เกาะหลีเป๊ะ

  • แผนที่เกาะหลีเป๊ะ
  • ข้อมูลทั่วไป
  • การเดินทาง
  • สถานที่ท่องเที่ยว

เกาะหลีเป๊ะ

เกาะหลีเป๊ะ เดิมมีชื่ว่า "เกาะนีปิส" เป็นภาษามลายู แปลว่า "บาง" เป็นเกาะขนาดเล็ก และมีชาดหาดที่สวยงาม เกาะหลีเป๊ะ เป็นหนึ่งในหลายๆ เกาะของอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะตะรุเตา ตั้งอยู่สุดเขตแดนใต้ อยู่ในกลุ่มของหมู่เกาะอาดัง - ราวี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะตะรุเตา ห่างเกาะตะรุเตา 45 กิโลเมตร ห่างจากฝั่งท่าเรือปากบารา 62 กิโลเมตร อยู่ใกล้ๆ กับเกาะอาดัง ห่างกันเพียง 1. 7 กิโลเมตร ลักษณะของเกาะเหมือนดังในภาพ ความยาวหัวถึงท้ายเกาะ 3 กิโลเมตร กว้างสุด 1.75 กิโลเมตร เกาะหลีเป๊ะนี้ถึงแม้จะอยู่ในเขตอุทยานฯ แต่ว่าพื้นที่ทั้งหมดเป็นของชาวบ้านซึ่งอยู่อาศัยบนเกาะมาเป็นร้อยกว่าปีก่อนประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นการจัดการ พื้นที่บนเกาะ จึงอยู่นอกเหนืออำนาจของอุทยาน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของชุมชนบริการจัดการ โดยอุทยานแห่งชาติคอยดูแลความเรียบร้อย และความปลอดภัยสำหรับ นักท่องเที่ยว

บนเกาะหลีเป๊ะเป็น ชุมชนของชาวเลที่ดำรงชีวิตด้วยการประมงพื้นบ้านจึงทำให้มีทรัพยากรทาง ธรรมชาติประเภทปะการังหนาแน่น และสัตว์น้ำชุกชุม ด้านหน้าของเกาะมี หาดทรายที่ขาวเนียน และยาวหลายร้อยเมตรในยามน้ำลงนักท่องเที่ยวสามารถเดินออกไปในท้องทะเลได้ไกล และชายหาดด้านนี้หันหน้าทางทิศตะวันอ

ลักษณะภูมิประเทศ

ด้านหน้าของเกาะมีหาดทราย ที่ขาวเนียน และยาวหลายร้อยเมตรในยามน้ำลงนักท่องเที่ยวสามารถเดินออกไปในท้องทะเลได้ไกล

ด้านฝั่งตะวันตกเป็นเวิ้งอ่าวที่มีหาดทรายขาว

ทิศตะวันออกของเกาะ หาดชาวเลเป็นชายหาดทอดยาวหลายร้อยเมตร ร่มรื่นไปด้วยทิวมะพร้าวน้อยใหญ่ที่ขึ้นเรียงรายตลอดแนวหาด มองเห็นหน้าเกาะอาดังซึ่งอยู่ห่างเพียง 800 เมตร ได้อย่างดี มีบ้านเรือนชาวเลอาศัยอยู่กระจัดกระจายไม่หนาแน่น และมีรีสอร์ทที่พักริมหาดให้เลือกบริการพอสมควร

ลักษณะภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศ ในรอบปีที่ผ่านมา (มกราคม – ธันวาคม 2544) พบว่า ฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน 594 มิลลิเมตร รองลงมาในเดือนตุลาคม 478 มิลลิเมตร และตกน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 15 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 2,908 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 39oC อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 19oC โดยอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนและต่ำสุดในเดือนมิถุนายน ในฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตาในช่วงนี้ไม่ปลอดภัย สำหรับนักท่องเที่ยว จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี เฉพาะบริเวณหมู่เกาะอาดัง - ราวี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 15 พฤศจิกายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี

การเดินทางไปเกาะหลีเป๊ะ

เครื่องบิน

จากกรุงเทพฯ เดินทางมาสนามบินหาดใหญ่ การเดินทางเดินทาง

1. สามารถเดินทางโดยรถสองแถวออกมาที่ตลาดเกษตรค่าโดยสารประมาณ 20 บาท/คน เมื่อถึงตลาดเกษตรก็เดินทางโดยรถตู้ประจำทาง สายหาดใหญ่ - ปากบารา อัตราค่าโดยสาร 100 บาท/คน

2. เดินทางโดยเหมารถแท็กซี่ อัตราค่าโดยสารประมาณ 1,500 - 1,800 บาท/ คัน การเดินทางใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชม.

เรือ

การเดินทางโดยเรือโดยสารไปอุทยานแห่งชาติตะรุเตา มี 2 เส้นทาง คือ
1. เส้นทางท่าเรือปากบาราไปเกาะตะรุเตา (ขึ้นเกาะบริเวณท่าเรือพันเตมะละกา ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ) หรือไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ มีตารางการเดินเรือ ดังนี้

  • ท่าเรือปากบาราเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากท่าเรือปากบารา เวลา 10.30 น. และ 13.00 น.
    # เกาะตะรุเตาเดินทางไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 11.30 น.
    # เกาะอาดัง-หลีเป๊ะเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เวลา 10.00 น.
    # เกาะตะรุเตาเดินทางไปท่าเรือปากบารา เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 09.00 น. และ 11.00 น.

2. เส้นทางท่าเรือตำมะลังไปเกาะตะรุเตา (ขึ้นเกาะบริเวณท่าเรือตะโละวาว ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์รอุทยานแห่งชาติ ที่ ตต.1 ) หรือไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ มีตารางการเดินเรือ ดังนี้

# ท่าเรือตำมะลังเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากท่าเรือตำมะลัง เวลา 09.30 น.
# เกาะตะรุเตาเดินทางไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 11.00 น.
# เกาะอาดัง-หลีเป๊ะเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรืออกจากเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เวลา 14.00 น.
# เกาะตะรุเตาเดินทางไปท่าเรือตำมะลัง เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 15.00 น.

หมายเหตุ : ระหว่างท่าเรือตะโละวาวกับท่าเรือพันเตมะละกา มีรถรับ-ส่งของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ให้บริการรับ-ส่ง ระยะทางประมาณ 12.5 กิโลเมตร

รถไฟ

การเดินทางโดยรถไฟ จากกรุงเทพฯ ถึงหาดใหญ่ จากนั้นต้องเดินทางต่อจากหาดใหญ่ไปท่าเทียบเรือปากบารา จังหวัดสตูล เดินทางได้โดย
1) รถโดยสารประจำทางสายหาดใหญ่-ปากบารา หรือ
2) รถแท็กซี่ สายหาดใหญ่-ละงู ลงที่อำเภอละงู จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ
3) รถตู้ปรับอากาศ สายหาดใหญ่-ปากบารา

เมื่อเดินทางถึงท่าเทียบเรือปากบารา ต้องเดินทางต่อโดยเรือ เพื่อเดินทางไปเกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บริเวณอ่าวพันเตมะละกา หรือจะเดินทางไปเกาะอาดัง ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ อยู่บริเวณหาดแหลมสน

รถโดยสารประจำทาง

มุ่งสู่ปลายทาง "ท่าเรือปากบารา" เพื่อเดินทางต่อโดยเรือมุ่งสู่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
1) เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-สตูล ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ
2) เริ่มต้นที่จังหวัดตรัง เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายตรัง-สตูล ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ
3) เริ่มต้นที่อำเภอหาดใหญ่ เดินทางโดย
# รถโดยสารประจำทางสายหาดใหญ่-ปากบารา หรือ
# รถแท็กซี่ สายหาดใหญ่-ละงู ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ
# รถตู้ปรับอากาศ สายหาดใหญ่-ปากบารา

มุ่งสู่ปลายทาง "ท่าเรือตำมะลัง" เพื่อเดินทางต่อโดยเรือมุ่งสู่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-สตูล ลงที่จังหวัดสตูล เดินทางต่อรถด้วยรถสองแถวจากสตูลไปท่าเรือตำมะลัง

การเดินทางไปเกาะหลีเป๊ะจากท่าเรือปากบารา

ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวตะรุเตาประมาณเดือนพฤศจิกายน-เมษายน มีบริการเรือโดยสารสู่เกาะต่างๆ ในเขต อุทยานแห่งชาติตะรุเตา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ซีแอท ฮอลิเดย์ โทร. 086 655 707,084 407 2587074 782 222, อาดัง ซี แอดเวนเจอร์ ทัวร์ โทร. 074 783 3338, 089 735 7637,081 609 2604บริษัท ไทเกอร์ ไลน์ ทราเวล จำกัด โทร. 074 732 510 ,บริษัท หลีเป๊ะ เฟอรี่ แอนด์ สปีดโบ๊ท จำกัด โทร. 081 909 1413 (สำหรับเวลาการเดินเรือของแต่ละเจ้าอาจะมีการยืดหยุ่นจากเดิมเล็กน้อย)

เกาะหลีเป๊ะ

อยู่ห่างจากอาดังไป ทางทิศใต้ ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวเล มีที่พักของเอกชน ร้านค้าและร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ห่างจากที่ทำการ 47 กิโลเมตร

หาดพัทยา

หาดพัทยา หรือ หาดบันดาหยา ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของเกาะ มีเส้นทางเดินเท้าจากหน้าเกาะมายังหาดพัทยา มีความอัศจรรย์มาก เนื่องจากชายหาดมีสีขาว เม็ดทรายนุ่มๆ ตลอดชายหาดจนไปถึงหน้าผา ชายหาดยาวเป็นโค้งเว้ารูปครึ่งวงกลม หาดขาวสะอาดตลอดแนว และยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามที่สุด ของบรรดาเกาะทั้งหลาย ในทะเลสตูล

หาดชาวเล

ตั้งอยู่บริเวณหน้าเกาะหลีเป๊ะ ทางทิศตะวันออกของเกาะ หาดชาวเลเป็นชายหาดทอดยาวหลายร้อยเมตร ร่มรื่นไปด้วยทิวมะพร้าวน้อยใหญ่ที่ขึ้นเรียงรายตลอดแนวหาด สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นได้สวยงาม มองเห็นหน้าเกาะอาดังซึ่งอยู่ห่างเพียง 800 เมตร ได้อย่างดี มีบ้านเรือนชาวเลอาศัยอยู่กระจัดกระจายไม่หนาแน่น และมีรีสอร์ทที่พักริมหาดให้เลือกบริการพอสมควร

อ่าวประมง

(Sunset Beach) มีที่พักน้อย แต่สงบมาก

นอกจากเที่ยวชมความงามของน้ำทะเลบนเกาะหลีเป๊ะแล้ว สามารถเช่าเรือนำเที่ยวไปดำน้ำและเที่ยวชมเกาะต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ เช่น ดำน้ำบริเวณร่องน้ำจาบัง การนำชมเกาะต่างๆ ใกล้เคียง เช่น เกาะหินงาม เกาะหินซ้อน รวมถึงการรับประทานอาหารเที่ยงบนชายหาดที่สวยงามบนเกาะลอง กอย ในเช้าวันใหม่จึงหาเรือหางยาวเช่าเหมา ตาม ร้านดำน้ำ และรีสอร์ทต่างๆ ซึ่งมักจะมีอุปกรณ์ดำน้ำให้เช่า ซึ่งหากใช้เวลาตลอดวันก็สามารถ เที่ยวได้หมด ทุกเกาะ เพราะแต่ละเกาะอยู่ใกล้ ๆ กัน เช่น เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหินงาม เกาะจาบัง เกาะยาง เกาะผึ้ง เกาะรองกอย ฯลฯ หรืออาจะแ่บ่งการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก 1 วันก็ยังได้ ตกเย็นก็กลับมานอนที่เกาะหลีเป๊ะ แล้วรอเรือโดยสารกลับในวันถัดไปเช่าเรือไปยังเกาะต่าง ๆ ได้ในราคาลำละ 1,500-1,800 บาท นั่งได้ 8-9 คน โดยติดต่อกับทางรีสอร์ทที่มีบริการทัวร์

ดำน้ำชมประการัง

การดำน้ำชมปะการังและฝูงปลาที่เกาะหลีเป๊ะ สามารมารถทำได้ ทั่วทั้งเกาะ เพียงแต่บางพื้นที่ อาจต้อง คอยระวังจุดที่น้ำตื้นมากๆ เข้าไว้ เพราะตัวปะการังเองก็มีความคมอยู่แล้ว ทั้งยังหอยเม่นที่กลายเป็นเหมือนเพื่อน ข้างกายเหล่าปะการังสีสวย ตามหาดต่างๆ ดังนี้ หาดพัทยา ตลอดความยาวของหาดทราย ห่างออกไปเพียงไม่กี่สิบเมตร ในระดับน้ำเพียง 1-3 เมตร มีแนวปะการังโขด ที่ สามารถให้ความเพลิดเพลินกับนักท่องเที่ยว ทั่วไปได้อย่างดี (สามารถยืนก้มหน้าบนพื้นทราย เพื่อมองดูเหล่า ปลาการตูนที่วนเวียนรอบกอดอกไม้ทะเล)

อ่าวชาวเล ห่างออกไปในทะเล 200 เมตร หน้าโรงเรียน มองผ่านเรือหางยาวของชาวเลออกไป เกาะเล็กๆ ที่อุดม สมบูรณ์ ไป ด้วย ชีวิตใต้ท้องทะเล ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักมองข้าม เกาะกระ จัดได้ว่าเป็นจุด ดำน้ำตื้นที่สวยงาม อีกแห่ง ของอุทยานฯ ตะรุเตาตัวเกาะมีขนาดเล็กกว่ามาก จนมองดูคล้าย เกาะบริวาณของเกาะหลีเป๊ะไปด้วย ระยะห่าง เพียงแค่ 200 เมตร ยามที่ระดับน้ำลดเต็มที่จึงสามารถเดินข้ามไปถึงกันได้




แผนที่ท่องเที่ยว
แผนที่เกาะหลีเป๊ะ