเทศไทย
- จุดชมวิวเขาแดง การเดินทางต้องเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานฯ ไปยังยอดเขาแดง ระยะทาง 500 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เวลาที่เหมาะแก่การขึ้นชมวิว คือ ตอนเช้ามืดประมาณ 05.30 น. เนื่องจากสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและทัศนียภาพโดยรอบได้อย่างสวยงาม
- คลองเขาแดง นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากหมู่บ้านเขาแดงล่องไปตามลำคลองประมาณ 3-4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง มีนกนานาชนิดให้ชม เวลาที่เหมาะแก่การล่องเรือ คือ ประมาณ 16.30-17.00 น. เพราะอากาศไม่ร้อนและสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงาม
- หาดสามพระยา อยู่เหนือที่ทำการขึ้นไป 3.5 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่สวยงามมีต้นสนทะเลขึ้นอยู่ทั่วไป ชายหาดมีความยาว 1 กิโลเมตร มีสถานที่สำหรับกางเต๊นท์พักแรม
- ถ้ำไทร อยู่บนเขาใกล้กับหมู่บ้านคุ้งโตนด ทางไปหาดสามพระยา จากเชิงเขาต้องเดินเท้าอีกประมาณ 30 นาที ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยรูปร่างต่าง ๆ แต่ค่อนข้างมืด นักท่องเที่ยวสามารถขอเช่าตะเกียงสำหรับชมถ้ำได้ที่หมู่บ้านคุ้งโตนด
- ถ้ำแก้ว อยู่ที่เขาหุบจันทร์ ก่อนถึงบ้านบางปู 3 กิโลเมตร จากเชิงเขาต้องเดินเท้าอีก 15 นาที มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ภายในถ้ำมืดมาก และค่อนข้างอันตรายเพราะมีเหวลึก จำเป็นต้องมีตะเกียงและเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ นำทาง
- ถ้ำพระยานครและหาดแหลมศาลา ตั้งอยู่ที่บริเวณเขาเทียน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ไปทางทิศเหนือ 16 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยทางเรือ โดยเช่าเรือจากหมู่บ้านบางปู ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที หรือจะเดินข้ามเขาเทียนเป็นระยะทาง 480 เมตร ก็ได้
จากหาดแหลมศาลามีทางเดินไปยังถ้ำพระยานคร ระหว่างทางมีบ่อน้ำกรุด้วยอิฐดินเผารูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้าง 1 เมตร ลึก 4 เมตร เรียกว่า "บ่อพระยานคร" ตามประวัติเล่าว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าพระยานคร ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชได้พักเรือหลบพายุที่ชายหาดแห่งนี้เป็นเวลาหลายวันจึงได้สร้างบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่ม และได้ค้นพบถ้ำขนาดใหญ่ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "ถ้ำพระยานคร" เป็นถ้ำขนาดใหญ่ เพดานถ้ำมีปล่องให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ขึ้นอยู่งอกงาม จุดเด่นของถ้ำแห่งนี้ คือ พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2433 เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ ทรงสร้างขึ้นในกรุงเทพฯ แล้วส่งมาประกอบทีหลังโดยให้พระยาชลยุทธโยธินเป็นนายงานก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมายกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ นับเป็นเครื่องเชิดชูอย่างยิ่งของถ้ำพระยานคร และกลายเป็นสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด มีบริการบ้านพักบริเวณที่ทำการอุทยานฯ และที่หาดแหลมศาลา สอบถามรายละเอียดและจองที่พักได้ที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223, 579-5734
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเมือง
ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหลักเมืองชัยคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างขึ้นมาในสมัย ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดศาลหลักเมืองนี้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2537 เพื่อให้เป็นสิริมงคลและหลักชัยคู่บ้านคู่เมือง และเป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาต่อไป
วัดเขาถ้ำคั่นกระได ตั้งอยู่เชิงเขาบริเวณอ่าวน้อย ก่อนถึงตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีทางเข้าแยกจากถนนเพชรเกษม ที่กิโลเมตร 314 ไปเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ในบริเวณมีถ้ำขนาดเล็กประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ในอดีตถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งชาวเรือมักเข้ามาอาศัยหลบพายุ
อ่าวประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่ตั้งของตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร โดยเริ่มจากเขาตาม่องล่ายทางด้านทิศเหนือเป็นวงโค้งไปจดเขาล้อมหมวกทางด้านทิศใต้ หน้าอ่าวมีเกาะรูปร่างแปลกตาอยู่หลายเกาะ ทำให้ทิวทัศน์ของอ่าวดูสวยงาม
เขาช่องกระจก เป็นภูเขาขนาดเล็กอยู่ด้านหลังศาลากลางจังหวัด มีบันไดขึ้นไปจนถึงยอดเขา ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธบาทจำลอง ด้านทิศเหนือของภูเขามีช่องโปร่งดูคล้ายกับกรอบของกระจก จากยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของตัวเมือง และอ่าวประจวบได้อย่างสวยงาม
อ่าวมะนาว อยู่ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของกองบิน 53 และเคยเป็นยุทธภูมิในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างกองทัพไทยและกองทัพ ญี่ปุ่น บริเวณอ่าวมะนาวมีทิวทัศน์สวยงาม ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจได้ มีร้านอาหาร และมีบริการบ้านพักเป็นเรือนแถว จำนวน 60 ห้อง เป็นห้องพัดลม ราคา 240-400 บาท ห้องปรับอากาศ 500 บาท ติดต่อจองที่พักได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองบิน 53 โทร. (032)611017 611031 ต่อ 2146
อุทยานเขาหินเหิน เดินทางจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ตามถนนเพชรเกษม ถึงกิโลเมตรที่ 331-332 แยกขวาไปอีก 8 กิโลเมตร ในบริเวณมีก้อนหินขนาดใหญ่หลายก้อนวางซ้อนและเกยกันอยู่ตามธรรมชาติ นับเป็นสิ่งอัศจรรย์และแปลกตาแก่ผู้มาเที่ยวชมอุทยานแห่งนี้ หากเดินทางเลยไปอีก 4 กิโลเมตร จะถึงด่านสิงขรตรงชายแดนไทย-พม่า เส้นทางนี้เคยเป็นเส้นทางเดินทัพ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
หว้ากอ เดินทางจากตัวเมืองมาทางทิศใต้ 12 กิโลเมตร ตามถนนเพชรเกษมถึงกิโลเมตรที่ 335-336 จะมีทางแยกเข้าหว้ากอด้านซ้ายมือ หว้ากอเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของวงการวิทยาศาสตร์ของไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าว่าจะมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอแห่งนี้ และได้เสด็จมาทอดพระเนตรพร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์และทูตานุฑูตชาวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2411
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอทับสะแก
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง มีพื้นที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน รวมทั้งสิ้น 100,625 ไร่ เป็นป่าบนเทือกเขาตะนาวศรี ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่บริเวณน้ำตกห้วยยาง เดินทางจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ตามถนนเพชรเกษมถึง กิโลเมตรที่ 350-351 มีทางแยกเข้าที่ทำการอุทยานฯ อีกประมาณ 7 กิโลเมตร น้ำตกห้วยยางเป็นน้ำตกขนาดเล็กมี 7 ชั้น สภาพ บริเวณร่มรื่นน่าพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีน้ำตกขาอ่อน และน้ำตกห้วยหินดาษ แต่การเดินทางยังไม่สะดวกนักได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2534 สอบถามรายะเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223, 579-5734
อุทยานแห่งชาติหาดวนกร อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ตามถนนเพชรเกษมประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกตรงกิโลเมตรที่ 345 เข้าไปอีก 3.5 กิโลเมตร ซึ่งได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2535 ชายหาดมีความยาว 7 กิโลเมตร เรียงรายด้วยทิวสนเป็นแนวไปตามชายหาด มีที่พักของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นบังกะโล 4 หลัง พักได้หลังละ 10 คน ราคา 500 บาท และเรือนนอนขนาด 70 เตียง ราคาคนละ 30 บาท ติดต่อจองที่พักได้ที่ โทร. 579-7223, 579-5734
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอบางสะพาน
อ่าวแม่รำพึง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 86 กิโลเมตร และห่างจากถนนเพชรเกษมตามทางแยกเข้าตัวอำเภอบางสะพานไป ประมาณ 17 กิโลเมตร ชายหาดค่อนข้างเงียบสงบ มีถนนเลียบชายหาด มีร้านอาหารทะเลและรีสอร์ทริมชายหาดเปิดบริการแก่นักท่องเที่ยว
อ่าวบ่อทองหลาง อยู่ห่างจากอ่าวแม่รำพึงตามถนนเลียบชายหาดประมาณ 4 กิโลเมตร มีชายหาดโค้งเป็นรูปวงกลมอยู่ริมเชิงเขา หาดทรายขาว สะอาด น้ำทะเลใส สามารถลงเล่นน้ำได้ ริมชายหาดมีร้านขายอาหารและเครื่องดื่มบริการ
ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่บนเขาธงชัย ท้องที่บ้านกรูด อำเภอบาง-สะพาน ซึ่งแยกจากถนนเพชรเกษมเข้าไปทางซ้ายประมาณ 16 กิโลเมตร จะพบตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สวยเด่นเป็นสง่าบนยอดเขาธงชัย หันหน้าออกสู่ทะเล บริเวณรอบ ๆ มีสวนไม้ดอกไม้ประดับและสำนักสงฆ์ซึ่งเชื่อกันว่ากรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เคยเสด็จฯ ประทับ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อพักทอดสมอเรือรบ
เกาะลำหล้า เป็นเกาะหินขนาดปานกลางอยู่ที่ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน(อยู่ระหว่าง เขตอำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน) จะมีทางแยกซ้ายมือบริเวณสี่แยกบ้านกรูดเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร จากถนนเพชรเกษมก็จะถึงชายหาด บริเวณรอบเกาะมีแนวประการังสวยงามมากสามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ หาดแก้วบีชรีสอร์ท โทร. (032) 601555 หรือ กรุงเทพฯ โทร. (02) 413-1211-4
ถ้ำเขาม้าร้อง ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางสะพานไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลพงศ์ประศาสน์ ภายในถ้ำมีหลายคูหาซึ่งมีผู้ดูแลติดตั้งไฟฟ้าแสงสีต่าง ๆ ประดับประดาทำให้บรรยากาศในถ้ำดูสวยงามน่าสนใจ ผนังถ้ำด้านหนึ่งมีพระพุทธรูปวางเรียงรายตลอดแนว สถานที่กว้างขวางรถยนต์สามารถเข้าถึงปากถ้ำได้
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอบางสะพานน้อย
เกาะทะลุ เกาะสังข์ เกาะสิงห์ อยู่ในเขตอำเภอบางสะพานน้อย โดยทั้งสองเกาะอยู่ใกล้ๆ กัน ถ้าเดินทางเรือใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที จากบ้านปากคลอง ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอบางสะพานน้อย ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณรอบๆ เกาะอุดมไปด้วยปะการังสีสวย หาดทรายขาวสะอาด เหมาะสำหรับผู้นิยมดำน้ำ ชมปะการังและตกปลา รวมทั้งตั้งค่ายพักแรมค้างคืนได้ หาดบางเบิด อยู่ตำบลทรายทอง ห่างจากอำเภอบางสะพานน้อยไปทางทิศใต้ประมาณ 6 กิโลเมตร หาดทรายกว้างสวยงามเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวชอบความสงบ สามารถลงเล่นน้ำได้ ในอดีตเคยเป็นแหล่งกำเนิดของแตงโมพันธุ์บางเบิดอันลือชื่อ